ฝ่ายสิทธิสมาคมสื่อฯ จับตาตร. – จี้ เร่งคลายปม คดีช่างภาพข่าวถูกรุมทำร้าย
https://www.matichon.co.th/politics/news_3305240
ฝ่ายสิทธิสมาคมสื่อฯ จับตาตำรวจ- จี้ เร่งคลายปม คดีช่างภาพข่าวถูกรุมทำร้าย
สืบเนื่องกรณีนาย
ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ หรือ
ยา ช่างภาพอิสระ ถูกชายนิรนามรุมทำร้ายร่างกายที่หน้าร้านแมคโดนัลด์ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อเวลาประมาณ 21.30 น. วันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา ขณะกำลังเดินทางกลับจากการปฏิบัติหน้าที่เก็บภาพข่าวการชุมนุมทัวร์ประวัติศาสตร์ (ฝ่ายซ้าย) ของกลุ่มมังกรปฏิวัติ โดยได้แจ้งความดำเนินคดีไว้ที่ สน.ชนะสงคราม แล้วนั้น
อ่านข่าว :
https://www.matichon.co.th/politics/news_3304273
เมื่อวันที่ 23 เมษายน นาย
ธีรนัย จารุวัสตร์ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ระบุว่า ตนเองและอนุกรรมการฝ่ายสิทธิฯ กำลังติดตามเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และขอเรียกร้องให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งสอบสวนคดีนี้โดยเร็วที่สุด พร้อมรายงานผลการสอบสวนให้สาธารณชนได้รับทราบอย่างตรงไปตรงมา
นาย
ธีรนัย กล่าวว่า รู้สึกกังวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะมีรายงานว่าขณะเกิดเหตุคาบเกี่ยวกับห้วงเวลาที่ผู้เสียหายเดินทางกลับจากการทำหน้าที่สื่อมวลชน ย่อมทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าการรุมทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ในฐานะช่างภาพสื่ออิสระหรือไม่ อาจจะทำให้สื่อมวลชน-ช่างภาพหลายท่านที่ต้องลงพื้นที่ เกิดความหวาดกลัวหรือไม่มั่นใจต่อความปลอดภัยของตนขณะปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน
“ถ้าหากคดีนี้ไม่มีความชัดเจน ไม่มีการจับตัวหรือดำเนินคดีกับผู้ก่อเหตุ นักข่าวหรือช่างภาพท่านอื่นๆ อาจจะเกิดความกลัวว่า วันหลังตัวเองจะถูกทำร้ายในลักษณะนี้บ้าง กลายเป็นการสร้างบรรยากาศที่ทำให้คนทำงานสื่อมวลชนไม่ปลอดภัย จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะให้ความสำคัญกับคดีดังกล่าว ด้วยการเร่งคลี่คลายปมให้สังคมได้รับความกระจ่างโดยเร็วและโปร่งใสที่สุด ซึ่งผมและฝ่ายสิทธิเสรีภาพสื่อของสมาคมฯ จะติดตามความคืบหน้าเหตุการณ์นี้ต่อไปอย่างใกล้ชิด” นายธีรนัยกล่าวและว่าสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อกระแสหลัก สื่อมีสังกัด สื่ออิสระ สื่อพลเมือง สื่อฟรีแลนซ์ ฯลฯ ย่อมมีสิทธิเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ในการรายงานข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบ โดยปราศจากการคุกคามหรือใช้ความรุนแรง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ภาครัฐมีหน้าที่คุ้มครองการใช้สิทธิตรงนี้ของสื่อมวลชนด้วยเช่นกัน
แม่ค้าบ่นอุบ ของแพง-ลูกค้าหายหน้า ไข่ไก่หน้าแผงขึ้น 3 บาท/ฟอง หมู 3 ชั้นนำโด่ง 220 บาท/โล
https://www.matichon.co.th/economy/news_3304977
แม่ค้าบ่นอุบ ของแพง-ลูกค้าหายหน้า ไข่ไก่หน้าแผงขึ้น3บาท/ฟอง หมู 3 ชั้นนำโด่ง 220 บาท/โล
ผู้สื่อรายงานว่า
‘มติชน’ ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคถึงราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะไข่ไก่ และเนื้อสุกร จึงได้ทำการสำรวจตลาดสด อาทิ ตลาดประชานิเวศน์ 1 พบว่า แผงค้ารายย่อย ได้ยืนยันว่าต้องปรับราคาไข่ไก่ และเนื้อสุกร เพราะผลกระทบจากการปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้จัดส่ง ตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา โดยการสำรวจ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2565
เจ้าของแผงไข่ไก่รายหนึ่งในตลาดประชานิเวศน์ 1 ระบุว่า ได้รับราคาขายอีกแผง (30 ฟอง) ละ 3 บาท โดยปรับขึ้นในอัตราเท่ากับต้นทุนที่รับมาขาย โดยขึ้นราคาตั้งแต่วันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา เมื่อต้นทุนสูงขึ้นร้านค้าไม่สามารถแบกรับต้นทุนเองได้ ต้องปรับราคาขึ้นตาม เพื่อไม่ให้กระทบต่อเงินทุนหมุนเวียน ทั้งนี้ ไข่ไก่เบอร์ 0 ราคาฟองละ 4.7 บาท ไข่ไก่เบอร์ 1 ฟองละ 4.5 บาท ไข่ไก่ เบอร์ 2 ฟองละ 4.2 บาท ไข่ไก่เบอร์ 3 ฟองละ 4.00 บาท และไข่ไก่เบอร์ 5 ฟองละ 3.60 บาท ขณะที่ ราคาไข่ชนิดอื่นราคาทรงตัว โดย ไข่เป็ด ฟองละ 6 บาท ไข่เค็ม ฟองละ 7 บาท และไข่เยี่ยวม้า ฟองละ 8 บาท เนื่องจากผู้บริโภคนิยมซื้อไข่ไก่นำไปประกอบอาหารได้หลากหลายมากกว่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจร้านไข่ไก่ทั้งหมดในตลาด พบว่า พ่อค้าแม่ค้ากำหยดขายไข่ไก่ในราคาเดียวกัน ซึ่งพ่อค้ารายหนึ่ง ระบุว่า หากขึ้นราคาสูงโดดกว่าร้านอื่น ไข่จะขายออกยากกว่าเดิม จนเหลือทิ้ง ทำให้ขาดทุน รวมถึงกำไรก็หดหาย อย่างไรก็ตาม ไข่ไก่ยังขายได้แม้ราคาปรับขึ้น เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่เข้าใจ และไข่ไก่เป็นอาหารหลักที่กินง่าย นำไปประกอบอาหารกันทุกครัวเรือน
พ่อค้าแผงขายเนื้อหมู
“สังวาลย์” กล่าวว่า ราคาเนื้อหมูปรับขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ร้านค้าได้รับผลกระทบมาก ลูกค้าน้อยลง เนื้อหมูขายยาก เพราะมีราคาสูง ซึ่งต้นทุนราคาสุกรที่รับมาค่อนข้างสูงอยู่ก่อนแล้ว และกว่าเนื้อหมูจะส่งถึงร้านค้ามีการบวกราคาสุกรเพิ่มจากการส่งต่อของโรงเชือดที่รับสุกรมาขายอีกทอด ทำให้ราคาสุกรที่รับมาขายจึงสูงตาม เพราะฉะนั้นร้านค้าไม่สามารถปรับราคาให้ลดลงได้ โดยราคาปัจจุบัน เนื้อหมูกิโลกรัมละ 200 บาท หมูสามชั้น 220 บาท หมูบด 190 บาท ซึ่งช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ลูกค้าในตลาดน้อยกว่าที่คาดไว้มาก ค้าขายซบเซา และยิ่งมีการขึ้นราคาเนื้อหมู อีกเป็นการซ้ำเติมพ่อค้าแม่ค้าให้ค้าขายลำบากยิ่งขึ้น
“ก่อนสงกรานต์เนื้อหมูขายอยู่ที่ 180 บาทต่อโล เป็นการปรับราคารอบที่สอง หลังจากเมื่อต้นปีได้ปรับมาแล้วครั้งหนึ่ง ตอนนี้ราคาอยู่ประมาณ 150-160 บาทต่อโล แนวโน้มมองว่าราคาอาจสูงได้อีก เพราะต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่าย เช่น ค่าขนส่งสูงขึ้น ก็อาจทำให้การปรับราคาต่อเนื่อง ซึ่งกว่าเนื้อหมูจะขายบนแผง จะผ่านถึง 4 ขั้นตอน ตั้งแต่หน้าฟาร์มเลี้ยงสุกร เข้าโรงเชือด ก่อนพ่อค้าคนกลางไปรับซื้อ และนำมากระจายตามแผงตลาด โดยแต่ละช่วงจะมีต้นทุนที่สูงขึ้นช่วงละ 5 บาทต่อโล ทำให้ปลายทางถึงผู้บริโภคราคาแพงขึ้น” พ่อค้าแผงหมูกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อสอบถาม ผู้ประกอบการรายย่อย ส่วนใหญ่อยากให้รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยตรึงราคาหน้าฟาร์ม ไม่ใช่มากดราคาผู้ค้ารายย่อย เพราะผู้ค้าก็ได้รับผลกระทบมากเช่นกัน เมื่อต้นทุนแพงมา ราคาขายต้องเพิ่มขึ้น หากให้ขายราคาเดิมแต่ต้นทุนสูง ผู้ค้าก็อยู่ไม่รอด อยากให้รัฐแก้ไขปัญหาโดยด่วน
กกร. จี้รัฐหามาตรการลดผลกระทบลอยตัวดีเซล
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_327651/
กกร.เตรียมทบทวนผลกระทบต้นทุนผลิตสินค้า จี้รัฐบาลหามาตรการเฉพาะหน้าลดผลกระทบลอยตัวดีเซล
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร.ต้นเดือนพฤษภาคมนี้ จะมีการประเมิน สถานการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน
ซึ่งจะมีผลต่อความต้องการสินค้าของโลก การผลิต และราคาน้ำมันการขนส่งโลจิสติกส์ โดยเฉพาะการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปนั้น หากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงสูงขึ้นอาจทำให้ราคาน้ำมันดีเซลในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ลิตรละ 35-36 บาท
ซึ่งจากการวิเคราะห์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า หากน้ำมันดีเซล มีการขยับราคาขึ้นร้อยละ 10 ธุรกิจจะยังสามารถประคองตัวตรึงราคาต่อไปได้อีกประมาณ 3 เดือน และเมื่อราคาขยับเข้าใกล้ 35 บาท อาจจะเริ่มเตรียมตัวปรับขึ้นราคาสินค้า ดังนั้น ภาครัฐต้องเร่งออกมาตรการเฉพาะหน้า ทั้งระยะสั้นและระยะยาวสำหรับการรับมือในสถานการณ์ครั้งนี้
นอกจากนี้ยังมีในส่วนของค่ากระแสไฟฟ้าซึ่งถือเป็นหนึ่งในต้นทุนหลักในการผลิตสินค้าและบริการของภาคเอกชน โดยผู้ประกอบการทุกขนาดได้รับผลกระทบเหมือนกันมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ปริมาณการใช้ ซึ่งในส่วนที่ไม่สามารถแบกรับภาระได้ผู้ประกอบการอาจจำเป็นต้องปรับค่าบริการหรือราคาสินค้าผลักภาระไปที่ผู้บริโภคบางส่วน
JJNY : ฝ่ายสิทธิสมาคมสื่อฯจับตาตร.│แม่ค้าบ่นอุบ ของแพง-ลูกค้าหาย│กกร.จี้หามาตรการลดผลกระทบดีเซล│โพลเผยคนตจว.ลต.ผู้ว่า
https://www.matichon.co.th/politics/news_3305240
ฝ่ายสิทธิสมาคมสื่อฯ จับตาตำรวจ- จี้ เร่งคลายปม คดีช่างภาพข่าวถูกรุมทำร้าย
สืบเนื่องกรณีนายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ หรือ ยา ช่างภาพอิสระ ถูกชายนิรนามรุมทำร้ายร่างกายที่หน้าร้านแมคโดนัลด์ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อเวลาประมาณ 21.30 น. วันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา ขณะกำลังเดินทางกลับจากการปฏิบัติหน้าที่เก็บภาพข่าวการชุมนุมทัวร์ประวัติศาสตร์ (ฝ่ายซ้าย) ของกลุ่มมังกรปฏิวัติ โดยได้แจ้งความดำเนินคดีไว้ที่ สน.ชนะสงคราม แล้วนั้น
อ่านข่าว : https://www.matichon.co.th/politics/news_3304273
เมื่อวันที่ 23 เมษายน นายธีรนัย จารุวัสตร์ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ระบุว่า ตนเองและอนุกรรมการฝ่ายสิทธิฯ กำลังติดตามเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และขอเรียกร้องให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งสอบสวนคดีนี้โดยเร็วที่สุด พร้อมรายงานผลการสอบสวนให้สาธารณชนได้รับทราบอย่างตรงไปตรงมา
นายธีรนัย กล่าวว่า รู้สึกกังวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะมีรายงานว่าขณะเกิดเหตุคาบเกี่ยวกับห้วงเวลาที่ผู้เสียหายเดินทางกลับจากการทำหน้าที่สื่อมวลชน ย่อมทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าการรุมทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ในฐานะช่างภาพสื่ออิสระหรือไม่ อาจจะทำให้สื่อมวลชน-ช่างภาพหลายท่านที่ต้องลงพื้นที่ เกิดความหวาดกลัวหรือไม่มั่นใจต่อความปลอดภัยของตนขณะปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน
“ถ้าหากคดีนี้ไม่มีความชัดเจน ไม่มีการจับตัวหรือดำเนินคดีกับผู้ก่อเหตุ นักข่าวหรือช่างภาพท่านอื่นๆ อาจจะเกิดความกลัวว่า วันหลังตัวเองจะถูกทำร้ายในลักษณะนี้บ้าง กลายเป็นการสร้างบรรยากาศที่ทำให้คนทำงานสื่อมวลชนไม่ปลอดภัย จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะให้ความสำคัญกับคดีดังกล่าว ด้วยการเร่งคลี่คลายปมให้สังคมได้รับความกระจ่างโดยเร็วและโปร่งใสที่สุด ซึ่งผมและฝ่ายสิทธิเสรีภาพสื่อของสมาคมฯ จะติดตามความคืบหน้าเหตุการณ์นี้ต่อไปอย่างใกล้ชิด” นายธีรนัยกล่าวและว่าสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อกระแสหลัก สื่อมีสังกัด สื่ออิสระ สื่อพลเมือง สื่อฟรีแลนซ์ ฯลฯ ย่อมมีสิทธิเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ในการรายงานข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบ โดยปราศจากการคุกคามหรือใช้ความรุนแรง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ภาครัฐมีหน้าที่คุ้มครองการใช้สิทธิตรงนี้ของสื่อมวลชนด้วยเช่นกัน
แม่ค้าบ่นอุบ ของแพง-ลูกค้าหายหน้า ไข่ไก่หน้าแผงขึ้น 3 บาท/ฟอง หมู 3 ชั้นนำโด่ง 220 บาท/โล
https://www.matichon.co.th/economy/news_3304977
แม่ค้าบ่นอุบ ของแพง-ลูกค้าหายหน้า ไข่ไก่หน้าแผงขึ้น3บาท/ฟอง หมู 3 ชั้นนำโด่ง 220 บาท/โล
ผู้สื่อรายงานว่า ‘มติชน’ ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคถึงราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะไข่ไก่ และเนื้อสุกร จึงได้ทำการสำรวจตลาดสด อาทิ ตลาดประชานิเวศน์ 1 พบว่า แผงค้ารายย่อย ได้ยืนยันว่าต้องปรับราคาไข่ไก่ และเนื้อสุกร เพราะผลกระทบจากการปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้จัดส่ง ตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา โดยการสำรวจ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2565
เจ้าของแผงไข่ไก่รายหนึ่งในตลาดประชานิเวศน์ 1 ระบุว่า ได้รับราคาขายอีกแผง (30 ฟอง) ละ 3 บาท โดยปรับขึ้นในอัตราเท่ากับต้นทุนที่รับมาขาย โดยขึ้นราคาตั้งแต่วันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา เมื่อต้นทุนสูงขึ้นร้านค้าไม่สามารถแบกรับต้นทุนเองได้ ต้องปรับราคาขึ้นตาม เพื่อไม่ให้กระทบต่อเงินทุนหมุนเวียน ทั้งนี้ ไข่ไก่เบอร์ 0 ราคาฟองละ 4.7 บาท ไข่ไก่เบอร์ 1 ฟองละ 4.5 บาท ไข่ไก่ เบอร์ 2 ฟองละ 4.2 บาท ไข่ไก่เบอร์ 3 ฟองละ 4.00 บาท และไข่ไก่เบอร์ 5 ฟองละ 3.60 บาท ขณะที่ ราคาไข่ชนิดอื่นราคาทรงตัว โดย ไข่เป็ด ฟองละ 6 บาท ไข่เค็ม ฟองละ 7 บาท และไข่เยี่ยวม้า ฟองละ 8 บาท เนื่องจากผู้บริโภคนิยมซื้อไข่ไก่นำไปประกอบอาหารได้หลากหลายมากกว่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจร้านไข่ไก่ทั้งหมดในตลาด พบว่า พ่อค้าแม่ค้ากำหยดขายไข่ไก่ในราคาเดียวกัน ซึ่งพ่อค้ารายหนึ่ง ระบุว่า หากขึ้นราคาสูงโดดกว่าร้านอื่น ไข่จะขายออกยากกว่าเดิม จนเหลือทิ้ง ทำให้ขาดทุน รวมถึงกำไรก็หดหาย อย่างไรก็ตาม ไข่ไก่ยังขายได้แม้ราคาปรับขึ้น เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่เข้าใจ และไข่ไก่เป็นอาหารหลักที่กินง่าย นำไปประกอบอาหารกันทุกครัวเรือน
พ่อค้าแผงขายเนื้อหมู “สังวาลย์” กล่าวว่า ราคาเนื้อหมูปรับขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ร้านค้าได้รับผลกระทบมาก ลูกค้าน้อยลง เนื้อหมูขายยาก เพราะมีราคาสูง ซึ่งต้นทุนราคาสุกรที่รับมาค่อนข้างสูงอยู่ก่อนแล้ว และกว่าเนื้อหมูจะส่งถึงร้านค้ามีการบวกราคาสุกรเพิ่มจากการส่งต่อของโรงเชือดที่รับสุกรมาขายอีกทอด ทำให้ราคาสุกรที่รับมาขายจึงสูงตาม เพราะฉะนั้นร้านค้าไม่สามารถปรับราคาให้ลดลงได้ โดยราคาปัจจุบัน เนื้อหมูกิโลกรัมละ 200 บาท หมูสามชั้น 220 บาท หมูบด 190 บาท ซึ่งช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ลูกค้าในตลาดน้อยกว่าที่คาดไว้มาก ค้าขายซบเซา และยิ่งมีการขึ้นราคาเนื้อหมู อีกเป็นการซ้ำเติมพ่อค้าแม่ค้าให้ค้าขายลำบากยิ่งขึ้น
“ก่อนสงกรานต์เนื้อหมูขายอยู่ที่ 180 บาทต่อโล เป็นการปรับราคารอบที่สอง หลังจากเมื่อต้นปีได้ปรับมาแล้วครั้งหนึ่ง ตอนนี้ราคาอยู่ประมาณ 150-160 บาทต่อโล แนวโน้มมองว่าราคาอาจสูงได้อีก เพราะต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่าย เช่น ค่าขนส่งสูงขึ้น ก็อาจทำให้การปรับราคาต่อเนื่อง ซึ่งกว่าเนื้อหมูจะขายบนแผง จะผ่านถึง 4 ขั้นตอน ตั้งแต่หน้าฟาร์มเลี้ยงสุกร เข้าโรงเชือด ก่อนพ่อค้าคนกลางไปรับซื้อ และนำมากระจายตามแผงตลาด โดยแต่ละช่วงจะมีต้นทุนที่สูงขึ้นช่วงละ 5 บาทต่อโล ทำให้ปลายทางถึงผู้บริโภคราคาแพงขึ้น” พ่อค้าแผงหมูกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อสอบถาม ผู้ประกอบการรายย่อย ส่วนใหญ่อยากให้รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยตรึงราคาหน้าฟาร์ม ไม่ใช่มากดราคาผู้ค้ารายย่อย เพราะผู้ค้าก็ได้รับผลกระทบมากเช่นกัน เมื่อต้นทุนแพงมา ราคาขายต้องเพิ่มขึ้น หากให้ขายราคาเดิมแต่ต้นทุนสูง ผู้ค้าก็อยู่ไม่รอด อยากให้รัฐแก้ไขปัญหาโดยด่วน
กกร. จี้รัฐหามาตรการลดผลกระทบลอยตัวดีเซล
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_327651/
กกร.เตรียมทบทวนผลกระทบต้นทุนผลิตสินค้า จี้รัฐบาลหามาตรการเฉพาะหน้าลดผลกระทบลอยตัวดีเซล
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร.ต้นเดือนพฤษภาคมนี้ จะมีการประเมิน สถานการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน
ซึ่งจะมีผลต่อความต้องการสินค้าของโลก การผลิต และราคาน้ำมันการขนส่งโลจิสติกส์ โดยเฉพาะการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปนั้น หากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงสูงขึ้นอาจทำให้ราคาน้ำมันดีเซลในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ลิตรละ 35-36 บาท
ซึ่งจากการวิเคราะห์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า หากน้ำมันดีเซล มีการขยับราคาขึ้นร้อยละ 10 ธุรกิจจะยังสามารถประคองตัวตรึงราคาต่อไปได้อีกประมาณ 3 เดือน และเมื่อราคาขยับเข้าใกล้ 35 บาท อาจจะเริ่มเตรียมตัวปรับขึ้นราคาสินค้า ดังนั้น ภาครัฐต้องเร่งออกมาตรการเฉพาะหน้า ทั้งระยะสั้นและระยะยาวสำหรับการรับมือในสถานการณ์ครั้งนี้
นอกจากนี้ยังมีในส่วนของค่ากระแสไฟฟ้าซึ่งถือเป็นหนึ่งในต้นทุนหลักในการผลิตสินค้าและบริการของภาคเอกชน โดยผู้ประกอบการทุกขนาดได้รับผลกระทบเหมือนกันมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ปริมาณการใช้ ซึ่งในส่วนที่ไม่สามารถแบกรับภาระได้ผู้ประกอบการอาจจำเป็นต้องปรับค่าบริการหรือราคาสินค้าผลักภาระไปที่ผู้บริโภคบางส่วน