ช่วงนี้หางานยากขึ้นมาก ๆ บางคนสมัครไปหลายที่ไม่มีวี่แววว่าบริษัทจะติดต่อกลับมาเลย พอถูกเรียกสัมภาษณ์แต่ก็ดันไม่เคยผ่านสักที หลายครั้งก็คิดว่าเราเก่งไม่พอหรอ? ทำไมถึงสู้คนอื่นไม่ได้? รู้สึกเหนื่อย ท้อ เครียดวนลูปไปเรื่อย ๆ ไม่รู้ว่าชีวิตจะไปต่อยังไง จากที่เคยคิดว่าไม่เป็นไร พอนาน ๆ เข้าก็หมดกำลังใจ
ใครที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ JobThai Tips จะพามารู้จักกับอาการเหล่านี้ให้มากขึ้น รวมถึงวิธีฮีลตัวเองให้กลับมาเป็นคนเดิมที่มีกำลังใจและพร้อมสู้อีกครั้งกัน
ทำไมเราถึงมีความรู้สึกเหนื่อย ท้อ เครียด?
มนุษย์เราส่วนใหญ่มักจะมีความรู้สึกเหนื่อย ท้อ หรือเครียด เหตุผลส่วนหนึ่งอาจมาจากประสบการณ์ในอดีตที่เราเคยเจอเรื่องไม่ดีมาจนทำให้รู้สึกกลัวไปก่อน หรือเจอเรื่องเลวร้ายบ่อย ๆ จนกลัวว่ามันจะเกิดขึ้นกับเราอีกครั้ง เช่น เราสมัครงานที่ไหนก็ตกรอบสัมภาษณ์ตลอด เราก็จะรู้สึกกลัวไปก่อนแล้วว่าในที่ต่อไปจะเป็นแบบเดิมอีกไหม? หรือบางคนที่ถูกเลี้ยงดูมาแบบระเบียบจัด ถูกสั่งสอนว่าโตมาต้องเป็นแบบนี้ ห้ามทำนั่นทำนี่ จนทำให้รู้สึกกลัวความผิดพลาดไปหมด เช่น เรียนจบมาหลายเดือนแล้วแต่ยังหางานไม่ได้ พวกเขาก็จะกลัวแล้วว่าคนอื่นจะมองยังไง จะถูกตำหนิไหม
ซึ่งความเป็นจริงแล้วความกลัวเหล่านี้มันเป็นเหมือนการที่เราสร้างเรื่องในหัวให้ตัวเองกังวลไปก่อน ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสภาวะที่ไม่จำเป็นเลยในชีวิต เพราะนอกจากจะทำให้เราเครียดง่าย และใช้ชีวิตอย่างไม่มีความสุขแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตที่อาจก่อให้เกิดเป็นภาวะโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย
ดังนั้นมาดูวิธีฮีลตัวเองเมื่อรู้สึกเหนื่อย ท้อ เครียดเพราะหางานไม่ได้กันดีกว่า
8 วิธีฮีลตัวเองเมื่อต้องเจอกับความเครียด
1. หาสิ่งที่กลัวที่สุดของตัวเองให้เจอ และลิสต์วิธีแก้ไขออกมา
อย่างแรกหยิบสมุดหรือกระดาษขึ้นมา เขียนคำถามข้อแรกว่า เรากลัวอะไร? คำถามที่สอง สิ่งที่แย่ที่สุดของความกลัวคืออะไร? และคำถามที่สามคือ มีวิธีการรับมือยังไง? ยกตัวอย่างเช่น
กลัวอะไร?: กลัวหางานทำไม่ได้
สิ่งที่แย่ที่สุดของความกลัว?: พ่อแม่ด่า, อายเพื่อน, ไม่มีรายได้
วิธีรับมือกับความกลัว: ขยันหางานหลายช่องทางมากขึ้น, ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อใส่ในเรซูเม่หรือ Portfolio, ช่วยทำธุรกิจของที่บ้าน
จากนั้นกลับมาวิเคราะห์ทั้งสามข้อใหม่ เราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่แย่ที่สุดของความกลัวที่เราเขียน สุดท้ายแล้วเราก็ยังมีวิธีรับมือได้ ดังนั้นจะคิดมากหรือเครียดกับมันไปก่อนทำไม แต่สิ่งสำคัญของวิธีนี้คือการเขียนออกมาเท่านั้น เพราะถ้าเราเอาแต่คิดในหัว ความคิดจะวนอยู่ในหัวจนคิดไม่ตกไปเรื่อย ๆ คนส่วนมากที่รู้สึกกังวลเป็นเพราะพวกเขาเข้าใจว่าตัวเองควบคุมเรื่องนั้นไม่ได้ แต่การเขียนจะทำให้ทุกอย่างชัดเจน รวมถึงทำให้เราเข้าใจได้ว่าทุกอย่างควบคุมได้เพียงแค่เราต้องเรียบเรียงความคิดและวางแผนสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นระบบและชัดเจน
2. อย่าเพิ่งกลัวอนาคตแต่ให้อยู่กับปัจจุบัน
ชีวิตคนเราก็เหมือนการใส่แว่น VR แม้ตัวจะอยู่ในสถานที่ที่สงบ แต่ภาพหน้าจอสั่งให้เราตื่นเต้น กลัว หรือตกใจกับสิ่งที่เห็นได้ ซึ่งก็เหมือนกับที่เราชอบกลัวอนาคตที่มันยังไม่ได้เกิด เช่น เราทำงานอยู่ในที่ปัจจุบันแต่กลัวจะถูกให้ออกจากงานเพราะโควิด-19 เราเครียด คิดมาก กินไม่ได้นอนไม่หลับ ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบันเราก็ยังไม่ได้ถูกไล่ออกเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นจงคิดว่าความจริงคือวันนี้ ไม่ใช่วันพรุ่งนี้ หรืออีกสองเดือนข้างหน้า อยู่กับปัจจุบันก่อนดีที่สุด
3. “ห้ามความคิด” ไม่ได้ แต่ “หยุดความคิด” ได้
ถ้าเรากำลังตกอยู่ในสถานะว่างงาน แน่นอนว่าเราก็คงห้ามไม่ให้ตัวเองคิดมากไม่ได้ แต่มันก็จะมีวิธีนึงที่สามารถหยุดความคิดได้ นั่นก็คือเมื่อไหร่ก็ตามที่เรากำลังกังวลเรื่องอนาคต ให้เบรกตัวเองด้วยการพูดเสียงดังให้ตัวเองตกใจ ถ้าเรากำลังจมดิ่งกับความคิดเรื่องหางานไม่ได้จนกินไม่ได้นอนไม่หลับ ให้เราเบรกด้วยคำพูด เช่น เอ่ยๆ! เดี๋ยวๆ! หยุด! หรือถามตัวเองว่า คิดแล้วได้อะไร? การทำแบบนี้อาจจะฟังดูไม่น่าช่วยได้ แต่ถ้าได้ลองทำแล้ว มันจะทำให้เรามีสติ ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เราอยู่กับปัจจุบันไหม เป็นวิธีที่ดึงตัวเองให้กลับมาได้
4. ย้ายโฟกัสไปหาสิ่งที่ได้ประโยชน์ และปรับปรุงจุดอ่อน
การย้ายโฟกัสไปเรื่องอื่นแทนที่จะหมกมุ่นอยู่แต่กับความเครียดช่วยได้มากกว่าที่คิด เช่น ถ้าเรากังวลว่าการหางานประจำไม่ได้สักทีทำให้เงินเก็บที่เรามีอยู่เริ่มลดลง และอาจไม่พอใช้ เราก็อาจลองหางานเสริมอื่น ๆ ทำในขณะที่หางานประจำไปด้วย การเครียดไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นหรือช่วยแก้ปัญหาได้ เพราะฉะนั้นย้ายไปทำสิ่งที่มีประโยชน์กับตัวเราดีกว่า รวมถึงอยากให้กลับมามองตัวเองให้ดีว่าเราพลาดตรงไหนแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่น ถ้าเราสมัครไปร้อยที่แต่ไม่มีที่ไหนเรียกเลย เราก็ต้องกลับมาดูที่ตัวเองว่าเป็นเพราะอะไร เราขาดทักษะอะไรไปไหม เราเลือกงานหรือจำกัดวงในการหางานแคบไปรึเปล่า หรือเราตั้งเงินเดือนที่สูงเกินความสามารถไปไหม ลองหาจุดอ่อนหรือที่ตัวเองพลาดแล้วปรับปรุงดูก่อน
5. เสพสิ่งบวกๆ และเข้าหาคนที่มีพลังบวก
ในแต่ละวันคนเราเกิดความคิดในหัวได้เป็นหมื่น ๆ ความคิด และมีหลายคนที่ความคิดส่วนมากเป็นไปในทางลบซะมากกว่าบวก ซึ่งที่เป็นแบบนั้นอาจเป็นเพราะสื่อต่าง ๆ ที่เสพ เช่น ข่าว หนัง ละคร หรือ Social Media ล้วนมีแต่เรื่องราวแง่ลบ ยกตัวอย่างเช่น ข่าวที่นำเสนอสมัยนี้ก็มีแต่ฆ่ากันตาย ละครดัง ๆ ก็ต้องมีตบตีแย่งผู้ชายกันทั้งนั้น หรือ Social Media เองก็มีแต่ข่าวกระแสลบที่ได้รับความสนใจ ความคิดลบ ๆ ก็เลยไหลเข้ามาไม่หยุด กลายเป็นว่าเพิ่มเรื่องไม่ดีใส่หัวตัวเองเข้ามาอีก ดังนั้นลองแก้ด้วยการหาเสพสิ่งบวก ๆ ให้ชีวิตบ้าง
รวมถึงคนส่วนใหญ่พอเหนื่อย ท้อ เครียดกับเรื่องนึงก็จะชอบหาพวกที่เป็นแบบตัวเอง ซึ่งก็จะมีประเภทที่คุยกันแล้วช่วยกันหาทางออก ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ก็โอเค แต่มันก็จะมีคนอีกประเภทนึงที่ทำให้เรารู้สึกแย่เข้าไปใหญ่ เป็นประเภทเอาแต่ชี้ให้เรากลัวโดยไม่มีคำแนะนำหรือทางออกให้ คนประเภทนี้เราควรที่จะออกห่าง เพราะแน่นอนว่านอกจากปัญหาจะเเก้ไม่ได้แล้ว เราจะยิ่งดิ่งลงไปกับเขาด้วย หรือเราอาจจะลองไปคุยกับคนที่ตรงข้ามกับเราเลยก็ได้ คนแบบที่กล้าลงมือทำ ไม่กลัวหรือย้อมแพ้อะไรง่าย ๆ ยิ่งถ้าไปคุยกับคนที่ประสบความสำเร็จแล้ว และเคยผ่านจุดที่แย่มาก่อน พวกเขาจะให้คำแนะนำได้ดี ไม่แน่ว่าคำแนะนำเหล่านั้นอาจจะทำให้เราเปลี่ยน Mindset ตัวเองไปเลยก็ได้
6. อย่าเหมารวมว่าความเชื่อของเราทุกอย่างคือความจริง
หลายคนชอบเข้าใจว่าความเชื่อของตัวเองคือความจริง ด้วยข้ออ้างว่าเห็นคนอื่นก็เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งที่ความจริงแล้วคนที่เราอ้างถึงอาจจะเป็นส่วนน้อยของประชากรบนโลกนี้ด้วยซ้ำ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือเอาความเชื่อของเราทั้งหมดออกมาดูว่ามีอะไรบ้าง เช่น เราเป็นเด็กจบใหม่ที่เชื่อว่าทุกบริษัทไม่อยากได้คนไม่มีประสบการณ์ ซึ่งความเป็นจริงมันก็มีบริษัทที่คิดแบบนั้น รวมถึงบริษัทที่ไม่ได้คิดแบบนั้น ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนความเชื่อของตัวเองว่ามันไม่ใช่ความจริงทั้งหมดเสมอไป เพราะก่อนที่คนทำงานที่มีประสบการณ์หลายปีแบบทุกวันนี้ พวกเขาก็ผ่านช่วงเวลาที่ไม่มีประสบการณ์กันมาทั้งนั้น เพราะฉะนั้นอย่าให้ความเชื่อผิด ๆ ทำให้เราไม่เปิดรับความจริงในแง่อื่นเลย
7. ตื่นและเข้านอนให้ตรงเวลาเพื่อลดความเครียด
ถึงเราจะว่างงานหรือมีเวลาว่างทั้งวัน ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะทำให้เราคิดว่าตัวเองสามารถเข้านอนดึกหรือตื่นสายได้ เพราะการได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ในทุก ๆ วัน จะทำให้สมองของเราโปรดโปร่ง สามารถควบคุมอารมรณ์ได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันไม่ให้เรามีความรู้สึกตำหนิตัวเองที่อาจจะก่อให้เกิดเป็นภาวะโรคซึมเศร้า รวมถึงการกินและออกกำลังกายให้เป็นประจำก็ช่วยได้เช่นกัน การที่เราไม่ปล่อยตัวไปตามเวลา ยังคงมีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิต มีการวางแผนว่าจะทำอะไรในแต่ละวัน ก็จะยิ่งช่วยให้เราใช้เวลาว่างงานให้เกิดประโยชน์มากขึ้นด้วย
8. ปล่อยวาง แต่ไม่ใช่ ปล่อยปะละเลย
คำว่า “ปล่อยวาง” กับ “ปล่อยปะละเลย” ไม่เหมือนกัน ปล่อยปะละเลยคือ การยอมแพ้ ไม่สนใจที่จะทำสิ่งดี ๆ เพื่อพัฒนาปรับปรุงตัวเอง หรือไม่เอาอะไรแล้วในชีวิต ปล่อยให้ทุกอย่างไหลไปตามเวรตามกรรม แต่คำว่าปล่อยวาง คือการคิดว่าช่างมัน หรือคิดไปก็เท่านั้นไม่ได้เกิดประโยชน์ ซึ่งคนเราไม่สามารถปล่อยวางได้ทุกเรื่อง แต่เรื่องที่สามารถปล่อยวางได้ก็คือเรื่องที่เราควบคุมหรือแก้มันไม่ได้ เช่น เราหางานประจำไม่ได้ทั้งที่ก็ทำทุกวิถีทางแล้ว แทนที่เราจะมานั่งเครียดคิดไม่ตก เราก็ปล่อยวางเรื่องหางานประจำไปเลย อาจจะยังหางานประจำไปเรื่อย ๆ แต่ไม่กดดันตัวเองมาเท่าเดิม แล้วหางานอย่างอื่นทำไปด้วย เช่น ลองหาของขายออนไลน์ หรือทำงานสัญญาจ้างหรืองานพาร์ทไทม์ไปก่อน เรื่องการหางานมันคือสิ่งที่เราควบคุมทั้งหมดไม่ได้ เพราะแต่ละบริษัทเขาก็จะมีเกณฑ์การเลือกที่เราเองก็ไม่สามารถรับรู้หรือเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นปล่อยใจให้ว่าง พัฒนาตัวเองเข้าไว้ เมื่อวันนึงที่ทุกอย่างพร้อมและลงตัวงานที่เหมาะกับเรามันก็จะมาเอง
หลายคนชอบเข้าใจผิดว่าตัวเองเป็นแค่มนุษย์ตัวเล็ก ๆ ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นเราไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลยในชีวิต อยากให้ลองเปลี่ยนความคิด แล้วบอกตัวเองว่าบางอย่างเราวางแผนได้ เราควบคุมมันอยู่ เราจะมั่นใจและจัดการกับความรู้สึกตัวเองได้มากขึ้น เพราะการที่เราคิดมากก็เหมือนกับการเติมน้ำหรือสิ่งแย่ ๆ เข้าไปในแก้วจนเต็ม จนไม่มีที่เหลือให้สิ่งดี ๆ ได้เข้าไป ดังนั้นอย่าเครียด ทำใจโล่ง ๆ เชื่อเถอะว่าสิ่งดี ๆ จะเข้ามาเติมเต็มเอง
ใครท้อ เครียด เพราะหางานไม่ได้บ้าง มีวิธีฮีลตัวเองยังไงกันบ้างคะ?
ใครที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ JobThai Tips จะพามารู้จักกับอาการเหล่านี้ให้มากขึ้น รวมถึงวิธีฮีลตัวเองให้กลับมาเป็นคนเดิมที่มีกำลังใจและพร้อมสู้อีกครั้งกัน
ทำไมเราถึงมีความรู้สึกเหนื่อย ท้อ เครียด?
มนุษย์เราส่วนใหญ่มักจะมีความรู้สึกเหนื่อย ท้อ หรือเครียด เหตุผลส่วนหนึ่งอาจมาจากประสบการณ์ในอดีตที่เราเคยเจอเรื่องไม่ดีมาจนทำให้รู้สึกกลัวไปก่อน หรือเจอเรื่องเลวร้ายบ่อย ๆ จนกลัวว่ามันจะเกิดขึ้นกับเราอีกครั้ง เช่น เราสมัครงานที่ไหนก็ตกรอบสัมภาษณ์ตลอด เราก็จะรู้สึกกลัวไปก่อนแล้วว่าในที่ต่อไปจะเป็นแบบเดิมอีกไหม? หรือบางคนที่ถูกเลี้ยงดูมาแบบระเบียบจัด ถูกสั่งสอนว่าโตมาต้องเป็นแบบนี้ ห้ามทำนั่นทำนี่ จนทำให้รู้สึกกลัวความผิดพลาดไปหมด เช่น เรียนจบมาหลายเดือนแล้วแต่ยังหางานไม่ได้ พวกเขาก็จะกลัวแล้วว่าคนอื่นจะมองยังไง จะถูกตำหนิไหม
ซึ่งความเป็นจริงแล้วความกลัวเหล่านี้มันเป็นเหมือนการที่เราสร้างเรื่องในหัวให้ตัวเองกังวลไปก่อน ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสภาวะที่ไม่จำเป็นเลยในชีวิต เพราะนอกจากจะทำให้เราเครียดง่าย และใช้ชีวิตอย่างไม่มีความสุขแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตที่อาจก่อให้เกิดเป็นภาวะโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย
ดังนั้นมาดูวิธีฮีลตัวเองเมื่อรู้สึกเหนื่อย ท้อ เครียดเพราะหางานไม่ได้กันดีกว่า
8 วิธีฮีลตัวเองเมื่อต้องเจอกับความเครียด
1. หาสิ่งที่กลัวที่สุดของตัวเองให้เจอ และลิสต์วิธีแก้ไขออกมา
อย่างแรกหยิบสมุดหรือกระดาษขึ้นมา เขียนคำถามข้อแรกว่า เรากลัวอะไร? คำถามที่สอง สิ่งที่แย่ที่สุดของความกลัวคืออะไร? และคำถามที่สามคือ มีวิธีการรับมือยังไง? ยกตัวอย่างเช่น
กลัวอะไร?: กลัวหางานทำไม่ได้
สิ่งที่แย่ที่สุดของความกลัว?: พ่อแม่ด่า, อายเพื่อน, ไม่มีรายได้
วิธีรับมือกับความกลัว: ขยันหางานหลายช่องทางมากขึ้น, ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อใส่ในเรซูเม่หรือ Portfolio, ช่วยทำธุรกิจของที่บ้าน
จากนั้นกลับมาวิเคราะห์ทั้งสามข้อใหม่ เราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่แย่ที่สุดของความกลัวที่เราเขียน สุดท้ายแล้วเราก็ยังมีวิธีรับมือได้ ดังนั้นจะคิดมากหรือเครียดกับมันไปก่อนทำไม แต่สิ่งสำคัญของวิธีนี้คือการเขียนออกมาเท่านั้น เพราะถ้าเราเอาแต่คิดในหัว ความคิดจะวนอยู่ในหัวจนคิดไม่ตกไปเรื่อย ๆ คนส่วนมากที่รู้สึกกังวลเป็นเพราะพวกเขาเข้าใจว่าตัวเองควบคุมเรื่องนั้นไม่ได้ แต่การเขียนจะทำให้ทุกอย่างชัดเจน รวมถึงทำให้เราเข้าใจได้ว่าทุกอย่างควบคุมได้เพียงแค่เราต้องเรียบเรียงความคิดและวางแผนสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นระบบและชัดเจน
2. อย่าเพิ่งกลัวอนาคตแต่ให้อยู่กับปัจจุบัน
ชีวิตคนเราก็เหมือนการใส่แว่น VR แม้ตัวจะอยู่ในสถานที่ที่สงบ แต่ภาพหน้าจอสั่งให้เราตื่นเต้น กลัว หรือตกใจกับสิ่งที่เห็นได้ ซึ่งก็เหมือนกับที่เราชอบกลัวอนาคตที่มันยังไม่ได้เกิด เช่น เราทำงานอยู่ในที่ปัจจุบันแต่กลัวจะถูกให้ออกจากงานเพราะโควิด-19 เราเครียด คิดมาก กินไม่ได้นอนไม่หลับ ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบันเราก็ยังไม่ได้ถูกไล่ออกเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นจงคิดว่าความจริงคือวันนี้ ไม่ใช่วันพรุ่งนี้ หรืออีกสองเดือนข้างหน้า อยู่กับปัจจุบันก่อนดีที่สุด
3. “ห้ามความคิด” ไม่ได้ แต่ “หยุดความคิด” ได้
ถ้าเรากำลังตกอยู่ในสถานะว่างงาน แน่นอนว่าเราก็คงห้ามไม่ให้ตัวเองคิดมากไม่ได้ แต่มันก็จะมีวิธีนึงที่สามารถหยุดความคิดได้ นั่นก็คือเมื่อไหร่ก็ตามที่เรากำลังกังวลเรื่องอนาคต ให้เบรกตัวเองด้วยการพูดเสียงดังให้ตัวเองตกใจ ถ้าเรากำลังจมดิ่งกับความคิดเรื่องหางานไม่ได้จนกินไม่ได้นอนไม่หลับ ให้เราเบรกด้วยคำพูด เช่น เอ่ยๆ! เดี๋ยวๆ! หยุด! หรือถามตัวเองว่า คิดแล้วได้อะไร? การทำแบบนี้อาจจะฟังดูไม่น่าช่วยได้ แต่ถ้าได้ลองทำแล้ว มันจะทำให้เรามีสติ ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เราอยู่กับปัจจุบันไหม เป็นวิธีที่ดึงตัวเองให้กลับมาได้
4. ย้ายโฟกัสไปหาสิ่งที่ได้ประโยชน์ และปรับปรุงจุดอ่อน
การย้ายโฟกัสไปเรื่องอื่นแทนที่จะหมกมุ่นอยู่แต่กับความเครียดช่วยได้มากกว่าที่คิด เช่น ถ้าเรากังวลว่าการหางานประจำไม่ได้สักทีทำให้เงินเก็บที่เรามีอยู่เริ่มลดลง และอาจไม่พอใช้ เราก็อาจลองหางานเสริมอื่น ๆ ทำในขณะที่หางานประจำไปด้วย การเครียดไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นหรือช่วยแก้ปัญหาได้ เพราะฉะนั้นย้ายไปทำสิ่งที่มีประโยชน์กับตัวเราดีกว่า รวมถึงอยากให้กลับมามองตัวเองให้ดีว่าเราพลาดตรงไหนแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่น ถ้าเราสมัครไปร้อยที่แต่ไม่มีที่ไหนเรียกเลย เราก็ต้องกลับมาดูที่ตัวเองว่าเป็นเพราะอะไร เราขาดทักษะอะไรไปไหม เราเลือกงานหรือจำกัดวงในการหางานแคบไปรึเปล่า หรือเราตั้งเงินเดือนที่สูงเกินความสามารถไปไหม ลองหาจุดอ่อนหรือที่ตัวเองพลาดแล้วปรับปรุงดูก่อน
5. เสพสิ่งบวกๆ และเข้าหาคนที่มีพลังบวก
ในแต่ละวันคนเราเกิดความคิดในหัวได้เป็นหมื่น ๆ ความคิด และมีหลายคนที่ความคิดส่วนมากเป็นไปในทางลบซะมากกว่าบวก ซึ่งที่เป็นแบบนั้นอาจเป็นเพราะสื่อต่าง ๆ ที่เสพ เช่น ข่าว หนัง ละคร หรือ Social Media ล้วนมีแต่เรื่องราวแง่ลบ ยกตัวอย่างเช่น ข่าวที่นำเสนอสมัยนี้ก็มีแต่ฆ่ากันตาย ละครดัง ๆ ก็ต้องมีตบตีแย่งผู้ชายกันทั้งนั้น หรือ Social Media เองก็มีแต่ข่าวกระแสลบที่ได้รับความสนใจ ความคิดลบ ๆ ก็เลยไหลเข้ามาไม่หยุด กลายเป็นว่าเพิ่มเรื่องไม่ดีใส่หัวตัวเองเข้ามาอีก ดังนั้นลองแก้ด้วยการหาเสพสิ่งบวก ๆ ให้ชีวิตบ้าง
รวมถึงคนส่วนใหญ่พอเหนื่อย ท้อ เครียดกับเรื่องนึงก็จะชอบหาพวกที่เป็นแบบตัวเอง ซึ่งก็จะมีประเภทที่คุยกันแล้วช่วยกันหาทางออก ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ก็โอเค แต่มันก็จะมีคนอีกประเภทนึงที่ทำให้เรารู้สึกแย่เข้าไปใหญ่ เป็นประเภทเอาแต่ชี้ให้เรากลัวโดยไม่มีคำแนะนำหรือทางออกให้ คนประเภทนี้เราควรที่จะออกห่าง เพราะแน่นอนว่านอกจากปัญหาจะเเก้ไม่ได้แล้ว เราจะยิ่งดิ่งลงไปกับเขาด้วย หรือเราอาจจะลองไปคุยกับคนที่ตรงข้ามกับเราเลยก็ได้ คนแบบที่กล้าลงมือทำ ไม่กลัวหรือย้อมแพ้อะไรง่าย ๆ ยิ่งถ้าไปคุยกับคนที่ประสบความสำเร็จแล้ว และเคยผ่านจุดที่แย่มาก่อน พวกเขาจะให้คำแนะนำได้ดี ไม่แน่ว่าคำแนะนำเหล่านั้นอาจจะทำให้เราเปลี่ยน Mindset ตัวเองไปเลยก็ได้
6. อย่าเหมารวมว่าความเชื่อของเราทุกอย่างคือความจริง
หลายคนชอบเข้าใจว่าความเชื่อของตัวเองคือความจริง ด้วยข้ออ้างว่าเห็นคนอื่นก็เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งที่ความจริงแล้วคนที่เราอ้างถึงอาจจะเป็นส่วนน้อยของประชากรบนโลกนี้ด้วยซ้ำ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือเอาความเชื่อของเราทั้งหมดออกมาดูว่ามีอะไรบ้าง เช่น เราเป็นเด็กจบใหม่ที่เชื่อว่าทุกบริษัทไม่อยากได้คนไม่มีประสบการณ์ ซึ่งความเป็นจริงมันก็มีบริษัทที่คิดแบบนั้น รวมถึงบริษัทที่ไม่ได้คิดแบบนั้น ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนความเชื่อของตัวเองว่ามันไม่ใช่ความจริงทั้งหมดเสมอไป เพราะก่อนที่คนทำงานที่มีประสบการณ์หลายปีแบบทุกวันนี้ พวกเขาก็ผ่านช่วงเวลาที่ไม่มีประสบการณ์กันมาทั้งนั้น เพราะฉะนั้นอย่าให้ความเชื่อผิด ๆ ทำให้เราไม่เปิดรับความจริงในแง่อื่นเลย
7. ตื่นและเข้านอนให้ตรงเวลาเพื่อลดความเครียด
ถึงเราจะว่างงานหรือมีเวลาว่างทั้งวัน ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะทำให้เราคิดว่าตัวเองสามารถเข้านอนดึกหรือตื่นสายได้ เพราะการได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ในทุก ๆ วัน จะทำให้สมองของเราโปรดโปร่ง สามารถควบคุมอารมรณ์ได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันไม่ให้เรามีความรู้สึกตำหนิตัวเองที่อาจจะก่อให้เกิดเป็นภาวะโรคซึมเศร้า รวมถึงการกินและออกกำลังกายให้เป็นประจำก็ช่วยได้เช่นกัน การที่เราไม่ปล่อยตัวไปตามเวลา ยังคงมีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิต มีการวางแผนว่าจะทำอะไรในแต่ละวัน ก็จะยิ่งช่วยให้เราใช้เวลาว่างงานให้เกิดประโยชน์มากขึ้นด้วย
8. ปล่อยวาง แต่ไม่ใช่ ปล่อยปะละเลย
คำว่า “ปล่อยวาง” กับ “ปล่อยปะละเลย” ไม่เหมือนกัน ปล่อยปะละเลยคือ การยอมแพ้ ไม่สนใจที่จะทำสิ่งดี ๆ เพื่อพัฒนาปรับปรุงตัวเอง หรือไม่เอาอะไรแล้วในชีวิต ปล่อยให้ทุกอย่างไหลไปตามเวรตามกรรม แต่คำว่าปล่อยวาง คือการคิดว่าช่างมัน หรือคิดไปก็เท่านั้นไม่ได้เกิดประโยชน์ ซึ่งคนเราไม่สามารถปล่อยวางได้ทุกเรื่อง แต่เรื่องที่สามารถปล่อยวางได้ก็คือเรื่องที่เราควบคุมหรือแก้มันไม่ได้ เช่น เราหางานประจำไม่ได้ทั้งที่ก็ทำทุกวิถีทางแล้ว แทนที่เราจะมานั่งเครียดคิดไม่ตก เราก็ปล่อยวางเรื่องหางานประจำไปเลย อาจจะยังหางานประจำไปเรื่อย ๆ แต่ไม่กดดันตัวเองมาเท่าเดิม แล้วหางานอย่างอื่นทำไปด้วย เช่น ลองหาของขายออนไลน์ หรือทำงานสัญญาจ้างหรืองานพาร์ทไทม์ไปก่อน เรื่องการหางานมันคือสิ่งที่เราควบคุมทั้งหมดไม่ได้ เพราะแต่ละบริษัทเขาก็จะมีเกณฑ์การเลือกที่เราเองก็ไม่สามารถรับรู้หรือเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นปล่อยใจให้ว่าง พัฒนาตัวเองเข้าไว้ เมื่อวันนึงที่ทุกอย่างพร้อมและลงตัวงานที่เหมาะกับเรามันก็จะมาเอง
หลายคนชอบเข้าใจผิดว่าตัวเองเป็นแค่มนุษย์ตัวเล็ก ๆ ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นเราไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลยในชีวิต อยากให้ลองเปลี่ยนความคิด แล้วบอกตัวเองว่าบางอย่างเราวางแผนได้ เราควบคุมมันอยู่ เราจะมั่นใจและจัดการกับความรู้สึกตัวเองได้มากขึ้น เพราะการที่เราคิดมากก็เหมือนกับการเติมน้ำหรือสิ่งแย่ ๆ เข้าไปในแก้วจนเต็ม จนไม่มีที่เหลือให้สิ่งดี ๆ ได้เข้าไป ดังนั้นอย่าเครียด ทำใจโล่ง ๆ เชื่อเถอะว่าสิ่งดี ๆ จะเข้ามาเติมเต็มเอง