จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดที่มีปราสาทเขมรจำนวนมาก หลายปราสาทได้รับการบูรณะแล้ว เข้าเยี่ยมชมได้ แต่บางปราสาทก็ไม่สามารถเข้าชมได้ด้วยปัญหาเขตแดน แต่ก็โชคดีที่ปราสาทที่สามารถเข้าชมได้แต่ละแห่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดดเด่นที่แม้แต่ปราสาทในเขมรยังไม่มีหรือไม่อาจพบได้ มาดูกันครับว่าผมได้ไปเที่ยวปราสาทอะไรบ้าง
1. กลุ่มปราสาทตาเมือน (เข้าชมได้เฉพาะปราสาทตาเมือน และตาเมือนโต๊ด)
2. ปราสาทศีขรภูมิ
3. ปราสาทบ้านพลวง
4. ปราสาทภูมิโปน
5. ปราสาทยายเหงา
มาดูรายละเอียดแต่ละปราสาทกันครับว่าทำไมถึงมีเอกลักษณ์โดดเด่น เป็นลักษณะเฉพาะตัว ไม่เหมือนที่อื่น
กลุ่มปราสาทตาเมือน เป็นกลุ่มปราสาทที่มีความสมบูรณ์ในด้านของการอำนวยประโยชน์ แก่ผู้คนที่ใช้เส้นทางผ่านช่องเขา ซึ่งไม่ปรากฏในถิ่นอื่น การที่มีกลุ่มปราสาทตาเมือนตั้งอยู่ในบริเวณนี้เป็นประจักษ์พยานที่แสดงให้เห็นว่า ในอดีตเส้นทางช่องเขาตาเมือนนี้คงจะมีชุมชนหรือเป็นเส้นทางผ่านช่องเขาสำคัญของภูมิภาค กลุ่มปราสาทตาเมือนนี้มี 3 ปราสาท ได้แก่ ปราสาทตาเมือนธม (มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม เสียดายว่าไม่สามารถเข้าชมได้) ปราสาทตาเมือน และปราสาทตาเมือนโต๊ด
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1724 – 1761) ทรงโปรดให้มีการสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่น้อย สร้างรูปเคารพและพระพุทธรูปในลัทธิวัชรยานเพื่อนำไปประดิษฐานตามเมือง ในเขตพระราชอำนาจเป็นจำนวนมาก มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาด้านสาธารณสุขให้กับไพร่ฟ้าประชาชนตามแนวทางการปฏิบัติโพธิญาณเพื่อบรรลุสู่พระโพธิสัตว์ โปรดให้มีการสร้างสถานพยาบาล
“อโรคยศาลา” (Arogayasala) ขึ้นจำนวน 102 แห่ง รวมทั้งการสร้างอาคารที่พัก
“ธรรมศาลา หรือ วหนิคฤหะ” ขึ้นจำนวน 121 แห่ง ตามเส้นทางแสวงบุญ (ราชมรรคา) 3 เส้นทาง โดยสร้างไว้เป็นระยะ ๆ ตามเส้นทางสำคัญทั่วพระราชอาณาจักร
เส้นทางสายราชมรรคาที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย คือเส้นทางสายเหนือ ที่ออกจากเมืองพระนครธม ที่ประตูทิศเหนือผ่านปราสาทพระขรรค์ (ในกัมพูชา) ถึงปราสาทตาเมือน (ในไทย) มีระยะทางประมาณ 118.2 กิโลเมตร และต่อจากปราสาทตาเมือนมายังประตูเมืองพิมายทางทิศใต้ มีระยะทาง 126.7 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางพบปราสาทในรูป “วหนิคฤหะ” ทั้งหมด 17 หลัง อยู่ในไทย 9 หลัง โดยปราสาทหลังแรกที่อยู่ติดชายแดนในเขตประเทศไทยคือปราสาทตาเมือน
ปราสาทตาเมือน
คำว่า ตาเมือน มีความหมายว่า “ไก่หาย” มีเรื่องเล่ากันว่า มีพรานตามล่าไก่ป่า และไก่ป่าหายเข้าไปในกองหินปราสาท นอกจากนี้ปราสาทตาเมือนยังมีอีกชื่อหนึ่งว่าปราสาท “บายกรีม” แปลว่า “พุ่มบายศรี” (ข้าวบิณฑ์) ด้วยเพราะตัวปราสาทมียอดแหลมฐานกว้างเหมือนกับบายศรีในพิธีสู่ขวัญ ปราสาทตาเมือนนี้ทำหน้าที่เป็นธรรมศาลา หรือวหนิคฤหะ (บ้านมีไฟ) สำหรับผู้เดินทางมาพักในยามราตรี
ปราสาทตาเมือน ได้รับการบูรณะด้วยวิธีการ“อนัสติโลซิส” (Anastylosis) มีมุขเชื่อมออกไปทางทิศตะวันออกเป็นทางยาวกว่า 12 เมตรมีหน้าต่างเฉพาะด้านทิศใต้จำนวน 5 บาน
ทำให้ตอนกลางคืนแสงไฟจากตะเกียงจะส่องแสงออกไปทางหน้าต่างทั้งห้าช่องที่หันไปทางทิศใต้ รับกับทิศทางของถนนที่นักเดินทางมาจากพระนครมุ่งหน้าขึ้นเหนือ สามารถมองเห็นได้ในยามค่ำคืนว่ามีที่พักอยู่อีกไม่ไกล หลังคาพังทลายไม่ได้รับการบูรณะขึ้นไปใหม่ มีประตูด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
ด้านทิศตะวันออกมีทับหลังสลักเป็นรูปพระพุทธเจ้าไภษัชยไวฑูรยประภาสุคต ปางสมาธิ และมีบุคคลหญิงชายก้มกราบอัญชุลีอยู่เบื้องซ้ายและขวา
สอดแทรกอยู่ในลวดลายพรรณพฤกษาทับหลังนี้ จัดได้ว่าเป็น
ทับหลังของปราสาทวหนิคฤหะที่สมบูรณ์ที่สุดในบรรดาปราสาททั้ง 17 หลังตามแนวเส้นทางราชมรรคาสายเหนือ
ประโยชน์ของปราสาทวหนิคฤหะ ธรรมศาลา หรือที่พักคนเดินทาง ตัวอาคารปราสาททำหน้าที่เป็นเพียง “หอพระ” หรือ “วิหาร” แห่งวหนิคฤหะ
ที่ภายในประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระอาทิพุทธเจ้า และอาจมีรูปของพระนางปรัชญาปารมิตารวมอยู่ด้วย รูปเคารพทั้งหมดถูกวางไว้ตรงจุดศูนย์กลางของห้องครรภคฤหะ
เพื่อให้ผู้เดินทางที่แวะเข้ามาพัก ได้เข้ามาบูชาสักการะ (ดังเช่นภาพสลักบนหน้าบัน) และขอพรจากพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรผู้มีอำนาจอานุภาพ ได้ช่วยคุ้มครอง บริบาลให้ปลอดภัยตลอดการเดินทางหรืออำนวยโชคให้การค้าวาณิชสำเร็จลุล่วงด้วยดี เป็นสถานที่สำหรับหยุดพัก ตรงจุดทางแยกสำคัญของกลุ่มชุมชนโบราณบนเส้นทางถนนราชมรรคา เพื่อให้ขบวนเกวียนคาราวานมาหยุดพักใกล้บริเวณลานกว้างด้านหน้าใกล้กับแนวถนน
ในปราสาทจะก่อไฟเพื่อให้แสงสว่างไว้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำไปจนถึงช่วงกลางดึก ให้เป็นจุดสังเกตสำคัญ แสงไฟและควันไฟจากตัวปราสาทพุ่งสู่ท้องฟ้ามองเห็นได้แต่ไกลไม่น้อยกว่า 3 กิโลเมตร เป็นสัญญาณนำทางให้กับขบวนคาราวานเกวียนและผู้เดินทางสัญจร สามารถมองเห็นแสงไฟที่เรืองรองได้แต่ไกล และเร่งเดินทางเข้ามาสู่จุดพักก่อนค่ำมืดจนมองไม่เห็นทาง ดังนั้นชื่อของ
“วหนิคฤหะ” จากจารึกปราสาทพระขรรค์ จึงมีความหมาย ในความหมายรูปธรรม ที่แปลว่า
“บ้านมีไฟ” และในความหมายเชิงนามธรรม ที่แปลว่า
“เรือนแห่งแสงพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร”
ภายในเรือนปราสาทมุขคูหายาวด้านตะวันออก ในตอนกลางวัน ใช้เป็นลานเข้ามานั่งพัก หรือ นั่งสวดมนตราภาวนาตามวิถีปฏิบัติในคติความเชื่อแบบวัชรยานตันตระ ส่วนผู้บูชาที่ผ่านมา ก็จะใช้อาคารศาลาไม้ที่มีอยู่ทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก เป็นเรือนประกอบการเซ่นไหว้บูชา
อ้างอิง
http://oknation.nationtv.tv/blog/voranai/2011/11/09/entry-1
[CR] ปราสาทจังหวัดสุรินทร์: เอกลักษณ์อันโดดเด่น
จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดที่มีปราสาทเขมรจำนวนมาก หลายปราสาทได้รับการบูรณะแล้ว เข้าเยี่ยมชมได้ แต่บางปราสาทก็ไม่สามารถเข้าชมได้ด้วยปัญหาเขตแดน แต่ก็โชคดีที่ปราสาทที่สามารถเข้าชมได้แต่ละแห่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดดเด่นที่แม้แต่ปราสาทในเขมรยังไม่มีหรือไม่อาจพบได้ มาดูกันครับว่าผมได้ไปเที่ยวปราสาทอะไรบ้าง
1. กลุ่มปราสาทตาเมือน (เข้าชมได้เฉพาะปราสาทตาเมือน และตาเมือนโต๊ด)
2. ปราสาทศีขรภูมิ
3. ปราสาทบ้านพลวง
4. ปราสาทภูมิโปน
5. ปราสาทยายเหงา
มาดูรายละเอียดแต่ละปราสาทกันครับว่าทำไมถึงมีเอกลักษณ์โดดเด่น เป็นลักษณะเฉพาะตัว ไม่เหมือนที่อื่น
กลุ่มปราสาทตาเมือน เป็นกลุ่มปราสาทที่มีความสมบูรณ์ในด้านของการอำนวยประโยชน์ แก่ผู้คนที่ใช้เส้นทางผ่านช่องเขา ซึ่งไม่ปรากฏในถิ่นอื่น การที่มีกลุ่มปราสาทตาเมือนตั้งอยู่ในบริเวณนี้เป็นประจักษ์พยานที่แสดงให้เห็นว่า ในอดีตเส้นทางช่องเขาตาเมือนนี้คงจะมีชุมชนหรือเป็นเส้นทางผ่านช่องเขาสำคัญของภูมิภาค กลุ่มปราสาทตาเมือนนี้มี 3 ปราสาท ได้แก่ ปราสาทตาเมือนธม (มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม เสียดายว่าไม่สามารถเข้าชมได้) ปราสาทตาเมือน และปราสาทตาเมือนโต๊ด
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1724 – 1761) ทรงโปรดให้มีการสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่น้อย สร้างรูปเคารพและพระพุทธรูปในลัทธิวัชรยานเพื่อนำไปประดิษฐานตามเมือง ในเขตพระราชอำนาจเป็นจำนวนมาก มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาด้านสาธารณสุขให้กับไพร่ฟ้าประชาชนตามแนวทางการปฏิบัติโพธิญาณเพื่อบรรลุสู่พระโพธิสัตว์ โปรดให้มีการสร้างสถานพยาบาล “อโรคยศาลา” (Arogayasala) ขึ้นจำนวน 102 แห่ง รวมทั้งการสร้างอาคารที่พัก “ธรรมศาลา หรือ วหนิคฤหะ” ขึ้นจำนวน 121 แห่ง ตามเส้นทางแสวงบุญ (ราชมรรคา) 3 เส้นทาง โดยสร้างไว้เป็นระยะ ๆ ตามเส้นทางสำคัญทั่วพระราชอาณาจักร
เส้นทางสายราชมรรคาที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย คือเส้นทางสายเหนือ ที่ออกจากเมืองพระนครธม ที่ประตูทิศเหนือผ่านปราสาทพระขรรค์ (ในกัมพูชา) ถึงปราสาทตาเมือน (ในไทย) มีระยะทางประมาณ 118.2 กิโลเมตร และต่อจากปราสาทตาเมือนมายังประตูเมืองพิมายทางทิศใต้ มีระยะทาง 126.7 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางพบปราสาทในรูป “วหนิคฤหะ” ทั้งหมด 17 หลัง อยู่ในไทย 9 หลัง โดยปราสาทหลังแรกที่อยู่ติดชายแดนในเขตประเทศไทยคือปราสาทตาเมือน
ปราสาทตาเมือน
คำว่า ตาเมือน มีความหมายว่า “ไก่หาย” มีเรื่องเล่ากันว่า มีพรานตามล่าไก่ป่า และไก่ป่าหายเข้าไปในกองหินปราสาท นอกจากนี้ปราสาทตาเมือนยังมีอีกชื่อหนึ่งว่าปราสาท “บายกรีม” แปลว่า “พุ่มบายศรี” (ข้าวบิณฑ์) ด้วยเพราะตัวปราสาทมียอดแหลมฐานกว้างเหมือนกับบายศรีในพิธีสู่ขวัญ ปราสาทตาเมือนนี้ทำหน้าที่เป็นธรรมศาลา หรือวหนิคฤหะ (บ้านมีไฟ) สำหรับผู้เดินทางมาพักในยามราตรี
ปราสาทตาเมือน ได้รับการบูรณะด้วยวิธีการ“อนัสติโลซิส” (Anastylosis) มีมุขเชื่อมออกไปทางทิศตะวันออกเป็นทางยาวกว่า 12 เมตรมีหน้าต่างเฉพาะด้านทิศใต้จำนวน 5 บาน
ทำให้ตอนกลางคืนแสงไฟจากตะเกียงจะส่องแสงออกไปทางหน้าต่างทั้งห้าช่องที่หันไปทางทิศใต้ รับกับทิศทางของถนนที่นักเดินทางมาจากพระนครมุ่งหน้าขึ้นเหนือ สามารถมองเห็นได้ในยามค่ำคืนว่ามีที่พักอยู่อีกไม่ไกล หลังคาพังทลายไม่ได้รับการบูรณะขึ้นไปใหม่ มีประตูด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
ด้านทิศตะวันออกมีทับหลังสลักเป็นรูปพระพุทธเจ้าไภษัชยไวฑูรยประภาสุคต ปางสมาธิ และมีบุคคลหญิงชายก้มกราบอัญชุลีอยู่เบื้องซ้ายและขวา
สอดแทรกอยู่ในลวดลายพรรณพฤกษาทับหลังนี้ จัดได้ว่าเป็นทับหลังของปราสาทวหนิคฤหะที่สมบูรณ์ที่สุดในบรรดาปราสาททั้ง 17 หลังตามแนวเส้นทางราชมรรคาสายเหนือ
ประโยชน์ของปราสาทวหนิคฤหะ ธรรมศาลา หรือที่พักคนเดินทาง ตัวอาคารปราสาททำหน้าที่เป็นเพียง “หอพระ” หรือ “วิหาร” แห่งวหนิคฤหะ
ที่ภายในประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระอาทิพุทธเจ้า และอาจมีรูปของพระนางปรัชญาปารมิตารวมอยู่ด้วย รูปเคารพทั้งหมดถูกวางไว้ตรงจุดศูนย์กลางของห้องครรภคฤหะ
เพื่อให้ผู้เดินทางที่แวะเข้ามาพัก ได้เข้ามาบูชาสักการะ (ดังเช่นภาพสลักบนหน้าบัน) และขอพรจากพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรผู้มีอำนาจอานุภาพ ได้ช่วยคุ้มครอง บริบาลให้ปลอดภัยตลอดการเดินทางหรืออำนวยโชคให้การค้าวาณิชสำเร็จลุล่วงด้วยดี เป็นสถานที่สำหรับหยุดพัก ตรงจุดทางแยกสำคัญของกลุ่มชุมชนโบราณบนเส้นทางถนนราชมรรคา เพื่อให้ขบวนเกวียนคาราวานมาหยุดพักใกล้บริเวณลานกว้างด้านหน้าใกล้กับแนวถนน
ในปราสาทจะก่อไฟเพื่อให้แสงสว่างไว้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำไปจนถึงช่วงกลางดึก ให้เป็นจุดสังเกตสำคัญ แสงไฟและควันไฟจากตัวปราสาทพุ่งสู่ท้องฟ้ามองเห็นได้แต่ไกลไม่น้อยกว่า 3 กิโลเมตร เป็นสัญญาณนำทางให้กับขบวนคาราวานเกวียนและผู้เดินทางสัญจร สามารถมองเห็นแสงไฟที่เรืองรองได้แต่ไกล และเร่งเดินทางเข้ามาสู่จุดพักก่อนค่ำมืดจนมองไม่เห็นทาง ดังนั้นชื่อของ “วหนิคฤหะ” จากจารึกปราสาทพระขรรค์ จึงมีความหมาย ในความหมายรูปธรรม ที่แปลว่า “บ้านมีไฟ” และในความหมายเชิงนามธรรม ที่แปลว่า “เรือนแห่งแสงพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร”
ภายในเรือนปราสาทมุขคูหายาวด้านตะวันออก ในตอนกลางวัน ใช้เป็นลานเข้ามานั่งพัก หรือ นั่งสวดมนตราภาวนาตามวิถีปฏิบัติในคติความเชื่อแบบวัชรยานตันตระ ส่วนผู้บูชาที่ผ่านมา ก็จะใช้อาคารศาลาไม้ที่มีอยู่ทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก เป็นเรือนประกอบการเซ่นไหว้บูชา
อ้างอิง http://oknation.nationtv.tv/blog/voranai/2011/11/09/entry-1
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้