ป้ายนี้จะเห็นเมื่อเข้าวัดทางประตูที่ ๒ ซึ่งหากไม่มีกิจกรรมใดๆ ทางวัดมักไม่เปิดประตู ๒ นี้สักเท่าใดนัก
ทางเข้าประตู ๑ จะเลยทางเข้าประตู ๒ นิดเดียวครับ
ผ่านประตู ๑ เข้ามาก็จะเป็นสำนักงานที่ติดต่อเรื่องต่างๆ สำหรับพุทธศาสนิกชน
จอดรถแล้ว จุดแรกที่จะนำชมก็เป็นศาลาที่มีพระพุทธเจ้าติสสะ ตั้งจิตเพื่อลบคำสาบาน
เป็นอาคารสร้างแบบสมัยใหม่
พระพุทธเจ้าติสสะ เป็นพระประธาน องค์สีดำ
ส่วนพระองค์เล็กนี้ เป็นพระที่ชาวไทเขิน นับถือเป็นอย่างมาก ด้วยร่ำลือกันว่า เป็นพระพุทธรูปที่นำมาตั้งแต่ช่วงที่อพยพจาก ๑๒ ปันนามาอยู่ที่เชียงใหม่
ต่อมามีการสร้างขึ้นมาอีก ๑ องค์ แต่เท่าที่ผมสังเกตดูความแตกต่าง พร้อมทั้งได้เรียนให้พระรูปที่ผมได้คุยได้นั้น
มีจุดสังเกตที่แตกต่างกันก็คือ องค์สร้างใหม่หน้าอกไม่ตั้งผึ่งผายเหมือนกับองค์เล็กที่นำมาจาก ๑๒ ปันนา
หลังจากกราบไหว้พระ เพื่อเป็นสิริมงคลแล้ว จะนำชมบริเวณรอบๆ วัดครับ
ผมพาเดินดูมาทางประตู ๒ ก่อน จะเห็นว่า วัดนี้มีพื้นที่กว้างมากพอสมควร
มีสวนพักผ่อนหย่อนใจ ให้ดูร่มรื่น
มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งทางพระที่ผมได้คุยด้วยบอกว่า ต่อไปทางวัดจะจัดสร้างองค์พระขึ้นกลางสระนี้ โดยองค์พระจะทำขึ้นในลักษณะองค์พระที่นำมาจาก ๑๒ ปันนา นั่นเอง
Hi-light หรือจุดเช็คอิน ที่ใครต่อใครมาวัดสันก้างปลา ก็จะแวะมาที่นี่ ก็คือ "ร้านกาแฟคนมีบุญ" นั่นเอง
ด้วยเหตุผลที่เป็นร้านกาแฟที่พระภิกษุชงกาแฟให้ญาติโยมสาธุชน ที่มาวัดสันก้างปลานี้ ได้ชิมกาแฟครับ
แต่ช่วงนี้ "โควิด" ทางวัดก็เลยงดการเปิดร้านกาแฟชั่วคราวครับ
แต่ถึงแม้จะงดการให้บริการร้านกาแฟ แต่ก็สามารถมาถ่ายรูปเช็คอินสวยๆ เก๋ๆ ได้ เพราะจุดเด่นอยู่ที่ ที่นั่งบนต้นไม้นั่นเองครับ
แต่ก่อนขึ้นไป แวะชมนกกันสักหน่อย
นกที่นี่ชินกับคนมาก ขนาดจ่อกล้องเข้าไปใกล้ๆ ก็ไม่ตกใจอะไรกันเลย
บริเวณโดยรอบต้นไม้ จัดสวนไว้อย่างลงตัวทีเดียว โดยเฉพาะบานประตู ก็เป็นจุดถ่ายรูปที่น่าสนใจมากๆ
ตรงนี้เป็นที่นั่งใต้ต้นไม้ใหญ่
ทางขึ้นต้นไม้แข็งแรง เป็นเหล็กกล่องสี่เหลี่ยม คำนวณคร่าวๆ น่าจะรับน้ำหนักคนได้สัก ๑๐ คนก็พอไหว
ขึ้นมาก็จะเห็นบานประตู กับชิงช้าแบบสมัยใหม่ ก็เป็นจุดถ่ายรูปเก๋ๆ ได้อีกมุมหนึ่งครับ
มองจากมุมบนเห็นทัศนียภาพกว้างๆ ด้านประตู ๒ อย่างสวยงาม
จะสังเกตว่าทางขึ้นเหมือนไม่อันตราย แต่เวลาขาลงลูกบันไดไม่ค่อยรับกับขนาดเท้าสักเท่าไหร่ เพราะออกแบบให้สอดปลายเท้าสำหรับขาขึ้นได้ดี แต่เวลาลงสั้นเท้าวางลงไปได้แค่ครึ่งเท้าเท่านั้นครับ ดังนั้นขาลงต้องเพิ่มความระมัดระวังกันสักหน่อย
..."วัดสันก้างปลา" เป็นวัดในพระพุทธศาสนาสังกัดมหานิกาย ก่อสร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๗ บนพื้นที่ ๑๖ ไร่
โดยคณะศรัทธาประชาชนในหมู่บ้าน เกิดความเห็นชอบร่วมกัน จึงได้รวบรวมทุนปัจจัยซื้อพื้นที่นาและพัฒนาขึ้นมาให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๘
ภายใต้อาคารนี้ มองแล้วคล้ายๆ กับโรงเพาะชำกล้าไม้ แต่ก็มีจุดน่าถ่ายรูป ก็ตรงจักรยานที่แขวนอยู่นี่แหละครับ
ส่วนบริเวณนี้จะเป็นโรงอาหารสำหรับพระภิกษุ
ออกมาผ่านสระน้ำใหญ่อีกครั้ง
สถานที่นี้สร้างจุดถ่ายรูปที่น่าสนใจแวะพักถ่ายภาพหลายจุดทีเดียวครับ
อาคารนี้เป็นอาคารเหมือนกับหอพักสำหรับผู้มาบวชเรียนครับ
ลานที่นั่งวงกลมนี้ก็เหมาะกับการถ่ายรูปมากๆ ครับ
และมองถัดไปจะเป็นคล้ายๆ กับกุฏิทรงสมัยใหม่สักหน่อยครับ
อ้อมมาทางด้านหลังของวัดสันก้างปลา จะมีเจดีย์
พระเจดีย์องค์นี้ ได้สร้างขึ้นด้วยความดำริของคุณแม่แสงด้าย โชตนา เนื่องจากท่านได้รับพระบรมสารีริกธาตุ จากประเทศอินเดียมา
และได้มีศรัทธาที่จะนำพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวเข้าบรรจุไว้ในพระเจดีย์ พร้อมกันนั้นท่านได้บริจาคปัจจัยจำนวน ๗๖,๐๐๐ บาท
แก่พระมหาธรรมา เตชปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดสันก้างปลา ท่านเจ้าอาวาสพร้อมด้วยคณะศรัทธาบ้านสันก้างปลา ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์
เมื่อวันอังคารที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๓ เหนือ ซึ่งวันดังกล่าวเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี
ในการวางศิลาฤกษ์ครั้งนั้น ได้กราบอาราธนาพระครูจันทรสมานคุณ (หลวงปู่หล้าตาทิพย์) แห่งสำนักวัดป่าตึง อำเภอสันกำแพงมาเป็นประธาน
พระเจดีย์องค์นี้ได้ทำการปอยหลวงเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ ตรงกับวันแรก ๓ ค่ำ เดือน ๗ เหนือ
แต่ละด้านขององค์เจดีย์จะมีพระพุทธรูปปางที่ไม่เหมือนกันครับ
ประวัติวัดสันก้างปลา และความเป็นมาของชุมชนไทยเขิน
..."ไทเขิน" เป็นชนชาวไทยเผ่าหนึ่งในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า โดยตั้งชื่อตามแม่น้ำขืน
เพราะได้อาศัยอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำขืน จึงเรียกว่า "ชาวขืน" ตามสำเนียงภาษาไทยกลางจึงกลายเป็น "ชาวเขิน"
ชาวไทเขินหรือไทขืนนับเป็นชนชาติไทยดั้งเดิมอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีรากฐานทางอารยธรรมที่เข้มแข็ง
มีความรุ่งเรืองโดดเด่นเทียบเคียงเชียงใหม่แห่งล้านนาไทย มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภาษาถิ่น
...การอพยพของชาวไทเขินในเชียงใหม่ได้กระจายไปตั้งบ้านเรือนทั่วจังหวัดเชียงใหม่
โดยส่วนมากจะอยู่นอกเมืองเชียงใหม่ เช่น อำเภอสันกำแพง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันทราย อำเภอสันป่าตอง เป็นต้น
โดยชาวไทเขินในชุมชนบ้านสันก้างปลา ตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณสันดอนที่มีต้นไม้ก้างปลาขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้พร้อมใจทำถางแผ้วป่าไม้ก้างปลา
และสร้างเป็นบ้านเรือนเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย จึงถือเอามงคลนามของต้นไม้ก้างปลาที่ขึ้นอยู่บริเวณนั้น
ตั้งเป็นชื่อของหมู่บ้านว่า "บ้านสันก้างปลา" ตลอดระยะเวลากว่าสองร้อยปี ที่ชาวไทเขินกลุ่มนี้ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่
และขยายตัวไปตั้งที่บ้านหัวทุ่งและบ้านทรายมูล โดยมีวัดทรายมูลเป็นศูนย์รวมจิตใจของเครือญาติชาวไทเขิน
...จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๒๗ ชาวไทเขินบ้านสันก้างปลาได้รวมตัวกันสร้างวัดใหม่ชื่อว่า "วัดสันก้างปลา"
เพื่อเป็นสถานที่บำเพ็ญศาสนกิจทางพระพุทธศาสนา และเป็นศูนย์รวมจิตใจและศูนย์กลางการทำกิจกรรมของหมู่บ้าน
ที่ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ยังคงปฏิบัติและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ภาษา เครื่องแต่งกาย ประเพณีปีใหม่เมิง อาหารการกิน เป็นต้น
เห็นกลองบูชาหรือในสำเนียง "ก๋องปูจา" เรามักจะเห็นในวัดหลายๆ วัดในล้านนา
<<< บันทึกท้ายกระทู้ >>>
...วัดสันก้างปลานี้ เป็นวัดที่สร้างขึ้นค่อนข้างสมัยใหม่ แต่สิ่งที่ทราบซึ้งจากการมาวัดนี้ก็คือ การได้ซึมซับความรักความศรัทธาของชาว "ไทเขิน"
ซึ่งล้วนแต่ศรัทธาและผูกพันกันต่อพุทธศาสนา
วัดนี้มีทั้งพระภิกษุ แม่ชี การจัดการสิ่งต่างๆ ในวัด เช่น การตัดหญ้า และการซ่อมแซม ก็จะเป็นพระภิกษุพัฒนาดูแลวัด
เป็นวัดที่ร่มรื่น สวยงาม และผมเองตั้งใจว่าจะกลับมาเยือนวัดนี้ ในวันที่มีกิจกรรมทางศาสนา เพื่อซึมซับศรัทธาของชาว "ไทเขิน" สักครั้งครับ
เชียงใหม่-นำชมวัดสันก้างปลา ศูนย์รวมใจของชาว "ไทเขิน" สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ ๑๔
ป้ายนี้จะเห็นเมื่อเข้าวัดทางประตูที่ ๒ ซึ่งหากไม่มีกิจกรรมใดๆ ทางวัดมักไม่เปิดประตู ๒ นี้สักเท่าใดนัก
ทางเข้าประตู ๑ จะเลยทางเข้าประตู ๒ นิดเดียวครับ
ผ่านประตู ๑ เข้ามาก็จะเป็นสำนักงานที่ติดต่อเรื่องต่างๆ สำหรับพุทธศาสนิกชน
จอดรถแล้ว จุดแรกที่จะนำชมก็เป็นศาลาที่มีพระพุทธเจ้าติสสะ ตั้งจิตเพื่อลบคำสาบาน
เป็นอาคารสร้างแบบสมัยใหม่
พระพุทธเจ้าติสสะ เป็นพระประธาน องค์สีดำ
ส่วนพระองค์เล็กนี้ เป็นพระที่ชาวไทเขิน นับถือเป็นอย่างมาก ด้วยร่ำลือกันว่า เป็นพระพุทธรูปที่นำมาตั้งแต่ช่วงที่อพยพจาก ๑๒ ปันนามาอยู่ที่เชียงใหม่
ต่อมามีการสร้างขึ้นมาอีก ๑ องค์ แต่เท่าที่ผมสังเกตดูความแตกต่าง พร้อมทั้งได้เรียนให้พระรูปที่ผมได้คุยได้นั้น
มีจุดสังเกตที่แตกต่างกันก็คือ องค์สร้างใหม่หน้าอกไม่ตั้งผึ่งผายเหมือนกับองค์เล็กที่นำมาจาก ๑๒ ปันนา
หลังจากกราบไหว้พระ เพื่อเป็นสิริมงคลแล้ว จะนำชมบริเวณรอบๆ วัดครับ
ผมพาเดินดูมาทางประตู ๒ ก่อน จะเห็นว่า วัดนี้มีพื้นที่กว้างมากพอสมควร
มีสวนพักผ่อนหย่อนใจ ให้ดูร่มรื่น
มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งทางพระที่ผมได้คุยด้วยบอกว่า ต่อไปทางวัดจะจัดสร้างองค์พระขึ้นกลางสระนี้ โดยองค์พระจะทำขึ้นในลักษณะองค์พระที่นำมาจาก ๑๒ ปันนา นั่นเอง
Hi-light หรือจุดเช็คอิน ที่ใครต่อใครมาวัดสันก้างปลา ก็จะแวะมาที่นี่ ก็คือ "ร้านกาแฟคนมีบุญ" นั่นเอง
ด้วยเหตุผลที่เป็นร้านกาแฟที่พระภิกษุชงกาแฟให้ญาติโยมสาธุชน ที่มาวัดสันก้างปลานี้ ได้ชิมกาแฟครับ
แต่ช่วงนี้ "โควิด" ทางวัดก็เลยงดการเปิดร้านกาแฟชั่วคราวครับ
แต่ถึงแม้จะงดการให้บริการร้านกาแฟ แต่ก็สามารถมาถ่ายรูปเช็คอินสวยๆ เก๋ๆ ได้ เพราะจุดเด่นอยู่ที่ ที่นั่งบนต้นไม้นั่นเองครับ
แต่ก่อนขึ้นไป แวะชมนกกันสักหน่อย
นกที่นี่ชินกับคนมาก ขนาดจ่อกล้องเข้าไปใกล้ๆ ก็ไม่ตกใจอะไรกันเลย
บริเวณโดยรอบต้นไม้ จัดสวนไว้อย่างลงตัวทีเดียว โดยเฉพาะบานประตู ก็เป็นจุดถ่ายรูปที่น่าสนใจมากๆ
ตรงนี้เป็นที่นั่งใต้ต้นไม้ใหญ่
ทางขึ้นต้นไม้แข็งแรง เป็นเหล็กกล่องสี่เหลี่ยม คำนวณคร่าวๆ น่าจะรับน้ำหนักคนได้สัก ๑๐ คนก็พอไหว
ขึ้นมาก็จะเห็นบานประตู กับชิงช้าแบบสมัยใหม่ ก็เป็นจุดถ่ายรูปเก๋ๆ ได้อีกมุมหนึ่งครับ
มองจากมุมบนเห็นทัศนียภาพกว้างๆ ด้านประตู ๒ อย่างสวยงาม
จะสังเกตว่าทางขึ้นเหมือนไม่อันตราย แต่เวลาขาลงลูกบันไดไม่ค่อยรับกับขนาดเท้าสักเท่าไหร่ เพราะออกแบบให้สอดปลายเท้าสำหรับขาขึ้นได้ดี แต่เวลาลงสั้นเท้าวางลงไปได้แค่ครึ่งเท้าเท่านั้นครับ ดังนั้นขาลงต้องเพิ่มความระมัดระวังกันสักหน่อย
..."วัดสันก้างปลา" เป็นวัดในพระพุทธศาสนาสังกัดมหานิกาย ก่อสร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๗ บนพื้นที่ ๑๖ ไร่
โดยคณะศรัทธาประชาชนในหมู่บ้าน เกิดความเห็นชอบร่วมกัน จึงได้รวบรวมทุนปัจจัยซื้อพื้นที่นาและพัฒนาขึ้นมาให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๘
ภายใต้อาคารนี้ มองแล้วคล้ายๆ กับโรงเพาะชำกล้าไม้ แต่ก็มีจุดน่าถ่ายรูป ก็ตรงจักรยานที่แขวนอยู่นี่แหละครับ
ส่วนบริเวณนี้จะเป็นโรงอาหารสำหรับพระภิกษุ
ออกมาผ่านสระน้ำใหญ่อีกครั้ง
สถานที่นี้สร้างจุดถ่ายรูปที่น่าสนใจแวะพักถ่ายภาพหลายจุดทีเดียวครับ
อาคารนี้เป็นอาคารเหมือนกับหอพักสำหรับผู้มาบวชเรียนครับ
ลานที่นั่งวงกลมนี้ก็เหมาะกับการถ่ายรูปมากๆ ครับ
และมองถัดไปจะเป็นคล้ายๆ กับกุฏิทรงสมัยใหม่สักหน่อยครับ
อ้อมมาทางด้านหลังของวัดสันก้างปลา จะมีเจดีย์
พระเจดีย์องค์นี้ ได้สร้างขึ้นด้วยความดำริของคุณแม่แสงด้าย โชตนา เนื่องจากท่านได้รับพระบรมสารีริกธาตุ จากประเทศอินเดียมา
และได้มีศรัทธาที่จะนำพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวเข้าบรรจุไว้ในพระเจดีย์ พร้อมกันนั้นท่านได้บริจาคปัจจัยจำนวน ๗๖,๐๐๐ บาท
แก่พระมหาธรรมา เตชปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดสันก้างปลา ท่านเจ้าอาวาสพร้อมด้วยคณะศรัทธาบ้านสันก้างปลา ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์
เมื่อวันอังคารที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๓ เหนือ ซึ่งวันดังกล่าวเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี
ในการวางศิลาฤกษ์ครั้งนั้น ได้กราบอาราธนาพระครูจันทรสมานคุณ (หลวงปู่หล้าตาทิพย์) แห่งสำนักวัดป่าตึง อำเภอสันกำแพงมาเป็นประธาน
พระเจดีย์องค์นี้ได้ทำการปอยหลวงเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ ตรงกับวันแรก ๓ ค่ำ เดือน ๗ เหนือ
แต่ละด้านขององค์เจดีย์จะมีพระพุทธรูปปางที่ไม่เหมือนกันครับ
ประวัติวัดสันก้างปลา และความเป็นมาของชุมชนไทยเขิน
..."ไทเขิน" เป็นชนชาวไทยเผ่าหนึ่งในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า โดยตั้งชื่อตามแม่น้ำขืน
เพราะได้อาศัยอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำขืน จึงเรียกว่า "ชาวขืน" ตามสำเนียงภาษาไทยกลางจึงกลายเป็น "ชาวเขิน"
ชาวไทเขินหรือไทขืนนับเป็นชนชาติไทยดั้งเดิมอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีรากฐานทางอารยธรรมที่เข้มแข็ง
มีความรุ่งเรืองโดดเด่นเทียบเคียงเชียงใหม่แห่งล้านนาไทย มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภาษาถิ่น
...การอพยพของชาวไทเขินในเชียงใหม่ได้กระจายไปตั้งบ้านเรือนทั่วจังหวัดเชียงใหม่
โดยส่วนมากจะอยู่นอกเมืองเชียงใหม่ เช่น อำเภอสันกำแพง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันทราย อำเภอสันป่าตอง เป็นต้น
โดยชาวไทเขินในชุมชนบ้านสันก้างปลา ตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณสันดอนที่มีต้นไม้ก้างปลาขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้พร้อมใจทำถางแผ้วป่าไม้ก้างปลา
และสร้างเป็นบ้านเรือนเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย จึงถือเอามงคลนามของต้นไม้ก้างปลาที่ขึ้นอยู่บริเวณนั้น
ตั้งเป็นชื่อของหมู่บ้านว่า "บ้านสันก้างปลา" ตลอดระยะเวลากว่าสองร้อยปี ที่ชาวไทเขินกลุ่มนี้ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่
และขยายตัวไปตั้งที่บ้านหัวทุ่งและบ้านทรายมูล โดยมีวัดทรายมูลเป็นศูนย์รวมจิตใจของเครือญาติชาวไทเขิน
...จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๒๗ ชาวไทเขินบ้านสันก้างปลาได้รวมตัวกันสร้างวัดใหม่ชื่อว่า "วัดสันก้างปลา"
เพื่อเป็นสถานที่บำเพ็ญศาสนกิจทางพระพุทธศาสนา และเป็นศูนย์รวมจิตใจและศูนย์กลางการทำกิจกรรมของหมู่บ้าน
ที่ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ยังคงปฏิบัติและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ภาษา เครื่องแต่งกาย ประเพณีปีใหม่เมิง อาหารการกิน เป็นต้น
เห็นกลองบูชาหรือในสำเนียง "ก๋องปูจา" เรามักจะเห็นในวัดหลายๆ วัดในล้านนา
<<< บันทึกท้ายกระทู้ >>>
...วัดสันก้างปลานี้ เป็นวัดที่สร้างขึ้นค่อนข้างสมัยใหม่ แต่สิ่งที่ทราบซึ้งจากการมาวัดนี้ก็คือ การได้ซึมซับความรักความศรัทธาของชาว "ไทเขิน"
ซึ่งล้วนแต่ศรัทธาและผูกพันกันต่อพุทธศาสนา
วัดนี้มีทั้งพระภิกษุ แม่ชี การจัดการสิ่งต่างๆ ในวัด เช่น การตัดหญ้า และการซ่อมแซม ก็จะเป็นพระภิกษุพัฒนาดูแลวัด
เป็นวัดที่ร่มรื่น สวยงาม และผมเองตั้งใจว่าจะกลับมาเยือนวัดนี้ ในวันที่มีกิจกรรมทางศาสนา เพื่อซึมซับศรัทธาของชาว "ไทเขิน" สักครั้งครับ