รู้จักโรคแอสเพอร์เกอร์ Asperger’s Syndrome (ออทิสติกแบบ High function) ตอนที่ 1 เกริ่นนำ

The Asperger story By P surachet ตอนที่ 1 เกริ่นนำ (ที่มาที่ไป) 
 บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Syndrome) ที่มาจากประสบการณ์ตรงของผม จากที่ผมเคยเรียน จากคุยกับเพื่อนที่เป็นเหมือนกัน และจากคุณหมอครับ เนื่องจากว่าผมเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์และได้พบกับความยากลำบากหลายอย่างทั้งๆ ที่ผมเป็นน้อย และคนในสังคมไทยไม่ค่อยได้รู้จักโรคนี้ ผมจึงคิดที่จะทำสื่อเพื่อให้คนไทยรู้จักมากขึ้น โดยได้เขียนบทความที่ชื่อว่า “The Asperger story By P surachet” โดยจะแบ่งเป็น 15 ตอน อันนี้จะเป็นตอนที่ 1 ครับ หากว่าใครชอบดูในรูปแบบของคลิปวิดีโอมากกว่า สามารถรับชมคลิปได้เลยครับ แต่ถ้าใครชอบอ่านก็เลื่อนลงไปอ่านบทความได้เลยครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
.
 สวัสดีผู้อ่านทุกๆ ท่านครับ มาถึงตอนแรกของบทความเราครับ ก่อนอื่นต้องบอกกว่าว่าผมไม่ได้เรียนทางด้านเด็กพิเศษมา แต่ผมได้จากประสบการณ์จากตัวเองและจากที่คุยกับคุณหมอ ดังนั้นถ้าข้อมูลไม่ครบรอบด้านต้องขออภัยด้วยครับ ในตอนแรกผมคิดว่าถ้ามีโอกาสจะทำเป็นหนังสือขึ้นมาแต่ผมคิดว่าในปัจจุบันยังคงไม่สามารถทำอย่างนั้นได้และผมก็คงจะไม่รอเพราะไม่รู้ว่าจะรอไปอีกนานแค่ไหนในเมื่อตอนนี้เรามีช่องทางในการสร้างผลงานแล้วจึงคิดว่าทำไปเลยดีกว่า สำหรับบทความ “The Asperger story By P surachet” ผมจะแบ่งเป็นตอนๆ คิดว่าจะสร้างไปเรื่อยๆ จึงไม่ได้คิดว่ามีกี่ตอน โดยเบี้องต้นมี 10 ตอน โดยจะเป็นการเล่าเรื่องที่ผ่านมาในชีวิตผมเกี่ยวกับโรคที่เป็น ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากสำหรับคนทั่วๆ ไปที่ควรจะศึกษาพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้และคิดว่ายังไงก็คงมีอีกหลายๆ ท่านที่สนใจอยู่แล้วเราจะค่อยๆ เล่าที่ละส่วนกันไปครับ และอย่างที่บอกครับว่าผมจะลงสลับกับเรื่องอื่นๆ เพราะคิดว่าบางท่านที่ไม่ได้สนใจอาจเบื่อถ้าลงเยอะไป สำหรับหลายท่านที่สนใจหรือมาจากกลุ่มเด็กพิเศษก็ค่อยติดตามกันไปเรื่อยๆ ครับ สำหรับเนื้อหานั้นอาจพยายามทำให้กระชับเพราะถ้ายาวไปคนก็ไม่อยากอ่านครับ
.
.
 ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักโรคกันก่อน แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger’s Syndrome) ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ในสมัยก่อนคุณหมอจะบอกว่าถ้าออทิสติกเป็นสีดำคนปกติเป็นสีขาวแอสเพอร์เกอร์จะเป็นสีเทา คือจะมีอาการบางส่วนเหมือนออทิสติกแต่เบากว่า และอีกอย่างสำหรับออทิสติกที่ผมได้พูดไปว่าจะประกอบไปด้วย 3 ด้านที่ชัดเจนกว่าคือ ทักษะสังคม การสื่อสาร และพฤติกรรม แต่สำหรับแอสเพอร์เกอร์จะเด่นไปทางด้านปัญหาทักษะสังคมเป็นหลัก ด้านอื่นๆ ไม่หนักเท่าออทิสติกครับ แต่ในปัจจุบันตามคู่มือวินิจฉัยโรค DSM-5 แอสเพอร์เกอร์มันก็คือออทิสติกชนิดหนึ่ง อาจถือว่าเป็นโรคเดียวกันก็ได้ จัดให้อยู่ในกลุ่มออทิสติกแบบ High function หรือออทิสติกระดับ 1 หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากลุ่มอาการ Autism Spectrum Disorder ก็ได้ครับ ส่วนอาการของโรคเบี้องต้นก็จะมีปัญหาบางด้านด้านเช่น 1 ด้านภาษา อาจใช้คนตรงๆ ไม่เข้าใจมุข พูดเสียงโมโนโทน จังหวะการพูดไม่ดี ไม่เข้าใจความหมายแฝง 2 อาจมีปัญหาด้านการควบคุมกล้ามเนี้อ มีพฤติกรรมทำอะไรซ้ำๆ หมกหมุ่น ขาดความยึดหยุ่น บางคนชอบศึกษาอะไรที่มีลายละเอียด และ 3 สำคัญสุด ทุกๆ คนเป็นก็คือ จะมีปัญหาเรื่องเข้าสังคม ไม่ค่อยสบตา ไม่เข้าใจสีหน้าอารมณ์ แยกตัวอยู่คนเดียว ไม่ค่อยสนใจบุคคลรอบข้าง เล่นกับเด็กคนอื่นไม่ค่อยเป็น ไม่รู้จักการทักทาย พอเจอปุ๊บอยากถามอะไร อยากรู้อะไรก็จะพูดโพล่งออกมา ไม่มีการเกริ่นนำ ถามเรื่องที่สนใจโดยไม่เสียเวลา และไม่ค่อยรู้จักกาลเทศะ เป็นต้น รายละเอียดลึกๆ ท่านอาจไปศึกษาเองเพราะถ้าเขียนทั้งหมดในนี้อาจยาวเกินไป
.
.
 สำหรับผมนั้นถือว่าเป็นโรคนี้แต่ว่าอาการที่เป็นไม่มาก ถ้าจะพูดว่าจริงๆ โรคนี้อาการที่เป็นก็ถือว่าน้อยแล้ว แต่ที่ผมเป็นถือว่าน้อยลงไปอีกทำให้มองผ่านๆ บางครั้งก็แยกไม่ออก ส่วนคนทั่วๆ ไปนั้นถ้าดูผ่านๆ อาจมองไม่ออก แต่ถ้าอยู่ด้วยกันซักระยะหรือรู้จักระดับหนึ่งก็จะพอรู้ว่าผิดปกติ แต่เนื่องจากว่าโรคนี้คนไทยรู้จักน้อยส่วนใหญ่จึงไม่รู้ว่าเป็นอะไรแค่รู้สึกว่าแปลกๆ อันที่จริงแล้วอาการผิดปกติของผมจริงๆ มันเห็นอาการตั้งแต่ 3 ขวบได้เนื่องจากว่าเป็นคนที่ชอบทำอะไรซ้ำๆ กับเรื่องเดิมๆ และไม่ชอบเล่นกับเพื่อน ชอบอยู่คนเดียว แต่เนื่องจากว่าที่บ้านไม่รู้จักโรคนี้จึงไม่รู้ว่าเป็นโรคก็เลยปล่อยต่อไป อย่างที่บอกว่าอาการน้อยก็เลยใช้ชีวิตต่อไปได้ เมื่อายุประมาณ 9 ขวบที่บ้านก็ได้พบปัญหาซึ่งเขามองว่าเป็นปัญหาใหญ่ก็คือมีปัญหาเรื่องการเรียน คือจะมีบางวิชาที่ได้คะแนนดีและบางวิชาที่คะแนนต่ำ ถ้าดีก็เกรด 4 ไปเลย ถ้าไม่ดีก็เกรด1 1.5 ได้แค่นี้ ที่บ้านจึงตัดสินใจไปพบแพทย์
.
.
 เมื่อไปพบหมอหมดได้ทดสอบหลายอย่างหนึ่งในสิ่งที่ให้ทดสอบก็คือ ให้ดูภาพใบหน้าของคนและให้บอกอารมณ์ว่าหน้าตาแบบนี้คืออารมณ์อะไร สำหรับผมถ้าอารมณ์พื้นฐานแยกออก แต่ถ้าซับซ้อนขึ้นก็จะแยกไม่ออก และใช้ข้อมูลจากโรงเรียนและพ่อแม่ร่วมกันจึงทำให้ทราบว่าเป็นโรคนี้ การรักษาเนี่องจากว่าได้สอบถามอาการและพบว่าเป็นไม่มาก (แต่ไม่แน่ใจในรายละเอียดอื่นๆ) บทสรุปจึงออกมาว่าไม่ต้องกินยาแต่ให้เข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัด ซึ่งทั้งหมดก็ได้รักษาไประยะหนึ่งน่าจะ 2-3 ปี และที่บ้านก็มีปัญหาเรื่องกางเงินจึงหยุดรักษาไปจนถึงอายุ 19 ในความเป็นจริงนั้นเราไม่แนะนำให้ทำแบบนี้เพราะการรักษาควรจะต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นเป็นวัยที่สำคัญสุดพัฒนาการทุกด้านจะขึ้นสูงในช่วงนี้ แต่โชคดีที่อาการของผมดีขึ้นเองซึ่งหมอบอกว่าโชคดีมากที่สมองปรับได้เองซึ่งเอาจริงๆ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ซึ่งเราจะแบบได้เลยว่าผมตั้งแต่เด็กจนถึงชั้น ม.1 อาการของโรคจะเห็นได้ชัด ม.3 ขึ้นไปอาการน้อยลงไปพอสมควรจะสามารถตีเนียนได้ ในตอนอายุ 19 ผมเข้ามหาลัยและเกิดปัญหาเรื่องของการปรับตัวเพราะการเรียน และสภาพสังคมมหาลัยนั้นแตกต่างจากโรงเรียน จึงได้ไปพบหมออีกครั้งและรักษาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน รอบ 2 ที่ไปนี้มียามาให้กินด้วย ยาจะช่วยลดพฤติกรรมทำซ้ำๆ และช่วยเรื่องอารมณ์ เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะมีปัญหาเรื่องอารมณ์เช่น ถ้าจะทำอันนี้ต้องได้ทำ ยอมหักไม่ยอมง้อ เป็นต้น เอาละครับสำหรับบทแรกประมาณนี้ก่อนละกัน สำหรับโรงเรียนที่ผมเรียนนั้นเป็นโรงเรียนชายล้วนเอกชนครับ
.
.
 สำหรับท่านใดมีคำถามสามารถถามได้ครับ ถ้าหากเรื่องน่าสนใจจะทำเป็นตอนต่อไปครับ
.
.
ผม P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร 
สามารถติดตามและพูดคุยกับผมได้ที่เพจ : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ : https://www.facebook.com/psurachet95/?show_switched_toast=0&show_invite_to_follow=0&show_switched_tooltip=0&show_podcast_settings=0&show_community_transition=0&show_community_review_changes=0
ช่อง Youtube : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร 
หรือลิงค์ :  https://www.youtube.com/channel/UCcaotwQy4XufCWfUdJGmFtw
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่