The Asperger story By P surachet ตอนที่ 6 โลกอันแสนโดดเดี่ยว
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Syndrome) ที่มาจากประสบการณ์ตรงของผม จากที่ผมเคยเรียน จากคุยกับเพื่อนที่เป็นเหมือนกัน และจากคุณหมอครับ เนื่องจากว่าผมเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์และได้พบกับความยากลำบากหลายอย่างทั้งๆ ที่ผมเป็นน้อย และคนในสังคมไทยไม่ค่อยได้รู้จักโรคนี้ ผมจึงคิดที่จะทำสื่อเพื่อให้คนไทยรู้จักมากขึ้น โดยได้เขียนบทความที่ชื่อว่า “The Asperger story By P surachet” โดยจะแบ่งเป็น 15 ตอน อันนี้จะเป็นตอนที่ 6 ครับ หากว่าใครชอบดูในรูปแบบของคลิปวิดีโอมากกว่า สามารถรับชมคลิปได้เลยครับ แต่ถ้าใครชอบอ่านก็เลื่อนลงไปอ่านบทความได้เลยครับ
ในตอนนี้ก็เหมือนตอนอื่นๆ ผมขอเล่าจากชีวิตจริงเหมือนเดิม เริ่มตั้งแต่เด็กผมเป็นคนที่ไม่ชอบยุ่งกับใคร ตั้งแต่แรกเลยก็คือการรู้จักกันครั้งแรก การรู้จักใครครั้งแรกเป็นสิ่งที่อึดอัดเพราะเราไม่รู้จะคุยกับเขายังไงแล้วผมก็ไม่อยากคุยกับเขาเพราะไม่รู้จักเขา ปกติเด็กจะไม่คิดมากเมื่อเจอเพื่อนก็จะเขาหาเพื่อนได้แต่ผมไม่ใช่อย่างนั้น ผมไม่อยากยุ่งกับเขา คุยก็ไม่อยากคุย มีหลายครั้งที่เพื่อนชวนคุยแต่ผมไม่คุยเพราะไม่รู้จักและไม่ยากคุย แต่ถ้าผ่านจุดนั้นไปได้ก็จะเริ่มคุยมากขึ้นแต่เราก็จะเลือกคนคุย เราจะคุยกับคนที่คุยรู้เรื่อง รวมทั้งการเล่นด้วยก็จะเลยกับคนที่รู้เรื่องมากกว่า ส่วนใหญ่ในตอนเด็กๆ ผมไม่ค่อยมีเพื่อนในวัยเดียวกันเพราะเราไม่เข้าใจเขาและเขาก็ไม่เข้าใจเรา เหมือนเราอยู่คนละโลกกัน แต่ผมจะเข้ากับผู้ใหญ่ได้ดี ผมชอบคุยกับผู้ใหญ่ที่มีการศึกษา มีการศึกษาในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเรียนจบปริญาตรี แต่หมายถึงเขามีความรู้ เข้าใจโลก เนื่องจากผู้ใหญ่สามารถตอบคำถามที่ผมสงสัยได้ สิ่งที่ผมชอบคุยตั้งแต่ 4-5 ขวบก็คือ “พระอาทิตย์ทำไมถึงร้อน” “ความมืดคืออะไร” “เส้นทางนี้ไปไหน” “เสาไฟฟ้าต้นนี้ทำไมเป็นแบบนี้” “การเดินสายไฟฟ้าทำไมเดินแบบนี้” “ถนนทำไมสร้างแบบนี้” เมื่อผมถามเด็กในวัยเดียวกันเพื่อนมักตอบไม่ได้ หรือถ้าตอบก็คือตอบแบบมั่วๆ แต่ผมต้องการคำตอบจริง ผมจึงมักจะไม่อยากยุ่งกับเด็กวัยเดียวกัน
.
.
ตั้งแต่เด็กผมรู้สึกไม่อยากมีความสัมพันธ์อะไรกับคนอื่นนอกจากพ่อแม่และผู้ใหญ่บางคนที่สนิท แต่เราก็ไม่เคยรู้สึกโดดเดี่ยวหรือเหงา อันที่จริงในหัวของผมมันจะมีความคิดไหลอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราอยากคุยกับใครเราก็แค่คุยกับเพื่อนในจินตนาการ ตั้งแต่อนุบาลเพื่อนแต่ละคนมักจะจับกลุ่มคุยกันเล่นกันอยู่ในห้อง สิ่งที่ผมทำก็คือขอแค่มุมห้องหนึ่งและนั่งเงียบๆ คนเดียว แต่เมื่อถึงเวลาบังคับต้องทำกิจกรรมอะไรก็จะร่วมแต่ก็คงจะไม่ได้อินไปกับมันมาก หลายๆ ครั้งที่เพื่อนอาจคุยและทำสัญลักษณ์อะไรบางอย่างที่เขารู้กันแต่เมื่อเขาทำใส่ผม ผมก็มึนๆ กลับไปเพราะผมไม่รู้เรื่องว่าเขาต้องการจะสื่ออะไร หลายๆ ครั้งมันเหมือนกับมีกระจกกั้นเราเอาไว้ เรามองเห็นแต่ก็ได้แค่เห็นไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาสื่อสาร เมื่อตอนเข้าโรงเรียนตั้งแต่ประถมก็มีเพื่อนบ้างแต่หลักๆ ก็ยังชอบอยู่คนเดียวมากกว่า ไปไหนมาไหนคนเดียว กินข้าวคนเดียว นั่งคู่กับใครก็มีเปลี่ยนบ้าง บางครั้งคู่ก็ไม่อยากนั่งด้วย แต่ถ้ามีใครชวนคุยด้วยก็พร้อมจะคุยแต่กว่าจะคุยด้วยแบบไว้ใจก็คงผ่านไปครึ่งเทอมได้เพราะอย่างที่บอก ผมไม่คุยกับคนไม่รู้จัก แล้วเพื่อนแต่ละคนมาจากคนละอนุบาลต่างคนต่างมาจากคนละที่ถ้าไม่คุยมันก็ไม่รู้จัก มันก็เป็นวงจรวนแบบนี้ถึงใช้เวลานานกว่าจะคุยกับใคร แต่ก็มียกเว้นบางคนเคมีตรงกันก็ใช้เวลาเปิดใจน้อยลง
.
.
สิ่งที่ผมเบื่อมากที่สุดก็คือเวลากินข้าวเที่ยง ที่โรงเรียนของผมเขาจะบังคับให้ชั้น ป.1-ป.3 กินข้าวร่วมกันซึ่งการนั่งกินข้าวที่โต๊ะอาหารต้องนั่งตรงข้ามกัน ผมเบื่อมากเพราะผมไม่ชอบมองตาคนการนั่งกินข้าวกันมันต้องมองตาคนที่อยู่ตรงข้าม ผมไม่ชอบมองตาคนสิ่งที่ผมทำก็คือพยายามก้มหน้าไว้มองแต่อาหารที่อยู่บนโต๊ะมากกว่าหน้าเพื่อนที่อยู่ตรงข้าม เนื่องจากว่าเล่นกับเพื่อนน้อย เพื่อนส่วนใหญ่เขาจะมีกลุ่มมีแก๊งกันแต่ผมไม่มีมันก็ทำให้สิ่งหนึ่งลำบากนั้นก็คือ งานกลุ่ม เวลาจับกลุ่มผมแถบจะไม่เคยมีกลุ่มกับใครเลย เราไม่อยากไปหาใครแล้วเพื่อนแต่ละกลุ่มก็ไม่ได้อยากรับเราเพราะเราไม่ใช่คนในแก๊งเขา สุดท้ายก็ต้องให้ครูเป็นคนหากลุ่มให้ซึ่งเพื่อนบางคนก็ยอมรับเราแต่สุดท้ายก็จะมีปัญหาในการทำงานบ้างเพราะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง แต่อย่างน้อยตอนเด็กเราอาจไม่มีเพื่อนสนิทแต่ว่าเพื่อนก็ไม่ได้เกลียดเราเพราะเราก็ไม่ได้ทำตัวให้เขาเกลียดซะทีเดียว ดูซื่อๆ มึนๆ แล้วก็ไม่มีพิษมีภัยอะไร มีบางครั้งเวลาคุยกับใครผมจะก้มหน้าบ้างเพราะไม่ชอบมองหน้าเขา บางคนก็สงสัยว่าเป็นอะไร ก็อย่างที่เรารู้กันเนอะมันก็เป็นอาการไม่สบตา แต่พอเริ่มโตขึ้นอาการก็ค่อยๆ หายไป
.
.
ในตอนมัธยมช่วง ม.1 ม.2 ก็ไม่ได้ต่างจากเดิมมาก ส่วนมากก็จะใช้ชีวิตอยู่คนเดียว นั่งกินข้าวคนเดียว เคยมีอยู่ครั้งหนึ่งในตอนนั้นเรานั่งกินข้าวคนเดียว โต๊ะทั้งโต๊ะว่างหมดแล้วมีเพื่อนกลุ่มหนึ่งประมาณว่าจะมาแกล้งกวนๆ เรา อยู่ดีๆ เขายกพวกมานั่งกินข้าวกับเราทั้งกลุ่มแล้วก็พูดประมาณว่า “อยากนั่งกินข้าวด้วย” เรารู้สึกไม่พอใจแล้วก็ยกจานข้าวหนีไปนั่งที่อื่น เอาจริงๆ นะเพื่อนเราเขาก็รู้แระว่าคนนี้ไม่ปกติแต่ว่าด้วยนิสัยที่ไม่มีพิษภัย ผมเป็นคนที่อารมณ์ไม่ร้อนและไม่ได้หัวร้อนง่ายเมื่อเทียบกับอีกหลายๆ คนที่เป็นโรคนี้ ในตอนที่โตแล้วเพื่อนเขาถึงมาบอกว่า จริงๆ เขาไม่ได้กวนเขาอยากมานั่งด้วยจริงๆ สิ่งที่เราทำไปทำให้เขางง เขาเกิดคำถามด้วยซ้ำว่าเราเกลียดเขาหรือถึงต้องยกจานข้าวหนีเขา แต่หลังจากนั้นตั้งแต่ม.3 ผมก็เริ่มปรับตัวได้ มาหลายๆ ครั้งที่ไปกินข้าวกับเพื่อน (แต่จริงๆ ก็ยังชอบนั่งกินคนเดียวมากกว่า) มีเล่นกับเพื่อนบ้าง บางที่ก็ทำเรื่องบ้าๆ บอๆ บ้าง สำหรับเพื่อนในช่วงนี้ก็คงมองว่าผมเป็นตัวตลก บ้าๆ ออกตัวเป็นศิลปินหน่อย ถ้าจะทำงานกลุ่มไหนก็มีเพื่อนให้อยู่ด้วย
.
.
จนถึงเข้ามหาลัย สังคมก็จะเป็นอีกแบบ เราก็ยังเป็นเรา เราก็เลือกที่จะอยู่กับคนที่เข้ากับเราก็จะมีเพื่อนส่วนหนึ่งที่เขากับเราได้ เราให้เวลากับเพื่อนแต่ถ้าตอนไหนเป็นเวลาส่วนตัวก็จะไม่ยุ่งกันเพื่อนก็จะเข้าใจ ผมจะใช้วิธีที่เวลาบางส่วนจะอยู่กับเพื่อนที่สนิทในช่วงเวลาที่อยู่ร่วมกันก็จะพยายามลดความเป็นตัวตนลงเท่าที่ทำได้ ส่วนมากผมจะมีเพื่อนเป็นผู้ชาย เอาจริงๆ คนที่เป็นเพื่อนกันจริงๆ ไม่นับแค่ว่าเป็นคนรู้จักน่าจะเป็นเพื่อนผู้ชายถึง 80 % สำหรับผู้หญิงนั้นเดียวผมจะเล่าในตอนผู้หญิงนะครับ จากที่ผมเล่ามาก็พอจะสรุปได้ว่าจริงๆ ไม่ว่าอย่างไรเราก็เป็นเรา พระเจ้าสร้างเรามาให้เป็นแบบนี้จนมันเป็นแก่นสันดาน มันคงเปลี่ยนกันไม่ได้หรอก แต่เราก็ปรับได้ให้มันมีความเหมาะสม ในตอนโตอาการก็จะดีขึ้นกว่าตอนเด็ก สุดท้ายเพื่อนผมเข้าไม่รู้ว่าผมเป็นอะไรเขารู้แค่ว่าแปลกๆ แต่เขาก็รับในสิ่งที่เป็นได้สำหรับคนที่ยอมรับเราเป็นเพื่อนคนหนึ่ง
.
.
เอาจริงๆ ตั้งแต่มัธยมปลายจนเรียนมหาลัยเพื่อนส่วนใหญ่ที่ผมอยู่ด้วยก็เป็นคนขี้เล่น มุขเยอะ เอาจริงๆ หลายครั้งเราไม่ทันมุขเขาหรอก แต่มันก็เป็นการฝึกให้เข้าใจมุขและให้เราเล่นมุขไปในตัว ซึ่งนี้ก็คือข้อดีของการมีเพื่อนครับ สรุปเลยก็คือในตอนโตผมจะแบ่งช่วงเวลาเป็น 2 ช่วง ช่วงไหนที่เป็นเวลาที่อยู่กับเพื่อนก็จะพยายามอยู่กับเขา ลดความเป็นตัวเอง ฟังคนอื่น พยายามอย่าหัวร้อน พยายามสนุกไปกับคนอื่น ซึ่งอันนี้ก็ต้องฝึกอยู่เหมือนกัน ช่วงเวลานี้เราอาจใช้ในช่วงเวลาเรียน ทำงานร่วมกัน หรือคุยเรื่องที่สนใจ กับอีกช่วงก็คือเวลาส่วนตัวอันนี้ผมจะไม่ยุ่งกับใคร ผมจะเป็นตัวเองเต็มที่ ซึ่งเวลานี้มันก็เป็นเวลาที่สบายใจสุดครับ แต่ถ้าเกิดว่าอยู่กับเพื่อนที่เข้าใจเราก็จะสบายใจเหมือนกันซึ่งมันก็จะเป็นอีกแบบ
ผม P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
สามารถติดตามและพูดคุยกับผมได้ที่เพจ : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ :
https://www.facebook.com/psurachet95/?show_switched_toast=0&show_invite_to_follow=0&show_switched_tooltip=0&show_podcast_settings=0&show_community_transition=0&show_community_review_changes=0
ช่อง Youtube : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ :
https://www.youtube.com/channel/UCcaotwQy4XufCWfUdJGmFtw
รู้จักโรคแอสเพอร์เกอร์ Asperger’s Syndrome (ออทิสติกแบบ High function) ตอนที่ 6 โลกอันแสนโดดเดี่ยว
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Syndrome) ที่มาจากประสบการณ์ตรงของผม จากที่ผมเคยเรียน จากคุยกับเพื่อนที่เป็นเหมือนกัน และจากคุณหมอครับ เนื่องจากว่าผมเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์และได้พบกับความยากลำบากหลายอย่างทั้งๆ ที่ผมเป็นน้อย และคนในสังคมไทยไม่ค่อยได้รู้จักโรคนี้ ผมจึงคิดที่จะทำสื่อเพื่อให้คนไทยรู้จักมากขึ้น โดยได้เขียนบทความที่ชื่อว่า “The Asperger story By P surachet” โดยจะแบ่งเป็น 15 ตอน อันนี้จะเป็นตอนที่ 6 ครับ หากว่าใครชอบดูในรูปแบบของคลิปวิดีโอมากกว่า สามารถรับชมคลิปได้เลยครับ แต่ถ้าใครชอบอ่านก็เลื่อนลงไปอ่านบทความได้เลยครับ
ในตอนนี้ก็เหมือนตอนอื่นๆ ผมขอเล่าจากชีวิตจริงเหมือนเดิม เริ่มตั้งแต่เด็กผมเป็นคนที่ไม่ชอบยุ่งกับใคร ตั้งแต่แรกเลยก็คือการรู้จักกันครั้งแรก การรู้จักใครครั้งแรกเป็นสิ่งที่อึดอัดเพราะเราไม่รู้จะคุยกับเขายังไงแล้วผมก็ไม่อยากคุยกับเขาเพราะไม่รู้จักเขา ปกติเด็กจะไม่คิดมากเมื่อเจอเพื่อนก็จะเขาหาเพื่อนได้แต่ผมไม่ใช่อย่างนั้น ผมไม่อยากยุ่งกับเขา คุยก็ไม่อยากคุย มีหลายครั้งที่เพื่อนชวนคุยแต่ผมไม่คุยเพราะไม่รู้จักและไม่ยากคุย แต่ถ้าผ่านจุดนั้นไปได้ก็จะเริ่มคุยมากขึ้นแต่เราก็จะเลือกคนคุย เราจะคุยกับคนที่คุยรู้เรื่อง รวมทั้งการเล่นด้วยก็จะเลยกับคนที่รู้เรื่องมากกว่า ส่วนใหญ่ในตอนเด็กๆ ผมไม่ค่อยมีเพื่อนในวัยเดียวกันเพราะเราไม่เข้าใจเขาและเขาก็ไม่เข้าใจเรา เหมือนเราอยู่คนละโลกกัน แต่ผมจะเข้ากับผู้ใหญ่ได้ดี ผมชอบคุยกับผู้ใหญ่ที่มีการศึกษา มีการศึกษาในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเรียนจบปริญาตรี แต่หมายถึงเขามีความรู้ เข้าใจโลก เนื่องจากผู้ใหญ่สามารถตอบคำถามที่ผมสงสัยได้ สิ่งที่ผมชอบคุยตั้งแต่ 4-5 ขวบก็คือ “พระอาทิตย์ทำไมถึงร้อน” “ความมืดคืออะไร” “เส้นทางนี้ไปไหน” “เสาไฟฟ้าต้นนี้ทำไมเป็นแบบนี้” “การเดินสายไฟฟ้าทำไมเดินแบบนี้” “ถนนทำไมสร้างแบบนี้” เมื่อผมถามเด็กในวัยเดียวกันเพื่อนมักตอบไม่ได้ หรือถ้าตอบก็คือตอบแบบมั่วๆ แต่ผมต้องการคำตอบจริง ผมจึงมักจะไม่อยากยุ่งกับเด็กวัยเดียวกัน
.
.
ตั้งแต่เด็กผมรู้สึกไม่อยากมีความสัมพันธ์อะไรกับคนอื่นนอกจากพ่อแม่และผู้ใหญ่บางคนที่สนิท แต่เราก็ไม่เคยรู้สึกโดดเดี่ยวหรือเหงา อันที่จริงในหัวของผมมันจะมีความคิดไหลอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราอยากคุยกับใครเราก็แค่คุยกับเพื่อนในจินตนาการ ตั้งแต่อนุบาลเพื่อนแต่ละคนมักจะจับกลุ่มคุยกันเล่นกันอยู่ในห้อง สิ่งที่ผมทำก็คือขอแค่มุมห้องหนึ่งและนั่งเงียบๆ คนเดียว แต่เมื่อถึงเวลาบังคับต้องทำกิจกรรมอะไรก็จะร่วมแต่ก็คงจะไม่ได้อินไปกับมันมาก หลายๆ ครั้งที่เพื่อนอาจคุยและทำสัญลักษณ์อะไรบางอย่างที่เขารู้กันแต่เมื่อเขาทำใส่ผม ผมก็มึนๆ กลับไปเพราะผมไม่รู้เรื่องว่าเขาต้องการจะสื่ออะไร หลายๆ ครั้งมันเหมือนกับมีกระจกกั้นเราเอาไว้ เรามองเห็นแต่ก็ได้แค่เห็นไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาสื่อสาร เมื่อตอนเข้าโรงเรียนตั้งแต่ประถมก็มีเพื่อนบ้างแต่หลักๆ ก็ยังชอบอยู่คนเดียวมากกว่า ไปไหนมาไหนคนเดียว กินข้าวคนเดียว นั่งคู่กับใครก็มีเปลี่ยนบ้าง บางครั้งคู่ก็ไม่อยากนั่งด้วย แต่ถ้ามีใครชวนคุยด้วยก็พร้อมจะคุยแต่กว่าจะคุยด้วยแบบไว้ใจก็คงผ่านไปครึ่งเทอมได้เพราะอย่างที่บอก ผมไม่คุยกับคนไม่รู้จัก แล้วเพื่อนแต่ละคนมาจากคนละอนุบาลต่างคนต่างมาจากคนละที่ถ้าไม่คุยมันก็ไม่รู้จัก มันก็เป็นวงจรวนแบบนี้ถึงใช้เวลานานกว่าจะคุยกับใคร แต่ก็มียกเว้นบางคนเคมีตรงกันก็ใช้เวลาเปิดใจน้อยลง
.
.
สิ่งที่ผมเบื่อมากที่สุดก็คือเวลากินข้าวเที่ยง ที่โรงเรียนของผมเขาจะบังคับให้ชั้น ป.1-ป.3 กินข้าวร่วมกันซึ่งการนั่งกินข้าวที่โต๊ะอาหารต้องนั่งตรงข้ามกัน ผมเบื่อมากเพราะผมไม่ชอบมองตาคนการนั่งกินข้าวกันมันต้องมองตาคนที่อยู่ตรงข้าม ผมไม่ชอบมองตาคนสิ่งที่ผมทำก็คือพยายามก้มหน้าไว้มองแต่อาหารที่อยู่บนโต๊ะมากกว่าหน้าเพื่อนที่อยู่ตรงข้าม เนื่องจากว่าเล่นกับเพื่อนน้อย เพื่อนส่วนใหญ่เขาจะมีกลุ่มมีแก๊งกันแต่ผมไม่มีมันก็ทำให้สิ่งหนึ่งลำบากนั้นก็คือ งานกลุ่ม เวลาจับกลุ่มผมแถบจะไม่เคยมีกลุ่มกับใครเลย เราไม่อยากไปหาใครแล้วเพื่อนแต่ละกลุ่มก็ไม่ได้อยากรับเราเพราะเราไม่ใช่คนในแก๊งเขา สุดท้ายก็ต้องให้ครูเป็นคนหากลุ่มให้ซึ่งเพื่อนบางคนก็ยอมรับเราแต่สุดท้ายก็จะมีปัญหาในการทำงานบ้างเพราะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง แต่อย่างน้อยตอนเด็กเราอาจไม่มีเพื่อนสนิทแต่ว่าเพื่อนก็ไม่ได้เกลียดเราเพราะเราก็ไม่ได้ทำตัวให้เขาเกลียดซะทีเดียว ดูซื่อๆ มึนๆ แล้วก็ไม่มีพิษมีภัยอะไร มีบางครั้งเวลาคุยกับใครผมจะก้มหน้าบ้างเพราะไม่ชอบมองหน้าเขา บางคนก็สงสัยว่าเป็นอะไร ก็อย่างที่เรารู้กันเนอะมันก็เป็นอาการไม่สบตา แต่พอเริ่มโตขึ้นอาการก็ค่อยๆ หายไป
.
.
ในตอนมัธยมช่วง ม.1 ม.2 ก็ไม่ได้ต่างจากเดิมมาก ส่วนมากก็จะใช้ชีวิตอยู่คนเดียว นั่งกินข้าวคนเดียว เคยมีอยู่ครั้งหนึ่งในตอนนั้นเรานั่งกินข้าวคนเดียว โต๊ะทั้งโต๊ะว่างหมดแล้วมีเพื่อนกลุ่มหนึ่งประมาณว่าจะมาแกล้งกวนๆ เรา อยู่ดีๆ เขายกพวกมานั่งกินข้าวกับเราทั้งกลุ่มแล้วก็พูดประมาณว่า “อยากนั่งกินข้าวด้วย” เรารู้สึกไม่พอใจแล้วก็ยกจานข้าวหนีไปนั่งที่อื่น เอาจริงๆ นะเพื่อนเราเขาก็รู้แระว่าคนนี้ไม่ปกติแต่ว่าด้วยนิสัยที่ไม่มีพิษภัย ผมเป็นคนที่อารมณ์ไม่ร้อนและไม่ได้หัวร้อนง่ายเมื่อเทียบกับอีกหลายๆ คนที่เป็นโรคนี้ ในตอนที่โตแล้วเพื่อนเขาถึงมาบอกว่า จริงๆ เขาไม่ได้กวนเขาอยากมานั่งด้วยจริงๆ สิ่งที่เราทำไปทำให้เขางง เขาเกิดคำถามด้วยซ้ำว่าเราเกลียดเขาหรือถึงต้องยกจานข้าวหนีเขา แต่หลังจากนั้นตั้งแต่ม.3 ผมก็เริ่มปรับตัวได้ มาหลายๆ ครั้งที่ไปกินข้าวกับเพื่อน (แต่จริงๆ ก็ยังชอบนั่งกินคนเดียวมากกว่า) มีเล่นกับเพื่อนบ้าง บางที่ก็ทำเรื่องบ้าๆ บอๆ บ้าง สำหรับเพื่อนในช่วงนี้ก็คงมองว่าผมเป็นตัวตลก บ้าๆ ออกตัวเป็นศิลปินหน่อย ถ้าจะทำงานกลุ่มไหนก็มีเพื่อนให้อยู่ด้วย
.
.
จนถึงเข้ามหาลัย สังคมก็จะเป็นอีกแบบ เราก็ยังเป็นเรา เราก็เลือกที่จะอยู่กับคนที่เข้ากับเราก็จะมีเพื่อนส่วนหนึ่งที่เขากับเราได้ เราให้เวลากับเพื่อนแต่ถ้าตอนไหนเป็นเวลาส่วนตัวก็จะไม่ยุ่งกันเพื่อนก็จะเข้าใจ ผมจะใช้วิธีที่เวลาบางส่วนจะอยู่กับเพื่อนที่สนิทในช่วงเวลาที่อยู่ร่วมกันก็จะพยายามลดความเป็นตัวตนลงเท่าที่ทำได้ ส่วนมากผมจะมีเพื่อนเป็นผู้ชาย เอาจริงๆ คนที่เป็นเพื่อนกันจริงๆ ไม่นับแค่ว่าเป็นคนรู้จักน่าจะเป็นเพื่อนผู้ชายถึง 80 % สำหรับผู้หญิงนั้นเดียวผมจะเล่าในตอนผู้หญิงนะครับ จากที่ผมเล่ามาก็พอจะสรุปได้ว่าจริงๆ ไม่ว่าอย่างไรเราก็เป็นเรา พระเจ้าสร้างเรามาให้เป็นแบบนี้จนมันเป็นแก่นสันดาน มันคงเปลี่ยนกันไม่ได้หรอก แต่เราก็ปรับได้ให้มันมีความเหมาะสม ในตอนโตอาการก็จะดีขึ้นกว่าตอนเด็ก สุดท้ายเพื่อนผมเข้าไม่รู้ว่าผมเป็นอะไรเขารู้แค่ว่าแปลกๆ แต่เขาก็รับในสิ่งที่เป็นได้สำหรับคนที่ยอมรับเราเป็นเพื่อนคนหนึ่ง
.
.
เอาจริงๆ ตั้งแต่มัธยมปลายจนเรียนมหาลัยเพื่อนส่วนใหญ่ที่ผมอยู่ด้วยก็เป็นคนขี้เล่น มุขเยอะ เอาจริงๆ หลายครั้งเราไม่ทันมุขเขาหรอก แต่มันก็เป็นการฝึกให้เข้าใจมุขและให้เราเล่นมุขไปในตัว ซึ่งนี้ก็คือข้อดีของการมีเพื่อนครับ สรุปเลยก็คือในตอนโตผมจะแบ่งช่วงเวลาเป็น 2 ช่วง ช่วงไหนที่เป็นเวลาที่อยู่กับเพื่อนก็จะพยายามอยู่กับเขา ลดความเป็นตัวเอง ฟังคนอื่น พยายามอย่าหัวร้อน พยายามสนุกไปกับคนอื่น ซึ่งอันนี้ก็ต้องฝึกอยู่เหมือนกัน ช่วงเวลานี้เราอาจใช้ในช่วงเวลาเรียน ทำงานร่วมกัน หรือคุยเรื่องที่สนใจ กับอีกช่วงก็คือเวลาส่วนตัวอันนี้ผมจะไม่ยุ่งกับใคร ผมจะเป็นตัวเองเต็มที่ ซึ่งเวลานี้มันก็เป็นเวลาที่สบายใจสุดครับ แต่ถ้าเกิดว่าอยู่กับเพื่อนที่เข้าใจเราก็จะสบายใจเหมือนกันซึ่งมันก็จะเป็นอีกแบบ
ผม P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
สามารถติดตามและพูดคุยกับผมได้ที่เพจ : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ : https://www.facebook.com/psurachet95/?show_switched_toast=0&show_invite_to_follow=0&show_switched_tooltip=0&show_podcast_settings=0&show_community_transition=0&show_community_review_changes=0
ช่อง Youtube : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ : https://www.youtube.com/channel/UCcaotwQy4XufCWfUdJGmFtw