The Asperger story By P surachet ตอนที่ 9 การสื่อสาร
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Syndrome) ที่มาจากประสบการณ์ตรงของผม จากที่ผมเคยเรียน จากคุยกับเพื่อนที่เป็นเหมือนกัน และจากคุณหมอครับ เนื่องจากว่าผมเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์และได้พบกับความยากลำบากหลายอย่างทั้งๆ ที่ผมเป็นน้อย และคนในสังคมไทยไม่ค่อยได้รู้จักโรคนี้ ผมจึงคิดที่จะทำสื่อเพื่อให้คนไทยรู้จักมากขึ้น โดยได้เขียนบทความที่ชื่อว่า “The Asperger story By P surachet” โดยจะแบ่งเป็น 15 ตอน อันนี้จะเป็นตอนที่ 9 ครับ หากว่าใครชอบดูในรูปแบบของคลิปวิดีโอมากกว่า สามารถรับชมคลิปได้เลยครับ แต่ถ้าใครชอบอ่านก็เลื่อนลงไปอ่านบทความได้เลยครับ
ในตอนนี้เราจะมาพูดถึงการสื่อสารกันครับ ลักษณะอย่างพวกเรานั้นก็จะมีปัญหาด้านการสื่อสารทั้งการสื่ออารมณ์และการพูด การสื่อทางสีหน้าอารมณ์และบทบาทสมมุติ บางคนก็ไม่ชอบสัมผัสตัว บางคนที่เป็นโรคนี้เยอะๆ อาจสื่อสารไม่รู้เรื่อง ว่าง่ายๆ ก็คือพูดไม่รู้เรื่องครับ บางคนก็มีปัญหาด้านการใช้ไวยากรณ์ อาจไม่พูดตามไวยากรณ์ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องไปเรียนบำบัดฝึกพูดครับแต่ว่าผมไม่เป็นในส่วนนี้จึงไม่ต้องบำบัด แต่ผมจะมีปัญหาตรงที่พูดไม่ชัด จังหวะการพูดไม่ดีซึ่งเรื่องพวกนี้ก็เกี่ยวกับโรคครับก็อาจต้องปรับจังหวะการพูดให้ช้าลง หลายๆ คนมีปัญหาเรื่องการสื่อสารเช่น ไม่เข้าใจมุข ไม่เข้าใจความหมายแฝงจะเข้าใจแต่ภาษาที่เป็นทางการ ซึ่งผมก็มีอยู่บ้างครับ เพราะฉะนั้นเวลาพูดอะไรต้องพูดให้ชัดเจน ใช้คำที่เป็นคำหลักจริงๆ อย่าใช้ความหมายแฝง บางคนก็พูดเป็นโมโนโทนก็มีนะครับ รวมทั้งการพูดเรื่องซ้ำๆ อีกด้วย
.
.
ลักษณะอย่างพวกเรามักจะคิดเป็นคำสั่งเหมือนกับคอมพิวเตอร์เช่นสั่งอย่างไรก็เป็นแบบนั้น ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ สมมุติว่าเราทำงานอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่งแล้วหัวหน้าสั่งว่าให้ปิดไฟพักเที่ยงตอน 12.00 น. เพื่อประหยัดไฟ เขาก็จะปิดไฟเวลานั้นทุกวัน ไม่มีความคิดตัวเองหรือออกนอกคำสั่ง ถ้าเกิดว่าเวลา 12.00 น. ยังมีคนทำงานเพราะบางครั้งงานต้องต่อเนื่องจะมาพักเที่ยงตรงทุกวันไม่ได้แต่เขาก็จะปิดไฟเวลาเที่ยงตรงครับถึงแม้ว่ายังมีคนนั่งทำงานอยู่ สั่งให้เขาเลื่อนเวลาเปิดไม่ได้ด้วยเพราะถ้าสั่งเลื่อนเวลาวันต่อไปเขาก็จะใช้เวลาใหม่ จะเห็นได้ว่าลักษณะจะเป็นการทำตามคำสั่ง ไม่มีความยึดหยุ่นหรือดูสภาพแวดล้อม แต่เรื่องพวกนี้เท่าที่ผมคุยกับอีกหลายๆ คน อาการตอนโตจะดีขึ้นควบคู่ไปกับการรักษาซึ่งอาการแบบนี้ก็จะเป็นไปตามอาการของโรค ถ้าไม่ได้เป็นโรคเยอะก็จะไม่ได้เป็นขนาดนั้นครับ
.
.
ในส่วนตัวของผมนั้นเนื่องจากว่าผมอธิบายความรู้สึกไม่ได้และผมเองก็มีความคิดที่เป็นเชิงทฤษฎีจริงๆ หลายๆ คนก็เป็นแบบนี้จะใช้ชีวิตตามทฤษฎี อย่างผมก็จะมีปัญหาตรงที่เวลาจะอธิบายอะไรหรือคุยกับใครก็จะใช้ทฤษฎีในการอธิบาย ด้วยความที่ว่าผมเป็นคนชอบศึกษาจิตวิทยาก็เลยพอรู้ทฤษฎีด้วย เวลาเพื่อมาปรึกษาผมหรือผมอธิบายเรื่องอะไรไปเพื่อนจะมองว่าอารมณ์เหมือนอ่านวิกิพีเดีย คือผมจะอธิบายเป็นทฤษฎีเป็นขั้นๆ กับทุกเรื่อง เวลาเพื่อนคุยเขาก็จะบอกว่าอันที่จริงถ้ามันไม่ใช่งานวิชาการก็ไม่ต้องพูดลักษณะแบบนั้น กับคนกับเพื่อนให้ใช้ความรู้สึกในการคุย แต่ผมก็ไม่ได้บอกอะไรเขามากนะครับเพราะคิดว่าอธิบายไปเข้าก็ไม่เข้าใจ ผมไม่สามารถอธิบายหรือถ่ายทอดความรู้สึกในการสื่อสารกับคนอื่นได้ อาจมีได้บ้างแต่น้อยครับครับ ทั้งการสื่อกับคนอื่นและการรับ เพราะฉะนั้นเวลาผมพูดอะไรกับคนอื่นก็จะพูดแบบภาษาเครื่องจักรอารมณ์แบบอ่านงานวิจัยหรือใช้ทฤษฎีในการอธิบายครับ ผมเข้าใจเพื่อนครับที่เขาบอกว่าคุยกับเพื่อนไม่ต้องใช้ทฤษฎีให้ใช้ความรู้สึกแต่อย่างที่ผมบอกผมว่าใช้ทฤษฎีก็ยังดีกว่าที่เราสื่อสารไม่ได้ครับไม่งั้นเราจะไม่มีหลักในการสื่อสารเลย รวมถึงเรื่องอื่นๆ ด้วยผมก็จะใช้ทฤษฎีในการอธิบายเป็นหลักโดยเฉพาะเรื่องที่เราถนัด อย่างที่ผมบอกผมอธิบายด้วยความรุ้สึกไม่ได้แต่ผมว่าเราอธิบายเป็นเชิงทฤษฎีก็ยังดีกว่าอธิบายอะไรไม่ได้เลยนะครับ
.
.
ในการสื่อสารทั่วไปของมนุษย์นั้นหนึ่งสิ่งที่ใช้กันก็คือแววตา แต่พวกเราใช้แววตาไม่เป็น อันที่จริงเราไม่ทำแม้กระทั้งสบตาอย่างที่หลายๆ คนเห็น ผมเองในตอนเด็กๆ ก็เป็น เวลาพูดอะไรจะไม่มองหน้าคนอื่นถ้ามองจะคิดอะไรพูดอะไรไม่ออก เราพบปัญหามากเพราะคนไทยใช้สายตาในการสื่อสารเยอะ หลายๆ คนบังคับให้ผมสบตาคนอื่นแต่ผมก็ทำไม่ได้ ในตอนโตขึ้นอาการก็เริ่มดีขึ้นไปเอง อาการนี้ผมเคยถามหมอมันเป็นเพราะการทำงานของสมองที่ผิดพลาดซึ่งการใช้สายตาเป็นการสื่อสารชนิดหนึ่งซึ่งอาการนี้ก็จะเป็นไปตามอาการของโรคครับ อย่างในปัจจุบันผมก็สามารถสบตาได้แล้วนั้นแปลว่าอาการของโรคน้อยจริงๆ แล้วครับ แต่ถ้าเลือกได้ก็ยังไม่ชอบสบตาอยู่ดี
.
.
วิธีคิดของพวกเราจะคิดไปตามคำสั่ง เวลาทำอะไรก็จะทำตามคำสั่งเหมือนเครื่องจักร วิธีคิดของพวกเราจะเหมือนคอมพิวเตอร์ คือจะรับคำสั่งมาเป็นขั้นๆ แล้วก็ทำทีละขั้น ไม่ค่อยจะทำข้ามขั้นตอน มองโลกมีแค่ถูกผิด แล้วคนอย่างพวกเราไม่ค่อยมีอะไรในใจ แปลว่าไม่ค่อยคิดอะไรเพิ่มเติมเองและถ้าในใจมีอะไรก็จะไม่เก็บไว้จะพูดออกมาเลยเป็นต้น รวมทั้งการสื่อสารอารมณ์ด้วยที่พวกเราไม่เข้าใจอารมณ์คนอื่น จริงๆ ทั่วๆ ไปแล้วมนุษย์จะใช้อารมณ์ในการสื่อสารแต่พวกเราจะใช้ข้อมูลในการสื่อสารอารมณ์เหมือนคุณคุยกับคอมพิวเตอร์ครับ อีกอย่างนอกจากเราไม่เข้าใจอารมณ์ในการสื่อสารกับคนอื่นแล้วเรายังไม่เข้าใจหรือไม่ฟังคนอื่นอีกด้วยครับ เราไม่เข้าใจอารมณ์คำพูด สีหน้า ภาษากายคนอื่น นั้นก็เป็นปัญหาของการสื่อสารเพราะการสื่อสารมันต้องทั้ง 2 ทาง แต่พวกเราเหมือนจะสื่อสารได้ทางเดียว เพราะฉะนั้นเอาจริงๆ ผมว่าถ้าคนรู้ข้อนี้แล้วก็น่าจะรู้ครับว่ามีจุดเด่นอย่างไร เราสามารถเข้าในในสิ่งที่เขาเป็นและออกแบบให้เขาทำงานที่เหมาะสมได้
.
.
ผมนอกเรื่องเพิ่มให้อีกเล็กน้อยครับ สำหรับผมบางครั้งเราก็อ่านอารมณ์ไม่ถูกหรือแสดงอารมณ์ไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์การใช้สัญลักษณ์แสดงอารมณ์เช่น อิโมจิ ก็จะช่วยได้ครับ โดยเฉพาะใน โลกโซเชี่ยลซึ่งเราไม่ได้เห็นตัวจริงๆ จะยิ่งทำให้การประเมินยากขึ้นครับ และด้วยความที่มีแต่ข้อความพวกเราก็ดูจะมีปัญหากับ subtext ด้วย ดังนั้นสักษณ์จะช่วยได้ครับแต่คู่สนทนาก็ต้องจริงจังกับการใช้สัญลักษณ์ด้วยครับ
ผม P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
สามารถติดตามและพูดคุยกับผมได้ที่เพจ : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ :
https://www.facebook.com/psurachet95/?show_switched_toast=0&show_invite_to_follow=0&show_switched_tooltip=0&show_podcast_settings=0&show_community_transition=0&show_community_review_changes=0
ช่อง Youtube : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ :
https://www.youtube.com/channel/UCcaotwQy4XufCWfUdJGmFtw
รู้จักโรคแอสเพอร์เกอร์ Asperger’s Syndrome (ออทิสติกแบบ High function) ตอนที่ 9 การสื่อสาร
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Syndrome) ที่มาจากประสบการณ์ตรงของผม จากที่ผมเคยเรียน จากคุยกับเพื่อนที่เป็นเหมือนกัน และจากคุณหมอครับ เนื่องจากว่าผมเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์และได้พบกับความยากลำบากหลายอย่างทั้งๆ ที่ผมเป็นน้อย และคนในสังคมไทยไม่ค่อยได้รู้จักโรคนี้ ผมจึงคิดที่จะทำสื่อเพื่อให้คนไทยรู้จักมากขึ้น โดยได้เขียนบทความที่ชื่อว่า “The Asperger story By P surachet” โดยจะแบ่งเป็น 15 ตอน อันนี้จะเป็นตอนที่ 9 ครับ หากว่าใครชอบดูในรูปแบบของคลิปวิดีโอมากกว่า สามารถรับชมคลิปได้เลยครับ แต่ถ้าใครชอบอ่านก็เลื่อนลงไปอ่านบทความได้เลยครับ
ในตอนนี้เราจะมาพูดถึงการสื่อสารกันครับ ลักษณะอย่างพวกเรานั้นก็จะมีปัญหาด้านการสื่อสารทั้งการสื่ออารมณ์และการพูด การสื่อทางสีหน้าอารมณ์และบทบาทสมมุติ บางคนก็ไม่ชอบสัมผัสตัว บางคนที่เป็นโรคนี้เยอะๆ อาจสื่อสารไม่รู้เรื่อง ว่าง่ายๆ ก็คือพูดไม่รู้เรื่องครับ บางคนก็มีปัญหาด้านการใช้ไวยากรณ์ อาจไม่พูดตามไวยากรณ์ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องไปเรียนบำบัดฝึกพูดครับแต่ว่าผมไม่เป็นในส่วนนี้จึงไม่ต้องบำบัด แต่ผมจะมีปัญหาตรงที่พูดไม่ชัด จังหวะการพูดไม่ดีซึ่งเรื่องพวกนี้ก็เกี่ยวกับโรคครับก็อาจต้องปรับจังหวะการพูดให้ช้าลง หลายๆ คนมีปัญหาเรื่องการสื่อสารเช่น ไม่เข้าใจมุข ไม่เข้าใจความหมายแฝงจะเข้าใจแต่ภาษาที่เป็นทางการ ซึ่งผมก็มีอยู่บ้างครับ เพราะฉะนั้นเวลาพูดอะไรต้องพูดให้ชัดเจน ใช้คำที่เป็นคำหลักจริงๆ อย่าใช้ความหมายแฝง บางคนก็พูดเป็นโมโนโทนก็มีนะครับ รวมทั้งการพูดเรื่องซ้ำๆ อีกด้วย
.
.
ลักษณะอย่างพวกเรามักจะคิดเป็นคำสั่งเหมือนกับคอมพิวเตอร์เช่นสั่งอย่างไรก็เป็นแบบนั้น ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ สมมุติว่าเราทำงานอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่งแล้วหัวหน้าสั่งว่าให้ปิดไฟพักเที่ยงตอน 12.00 น. เพื่อประหยัดไฟ เขาก็จะปิดไฟเวลานั้นทุกวัน ไม่มีความคิดตัวเองหรือออกนอกคำสั่ง ถ้าเกิดว่าเวลา 12.00 น. ยังมีคนทำงานเพราะบางครั้งงานต้องต่อเนื่องจะมาพักเที่ยงตรงทุกวันไม่ได้แต่เขาก็จะปิดไฟเวลาเที่ยงตรงครับถึงแม้ว่ายังมีคนนั่งทำงานอยู่ สั่งให้เขาเลื่อนเวลาเปิดไม่ได้ด้วยเพราะถ้าสั่งเลื่อนเวลาวันต่อไปเขาก็จะใช้เวลาใหม่ จะเห็นได้ว่าลักษณะจะเป็นการทำตามคำสั่ง ไม่มีความยึดหยุ่นหรือดูสภาพแวดล้อม แต่เรื่องพวกนี้เท่าที่ผมคุยกับอีกหลายๆ คน อาการตอนโตจะดีขึ้นควบคู่ไปกับการรักษาซึ่งอาการแบบนี้ก็จะเป็นไปตามอาการของโรค ถ้าไม่ได้เป็นโรคเยอะก็จะไม่ได้เป็นขนาดนั้นครับ
.
.
ในส่วนตัวของผมนั้นเนื่องจากว่าผมอธิบายความรู้สึกไม่ได้และผมเองก็มีความคิดที่เป็นเชิงทฤษฎีจริงๆ หลายๆ คนก็เป็นแบบนี้จะใช้ชีวิตตามทฤษฎี อย่างผมก็จะมีปัญหาตรงที่เวลาจะอธิบายอะไรหรือคุยกับใครก็จะใช้ทฤษฎีในการอธิบาย ด้วยความที่ว่าผมเป็นคนชอบศึกษาจิตวิทยาก็เลยพอรู้ทฤษฎีด้วย เวลาเพื่อมาปรึกษาผมหรือผมอธิบายเรื่องอะไรไปเพื่อนจะมองว่าอารมณ์เหมือนอ่านวิกิพีเดีย คือผมจะอธิบายเป็นทฤษฎีเป็นขั้นๆ กับทุกเรื่อง เวลาเพื่อนคุยเขาก็จะบอกว่าอันที่จริงถ้ามันไม่ใช่งานวิชาการก็ไม่ต้องพูดลักษณะแบบนั้น กับคนกับเพื่อนให้ใช้ความรู้สึกในการคุย แต่ผมก็ไม่ได้บอกอะไรเขามากนะครับเพราะคิดว่าอธิบายไปเข้าก็ไม่เข้าใจ ผมไม่สามารถอธิบายหรือถ่ายทอดความรู้สึกในการสื่อสารกับคนอื่นได้ อาจมีได้บ้างแต่น้อยครับครับ ทั้งการสื่อกับคนอื่นและการรับ เพราะฉะนั้นเวลาผมพูดอะไรกับคนอื่นก็จะพูดแบบภาษาเครื่องจักรอารมณ์แบบอ่านงานวิจัยหรือใช้ทฤษฎีในการอธิบายครับ ผมเข้าใจเพื่อนครับที่เขาบอกว่าคุยกับเพื่อนไม่ต้องใช้ทฤษฎีให้ใช้ความรู้สึกแต่อย่างที่ผมบอกผมว่าใช้ทฤษฎีก็ยังดีกว่าที่เราสื่อสารไม่ได้ครับไม่งั้นเราจะไม่มีหลักในการสื่อสารเลย รวมถึงเรื่องอื่นๆ ด้วยผมก็จะใช้ทฤษฎีในการอธิบายเป็นหลักโดยเฉพาะเรื่องที่เราถนัด อย่างที่ผมบอกผมอธิบายด้วยความรุ้สึกไม่ได้แต่ผมว่าเราอธิบายเป็นเชิงทฤษฎีก็ยังดีกว่าอธิบายอะไรไม่ได้เลยนะครับ
.
.
ในการสื่อสารทั่วไปของมนุษย์นั้นหนึ่งสิ่งที่ใช้กันก็คือแววตา แต่พวกเราใช้แววตาไม่เป็น อันที่จริงเราไม่ทำแม้กระทั้งสบตาอย่างที่หลายๆ คนเห็น ผมเองในตอนเด็กๆ ก็เป็น เวลาพูดอะไรจะไม่มองหน้าคนอื่นถ้ามองจะคิดอะไรพูดอะไรไม่ออก เราพบปัญหามากเพราะคนไทยใช้สายตาในการสื่อสารเยอะ หลายๆ คนบังคับให้ผมสบตาคนอื่นแต่ผมก็ทำไม่ได้ ในตอนโตขึ้นอาการก็เริ่มดีขึ้นไปเอง อาการนี้ผมเคยถามหมอมันเป็นเพราะการทำงานของสมองที่ผิดพลาดซึ่งการใช้สายตาเป็นการสื่อสารชนิดหนึ่งซึ่งอาการนี้ก็จะเป็นไปตามอาการของโรคครับ อย่างในปัจจุบันผมก็สามารถสบตาได้แล้วนั้นแปลว่าอาการของโรคน้อยจริงๆ แล้วครับ แต่ถ้าเลือกได้ก็ยังไม่ชอบสบตาอยู่ดี
.
.
วิธีคิดของพวกเราจะคิดไปตามคำสั่ง เวลาทำอะไรก็จะทำตามคำสั่งเหมือนเครื่องจักร วิธีคิดของพวกเราจะเหมือนคอมพิวเตอร์ คือจะรับคำสั่งมาเป็นขั้นๆ แล้วก็ทำทีละขั้น ไม่ค่อยจะทำข้ามขั้นตอน มองโลกมีแค่ถูกผิด แล้วคนอย่างพวกเราไม่ค่อยมีอะไรในใจ แปลว่าไม่ค่อยคิดอะไรเพิ่มเติมเองและถ้าในใจมีอะไรก็จะไม่เก็บไว้จะพูดออกมาเลยเป็นต้น รวมทั้งการสื่อสารอารมณ์ด้วยที่พวกเราไม่เข้าใจอารมณ์คนอื่น จริงๆ ทั่วๆ ไปแล้วมนุษย์จะใช้อารมณ์ในการสื่อสารแต่พวกเราจะใช้ข้อมูลในการสื่อสารอารมณ์เหมือนคุณคุยกับคอมพิวเตอร์ครับ อีกอย่างนอกจากเราไม่เข้าใจอารมณ์ในการสื่อสารกับคนอื่นแล้วเรายังไม่เข้าใจหรือไม่ฟังคนอื่นอีกด้วยครับ เราไม่เข้าใจอารมณ์คำพูด สีหน้า ภาษากายคนอื่น นั้นก็เป็นปัญหาของการสื่อสารเพราะการสื่อสารมันต้องทั้ง 2 ทาง แต่พวกเราเหมือนจะสื่อสารได้ทางเดียว เพราะฉะนั้นเอาจริงๆ ผมว่าถ้าคนรู้ข้อนี้แล้วก็น่าจะรู้ครับว่ามีจุดเด่นอย่างไร เราสามารถเข้าในในสิ่งที่เขาเป็นและออกแบบให้เขาทำงานที่เหมาะสมได้
.
.
ผมนอกเรื่องเพิ่มให้อีกเล็กน้อยครับ สำหรับผมบางครั้งเราก็อ่านอารมณ์ไม่ถูกหรือแสดงอารมณ์ไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์การใช้สัญลักษณ์แสดงอารมณ์เช่น อิโมจิ ก็จะช่วยได้ครับ โดยเฉพาะใน โลกโซเชี่ยลซึ่งเราไม่ได้เห็นตัวจริงๆ จะยิ่งทำให้การประเมินยากขึ้นครับ และด้วยความที่มีแต่ข้อความพวกเราก็ดูจะมีปัญหากับ subtext ด้วย ดังนั้นสักษณ์จะช่วยได้ครับแต่คู่สนทนาก็ต้องจริงจังกับการใช้สัญลักษณ์ด้วยครับ
ผม P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
สามารถติดตามและพูดคุยกับผมได้ที่เพจ : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ : https://www.facebook.com/psurachet95/?show_switched_toast=0&show_invite_to_follow=0&show_switched_tooltip=0&show_podcast_settings=0&show_community_transition=0&show_community_review_changes=0
ช่อง Youtube : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ : https://www.youtube.com/channel/UCcaotwQy4XufCWfUdJGmFtw