The Asperger story By P surachet ตอนที่ 3 ทำสิ่งนั้นซ้ำๆ ไม่ยึดหยุ่น 1
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Syndrome) ที่มาจากประสบการณ์ตรงของผม จากที่ผมเคยเรียน จากคุยกับเพื่อนที่เป็นเหมือนกัน และจากคุณหมอครับ เนื่องจากว่าผมเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์และได้พบกับความยากลำบากหลายอย่างทั้งๆ ที่ผมเป็นน้อย และคนในสังคมไทยไม่ค่อยได้รู้จักโรคนี้ ผมจึงคิดที่จะทำสื่อเพื่อให้คนไทยรู้จักมากขึ้น โดยได้เขียนบทความที่ชื่อว่า “The Asperger story By P surachet” โดยจะแบ่งเป็น 15 ตอน อันนี้จะเป็นตอนที่ 3 ครับ หากว่าใครชอบดูในรูปแบบของคลิปวิดีโอมากกว่า สามารถรับชมคลิปได้เลยครับ แต่ถ้าใครชอบอ่านก็เลื่อนลงไปอ่านบทความได้เลยครับ
ก่อนอื่นผมของเรียกว่าเองว่ายุคเก่าคือยุคตั้งแต่ก่อน ม.1 และยุคหลังคือยุคหลัง ม.3 ครับ และอันที่จริงแต่ละเรื่องมันเชื่อมโยงกันหมดแต่ผมจะแบ่งแต่ละเรื่องเป็นหัวข้อใหญ่ๆ แต่ละตอนเพื่อความสะดวก แต่ขอให้ท่านผู้อ่านทราบว่าในชีวิตจริงแต่ละเรื่องบางครั้งมันเกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน
.
.
เด็กหลายๆ คนก็จะมีพฤติกรรมต่างๆ ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการเล่นของเล่น ดูการ์ตูน เด็กยุคนี้ก็ดูทีวี เล่นมือถือ แต่สำหรับผมนั้นจะเลือกทำในสิ่งที่ชอบและยอมรับไม่ได้ที่จะทำในสิ่งที่ไม่ชอบ จะพยายามปฏิเสธในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการพูด ขึ้นต่อไปก็จะมีโว้ยวายบ้าง บางครั้งก็ดื้อเงียบเช่น การบังคับให้ทำกิจกรรมที่ไม่ชอบก็จะไม่ทำ สั่งยังไงก็จะไม่ทำ หรือถ้าจะทำอะไรก็จะทำสิ่งนั้นให้ได้ ใครพูดเท่าไหร่ก็ไม่ฟัง ว่าง่ายๆ ก็คือถ้ากูไม่ทำสั่งยังไงก็ไม่ยอมทำ ส่วนใหญ่จะจบด้วยการโดนไม้ ซึ่งนั้นแระบางครั้งก็เก็บเข้าในใจ จริงๆ วิธีนี้ไม่ดีหลายๆ ท่านก็คงจะรู้แล้วว่าการตีเป็นสิ่งไม่ดี รายละเอียดท่านไปศึกษาเองนะครับ แต่ด้วยความที่ว่าพื้นฐานเป็นคนไม่สู้คน ยอมคน มองโลกในแง่ดี มันจึงจบแต่เพียงเท่านี้ แต่ผมเห็นเด็กหลายๆ คน ที่ผู้ใหญ่จบด้วยความรุนแรงสุดท้าย เก็บกด เป็นพฤติกรรมก้าวร้าวในอนาคต บางคนเป็นโรคทางจิตเวทเพราะฉะนั้นอย่างไปทำ อีกอย่างที่ผมย้ำก็คืออาการของโรคเป็นน้อยบางครั้งจึงยอมเปลี่ยนบ้าง สำหรับคนที่เป็นเยอะๆ ก็คงจะไม่สามารถเปลี่ยนใจกันง่ายๆ แม้ว่าจะใช้ความรุนแรง
.
.
อาการนั้นจะดีขึ้นในตอนโตแต่ก็ยังมีความยากลำบากหลายอย่าง หลายๆ ครั้งที่คนมักจะบอกว่าผมทำงานเดี่ยวได้ดีกว่างานกลุ่ม ซึ่งผมก็ว่าอย่างนั้น เนื่องจากว่าผมต้องการให้งานออกมาแบบไหนก็จะต้องเป็นแบบนั้น ผมขอยกตัวอย่างในยุคก่อนนั้นผมแทบจะไม่ฟังใครคือมันเหมือนกับว่าเราไม่ได้ยินเสียงของเขา คือเราคิดแต่ว่าเราจะทำในสิ่งที่เราต้องการ
.
.
ส่วนใหญ่ยุคใหม่นั้นผมขอยกตัวอย่างในตอนที่เรียนมหาลัยละกันครับ ตอนนั้นอายุประมาณ 20 ปี
.
.
“มันมีอยู่ในวิชาหนึ่งที่เป็นวิชา Project ซึ่งเป็นงานที่ต้องช่วยกันทำ เป็นงานเดี่ยวแต่ต้องช่วยกันในกลุ่ม เป็นวิชาที่เข้มมาก รายละเอียดเยอะ โดนแก้เยอะ อารมณ์แบบว่าต้องส่งเป็นร้อยรอบถึงจะผ่าน แต่การแก้นั้นจะเป็นไปทีละขั้น ถ้าขั้น 1 ผ่านก็จะทำขั้นต่อๆ ไป ซึ่งกว่าจะจบ Project ก็นั้นแระครับแก้เป็นร้อย สิ่งที่ผมทำนั้นในตอนแรกผมทำในแบบของผมเอง ผลออกมาไม่ดี คือประเด็นเลยก็คือมันเป็นเรื่องที่ผมไม่ถนัด ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วย ท่านผู้อ่านลองคิดว่าว่าเป็นเรื่องที่เราไม่ชอบถ้าเป็นตอนเด็กกูคงไม่ทำแล้วแต่เป็นตอนโตซึ่งเข้าใจว่าถ้าไม่ทำก็ไม่จบ แต่เราก็ยังยึดติดว่าเราจะทำในแบบของเรา ซึ่งพอทำไปหลายๆ ครั้งก็โดนสั่งให้กลับมาแก้ ในความเป็นจริงแล้วคนทั่วๆ ไป จะรู้ว่าถ้าวิธีการนี้ไม่ได้ผลก็ต้องเปลี่ยนวิธีการ แต่นั้นแระผมไม่เปลี่ยน ยังไงก็ไม่เปลี่ยน จนสุดท้ายได้ทะเลาะกับเพื่อนเล็กน้อย พอคิดไปคิดมาสุดท้ายเห็นแก่กลุ่มและอยากจบ Project ก็เลยยอมแก้ตามที่เพื่อนต้องการ (แต่กว่าจะยอมนานพอสมควร)”
.
.
จากเหตุกาณ์ข้างต้นท่านพอจะเห็นอะไรบางอย่างไหมครับ สิ่งที่เกิดขึ้นผมเล่าให้หมอฟังซึ่งนี้คืออาการของความไม่ยึดหยุ่น สิ่งที่หมอบอกก็คือ อาการดีขึ้นเพราะว่าคนที่เป็นโรคแอสเพอร์เกอร์เต็มๆ ยังไงเขาก็ไม่ยอมเปลี่ยน ต่อให้เพื่อนพูดแค่ไหน ต่อให้อาจารย์ให้แก้แค่ไหนเขาก็จะไม่ฟัง แต่นี้คือเรายุคใหม่ในตอนโตเราจึงยอม นั้นหมายความว่าเราเริ่มมองเห็น 2 อย่าง 1 เราเห็นแก่กลุ่มแปลว่าเรามองและเข้าใจคนอื่นมากขึ้น 2 เรามองถึงผลลัพธ์ ซึ่งจากเรื่องที่ผมเล่าหลักๆ เลยก็คือผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุดเลยก็คือทำยังไงก็ได้ให้ผ่านขั้นตอนนี้ เมื่อผ่านไปได้จะได้ทำขั้นต่อๆ ไปจนจบ Project และเรียนจบได้ในที่สุด ซึ่งเรามองถึงผลลัพธ์สุดท้ายว่าจะต้องทำอย่างไรก็ได้ให้จบ Project นี้ นี้แระครับการรักษาจะทำให้อาการของโรคน้อยลงแล้วชีวิตจะง่ายขึ้น
.
.
อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจก็คือก็คือ ผมเคยถามคำถามนี้กับเพื่อนๆใน facebook ไปเพื่อลองดูว่าแต่ละคนมีมุมมองกับเรื่องนี้อย่างไร ลองไปดูที่ผมถามกันครับ
.
.
“ในสมัยก่อนตอนเด็กๆ เป็นคนที่โกหกไม่เป็นและไม่ชอบการโกหก ปัญหาใหญ่ก็คือมันใช้ชีวิตยาก เรารู้ๆ กันอยู่ว่าชีวิตใสๆ ซึ่อๆ ใช้ชีวิตยาก เคยคิดด้วยซ้ำว่าถ้าขอพรได้สักขอก็จะขอให้โกหกเป็น ในเวลาต่อมาโตขึ้นก็เริ่มที่จะหัดโกหกเป็นแต่ใจจริงไม่ชอบและไม่อยากทำแต่เพื่อเอาตัวรอดมันก็เลยเริ่มหัดทำเป็น ยิ่งเข้าสู่วัยรุ่นยิ่งจำเป็นต้องโกหกเป็นไม่ว่าจะเป็นระดับสังคมไหน ยกตัวอย่างเช่น ในโรงเรียนถ้าเราไม่โกหกเลยบางครั้งก็ต้องเจ็บตัว มันจึงจำเป็นต้องเอาตัวรอด หรือถ้าโกหกครูรอดก็รอดไป ไม่รอดก็โดนตีทำโทษ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ไม่เนียนเท่าไหร่นัก ส่วนมากมักจะถูกจับได้
.
.
ในเวลาต่อมาเมื่อเข้าสู่สังคมมากขึ้นเรื่อยๆ มันก็มีบางเหตุการณ์ที่ต้องโกหกเพื่อเอาตัวรอดอยู่ดี (แต่ถ้าเรื่องใหญ่ไม่เคย) แต่ความเนียนก็ยังไม่มากขึ้น เราเคยถามใจตัวเองว่า เราทำสิ่งนี้ไปทำไมทั้งๆ ที่เราเกลียด เกือบทุกครั้งคำตอบคือคำตอบเดิมก็คือเอาตัวรอด ถ้าเกิดว่าอยู่กับความจริงอย่างเดียวมันมันรอด มันพบกับความยุติธรรม ยังไงก็ไม่โกหก
.
.
มันจึงพอจะสรุปได้ว่าตัวตนที่แท้จริงของเราไม่อยากโกหกแต่ว่าสังคมสอนเราให้โกหก และนี้คือความจริงของสังคม การใช้ชีวิตแบบขาวๆ อาจกลายเป็นเหยื่อ การใช้ชีวิตแบบเทาๆ อาจทำให้เราเอาชีวิตรอดได้มากกว่า (แต่สำหรับผมนั้นถึงตอนนี้มันก็ไม่เนียนอยู่ดีแต่ก็อาจเอาตัวรอดในบางครั้งได้)”
.
.
เหตุการณ์นี้สามารถบอกได้ถึงวิธีคิดของคนที่เป็นโรคกับคนปกติได้เลย สิ่งที่หลายๆ คนตอบผมก็คือ บางคนก็บอกว่าเลือกที่จะโกหกเพราะรักเพื่อน บางคนก็บอกว่าขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ประสบกาณ์ ในการตัดสินใจ แต่ละสถานการณ์ที่เจอจะใช้วิธีแก้ไขปัญหาไม่เหมือนกัน ซึ่งนี้คือคำตอบของคนทั่วๆ ไปที่มีความยึดหยุ่น แต่สำหรับคนที่เป็นโรคนั้นส่วนใหญ่จะมีวิธีคิดที่เป็นถูกผิด ขาวดำ ไม่มีสีเทา ดังนั้นเขาจะเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง การที่โกหกเพื่อเอาตัวรอดหรือการโกหกสีขาวในมุมมองของเขาเขาก็มองว่าเป็นเรื่องที่ผิดเพราะมันก็คือการโกหกซึ่งทำไม่ได้ โกหกก็คือโกหกไม่ว่าเพื่ออะไรก็ตามซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด ทำไม่ได้ มุมมองเขาเขาจึงมีแค่ 2 สีคือขาวไปเลย ที่เหลือคือดำ ซึ่งจากสถานการณ์นี้จึงเป็นที่มาของทำให้เอาตัวรอดในสังคมยาก เพราะเรารู้ๆ กันอยู่ว่าแต่ละสถานการณ์จะใช้วิธีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน แต่สำหรับคนเป็นโรคไม่มีส่วนนี้เพราะไม่มีความยึดหยุ่น ในตอนเด็กๆ ผมก็เป็นแบบนี้แต่พอโตขึ้นในยุคใหม่จึงมีความยึดหยุ่นเพื่อเอาตัวรอดมากขึ้น
.
.
ถ้าเราเพิ่มความยึดหยุ่นมันจะช่วยทำให้เราใช้ชีวิตง่ายขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงโตขึ้นจะมีประสบการณ์มากขึ้นมันจะช่วยเราเข้าใจถึงชีวิตมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งก็คือมันมียาช่วยให้เกิดความยึดหยุ่นมากขึ้นซึ่งวิธีที่จะเพิ่มความยึดหยุ่นบางครั้งก็ต้องใช้ยา อันนี้ต้องปรึกษาคุณหมอครับ
.
.
ผม P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
สามารถติดตามและพูดคุยกับผมได้ที่เพจ : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ :
https://www.facebook.com/psurachet95/?show_switched_toast=0&show_invite_to_follow=0&show_switched_tooltip=0&show_podcast_settings=0&show_community_transition=0&show_community_review_changes=0
ช่อง Youtube : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ :
https://www.youtube.com/channel/UCcaotwQy4XufCWfUdJGmFtw
รู้จักโรคแอสเพอร์เกอร์ Asperger’s Syndrome (ออทิสติกแบบ High function) ตอนที่ 3 ทำสิ่งนั้นซ้ำๆ ไม่ยึดหยุ่น 1
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Syndrome) ที่มาจากประสบการณ์ตรงของผม จากที่ผมเคยเรียน จากคุยกับเพื่อนที่เป็นเหมือนกัน และจากคุณหมอครับ เนื่องจากว่าผมเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์และได้พบกับความยากลำบากหลายอย่างทั้งๆ ที่ผมเป็นน้อย และคนในสังคมไทยไม่ค่อยได้รู้จักโรคนี้ ผมจึงคิดที่จะทำสื่อเพื่อให้คนไทยรู้จักมากขึ้น โดยได้เขียนบทความที่ชื่อว่า “The Asperger story By P surachet” โดยจะแบ่งเป็น 15 ตอน อันนี้จะเป็นตอนที่ 3 ครับ หากว่าใครชอบดูในรูปแบบของคลิปวิดีโอมากกว่า สามารถรับชมคลิปได้เลยครับ แต่ถ้าใครชอบอ่านก็เลื่อนลงไปอ่านบทความได้เลยครับ
ก่อนอื่นผมของเรียกว่าเองว่ายุคเก่าคือยุคตั้งแต่ก่อน ม.1 และยุคหลังคือยุคหลัง ม.3 ครับ และอันที่จริงแต่ละเรื่องมันเชื่อมโยงกันหมดแต่ผมจะแบ่งแต่ละเรื่องเป็นหัวข้อใหญ่ๆ แต่ละตอนเพื่อความสะดวก แต่ขอให้ท่านผู้อ่านทราบว่าในชีวิตจริงแต่ละเรื่องบางครั้งมันเกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน
.
.
เด็กหลายๆ คนก็จะมีพฤติกรรมต่างๆ ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการเล่นของเล่น ดูการ์ตูน เด็กยุคนี้ก็ดูทีวี เล่นมือถือ แต่สำหรับผมนั้นจะเลือกทำในสิ่งที่ชอบและยอมรับไม่ได้ที่จะทำในสิ่งที่ไม่ชอบ จะพยายามปฏิเสธในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการพูด ขึ้นต่อไปก็จะมีโว้ยวายบ้าง บางครั้งก็ดื้อเงียบเช่น การบังคับให้ทำกิจกรรมที่ไม่ชอบก็จะไม่ทำ สั่งยังไงก็จะไม่ทำ หรือถ้าจะทำอะไรก็จะทำสิ่งนั้นให้ได้ ใครพูดเท่าไหร่ก็ไม่ฟัง ว่าง่ายๆ ก็คือถ้ากูไม่ทำสั่งยังไงก็ไม่ยอมทำ ส่วนใหญ่จะจบด้วยการโดนไม้ ซึ่งนั้นแระบางครั้งก็เก็บเข้าในใจ จริงๆ วิธีนี้ไม่ดีหลายๆ ท่านก็คงจะรู้แล้วว่าการตีเป็นสิ่งไม่ดี รายละเอียดท่านไปศึกษาเองนะครับ แต่ด้วยความที่ว่าพื้นฐานเป็นคนไม่สู้คน ยอมคน มองโลกในแง่ดี มันจึงจบแต่เพียงเท่านี้ แต่ผมเห็นเด็กหลายๆ คน ที่ผู้ใหญ่จบด้วยความรุนแรงสุดท้าย เก็บกด เป็นพฤติกรรมก้าวร้าวในอนาคต บางคนเป็นโรคทางจิตเวทเพราะฉะนั้นอย่างไปทำ อีกอย่างที่ผมย้ำก็คืออาการของโรคเป็นน้อยบางครั้งจึงยอมเปลี่ยนบ้าง สำหรับคนที่เป็นเยอะๆ ก็คงจะไม่สามารถเปลี่ยนใจกันง่ายๆ แม้ว่าจะใช้ความรุนแรง
.
.
อาการนั้นจะดีขึ้นในตอนโตแต่ก็ยังมีความยากลำบากหลายอย่าง หลายๆ ครั้งที่คนมักจะบอกว่าผมทำงานเดี่ยวได้ดีกว่างานกลุ่ม ซึ่งผมก็ว่าอย่างนั้น เนื่องจากว่าผมต้องการให้งานออกมาแบบไหนก็จะต้องเป็นแบบนั้น ผมขอยกตัวอย่างในยุคก่อนนั้นผมแทบจะไม่ฟังใครคือมันเหมือนกับว่าเราไม่ได้ยินเสียงของเขา คือเราคิดแต่ว่าเราจะทำในสิ่งที่เราต้องการ
.
.
ส่วนใหญ่ยุคใหม่นั้นผมขอยกตัวอย่างในตอนที่เรียนมหาลัยละกันครับ ตอนนั้นอายุประมาณ 20 ปี
.
.
“มันมีอยู่ในวิชาหนึ่งที่เป็นวิชา Project ซึ่งเป็นงานที่ต้องช่วยกันทำ เป็นงานเดี่ยวแต่ต้องช่วยกันในกลุ่ม เป็นวิชาที่เข้มมาก รายละเอียดเยอะ โดนแก้เยอะ อารมณ์แบบว่าต้องส่งเป็นร้อยรอบถึงจะผ่าน แต่การแก้นั้นจะเป็นไปทีละขั้น ถ้าขั้น 1 ผ่านก็จะทำขั้นต่อๆ ไป ซึ่งกว่าจะจบ Project ก็นั้นแระครับแก้เป็นร้อย สิ่งที่ผมทำนั้นในตอนแรกผมทำในแบบของผมเอง ผลออกมาไม่ดี คือประเด็นเลยก็คือมันเป็นเรื่องที่ผมไม่ถนัด ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วย ท่านผู้อ่านลองคิดว่าว่าเป็นเรื่องที่เราไม่ชอบถ้าเป็นตอนเด็กกูคงไม่ทำแล้วแต่เป็นตอนโตซึ่งเข้าใจว่าถ้าไม่ทำก็ไม่จบ แต่เราก็ยังยึดติดว่าเราจะทำในแบบของเรา ซึ่งพอทำไปหลายๆ ครั้งก็โดนสั่งให้กลับมาแก้ ในความเป็นจริงแล้วคนทั่วๆ ไป จะรู้ว่าถ้าวิธีการนี้ไม่ได้ผลก็ต้องเปลี่ยนวิธีการ แต่นั้นแระผมไม่เปลี่ยน ยังไงก็ไม่เปลี่ยน จนสุดท้ายได้ทะเลาะกับเพื่อนเล็กน้อย พอคิดไปคิดมาสุดท้ายเห็นแก่กลุ่มและอยากจบ Project ก็เลยยอมแก้ตามที่เพื่อนต้องการ (แต่กว่าจะยอมนานพอสมควร)”
.
.
จากเหตุกาณ์ข้างต้นท่านพอจะเห็นอะไรบางอย่างไหมครับ สิ่งที่เกิดขึ้นผมเล่าให้หมอฟังซึ่งนี้คืออาการของความไม่ยึดหยุ่น สิ่งที่หมอบอกก็คือ อาการดีขึ้นเพราะว่าคนที่เป็นโรคแอสเพอร์เกอร์เต็มๆ ยังไงเขาก็ไม่ยอมเปลี่ยน ต่อให้เพื่อนพูดแค่ไหน ต่อให้อาจารย์ให้แก้แค่ไหนเขาก็จะไม่ฟัง แต่นี้คือเรายุคใหม่ในตอนโตเราจึงยอม นั้นหมายความว่าเราเริ่มมองเห็น 2 อย่าง 1 เราเห็นแก่กลุ่มแปลว่าเรามองและเข้าใจคนอื่นมากขึ้น 2 เรามองถึงผลลัพธ์ ซึ่งจากเรื่องที่ผมเล่าหลักๆ เลยก็คือผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุดเลยก็คือทำยังไงก็ได้ให้ผ่านขั้นตอนนี้ เมื่อผ่านไปได้จะได้ทำขั้นต่อๆ ไปจนจบ Project และเรียนจบได้ในที่สุด ซึ่งเรามองถึงผลลัพธ์สุดท้ายว่าจะต้องทำอย่างไรก็ได้ให้จบ Project นี้ นี้แระครับการรักษาจะทำให้อาการของโรคน้อยลงแล้วชีวิตจะง่ายขึ้น
.
.
อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจก็คือก็คือ ผมเคยถามคำถามนี้กับเพื่อนๆใน facebook ไปเพื่อลองดูว่าแต่ละคนมีมุมมองกับเรื่องนี้อย่างไร ลองไปดูที่ผมถามกันครับ
.
.
“ในสมัยก่อนตอนเด็กๆ เป็นคนที่โกหกไม่เป็นและไม่ชอบการโกหก ปัญหาใหญ่ก็คือมันใช้ชีวิตยาก เรารู้ๆ กันอยู่ว่าชีวิตใสๆ ซึ่อๆ ใช้ชีวิตยาก เคยคิดด้วยซ้ำว่าถ้าขอพรได้สักขอก็จะขอให้โกหกเป็น ในเวลาต่อมาโตขึ้นก็เริ่มที่จะหัดโกหกเป็นแต่ใจจริงไม่ชอบและไม่อยากทำแต่เพื่อเอาตัวรอดมันก็เลยเริ่มหัดทำเป็น ยิ่งเข้าสู่วัยรุ่นยิ่งจำเป็นต้องโกหกเป็นไม่ว่าจะเป็นระดับสังคมไหน ยกตัวอย่างเช่น ในโรงเรียนถ้าเราไม่โกหกเลยบางครั้งก็ต้องเจ็บตัว มันจึงจำเป็นต้องเอาตัวรอด หรือถ้าโกหกครูรอดก็รอดไป ไม่รอดก็โดนตีทำโทษ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ไม่เนียนเท่าไหร่นัก ส่วนมากมักจะถูกจับได้
.
.
ในเวลาต่อมาเมื่อเข้าสู่สังคมมากขึ้นเรื่อยๆ มันก็มีบางเหตุการณ์ที่ต้องโกหกเพื่อเอาตัวรอดอยู่ดี (แต่ถ้าเรื่องใหญ่ไม่เคย) แต่ความเนียนก็ยังไม่มากขึ้น เราเคยถามใจตัวเองว่า เราทำสิ่งนี้ไปทำไมทั้งๆ ที่เราเกลียด เกือบทุกครั้งคำตอบคือคำตอบเดิมก็คือเอาตัวรอด ถ้าเกิดว่าอยู่กับความจริงอย่างเดียวมันมันรอด มันพบกับความยุติธรรม ยังไงก็ไม่โกหก
.
.
มันจึงพอจะสรุปได้ว่าตัวตนที่แท้จริงของเราไม่อยากโกหกแต่ว่าสังคมสอนเราให้โกหก และนี้คือความจริงของสังคม การใช้ชีวิตแบบขาวๆ อาจกลายเป็นเหยื่อ การใช้ชีวิตแบบเทาๆ อาจทำให้เราเอาชีวิตรอดได้มากกว่า (แต่สำหรับผมนั้นถึงตอนนี้มันก็ไม่เนียนอยู่ดีแต่ก็อาจเอาตัวรอดในบางครั้งได้)”
.
.
เหตุการณ์นี้สามารถบอกได้ถึงวิธีคิดของคนที่เป็นโรคกับคนปกติได้เลย สิ่งที่หลายๆ คนตอบผมก็คือ บางคนก็บอกว่าเลือกที่จะโกหกเพราะรักเพื่อน บางคนก็บอกว่าขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ประสบกาณ์ ในการตัดสินใจ แต่ละสถานการณ์ที่เจอจะใช้วิธีแก้ไขปัญหาไม่เหมือนกัน ซึ่งนี้คือคำตอบของคนทั่วๆ ไปที่มีความยึดหยุ่น แต่สำหรับคนที่เป็นโรคนั้นส่วนใหญ่จะมีวิธีคิดที่เป็นถูกผิด ขาวดำ ไม่มีสีเทา ดังนั้นเขาจะเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง การที่โกหกเพื่อเอาตัวรอดหรือการโกหกสีขาวในมุมมองของเขาเขาก็มองว่าเป็นเรื่องที่ผิดเพราะมันก็คือการโกหกซึ่งทำไม่ได้ โกหกก็คือโกหกไม่ว่าเพื่ออะไรก็ตามซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด ทำไม่ได้ มุมมองเขาเขาจึงมีแค่ 2 สีคือขาวไปเลย ที่เหลือคือดำ ซึ่งจากสถานการณ์นี้จึงเป็นที่มาของทำให้เอาตัวรอดในสังคมยาก เพราะเรารู้ๆ กันอยู่ว่าแต่ละสถานการณ์จะใช้วิธีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน แต่สำหรับคนเป็นโรคไม่มีส่วนนี้เพราะไม่มีความยึดหยุ่น ในตอนเด็กๆ ผมก็เป็นแบบนี้แต่พอโตขึ้นในยุคใหม่จึงมีความยึดหยุ่นเพื่อเอาตัวรอดมากขึ้น
.
.
ถ้าเราเพิ่มความยึดหยุ่นมันจะช่วยทำให้เราใช้ชีวิตง่ายขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงโตขึ้นจะมีประสบการณ์มากขึ้นมันจะช่วยเราเข้าใจถึงชีวิตมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งก็คือมันมียาช่วยให้เกิดความยึดหยุ่นมากขึ้นซึ่งวิธีที่จะเพิ่มความยึดหยุ่นบางครั้งก็ต้องใช้ยา อันนี้ต้องปรึกษาคุณหมอครับ
.
.
ผม P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
สามารถติดตามและพูดคุยกับผมได้ที่เพจ : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ : https://www.facebook.com/psurachet95/?show_switched_toast=0&show_invite_to_follow=0&show_switched_tooltip=0&show_podcast_settings=0&show_community_transition=0&show_community_review_changes=0
ช่อง Youtube : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ : https://www.youtube.com/channel/UCcaotwQy4XufCWfUdJGmFtw