The Asperger story By P surachet ตอนที่ 5 พูดคนเดียว มีเพื่อนในคติ ไม่สนใจรอบข้าง ไม่สนใจสภาพแวดล้อม
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Syndrome) ที่มาจากประสบการณ์ตรงของผม จากที่ผมเคยเรียน จากคุยกับเพื่อนที่เป็นเหมือนกัน และจากคุณหมอครับ เนื่องจากว่าผมเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์และได้พบกับความยากลำบากหลายอย่างทั้งๆ ที่ผมเป็นน้อย และคนในสังคมไทยไม่ค่อยได้รู้จักโรคนี้ ผมจึงคิดที่จะทำสื่อเพื่อให้คนไทยรู้จักมากขึ้น โดยได้เขียนบทความที่ชื่อว่า “The Asperger story By P surachet” โดยจะแบ่งเป็น 15 ตอน อันนี้จะเป็นตอนที่ 5 ครับ หากว่าใครชอบดูในรูปแบบของคลิปวิดีโอมากกว่า สามารถรับชมคลิปได้เลยครับ แต่ถ้าใครชอบอ่านก็เลื่อนลงไปอ่านบทความได้เลยครับ
เราลองยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ของคนๆ หนึ่ง
.
“คนๆ นี้ตั้งแต่เด็กๆ มักจะอยู่คนเดียว บางคนอาจมองว่าเขาเหงาที่ไม่มีคนคุยด้วย แต่ในความเป็นจริงเขาไม่เหงาเพราะว่าเขามีคนคุยอยู่แล้วแค่คนๆ นั้นไม่มีตัวตนอยู่จริง ถ้าความเชื่อของคนโบราณอาจมองว่าคุยกับแม่ซื้อก็ได้แต่ความเป็นจริงนั้นคนๆ นี้คุยคนเดียวมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป เวลาเขาอยู่คนเดียวเขาจะเล่นคนเดียว ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูป เล่นลูกบอล หรือไม่ก็นั่งเฉยๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเขาจะคุยคนเดียว คุยในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าคุยในใจแต่พูดออกมาจริงๆ เหมือนกับคุยกับคนจริงๆ ไม่เท่านั้นยังมีการโต้ตอบกับบุคคลที่ไม่มีอยู่จริงเหมือนกับว่าคนๆ นั้นมีอยู่จริง บางครั้งก็ไปคุยกับสิ่งของแบบว่าคุยกับตุ๊กตา เก้าอี้ “สวัสดีเก้าอี้วันนี้เป็นยังไงบ้าง” แล้วก็คุยไปหัวเราะไปแบบจริงจังจนเหมือนกับเก้าอี้มีชีวิตจริงๆ ในตอนอยู่โรงเรียนพักเที่ยงก็มักจะหามุมๆ หนึ่งอยู่คนเดียวภาพในหัวที่เขาเห็นก็คือนั่งคุยกับเพื่อน บางครั้งก็พี่น้อง บางครั้งก็ครู คุยไปหัวเราะไป บางครั้งก็ชี้นิ้วนู่นนี้ สภาพแวดล้อมความเป็นจริงจะเป็นอย่างไรฉันไม่สน ฉันจะคุยของฉัน คนอื่นจะมองยังไงฉันไม่แคร์ แต่ภาพที่คนอื่นเห็นก็คือมันนั่งคุยคนเดียว ไม่มีใครเลยนอกจากอากาศ ก็อาจทำให้หลายๆ คนที่ผ่านมาเห็นงง ถ้าเป็นคนที่รู้จักก็จะมีทักทายพอเรียกก็จะหยุดคุยคนเดียว เคยมีเพื่อนที่นั่งคู่กันของย้ายที่ พอครูถามว่าทำไมถึงย้ายที่เขาก็บอกว่า “เพื่อนคนนี้คุยกับปากกา ไม่อยากนั่งกับคนโรคจิต”
.
.
เมื่อโตขึ้นมาหน่อยซัก ม.1 ขึ้นไป การคุยคนเดียวก็ยังคงอยู่แต่อาจไม่ได้คุยชัดเจนเท่าตอนเด็ก อาจมีบางครั้งที่คุยในใจ บางครั้งก็ยกมือยกไม้ทำนู่นทำนี้เช่น เล่นกีต้าร์ในอากาศ ถ้าคนภายนอกมองก็จะรู้สึกว่าหลุดๆ เหมือนใจไม่ได้อยู่กับตัว อาจพูดก็ได้ว่าเหมือนคนโรคจิต แต่พอเรียกให้รู้สึกตัวก็กลับมาปกติ พอโตขึ้นมาหน่อยขึ้น มัธยมปลาย เรียนมหาลัย อาการก็ยังคงเหมือนเดิมแต่ลดความเข้มข้นลง แต่สิ่งที่ต่างออกไปก็คือ จากเดิมพูดคนเดียวแบบชัดเจนก็กลายเป็นพูดคนเดียวแต่ไม่ออกเสียงคือทำปากขมุบขมิบ ซึ่งสิ่งที่คนอื่นเห็นมันก็คือการคุยคนเดียวอยู่ดี และมีบางครั้งที่คิดนุ่นคิดนี้อยู่ในหัวเป็นเรื่องราวโดยไม่สนใจรอบข้างว่าเป็นอย่างไร ภาพที่คนเห็นก็คือมีแต่รอยยิ้มบนใบหน้า ไม่ว่าจะเป็นระหว่างนั่งเรียน ครูก็สอนไป ไอ้เราก็นั่งยิ้มไป หรือแม้แต่ในห้องสอบ ช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำข้อสอบก็นั่งยิ้มอย่างเดียว นี้คือเรื่องจากคนๆ หนึ่ง”
.
.
คนๆ นั้นไม่ใช่ใคร คนๆ นั้นก็คือผมเอง คำถามคือถ้าคุณเจอเหตการณ์แบบนี้จะทำอย่างไร
.
.
สิ่งที่ผมพบเจอมาโดยตลอดก็มีหลายรูปแบบ ถ้าคนที่ไม่ค่อยรู้จักหรือไม่สนิทก็จะไม่ยุ่ง เดินหนีก็มี แต่ถ้าคนรู้จักส่วนใหญ่เขาจะไม่คิดมากเพราะเขารู้จักเรา บางครั้งเขาก็ทักเพราะถ้าเรียกอาการก็จะหยุดและกลับมาในโลกความเป็นจริง
.
.
จากชีวิตที่ผ่านมาเมื่อคนพบเจอสิ่งที่เกิดขึ้นร้อยทั้งร้อยคนมักจะคิดว่าคนๆ นี้เป็นอยู่ 2 อย่าง 1 ผิดปกติทางจิต 2 เสพยา พระเจ้า! ไม่มีใครคิดเลยว่ามันคืออาการของคนที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม เอาจริงๆ มันก็พอมีคนมองออก แต่คนที่มองออกคือคนที่ทำงานเกี่ยวกับด้านนี้ซึ่งนับคนได้ คำถามคือคนที่รู้ว่าเป็นโรคนี้มีหลักหน่วยแต่คนที่ผ่านในชีวิตเป็นพันเป็นหมื่นกลับไม่รู้ แล้วแบบนี้จะอยู่กันยังไงในเมื่อสังคมตีความเราผิด สิ่งที่เขาคิดกับเราเขาก็มองว่าเป็นคนที่มีปัญหาทางจิต แบบนี้เราจะไปต่อกันยังไง
.
.
ก็นั้นแระครับคือสิ่งที่ผมได้บอกไปว่าเราจะต้องทำให้คนทั่วๆ ไปเข้าใจมากขึ้น จากมุมมองของเขาถ้าเปลี่ยนจากที่ว่ามองว่าเป็นคนมีปัญหาทางจิตเป็นอาการปกติของเด็กพิเศษซึ่งก็ใช้ชีวิตได้ตามปกติ พุดคุยได้ตามปกติ ซึ่งเขาก็เป็นคนๆ หนึ่งที่เป็นคนเหมือนกับเรา
.
.
ผมเคยคุยเรื่องนี้กับหมอ หมอบอกว่าจริงๆ แล้วมันสูงกว่าจิตนาการมันคืออีกขั้นหนึ่ง จิตนาการคนปกติทั่วๆ ไปก็มีแต่นี้มันคืออีกขั้นถึงกับว่าสร้างเพื่อนหรือสิ่งมีชีวิตในอุดมคติขึ้นมาเอง ถ้าถามว่าต่างกับคนผิดปกติทางจิตอย่างไร จริงๆ ไม่ยากเลย คนผิดปกติทางจิตจะไม่รู้ตัว เขาจะเข้าใจว่าสิ่งที่เขาคุยอยู่นั้นมีอยู่จริง แต่อย่างพวกเราจะรู้ว่านี้คือสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเอง ถึงเราจะคุยกับเพื่อนในอุดมคติแค่ไหนแต่เราก็รู้ว่ามันไม่มีอยู่จริง ง่ายๆ เลยก็คือแค่ทักหรือบอกให้หยุดก็หยุดแล้วแล้วก็กลับมาในโลกของความจริง
.
.
ในร้ายย่อมมีดี ถ้าถามว่ามันมีข้อดีไหมมันก็พอมี สิ่งแรกเลยก็คือไม่เหงา คือเรามีเพื่อนของเราเอง พูดคุยเหมือนมีคนจริงๆ และเราก็สร้างสถานการณ์ต่างๆ ขึ้นมาเองซึ่งมันช่วยลดความเครียด ความกดดัน จากสถานการณ์ต่อหน้าในชีวิตจริง แน่นอนโลกแห่งความฝันนั้นย่อมมีความสุขมากกว่าชีวิตจริง แต่เราก็ต้องพยายามควบคุมมาเพื่อให้เกิดประโยชน์
.
.
บางครั้งที่ผมจะต้องนำเสนอหน้าห้องเรียนหรือต่อหน้าผู้คน ผมก็เองสิ่งที่ผมมีนี้ใช้ในการซ้อม ข้อดีก็คือเราสมมุติเห็นการณ์ได้สมจริงเหมือนกับอยู่หน้าห้องจริง ซ้ำเรายังจำลองคำถามได้ด้วย ซึ่งจากตัวอย่างที่ผมบอกมันก็เลยบอกได้ว่ามันก็มีข้อดีอยู่บ้าง แต่การเป็นแบบนี้แล้วคนไม่เข้าใจยังไงก็ส่งผลเสีย นี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องรักษากัน ในตอนอยู่นอกบ้านบางครั้งถ้าผมรู้ตัวก็เองจะใช้วิธีทำตอนที่คนอื่นไม่เห็นเช่น แอบไปทำในห้องน้ำ แต่ถ้าไม่รู้ตัวหลุดเมื่อไหร่ก็หลุดกัน อีกอย่างข้อดีของโควิดก็คือเรามีหน้ากากอนามัย ถ้าเรายิ้มหรือผู้คนเดียวแบบไม่มีเสียงมันก็อยู่ใต้หน้าการอนามัยไม่มีใครเห็น นี้แระครับถ้าถามว่าจะรักษาอย่างไรเท่าที่ผมรู้คือมันจะแปรเปลี่ยนไปตามอาการของโรค ดังนั้นก็ต้องรักษาโรคให้น้อยลง
.
.
ผมพยายามบอกทุกคนว่าใช้สิ่งที่มีให้เป็นประโยชน์เพราะในความเป็นจริงแล้วผมว่ายังไงอาการนี้ก็ยังพอมีอยู่ ขณะปัจจุบันผมเป็นน้อยมากก็ยังเป็นอยู่เลย อันที่จริงปัญหานี้ผมมองว่ามันจะไม่เป็นปัญหาเลยถ้าคนทั่วๆ ไปรู้จักและเข้าใจเพราะมันไม่ได้อันตรายอะไร แต่ก็นั้นแระเข้าไม่เข้าใจและมองเราว่าผิดปกติทางจิตได้มันเลยทำให้การใช้ชีวิตยากขึ้นเพราะจุดนี้คนในสังคมไม่ยอมรับกันจึงต้องรักษาให้อาการน้อยลง
.
.
สุดท้ายผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร มันเป็นอาการของโรคและโรคนี้ยังไงก็รักษาไม่หายแค่ทำให้อาการน้อยลง แต่เอาจริงๆ เป็นไปมันไม่ได้อันตรายหรอกครับ ปัญหาคือคนไม่เข้าใจมากกว่า ผมว่าสิ่งที่เราควรจะทำก็คือพยายามทำให้คนในสังคมเข้าใจว่ามันคืออาการของโรคไม่ได้มีอันตรายเหมือนคนที่ผิดปกติทางจิตหรือคนเสพยา เอาจริงๆ เราแค่ทักหรือคุยด้วยมันก็แยกออกแล้วแระครับ
ผม P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
สามารถติดตามและพูดคุยกับผมได้ที่เพจ : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ :
https://www.facebook.com/psurachet95/?show_switched_toast=0&show_invite_to_follow=0&show_switched_tooltip=0&show_podcast_settings=0&show_community_transition=0&show_community_review_changes=0
ช่อง Youtube : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ :
https://www.youtube.com/channel/UCcaotwQy4XufCWfUdJGmFtw
รู้จักโรคแอสเพอร์เกอร์ Asperger’s Syndrome (ออทิสติกแบบ High function) ตอนที่ 5 พูดคนเดียว มีเพื่อนในคติ ไม่สนใจรอบข้าง
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Syndrome) ที่มาจากประสบการณ์ตรงของผม จากที่ผมเคยเรียน จากคุยกับเพื่อนที่เป็นเหมือนกัน และจากคุณหมอครับ เนื่องจากว่าผมเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์และได้พบกับความยากลำบากหลายอย่างทั้งๆ ที่ผมเป็นน้อย และคนในสังคมไทยไม่ค่อยได้รู้จักโรคนี้ ผมจึงคิดที่จะทำสื่อเพื่อให้คนไทยรู้จักมากขึ้น โดยได้เขียนบทความที่ชื่อว่า “The Asperger story By P surachet” โดยจะแบ่งเป็น 15 ตอน อันนี้จะเป็นตอนที่ 5 ครับ หากว่าใครชอบดูในรูปแบบของคลิปวิดีโอมากกว่า สามารถรับชมคลิปได้เลยครับ แต่ถ้าใครชอบอ่านก็เลื่อนลงไปอ่านบทความได้เลยครับ
เราลองยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ของคนๆ หนึ่ง
.
“คนๆ นี้ตั้งแต่เด็กๆ มักจะอยู่คนเดียว บางคนอาจมองว่าเขาเหงาที่ไม่มีคนคุยด้วย แต่ในความเป็นจริงเขาไม่เหงาเพราะว่าเขามีคนคุยอยู่แล้วแค่คนๆ นั้นไม่มีตัวตนอยู่จริง ถ้าความเชื่อของคนโบราณอาจมองว่าคุยกับแม่ซื้อก็ได้แต่ความเป็นจริงนั้นคนๆ นี้คุยคนเดียวมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป เวลาเขาอยู่คนเดียวเขาจะเล่นคนเดียว ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูป เล่นลูกบอล หรือไม่ก็นั่งเฉยๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเขาจะคุยคนเดียว คุยในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าคุยในใจแต่พูดออกมาจริงๆ เหมือนกับคุยกับคนจริงๆ ไม่เท่านั้นยังมีการโต้ตอบกับบุคคลที่ไม่มีอยู่จริงเหมือนกับว่าคนๆ นั้นมีอยู่จริง บางครั้งก็ไปคุยกับสิ่งของแบบว่าคุยกับตุ๊กตา เก้าอี้ “สวัสดีเก้าอี้วันนี้เป็นยังไงบ้าง” แล้วก็คุยไปหัวเราะไปแบบจริงจังจนเหมือนกับเก้าอี้มีชีวิตจริงๆ ในตอนอยู่โรงเรียนพักเที่ยงก็มักจะหามุมๆ หนึ่งอยู่คนเดียวภาพในหัวที่เขาเห็นก็คือนั่งคุยกับเพื่อน บางครั้งก็พี่น้อง บางครั้งก็ครู คุยไปหัวเราะไป บางครั้งก็ชี้นิ้วนู่นนี้ สภาพแวดล้อมความเป็นจริงจะเป็นอย่างไรฉันไม่สน ฉันจะคุยของฉัน คนอื่นจะมองยังไงฉันไม่แคร์ แต่ภาพที่คนอื่นเห็นก็คือมันนั่งคุยคนเดียว ไม่มีใครเลยนอกจากอากาศ ก็อาจทำให้หลายๆ คนที่ผ่านมาเห็นงง ถ้าเป็นคนที่รู้จักก็จะมีทักทายพอเรียกก็จะหยุดคุยคนเดียว เคยมีเพื่อนที่นั่งคู่กันของย้ายที่ พอครูถามว่าทำไมถึงย้ายที่เขาก็บอกว่า “เพื่อนคนนี้คุยกับปากกา ไม่อยากนั่งกับคนโรคจิต”
.
.
เมื่อโตขึ้นมาหน่อยซัก ม.1 ขึ้นไป การคุยคนเดียวก็ยังคงอยู่แต่อาจไม่ได้คุยชัดเจนเท่าตอนเด็ก อาจมีบางครั้งที่คุยในใจ บางครั้งก็ยกมือยกไม้ทำนู่นทำนี้เช่น เล่นกีต้าร์ในอากาศ ถ้าคนภายนอกมองก็จะรู้สึกว่าหลุดๆ เหมือนใจไม่ได้อยู่กับตัว อาจพูดก็ได้ว่าเหมือนคนโรคจิต แต่พอเรียกให้รู้สึกตัวก็กลับมาปกติ พอโตขึ้นมาหน่อยขึ้น มัธยมปลาย เรียนมหาลัย อาการก็ยังคงเหมือนเดิมแต่ลดความเข้มข้นลง แต่สิ่งที่ต่างออกไปก็คือ จากเดิมพูดคนเดียวแบบชัดเจนก็กลายเป็นพูดคนเดียวแต่ไม่ออกเสียงคือทำปากขมุบขมิบ ซึ่งสิ่งที่คนอื่นเห็นมันก็คือการคุยคนเดียวอยู่ดี และมีบางครั้งที่คิดนุ่นคิดนี้อยู่ในหัวเป็นเรื่องราวโดยไม่สนใจรอบข้างว่าเป็นอย่างไร ภาพที่คนเห็นก็คือมีแต่รอยยิ้มบนใบหน้า ไม่ว่าจะเป็นระหว่างนั่งเรียน ครูก็สอนไป ไอ้เราก็นั่งยิ้มไป หรือแม้แต่ในห้องสอบ ช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำข้อสอบก็นั่งยิ้มอย่างเดียว นี้คือเรื่องจากคนๆ หนึ่ง”
.
.
คนๆ นั้นไม่ใช่ใคร คนๆ นั้นก็คือผมเอง คำถามคือถ้าคุณเจอเหตการณ์แบบนี้จะทำอย่างไร
.
.
สิ่งที่ผมพบเจอมาโดยตลอดก็มีหลายรูปแบบ ถ้าคนที่ไม่ค่อยรู้จักหรือไม่สนิทก็จะไม่ยุ่ง เดินหนีก็มี แต่ถ้าคนรู้จักส่วนใหญ่เขาจะไม่คิดมากเพราะเขารู้จักเรา บางครั้งเขาก็ทักเพราะถ้าเรียกอาการก็จะหยุดและกลับมาในโลกความเป็นจริง
.
.
จากชีวิตที่ผ่านมาเมื่อคนพบเจอสิ่งที่เกิดขึ้นร้อยทั้งร้อยคนมักจะคิดว่าคนๆ นี้เป็นอยู่ 2 อย่าง 1 ผิดปกติทางจิต 2 เสพยา พระเจ้า! ไม่มีใครคิดเลยว่ามันคืออาการของคนที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม เอาจริงๆ มันก็พอมีคนมองออก แต่คนที่มองออกคือคนที่ทำงานเกี่ยวกับด้านนี้ซึ่งนับคนได้ คำถามคือคนที่รู้ว่าเป็นโรคนี้มีหลักหน่วยแต่คนที่ผ่านในชีวิตเป็นพันเป็นหมื่นกลับไม่รู้ แล้วแบบนี้จะอยู่กันยังไงในเมื่อสังคมตีความเราผิด สิ่งที่เขาคิดกับเราเขาก็มองว่าเป็นคนที่มีปัญหาทางจิต แบบนี้เราจะไปต่อกันยังไง
.
.
ก็นั้นแระครับคือสิ่งที่ผมได้บอกไปว่าเราจะต้องทำให้คนทั่วๆ ไปเข้าใจมากขึ้น จากมุมมองของเขาถ้าเปลี่ยนจากที่ว่ามองว่าเป็นคนมีปัญหาทางจิตเป็นอาการปกติของเด็กพิเศษซึ่งก็ใช้ชีวิตได้ตามปกติ พุดคุยได้ตามปกติ ซึ่งเขาก็เป็นคนๆ หนึ่งที่เป็นคนเหมือนกับเรา
.
.
ผมเคยคุยเรื่องนี้กับหมอ หมอบอกว่าจริงๆ แล้วมันสูงกว่าจิตนาการมันคืออีกขั้นหนึ่ง จิตนาการคนปกติทั่วๆ ไปก็มีแต่นี้มันคืออีกขั้นถึงกับว่าสร้างเพื่อนหรือสิ่งมีชีวิตในอุดมคติขึ้นมาเอง ถ้าถามว่าต่างกับคนผิดปกติทางจิตอย่างไร จริงๆ ไม่ยากเลย คนผิดปกติทางจิตจะไม่รู้ตัว เขาจะเข้าใจว่าสิ่งที่เขาคุยอยู่นั้นมีอยู่จริง แต่อย่างพวกเราจะรู้ว่านี้คือสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเอง ถึงเราจะคุยกับเพื่อนในอุดมคติแค่ไหนแต่เราก็รู้ว่ามันไม่มีอยู่จริง ง่ายๆ เลยก็คือแค่ทักหรือบอกให้หยุดก็หยุดแล้วแล้วก็กลับมาในโลกของความจริง
.
.
ในร้ายย่อมมีดี ถ้าถามว่ามันมีข้อดีไหมมันก็พอมี สิ่งแรกเลยก็คือไม่เหงา คือเรามีเพื่อนของเราเอง พูดคุยเหมือนมีคนจริงๆ และเราก็สร้างสถานการณ์ต่างๆ ขึ้นมาเองซึ่งมันช่วยลดความเครียด ความกดดัน จากสถานการณ์ต่อหน้าในชีวิตจริง แน่นอนโลกแห่งความฝันนั้นย่อมมีความสุขมากกว่าชีวิตจริง แต่เราก็ต้องพยายามควบคุมมาเพื่อให้เกิดประโยชน์
.
.
บางครั้งที่ผมจะต้องนำเสนอหน้าห้องเรียนหรือต่อหน้าผู้คน ผมก็เองสิ่งที่ผมมีนี้ใช้ในการซ้อม ข้อดีก็คือเราสมมุติเห็นการณ์ได้สมจริงเหมือนกับอยู่หน้าห้องจริง ซ้ำเรายังจำลองคำถามได้ด้วย ซึ่งจากตัวอย่างที่ผมบอกมันก็เลยบอกได้ว่ามันก็มีข้อดีอยู่บ้าง แต่การเป็นแบบนี้แล้วคนไม่เข้าใจยังไงก็ส่งผลเสีย นี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องรักษากัน ในตอนอยู่นอกบ้านบางครั้งถ้าผมรู้ตัวก็เองจะใช้วิธีทำตอนที่คนอื่นไม่เห็นเช่น แอบไปทำในห้องน้ำ แต่ถ้าไม่รู้ตัวหลุดเมื่อไหร่ก็หลุดกัน อีกอย่างข้อดีของโควิดก็คือเรามีหน้ากากอนามัย ถ้าเรายิ้มหรือผู้คนเดียวแบบไม่มีเสียงมันก็อยู่ใต้หน้าการอนามัยไม่มีใครเห็น นี้แระครับถ้าถามว่าจะรักษาอย่างไรเท่าที่ผมรู้คือมันจะแปรเปลี่ยนไปตามอาการของโรค ดังนั้นก็ต้องรักษาโรคให้น้อยลง
.
.
ผมพยายามบอกทุกคนว่าใช้สิ่งที่มีให้เป็นประโยชน์เพราะในความเป็นจริงแล้วผมว่ายังไงอาการนี้ก็ยังพอมีอยู่ ขณะปัจจุบันผมเป็นน้อยมากก็ยังเป็นอยู่เลย อันที่จริงปัญหานี้ผมมองว่ามันจะไม่เป็นปัญหาเลยถ้าคนทั่วๆ ไปรู้จักและเข้าใจเพราะมันไม่ได้อันตรายอะไร แต่ก็นั้นแระเข้าไม่เข้าใจและมองเราว่าผิดปกติทางจิตได้มันเลยทำให้การใช้ชีวิตยากขึ้นเพราะจุดนี้คนในสังคมไม่ยอมรับกันจึงต้องรักษาให้อาการน้อยลง
.
.
สุดท้ายผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร มันเป็นอาการของโรคและโรคนี้ยังไงก็รักษาไม่หายแค่ทำให้อาการน้อยลง แต่เอาจริงๆ เป็นไปมันไม่ได้อันตรายหรอกครับ ปัญหาคือคนไม่เข้าใจมากกว่า ผมว่าสิ่งที่เราควรจะทำก็คือพยายามทำให้คนในสังคมเข้าใจว่ามันคืออาการของโรคไม่ได้มีอันตรายเหมือนคนที่ผิดปกติทางจิตหรือคนเสพยา เอาจริงๆ เราแค่ทักหรือคุยด้วยมันก็แยกออกแล้วแระครับ
ผม P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
สามารถติดตามและพูดคุยกับผมได้ที่เพจ : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ : https://www.facebook.com/psurachet95/?show_switched_toast=0&show_invite_to_follow=0&show_switched_tooltip=0&show_podcast_settings=0&show_community_transition=0&show_community_review_changes=0
ช่อง Youtube : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ : https://www.youtube.com/channel/UCcaotwQy4XufCWfUdJGmFtw