คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 17
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid04PY3ev595R4bS3aUbRNtBVZ2aQwtxpve23f8EkTHyFJwv2pNamRLmrx2x3XpFoJUl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 3 มิ.ย. 2565)
รวม 138,103,194 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 3 มิถุนายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 131,895 โดส
เข็มที่ 1 : 16,589 ราย
เข็มที่ 2 : 41,546 ราย
เข็มที่ 3 : 73,760 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,791,492 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 52,778,065 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 28,533,637 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0UFSq7tS7Y2EA1gu98KPux7xL4gCTZbhUVySMmYgAXFoNFcKXQDNHdCidx2L1kkocl
กลุ่มอาการด้านสุขภาพจิต หลังติดเชื้อโควิด-19
- ภาวะนอนไม่หลับ
- ภาวะวิตกกังวล
- ภาวะซึมเศร้า
ที่มา : หมอพร้อม
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02Tm3t7yJYj9GzSirxFqWWkusetekq7ubKnh9D4waN9vwodPTg1hhkZDER2taGcQgbl
ทิ้งชุดตรวจ ATK อย่างไร ให้ปลอดภัยเเละถูกวิธี ?
คัดแยกชุดตรวจ ATK ออกเป็น 2 ส่วน
1. ส่วนที่ไม่ได้สัมผัสกับน้ำลายหรือสารคัดหลั่งในจมูก ได้แก่ กล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์ คู่มือ/เอกสารกำกับชุดทดสอบ ทิ้งเป็นขยะรีไซเคิล และซองพลาสติกใส่ตลับทดสอบ ไม้ Swab (ไม้แหย่จมูก) ไม้กวาดลิ้น/ช่องปาก ทิ้งเป็นขยะทั่วไป
2. ส่วนที่สัมผัสกับน้ำลายหรือสารคัดหลั่งในจมูก ได้แก่ ตลับทดสอบ หลอดดูดน้ำลาย ไม้ Swab (ไม้แหย่จมูก) ไม้กวาดลิ้น/ช่องปาก หลอดใส่น้ำยา ทิ้งเป็นขยะติดชื้อโดยบรรจุลงในซองพลาสติกซิปล็อกที่ให้มาหรือถุงพลาสติก และฉีดพ่นฆ่าเชื้อหรือราดด้วยน้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ผสมน้ำอัตราส่วน 1 : 10 หรือแอลกอฮอล์ 70% เพื่อทำลายเชื้อก่อนปิดถุงให้สนิท จากนั้นซ้อนด้วยถุงขยะอีก 1 ชั้น มัดปากถุงชั้นนอกให้แน่น ฉีดพ่นฆ่าเชื้อบริเวณปากถุง อีกครั้ง
ที่มา : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid033isdCj6bZy977z9rof1gMktRSkBQjcmSheSWrkcZEKrjLzBWzCAi73pzcpVP9BN5l
กรมควบคุมโรค เผย !! การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นยังต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 60 ทยอยส่งวัคซีนเติมคลังแต่ละจังหวัด ไม่มีปัญหาล้นตู้เย็น
นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวถึงมีผู้เป็นห่วงเรื่องการกระจายวัคซีนโควิด 19 ไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จะทำให้มีปัญหาวัคซีนล้นตู้เก็บในคลังโรงพยาบาลว่า การเปลี่ยนผ่านโรคโควิด 19 ไปสู่โรคประจำถิ่น หนึ่งในมาตรการที่สำคัญ คือ การให้วัคซีนทั้งเข็มปกติและเข็มกระตุ้นให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม (Universal Vaccination) โดยแต่ละจังหวัดต้องมีความครอบคลุมการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 แต่จากข้อมูล ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 มีความครอบคลุมเข็มกระตุ้นเพียงร้อยละ 41 โดยผู้ที่ครบกำหนดฉีดเข็มกระตุ้นมารับการฉีดประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้น คาดว่ามีผู้ที่ครบกำหนดฉีดเข็มกระตุ้น และรอรับการฉีดเข็มกระตุ้น อีกประมาณ 16 ล้านคน
กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายส่งวัคซีนโควิด 19 ทั้งซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์ ไปยัง รพ.สต. ซึ่งเป็นหน่วยบริการที่ใกล้บ้าน และให้บริการแบบ walk in ทุกจุดฉีด เพื่อให้สะดวกในการนำผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงไปฉีดวัคซีนใกล้บ้าน พร้อมทั้งเร่งสื่อสาร เชิญชวนให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น รวมถึงเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปด้วย โดยวัคซีนจำนวน 16.7 ล้านโดส สำหรับ รพ.สต. จะทยอยส่งเป็นรอบๆ ไปที่คลังวัคซีน เพียงแห่งเดียวในแต่ละจังหวัด ซึ่งอาจเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และมีการประสานตรวจสอบวัคซีนคงคลังกับแต่ละจังหวัดก่อนส่งเสมอ ส่วนการกระจายวัคซีนไปที่ รพ.สต. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะจัดส่งตามศักยภาพการฉีดและความจุของตู้เย็นแต่ละ รพ.สต. จึงไม่มีปัญหาเรื่องวัคซีนจะล้นตู้เย็นอย่างที่เป็นข่าว
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0CUV1ywGHf11awqfMvXghp3nyc8yBEC6EJVQgSyismzNgHq3YzsLtgqZQCGA42thWl
วัคซีนโควิด 19 “เรื่องที่เราต้องรู้”
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0ewDLY2Z82kqiT4gvfxtPSWaTHHogKyiRoVLbYgGgJUgWQGvGLvyt7ntbrh3tH9zDl
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน 2565 จำนวน 30 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02LNwtxkP7MdbpbUQs7Wu9sAfwGk36hSVs3X5ffZvf6Dx9d5rHG3tyNmnp1dTMNyp6l
ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานโควิด 19 ยอดค้างจ่ายของปีงบประมาณ 2563 และรอบแรกปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) จำนวน 1,918 ล้านบาท จัดสรรลงพื้นที่แล้วช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ส่วนรอบ มกราคม-มีนาคม 2565 อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลหลักฐานการปฏิบัติงานจากพื้นที่เพื่อเสนอสำนักงบประมาณ
นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวงและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีมีผู้ตั้งประเด็นคำถามเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานโควิด 19 ล่าช้า ว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติงบประมาณจากงบกลาง เป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยผู้ปฏิบัติงานโควิด 19 รวมถึงงบฉีดวัคซีนโควิด 19 นอกสถานพยาบาล งบยารักษา และงบค่ารักษาคนไร้สิทธิ์ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ติดตามเรื่องมาตลอด และได้รับหนังสือจากสำนักงบประมาณ แจ้งอนุมัติให้เบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าว เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 ซึ่งได้เร่งดำเนินการตามระบบการเงินการคลังและจัดสรรลงไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดแล้ว เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา ประกอบด้วย ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยค้างจ่ายของปีงบประมาณ 2563 จำนวน 7,311,312 บาท และค่าตอบแทนเสี่ยงภัยปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) จำนวน 1,910,996,675 บาท รวม 1,918,307,987 บาท
กระทรวงสาธารณสุขตระหนักถึงความทุ่มเทเสียสละของบุคลากรทุกคนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จึงมีการเสนอเรื่องขอรับการสนับสนุบงบประมาณจากรัฐบาลเป็นค่าตอบแทนเเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายได้ก็ได้เร่งดำเนินการทันทีตามขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณราชการ และกระบวนการทางการเงินการคลัง สำหรับงบค่าตอบแทนเสี่ยงภัยและงบฉีดวัคซีนโควิด 19 นอกสถานที่ของช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2565 อยู่ระหว่างให้แต่ละจังหวัดรวบรวมข้อมูลหลักฐานการปฏิบัติงานส่งส่วนกลางเพื่อนำเสนอสำนักงบประมาณต่อไป
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid02MnxsSxBrZbR9qEpgMRoTvfjHWsdYyBjFa52hFTbGZ4Rci9RsgSBzDGjLcfFBKaJ3l
รัฐบาลชวนประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มหลักและเข็มกระตุ้นที่ รพ.สต. ใกล้บ้าน ถือเป็นมาตรการสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด – 19 ในประเทศ
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เปิดเผยว่า แม้สถานการณ์โควิด-19 ในไทย จะลดระดับการแพร่ระบาดและสามารถควบคุมได้ โดยแต่ละจังหวัดต้องครอบคลุมการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 กำชับให้ความสำคัญประชาชนได้รับวัคซีน โดยทุกกลุ่มควรต้องได้รับวัคซีนทั้งเข็มหลักและเข็มกระตุ้นอย่างครอบคลุม (Universal Vaccination) ถือเป็นหนึ่งในมาตรการหลักในการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด – 19
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 มีความครอบคลุมเข็มกระตุ้นเพียงร้อยละ 41 จึงขอความร่วมมือจากประชาชนให้เข้ารับวัคซีนทั้งเข็มหลักและเข็มกระตุ้นในสถานพยาบาล หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ใกล้บ้าน ซึ่ง สธ. ได้มีการกระจายวัคซีนไปยัง รพ.สต. ทั่วประเทศตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ประชาชนเข้าถึงบริการของภาครัฐได้อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว เพื่อให้ทุกคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย
อนึ่ง กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งวัคซีนโควิด 19 ทั้งซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์ ไปยัง รพ.สต. ซึ่งเป็นหน่วยบริการที่ใกล้บ้าน และให้บริการแบบ walk in ทุกจุดฉีด เพื่อให้สะดวกในการนำผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงไปฉีดวัคซีนใกล้บ้าน พร้อมทั้งเร่งสื่อสาร เชิญชวนให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น รวมถึงเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปด้วย โดยวัคซีนจำนวน 16.7 ล้านโดส สำหรับ รพ.สต. จะทยอยส่งเป็นรอบๆ ไปที่คลังวัคซีน เพียงแห่งเดียวในแต่ละจังหวัด ซึ่งอาจเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และมีการประสานตรวจสอบวัคซีนคงคลังกับแต่ละจังหวัดก่อนส่งเสมอ
ส่วนการกระจายวัคซีนไปที่ รพ.สต. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะจัดส่งตามศักยภาพการฉีดและความจุของตู้เย็นแต่ละ รพ.สต. จึงไม่มีปัญหาเรื่องวัคซีนจะล้นตู้เย็น
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid0bYCTxR1hFehJLgoPadnPVhh6FAitvouyx7MEMhhxiwxnhN9mrdAYbQLGodrpev5yl
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid04PY3ev595R4bS3aUbRNtBVZ2aQwtxpve23f8EkTHyFJwv2pNamRLmrx2x3XpFoJUl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 3 มิ.ย. 2565)
รวม 138,103,194 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 3 มิถุนายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 131,895 โดส
เข็มที่ 1 : 16,589 ราย
เข็มที่ 2 : 41,546 ราย
เข็มที่ 3 : 73,760 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,791,492 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 52,778,065 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 28,533,637 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0UFSq7tS7Y2EA1gu98KPux7xL4gCTZbhUVySMmYgAXFoNFcKXQDNHdCidx2L1kkocl
กลุ่มอาการด้านสุขภาพจิต หลังติดเชื้อโควิด-19
- ภาวะนอนไม่หลับ
- ภาวะวิตกกังวล
- ภาวะซึมเศร้า
ที่มา : หมอพร้อม
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02Tm3t7yJYj9GzSirxFqWWkusetekq7ubKnh9D4waN9vwodPTg1hhkZDER2taGcQgbl
ทิ้งชุดตรวจ ATK อย่างไร ให้ปลอดภัยเเละถูกวิธี ?
คัดแยกชุดตรวจ ATK ออกเป็น 2 ส่วน
1. ส่วนที่ไม่ได้สัมผัสกับน้ำลายหรือสารคัดหลั่งในจมูก ได้แก่ กล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์ คู่มือ/เอกสารกำกับชุดทดสอบ ทิ้งเป็นขยะรีไซเคิล และซองพลาสติกใส่ตลับทดสอบ ไม้ Swab (ไม้แหย่จมูก) ไม้กวาดลิ้น/ช่องปาก ทิ้งเป็นขยะทั่วไป
2. ส่วนที่สัมผัสกับน้ำลายหรือสารคัดหลั่งในจมูก ได้แก่ ตลับทดสอบ หลอดดูดน้ำลาย ไม้ Swab (ไม้แหย่จมูก) ไม้กวาดลิ้น/ช่องปาก หลอดใส่น้ำยา ทิ้งเป็นขยะติดชื้อโดยบรรจุลงในซองพลาสติกซิปล็อกที่ให้มาหรือถุงพลาสติก และฉีดพ่นฆ่าเชื้อหรือราดด้วยน้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ผสมน้ำอัตราส่วน 1 : 10 หรือแอลกอฮอล์ 70% เพื่อทำลายเชื้อก่อนปิดถุงให้สนิท จากนั้นซ้อนด้วยถุงขยะอีก 1 ชั้น มัดปากถุงชั้นนอกให้แน่น ฉีดพ่นฆ่าเชื้อบริเวณปากถุง อีกครั้ง
ที่มา : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid033isdCj6bZy977z9rof1gMktRSkBQjcmSheSWrkcZEKrjLzBWzCAi73pzcpVP9BN5l
กรมควบคุมโรค เผย !! การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นยังต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 60 ทยอยส่งวัคซีนเติมคลังแต่ละจังหวัด ไม่มีปัญหาล้นตู้เย็น
นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวถึงมีผู้เป็นห่วงเรื่องการกระจายวัคซีนโควิด 19 ไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จะทำให้มีปัญหาวัคซีนล้นตู้เก็บในคลังโรงพยาบาลว่า การเปลี่ยนผ่านโรคโควิด 19 ไปสู่โรคประจำถิ่น หนึ่งในมาตรการที่สำคัญ คือ การให้วัคซีนทั้งเข็มปกติและเข็มกระตุ้นให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม (Universal Vaccination) โดยแต่ละจังหวัดต้องมีความครอบคลุมการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 แต่จากข้อมูล ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 มีความครอบคลุมเข็มกระตุ้นเพียงร้อยละ 41 โดยผู้ที่ครบกำหนดฉีดเข็มกระตุ้นมารับการฉีดประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้น คาดว่ามีผู้ที่ครบกำหนดฉีดเข็มกระตุ้น และรอรับการฉีดเข็มกระตุ้น อีกประมาณ 16 ล้านคน
กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายส่งวัคซีนโควิด 19 ทั้งซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์ ไปยัง รพ.สต. ซึ่งเป็นหน่วยบริการที่ใกล้บ้าน และให้บริการแบบ walk in ทุกจุดฉีด เพื่อให้สะดวกในการนำผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงไปฉีดวัคซีนใกล้บ้าน พร้อมทั้งเร่งสื่อสาร เชิญชวนให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น รวมถึงเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปด้วย โดยวัคซีนจำนวน 16.7 ล้านโดส สำหรับ รพ.สต. จะทยอยส่งเป็นรอบๆ ไปที่คลังวัคซีน เพียงแห่งเดียวในแต่ละจังหวัด ซึ่งอาจเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และมีการประสานตรวจสอบวัคซีนคงคลังกับแต่ละจังหวัดก่อนส่งเสมอ ส่วนการกระจายวัคซีนไปที่ รพ.สต. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะจัดส่งตามศักยภาพการฉีดและความจุของตู้เย็นแต่ละ รพ.สต. จึงไม่มีปัญหาเรื่องวัคซีนจะล้นตู้เย็นอย่างที่เป็นข่าว
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0CUV1ywGHf11awqfMvXghp3nyc8yBEC6EJVQgSyismzNgHq3YzsLtgqZQCGA42thWl
วัคซีนโควิด 19 “เรื่องที่เราต้องรู้”
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0ewDLY2Z82kqiT4gvfxtPSWaTHHogKyiRoVLbYgGgJUgWQGvGLvyt7ntbrh3tH9zDl
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน 2565 จำนวน 30 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02LNwtxkP7MdbpbUQs7Wu9sAfwGk36hSVs3X5ffZvf6Dx9d5rHG3tyNmnp1dTMNyp6l
ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานโควิด 19 ยอดค้างจ่ายของปีงบประมาณ 2563 และรอบแรกปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) จำนวน 1,918 ล้านบาท จัดสรรลงพื้นที่แล้วช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ส่วนรอบ มกราคม-มีนาคม 2565 อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลหลักฐานการปฏิบัติงานจากพื้นที่เพื่อเสนอสำนักงบประมาณ
นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวงและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีมีผู้ตั้งประเด็นคำถามเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานโควิด 19 ล่าช้า ว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติงบประมาณจากงบกลาง เป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยผู้ปฏิบัติงานโควิด 19 รวมถึงงบฉีดวัคซีนโควิด 19 นอกสถานพยาบาล งบยารักษา และงบค่ารักษาคนไร้สิทธิ์ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ติดตามเรื่องมาตลอด และได้รับหนังสือจากสำนักงบประมาณ แจ้งอนุมัติให้เบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าว เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 ซึ่งได้เร่งดำเนินการตามระบบการเงินการคลังและจัดสรรลงไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดแล้ว เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา ประกอบด้วย ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยค้างจ่ายของปีงบประมาณ 2563 จำนวน 7,311,312 บาท และค่าตอบแทนเสี่ยงภัยปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) จำนวน 1,910,996,675 บาท รวม 1,918,307,987 บาท
กระทรวงสาธารณสุขตระหนักถึงความทุ่มเทเสียสละของบุคลากรทุกคนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จึงมีการเสนอเรื่องขอรับการสนับสนุบงบประมาณจากรัฐบาลเป็นค่าตอบแทนเเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายได้ก็ได้เร่งดำเนินการทันทีตามขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณราชการ และกระบวนการทางการเงินการคลัง สำหรับงบค่าตอบแทนเสี่ยงภัยและงบฉีดวัคซีนโควิด 19 นอกสถานที่ของช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2565 อยู่ระหว่างให้แต่ละจังหวัดรวบรวมข้อมูลหลักฐานการปฏิบัติงานส่งส่วนกลางเพื่อนำเสนอสำนักงบประมาณต่อไป
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid02MnxsSxBrZbR9qEpgMRoTvfjHWsdYyBjFa52hFTbGZ4Rci9RsgSBzDGjLcfFBKaJ3l
รัฐบาลชวนประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มหลักและเข็มกระตุ้นที่ รพ.สต. ใกล้บ้าน ถือเป็นมาตรการสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด – 19 ในประเทศ
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เปิดเผยว่า แม้สถานการณ์โควิด-19 ในไทย จะลดระดับการแพร่ระบาดและสามารถควบคุมได้ โดยแต่ละจังหวัดต้องครอบคลุมการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 กำชับให้ความสำคัญประชาชนได้รับวัคซีน โดยทุกกลุ่มควรต้องได้รับวัคซีนทั้งเข็มหลักและเข็มกระตุ้นอย่างครอบคลุม (Universal Vaccination) ถือเป็นหนึ่งในมาตรการหลักในการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด – 19
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 มีความครอบคลุมเข็มกระตุ้นเพียงร้อยละ 41 จึงขอความร่วมมือจากประชาชนให้เข้ารับวัคซีนทั้งเข็มหลักและเข็มกระตุ้นในสถานพยาบาล หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ใกล้บ้าน ซึ่ง สธ. ได้มีการกระจายวัคซีนไปยัง รพ.สต. ทั่วประเทศตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ประชาชนเข้าถึงบริการของภาครัฐได้อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว เพื่อให้ทุกคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย
อนึ่ง กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งวัคซีนโควิด 19 ทั้งซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์ ไปยัง รพ.สต. ซึ่งเป็นหน่วยบริการที่ใกล้บ้าน และให้บริการแบบ walk in ทุกจุดฉีด เพื่อให้สะดวกในการนำผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงไปฉีดวัคซีนใกล้บ้าน พร้อมทั้งเร่งสื่อสาร เชิญชวนให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น รวมถึงเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปด้วย โดยวัคซีนจำนวน 16.7 ล้านโดส สำหรับ รพ.สต. จะทยอยส่งเป็นรอบๆ ไปที่คลังวัคซีน เพียงแห่งเดียวในแต่ละจังหวัด ซึ่งอาจเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และมีการประสานตรวจสอบวัคซีนคงคลังกับแต่ละจังหวัดก่อนส่งเสมอ
ส่วนการกระจายวัคซีนไปที่ รพ.สต. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะจัดส่งตามศักยภาพการฉีดและความจุของตู้เย็นแต่ละ รพ.สต. จึงไม่มีปัญหาเรื่องวัคซีนจะล้นตู้เย็น
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid0bYCTxR1hFehJLgoPadnPVhh6FAitvouyx7MEMhhxiwxnhN9mrdAYbQLGodrpev5yl
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน💜4มิ.ย.ไทยไม่ติดTop10 โลก/วานนี้ป่วย2,976คน/วันนี้ป่วย3,001คนหายป่วย3,813คน ตาย30คน/ห่วงปชช.ที่ฉีดกระตุ้นต่ำ
https://www.sanook.com/news/8571290/
,
https://www.sanook.com/news/8570910/
กรมควบคุมโรค ห่วงประชาชนในจังหวัดที่ยังฉีดเข็มกระตุ้นต่ำกว่าเป้าหมาย ทุกภาคส่วนเร่งรัดรณรงค์ประชาชนมารับวัคซีนเพื่อทำกิจกรรมต่างๆได้ปลอดภัยในระยะเปลี่ยนผ่านโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยขณะนี้หลายจังหวัดมีความครอบคลุมการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นยังต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างน้อยร้อยละ 60 เร่งทุกภาคส่วนช่วยกันระดมสื่อสารเชิญชวนประชาชนให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันเพิ่มมากขึ้น รองรับการเปิดประเทศและกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ทยอยจัดส่งวัคซีนโควิด 19 ไปยังพื้นที่ซึ่งมี รพ.สต. เป็นหน่วยบริการที่ใกล้บ้านที่สุดและพร้อมให้บริการแบบ walk in
วันนี้ (4 มิถุนายน 2565) นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าขณะนี้สถานการณ์โรคโควิด 19 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้ป่วยปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิต ลดลงอย่างต่อเนื่อง ภาพรวมอยู่ในช่วงระยะขาลงทั้งประเทศ มาตรการต่าง ๆ เริ่มผ่อนปรนลงมา เช่น การเปิดสถานบันเทิงใน 31 จังหวัดที่ผ่านเกณฑ์บริหารจัดการสถานการณ์โควิด 19 ได้ดี ซึ่งการเปลี่ยนผ่านโรคโควิด 19 ไปสู่โรคประจำถิ่นนั้น หนึ่งในมาตรการที่สำคัญ คือ ประชาชนได้รับวัคซีนทั้งเข็มปกติและเข็มกระตุ้นครอบคลุมทุกกลุ่ม (Universal Vaccination) โดยแต่ละจังหวัดต้องมีความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 เพราะปัจจุบันมีข้อมูลวิจัยจากต่างประเทศและจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ไทยพบว่าเมื่อฉีดวัคซีนแล้ว 4-6เดือนภูมิคุ้มกันจะลดลงต้องฉีดเข็มกระตุ้นจึงจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ การป่วยหนักและเสียชีวิตได้ดี
แต่จากข้อมูลวันที่ 2 มิถุนายน 2565 มีผู้ที่ครบกำหนดฉีดเข็มกระตุ้นมารับการฉีดประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้น โดยพบว่า 20 จังหวัดที่ประชาชนฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นได้น้อยเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรที่ถึงกำหนดรับเข็มกระตุ้นแล้ว ได้แก่ นราธิวาส, ปัตตานี, สตูล, ยะลา, บึงกาฬ, สกลนคร, หนองบัวลำภู, นครศรีธรรมราช, ชุมพร, กระบี่, พัทลุง, ตรัง, เลย, กาฬสินธุ์, แม่ฮ่องสอน, สระแก้ว, หนองคาย, มุกดาหาร, สุราษฎร์ธานี และจันทบุรี จึงต้องเร่งสื่อสาร เชิญชวนประชาชนให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อให้ทุกคนมีภูมิคุ้มกันเพิ่มมากขึ้นเพียงพอ รองรับการเปิดประเทศและใช้ชีวิตได้เป็นปกติและมีความปลอดภัยมากขึ้น
ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขมีแผนจัดส่งวัคซีนโควิด 19 ทั้งซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์ไปยัง รพ.สต. ซึ่งเป็นหน่วยบริการที่ใกล้บ้านที่สุด เพื่อให้เกิดความสะดวกกับประชาชนที่อยู่ห่างไกลสามารถพาผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงไปฉีดวัคซีนกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน และให้บริการแบบ walk in ทุกจุดฉีด นอกจากนี้ รพ.สต.หลายแห่งยังร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกสำรวจประชาชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และจัดวัคซีนไปบริการเชิงรุกถึงบ้าน กระทรวงสาธารณสุขและ สปสช.สนับสนุนทั้งอุปกรณ์ และค่าบริการฉีดวัคซีนให้กับ รพ.สต.
“ถึงเวลาแล้ว ที่ทุกภาคส่วนและประชาชนต้องร่วมมือกันในช่วงเวลาที่สำคัญเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อโควิด 19 ให้เพียงพอ โดยมีวัคซีนเข็มกระตุ้นครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 60 หากไม่ช่วยกันระดมกำลังและจัดวัคซีนไว้พร้อมบริการในทุกพื้นที่ อาจจะส่งผลกระทบต่อแผนการเปลี่ยนผ่านโรคโควิด 19 ไปสู่โรคประจำถิ่นได้ จึงขอให้ทุกจังหวัด เร่งประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์และความจำเป็นของวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมเข้าสู่ระยะโรคประจำถิ่น ซึ่งผู้คนจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติและปลอดภัย” นพ.โสภณ กล่าว
********************************
ข้อมูลจาก : กองโรคติดต่อทั่วไป/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
วันที่ 4 มิถุนายน 2565
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/174760/
....ติดตามข่าวโควิดวานนี้กับวันนี้ค่ะ
ผู้ป่วยลดลงอย่างต่อเนื่อง เหลือแค่สามหมื่นกว่าคนแล้ว
แต่ยังห่วงผู้ที่ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นต่ำให้เร่งรัดรับวัคซีนเพื่อรองรับการเปิดประเทศอย่างปลอดภัย
.....✌️💕✌️💕