พระคาถาพระอินทร์
โอม นะมัส อินทะราธิราช สักกะเทวะ วันทามิ
๑. ภูมิธรรม คือ ผู้ดูแลธาตุทั้ง ๕ ของธรรมชาติ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ทอง มีการจัดสรรพลังทั้ง ๕ อย่างนี้ให้สมดุล
๒. ทิพยพลัง คือ พลังแห่งการสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์
๓. การบูชา
๓.๑ พิธีกรรม การปฏิบัติ คือ ถวายผลไม้ ไม่นิยมไว้ของคาว
๓.๒ จิตวิญญาณ คือ เมตตา กรุณา
หน้าที่พระอินทร์
พระอินทร์จะเป็นฝ่ายบริหารจัดการดูแลธาตุทั้ง ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ถ้าเราไหว้ธาตุทั้ง ๔ จะช่วยอะไรเราไม่ได้ แต่รำลึกถึงท่านได้ และต้องไหว้พระอินทร์จึงจะต้องบริหารธาตุทั้ง ๔ ช่วยเราได้ จะบัญชาการ สั่งการให้ธาตุทั้ง ๔ ทำงาน เหมือนกับมีตำรวจมากมาย แต่ถ้าไม่มีคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาก็ทำอะไรไม่ได้ พระอินทร์ได้รับคำสั่งจากพ่อพรหมให้เป็นผู้ดูแลธาตุ
พระอินทร์
ทำไมต้องไหว้พระอินทร์ ที่จริงพระอินทร์เป็นบรรพบุรุษ ของชนเผ่าอารยัน เป็นนักรบ เป็นหัวหน้าชนเผ่าอารยัน หัวหน้าปกครองชนเผ่าอารยันเบื้องต้นนับถือพระอินทร์ เป็นผู้ใกล้ชิดที่สุด ส่วนเทพอื่นๆ ไม่ได้ใกล้ชิด เหมือนยกให้เป็นหัวหน้าชนเผ่า บางพวกก็อพยพบ้าง ลงไปทางใต้อีกสายหนึ่ง เป็นสายเปอร์เซีย อิหร่าน ก็กลายเป็นยักษ์ ที่จริงยักษ์คือชาวอารยันที่อพยพไปทางเปอร์เซีย เป็นชนเผ่าที่อพยพมาและมาถึงตรงนั้นก็เลยแยกเพราะขัดใจกันทางนี้ไปเปอร์เซีย ทางนี้ลงมาที่อินเดียเป็นชนเผ่าอารยัน ทางนี้เลยนับถือพระอินทร์เป็นเทวดา จริงๆ ยักษ์เขาไม่ดื่มเหล้า เพราะเสียเพราะเหล้า ยักษ์เมื่อก่อนสายนี้จะไม่กินเหล้า เพราะว่าตอนนั้นเคยเสียเพราะเหล้า จึงไม่ยอมกินเหล้า ตอนนั้นเขาไม่ได้เรียกว่าเหล้า เขาเรียกว่าน้ำจัณฑ์ เขาจึงสั่งห้ามลูกหลานห้ามกินเหล้า ชาวเปอร์เซียรุ่นก่อนๆ เขาห้ามกินเหล้า แต่ตอนหลังเขาเริ่มกินน้ำหวานองุ่นคล้ายๆ กับว่ากลายเป็นไวน์ ตอนหลังพวกยุโรป โรมันไปเอามากิน
ทั้งนี้พระอินทร์ก็ใกล้ชิดกับอารยันเขาเลยนับถือให้ท่านเป็นหัวหน้า พอนานไปกลายเป็นบรรพบุรุษของเรา ก็ยกขึ้นให้กลายเป็นผู้เหนือกว่า นั่นก็คือเทวดา จริงๆ แล้วเทวดาแปลว่าผู้เหนือกว่า เทวดาเรายังนับถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ เทพจะต่างกัน เทวดายังเป็นสายเดียวกับมนุษย์ มนุษย์ที่เหนือกว่าก็จะเป็นเทวดา มนุษย์ที่ต่ำกว่าเขาก็เรียกว่าปีศาจ ใน ๖ ภูมิเขาก็จะมีเทวดาแต่ไม่มีเทพ เทพเขาจะเหนือขึ้นไป ใน ๖ ภูมินี้ยังเป็นเชื้อมนุษย์อยู่
สายพุทธศาสนาจะไม่นับถือเทวดา และจัดว่าเป็นอเทวนิยม ค่ือไม่มีการนับถือเทวดา แต่โบราณกาลก่อนจะเกิดศาสนาพุทธเขายังถือว่าเทวดาเป็นบรรพบุรุษ ฉะนั้นเมื่อนำมาผสมกับสมัยโบราณจึงมีการบอกว่า พระอินทร์ลงมาช่วย ทำให้เกิด อินทร์สร้าง อินทร์แปลง อินทร์สาน คือมีพระอินทร์เกี่ยวข้อง เพราะพระอินทร์ใกล้ชิดกับมนุษย์ แสดงว่าเป็นมนุษย์พิเศษ บรรพบุรุษของเราแต่เป็นบรรพบุรุษที่พิเศษถึงมีความผูกพันเกี่ยวข้อง
พอพระอินทร์เป็นศาสนาเก่า นานเข้าบางพวกก็บอกว่าไม่ค่อยจะดีละ ก็นำมาแต่งเรื่องเยอะแยะไปหมด เป็นท้าวแสนปม ทำให้ฤษีสาปมีตาพันตา ตอนนี้พระอินทร์ก็เริ่มเสื่อมถอย และเริ่มเผยแพร่มาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพระอินทร์ที่ประเทศอินเดียแทบจะไม่มีใครนับถือ เป็นเทวดาที่ถูกไล่ ถูกต้อนเดือดร้อน และตัวเองก็ชอบทำอะไรเสียๆ หายๆ อยู่เรื่อย กลายเป็นคนไม่ค่อยดี มีปัญหากับยักษ์อยู่เรื่อย ต้องคอยหามหาเทพมาช่วยอยู่เรื่อย
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เทวดาเล่นดนตรี
เทวดาเล่นดนตรี ดีด สี ตี เป่า เป็นปริศนาธรรมสอนเราได้ยังไง
ในครอบครัวต้องมีการทะเลาะกัน
เขาตีเรา เราก็เลี่ยง เขากำลังยั้วะเรา เราก็หลีกเลี่ยงเขาก่อน ถ้าเราทู่ซี้เอาหัวไปรับก็จะเจ็บอยู่เรื่อย
ชีวิตในครอบครัวของเราจะให้เหมือนกับที่ท่านเล่นดนตรี จะต้องทำอย่างไร
ทำไมเทวดาท่านถึงต้องเล่นดนตรีแตกต่างกัน แต่ละอย่างไม่เหมือนกัน ถามว่า ดีดพิณ เป็นดนตรี สีซอ เป็นดนตรีมั้ย ตีกลอง เป็นดนตรีมั้ย เป่า เป็นดนตรีมั้ย รูปแตกต่างกัน แต่ก็คือดนตรี
บางครั้งถ้าเราถือว่าชนะกับแพ้ ถือว่าตรงนี้ถูก ตรงนี้ผิดตลอดไม่ได้ ไม่ต่างกัน มันก็คือดนตรี เราต้องยอมรับ
สมมติว่า เทวดาองค์นี้ถือว่าท่านเป่าขลุ่ย แล้วไม่ยอมรับเทวดาทั้ง ๕ องค์นี้ แล้วจะเป็นยังไงจะเกิดอะไรขึ้น เสียงก็ย่อมไม่ไพเราะ เพราะว่าจะได้ยินแต่เสียงขลุ่ยอย่างเดียว
ถ้าเทวดาแต่ละองค์ยอมรับ เทวดาทั้ง ๖ องค์ ก็จะเป็นหนึ่งเดียว ก็จะเกิดสัปปายะ
เหมือนกับในครอบครัวจะต้องยอมรับ ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่มีทาง เช่น เรานอนกลางคืน แล้วคู่นอนเรานอนกรนแล้วเราไม่ยอมรับ ตีนถีบ ก็จะเกิดปัญหาขึ้นได้ ก็จะยุ่ง ฉะนั้น การอยู่กันเป็นครอบครัวเราต้องยอมรับ ถ้าไม่ยอมรับซึ่งกันและกันจะเป็นวงดนตรีได้หรือไม่ ก็ไม่ได้
เราจะเล่นดนตรียังไงให้ไพเราะ เหมือนกับชีวิตของเราจะอยู่อย่างไรให้ดี เราต้องอยู่อย่างสัปปายะ
สมดุลเป็นส่วนๆ สับปายะเป็นส่วนรวม
สัปปายะ คือ สภาวะที่ถูกต้องในธรรมนั้นๆ และพร้อมที่จะเกิดขึ้น มันไม่ใช่ทุกช่อง แต่ทุกช่องอยู่ในนั้น ถึงพร้อมแห่งสภาวะธรรมนั้นๆ จะบรรลุ ใช้งานได้ แต่ยังไม่ถึงน่าน อาจจะเดินทางอยู่
ความเข้าใจ "พระอินทร์" ที่ถูกต้องตามธรรม
พระคาถาพระอินทร์
โอม นะมัส อินทะราธิราช สักกะเทวะ วันทามิ
๑. ภูมิธรรม คือ ผู้ดูแลธาตุทั้ง ๕ ของธรรมชาติ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ทอง มีการจัดสรรพลังทั้ง ๕ อย่างนี้ให้สมดุล
๒. ทิพยพลัง คือ พลังแห่งการสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์
๓. การบูชา
๓.๑ พิธีกรรม การปฏิบัติ คือ ถวายผลไม้ ไม่นิยมไว้ของคาว
๓.๒ จิตวิญญาณ คือ เมตตา กรุณา
หน้าที่พระอินทร์
พระอินทร์จะเป็นฝ่ายบริหารจัดการดูแลธาตุทั้ง ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ถ้าเราไหว้ธาตุทั้ง ๔ จะช่วยอะไรเราไม่ได้ แต่รำลึกถึงท่านได้ และต้องไหว้พระอินทร์จึงจะต้องบริหารธาตุทั้ง ๔ ช่วยเราได้ จะบัญชาการ สั่งการให้ธาตุทั้ง ๔ ทำงาน เหมือนกับมีตำรวจมากมาย แต่ถ้าไม่มีคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาก็ทำอะไรไม่ได้ พระอินทร์ได้รับคำสั่งจากพ่อพรหมให้เป็นผู้ดูแลธาตุ
พระอินทร์
ทำไมต้องไหว้พระอินทร์ ที่จริงพระอินทร์เป็นบรรพบุรุษ ของชนเผ่าอารยัน เป็นนักรบ เป็นหัวหน้าชนเผ่าอารยัน หัวหน้าปกครองชนเผ่าอารยันเบื้องต้นนับถือพระอินทร์ เป็นผู้ใกล้ชิดที่สุด ส่วนเทพอื่นๆ ไม่ได้ใกล้ชิด เหมือนยกให้เป็นหัวหน้าชนเผ่า บางพวกก็อพยพบ้าง ลงไปทางใต้อีกสายหนึ่ง เป็นสายเปอร์เซีย อิหร่าน ก็กลายเป็นยักษ์ ที่จริงยักษ์คือชาวอารยันที่อพยพไปทางเปอร์เซีย เป็นชนเผ่าที่อพยพมาและมาถึงตรงนั้นก็เลยแยกเพราะขัดใจกันทางนี้ไปเปอร์เซีย ทางนี้ลงมาที่อินเดียเป็นชนเผ่าอารยัน ทางนี้เลยนับถือพระอินทร์เป็นเทวดา จริงๆ ยักษ์เขาไม่ดื่มเหล้า เพราะเสียเพราะเหล้า ยักษ์เมื่อก่อนสายนี้จะไม่กินเหล้า เพราะว่าตอนนั้นเคยเสียเพราะเหล้า จึงไม่ยอมกินเหล้า ตอนนั้นเขาไม่ได้เรียกว่าเหล้า เขาเรียกว่าน้ำจัณฑ์ เขาจึงสั่งห้ามลูกหลานห้ามกินเหล้า ชาวเปอร์เซียรุ่นก่อนๆ เขาห้ามกินเหล้า แต่ตอนหลังเขาเริ่มกินน้ำหวานองุ่นคล้ายๆ กับว่ากลายเป็นไวน์ ตอนหลังพวกยุโรป โรมันไปเอามากิน
ทั้งนี้พระอินทร์ก็ใกล้ชิดกับอารยันเขาเลยนับถือให้ท่านเป็นหัวหน้า พอนานไปกลายเป็นบรรพบุรุษของเรา ก็ยกขึ้นให้กลายเป็นผู้เหนือกว่า นั่นก็คือเทวดา จริงๆ แล้วเทวดาแปลว่าผู้เหนือกว่า เทวดาเรายังนับถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ เทพจะต่างกัน เทวดายังเป็นสายเดียวกับมนุษย์ มนุษย์ที่เหนือกว่าก็จะเป็นเทวดา มนุษย์ที่ต่ำกว่าเขาก็เรียกว่าปีศาจ ใน ๖ ภูมิเขาก็จะมีเทวดาแต่ไม่มีเทพ เทพเขาจะเหนือขึ้นไป ใน ๖ ภูมินี้ยังเป็นเชื้อมนุษย์อยู่
สายพุทธศาสนาจะไม่นับถือเทวดา และจัดว่าเป็นอเทวนิยม ค่ือไม่มีการนับถือเทวดา แต่โบราณกาลก่อนจะเกิดศาสนาพุทธเขายังถือว่าเทวดาเป็นบรรพบุรุษ ฉะนั้นเมื่อนำมาผสมกับสมัยโบราณจึงมีการบอกว่า พระอินทร์ลงมาช่วย ทำให้เกิด อินทร์สร้าง อินทร์แปลง อินทร์สาน คือมีพระอินทร์เกี่ยวข้อง เพราะพระอินทร์ใกล้ชิดกับมนุษย์ แสดงว่าเป็นมนุษย์พิเศษ บรรพบุรุษของเราแต่เป็นบรรพบุรุษที่พิเศษถึงมีความผูกพันเกี่ยวข้อง
พอพระอินทร์เป็นศาสนาเก่า นานเข้าบางพวกก็บอกว่าไม่ค่อยจะดีละ ก็นำมาแต่งเรื่องเยอะแยะไปหมด เป็นท้าวแสนปม ทำให้ฤษีสาปมีตาพันตา ตอนนี้พระอินทร์ก็เริ่มเสื่อมถอย และเริ่มเผยแพร่มาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพระอินทร์ที่ประเทศอินเดียแทบจะไม่มีใครนับถือ เป็นเทวดาที่ถูกไล่ ถูกต้อนเดือดร้อน และตัวเองก็ชอบทำอะไรเสียๆ หายๆ อยู่เรื่อย กลายเป็นคนไม่ค่อยดี มีปัญหากับยักษ์อยู่เรื่อย ต้องคอยหามหาเทพมาช่วยอยู่เรื่อย
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เทวดาเล่นดนตรี
เทวดาเล่นดนตรี ดีด สี ตี เป่า เป็นปริศนาธรรมสอนเราได้ยังไง
ในครอบครัวต้องมีการทะเลาะกัน
เขาตีเรา เราก็เลี่ยง เขากำลังยั้วะเรา เราก็หลีกเลี่ยงเขาก่อน ถ้าเราทู่ซี้เอาหัวไปรับก็จะเจ็บอยู่เรื่อย
ชีวิตในครอบครัวของเราจะให้เหมือนกับที่ท่านเล่นดนตรี จะต้องทำอย่างไร
ทำไมเทวดาท่านถึงต้องเล่นดนตรีแตกต่างกัน แต่ละอย่างไม่เหมือนกัน ถามว่า ดีดพิณ เป็นดนตรี สีซอ เป็นดนตรีมั้ย ตีกลอง เป็นดนตรีมั้ย เป่า เป็นดนตรีมั้ย รูปแตกต่างกัน แต่ก็คือดนตรี
บางครั้งถ้าเราถือว่าชนะกับแพ้ ถือว่าตรงนี้ถูก ตรงนี้ผิดตลอดไม่ได้ ไม่ต่างกัน มันก็คือดนตรี เราต้องยอมรับ
สมมติว่า เทวดาองค์นี้ถือว่าท่านเป่าขลุ่ย แล้วไม่ยอมรับเทวดาทั้ง ๕ องค์นี้ แล้วจะเป็นยังไงจะเกิดอะไรขึ้น เสียงก็ย่อมไม่ไพเราะ เพราะว่าจะได้ยินแต่เสียงขลุ่ยอย่างเดียว
ถ้าเทวดาแต่ละองค์ยอมรับ เทวดาทั้ง ๖ องค์ ก็จะเป็นหนึ่งเดียว ก็จะเกิดสัปปายะ
เหมือนกับในครอบครัวจะต้องยอมรับ ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่มีทาง เช่น เรานอนกลางคืน แล้วคู่นอนเรานอนกรนแล้วเราไม่ยอมรับ ตีนถีบ ก็จะเกิดปัญหาขึ้นได้ ก็จะยุ่ง ฉะนั้น การอยู่กันเป็นครอบครัวเราต้องยอมรับ ถ้าไม่ยอมรับซึ่งกันและกันจะเป็นวงดนตรีได้หรือไม่ ก็ไม่ได้
เราจะเล่นดนตรียังไงให้ไพเราะ เหมือนกับชีวิตของเราจะอยู่อย่างไรให้ดี เราต้องอยู่อย่างสัปปายะ
สมดุลเป็นส่วนๆ สับปายะเป็นส่วนรวม
สัปปายะ คือ สภาวะที่ถูกต้องในธรรมนั้นๆ และพร้อมที่จะเกิดขึ้น มันไม่ใช่ทุกช่อง แต่ทุกช่องอยู่ในนั้น ถึงพร้อมแห่งสภาวะธรรมนั้นๆ จะบรรลุ ใช้งานได้ แต่ยังไม่ถึงน่าน อาจจะเดินทางอยู่