ชาวจอมทองปลื้ม “บิ๊กตู่” ทำงานไวโดนใจ 10 มาตรการช่วยเหลือ
https://www.banmuang.co.th/news/politic/274321
'สุพัฒนพงษ์' นำทีมเศรษฐกิจแจงมาตรการราย 3 เดือน ช่วยบรรเทาภาระประชาชน
24 มี.ค.2565 -ทำเนียบรัฐบาล นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เป็นประธานการแถลงข่าวมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์ขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย พร้อมด้วย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักานเศรษฐกิจการคลัง
นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้แถลง 10 มาตรการ วันนี้จะเป็นแจงรายละเอียด มาตรการราย 3 เดือน และคิดว่าในอีก 3 เดือน จะเกิดความชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ มาตรการระยะสั้น 3 เดือน จะประคับประคองประชาชน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงกรกฎาคม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยต้องรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศไว้ ยามวิกฤติประเทศจะต้องมีความเข้มแข็งทางการเงิน
นายอาคม กล่าวว่าสิ่งที่พยุงรายได้ของปชช.ในประเทศ คือภาคเกษตรและการค้าชายแดน ซึ่งยังไม่มีปัญหา คาดว่าปี2565 รายได้จะมาจากการส่งออก และแรงขับเคลื่อนจากภาครัฐ การใช้จ่ายงบประมาณปี2565 กับการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของรัฐวิสหกิจไม่ได้หยุดชะงัก แต่ยอมรับว่าจีดีพีของประเทศนั้นมาจากปริมาณและราคา ซึ่งหากดูในเรื่องปริมาณนั้นไม่มีปัญหาแต่ราคาอาจมีการปรับตัวสูงขึ้น ในส่วนของอาหารและพลังงานซึ่งมีผลกระทบมาจากต่างประเทศ ขณะที่เสถียรภาพทางการคลัง โดยตัวเลขล่าสุดใน 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ เงินคงคลังอยู่ที่ 400,000 ล้าน ที่ลดลงไปบ้างแต่ในเกณฑ์ที่กำหนด สภาพคล่องอยู่ที่ 400,000 ถึง 500,000 ล้านบาท ซึ่งมีความเพียงพอมีความมั่นคงมีเสถียรภาพ
นายอาคม กล่าวว่า หากดูอัตราเงินเฟ้อ จะสังเกตได้ว่ามีการกระโดดขึ้นมาในช่วงเดือนมกราคม 3% และกุมภาพันธ์ 5% พลังงานและอาหารสด จะเพิ่มขึ้นมาเพียง 0.5 % ในเดือนมกราคมและ 0.8% ในเดือนกุมภาพันธ์ หรือจะต้องมีการประเมินติดตามอย่างใกล้ชิดและระยะ 3 เดือน ประเด็นสำคัญคือต้องมุ่งเป้าไปในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบได้รับความเดือดร้อน ขณะเงินสำรองระหว่างประเทศ มีความเข้มแข็ง โดยข้อมูลล่าสุดเงินสำรองอยู่ที่ 245,000 ดอลลาร์
นายอาคม กล่าวว่า เสถียรภาพทางการเงินมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งต้องดูในเรื่องของคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะมีการประชุมช่วงปลายเดือนนี้ แต่สภาพคล่องในส่วนของภาคเอกชนและระบบธนาคารพาณิชย์ จะมีสภาพคล่องอยู่ที่ 2.5 ถึง 3 ล้านล้านบาทในระบบ การพิจารณาดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยโดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อ ที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุน ต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบอย่างมาก และในเรื่องการบริหารรายได้และรายจ่ายในปี 2565 รัฐบาลขาดดุล 700,000 ล้านบาท 5เดือนแรก บวกมาเล็กน้อย แต่ต้องดูในเดือนเมษายนและพฤษภาคมซึ่งจะสร้างความมั่นใจมากขึ้นจากการจัดเก็บอัตราภาษี ว่ามีรายได้เป็นไปตามเป้าหมาย 2.4 ล้านล้านบาทหรือไม่ การประมาณการรายได้ปี 2565 น่าจะเป็นไปตามเป้า
ขณะนายสุชาติ กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือจากสถานการณ์ยูเครน – รัสเซีย โดยการลดเงินสมทบทั้งในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันทุกมาตราเป็นระยะเวลา 3 เดือน ได้แก่ ผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 11.2 ล้านคน จะได้ลดเงินสมทบจากร้อยละ 5 เหลือ ร้อยละ 1 ยกตัวอย่างหากคิดบนฐานเงินเดือน 15,000 บาท จากเดิมต้องส่งเงินสบทบ 750 บาท จะลดลงเหลือส่งเงินสมทบ 150 บาท ทำให้สามารถลดภาระค่าครองชีพ ไปได้ประมาณ 600 บาทต่อคนต่อเดือน ผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 1.9 ล้านคน จะได้ลดเงินสมทบจากร้อยละ 9 เหลือร้อยละ 1.9 คือจากเดิมที่ต้องส่งเงินสมทบ 432 บาท จะลดลงเหลือส่งเงินสมทบ 91 บาท หรือลดภาระค่าครองชีพไปได้ประมาณ 341 บาทต่อคนต่อเดือน และผู้ประกันตนมาตรา 40 จำนวน 10.6 ล้านคน จะได้ลดเงินสมทบในแต่ละทางเลือกลงร้อยละ 40 คือ ทางเลือกที่ 1 ลดการส่งเงินทบจากเดิม 70 บาท ลดลงเหลือ 42 บาททางเลือกที่ 2 ลดการส่งเงินทบจากเดิม100 บาท ลดลงเหลือ 60 บาท ทางเลือกที่ 3 ลดการส่งเงินทบจากเดิม 300 บาท ลดลงเหลือ 180 บาท หรือลดภาระค่าครองชีพไปได้ประมาณ 84 – 360 บาทต่อคนต่อเดือน
นอกจากนี้ นายจ้างจำนวน 5 แสนราย จะได้ลดเงินสมทบจากร้อยละ 5 เหลือ ร้อยละ 1 ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิต ยกตัวอย่างเช่น จ้างจ่ายค่าจ้าง 15,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน มีลูกจ้าง 1,000 คน จะสามารถลดต้นทุน ต่อเดือนลง 600,000 บาท รวม 3 เดือนเป็นเงิน 1,800,000 บาท มาตรการดังกล่าวจะเกิดประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนประมาณ 24.2 ล้านคน เป็นเม็ดเงินมูลค่าประมาณ 34,540 ล้านบาท
ความคืบหน้าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กระทรวงแรงงานเร่งรัดติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด ซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำของไทยหากเทียบกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญในอาเซียน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ในระดับที่สูงกว่า การขึ้นค่าแรงแต่ละครั้งนั้น มีคณะกรรมการค่าจ้างที่เป็นคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และฝ่ายรัฐบาล ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ.2551 ตามเกณฑ์การพิจารณาเกี่ยวกับ ดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและหลักการของ ILO ในเดือน เม.ย. - มิ.ย. 65 อยู่ในขั้นตอนที่สำนักงานคณะกรรมการค่าจ้างและสำนักงานแรงงานจังหวัดสำรวจและประมวลผลค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นข้อมูลประกอบพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดและกรุงเทพฯ เดือน ก.ค.65 คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดและกรุงเทพฯ จะจัดประชุมพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และส่งผลประชุมให้คณะกรรมการค่าจ้าง ก่อนที่จะให้คณะกรรมการค่าจ้างพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นจัดการประชุมพิจารณาในเดือน ส.ค.-ก.ย.65 โดยในกรณีมีมติปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กระทรวงแรงงานจะลงนามเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
โครงการ ม.33 เรารักรักกันเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบ 29 จังหวัด ลดเงินสมทบ จำนวน 5 ครั้ง รัฐบาลยังมีมาตรการการรักษาระดับการจ้างตามโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs ทำให้ในปี 2564 ตลาดการจ้างงานพลิกกลับเป็นบวก มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นถึง 170,000 ตำแหน่งอีกทั้งรัฐบาลมี Factory Sandbox เพื่อให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ ทำให้ในปี 64 การส่งออกสูงสุดในรอบ 11 ปี หรือประมาณ 8.7 ล้านล้านบาท และด้วยความห่วงใย ท่านนายกฯ ได้อนุมัติยอดวัคซีนโครงการวัคซีน ม.33 สำหรับผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะ รวมถึงให้กระทรวงดูแลผู้ใช้แรงงานที่ป่วยโควิด-19 จนนำไปสู่การจัดตั้ง Hospitel เพื่อรองรับการรักษาแก่ผู้ใช้แรงงาน
“การช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานและประชาชนเพื่อลดผลกระทบจากกรณียูเครน-รัสเซีย ที่กระทรวงได้กำหนดขึ้นมานั้น เป็นมาตรการระยะสั้นและระยะกลาง เป็นความห่วงใยจากรัฐบาลและกระทรวงแรงงาน เพื่อให้ทุกคนผ่านพ้นห้วงวิกฤตซ้อนวิกฤตก้าวข้ามสถานการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน”
ด้าน นายกุลิศ กล่าวถึงมาตรการลดค่าครองชีพด้านพลังงานว่า การช่วยเหลือด้านพลังงานมีด้วยกันหลายมาตรการ หนึ่งในนั้นคือการตรึงราคาน้ำมันดีเซล ไว้ที่ 30 บาท/ลิตร ในเดือนเม.ย.2565 จากนั้นในเดือนพ.ค.-มิ.ย.2565 รัฐจะช่วยจ่ายราคาส่วนที่เพิ่ม 50% หรือช่วยคนละครึ่ง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยเฉพาะภาคขนส่ง
“การช่วยเหลือน้ำมันดีเซลตรึงราคาไว้ 30 บาทต่อลิตรถึงเดือนเม.ย.นี้ และ 1 พ.ค.เป็นต้นไป จะเพิ่มคนละครึ่ง คือประชาชนออกครึ่ง และรัฐออกให้ครึ่งหนึ่งโดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง”
มาตรการลดค่าครองชีพด้านพลังงาน ที่ภาครัฐช่วยเหลือ รวมประมาณ 43,602 - 45,102 ล้านบาท ดังนี้
1.ช่วยเหลือ ผู้ใช้น้ำมันดีเซล ตรึงราคา 30 บาท/ลิตร ใน เม.ย. 2565 /ส่วนพ.ค. และ มิ.ย. 65 รัฐช่วยราคาส่วนที่เพิ่ม 50%วงเงินที่ใช้ เม.ย. 16,800 ล้านบาท พ.ค. 8,340 ล้านบาท มิ.ย. 8,000 ล้านบาท(อัตราชดเชย 8 บาทต่อลิตร ณ ราคาน้ำมันดีเซล 130 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล) แหล่งเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลดภาษีสรรพสามิต เงินอุดหนุน
2.ผู้ใช้ก๊าชหุงต้ม กำหนดราคาเม.ย. 333 บาท/ถัง 15 กก. เดือนพ.ค. 348 บาท และ มิ.ย. 363 บาท ระยะ 3 เดือน วงเงินที่ใช้ เม.ย. 2,400 ล้านบาท พ.ค. 2,130 ล้านบาท มิ.ย. 1,850 ล้านบาท แหล่งเงิน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
นายกุลิศ กล่าวว่า 3.ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (3.6 ล้านคน) เพิ่มส่วนลดซื้อก๊าชหุงต้มอีก 55 บาท/ 3 เดือน รวมเป็น 100 บาท / 3 เดือน ระยะ 3 เดือน วงเงิน200 ล้านบาท แหล่งเงิน งบกลาง สำนักงบประมาณ
4.ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ(5,500 คน/เดือน หรือ 16,500 คนส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้ม เดือนละ 100 บาท ระยะ 3 เดือน วงเงิน 1.65 ล้านบาท แหล่งเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
5.ผู้ขับขี่มอเตอร์ไชค์รับจ้าง (ประมาณการ 157,000 คน) ส่วนลดค่าน้ำมันแก๊สโชฮอล์ 5 บาท/ลิตร จำนวน 50 ลิตร/เดือน ระยะ 3 เดือน วงเงิน 120 ล้านบาท แหล่งเงิน งบกลาง สำนักงบประมาณ
6.ผู้ใช้ก๊าช NGV ทั่วไป (318,000 ราย) คงขายปลีก NGV ที่ 15.59 บาท/กิโลกรัม ระยะ 3 เดือน และผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่ลงทะเบียนสำหรับผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่ลงทะเบียนภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน(17,460 ราย) โดยยังคงใช้หลักเกณฑ์เดิมระยะ 3 เดือน วงเงิน 1,761 ล้านบาท แหล่งเงิน บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน)
7.ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ลดค่า FT (ใช้ไฟฟ้าม.ค.-เม.ย. 65) ระยะ 4 เดือน วงเงิน 2,000-3,500 ล้านบาท แหล่งเงิน งบกลางสำนักงบประมาณ
ขอบคุณ👉
https://www.thaipost.net/hi-light/111093/
"สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม
หนึ่งคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย"
การช่วยเหลือยามนี้ต้องถูกใจคนยากลำบากแน่ๆค่ะ
มาตรการช่วยเหลือเยียว ทำไปในยามวิกฤต ประเทศต้องมีความเข้มแข็งทางการเงิน รัฐบาลจึงใช้เงินอย่างระมัดระวัง ประชาชนต้องเห็นคุณค่าของเงิน
ช่วยกันผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้นะคะ....
💜มาลาริน/10มาตรการราย 3 เดือน ช่วยบรรเทาภาระประชาชน ต้องถูกใจประชาชนบ้างล่ะค่ะ...ชาวจอมทองปลื้ม “บิ๊กตู่” ทำงานไวโดนใจ
https://www.banmuang.co.th/news/politic/274321
'สุพัฒนพงษ์' นำทีมเศรษฐกิจแจงมาตรการราย 3 เดือน ช่วยบรรเทาภาระประชาชน
24 มี.ค.2565 -ทำเนียบรัฐบาล นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เป็นประธานการแถลงข่าวมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์ขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย พร้อมด้วย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักานเศรษฐกิจการคลัง
นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้แถลง 10 มาตรการ วันนี้จะเป็นแจงรายละเอียด มาตรการราย 3 เดือน และคิดว่าในอีก 3 เดือน จะเกิดความชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ มาตรการระยะสั้น 3 เดือน จะประคับประคองประชาชน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงกรกฎาคม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยต้องรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศไว้ ยามวิกฤติประเทศจะต้องมีความเข้มแข็งทางการเงิน
นายอาคม กล่าวว่าสิ่งที่พยุงรายได้ของปชช.ในประเทศ คือภาคเกษตรและการค้าชายแดน ซึ่งยังไม่มีปัญหา คาดว่าปี2565 รายได้จะมาจากการส่งออก และแรงขับเคลื่อนจากภาครัฐ การใช้จ่ายงบประมาณปี2565 กับการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของรัฐวิสหกิจไม่ได้หยุดชะงัก แต่ยอมรับว่าจีดีพีของประเทศนั้นมาจากปริมาณและราคา ซึ่งหากดูในเรื่องปริมาณนั้นไม่มีปัญหาแต่ราคาอาจมีการปรับตัวสูงขึ้น ในส่วนของอาหารและพลังงานซึ่งมีผลกระทบมาจากต่างประเทศ ขณะที่เสถียรภาพทางการคลัง โดยตัวเลขล่าสุดใน 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ เงินคงคลังอยู่ที่ 400,000 ล้าน ที่ลดลงไปบ้างแต่ในเกณฑ์ที่กำหนด สภาพคล่องอยู่ที่ 400,000 ถึง 500,000 ล้านบาท ซึ่งมีความเพียงพอมีความมั่นคงมีเสถียรภาพ
นายอาคม กล่าวว่า หากดูอัตราเงินเฟ้อ จะสังเกตได้ว่ามีการกระโดดขึ้นมาในช่วงเดือนมกราคม 3% และกุมภาพันธ์ 5% พลังงานและอาหารสด จะเพิ่มขึ้นมาเพียง 0.5 % ในเดือนมกราคมและ 0.8% ในเดือนกุมภาพันธ์ หรือจะต้องมีการประเมินติดตามอย่างใกล้ชิดและระยะ 3 เดือน ประเด็นสำคัญคือต้องมุ่งเป้าไปในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบได้รับความเดือดร้อน ขณะเงินสำรองระหว่างประเทศ มีความเข้มแข็ง โดยข้อมูลล่าสุดเงินสำรองอยู่ที่ 245,000 ดอลลาร์
นายอาคม กล่าวว่า เสถียรภาพทางการเงินมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งต้องดูในเรื่องของคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะมีการประชุมช่วงปลายเดือนนี้ แต่สภาพคล่องในส่วนของภาคเอกชนและระบบธนาคารพาณิชย์ จะมีสภาพคล่องอยู่ที่ 2.5 ถึง 3 ล้านล้านบาทในระบบ การพิจารณาดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยโดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อ ที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุน ต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบอย่างมาก และในเรื่องการบริหารรายได้และรายจ่ายในปี 2565 รัฐบาลขาดดุล 700,000 ล้านบาท 5เดือนแรก บวกมาเล็กน้อย แต่ต้องดูในเดือนเมษายนและพฤษภาคมซึ่งจะสร้างความมั่นใจมากขึ้นจากการจัดเก็บอัตราภาษี ว่ามีรายได้เป็นไปตามเป้าหมาย 2.4 ล้านล้านบาทหรือไม่ การประมาณการรายได้ปี 2565 น่าจะเป็นไปตามเป้า
ขณะนายสุชาติ กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือจากสถานการณ์ยูเครน – รัสเซีย โดยการลดเงินสมทบทั้งในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันทุกมาตราเป็นระยะเวลา 3 เดือน ได้แก่ ผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 11.2 ล้านคน จะได้ลดเงินสมทบจากร้อยละ 5 เหลือ ร้อยละ 1 ยกตัวอย่างหากคิดบนฐานเงินเดือน 15,000 บาท จากเดิมต้องส่งเงินสบทบ 750 บาท จะลดลงเหลือส่งเงินสมทบ 150 บาท ทำให้สามารถลดภาระค่าครองชีพ ไปได้ประมาณ 600 บาทต่อคนต่อเดือน ผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 1.9 ล้านคน จะได้ลดเงินสมทบจากร้อยละ 9 เหลือร้อยละ 1.9 คือจากเดิมที่ต้องส่งเงินสมทบ 432 บาท จะลดลงเหลือส่งเงินสมทบ 91 บาท หรือลดภาระค่าครองชีพไปได้ประมาณ 341 บาทต่อคนต่อเดือน และผู้ประกันตนมาตรา 40 จำนวน 10.6 ล้านคน จะได้ลดเงินสมทบในแต่ละทางเลือกลงร้อยละ 40 คือ ทางเลือกที่ 1 ลดการส่งเงินทบจากเดิม 70 บาท ลดลงเหลือ 42 บาททางเลือกที่ 2 ลดการส่งเงินทบจากเดิม100 บาท ลดลงเหลือ 60 บาท ทางเลือกที่ 3 ลดการส่งเงินทบจากเดิม 300 บาท ลดลงเหลือ 180 บาท หรือลดภาระค่าครองชีพไปได้ประมาณ 84 – 360 บาทต่อคนต่อเดือน
นอกจากนี้ นายจ้างจำนวน 5 แสนราย จะได้ลดเงินสมทบจากร้อยละ 5 เหลือ ร้อยละ 1 ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิต ยกตัวอย่างเช่น จ้างจ่ายค่าจ้าง 15,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน มีลูกจ้าง 1,000 คน จะสามารถลดต้นทุน ต่อเดือนลง 600,000 บาท รวม 3 เดือนเป็นเงิน 1,800,000 บาท มาตรการดังกล่าวจะเกิดประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนประมาณ 24.2 ล้านคน เป็นเม็ดเงินมูลค่าประมาณ 34,540 ล้านบาท
ความคืบหน้าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กระทรวงแรงงานเร่งรัดติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด ซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำของไทยหากเทียบกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญในอาเซียน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ในระดับที่สูงกว่า การขึ้นค่าแรงแต่ละครั้งนั้น มีคณะกรรมการค่าจ้างที่เป็นคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และฝ่ายรัฐบาล ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ.2551 ตามเกณฑ์การพิจารณาเกี่ยวกับ ดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและหลักการของ ILO ในเดือน เม.ย. - มิ.ย. 65 อยู่ในขั้นตอนที่สำนักงานคณะกรรมการค่าจ้างและสำนักงานแรงงานจังหวัดสำรวจและประมวลผลค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นข้อมูลประกอบพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดและกรุงเทพฯ เดือน ก.ค.65 คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดและกรุงเทพฯ จะจัดประชุมพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และส่งผลประชุมให้คณะกรรมการค่าจ้าง ก่อนที่จะให้คณะกรรมการค่าจ้างพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นจัดการประชุมพิจารณาในเดือน ส.ค.-ก.ย.65 โดยในกรณีมีมติปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กระทรวงแรงงานจะลงนามเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
โครงการ ม.33 เรารักรักกันเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบ 29 จังหวัด ลดเงินสมทบ จำนวน 5 ครั้ง รัฐบาลยังมีมาตรการการรักษาระดับการจ้างตามโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs ทำให้ในปี 2564 ตลาดการจ้างงานพลิกกลับเป็นบวก มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นถึง 170,000 ตำแหน่งอีกทั้งรัฐบาลมี Factory Sandbox เพื่อให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ ทำให้ในปี 64 การส่งออกสูงสุดในรอบ 11 ปี หรือประมาณ 8.7 ล้านล้านบาท และด้วยความห่วงใย ท่านนายกฯ ได้อนุมัติยอดวัคซีนโครงการวัคซีน ม.33 สำหรับผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะ รวมถึงให้กระทรวงดูแลผู้ใช้แรงงานที่ป่วยโควิด-19 จนนำไปสู่การจัดตั้ง Hospitel เพื่อรองรับการรักษาแก่ผู้ใช้แรงงาน
“การช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานและประชาชนเพื่อลดผลกระทบจากกรณียูเครน-รัสเซีย ที่กระทรวงได้กำหนดขึ้นมานั้น เป็นมาตรการระยะสั้นและระยะกลาง เป็นความห่วงใยจากรัฐบาลและกระทรวงแรงงาน เพื่อให้ทุกคนผ่านพ้นห้วงวิกฤตซ้อนวิกฤตก้าวข้ามสถานการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน”
ด้าน นายกุลิศ กล่าวถึงมาตรการลดค่าครองชีพด้านพลังงานว่า การช่วยเหลือด้านพลังงานมีด้วยกันหลายมาตรการ หนึ่งในนั้นคือการตรึงราคาน้ำมันดีเซล ไว้ที่ 30 บาท/ลิตร ในเดือนเม.ย.2565 จากนั้นในเดือนพ.ค.-มิ.ย.2565 รัฐจะช่วยจ่ายราคาส่วนที่เพิ่ม 50% หรือช่วยคนละครึ่ง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยเฉพาะภาคขนส่ง
“การช่วยเหลือน้ำมันดีเซลตรึงราคาไว้ 30 บาทต่อลิตรถึงเดือนเม.ย.นี้ และ 1 พ.ค.เป็นต้นไป จะเพิ่มคนละครึ่ง คือประชาชนออกครึ่ง และรัฐออกให้ครึ่งหนึ่งโดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง”
มาตรการลดค่าครองชีพด้านพลังงาน ที่ภาครัฐช่วยเหลือ รวมประมาณ 43,602 - 45,102 ล้านบาท ดังนี้
1.ช่วยเหลือ ผู้ใช้น้ำมันดีเซล ตรึงราคา 30 บาท/ลิตร ใน เม.ย. 2565 /ส่วนพ.ค. และ มิ.ย. 65 รัฐช่วยราคาส่วนที่เพิ่ม 50%วงเงินที่ใช้ เม.ย. 16,800 ล้านบาท พ.ค. 8,340 ล้านบาท มิ.ย. 8,000 ล้านบาท(อัตราชดเชย 8 บาทต่อลิตร ณ ราคาน้ำมันดีเซล 130 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล) แหล่งเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลดภาษีสรรพสามิต เงินอุดหนุน
2.ผู้ใช้ก๊าชหุงต้ม กำหนดราคาเม.ย. 333 บาท/ถัง 15 กก. เดือนพ.ค. 348 บาท และ มิ.ย. 363 บาท ระยะ 3 เดือน วงเงินที่ใช้ เม.ย. 2,400 ล้านบาท พ.ค. 2,130 ล้านบาท มิ.ย. 1,850 ล้านบาท แหล่งเงิน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
นายกุลิศ กล่าวว่า 3.ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (3.6 ล้านคน) เพิ่มส่วนลดซื้อก๊าชหุงต้มอีก 55 บาท/ 3 เดือน รวมเป็น 100 บาท / 3 เดือน ระยะ 3 เดือน วงเงิน200 ล้านบาท แหล่งเงิน งบกลาง สำนักงบประมาณ
4.ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ(5,500 คน/เดือน หรือ 16,500 คนส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้ม เดือนละ 100 บาท ระยะ 3 เดือน วงเงิน 1.65 ล้านบาท แหล่งเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
5.ผู้ขับขี่มอเตอร์ไชค์รับจ้าง (ประมาณการ 157,000 คน) ส่วนลดค่าน้ำมันแก๊สโชฮอล์ 5 บาท/ลิตร จำนวน 50 ลิตร/เดือน ระยะ 3 เดือน วงเงิน 120 ล้านบาท แหล่งเงิน งบกลาง สำนักงบประมาณ
6.ผู้ใช้ก๊าช NGV ทั่วไป (318,000 ราย) คงขายปลีก NGV ที่ 15.59 บาท/กิโลกรัม ระยะ 3 เดือน และผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่ลงทะเบียนสำหรับผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่ลงทะเบียนภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน(17,460 ราย) โดยยังคงใช้หลักเกณฑ์เดิมระยะ 3 เดือน วงเงิน 1,761 ล้านบาท แหล่งเงิน บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน)
7.ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ลดค่า FT (ใช้ไฟฟ้าม.ค.-เม.ย. 65) ระยะ 4 เดือน วงเงิน 2,000-3,500 ล้านบาท แหล่งเงิน งบกลางสำนักงบประมาณ
ขอบคุณ👉https://www.thaipost.net/hi-light/111093/
"สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม
หนึ่งคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย"
การช่วยเหลือยามนี้ต้องถูกใจคนยากลำบากแน่ๆค่ะ
มาตรการช่วยเหลือเยียว ทำไปในยามวิกฤต ประเทศต้องมีความเข้มแข็งทางการเงิน รัฐบาลจึงใช้เงินอย่างระมัดระวัง ประชาชนต้องเห็นคุณค่าของเงิน
ช่วยกันผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้นะคะ....