แพงทั่วไทยวันนี้ ดีเซลขึ้น 2 บาท/ลิตร ค่าไฟทะลุ 4 บาท/หน่วย วัตถุดิบอาหารอั้นไม่อยู่
https://www.matichon.co.th/economy/news_3318924
แพงทั่วไทยวันนี้ ดีเซลขึ้น 2 บาท/ลิตร ค่าไฟทะลุ 4 บาท/หน่วย วัตถุดิบอาหารอั้นไม่อยู่
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม PTT Station และบางจาก ประกาศปรับราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มดีเซลทุกชนิดขึ้น 2.00 บาทต่อลิตร ส่วน E85 ปรับขึ้น 1.00 บาทต่อลิตร ส่วนกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ชนิดอื่น คงเดิม มีผล 1 พ.ค.65 เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป โดยราคาขายปลีกจะเป็นดังนี้
เบนซิน95 = 47.06(เฉพาะPTT Station) , GSH95 = 39.65, E20 = 38.54, GSH91 = 39.38, E85 = 32.84, HSD- B7= 31.94, HSD-B10 = 31.94, HSD-B20=31.94,ดีเซลพรีเมี่ยม B7 = 37.96 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกข้างต้นยังไม่รวมภาษีบำรุงกรุงเทพมหานคร
ขณะที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ยังปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565 เพิ่มขึ้น 23.38 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าเอฟทีที่เรียกเก็บอยู่ที่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฐานประชาชนต้องจ่ายค่ารวม 4.00 บาทต่อหน่วย เนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นมากจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน อย่างไรก็ตามรัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานมีมาตรการบรรเทาผลกระทบประชาชนโดยลดค่าเอฟทีลง 22 สตางค์ต่อหน่วย ให้กับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน เน้นบ้านเรือนและกิจการขนาดเล็ก ช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565
ขณะที่ผู้สื่อข่าวสำรวจสถานการณ์ราคาของแห้งของสดในตลาดสดย่านสะพานใหม่ โดยภาพรวมร้านค้าต่างระบุไปในทิศทางเดียวกันว่าสินค้าทุกรายการทางซัพพลายเออร์ได้ปรับราคาต้นทุนขนส่งและขายปลีกมาอย่างต่อเนื่องเดือนเมษายนที่ผ่านมาและคาดว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้จะมีปรับราคาอีกระลอก
นาย
บัญชา คำกิ่ง เจ้าของร้านจำหน่ายอาหารแห้ง กล่าวว่า ตอนนี้สินค้าขึ้นราคาทุกอย่าง โดยเฉพาะน้ำมันพืชปาล์มขวดขนาด 1 ลิตรในเดือนเมษายนปรับขึ้นราคาต้นทุนขนส่ง 2 รอบ หรือขึ้นมา 35 บาทต่อลัง (จำนวน 12 ขวด) จาก 750 บาทต่อลัง เป็น 785 บาทต่อลัง ทำให้ราคาขายปลีกล่าสุดจากเดิม 68 บาท เป็น 70 บาทต่อขวด
นาง
กัญญา เจ้าของร้านจำหน่ายของแห้งกล่าวเสริมว่า ร้านได้ปรับราคาสินค้าขึ้นเกือบทุกรายการ อาทิ น้ำมันพืชปาล์มขวดขึ้นอีก 4 บาทต่อขวด จาก 65 บาท ต่อขวด เป็น 69-70 บาทต่อขวด ซอสปรุงรสทุกขนาดขึ้น 2-3 บาทต่อขวด น้ำพริกเผาขนาด 500 กรัมขึ้น 15 บาท จาก 50 บาท เป็น 65 บาทต่อกระปุก และขนาด 1 กิโลกรัม จาก 105 บาท เป็น 120 บาทต่อกระปุก สินค้าธัญพืชมีปรับขึ้นราคาต้นทุนขนส่งแต่ราคาขายปลีกยังคงเดิม เช่น พริกไทยเม็ดขึ้นอีก 3 บาทต่อขีด ถั่วลิสงดิบขึ้น 3 บาทต่อกิโลกรัม
นอกจากนี้ยังมีน้ำปลาร้าขวดขึ้น 2 บาทจาก 15 บาท เป็น 17 บาทต่อขวด พริกแห้งขึ้น 20 บาทต่อกิโลกรัม จาก 120 บาท เป็น 140 บาทต่อกิโลกรัม หอมแดงปรับขึ้น 5 บาท จาก 50 บาท เป็น 55 บาทต่อกิโลกรัม วุ้นเส้นบรรจุห่อขนาด 500 กรัมขึ้นจาก 65 บาท เป็น 67 บาทต่อห่อ ขนาด 80 กรัม จาก 15 บาท เป็น 16 บาทต่อห่อ กระปิขึ้น 3 บาท จาก 13 บาท เป็น 16 บาทต่อกระปุก เส้นบะหมี่เหลืองขึ้น 2 ครั้งช่วงมกราคมกับเมษายน จาก 20 บาท เป็น 23 บาทต่อถุง(น้ำหนัก 500 กรัม)
นาง
สุภาแม่ค้าขายขนมจีนแป้งหมัก กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากโรงงานผลิตขนมจีนรายใหญ่แห่งหนึ่งว่าตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมนี้จะขึ้นราคาขายส่งขนมจีนอีก 2 บาทต่อกิโลกรัม หลังไม่ได้ปรับราคามาตั้งแต่ปี 2554 เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทั้งค่าใช้จ่าย วัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า ค่าแรงงาน ค่าภาชนะบรรจุภัณฑ์ เช่น ตะกร้าพลาสติก ฟิล์มปิดขนมจีน ปิดตะกร้าที่มีราคาสูงขึ้น ทำให้ที่ร้านต้องปรับราคาขายปลีกขึ้นตามจาก 20 บาท เป็น 22 บาทต่อกิโลกรัม
ผู้เลี้ยงไก่โอดแบกต้นทุนอ่วมวัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งกระฉูด กัดฟันขึ้นราคาหน้าฟาร์มเป็น 42 บาท/ก.ก. วอนรัฐอุ้ม
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7026454
นาง
ฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ในช่วงที่ภาคปศุสัตว์ต้องเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตซ้อนวิกฤตถึง 3 ชั้น คือ
1. โรคระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกต่อเนื่องมากกว่า 2 ปี
2. ผลกระทบจากการบุกรุกของรัสเซียในยูเครน ทำให้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับสูงขึ้นทั่วโลกเป็นประวัติการณ์โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวสาลีประมาณ 30% ตลอดจนน้ำมันดิบปรับสูงขึ้นเกิน 100 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล หรือ มากกว่า 20%
และ 3. การระบาดของโรค ASF ในสุกร ทำให้การผลิตเนื้อหมูหายไป 50% และโรคยังคงหลงเหลือในประเทศไทย ส่งผลราคาปรับตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ที่มีน้อยขณะที่ต้นทุนปัจจัยการผลิตและการป้องกันโรคปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง
สำหรับอุตสาหกรรมไก่เนื้อ แม้จะต้องเผชิญปัญหาจากวิกฤตซ้อนวิกฤตเช่นเดียวกัน แต่ผู้เลี้ยงไก่พยายามบริหารจัดการธุรกิจและต้นทุนอย่างเต็มประสิทธิภาพ เสริมแหล่งโปรตีนทางเลือกให้กับผู้บริโภค ที่สำคัญราคาเข้าถึงได้มีแม้จำเป็นต้องปรับราคาหน้าฟาร์มเพื่อให้เกษตรกรไม่ขาดทุนจากเดือนม.ค. 2565 ที่ราคา 39 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 42 บาทต่อกิโลกรัมในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการปรับอย่างสมเหตุผลและมีปริมาณเพียงพอการผลิตเดินหน้าโดยไม่ให้หยุดชะงักและไม่ขาดแคลน
“สิ่งที่ภาคปศุสัตว์เป็นกังวลและจะส่งผลกระทบต่อการผลิตในระดับสูงคือ ราคาเนื้อสัตว์ไม่เป็นไปตามกลไกตลาด เนื่องจากรัฐบาลต้องรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ จึงขอความร่วมมือผู้เลี้ยงในการตรึงราคาไว้ แต่เมื่อต้นทุนการผลิตปรับขึ้นรอบด้านในสถานการณ์ไม่ปกติแบบนี้ ควรให้กลไกตลาดทำงานเพื่อให้เกษตรกรสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และผู้บริโภคได้อาหารในราคาที่เป็นธรรม” นางฉวีวรรณ กล่าว
นาง
ฉวีวรรณ กล่าวว่า ผู้เลี้ยงไก่ก็ประสบปัญหาขาดทุนไม่ต่างกับผู้เลี้ยงหมู โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ความต้องการเนื้อไก่ลดลงมากและราคาตกต่ำ เนื่องจากผู้บริโภคไม่มั่นใจรวมถึงการประกาศให้ทำงานที่บ้านและการเรียนออนไลน์ของโรงเรียนทั่วประเทศ ทำให้ผู้เลี้ยงต้องชะลอการเลี้ยงและการจับสัตว์ ทั้งที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างสมดุลปริมาณที่ออกสู่ตลาดและราคาไม่ให้ตกต่ำมากจนเกษตรกรอยู่ไม่ได้
“เนื้อไก่มีโปรตีนสูงกว่าเนื้อหมู 3 เท่า แต่ราคาถูกกว่าเนื้อหมูมาก และเนื้อไก่ที่จำหน่ายในประเทศเป็นมาตรฐานเดียวกันกับมาตรฐานส่งออก ที่สามารถบริโภคทดแทนเนื้อหมูในช่วงที่ขาดแคลนและมีราคาสูงได้” นางฉวีวรรณ กล่าว
สำหรับราคาเนื้อไก่และชิ้นส่วนต่างๆ ในตลาดสดยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับต้นทุนการเลี้ยงที่เพิ่มสูงขึ้น โดยราคา ณ วันที่ 28 เม.ย. 2565 ไก่ทั้งตัวเฉลี่ยต่อกิโลกรัมอยู่ที่ 75 บาท อกไก่ 85 บาท น่องไก่ 65 บาท ขณะที่ราคาไก่หน้าฟาร์มอยู่ที่ 42 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้น
ทั้งนี้ สมาคมฯ ขอเรียกร้องให้ภาครัฐพิจารณามาตรการสนับสนุนต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ ให้มีการนำเข้าในส่วนที่ขาดแคลนและยกเลิกอุปสรรคการนำเข้า เช่น ภาษีและโควตานำเข้า และให้ราคาเนื้อปรับขึ้นลงตามกลไกการตลาดและมีมาตรการป้องกันโรคที่เคร่งครัด เพื่อรักษามาตรการผลิตและส่งออกเนื้อไก่ของไทยตามมาตรฐานสากล สร้างหลักประกันอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภค
ม็อบเมย์เดย์นัดรวมพลบุกทำเนียบ
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_331946/
ม็อบเมย์เดย์นัดรวมพลบุกทำเนียบ ยื่น 11 ข้อเรียกร้องถึงประยุทธ์ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท หยุดแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปฏิรูประบบประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ
วันนี้ (1 พ.ค. 65) ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลุ่มคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) นำโดย นาย
สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และนาย
มานพ เกื้อรัตน์ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จัดกิจกรรมเนื่องในวันกรรมกรสากล ยื่น 11 ข้อเรียกร้องต่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
เมื่อเวลา 07.50 น. พบว่ากลุ่มมวลชนทยอยเดินทางมา ประกอบด้วย กลุ่มเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ, สหภาพแรงงานภาคตะวันออก, สมาพันธ์แรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย), กลุ่มสหภาพแรงงาน อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ และเครือข่ายลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย เป็นต้น
จากนั้นเวลา 09.30 น. กลุ่มมวลชนเคลื่อนตัวไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่น 11 ข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี นาง
อภัณตรี กล่าวว่า การจัดงานกิจกรรมในวันนี้ ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว รวมทั้งมีการจัดจุดลงทะเบียนคัดกรองตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ขณะที่กรุงเทพมหานคร มีการนำรถสุขาเคลื่อนที่ และรถน้ำประปาดื่มได้ จากการประปานครหลวงมาจอดไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนด้วย
นาย
สาวิทย์ กล่าวว่า ในทุกปีจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ในอดีตของพี่น้องกรรมกรทั่วโลก ที่ร่วมกันต่อสู้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ทำให้คนงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพื่อยื่นข้อเสนอของคนงานที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ต่างๆ ต่อรัฐบาล โดยข้อเรียกร้องหลักเป็นข้อเรียกร้องที่เป็นประเด็นทุกเถียงในสังคม คือค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งขอปรับขึ้นเป็น 492 บาท เท่ากันทั้งประเทศ เรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุน ส่งเสริม และผลักดันให้ทำโครงสร้างค่าจ้าง ขอให้หยุดแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปฏิรูประบบประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ รวมทั้งจัดตั้งธนาคารแรงงาน โรงพยาบาลประกันสังคม รับรองอนุสัญญาฉบับที่ 87 98 183 189 และขอให้ยกเลิกการจ้างงานระยะสั้น ซึ่งไม่มั่นคง พร้อมขอให้ลูกจ้างของรัฐฯ ได้รับการบรรจุ เพื่อเป็นหลักประกันในคุณภาพชีวิต
นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอสำหรับแรงงานข้ามชาติด้วย โดยขอรัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ หยุดขูดรีดแรงงานข้ามชาติ ไม่เลือกปฏิบัติกับแรงงานข้ามชาติ ขอให้ลดค่าใช้จ่ายในการทำเอกสารประจำตัวแรงงานข้ามชาติ และคุ้มครองไม่ให้แรงงานข้ามชาติตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ เป็นต้น
ด้านนาย
มานพ กล่าวว่า ขอฝากไปถึงรัฐบาลให้นำสิ่งที่ยื่นวันนี้ ไปใช้เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
JJNY : แพงทั่วไทยวันนี้│ผู้เลี้ยงไก่โอดแบกต้นทุนอ่วม│ม็อบเมย์เดย์นัดรวมพลบุกทำเนียบ│ศรีลังกาเศรษฐกิจวิกฤติหนัก
https://www.matichon.co.th/economy/news_3318924
แพงทั่วไทยวันนี้ ดีเซลขึ้น 2 บาท/ลิตร ค่าไฟทะลุ 4 บาท/หน่วย วัตถุดิบอาหารอั้นไม่อยู่
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม PTT Station และบางจาก ประกาศปรับราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มดีเซลทุกชนิดขึ้น 2.00 บาทต่อลิตร ส่วน E85 ปรับขึ้น 1.00 บาทต่อลิตร ส่วนกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ชนิดอื่น คงเดิม มีผล 1 พ.ค.65 เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป โดยราคาขายปลีกจะเป็นดังนี้
เบนซิน95 = 47.06(เฉพาะPTT Station) , GSH95 = 39.65, E20 = 38.54, GSH91 = 39.38, E85 = 32.84, HSD- B7= 31.94, HSD-B10 = 31.94, HSD-B20=31.94,ดีเซลพรีเมี่ยม B7 = 37.96 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกข้างต้นยังไม่รวมภาษีบำรุงกรุงเทพมหานคร
ขณะที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ยังปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565 เพิ่มขึ้น 23.38 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าเอฟทีที่เรียกเก็บอยู่ที่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฐานประชาชนต้องจ่ายค่ารวม 4.00 บาทต่อหน่วย เนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นมากจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน อย่างไรก็ตามรัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานมีมาตรการบรรเทาผลกระทบประชาชนโดยลดค่าเอฟทีลง 22 สตางค์ต่อหน่วย ให้กับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน เน้นบ้านเรือนและกิจการขนาดเล็ก ช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565
ขณะที่ผู้สื่อข่าวสำรวจสถานการณ์ราคาของแห้งของสดในตลาดสดย่านสะพานใหม่ โดยภาพรวมร้านค้าต่างระบุไปในทิศทางเดียวกันว่าสินค้าทุกรายการทางซัพพลายเออร์ได้ปรับราคาต้นทุนขนส่งและขายปลีกมาอย่างต่อเนื่องเดือนเมษายนที่ผ่านมาและคาดว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้จะมีปรับราคาอีกระลอก
นายบัญชา คำกิ่ง เจ้าของร้านจำหน่ายอาหารแห้ง กล่าวว่า ตอนนี้สินค้าขึ้นราคาทุกอย่าง โดยเฉพาะน้ำมันพืชปาล์มขวดขนาด 1 ลิตรในเดือนเมษายนปรับขึ้นราคาต้นทุนขนส่ง 2 รอบ หรือขึ้นมา 35 บาทต่อลัง (จำนวน 12 ขวด) จาก 750 บาทต่อลัง เป็น 785 บาทต่อลัง ทำให้ราคาขายปลีกล่าสุดจากเดิม 68 บาท เป็น 70 บาทต่อขวด
นางกัญญา เจ้าของร้านจำหน่ายของแห้งกล่าวเสริมว่า ร้านได้ปรับราคาสินค้าขึ้นเกือบทุกรายการ อาทิ น้ำมันพืชปาล์มขวดขึ้นอีก 4 บาทต่อขวด จาก 65 บาท ต่อขวด เป็น 69-70 บาทต่อขวด ซอสปรุงรสทุกขนาดขึ้น 2-3 บาทต่อขวด น้ำพริกเผาขนาด 500 กรัมขึ้น 15 บาท จาก 50 บาท เป็น 65 บาทต่อกระปุก และขนาด 1 กิโลกรัม จาก 105 บาท เป็น 120 บาทต่อกระปุก สินค้าธัญพืชมีปรับขึ้นราคาต้นทุนขนส่งแต่ราคาขายปลีกยังคงเดิม เช่น พริกไทยเม็ดขึ้นอีก 3 บาทต่อขีด ถั่วลิสงดิบขึ้น 3 บาทต่อกิโลกรัม
นอกจากนี้ยังมีน้ำปลาร้าขวดขึ้น 2 บาทจาก 15 บาท เป็น 17 บาทต่อขวด พริกแห้งขึ้น 20 บาทต่อกิโลกรัม จาก 120 บาท เป็น 140 บาทต่อกิโลกรัม หอมแดงปรับขึ้น 5 บาท จาก 50 บาท เป็น 55 บาทต่อกิโลกรัม วุ้นเส้นบรรจุห่อขนาด 500 กรัมขึ้นจาก 65 บาท เป็น 67 บาทต่อห่อ ขนาด 80 กรัม จาก 15 บาท เป็น 16 บาทต่อห่อ กระปิขึ้น 3 บาท จาก 13 บาท เป็น 16 บาทต่อกระปุก เส้นบะหมี่เหลืองขึ้น 2 ครั้งช่วงมกราคมกับเมษายน จาก 20 บาท เป็น 23 บาทต่อถุง(น้ำหนัก 500 กรัม)
นางสุภาแม่ค้าขายขนมจีนแป้งหมัก กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากโรงงานผลิตขนมจีนรายใหญ่แห่งหนึ่งว่าตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมนี้จะขึ้นราคาขายส่งขนมจีนอีก 2 บาทต่อกิโลกรัม หลังไม่ได้ปรับราคามาตั้งแต่ปี 2554 เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทั้งค่าใช้จ่าย วัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า ค่าแรงงาน ค่าภาชนะบรรจุภัณฑ์ เช่น ตะกร้าพลาสติก ฟิล์มปิดขนมจีน ปิดตะกร้าที่มีราคาสูงขึ้น ทำให้ที่ร้านต้องปรับราคาขายปลีกขึ้นตามจาก 20 บาท เป็น 22 บาทต่อกิโลกรัม
ผู้เลี้ยงไก่โอดแบกต้นทุนอ่วมวัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งกระฉูด กัดฟันขึ้นราคาหน้าฟาร์มเป็น 42 บาท/ก.ก. วอนรัฐอุ้ม
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7026454
นางฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ในช่วงที่ภาคปศุสัตว์ต้องเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตซ้อนวิกฤตถึง 3 ชั้น คือ
1. โรคระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกต่อเนื่องมากกว่า 2 ปี
2. ผลกระทบจากการบุกรุกของรัสเซียในยูเครน ทำให้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับสูงขึ้นทั่วโลกเป็นประวัติการณ์โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวสาลีประมาณ 30% ตลอดจนน้ำมันดิบปรับสูงขึ้นเกิน 100 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล หรือ มากกว่า 20%
และ 3. การระบาดของโรค ASF ในสุกร ทำให้การผลิตเนื้อหมูหายไป 50% และโรคยังคงหลงเหลือในประเทศไทย ส่งผลราคาปรับตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ที่มีน้อยขณะที่ต้นทุนปัจจัยการผลิตและการป้องกันโรคปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง
สำหรับอุตสาหกรรมไก่เนื้อ แม้จะต้องเผชิญปัญหาจากวิกฤตซ้อนวิกฤตเช่นเดียวกัน แต่ผู้เลี้ยงไก่พยายามบริหารจัดการธุรกิจและต้นทุนอย่างเต็มประสิทธิภาพ เสริมแหล่งโปรตีนทางเลือกให้กับผู้บริโภค ที่สำคัญราคาเข้าถึงได้มีแม้จำเป็นต้องปรับราคาหน้าฟาร์มเพื่อให้เกษตรกรไม่ขาดทุนจากเดือนม.ค. 2565 ที่ราคา 39 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 42 บาทต่อกิโลกรัมในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการปรับอย่างสมเหตุผลและมีปริมาณเพียงพอการผลิตเดินหน้าโดยไม่ให้หยุดชะงักและไม่ขาดแคลน
“สิ่งที่ภาคปศุสัตว์เป็นกังวลและจะส่งผลกระทบต่อการผลิตในระดับสูงคือ ราคาเนื้อสัตว์ไม่เป็นไปตามกลไกตลาด เนื่องจากรัฐบาลต้องรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ จึงขอความร่วมมือผู้เลี้ยงในการตรึงราคาไว้ แต่เมื่อต้นทุนการผลิตปรับขึ้นรอบด้านในสถานการณ์ไม่ปกติแบบนี้ ควรให้กลไกตลาดทำงานเพื่อให้เกษตรกรสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และผู้บริโภคได้อาหารในราคาที่เป็นธรรม” นางฉวีวรรณ กล่าว
นางฉวีวรรณ กล่าวว่า ผู้เลี้ยงไก่ก็ประสบปัญหาขาดทุนไม่ต่างกับผู้เลี้ยงหมู โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ความต้องการเนื้อไก่ลดลงมากและราคาตกต่ำ เนื่องจากผู้บริโภคไม่มั่นใจรวมถึงการประกาศให้ทำงานที่บ้านและการเรียนออนไลน์ของโรงเรียนทั่วประเทศ ทำให้ผู้เลี้ยงต้องชะลอการเลี้ยงและการจับสัตว์ ทั้งที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างสมดุลปริมาณที่ออกสู่ตลาดและราคาไม่ให้ตกต่ำมากจนเกษตรกรอยู่ไม่ได้
“เนื้อไก่มีโปรตีนสูงกว่าเนื้อหมู 3 เท่า แต่ราคาถูกกว่าเนื้อหมูมาก และเนื้อไก่ที่จำหน่ายในประเทศเป็นมาตรฐานเดียวกันกับมาตรฐานส่งออก ที่สามารถบริโภคทดแทนเนื้อหมูในช่วงที่ขาดแคลนและมีราคาสูงได้” นางฉวีวรรณ กล่าว
สำหรับราคาเนื้อไก่และชิ้นส่วนต่างๆ ในตลาดสดยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับต้นทุนการเลี้ยงที่เพิ่มสูงขึ้น โดยราคา ณ วันที่ 28 เม.ย. 2565 ไก่ทั้งตัวเฉลี่ยต่อกิโลกรัมอยู่ที่ 75 บาท อกไก่ 85 บาท น่องไก่ 65 บาท ขณะที่ราคาไก่หน้าฟาร์มอยู่ที่ 42 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้น
ทั้งนี้ สมาคมฯ ขอเรียกร้องให้ภาครัฐพิจารณามาตรการสนับสนุนต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ ให้มีการนำเข้าในส่วนที่ขาดแคลนและยกเลิกอุปสรรคการนำเข้า เช่น ภาษีและโควตานำเข้า และให้ราคาเนื้อปรับขึ้นลงตามกลไกการตลาดและมีมาตรการป้องกันโรคที่เคร่งครัด เพื่อรักษามาตรการผลิตและส่งออกเนื้อไก่ของไทยตามมาตรฐานสากล สร้างหลักประกันอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภค
ม็อบเมย์เดย์นัดรวมพลบุกทำเนียบ
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_331946/
ม็อบเมย์เดย์นัดรวมพลบุกทำเนียบ ยื่น 11 ข้อเรียกร้องถึงประยุทธ์ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท หยุดแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปฏิรูประบบประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ
วันนี้ (1 พ.ค. 65) ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลุ่มคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) นำโดย นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และนายมานพ เกื้อรัตน์ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จัดกิจกรรมเนื่องในวันกรรมกรสากล ยื่น 11 ข้อเรียกร้องต่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
เมื่อเวลา 07.50 น. พบว่ากลุ่มมวลชนทยอยเดินทางมา ประกอบด้วย กลุ่มเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ, สหภาพแรงงานภาคตะวันออก, สมาพันธ์แรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย), กลุ่มสหภาพแรงงาน อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ และเครือข่ายลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย เป็นต้น
จากนั้นเวลา 09.30 น. กลุ่มมวลชนเคลื่อนตัวไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่น 11 ข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี นางอภัณตรี กล่าวว่า การจัดงานกิจกรรมในวันนี้ ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว รวมทั้งมีการจัดจุดลงทะเบียนคัดกรองตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ขณะที่กรุงเทพมหานคร มีการนำรถสุขาเคลื่อนที่ และรถน้ำประปาดื่มได้ จากการประปานครหลวงมาจอดไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนด้วย
นายสาวิทย์ กล่าวว่า ในทุกปีจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ในอดีตของพี่น้องกรรมกรทั่วโลก ที่ร่วมกันต่อสู้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ทำให้คนงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพื่อยื่นข้อเสนอของคนงานที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ต่างๆ ต่อรัฐบาล โดยข้อเรียกร้องหลักเป็นข้อเรียกร้องที่เป็นประเด็นทุกเถียงในสังคม คือค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งขอปรับขึ้นเป็น 492 บาท เท่ากันทั้งประเทศ เรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุน ส่งเสริม และผลักดันให้ทำโครงสร้างค่าจ้าง ขอให้หยุดแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปฏิรูประบบประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ รวมทั้งจัดตั้งธนาคารแรงงาน โรงพยาบาลประกันสังคม รับรองอนุสัญญาฉบับที่ 87 98 183 189 และขอให้ยกเลิกการจ้างงานระยะสั้น ซึ่งไม่มั่นคง พร้อมขอให้ลูกจ้างของรัฐฯ ได้รับการบรรจุ เพื่อเป็นหลักประกันในคุณภาพชีวิต
นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอสำหรับแรงงานข้ามชาติด้วย โดยขอรัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ หยุดขูดรีดแรงงานข้ามชาติ ไม่เลือกปฏิบัติกับแรงงานข้ามชาติ ขอให้ลดค่าใช้จ่ายในการทำเอกสารประจำตัวแรงงานข้ามชาติ และคุ้มครองไม่ให้แรงงานข้ามชาติตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ เป็นต้น
ด้านนายมานพ กล่าวว่า ขอฝากไปถึงรัฐบาลให้นำสิ่งที่ยื่นวันนี้ ไปใช้เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป