🇹🇭มาลาริน💙18มี.ค.ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย27,071คน หายป่วย21,522คน ตาย80คน/มาตราการคลายล็อกดาวน์/แผนปรับเป็นโรคประจำถิ่น


https://www.sanook.com/news/8533782/

https://www.bangkokbiznews.com/social/994352


https://www.thansettakij.com/economy/517903

เพี้ยนปักหมุดไฟเขียวแผนปรับ "โควิด" เป็นโรคประจำถิ่น 1 ก.ค. ตั้งเป้าลดตายต่ำกว่า 0.1% เข็ม 3 มากกว่า 60%


ศบค.เห็นชอบแผนปรับ "โควิด" สู่โรคประจำถิ่น คาด 1 ก.ค.น่าจะกดตัวเลขลงได้ เตรียม 4 มาตรการรองรับ ให้ไปถึง 3 เป้าหมาย ลดอัตราตายต่ำกว่า 0.1% ฉีดเข็มกระตุ้นมากกว่า 60% โดยเฉพาะสูงอายุช่วงก่อนสงกรานต์ เตรียมวัคซีน 3 ล้านโดสรองรับแล้ว ย้ำคนยังไม่ฉีดขอให้เปลี่ยนใจทันที ชี้รับวัคซีนครอบคลุมช่วยผ่อนมาตรการได้มากขึ้น

เมื่อวันที่ 18 มี.ค. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) แถลงภายหลังการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ว่า การประชุมเรื่องที่ 4.การนำแผนบริหารจัดการสถานการณ์โควิดเข้าสู่โรคประจำถิ่น สธ.ได้นำเสนอแผนอย่างเป็นทางการต่อ ศบค.ชุดใหญ่ เพื่อให้เห็นภาพไปด้วยกัน มองแล้วสถานการณ์ตอนนี้อยู่ในระยะแรกคือระยะที่ต้องต่อสู้ (Combatting) โดยช่วงต้น เม.ย.หากควบคุมป้องกันได้อย่างดีเข้าระยะที่ 2 คือ ระยะทรงตัว และลดลงตามคาดการณ์คือปลาย พ.ค.-มิ.ย. และวันที่ 1 ก.ค.น่าจะเห็นตัวเลขที่กดลดลงไปได้ ทั้งประเทศต้องช่วยกันกดกราฟลงให้ได้ ซึ่ง ผอ.ศบค.ก็เห็นชอบด้วย คือ สิ่งที่ต้องทำแผนด้วยกัน ส่วนสถานการณ์จริงวันที่ 1 ก.ค.จะเป็นอย่างไร ก็ต้องดูกันไป แต่หากมีการปรับเปลี่ยนจากนี้ก็ต้องเปลี่ยนแผนด้วย คนกำหนดตัวชี้วัดได้ขึ้นกับประชาชนทั้งประเทศ

ทั้งนี้ จะมีมาตรการขึ้นมา 4 ด้านรองรับ คือ ด้านสาธารณสุข ด้านการแพทย์ ด้านกฎหมายและสังคม และด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ โดยมีเป้าหมาย 3 ด้านที่จะเข้าสู่โรคประจำถิ่น คือ...🧑‍💻👩‍💻👨‍💻

1.อัตราการเสียชีวิตไม่เกิน 0.1%

2.ความครอบคลุมของเข้มกระตุ้นมากกว่า 60% เพราะเข็มแรกเข็มสองเกินแล้ว แต่เข็มกระตุ้นยังต่ำอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูง อย่างผู้สูงอายุ อยู่ที่ 20-30% เท่านั้น บางจังหวัดยังต่ำเป็นหลักหน่วย ต้องขอความร่วมมือกัน

และ 3.สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง หลายคนพอเห็นประกาศว่าจะเป็นโรคประจำถิ่น ก็ผ่อนคลายทันทีทันใด เราจะไปไม่ถึงจุดหมายในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ย้ำว่ายังไม่เกิดเดี๋ยวนี้ ตัวเลขยังสูงอยู่ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ยังต้องเข้มอยู่ และเข้มในการป้องกันส่วนบุคคล จะช่วยกดตัวเลขลงได้

เรื่องวัคซีนโควิด 19 กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป 12.7 ล้านกว่าคน ได้เข็มแรกและเข็มสองอย่างละประมาณ 10 ล้านคน แต่เข็มสามอยู่ที่ 4.1 ล้านคน เราเข้าเป้าในเข็มแรกเข็มสอง พอเข็มสามอยู่ที่ 32.5% เท่านั้น ฉะนั้น จึงมีผู้สุงอายุหลักหลายล้านรายยังขาดเข็มกระตุ้นอยู่ คือ กลุ่มเสีย่งทำให้ป่วยหนักและเสียชีวิตได้ คณะกรรมการจึงห่วงใย ส่วนกลุ่มเด็กอายุ 5-11 ปี ยังได้เข้มสองเพียง 0.5% อยู่ก็ต้องช่วยกัน หากป่วยต้องนอน รพ.เพราะไม่สมัครใจฉีดวัคซีน ก็จะไปใช้ทรัพยากรเตียง เครื่องช่วยหายใจ มีเท่าไรก็จะไม่พอ การลดป่วยลดตายต้องมารับวัคซีน

"ผู้ที่ยังไม่สมัครใจรับวัคซีนขอให้เปลี่ยนใจเดี๋ยวนี้เลย หลายประเทศที่รับวัคซีนสูงๆ เขาเปิดประเทศได้ ก็เพราะรับวัคซีนเข็มกระตุ้น ทำให้สิ่งที่เราผ่อนคลายขึ้นกับปริมาณการฉีดวัคซีนเช่นกัน หากเข้าถึงได้เร็วก็ปรับเปลี่ยนได้เร็ว ซึ่งจากข้อมูลพบว่า สูงอายุยังไม่ได้รับวัคซีน 2.17 ล้านคน ซึ่งกลุ่มสูงอายุที่เสียชีวิตสูงเป็นกลุ่มไม่ได้รับวัคซีน ถ้าลูกหลานจะกลับสงกรานต์ หากพ่อแม่ปู่ย่าตายายยังไม่รับวัคซีน ต้องนำไปพูดคุยทำความเข้าใจ แต่หากรับวัคซีนเข็มกระตุ้นพบว่าช่วยลดเสียชีวิตลง 41 เท่า ฉีดวันนี้ก็อาจจะภูมิขึ้นทันในช่วงสงกรานต์ ซึ่งเรามีวัคซีนเหลือเพียงพอ เราตั้งเป้าเข็มกระตุ้นให้ได้ 70% ก่อนสงกรานต์ มีวัคซีนที่ต้องเพิ่มไว้ 3 ล้านโดสเราเตรียมไว้แล้ว" นพ.ทวีศิลป์กล่าวและว่า ส่วนแผนการรับบริจาคและส่งคืนวัคซีนไปต่างประเทศที่ประชุมก็รับทราบ

https://mgronline.com/qol/detail/9650000026665

นานาเรียน ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ

วันนี้ผู้ติดเชื้อใหม่จำนวนสูงขึ้นมากค่ะ เสียชีวิตมากขึ้น

แต่ประเทศในเอเชียและอาเซียนติดเชื้อเกินแสนคนหลายประเทศ  ล้วนติดเชื้อเพิ่มขึ้น 

TOP10 โลกอันดับสูงสุดวันนี้ก็สูงในระดับเกินแสนและเกือบแสนคน

ติดตามมาตราการคลายล็อกดาวน์ และแผนปรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่นค่ะ

ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ....miniheart

...นานาโอเค
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 20

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
"อว. เผยฉีดวัคซีนของไทย ณ วันที่ 17  มีนาคม 2565 ฉีดวัคซีนแล้ว 126,613,089 โดส และทั่วโลกแล้ว 11,049 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 1,012.5 ล้านโดส

(17 มีนาคม 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 11,049 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 20.5 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 557 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 217 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว"

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 1,012.5  ล้านโดส โดยบรูไนฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (95% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 362.7 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 17 มีนาคม 2565 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 126,613,089 โดส

ในการฉีดวัคซีน จำนวน 11,049 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1) ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 17 มีนาคม 2565  
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 126,613,089 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 54,590,565 โดส (82.5% ของประชากร)
-เข็มสอง 50,038,317 โดส (75.6% ของประชากร)
-เข็มสาม 21,984,207 โดส (33.2% ของประชากร)

2) อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ. 64 – 17 มี.ค. 65 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว    126,613,089 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 181,854 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 177,470  โดส/วัน

3) อัตราการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinovac
- เข็มที่ 1 22,910,931 โดส
- เข็มที่ 2 3,600,250 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน AstraZeneca
- เข็มที่ 1 13,940,004 โดส
- เข็มที่ 2 28,509,462โดส
- เข็มที่ 3 5,222,507 โดส

วัคซีน Sinopharm
- เข็มที่ 1 7,555,445 โดส
- เข็มที่ 2 7,247,383โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน Pfizer
- เข็มที่ 1 9,420,404 โดส
- เข็มที่ 2 9,804,719 โดส
- เข็มที่ 3 13,325,954 โดส

วัคซีน Moderna
- เข็มที่ 1 763,781โดส
- เข็มที่ 2 876,503 โดส
- เข็มที่ 3 3,435,746 โดส

4) ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 1,012,587,687 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 362,713,447 โดส (70.4%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. เวียดนาม จำนวน 200,516,229 โดส (81.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm
3. ฟิลิปปินส์ จำนวน 145,729,130 โดส (63%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca  
4. ไทย จำนวน  126,613,089 โดส (82.5%* ของประชากร)  ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
5. มาเลเซีย จำนวน 68,328,203 โดส (83.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac  
6. พม่า จำนวน 46,697,342 โดส (46.1%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
7. กัมพูชา จำนวน 37,485,227 โดส (87.3%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
8. สิงคโปร์ จำนวน 13,651,279 โดส (92%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
9.  ลาว จำนวน 9,812,131 โดส (73.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
10. บรูไน จำนวน 1,041,610 โดส (95%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร อย่างน้อย 1 เข็ม

5) จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 69.74%
2. ยุโรป 10.01%
3. อเมริกาเหนือ 8.53%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 7.19%
5. แอฟริกา 3.90%
6. โอเชียเนีย 0.62%

6) ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 5 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 3,203.69 ล้านโดส (226.5% ของจำนวนโดสที่ฉีดต่อประชากร)
2. อินเดีย จำนวน 1,807.07 ล้านโดส (131.1%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 557.45 ล้านโดส (166.3%)
4. บราซิล จำนวน 403.86 ล้านโดส (190.7%)
5. อินโดนีเซีย  จำนวน 362.71 ล้านโดส (131.5%)

7) ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. คิวบา (310.4%) (ฉีดวัคซีนของ  Abdala และ Soberana02)
2. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (262%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
3. ชิลี (256.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
4. กาตาร์ (241.7%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderma)
5. มัลดีฟส์ (241.6%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
6. บรูไน (236.2%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford และ Sinopharm)  
7. ฝรั่งเศส (235%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech, Moderna, J&J และ AstraZeneca/Oxford)
8. เกาหลีใต้  (234.7%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech J&J AstraZeneca/Oxford และ  Moderna)
9. สิงคโปร์ (231.9%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Sinovac)  
10. บาห์เรน (231.7%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/278356107819162
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่