การจัดแสดงเครื่องเคลือบสันกำแพงในพิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://ppantip.com/topic/38078988
ทำให้นึกถึงเมื่อครั้งที่ไปเจอแหล่งเตาเผาเครื่องเคลือบสันกำแพงโดยบังเอิญสองปีที่แล้ว ... ภาพเมื่อปี 2559
ตอนนั้นไปเที่ยวพระธาตุดอยงู พบคนที่รู้ว่าเราชอบวัดเก่าและโบราณสถาน
จึงแนะนำให้ไปวัดที่เก่าที่สุดในอำเภอสันกำแพงคือ วัดเชียงแสน
ชื่อเชียงแสนเนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากพันนาภูเลา เชียงแสน มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำแม่ออน
อยู่เลยวัดป่าตึง ... วัดครูบาหล้าตาทิพย์ ไปราว 2 กม.ในตำบลออนใต้
ถ้าข้ามเขาด้านหลังวัดลูกนี้ไปสามารถลัดไป อำเภอแม่ทา ลำพูนได้
สรี หรือ ต้นโพธิ์
แนวกำแพงวัด
อุโบสถ
สีมา มีร่องรอยของหินเสมาเก่าหรือไม่
วิหาร
ไม่แน่ใจว่ารูปครูบาหล้าหรือเปล่า
เจดีย์หลังวิหาร
เป็นเจดีย์เก่าที่มีสภาพสมบูรณ์ ไม่เคยผ่านการบูรณะ
สร้างสมัยพญายอดเชียงราย หลานปู่พระเจ้าติโลก และครองล้านนาต่อจากพระเจ้าติโลก
เป็นเจดีย์ทรงปราสาทสี่เหลี่ยมซ้อนชั้น คล้ายรูปทรงปราสาทหรือที่อยู่ของกษัตริย์
ฐานเป็นผังสี่เหลี่ยมจตุรัสซ้อนลดหลั่น
รองรับเรือนธาตุ
มียอดแหลม
เจดีย์นี้จึงมีรูปทรงคล้ายสถูปบรรจุกระดูกพระเจ้าติโลก ในวัดเจ็ดยอด
และปูนปั้นนางฟ้าคล้ายเจดีย์เจ็ดยอด ในวัดเจ็ดยอด
ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนฐาน ส่วนเรือนฐาน และส่วนยอด
ฐานรูปสี่เหลี่ยม เรียกว่าฐานเขียง ซ้อนชั้น 2 ชั้น
เหนือขึ้นไปเป็นส่วนเรือนธาตุรูปทรงสี่เหลี่ยม ยกเก็จ
เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ทรงกลม
ฐานเจดีย์มุมหนึ่งเป็นเจติยะ
อีกมุมเป็นรูปบุคคล
เรือนธาตุย่อมุม
ร่องรอยลวดลายกลีบบัว
ลวดลายใบไม้ที่ยกขึ้นที่มุม
มีเข็มขัดรัดองค์ระฆัง
ปูนปั้นลายบัวหงายหุ้มองค์ระฆัง
ปล้องไฉน
ไม่มีบัลลังก์
มีปลี
และฉัตร
พระท่านเล่าว่าเดิมตรงนี้มีเจดีย์อยู่กลางดงไม้
มีการขุดพบศิลาจารึก และถ้วยชามต่าง ๆ ปัจจุบันนำไปเก็บรักษาที่วัดป่าตึง
หน้าวัดเชียงแสนมีอนุสาวรีย์ของหมื่นดาบเรือง
เลยวัดไปอีกเล็กน้อยมีเตาเผาโบราณ
จึงตามรอยของเก่ามาถึงวัดป่าตึง
อุโบสถ
ศาลาหลวงปู่หล้า
วิหาร
เจดีย์หลังวิหาร
กุฏิหลวงปู่หล้า
หลวงปู่หล้า หรือ หลวงปู่หล้าตาทิพย์
เล่ากันว่า มีอยู่วันหนึ่งฝนตั้งเค้าจะตกหนัก
หลวงปู่หล้าบอกให้พระเณรรีบออกจากกุฏิ เพราะกุฏิเก่าทรุดโทรมและมีต้นลานใหญ่อยู่ข้าง
ปรากฎว่าวันนั้นฝนตกหนักกิ่งต้นลานก็หักโค่นลงมาทับกุฏิพังทุกคนปลอดภัย
จึงสรรเสริญกันว่า "ตาทิพย์"
อีกเรื่องหนึ่ง
มีคณะผู้มากราบนมัสการหลวงปู่หล้าเกินจำนวนที่แจ้งขอของขลังจากท่าน
แต่ได้รับแจกกันครบทุกคน จึงพากันเห็นเป็นอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์
นอกจากนั้น นายอนันต์ อดีตครูใหญ่โรงเรียนบ้านป่าตึง
ได้เล่าเพิ่มเติมว่า
เช้าวันหนึ่งประมาณตี 5 หลวงปู่หล้าให้พระเณรรีบทำความสะอาดวิหารจะมีแขกมาหาที่วัด
ปรากฎว่าพอถึง 6 โมงเช้า พระศรีธรรมนิเทศ เจ้าอาวาสวัดสันป่าข่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่นำญาติโยมมาหา
หากชาวบ้านของหายหรือถูกลักขโมย
มาถามหลวงปู่ก็บอกให้ไปตามทิศนั้นทิศนี้ได้ของคืนมาทุกครั้ง
แต่หากท่านห้ามไม่ต้องไปตามจะไม่ได้คืน ก็จะเป็นจริง
ร่างท่านอยู่บนกุฏิ
ไม่เน่าเปื่อย
พิพิธภัณฑ์เครื่องถ้วยชามสันกำแพง ในบริเวณวัด
หลักศิลาจารึกดาบเรือง หรือ จารึกวัดสาลกัลญาณมหันตาราม
พบที่วัดเชียงแสน โดยครูบาหล้า พ.ศ. 2475
มีจารึกทั้งสี่ด้าน ใจความว่า
พ.ศ. 2031 ศรีสัทธรรมกุรมหาบรมจักรวัตติราชาธิราช (พญายอดเชียงราย)ได้เป็นเจ้าเมืองพิงค์ เชียงใหม่ และแต่งตั้งให้ อติชวญาณบวรสิทธิ เป็นหมื่นดาบเรือน
อติชวญาณบวรสิทธิมีศรัทธาจึงได้ชักชวนผู้คนมาร่วมสร้างวิหารและมหาเจดีย์
พร้อมปลูกพระศรีมหาโพธิไว้ ณ ที่นี้ ตั้งชื่อว่า สาลกัลญาณมหันตาราม
ได้ทำการหล่อพระพุทธรูป 5 องค์
หนึ่งในนั้นคือ ... พระเจ้าฝนแสนห่า
ปัจจุบันอยู่บนกุฏิหลวงปู่หล้า
ทุกวันนี้ยังมีการเขียนขอบนใส่ในสลุง(ขัน) และแก้บนด้วยไข่
ภาพเก่า วัดสาลกัลญาณมหันตาราม หรือ วัดเชียงแสน
เมืองออนโบราณ ตั้งเมืองเป็นแนวยาวตามลำน้ำแม่ออน เป็นชุมชนใหญ่
เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ไฟสูง
พบเตาเผาในตำบลออนไต้จำนวน 83 เตา
กระจายตามลำห้วยแม่ลานที่เรียกสมัยต่อมาว่า เครื่องถ้วยสันกำแพง
เคลือบสีน้ำตาล
แจกัน
ลวดลายที่พบเป็นลายพรรณพฤกษา และ ลายปลา
แม่ออนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเรียกว่า แขวงแม่ออน นครเชียงใหม่
พ.ศ. 2445 ในรัชสมัยของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าครองนครเชียงใหม่
ได้เกิดกบฏเงี้ยวขึ้นที่อำเภอเมืองแพร่
ที่แขวงแม่ออนมีชาวเงี้ยว 11 คน มีอาวุธครบได้ทำการบุกปล้นโรงกลั่นสุราที่บ้านป่าไผ่ตำบลแช่ช้าง
ได้เผาที่ทำการแขวงแม่ออนเสียหายทั้งหลัง แล้วได้หนีไปทางอำเภอดอยสะเก็ด
พ.ศ. 2446 ทางราชการได้ย้ายที่ทำการแขวงแม่ออนมาปลูกสร้างที่บ้านสันกำแพง
จึงได้ชื่อว่า อำเภอสันกำแพง มาจนถึงทุกวันนี้
วัดที่สร้างในสมัยพญายอดเชียงราย ... วัดเชียงแสน อำเภอสันกำแพง และพาไปวัดป่าตึง
ทำให้นึกถึงเมื่อครั้งที่ไปเจอแหล่งเตาเผาเครื่องเคลือบสันกำแพงโดยบังเอิญสองปีที่แล้ว ... ภาพเมื่อปี 2559
ตอนนั้นไปเที่ยวพระธาตุดอยงู พบคนที่รู้ว่าเราชอบวัดเก่าและโบราณสถาน
จึงแนะนำให้ไปวัดที่เก่าที่สุดในอำเภอสันกำแพงคือ วัดเชียงแสน
ชื่อเชียงแสนเนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากพันนาภูเลา เชียงแสน มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำแม่ออน
อยู่เลยวัดป่าตึง ... วัดครูบาหล้าตาทิพย์ ไปราว 2 กม.ในตำบลออนใต้
ถ้าข้ามเขาด้านหลังวัดลูกนี้ไปสามารถลัดไป อำเภอแม่ทา ลำพูนได้
สรี หรือ ต้นโพธิ์
แนวกำแพงวัด
อุโบสถ
สีมา มีร่องรอยของหินเสมาเก่าหรือไม่
วิหาร
ไม่แน่ใจว่ารูปครูบาหล้าหรือเปล่า
เจดีย์หลังวิหาร
เป็นเจดีย์เก่าที่มีสภาพสมบูรณ์ ไม่เคยผ่านการบูรณะ
สร้างสมัยพญายอดเชียงราย หลานปู่พระเจ้าติโลก และครองล้านนาต่อจากพระเจ้าติโลก
เป็นเจดีย์ทรงปราสาทสี่เหลี่ยมซ้อนชั้น คล้ายรูปทรงปราสาทหรือที่อยู่ของกษัตริย์
ฐานเป็นผังสี่เหลี่ยมจตุรัสซ้อนลดหลั่น
รองรับเรือนธาตุ
มียอดแหลม
เจดีย์นี้จึงมีรูปทรงคล้ายสถูปบรรจุกระดูกพระเจ้าติโลก ในวัดเจ็ดยอด
และปูนปั้นนางฟ้าคล้ายเจดีย์เจ็ดยอด ในวัดเจ็ดยอด
ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนฐาน ส่วนเรือนฐาน และส่วนยอด
ฐานรูปสี่เหลี่ยม เรียกว่าฐานเขียง ซ้อนชั้น 2 ชั้น
เหนือขึ้นไปเป็นส่วนเรือนธาตุรูปทรงสี่เหลี่ยม ยกเก็จ
เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ทรงกลม
ฐานเจดีย์มุมหนึ่งเป็นเจติยะ
อีกมุมเป็นรูปบุคคล
เรือนธาตุย่อมุม
ร่องรอยลวดลายกลีบบัว
ลวดลายใบไม้ที่ยกขึ้นที่มุม
มีเข็มขัดรัดองค์ระฆัง
ปูนปั้นลายบัวหงายหุ้มองค์ระฆัง
ปล้องไฉน
ไม่มีบัลลังก์
มีปลี
และฉัตร
พระท่านเล่าว่าเดิมตรงนี้มีเจดีย์อยู่กลางดงไม้
มีการขุดพบศิลาจารึก และถ้วยชามต่าง ๆ ปัจจุบันนำไปเก็บรักษาที่วัดป่าตึง
หน้าวัดเชียงแสนมีอนุสาวรีย์ของหมื่นดาบเรือง
เลยวัดไปอีกเล็กน้อยมีเตาเผาโบราณ
จึงตามรอยของเก่ามาถึงวัดป่าตึง
อุโบสถ
ศาลาหลวงปู่หล้า
วิหาร
เจดีย์หลังวิหาร
กุฏิหลวงปู่หล้า
หลวงปู่หล้า หรือ หลวงปู่หล้าตาทิพย์
เล่ากันว่า มีอยู่วันหนึ่งฝนตั้งเค้าจะตกหนัก
หลวงปู่หล้าบอกให้พระเณรรีบออกจากกุฏิ เพราะกุฏิเก่าทรุดโทรมและมีต้นลานใหญ่อยู่ข้าง
ปรากฎว่าวันนั้นฝนตกหนักกิ่งต้นลานก็หักโค่นลงมาทับกุฏิพังทุกคนปลอดภัย
จึงสรรเสริญกันว่า "ตาทิพย์"
อีกเรื่องหนึ่ง
มีคณะผู้มากราบนมัสการหลวงปู่หล้าเกินจำนวนที่แจ้งขอของขลังจากท่าน
แต่ได้รับแจกกันครบทุกคน จึงพากันเห็นเป็นอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์
นอกจากนั้น นายอนันต์ อดีตครูใหญ่โรงเรียนบ้านป่าตึง
ได้เล่าเพิ่มเติมว่า
เช้าวันหนึ่งประมาณตี 5 หลวงปู่หล้าให้พระเณรรีบทำความสะอาดวิหารจะมีแขกมาหาที่วัด
ปรากฎว่าพอถึง 6 โมงเช้า พระศรีธรรมนิเทศ เจ้าอาวาสวัดสันป่าข่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่นำญาติโยมมาหา
หากชาวบ้านของหายหรือถูกลักขโมย
มาถามหลวงปู่ก็บอกให้ไปตามทิศนั้นทิศนี้ได้ของคืนมาทุกครั้ง
แต่หากท่านห้ามไม่ต้องไปตามจะไม่ได้คืน ก็จะเป็นจริง
ร่างท่านอยู่บนกุฏิ
ไม่เน่าเปื่อย
พิพิธภัณฑ์เครื่องถ้วยชามสันกำแพง ในบริเวณวัด
หลักศิลาจารึกดาบเรือง หรือ จารึกวัดสาลกัลญาณมหันตาราม
พบที่วัดเชียงแสน โดยครูบาหล้า พ.ศ. 2475
มีจารึกทั้งสี่ด้าน ใจความว่า
พ.ศ. 2031 ศรีสัทธรรมกุรมหาบรมจักรวัตติราชาธิราช (พญายอดเชียงราย)ได้เป็นเจ้าเมืองพิงค์ เชียงใหม่ และแต่งตั้งให้ อติชวญาณบวรสิทธิ เป็นหมื่นดาบเรือน
อติชวญาณบวรสิทธิมีศรัทธาจึงได้ชักชวนผู้คนมาร่วมสร้างวิหารและมหาเจดีย์
พร้อมปลูกพระศรีมหาโพธิไว้ ณ ที่นี้ ตั้งชื่อว่า สาลกัลญาณมหันตาราม
ได้ทำการหล่อพระพุทธรูป 5 องค์
หนึ่งในนั้นคือ ... พระเจ้าฝนแสนห่า
ปัจจุบันอยู่บนกุฏิหลวงปู่หล้า
ทุกวันนี้ยังมีการเขียนขอบนใส่ในสลุง(ขัน) และแก้บนด้วยไข่
ภาพเก่า วัดสาลกัลญาณมหันตาราม หรือ วัดเชียงแสน
เมืองออนโบราณ ตั้งเมืองเป็นแนวยาวตามลำน้ำแม่ออน เป็นชุมชนใหญ่
เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ไฟสูง
พบเตาเผาในตำบลออนไต้จำนวน 83 เตา
กระจายตามลำห้วยแม่ลานที่เรียกสมัยต่อมาว่า เครื่องถ้วยสันกำแพง
เคลือบสีน้ำตาล
แจกัน
ลวดลายที่พบเป็นลายพรรณพฤกษา และ ลายปลา
ลวดลายเวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า เชียงราย
แม่ออนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเรียกว่า แขวงแม่ออน นครเชียงใหม่
พ.ศ. 2445 ในรัชสมัยของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าครองนครเชียงใหม่
ได้เกิดกบฏเงี้ยวขึ้นที่อำเภอเมืองแพร่
ที่แขวงแม่ออนมีชาวเงี้ยว 11 คน มีอาวุธครบได้ทำการบุกปล้นโรงกลั่นสุราที่บ้านป่าไผ่ตำบลแช่ช้าง
ได้เผาที่ทำการแขวงแม่ออนเสียหายทั้งหลัง แล้วได้หนีไปทางอำเภอดอยสะเก็ด
พ.ศ. 2446 ทางราชการได้ย้ายที่ทำการแขวงแม่ออนมาปลูกสร้างที่บ้านสันกำแพง
จึงได้ชื่อว่า อำเภอสันกำแพง มาจนถึงทุกวันนี้