สถานที่ตั้ง : บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยง ตำบล ตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี ปัตตานี 94000
วัตถุประสงค์การก่อสร้าง :
หนังสือสยาเราะห์ปัตตานีของนายหะยี หวันหะซัน กล่าวว่า สุลต่านลองยุนุสเป็นผู้สร้างประมาณปีฮิจเราะห์ ๑๑๔๒ ตรงกับพุทธศักราช ๒๒๖๕ สมัยอยุธยาตอนปลาย เหตุที่ก่อสร้างไม่เสร็จเนื่องจากเกิดสงครามแย่งชิงราชสมบัติระหว่างสุลต่านลองยุนุสกับระตูปะกาลันซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ หลังจากสุลต่านลองยุนุสสิ้นพระชนม์แล้ว ระตูปูยุดได้รับตำแหน่งสุลต่านเมืองตานีคนต่อมาได้ย้ายศูนย์การปกครองเมืองตานีไปตั้งอยู่ ณ บ้านปูยุด (ปัจจุบันอยู่ในเขตท้องที่ ตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานี) บริเวณที่ตั้งวังของระตูปูยุด ยังคงปรากฏร่องรอยกำแพงอยู่จนบัดนี้ จนไม่มีผู้ใด้คิดสร้างต่อเติมมัสยิดอีกทิ้งไว้รกร้าง ต่อมากรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และทำการบูรณะซ่อมแซม ทั้งนี้เพื่อให้มัสยิดกรือเซะคงสภาพเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองปัตตานี และใช้เป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจได้ต่อไป
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญเเละสิ่งลักษณะที่น่าสนใจของสิ่งก่อสร้าง : เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 22 ร่วมสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัสยิดปิตูกรือบัน ชื่อนี้เรียกตามรูปทรงของประตูมัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบโกธิคของชาวยุโรป และแบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออกกลาง รูปลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สาทรงกลมเลียนรูปลักษณะแบบเสาโกธิคของยุโรป ช่องประตู หน้าต่างมีทั้งแบบโค้งแหลม และโค้งมนแบบโกธิค โดมและหลังคายังก่อสร้างไม่เสร็จ อิฐที่ใช้ก่อมีรูปลักษณะเป็นอิฐสมัยอยุธยา ตรงฐานมัสยิดมีอิฐรูปแบบคล้ายอิฐสมัยทวารวดีปะปนอยู่บ้าง
พิธีกรรมเเละกิจกรรมที่จัดในมัสยิด : การประกอบพิธีศาสนกิจทางศาสนา เเละ การทำกิจกรรมร่วม ที่เกี่ยวกับศาสนา ไม่ว่าจะเป็นประเพณีวันฮารีรายอ
ความเชื่อ/ตำนานเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ : มีตำนานเล่าสืบต่อกันต่อ ๆ มาว่า ในยุคที่เมืองปัตตานีมีเจ้าผู้ครองเมืองเป็นนางพญา ชื่อ รายาบีรู (พ.ศ. ๒๑๕๑ - ๒๑๖๗) นั้น ได้มีชาวจีนชื่อ ลิ้มเต้าเคียน มาอยู่เมืองปัตตานี และเข้ารีตรับนับถือศาสนาอิสลาม แล้วไม่ยอมกลับเมืองจีน หลิมกอเหนี่ยวน้องสาวเดินทางมาตามพี่ชายให้กลับเมืองจีนเพื่อดูแลมารดาที่ ชราตามประเพณีของชาวจีน แต่ลิ้มเต้าเคียมไม่ยอมกลับ เพราะได้รับมอบหมายจากเจ้าเมืองปัตตานีให้เป็น ผู้ควบคุมก่อสร้างมัสยิดกรือเซะอยู่ และยังสร้างไม่เสร็จจะขออยู่เมืองปัตตานีต่อไปจนกว่าจะสร้างเสร็จ หลิมกอเหนี่ยวมีความน้อยใจจึงทำอัตวินิบาตกรรมประท้วงพี่ชาย
ระเบียบปฏิบัติเเละข้อห้าม :
การเข้ามัสยิด
1. ผู้ที่จะเข้ามัสยิดทั้งหญิงและชายจะต้องมีเจตนาบริสุทธิ์ เช่น เข้าเยี่ยมชม หรือเข้าเรียนรู้ เป็นต้น
2. ควรแต่งกายปกปิด ไม่ควรนุ่งกางเกงขาสั้น ซึ่งหลายๆ มัสยิดที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวมักจะจัดเตรียมชุดฮิญาบ (ผ้าคลุมผม) ให้สตรีสำหรับแต่งชั่วคราวก่อนเข้าเยี่ยมชม
3. ร่างกายและเสื้อผ้าต้องสะอาด ผู้ที่จะเข้ามัสยิดควรจะปราศจากสิ่งโสโครกปฏิกูลอื่นๆ อันเป็นที่รังเกียจ เช่น โลหิต น้ำเหลือง น้ำหนอง อาเจียน สุนัข สุกร ซากสัตว์ที่ไม่ได้เชือด อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำนมของสัตว์ที่ห้ามรับประทานและของเหลวที่มึนเมา ส่วนสตรีที่อยู่ระหว่างการมีประจำเดือนสามารถเข้ามัสยิดได้ถ้าจำเป็น
4. ไม่อนุญาตให้สวมรองเท้าเข้าหรือขึ้นบนตัวอาคารมัสยิด ยกเว้นรองเท้าที่จัดไว้ หรือเตรียมไว้สำหรับสวมใส่เดินบนมัสยิด
5. ให้ก้าวเท้าขวาเข้าสู่มัสยิด
6. ถ้ามีบุคคลอื่นอยู่ในมัสยิด ให้สำรวมและไม่รบกวนผู้ที่กำลังละหมาดหรืออ่านคัมภีร์กุรอาน
7. ต้องแยกชาย – หญิง และปกติทางมัสยิดจะมีการจัดกั้นบริเวณสำหรับสตรีแยกออกจากฝ่ายชายอยู่แล้ว
ข้อห้ามสำหรับผู้ที่อยู่ในมัสยิด
1. ห้ามพูดคุยเรื่องไร้สาระ หรือเรื่องอกุศล
2. ห้ามส่งเสียงดัง
3. ห้ามสตรีนั่งคู่กับผู้ชายในมัสยิด แม้จะเป็นสามีภรรยาก็ตาม
4. ห้ามนอนคว่ำ แม้จะนอนอ่านหนังสือก็ตาม หากจะนอนก็ให้นอนตะแคงข้าง
5. ห้ามใช้มัสยิดเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ศาสนาอิสลามไม่อนุมัติ
การออกจากมัสยิด
1. เดินออกด้วยการเริ่มก้าวเท้าซ้ายออกจากธรณีประตูของมัสยิด
2. ไม่นำเอาสิ่งใดๆ ออกจากมัสยิด ยกเว้นสิ่งที่คณะกรรมการมัสยิดหรือบุคคลอื่นนำมาวาง เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ที่มาเยือนมัสยิด
มัสยิดกรือเซะ ปัตตานี
วัตถุประสงค์การก่อสร้าง :
หนังสือสยาเราะห์ปัตตานีของนายหะยี หวันหะซัน กล่าวว่า สุลต่านลองยุนุสเป็นผู้สร้างประมาณปีฮิจเราะห์ ๑๑๔๒ ตรงกับพุทธศักราช ๒๒๖๕ สมัยอยุธยาตอนปลาย เหตุที่ก่อสร้างไม่เสร็จเนื่องจากเกิดสงครามแย่งชิงราชสมบัติระหว่างสุลต่านลองยุนุสกับระตูปะกาลันซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ หลังจากสุลต่านลองยุนุสสิ้นพระชนม์แล้ว ระตูปูยุดได้รับตำแหน่งสุลต่านเมืองตานีคนต่อมาได้ย้ายศูนย์การปกครองเมืองตานีไปตั้งอยู่ ณ บ้านปูยุด (ปัจจุบันอยู่ในเขตท้องที่ ตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานี) บริเวณที่ตั้งวังของระตูปูยุด ยังคงปรากฏร่องรอยกำแพงอยู่จนบัดนี้ จนไม่มีผู้ใด้คิดสร้างต่อเติมมัสยิดอีกทิ้งไว้รกร้าง ต่อมากรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และทำการบูรณะซ่อมแซม ทั้งนี้เพื่อให้มัสยิดกรือเซะคงสภาพเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองปัตตานี และใช้เป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจได้ต่อไป
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญเเละสิ่งลักษณะที่น่าสนใจของสิ่งก่อสร้าง : เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 22 ร่วมสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัสยิดปิตูกรือบัน ชื่อนี้เรียกตามรูปทรงของประตูมัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบโกธิคของชาวยุโรป และแบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออกกลาง รูปลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สาทรงกลมเลียนรูปลักษณะแบบเสาโกธิคของยุโรป ช่องประตู หน้าต่างมีทั้งแบบโค้งแหลม และโค้งมนแบบโกธิค โดมและหลังคายังก่อสร้างไม่เสร็จ อิฐที่ใช้ก่อมีรูปลักษณะเป็นอิฐสมัยอยุธยา ตรงฐานมัสยิดมีอิฐรูปแบบคล้ายอิฐสมัยทวารวดีปะปนอยู่บ้าง
พิธีกรรมเเละกิจกรรมที่จัดในมัสยิด : การประกอบพิธีศาสนกิจทางศาสนา เเละ การทำกิจกรรมร่วม ที่เกี่ยวกับศาสนา ไม่ว่าจะเป็นประเพณีวันฮารีรายอ
ความเชื่อ/ตำนานเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ : มีตำนานเล่าสืบต่อกันต่อ ๆ มาว่า ในยุคที่เมืองปัตตานีมีเจ้าผู้ครองเมืองเป็นนางพญา ชื่อ รายาบีรู (พ.ศ. ๒๑๕๑ - ๒๑๖๗) นั้น ได้มีชาวจีนชื่อ ลิ้มเต้าเคียน มาอยู่เมืองปัตตานี และเข้ารีตรับนับถือศาสนาอิสลาม แล้วไม่ยอมกลับเมืองจีน หลิมกอเหนี่ยวน้องสาวเดินทางมาตามพี่ชายให้กลับเมืองจีนเพื่อดูแลมารดาที่ ชราตามประเพณีของชาวจีน แต่ลิ้มเต้าเคียมไม่ยอมกลับ เพราะได้รับมอบหมายจากเจ้าเมืองปัตตานีให้เป็น ผู้ควบคุมก่อสร้างมัสยิดกรือเซะอยู่ และยังสร้างไม่เสร็จจะขออยู่เมืองปัตตานีต่อไปจนกว่าจะสร้างเสร็จ หลิมกอเหนี่ยวมีความน้อยใจจึงทำอัตวินิบาตกรรมประท้วงพี่ชาย
ระเบียบปฏิบัติเเละข้อห้าม :
การเข้ามัสยิด
1. ผู้ที่จะเข้ามัสยิดทั้งหญิงและชายจะต้องมีเจตนาบริสุทธิ์ เช่น เข้าเยี่ยมชม หรือเข้าเรียนรู้ เป็นต้น
2. ควรแต่งกายปกปิด ไม่ควรนุ่งกางเกงขาสั้น ซึ่งหลายๆ มัสยิดที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวมักจะจัดเตรียมชุดฮิญาบ (ผ้าคลุมผม) ให้สตรีสำหรับแต่งชั่วคราวก่อนเข้าเยี่ยมชม
3. ร่างกายและเสื้อผ้าต้องสะอาด ผู้ที่จะเข้ามัสยิดควรจะปราศจากสิ่งโสโครกปฏิกูลอื่นๆ อันเป็นที่รังเกียจ เช่น โลหิต น้ำเหลือง น้ำหนอง อาเจียน สุนัข สุกร ซากสัตว์ที่ไม่ได้เชือด อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำนมของสัตว์ที่ห้ามรับประทานและของเหลวที่มึนเมา ส่วนสตรีที่อยู่ระหว่างการมีประจำเดือนสามารถเข้ามัสยิดได้ถ้าจำเป็น
4. ไม่อนุญาตให้สวมรองเท้าเข้าหรือขึ้นบนตัวอาคารมัสยิด ยกเว้นรองเท้าที่จัดไว้ หรือเตรียมไว้สำหรับสวมใส่เดินบนมัสยิด
5. ให้ก้าวเท้าขวาเข้าสู่มัสยิด
6. ถ้ามีบุคคลอื่นอยู่ในมัสยิด ให้สำรวมและไม่รบกวนผู้ที่กำลังละหมาดหรืออ่านคัมภีร์กุรอาน
7. ต้องแยกชาย – หญิง และปกติทางมัสยิดจะมีการจัดกั้นบริเวณสำหรับสตรีแยกออกจากฝ่ายชายอยู่แล้ว
ข้อห้ามสำหรับผู้ที่อยู่ในมัสยิด
1. ห้ามพูดคุยเรื่องไร้สาระ หรือเรื่องอกุศล
2. ห้ามส่งเสียงดัง
3. ห้ามสตรีนั่งคู่กับผู้ชายในมัสยิด แม้จะเป็นสามีภรรยาก็ตาม
4. ห้ามนอนคว่ำ แม้จะนอนอ่านหนังสือก็ตาม หากจะนอนก็ให้นอนตะแคงข้าง
5. ห้ามใช้มัสยิดเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ศาสนาอิสลามไม่อนุมัติ
การออกจากมัสยิด
1. เดินออกด้วยการเริ่มก้าวเท้าซ้ายออกจากธรณีประตูของมัสยิด
2. ไม่นำเอาสิ่งใดๆ ออกจากมัสยิด ยกเว้นสิ่งที่คณะกรรมการมัสยิดหรือบุคคลอื่นนำมาวาง เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ที่มาเยือนมัสยิด