.
.
ปลาวาฬเบลูก้าที่ Oceanografic de Valencia สเปน
© Salva Barbera via Flickr
.
.
.
สหภาพโซเวียต (USSR) คือ ชื่อประเทศในความทรงจำ
และมีเขียนไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ตอนนี้เท่านั้น
แต่ยังมีประวัติศาสตร์หลาย ๆ ส่วนที่น่าสนใจ
Operation Beluga (Belukha ในภาษารัสเซีย)
คือ เรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ
ปฏิบัติการช่วยเหลือปลาวาฬเบลูก้า
เกี่ยวข้องกับการส่งเรือตัดน้ำแข็ง
และการเปิดดนตรีคลาสสิกอย่างดังลั่น
เพื่อช่วยเหลือฝูงปลาวาฬหลายพันตัว
ที่ถูกแช่แข็งใน
Chukchi Peninsula รอดตายได้
.
.
.
.
ในปี 1959 บริษัท
Wärtsilä ของฟินแลนด์
ได้ส่งมอบเรือตัดน้ำแข็ง Moskva ให้กับสหภาพโซเวียต
ตามสัญญาต่อเรือลำนี้ที่มีการลงนามเมื่อ 3 ปีก่อน
และส่วนหนึ่งของข้อกำหนดของเรือลำนี้
คือ การติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้า
ที่ทรงพลังมากที่สุดในขณะนั้น/ในยุคนั้น
เพื่อจะช่วยกรุยทางให้เรือหลายร้อยลำ
แล่นผ่านเส้นทาง (เย็นจัด) ทาง
Northern Sea Route
ซึ่งครอบคลุมจาก
Murmansk ถึง
Vladivostok
โดยจะช่วยลดเวลาการเดินทางลงเหลือเฉลี่ย 10 วัน
ซึ่งจัดว่าค่อนข้างเร็วมากสำหรับทางเดินเรือ
เครื่องยนต์อันทรงพลังของ Moskva
จะช่วยให้เรือต่าง ๆ สามารถแล่นผ่านทะเล
ฝ่าน้ำแข็งที่หนากว่ารุ่นก่อน ๆ ในขณะนั้น
ทำให้สามารถขยายฤดูกาลขนส่งได้ตามเส้นทางนี้
เรือ Moskva คือ เรือธงที่จะนำความรุ่งโรจน์ในการเดินเรือ
ต่อมาจึงถูกส่งไปประจำการที่ Vladivostok
และส่งไปประจำการทางตะวันออก
ของเส้นทาง Northern Sea Route
แต่การผจญภัยของเรือ Moskva
ในการช่วยเหลือปลาวาฬวาฬเบลูก้า
คือ เรื่องราวที่เป็นตำนานความทรงจำ
.
.
.
.
ในภูมิประเทศที่หนาวเย็นของคาบสมุทร Chukchi
(ดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซียซึ่งอยู่ตรงข้าม Alaska ของ USA)
Chukchi หรือ Chukchee เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม
ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมของทวีปอเมริกา
ประเพณีและวิถีชีวิตของชนพื้นเมืองเหล่านี้
ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักจนกระทั่งปี 1920
เมื่อรัฐบาลสหภาพโซเวียตได้จัดตั้งโรงเรียนและอุตสาหกรรมในพื้นที่
(ที่ดำเนินการโดยรัฐบาล ในการอบรมคนเข้าระบบ/ยอมรับรัฐบาล
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทั่วโลกในการบังคับเรียน 12 ปี
ทำให้ทุกคนอยู่ในระบบ/ยอมรับการเรียน/ทำงานร่วมกัน)
แต่ชนพื้นเมือง Chukchi ยังคงล่าสัตว์ป่าในท้องถิ่นเป็นอาหาร
และจัดหาวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมที่เพิ่งสร้างใหม่บางส่วน
ในรูปแบบของการตกปลา การล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล
หรือการต้อนกวางเรนเดียร์ การล่าเพื่อยังชีพ
และยังคงฝึกฝนเยาวชน Chukchi จนถึงทุกวันนี้
แม้ว่าจะลดขอบเขต/บทบาทลงจากเดิมอย่างมากก็ตาม
.
.
.
Representation of a Chukchi family
by Louis Choris (1816)
.
.
ปลายเดือนธันวาคม 1984
นักล่า Chuckchi และชาวประมงท้องถิ่น
ใกล้เกาะ Yttygran ในทะเล Bering
ใกล้กับชายฝั่ง Chukotka
และห่างจาก Alaska เพียง 130 ไมล์เท่านั้น
จะจัดให้มีมหกรรมงานเลี้ยงล่าสัตว์
ยังไม่ทราบจำนวนนักล่า/ผู้ร่วมงานในครั้งนั้น
แต่มีปลาวาฬเบลูก้าราว 3,000 ตัว
ที่ติดอยู่ในน่านน้ำแช่แข็งของช่องแคบคาบสมุทร
Senyavin
เพราะพวกปลาวาฬกำลังติดกับดักตนเอง
(ปลาวาฬ คือ แหล่งอาหารสำคัญในท้องถิ่น)
เพราะพวกมันแห่กันไปรอบ ๆ แอ่งน้ำเปิดขนาดเล็ก ๆ
ที่กระจายอยู่ทั่วช่องแคบ ๆ ต่างแย่งกันขึ้นมาสูดอากาศ
แม้ว่าในตอนแรก
พวกนักล่า Chuckchi และชาวประมงคิดว่าส้มหล่นได้ของขวัญ
และดูตื่นเต้นมากกับโอกาสที่จะล่าปลาวาฬได้อย่างง่าย ๆ
แต่เมื่อเข้าไปใกล้มากขึ้น ภาพที่เห็นกับภาพที่เป็นจริง
พวกปลาวาฬราว 3,000 ตัว กำลังจะจมน้ำตาย
(ปลาวาฬต้องขึ้นมาหายใจทุก ๆ 20 นาที)
ทำให้ประชากรในท้องถิ่นที่มีจำนวนน้อย
ต่างรีบเข้ามาช่วยเหลือปลาวาฬ
ต่างช่วยกันเจาะก้อนน้ำแข็ง
เพื่อป้องกันไม่ให้แอ่งน้ำเล็ก ๆ กลายเป็นน้ำแข็ง
ขณะที่ให้อาหารฝูงปลาวาฬเบลูก้าด้วยปลาแช่แข็ง
แต่ฤดูหนาวและน้ำจะกลายเป็นน้ำแข็ง
กำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ฝูงปลาวาฬเบลูก้า
อาจติดอยู่กับพื้นที่นี่/ตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
.
.
.
.
จนถึงวันนี้ ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า
ทำไมปลาวาฬเบลูก้าจำนวนมหาศาลไปรวมตัวกันที่นั่น
มีความเป็นไปได้ว่า พวกมันไล่ตามเหยื่อฝูงปลา
Cod
หลังจากนั้นลมกำลังแรงที่ปกคลุมทางเหนือ
พัดพาก้อนน้ำแข็งที่มีความหนาสูงสุด 12 ฟุต (4 เมตร) ลอยตามมา
ขนาดความหนาของน้ำแข็งนี้หนามาก
เกินกว่าที่ฝูงวาฬจะทะลุทะลวงให้ผ่านไปได้
ดังนั้นจึงเหลือเพียงช่องเล็ก ๆ ระหว่างก้อนน้ำแข็ง
ที่ฝูงปลาวาฬจะออเข้าไปหายใจได้ในตอนนี้
แม้ว่าปลาวาฬจะสามารถว่ายน้ำใต้น้ำแข็ง
เพื่อหาหนทางออกไปสู่อิสรภาพ
แต่ระยะทางนั้นอาจยาวไกลเกินไป
สำหรับพวกปลาวาฬที่จะเดินทาง
ด้วยลมปราณครั้งเดียวไม่เกิน 20 นาที
เป็นความพยายามที่เสี่ยงอันตรายเกินไป
ดังนั้น พวกปลาวาฬจึงอยู่นิ่ง ๆ ออกันอยู่แถวนั้น
.
.
.
.
Atlantic cod
.
.
.
.
ชาวบ้านที่ช่วยเหลือฝูงปลาวาฬมาหนึ่งเดือนแล้ว
จึงรีบรายงานต่อเจ้าหน้าที่สหภาพโซเวียต
ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวให้ทางการทราบทันที
ผู้เชี่ยวชาญด้านปลาวาฬพร้อมเฮลิคอปเตอร์
จึงถูกส่งไปสำรวจสถานที่เกิดเหตุทันที
ทีมงานได้สรุปอย่างรวดเร็ว
ในการแก้ไขสถานการณ์ครั้งนี้ว่า
มีวิธีเดียวที่จะช่วยปลาวาฬออกมาได้
คือ การเคลียร์เส้นทางผ่านน้ำแข็ง
เพื่อให้ฝูงปลาวาฬเบลูก้าว่ายน้ำออกมา
จากก้อนน้ำแข็งที่มีความหนา 4 เมตร
สถานที่เกิดเหตุใกล้กับ Vladivostok
ในที่สุดเรือ Moskva จึงถูกส่งไปช่วยเหลือ
เพื่อทะลายก้อนน้ำแข็งให้ฝูงปลาวาฬเป็นอิสระ
ตามคำบอกเล่าของนักปลาวาฬวิทยา
เมื่อเรือตัดน้ำแข็ง Moskva
มาถึงพื้นที่เดือนกุมภาพันธ์ 1985
กัปตัน Anatoly M. Kovalenko
ในครั้งแรกต้องการยกเลิกภารกิจ
เพราะรู้สึกว่าก้อนน้ำแข็งหนาเกินไป
แต่ต่อมา ท่านก็เปลี่ยนใจลงมือฝ่าน้ำแข็งทันที
หลังจากเห็นปลาวาฬหลายสิบตัวตายต่อหน้าต่อตาท่าน
อย่างไรก็ตาม หลังจากความล่าช้าในตอนแรก
ลูกเรือ Moskva ต่างร่วมมือร่วมใจกัน
เติมเชื้อเพลิงให้มากที่สุดเท่าที่จะบรรทุกได้
แล้วบังคับเรือตัดผ่านน้ำแข็งฝ่าไปให้ได้
แม้ว่าในตอนแรก ยังเป็นไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้
The New York Times เขียนว่า
" เรือตัดน้ำแข็ง Moskva วิ่งแข่งกับเวลา
และอุณหภูมิที่พุ่งพรวด(หนาวเย็น)
เพื่อไปให้ถึงฝูงปลาวาฬในพื้นที่เสี่ยงภัย
ก่อนที่พวกมันจะหายใจไม่ออก
หรืออดตายในแอ่งน้ำเปิดที่หดตัว
นี่คือ หนึ่งในการปฏิบัติการกู้ภัยที่ผิดปกติอย่างมาก
ในประวัติศาสตร์การนำทางเรือในเขตอาร์กติก
ปฏิบัติการครั้งนี้ คือ การทดสอบครั้งยิ่งใหญ่ "
.
.
.
ตามรายงานหนังสือพิมพ์ Izvestia ของรัสเซีย
เมื่อเรือตัดน้ำแข็งแล่นผ่านเข้าไปถึงฝูงปลาวาฬได้
ปัญหาใหม่ก็เกิดขึ้นมา คือ
วิธีเกลี้ยกล่อมฝูงปลาวาฬเบลูก้าที่อ่อนแอ
ให้ทำตามเสียงฟ้าร้องคำรามของเรือตัดน้ำแข็งขนาดใหญ่
ที่แล่นเข้ามาช่วยเหลือฝูงปลาวาฬ
“ ไม่มีใครสามารถบอกกัปตันได้ว่า
จะต้องปฏิบัติขั้นตอนที่รับผิดชอบมากที่สุดได้อย่างไร
จะพูดจากับปลาวาฬขั้วโลกด้วยภาษาอะไร
ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการทดลองอย่างแท้จริง ”
ในช่วงแรก ฝูงปลาวาฬจะเข้ามาพักผ่อน/มีความสุข
ในแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่เรือ Moskva สร้างขึ้นมา
มีการให้อาหารเสริมกำลังและเป็นที่พักหายใจ
จากนั้นฝูงปลาวาฬก็เริ่มเคลื่อนไหว เล่นกัน
ส่งเสียงหวีดหวิว ร้องเรียกหากัน
พูดได้ว่า ทำทุกอย่างยกเว้นสิ่งเดียว
ว่ายเข้าไปในคลองขุดที่สร้างโดยเรือตัดน้ำแข็ง
มันต้องใช้เวลาอีก 4 วันในการสอนปลาวาฬเบลูก้า
ไม่ต้องกลัวเรือ เสียงใบพัดของเรือ
เรือตัดน้ำแข็งจะแล่นกล้บไปกล้บมา
จากนั้น ลูกเรือบางคนเล่าว่า
ปลาวาฬจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อดนตรี
และแล้วก็เริ่มเปิดดนตรีบนดาดฟ้าเรือดังสนั่น
เริ่มจากเพลงยอดนิยม เพลงรบ เพลงคลาสสิก
เพลงคลาสสิกได้รับการพิสูจน์ว่า
เป็นเพลงยอดนิยมมากที่สุดของปลาวาฬเบลูก้า
ฝูงปลาวาฬเริ่มว่ายน้ำตามเรือตัดน้ำแข็งอย่างช้า ๆ
ดังนั้นมันจึงเป็นช่วงเวลา
Pied Piper
กัปตัน Anatoly M. Kovalenko ได้รายงาน
ทางวิทยุไปยังสำนักงานใหญ่
" กลยุทธ์ของเราคือ เราตั้งหลัก/หยุดพักก่อน
แล้วบุกเข้าไปตัดน้ำแข็งอีกครั้ง ทำทาง แล้วรอ
เราทำซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งมาก
จนชาวเบลูก้าเริ่ม
เข้าใจ ความตั้งใจของเรา
และปฏิบัติตาม/ว่ายน้ำตามเรือตัดน้ำแข็ง
ดังนั้นเราจึงนำทางไปกิโลเมตรแล้วกิโลเมตรเล่า
เมื่อวันเวลาผ่านไปหลายวัน
ฝูงปลาวาฬก็เริ่มคุ้นเคยกับเรืออย่างเต็มที่
พวกมันต่างเริ่มต้นนำทางเรือด้วยตัวเองในบางครั้ง
หรือไม่ก็ล้อมรอบเรือไว้ทุกทิศทุกทาง
พวกมันมีความสุขเหมือนกับเด็ก ๆ
ว่ายน้ำ กระโดดโลดเต้น กระจายไปทั่วทุ่งน้ำแข็ง ”
ในที่สุด ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 1985
เรือตัดน้ำแข็ง Moskva ก็พาปลาวาฬเบลูก้าสู่ทะเลเปิด
คาดว่ามีปลาวาฬเบลูก้าประมาณ 2,000 ตัวออกมาได้
และอีกราว 500 ตัวกลายเป็นอาหารของนักล่าในพื้นที่
ปฏิบัติการกู้ภัยครั้งนี้เรียกว่า Operation Beluga
รัฐบาลสหภาพโซเวียตต้องเสียค่าใช้จ่าย
ประมาณ 55,000 ดอลลาร์สหรัฐในยุคนั้น
(ในปี 2022 ราว 148,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ราว 5.18 ล้านบาท อัตรา 35/1)
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3yDk4Qz
https://bit.ly/3Mwk5KB
https://bit.ly/3PiOEVI
.
เพิ่มเติม
ปลาวาฬเบลูก้า
Beluga Whale
.
นิทานพื้นบ้านในยุโรป
ชาวบ้านประกาศหาคนมากำจัดหนูในหมู่บ้าน
โดยสัญญาว่าจะจ่ายค่าจ้างอย่างงามถ้าทำได้
หลังจากนั้นไม่นานนัก
มีชายเป่าปี่มาปรากฏตัวขึ้นมาในหมู่บ้าน
เป่าปี่เรียกฝูงหนูทุกตัวในหมู่บ้านให้ออกมา
แล้วเดินตามหลังชายเป่าปี่ลงในทะเล
หนูทุกตัวในหมู่บ้านจึงหายไป
แต่แล้วชาวบ้านกลับเบี้ยวค่าจ้างชายเป่าปี่
ในตอนที่ผู้ชายผู้หญิงออกไปทำไร่ไถนาเลี้ยงสัตว์
ชายเป่าปี่จึงเข้ามาในหมู่บ้านพรัอมเป่าปี่
เด็กชายเด็กหญิงช่วงเยาวชนต่างออกมา
แล้วกระโดดโลดเต้นเดินตามชายเป่าปี่
ต่างพากันเดินตามจนเดินหายไปในป่าเขา
.
.
.
เรือตัดน้ำแข็งรัสเซีย Admiral Makarov (ซ้าย)
และ Moskva ถูกขายเป็นเศษเหล็กในปี 1992
.
.
.
Baby Beluga by Raffi
.
.
The Best of Tchaikovsky
.
เรือตัดน้ำแข็ง/ดนตรีคลาสสิคช่วยชีวิตปลาวาฬเบลูก้าร่วม 2,000 ตัว
.
ปลาวาฬเบลูก้าที่ Oceanografic de Valencia สเปน
© Salva Barbera via Flickr
.
.
สหภาพโซเวียต (USSR) คือ ชื่อประเทศในความทรงจำ
และมีเขียนไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ตอนนี้เท่านั้น
แต่ยังมีประวัติศาสตร์หลาย ๆ ส่วนที่น่าสนใจ
Operation Beluga (Belukha ในภาษารัสเซีย)
คือ เรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ
ปฏิบัติการช่วยเหลือปลาวาฬเบลูก้า
เกี่ยวข้องกับการส่งเรือตัดน้ำแข็ง
และการเปิดดนตรีคลาสสิกอย่างดังลั่น
เพื่อช่วยเหลือฝูงปลาวาฬหลายพันตัว
ที่ถูกแช่แข็งใน Chukchi Peninsula รอดตายได้
.
.
.
ในปี 1959 บริษัท Wärtsilä ของฟินแลนด์
ได้ส่งมอบเรือตัดน้ำแข็ง Moskva ให้กับสหภาพโซเวียต
ตามสัญญาต่อเรือลำนี้ที่มีการลงนามเมื่อ 3 ปีก่อน
และส่วนหนึ่งของข้อกำหนดของเรือลำนี้
คือ การติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้า
ที่ทรงพลังมากที่สุดในขณะนั้น/ในยุคนั้น
เพื่อจะช่วยกรุยทางให้เรือหลายร้อยลำ
แล่นผ่านเส้นทาง (เย็นจัด) ทาง Northern Sea Route
ซึ่งครอบคลุมจาก Murmansk ถึง Vladivostok
โดยจะช่วยลดเวลาการเดินทางลงเหลือเฉลี่ย 10 วัน
ซึ่งจัดว่าค่อนข้างเร็วมากสำหรับทางเดินเรือ
เครื่องยนต์อันทรงพลังของ Moskva
จะช่วยให้เรือต่าง ๆ สามารถแล่นผ่านทะเล
ฝ่าน้ำแข็งที่หนากว่ารุ่นก่อน ๆ ในขณะนั้น
ทำให้สามารถขยายฤดูกาลขนส่งได้ตามเส้นทางนี้
เรือ Moskva คือ เรือธงที่จะนำความรุ่งโรจน์ในการเดินเรือ
ต่อมาจึงถูกส่งไปประจำการที่ Vladivostok
และส่งไปประจำการทางตะวันออก
ของเส้นทาง Northern Sea Route
แต่การผจญภัยของเรือ Moskva
ในการช่วยเหลือปลาวาฬวาฬเบลูก้า
คือ เรื่องราวที่เป็นตำนานความทรงจำ
.
.
.
ในภูมิประเทศที่หนาวเย็นของคาบสมุทร Chukchi
(ดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซียซึ่งอยู่ตรงข้าม Alaska ของ USA)
Chukchi หรือ Chukchee เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม
ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมของทวีปอเมริกา
ประเพณีและวิถีชีวิตของชนพื้นเมืองเหล่านี้
ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักจนกระทั่งปี 1920
เมื่อรัฐบาลสหภาพโซเวียตได้จัดตั้งโรงเรียนและอุตสาหกรรมในพื้นที่
(ที่ดำเนินการโดยรัฐบาล ในการอบรมคนเข้าระบบ/ยอมรับรัฐบาล
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทั่วโลกในการบังคับเรียน 12 ปี
ทำให้ทุกคนอยู่ในระบบ/ยอมรับการเรียน/ทำงานร่วมกัน)
แต่ชนพื้นเมือง Chukchi ยังคงล่าสัตว์ป่าในท้องถิ่นเป็นอาหาร
และจัดหาวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมที่เพิ่งสร้างใหม่บางส่วน
ในรูปแบบของการตกปลา การล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล
หรือการต้อนกวางเรนเดียร์ การล่าเพื่อยังชีพ
และยังคงฝึกฝนเยาวชน Chukchi จนถึงทุกวันนี้
แม้ว่าจะลดขอบเขต/บทบาทลงจากเดิมอย่างมากก็ตาม
.
.
Representation of a Chukchi family
by Louis Choris (1816)
.
.
ปลายเดือนธันวาคม 1984
นักล่า Chuckchi และชาวประมงท้องถิ่น
ใกล้เกาะ Yttygran ในทะเล Bering
ใกล้กับชายฝั่ง Chukotka
และห่างจาก Alaska เพียง 130 ไมล์เท่านั้น
จะจัดให้มีมหกรรมงานเลี้ยงล่าสัตว์
ยังไม่ทราบจำนวนนักล่า/ผู้ร่วมงานในครั้งนั้น
แต่มีปลาวาฬเบลูก้าราว 3,000 ตัว
ที่ติดอยู่ในน่านน้ำแช่แข็งของช่องแคบคาบสมุทร Senyavin
เพราะพวกปลาวาฬกำลังติดกับดักตนเอง
(ปลาวาฬ คือ แหล่งอาหารสำคัญในท้องถิ่น)
เพราะพวกมันแห่กันไปรอบ ๆ แอ่งน้ำเปิดขนาดเล็ก ๆ
ที่กระจายอยู่ทั่วช่องแคบ ๆ ต่างแย่งกันขึ้นมาสูดอากาศ
แม้ว่าในตอนแรก
พวกนักล่า Chuckchi และชาวประมงคิดว่าส้มหล่นได้ของขวัญ
และดูตื่นเต้นมากกับโอกาสที่จะล่าปลาวาฬได้อย่างง่าย ๆ
แต่เมื่อเข้าไปใกล้มากขึ้น ภาพที่เห็นกับภาพที่เป็นจริง
พวกปลาวาฬราว 3,000 ตัว กำลังจะจมน้ำตาย
(ปลาวาฬต้องขึ้นมาหายใจทุก ๆ 20 นาที)
ทำให้ประชากรในท้องถิ่นที่มีจำนวนน้อย
ต่างรีบเข้ามาช่วยเหลือปลาวาฬ
ต่างช่วยกันเจาะก้อนน้ำแข็ง
เพื่อป้องกันไม่ให้แอ่งน้ำเล็ก ๆ กลายเป็นน้ำแข็ง
ขณะที่ให้อาหารฝูงปลาวาฬเบลูก้าด้วยปลาแช่แข็ง
แต่ฤดูหนาวและน้ำจะกลายเป็นน้ำแข็ง
กำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ฝูงปลาวาฬเบลูก้า
อาจติดอยู่กับพื้นที่นี่/ตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
.
.
จนถึงวันนี้ ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า
ทำไมปลาวาฬเบลูก้าจำนวนมหาศาลไปรวมตัวกันที่นั่น
มีความเป็นไปได้ว่า พวกมันไล่ตามเหยื่อฝูงปลา Cod
หลังจากนั้นลมกำลังแรงที่ปกคลุมทางเหนือ
พัดพาก้อนน้ำแข็งที่มีความหนาสูงสุด 12 ฟุต (4 เมตร) ลอยตามมา
ขนาดความหนาของน้ำแข็งนี้หนามาก
เกินกว่าที่ฝูงวาฬจะทะลุทะลวงให้ผ่านไปได้
ดังนั้นจึงเหลือเพียงช่องเล็ก ๆ ระหว่างก้อนน้ำแข็ง
ที่ฝูงปลาวาฬจะออเข้าไปหายใจได้ในตอนนี้
แม้ว่าปลาวาฬจะสามารถว่ายน้ำใต้น้ำแข็ง
เพื่อหาหนทางออกไปสู่อิสรภาพ
แต่ระยะทางนั้นอาจยาวไกลเกินไป
สำหรับพวกปลาวาฬที่จะเดินทาง
ด้วยลมปราณครั้งเดียวไม่เกิน 20 นาที
เป็นความพยายามที่เสี่ยงอันตรายเกินไป
ดังนั้น พวกปลาวาฬจึงอยู่นิ่ง ๆ ออกันอยู่แถวนั้น
.
.
.
Atlantic cod
.
.
.
ชาวบ้านที่ช่วยเหลือฝูงปลาวาฬมาหนึ่งเดือนแล้ว
จึงรีบรายงานต่อเจ้าหน้าที่สหภาพโซเวียต
ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวให้ทางการทราบทันที
ผู้เชี่ยวชาญด้านปลาวาฬพร้อมเฮลิคอปเตอร์
จึงถูกส่งไปสำรวจสถานที่เกิดเหตุทันที
ทีมงานได้สรุปอย่างรวดเร็ว
ในการแก้ไขสถานการณ์ครั้งนี้ว่า
มีวิธีเดียวที่จะช่วยปลาวาฬออกมาได้
คือ การเคลียร์เส้นทางผ่านน้ำแข็ง
เพื่อให้ฝูงปลาวาฬเบลูก้าว่ายน้ำออกมา
จากก้อนน้ำแข็งที่มีความหนา 4 เมตร
สถานที่เกิดเหตุใกล้กับ Vladivostok
ในที่สุดเรือ Moskva จึงถูกส่งไปช่วยเหลือ
เพื่อทะลายก้อนน้ำแข็งให้ฝูงปลาวาฬเป็นอิสระ
ตามคำบอกเล่าของนักปลาวาฬวิทยา
เมื่อเรือตัดน้ำแข็ง Moskva
มาถึงพื้นที่เดือนกุมภาพันธ์ 1985
กัปตัน Anatoly M. Kovalenko
ในครั้งแรกต้องการยกเลิกภารกิจ
เพราะรู้สึกว่าก้อนน้ำแข็งหนาเกินไป
แต่ต่อมา ท่านก็เปลี่ยนใจลงมือฝ่าน้ำแข็งทันที
หลังจากเห็นปลาวาฬหลายสิบตัวตายต่อหน้าต่อตาท่าน
อย่างไรก็ตาม หลังจากความล่าช้าในตอนแรก
ลูกเรือ Moskva ต่างร่วมมือร่วมใจกัน
เติมเชื้อเพลิงให้มากที่สุดเท่าที่จะบรรทุกได้
แล้วบังคับเรือตัดผ่านน้ำแข็งฝ่าไปให้ได้
แม้ว่าในตอนแรก ยังเป็นไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้
The New York Times เขียนว่า
" เรือตัดน้ำแข็ง Moskva วิ่งแข่งกับเวลา
และอุณหภูมิที่พุ่งพรวด(หนาวเย็น)
เพื่อไปให้ถึงฝูงปลาวาฬในพื้นที่เสี่ยงภัย
ก่อนที่พวกมันจะหายใจไม่ออก
หรืออดตายในแอ่งน้ำเปิดที่หดตัว
นี่คือ หนึ่งในการปฏิบัติการกู้ภัยที่ผิดปกติอย่างมาก
ในประวัติศาสตร์การนำทางเรือในเขตอาร์กติก
ปฏิบัติการครั้งนี้ คือ การทดสอบครั้งยิ่งใหญ่ "
.
ตามรายงานหนังสือพิมพ์ Izvestia ของรัสเซีย
เมื่อเรือตัดน้ำแข็งแล่นผ่านเข้าไปถึงฝูงปลาวาฬได้
ปัญหาใหม่ก็เกิดขึ้นมา คือ
วิธีเกลี้ยกล่อมฝูงปลาวาฬเบลูก้าที่อ่อนแอ
ให้ทำตามเสียงฟ้าร้องคำรามของเรือตัดน้ำแข็งขนาดใหญ่
ที่แล่นเข้ามาช่วยเหลือฝูงปลาวาฬ
“ ไม่มีใครสามารถบอกกัปตันได้ว่า
จะต้องปฏิบัติขั้นตอนที่รับผิดชอบมากที่สุดได้อย่างไร
จะพูดจากับปลาวาฬขั้วโลกด้วยภาษาอะไร
ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการทดลองอย่างแท้จริง ”
ในช่วงแรก ฝูงปลาวาฬจะเข้ามาพักผ่อน/มีความสุข
ในแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่เรือ Moskva สร้างขึ้นมา
มีการให้อาหารเสริมกำลังและเป็นที่พักหายใจ
จากนั้นฝูงปลาวาฬก็เริ่มเคลื่อนไหว เล่นกัน
ส่งเสียงหวีดหวิว ร้องเรียกหากัน
พูดได้ว่า ทำทุกอย่างยกเว้นสิ่งเดียว
ว่ายเข้าไปในคลองขุดที่สร้างโดยเรือตัดน้ำแข็ง
มันต้องใช้เวลาอีก 4 วันในการสอนปลาวาฬเบลูก้า
ไม่ต้องกลัวเรือ เสียงใบพัดของเรือ
เรือตัดน้ำแข็งจะแล่นกล้บไปกล้บมา
จากนั้น ลูกเรือบางคนเล่าว่า
ปลาวาฬจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อดนตรี
และแล้วก็เริ่มเปิดดนตรีบนดาดฟ้าเรือดังสนั่น
เริ่มจากเพลงยอดนิยม เพลงรบ เพลงคลาสสิก
เพลงคลาสสิกได้รับการพิสูจน์ว่า
เป็นเพลงยอดนิยมมากที่สุดของปลาวาฬเบลูก้า
ฝูงปลาวาฬเริ่มว่ายน้ำตามเรือตัดน้ำแข็งอย่างช้า ๆ
ดังนั้นมันจึงเป็นช่วงเวลา Pied Piper
กัปตัน Anatoly M. Kovalenko ได้รายงาน
ทางวิทยุไปยังสำนักงานใหญ่
" กลยุทธ์ของเราคือ เราตั้งหลัก/หยุดพักก่อน
แล้วบุกเข้าไปตัดน้ำแข็งอีกครั้ง ทำทาง แล้วรอ
เราทำซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งมาก
จนชาวเบลูก้าเริ่ม เข้าใจ ความตั้งใจของเรา
และปฏิบัติตาม/ว่ายน้ำตามเรือตัดน้ำแข็ง
ดังนั้นเราจึงนำทางไปกิโลเมตรแล้วกิโลเมตรเล่า
เมื่อวันเวลาผ่านไปหลายวัน
ฝูงปลาวาฬก็เริ่มคุ้นเคยกับเรืออย่างเต็มที่
พวกมันต่างเริ่มต้นนำทางเรือด้วยตัวเองในบางครั้ง
หรือไม่ก็ล้อมรอบเรือไว้ทุกทิศทุกทาง
พวกมันมีความสุขเหมือนกับเด็ก ๆ
ว่ายน้ำ กระโดดโลดเต้น กระจายไปทั่วทุ่งน้ำแข็ง ”
ในที่สุด ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 1985
เรือตัดน้ำแข็ง Moskva ก็พาปลาวาฬเบลูก้าสู่ทะเลเปิด
คาดว่ามีปลาวาฬเบลูก้าประมาณ 2,000 ตัวออกมาได้
และอีกราว 500 ตัวกลายเป็นอาหารของนักล่าในพื้นที่
ปฏิบัติการกู้ภัยครั้งนี้เรียกว่า Operation Beluga
รัฐบาลสหภาพโซเวียตต้องเสียค่าใช้จ่าย
ประมาณ 55,000 ดอลลาร์สหรัฐในยุคนั้น
(ในปี 2022 ราว 148,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ราว 5.18 ล้านบาท อัตรา 35/1)
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3yDk4Qz
https://bit.ly/3Mwk5KB
https://bit.ly/3PiOEVI
.
เพิ่มเติม
ปลาวาฬเบลูก้า
Beluga Whale
.
.
.
.
.
.
.
นิทานพื้นบ้านในยุโรป
ชาวบ้านประกาศหาคนมากำจัดหนูในหมู่บ้าน
โดยสัญญาว่าจะจ่ายค่าจ้างอย่างงามถ้าทำได้
หลังจากนั้นไม่นานนัก
มีชายเป่าปี่มาปรากฏตัวขึ้นมาในหมู่บ้าน
เป่าปี่เรียกฝูงหนูทุกตัวในหมู่บ้านให้ออกมา
แล้วเดินตามหลังชายเป่าปี่ลงในทะเล
หนูทุกตัวในหมู่บ้านจึงหายไป
แต่แล้วชาวบ้านกลับเบี้ยวค่าจ้างชายเป่าปี่
ในตอนที่ผู้ชายผู้หญิงออกไปทำไร่ไถนาเลี้ยงสัตว์
ชายเป่าปี่จึงเข้ามาในหมู่บ้านพรัอมเป่าปี่
เด็กชายเด็กหญิงช่วงเยาวชนต่างออกมา
แล้วกระโดดโลดเต้นเดินตามชายเป่าปี่
ต่างพากันเดินตามจนเดินหายไปในป่าเขา
.
.
.
เรือตัดน้ำแข็งรัสเซีย Admiral Makarov (ซ้าย)
และ Moskva ถูกขายเป็นเศษเหล็กในปี 1992
.
.
.
Baby Beluga by Raffi
.
.
The Best of Tchaikovsky
.