[CR] แบกกล้องตะลอน"ปัตตานี ..เมืองสามวัฒนธรรม" กับสองล้อคู่ใจ

สวัสดีค่าาาาา ช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมเลยว่างๆ ปีเก่าที่ผ่านมาก็เจอแต่เรื่องแย่ๆ เลยอยากถือโอกาสขึ้นปีใหม่นี้ ได้ทำเรื่องใหม่ๆที่อยากทำ และเริ่มต้นปีใหม่นี้ด้วยเรื่องดีๆ มุมมองดีๆจากบ้านเกิดของเราเอง.. นั้นก็คือ... "จังหวัดปัตตานี"หรืออีกชื่อเรียกนึงในอดีตก็คือ"ดินแดนลังกาสุกะ" นั้นเอง ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความพิเศษทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทั้ง ไทย-พุทธ , ไทย-จีน และ ไทย-มุสลิม..

    ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนว่ากระทู้นี้เป็นกระทู้แรกที่เราตั้งขึ้นมา (สมัครพันทิปมาสักพักแล้วแต่พึ่งได้ยืนยันตัวตนเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้เอง...ถ้าข้อมูลผิดพลาดในส่วนใด..เก๊าขอโทษน๊าาา -/\- และสามารถแย้งหรือติเตียนได้นะค่าาาา ^^) เหตุผลที่ยืนยันตัวก็เพื่อที่จะทำการตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาโดยเฉพาะเลย เพราะเราคิดว่าหลายๆคนคงรู้จักปัตตานีกันดี แต่อาจจะรู้จักจากข่าวที่เกี่ยวข้องกับความไม่สงบในพื้นที่ อาจจะเห็นมุมมองในด้านเดียวแค่ว่า ทำไมปัตตานีน่ากลัวจัง... วันนี้เราเลยอยากนำเสนอมุมมองอีกหนึ่งด้านของที่นี่ว่ามันเป็นยังไง และหลายๆคนก็คงอาจจะเคยอ่านกระทู้ที่เกี่ยวกับปัตตานีมาบ้างแล้ว แต่วันนี้เราจะมานำเสนอในมุมที่แตกต่างออกไปอีกนิดนึง ก็คือจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ในหลายๆที่ที่ไปก็จะมีเรื่องราว เรื่องเล่า ตำนานต่างๆในตัวของสถานที่นั้นๆ..
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

    เราจะทำการแบ่งออกเป็น2ตอนนะคะ คือ สถานที่ที่อยู่ในตัวเมือง และสถานที่ที่อยู่นอกเมือง... ถ้าพร้อมแล้ววววว.... ไปกันโลดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด


(และนี้คือผู้ช่วยในการเดินทางของเก๊าในครั้งนี้)



ตอนที่1 : นอกเมือง



- "มัสยิดกรือเซะ"

    เป็นมัสยิดเก่าแก่ในเมืองปัตตานี มีอายุมากกว่า200ปี ซึ่งเป็นมัสยิดที่มีตำนานเกี่ยวข้องกันกับเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยว ซึ่งเป็นเรื่องเล่าที่เล่าต่อกันมาถึงสาเหตุที่มัสยิดแห่งนี้สร้างไม่สำเร็จ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้




(เมื่อเข้ามาในบริเวณของมัสยิดกรือเซะ ก็จะเจอกับ...ปืนใหญ่พาญาตานี(จำลอง)ตั้งอยู่ให้ชมกันอีกด้วย แต่ในวันที่เราไป ไม่รู้ปืนใหญ่หายไปไหน T^T ซึ่งถ้าใครอยากเห็นของจริงสามารถไปดูได้ที่หน้ากระทรวงกลางโหมกรุงเทพนะคะ)



(มัสยิดกรือเซะ ซึ่งด้านหลังมัสยิดกรือเซะจะเป็นที่ตั้งของสุสานเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยว)














- "สุสานเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยว"

    สุสานดั้งเดิมจะตั้งอยู่ที่ชายทะเลบ้านตันหยงลูโละ แต่เนื่องจากชายฝั่งดังกล่าวถูกน้ำทะเลกัดเซาะพังเข้ามาถึงบริเวณของสุสาน ชาวจีนในเมืองปัตตานีจึงทำพิธีย้ายสุสานมายังบ้านกรือเซะ (สถานที่ตั้งปัจจุบัน และอยู่ใกล้กันกับมัสยิดกรือเซะ) เดิมทีบ้านกรือเซะเคยเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าโต๊ะปิกงแมะอันเป็นประดิษฐานรูปลองเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยวแต่เดิม (ปัจจุบันรูปลองเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยวประทับอยู่ที่ศาลเจ้าเล่งจูเกียงในเมืองปัตตานี)

























**ตำนานที่เกี่ยวข้องกันของมัสยิดกรือเซะและเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยว**

            ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยวเป็นชาวจีนที่เดินทางมาตามหาพี่ชายชื่อ ลิ้ม โต๊ะ เคี่ยม ซึ่งได้ย้ายมาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองปัตตานี เนื่องจากลิ้ม โต๊ะเคี่ยมได้ขาดการติดต่อกับทางครอบครัวเป็นเวลานานและแม่ที่อยู่ในวัยชราก็ล้มป่วยประจำ เจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยวจึงอาสาออกเดินทางไปตามหาพี่ชาย พร้อมให้คำมั่นสัญญากับแม่ว่า "หากพี่ชายไม่ยอมกลับมาพร้อมตนแล้ว ตนก็ไม่ขอมีชีวิตอยู่ต่อไป"

            เจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยวเดินทางมาถึงเขตของเมืองปัตตานี และได้ทำการสอบถามชาวบ้านจนทราบว่าพี่ชายยังมีชีวิตอยู่ จึงได้เข้าไปหาและชวนให้พี่ชายกลับบ้านไปพร้อมกับตน แต่ลิ้ม โต๊ะ เคี่ยม ก็ปฏิเสธที่จะกลับไป เนื่องจากติดประกาศของทางการ ที่ล่าวโทษว่าสมคบคิดกับโจรสลัด และอีกหนึ่งเหตุผลก็คือ ลิ้ม โต๊ะ เคี่ยมได้ทำการรับปากจากเจ้าเมืองว่าจะสร้างมัสยิดให้(มัสยิดกรือเซะ) ทำให้ไม่สามารถกลับไปได้ในตอนนี้ ลิ้ม โต๊ะ เคี่ยม ได้อุทิศกายและใจให้กับงานที่ได้รับ ยิ่งทำให้เจ้าลิ้มกอเหนี่ยวเกิดความโกรธและน้อยใจในตัวพี่ชาย พยายามหาโอกาสพูดคุยให้กลับไปพร้อมตนก็ไม่สำเร็จ จึงได้สาบแช่งไว้ว่า “แม้พี่ชายจะมีความสามารถในการก่อสร้างเพียงใดก็ตาม แต่ขอให้สร้างมัสยิดนี้ไม่สำเร็จ” และได้แอบไปผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ด้านข้างมัสยิดที่กำลังก่อสร้าง

            ลิ้มโต๊ะเคี่ยมเมื่อสูญเสียน้องสาวก็เสียใจมาก จึงจัดการศพตามประเพณีอย่างสมเกียรติ พร้อมกับสร้างฮวงซุ้ยขึ้นที่ “หมู่บ้านกรือเซะ” แล้ว ทำการก่อสร้างมัสยิดต่อไปจนเกือบเสร็จอยู่ในขั้นก่อสร้างโดมหลังคา วันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าลงมายังโดมที่กำลังสร้างจนเสียหายหมดทั้งๆที่ไม่มีวี่แววพายุฝนแต่อย่างใด ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงทำการก่อสร้างโดมหลังคาใหม่ แต่แล้วก้เกิดฟ้าผ่าลงมายังยอดโดมอีกครั้ง ทำให้ลิ้มโต๊ะเคี่ยมนึกถึงคำสาบแช่งของลิ้มกอเหนี่ยวขึ้นได้ จึงเกิดความท้อใจเลิกล้มการก่อสร้างมัสยิดเพราะคิดว่าคำสาบแช่งของน้องสาวมีความศักดิ์สิทธิ์






- "หาดตะโละกาโปร์ (เรือกอและ.. เอกลักษณ์ของจังหวัดปัตตานี)"


    ในสถานที่นี่เราไม่ได้ไปถ่ายในฝั่งของทะเลที่มีคนเล่นหรือมาเที่ยว (เราเคยไปมาแต่นานมากสมัยยังวัยกระเตาะ ตั้งแต่มีเรื่องเหตุการณ์ไม่สงบ เราเลยเข้าใจว่าน่าจะไม่มีใครมาเที่ยว แต่ผิดคาด เพราะตอนที่เราไปมีคนและนักท่องเที่ยวมากพอสมควร เด็กๆตัวเล็กๆนั่งเล่นทะเล มีโช่เลห์ หรือรถมอเตอร์ไซค์พ่วงขายของกันเยอะแยะเลย) และแน่นอนเราทุกคนรู้กันอยู่แล้วว่าทะเลก็ต้องมีหาดทราย มีผู้คน และอื่นๆอีกมากมาย เราเลยอยากนำเสนออีกเรื่องราวหนึ่งของสถานที่นี่ นั้นก็คือ"เรือกอและ" ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดปัตตานีเลยก็ว่าได้

    "เรือกกอและ" ก็คือเรือทำประมง ที่มีความพิเศษตรงที่เป็นเรือยาวที่ต่อ ด้วยไม้กระดานโดยทำให้ส่วนหัวและท้ายสูงขึ้นจากลำเรือให้ดูสวยงาม นิยมทาสีแล้วเขียนลวดลายด้วยสีฉูดฉาดเป็นลายไทยหรือลายอินโดนีเซีย





















(เหตุผลที่ถ่ายลำนี้แค่ลำเดียวก็เพราะว่า ลำอื่นๆถูกเก็บไว้ในที่สำหรับจอด เลยไม่กล้าเข้าไปถ่าย (เกรงใจชาวบ้าน 5555) และบางส่วนก็น่าจะออกทะเลกัน ทำให้เหลืออยู่แค่ไม่กี่ลำค่ะ^^)
ชื่อสินค้า:   ปัตตานี
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่