ในแง่ประวัติศาสตร์ การเมืองโบราณ พระพิฆเนศวร์ถือเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ของชนพื้นเมือง ที่มีต่อชาวอารยันใช่ไหมคะ

เคยผ่านหูผ่านตา น่าจะบทความ ตั้งแต่อ่านบทความนั้นจบ ไม่เคยมองพระพิฆเนศวร์ในฐานะเทพเจ้าแห่งศิลปะอีกเลย แต่เดี๊ยนก็ลืม ๆ เลือน ๆ ลาง ๆ ไปแล้ว

กระทู้นี้ไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่อะไรนะคะ แค่มองกันคนละแบบ คิดกันคนละทางเนาะ

คือคร่าว ๆ ก็ประมาณว่า ชนพื้นเมืองอินเดีย นับถืองู ช้าง และต้นไทร เลยเกิดเป็นพระพิฆเนศวร์ขึ้น เทพลูกครึ่งระหว่างชนพื้นเมืองกับอารยัน มีหัวเป็นช้าง เป็นบุตรของพระอิศวร

และคำว่า นาค ที่ใช้เรียกชนพื้นเมืองอินเดีย (มองโกลอยด์?) ก็สามารถหมายความได้ทั้ง งู และ ช้าง (งวงช้างเหมือนงู?)

พอมาดูเทวประวัติ ที่มาของพระพิฆเนศวร์ก็เป็นการแต่งเทวตำนานได้ทำร้ายตัวละครมาก ไม่ว่าจะเป็น

1. ถูกสาป ถูสบถให้เศียรหาย จนต้องไปหาหัวของช้างที่นอนตายแล้วหันหัวผิดทิศ

2. โดนจักรบั่นงาหักไปข้างนึง

3. นั่งหนูแล้วงูเลื้อยผ่าน หนูตกใจ เทพหล่นจากหลังหนู พุงที่แน่นไปด้วยขนมต้มก็แตก เทพก็ต้องโกยเข้าท้องแล้วเอางูรัดไว้

จะมีข้อ 4 อีกรึเปล่าไม่รู้

สรุป กว่าชาวอารยันจะยอมให้เทพเจ้าที่มีเศียรเป็นช้างเกิดขึ้น องค์เทพก็เละมาก สมบุกสมบันมาก ไม่ได้มาอย่างสง่างาม แต่จะว่าไป เทพโบราณอย่างพระอินทร์ก็โดนด้วย อย่างเรื่องการสาปให้มีโยนีเต็มตัว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่