การจมของเรือวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟ นั้นถือได้ว่ามีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟ (Wilhelm Gustloff) เป็นเรือของเยอรมัน ซึ่งบรรทุกผู้อพยพพลเรือนชาวเยอรมัน เจ้าหน้าที่ทางการและบุคลากรทางทหารจากเมือง Gotenhafen หรือ Gdynia ในโปแลนด์ ถูกจมลงในวันที่30 มกราคม ค.ศ.1945 โดยเรือดำน้ำรัสเซีย มีผู้เสียชีวิตราว 9,362 คน รอดชีวิต1,252คน
(คลิปและรูปตอนเปิดตัวในวันที่ 5 พ.ค. ค.ศ.1937)
เรือวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟ ถูกต่อขึ้นเนื่องจากขณะที่ฮิตเลอร์ครองอำนาจอยู่นั้น ชาติใหญ่ๆในยุโรปต่างก็มีเรือเดินสมุทรกันทั้งนั้น เช่น ฝรั่งเศสมีเรือนอร์มังดี อังกฤษมีเรือควีนแมรี่ ฮิตเลอร์จึงต่อเรือเดินสมุทรขึ้นมาบ้าง เรือวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟ ถูกต่อขึ้นที่เมืองฮัมเบอร์คโดยอู่ต่อเรือBlohm & Voss ในวันที่1 สิงหาคม ค.ศ.1936 และสร้างเสร็จพร้อมใช้งานเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1937 ความยาวตลอดลำ 208.50ม. ความเร็ว15.5น็อต มีระวางขับน้ำ 25,484ตัน จุคนได้1,465คน(จากการออกแบบ) มีห้องเคบิน489ห้อง ตั้งชื่อว่าวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟ เป็นเกียรติแก่เพื่อนที่ถูกลอบสังหารเสียชีวิตในปีค.ศ.1936
(ชาวเยอรมันบนเรือช่วงที่ถูกใช้เป็นเรือโดยสาร)
(ภาพอีกมุมหนึ่ง ด้านหลังจะเป็นเรือชูชีพ)
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่2 ขึ้นในปี1939 เยอรมันยึดประเทศโปแลนด์ได้ จึงถูกเปลี่ยนเป็นเรือพยาบาล( hospital ship)ตั้งแต่กันยายน 1939 – พฤศจิกายน 1940 หลังจากนั้นจึงนำมาใช้เป็นเรือฝึกทหาร(พฤศจิกายน 1940 – มกราคม 1945 ) จอดไว้ที่เมืองGotenhafen อ่าวดานซิก(Danzig) ติดทะเลบอลติกทางเหนือของโปแลนด์ ไม่ห่างจากพรมแดนรัสเซียเท่าไหร่นัก
(วิลเฮล์ม กุสต์ลอฟ ปี1939)
(ทหารเยอรมันที่บาดเจ็บกำลังเดินทางกลับเยอรมันโดยเรือวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟ ในปี1940)
แต่เมื่อเยอรมันเริ่มพ่ายแพ้ต่อรัสเซียในช่วงปลายปี1944ต่อต้นปี1945 กองทัพแดงรัสเซียรุกกองทัพเยอรมันในโปแลนด์ ปรัสเซิยตะวันออก และเข่นฆ่าพลเมืองในเมืองต่างๆอย่างทารุณรวมไปถึงการข่มขืน ทำทารุณกรรมต่างๆและการกวาดล้างกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic cleansing)ไปทุกเมืองที่เข้ายึด ทั้งยังถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดจากทางรัสเซียและอเมริกา ทำให้เมืองต่างๆเสียหายเป็นอย่างมาก ฝ่ายรัสเซียเองตั้งใจจะยึดเมืองตามชายทะเลเพื่อตัดขาดเยอรมัน ดังนั้นไม่ว่าเมืองใดๆ พอชาวเมืองรู้ว่าทหารรัสเซียรุกใกล้เข้ามาต่างก็ทำการอพยพหนีภัยสงคราม
(การฆ่าและข่มขืนในปรัสเซียตะวันออกโดยกองทัพแดง creditภาพจาก
http://www.holocaustianity.com/east-prussia.html )
(ชาวเยอรมันอพยพหนีภัยสงคราม)
ในเดือนมกราคม ปี1945 ชาวเมืองต่างๆพากันหลบหนีออกทางทะเลเพราะทางบกรบพุ่งกันอย่างหนักและถูกกองทัพแดง(ทหารรัสเซีย)ปิดกั้น จอมพลเรือเดอนิซ ได้โทรเลขสั่งการให้กองทหารเรือที่ตั้งอยู่ที่เมือง Gotenhafen ( ชื่อเดิมคือ กดีเนีย )อพยพลงเรือ โดยมีเรือขนาดใหญ่อยู่ 4 ลำ คือ
1.เรืออานซา (Hansa) 2.ฮัมบูร์ก (HAMBURG) 3.เรือพยาบาลดอยชลัน (DEUTSCHLAND) และ 4.วิลเฮล์ม กุสต์ลอฟ (Wilhelm Gustloff) แต่ชาวเมืองที่ต้องการอพยพต่างก็ต้องการขอโดยสารไปด้วย(ที่ท่าเรือตอนนั้นมีผู้อพยพรอขึ้นเรือราว 60,000คน)
(การอพยพออกจากเมืองPillau ในปรัสเซียตะวันออก ม.ค.ปี1945)
ทางนาซีได้ทำบัตรสำหรับผู้ที่มีสิทธิขึ้นไปบนเรือ โดยผู้ที่ได้บัตรขึ้นเรือวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟอยู่ที่ 6,000คน ทางเยอรมันได้ทาสีเรือใหม่เป็นสีขาว มีเครื่องหมายกาชาดสีแดงที่ข้างเรือ แต่ไม่ได้ถอดปืนสำหรับทำการฝึกออก บ่ายวันที่30มกราคม 1945 เมื่อถึงกำหนดออกเรือ ฝูงชนต่างก็เฮโลกันปีนป่ายขึ้นไปบนเรือทำให้รวมแล้วมีผู้โดยสารถึง10,614คน เป็นทหารที่บาดเจ็บหนักจำนวน 162คน ลูกเรือ173คน ทหารหญิงประจำกองทัพเรือ 373คน เจ้าหน้าที่พลเรือนและทหาร918คน ที่เหลือเป็นผู้อพยพจากปรัสเซียตะวันออก, Pillau โดยผู้อพยพที่ได้ขึ้นเรือไปนั้นมีเด็กอยู่ประมาณ 4,000คน
(เรือวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟที่สัญญลักษณ์นาซีในรูปได้ถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายกาชาดก่อนออกเดินทาง)
เรือวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟแล่นเรือออกไปโดยมีเรือตอร์ปิโด Löwe คุ้มกัน มีกัปตันเรือ 4คน โดยผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจและควบคุมการเดินเรือคือกัปตันเรืออาวุโส Friedrich Petersen (คนนี้เป็นพลเรือน) กัปตัน Wilhelm Zahn หัวหน้ากองเรือดำน้ำ(Head of the U-boat division) ที่เหลืออีก 2 คนเป็นพลเรือน คือกัปตันKöhler และกัปตัน Weller โดยทั้งที่เพิ่งเริ่มเดินทางก็ส่อแววไม่ราบรื่นซะแล้วจากการที่กัปตันทั้ง4 มีความเห็นไม่ตรงกันในการเดินเรือว่าควรใช้เส้นทางและวิธีใดถึงจะดีที่สุดในการเดินเรือให้ปลอดภัยจากการโจมตีของเรือดำน้ำ
พวกเขาถกเถียงกันเรื่องความเร็วที่ใช้ เส้นทาง จะเดินเรือเป็นเส้นตรงหรือซิกแซก เป็นต้น โดยกัปตันปีเตอร์สัน (Friedrich Petersen ) และกัปตันซาห์น (Lieutenant Commander Wilhelm Zahn ) มีความคิดเห็นขัดแย้งกันไปคนละทาง คือกัปตันซาห์นเห็นว่าควรจะแล่นไปในบริเวณน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งและพรางไฟ แต่กัปตันปีเตอร์สันไม่เห็นด้วยเขาตัดสินใจบ่ายหัวเรือแล่นไปในเขตน้ำลึก เดินเรือแบบซิกแซกและเปิดไฟนำทางเพื่อหลีกเลี่ยงการชนในที่มืดเพราะเห็นว่ามันมีอันตรายมากกว่าอันตรายที่เกิดจากเรือดำน้ำของกองทัพรัสเซีย โดยทะเลบอลติกในช่วงนั้นอากาศติดลบ10องศา – ลบ18องศา ความเร็วลมระดับ7มีคลื่นสูง4 - 5.5เมตร หิมะตกและมีน้ำแข็งลอยอยู่ทั่วผืนน้ำ ทัศนวิสัยไม่ดี และนั่นก็ทำให้วิลเฮล์ม กุสต์ลอฟประสบหายนะ
ประมาณ18.00น. น้ำแข็งเริ่มจับตัวหนาบนดาดฟ้าและหลักเดวิท(หลักที่ใช้สำหรับการชักหย่อนเรือชูชีพ) ปืนต่อต้านอากาศยานอยู่ในสภาวะที่ใช้การไม่ได้ พวกลูกเรือพยายามที่จะละลายน้ำแข็งแต่ก็ไม่สำเร็จ แม้อากาศข้างนอกจะหนาวเย็นแต่ด้านล่างดาดฟ้าเรือกลับมีความร้อนและความชื้นเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้โดยสารหลายคนเพิกเฉยต่อคำสั่งที่ให้สวมเสื้อชูชีพติดตัวไว้ของกัปตันปีเตอร์สัน เพราะรู้สึกไม่สะดวก
(ตัวอย่างสภาพเรือที่ถูกน้ำแข็งเกาะ ในรูปเป็นเรือรบชานเฮิร์ท)
เรือมุ่งหน้าไปยังแหลมเฮล (Hel) ในตอนนั้นฐานทัพเรือของรัสเซียที่คอนสตัดท์ (Klonstadt)ใกล้เลนินกราด ได้ส่งเรือดำน้ำ S-13ออกลาดตระเวณในทะเลบอลติก โดยอยู่ในบริเวณใกล้ๆอ่าวดานซิก น.อ.มาริเนสโก(Alexander U. Marinesco) ผบ.เรือ นำเรือขึ้นสู่ผิวน้ำใกล้แหลมเฮล เมื่อเวลา 20.35น. ของวันที่ 30 ม.ค. ท่ามกลางพายุหิมะ เขาส่องกล้องมองไปรอบๆ ตอนแรกเห็นเพียงแสงไฟไกลๆและคิดว่าเป็นแสงของกระโจมไฟที่แหลมเฮล แต่เมื่อพายุหิมะเริ่มสงบลง ก็เห็นว่าเป็นเรือขนาดใหญ่ของเยอรมัน เปิดไฟสว่างทั้งลำ มีเรือตอร์ปิโดนำมาเพียงลำเดียว อันที่จริงเรือตอร์ปิโด Löwe น่าจะจับเสียงเรือดำน้ำได้ แต่อุปกรณ์ตรวจจับเรือดำน้ำก็ขัดข้องเสียอีก เรือดำน้ำ S-13 อยู่ด้านในระหว่างฝั่งกับเรือใหญ่ที่เห็น จึงวิ่งลัดเลาะตาม อาศัยเงาฝั่งกำบังเรือไว้ ไม่สามารถจะดำลงได้เพราะน้ำลึกเพียง30เมตร และค่อยๆนำเรือแล่นขนานเข้าไปใกล้ราว 2,000 เมตร มองผ่านกล้องจึงเห็นถนัดว่าเป็นเรือโดยสารเยอรมันขนาดใหญ่ มีผู้โดยสารเต็มลำ
(เรือดำน้ำ S-13)
(Alexander U. Marinesco)
edit:แก้ไขข้อมูล
วิลเฮล์ม กุสต์ลอฟ โศกนาฏกรรมที่ถูกลืม
(คลิปและรูปตอนเปิดตัวในวันที่ 5 พ.ค. ค.ศ.1937)
เรือวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟ ถูกต่อขึ้นเนื่องจากขณะที่ฮิตเลอร์ครองอำนาจอยู่นั้น ชาติใหญ่ๆในยุโรปต่างก็มีเรือเดินสมุทรกันทั้งนั้น เช่น ฝรั่งเศสมีเรือนอร์มังดี อังกฤษมีเรือควีนแมรี่ ฮิตเลอร์จึงต่อเรือเดินสมุทรขึ้นมาบ้าง เรือวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟ ถูกต่อขึ้นที่เมืองฮัมเบอร์คโดยอู่ต่อเรือBlohm & Voss ในวันที่1 สิงหาคม ค.ศ.1936 และสร้างเสร็จพร้อมใช้งานเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1937 ความยาวตลอดลำ 208.50ม. ความเร็ว15.5น็อต มีระวางขับน้ำ 25,484ตัน จุคนได้1,465คน(จากการออกแบบ) มีห้องเคบิน489ห้อง ตั้งชื่อว่าวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟ เป็นเกียรติแก่เพื่อนที่ถูกลอบสังหารเสียชีวิตในปีค.ศ.1936
(ชาวเยอรมันบนเรือช่วงที่ถูกใช้เป็นเรือโดยสาร)
(ภาพอีกมุมหนึ่ง ด้านหลังจะเป็นเรือชูชีพ)
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่2 ขึ้นในปี1939 เยอรมันยึดประเทศโปแลนด์ได้ จึงถูกเปลี่ยนเป็นเรือพยาบาล( hospital ship)ตั้งแต่กันยายน 1939 – พฤศจิกายน 1940 หลังจากนั้นจึงนำมาใช้เป็นเรือฝึกทหาร(พฤศจิกายน 1940 – มกราคม 1945 ) จอดไว้ที่เมืองGotenhafen อ่าวดานซิก(Danzig) ติดทะเลบอลติกทางเหนือของโปแลนด์ ไม่ห่างจากพรมแดนรัสเซียเท่าไหร่นัก
(วิลเฮล์ม กุสต์ลอฟ ปี1939)
(ทหารเยอรมันที่บาดเจ็บกำลังเดินทางกลับเยอรมันโดยเรือวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟ ในปี1940)
แต่เมื่อเยอรมันเริ่มพ่ายแพ้ต่อรัสเซียในช่วงปลายปี1944ต่อต้นปี1945 กองทัพแดงรัสเซียรุกกองทัพเยอรมันในโปแลนด์ ปรัสเซิยตะวันออก และเข่นฆ่าพลเมืองในเมืองต่างๆอย่างทารุณรวมไปถึงการข่มขืน ทำทารุณกรรมต่างๆและการกวาดล้างกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic cleansing)ไปทุกเมืองที่เข้ายึด ทั้งยังถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดจากทางรัสเซียและอเมริกา ทำให้เมืองต่างๆเสียหายเป็นอย่างมาก ฝ่ายรัสเซียเองตั้งใจจะยึดเมืองตามชายทะเลเพื่อตัดขาดเยอรมัน ดังนั้นไม่ว่าเมืองใดๆ พอชาวเมืองรู้ว่าทหารรัสเซียรุกใกล้เข้ามาต่างก็ทำการอพยพหนีภัยสงคราม
(การฆ่าและข่มขืนในปรัสเซียตะวันออกโดยกองทัพแดง creditภาพจาก http://www.holocaustianity.com/east-prussia.html )
(ชาวเยอรมันอพยพหนีภัยสงคราม)
ในเดือนมกราคม ปี1945 ชาวเมืองต่างๆพากันหลบหนีออกทางทะเลเพราะทางบกรบพุ่งกันอย่างหนักและถูกกองทัพแดง(ทหารรัสเซีย)ปิดกั้น จอมพลเรือเดอนิซ ได้โทรเลขสั่งการให้กองทหารเรือที่ตั้งอยู่ที่เมือง Gotenhafen ( ชื่อเดิมคือ กดีเนีย )อพยพลงเรือ โดยมีเรือขนาดใหญ่อยู่ 4 ลำ คือ
1.เรืออานซา (Hansa) 2.ฮัมบูร์ก (HAMBURG) 3.เรือพยาบาลดอยชลัน (DEUTSCHLAND) และ 4.วิลเฮล์ม กุสต์ลอฟ (Wilhelm Gustloff) แต่ชาวเมืองที่ต้องการอพยพต่างก็ต้องการขอโดยสารไปด้วย(ที่ท่าเรือตอนนั้นมีผู้อพยพรอขึ้นเรือราว 60,000คน)
(การอพยพออกจากเมืองPillau ในปรัสเซียตะวันออก ม.ค.ปี1945)
ทางนาซีได้ทำบัตรสำหรับผู้ที่มีสิทธิขึ้นไปบนเรือ โดยผู้ที่ได้บัตรขึ้นเรือวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟอยู่ที่ 6,000คน ทางเยอรมันได้ทาสีเรือใหม่เป็นสีขาว มีเครื่องหมายกาชาดสีแดงที่ข้างเรือ แต่ไม่ได้ถอดปืนสำหรับทำการฝึกออก บ่ายวันที่30มกราคม 1945 เมื่อถึงกำหนดออกเรือ ฝูงชนต่างก็เฮโลกันปีนป่ายขึ้นไปบนเรือทำให้รวมแล้วมีผู้โดยสารถึง10,614คน เป็นทหารที่บาดเจ็บหนักจำนวน 162คน ลูกเรือ173คน ทหารหญิงประจำกองทัพเรือ 373คน เจ้าหน้าที่พลเรือนและทหาร918คน ที่เหลือเป็นผู้อพยพจากปรัสเซียตะวันออก, Pillau โดยผู้อพยพที่ได้ขึ้นเรือไปนั้นมีเด็กอยู่ประมาณ 4,000คน
(เรือวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟที่สัญญลักษณ์นาซีในรูปได้ถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายกาชาดก่อนออกเดินทาง)
เรือวิลเฮล์ม กุสต์ลอฟแล่นเรือออกไปโดยมีเรือตอร์ปิโด Löwe คุ้มกัน มีกัปตันเรือ 4คน โดยผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจและควบคุมการเดินเรือคือกัปตันเรืออาวุโส Friedrich Petersen (คนนี้เป็นพลเรือน) กัปตัน Wilhelm Zahn หัวหน้ากองเรือดำน้ำ(Head of the U-boat division) ที่เหลืออีก 2 คนเป็นพลเรือน คือกัปตันKöhler และกัปตัน Weller โดยทั้งที่เพิ่งเริ่มเดินทางก็ส่อแววไม่ราบรื่นซะแล้วจากการที่กัปตันทั้ง4 มีความเห็นไม่ตรงกันในการเดินเรือว่าควรใช้เส้นทางและวิธีใดถึงจะดีที่สุดในการเดินเรือให้ปลอดภัยจากการโจมตีของเรือดำน้ำ
พวกเขาถกเถียงกันเรื่องความเร็วที่ใช้ เส้นทาง จะเดินเรือเป็นเส้นตรงหรือซิกแซก เป็นต้น โดยกัปตันปีเตอร์สัน (Friedrich Petersen ) และกัปตันซาห์น (Lieutenant Commander Wilhelm Zahn ) มีความคิดเห็นขัดแย้งกันไปคนละทาง คือกัปตันซาห์นเห็นว่าควรจะแล่นไปในบริเวณน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งและพรางไฟ แต่กัปตันปีเตอร์สันไม่เห็นด้วยเขาตัดสินใจบ่ายหัวเรือแล่นไปในเขตน้ำลึก เดินเรือแบบซิกแซกและเปิดไฟนำทางเพื่อหลีกเลี่ยงการชนในที่มืดเพราะเห็นว่ามันมีอันตรายมากกว่าอันตรายที่เกิดจากเรือดำน้ำของกองทัพรัสเซีย โดยทะเลบอลติกในช่วงนั้นอากาศติดลบ10องศา – ลบ18องศา ความเร็วลมระดับ7มีคลื่นสูง4 - 5.5เมตร หิมะตกและมีน้ำแข็งลอยอยู่ทั่วผืนน้ำ ทัศนวิสัยไม่ดี และนั่นก็ทำให้วิลเฮล์ม กุสต์ลอฟประสบหายนะ
ประมาณ18.00น. น้ำแข็งเริ่มจับตัวหนาบนดาดฟ้าและหลักเดวิท(หลักที่ใช้สำหรับการชักหย่อนเรือชูชีพ) ปืนต่อต้านอากาศยานอยู่ในสภาวะที่ใช้การไม่ได้ พวกลูกเรือพยายามที่จะละลายน้ำแข็งแต่ก็ไม่สำเร็จ แม้อากาศข้างนอกจะหนาวเย็นแต่ด้านล่างดาดฟ้าเรือกลับมีความร้อนและความชื้นเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้โดยสารหลายคนเพิกเฉยต่อคำสั่งที่ให้สวมเสื้อชูชีพติดตัวไว้ของกัปตันปีเตอร์สัน เพราะรู้สึกไม่สะดวก
(ตัวอย่างสภาพเรือที่ถูกน้ำแข็งเกาะ ในรูปเป็นเรือรบชานเฮิร์ท)
เรือมุ่งหน้าไปยังแหลมเฮล (Hel) ในตอนนั้นฐานทัพเรือของรัสเซียที่คอนสตัดท์ (Klonstadt)ใกล้เลนินกราด ได้ส่งเรือดำน้ำ S-13ออกลาดตระเวณในทะเลบอลติก โดยอยู่ในบริเวณใกล้ๆอ่าวดานซิก น.อ.มาริเนสโก(Alexander U. Marinesco) ผบ.เรือ นำเรือขึ้นสู่ผิวน้ำใกล้แหลมเฮล เมื่อเวลา 20.35น. ของวันที่ 30 ม.ค. ท่ามกลางพายุหิมะ เขาส่องกล้องมองไปรอบๆ ตอนแรกเห็นเพียงแสงไฟไกลๆและคิดว่าเป็นแสงของกระโจมไฟที่แหลมเฮล แต่เมื่อพายุหิมะเริ่มสงบลง ก็เห็นว่าเป็นเรือขนาดใหญ่ของเยอรมัน เปิดไฟสว่างทั้งลำ มีเรือตอร์ปิโดนำมาเพียงลำเดียว อันที่จริงเรือตอร์ปิโด Löwe น่าจะจับเสียงเรือดำน้ำได้ แต่อุปกรณ์ตรวจจับเรือดำน้ำก็ขัดข้องเสียอีก เรือดำน้ำ S-13 อยู่ด้านในระหว่างฝั่งกับเรือใหญ่ที่เห็น จึงวิ่งลัดเลาะตาม อาศัยเงาฝั่งกำบังเรือไว้ ไม่สามารถจะดำลงได้เพราะน้ำลึกเพียง30เมตร และค่อยๆนำเรือแล่นขนานเข้าไปใกล้ราว 2,000 เมตร มองผ่านกล้องจึงเห็นถนัดว่าเป็นเรือโดยสารเยอรมันขนาดใหญ่ มีผู้โดยสารเต็มลำ
(เรือดำน้ำ S-13)
(Alexander U. Marinesco)
edit:แก้ไขข้อมูล