คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายสัปดาห์
ระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤศจิกายน 2565
ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
จำนวน 4,914 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 702 ราย/วัน
ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์)
จำนวน 74 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 10 ราย/วัน
https://web.facebook.com/thaimoph/posts/pfbid02a5mY1gVHvcRahM7HqKuwrKafaPht1jMuciaX7hRrcv9A75Z9GrivJNV9GFpD56SJl
สธ.สั่งทุก รพ. เปิดจุดฉีดวัคซีน จัดรถโมบายบริการกลุ่ม 608 หลังยอดผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้น
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์โรคโควิด มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง แพทย์จ่ายยาและรักษาแบบผู้ป่วยนอก ส่วนการใช้เตียงในโรงพยาบาลยังไม่เพิ่มขึ้นมากจนต้องมีมาตรการเพิ่มเติม สำหรับผู้เสียชีวิตยังเพิ่มไม่มากเช่นกัน เฉลี่ยไม่เกิน 10 รายต่อวัน ซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามที่คาดการณ์ว่าจะพบการระบาดในลักษณะ Small Wave และจะค่อยๆ ลดลงช่วงหลังปีใหม่ ทั้งนี้ การพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทำให้ช่วงนี้ประชาชนเข้ารับวัคซีนมากขึ้นด้วย จึงได้สั่งการให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศ กำหนดเป้าหมายการฉีดวัคซีนในช่วงนี้ และให้ทุกโรงพยาบาลในสังกัด จัดจุดบริการฉีดวัคซีนโควิด พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ วัน/เวลา การให้บริการ เพื่อให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงและมารับบริการได้สะดวก แม้จะมีการกำหนดวันเวลาให้บริการ หากประชาชน walk in มาขอรับบริการไม่ตรงวันก็ขอให้ฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ไม่ต้องกังวลเรื่องเปิดขวดวัคซีนฉีดไม่หมดแล้วต้องทิ้ง เพราะแม้ขวดหนึ่งจะฉีดเพียงคนเดียวก็ถือว่ามีประโยชน์กว่าที่จะรอหลายคนแล้วทำให้ไม่ได้ฉีด เพราะคนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น
การกระจายวัคซีนโควิดถึงระดับ รพ.สต. เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้รับบริการใกล้บ้าน ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาลชุมชน และลดการสูญเสียรายได้ของญาติจากการหยุดงานพามาฉีดวัคซีน แต่เพื่อเพิ่มการเข้าถึงวัคซีนให้มากขึ้นและสะดวกยิ่งขึ้น ได้แจ้งให้มีการจัดกิจกรรมเชิงรุก เช่น จัดรถโมบายยูนิตฉีดวัคซีนพร้อมนัดหมายให้มารับบริการในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02en8yHuA7SJJoTEUivW7xNHFZgq3KzHjHRabkpRhZSjT6Ut3AC3vsTA6Shb5bA6Ael
สถานการณ์โควิดต่างประเทศ ญี่ปุ่นเตรียมจ่ายยา “Xocova” ผลิตในประเทศเป็นครั้งแรก ใช้รักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่อาการไม่รุนแรง
สนข. NHK รายงานว่า ญี่ปุ่นวางแผนแจกจ่ายยารักษา COVID-19 ชื่อว่า Xocova ในวันที่ 28 พ.ย. 65 ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิมที่ตั้งไว้ในห้วงต้นเดือน ธ.ค. 65 ด้านนาย Katsunobu Kato รมว.สธ.ญี่ปุ่นระบุว่า รัฐบาลเตรียมยาไว้สำหรับผู้ป่วยจำนวน 1 ล้านคน และจะจัดส่งยาไปยังสถานพยาบาลของรัฐ 2,900 แห่ง ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นเห็นชอบให้ใช้ยา Xocova ในกรณีฉุกเฉิน เมื่อ 22 พ.ย.65 ซึ่งยาดังกล่าวผลิตโดยบริษัทยา Shionogi ของญี่ปุ่น และสามารถใช้รักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่อาการไม่รุนแรงได้
ที่มา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0fUf1nK4fJCH6Maomu2PVnzvjPsDHHu6KbEYHazxUHh12XhStkA18weK8c8XTkbyZl
นพ.ยง ตอบข้อสงสัย โควิด 19 เป็นแล้วเป็นซ้ำได้อีก และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น จะได้เฉลิมฉลองปีใหม่หรือไม่
ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือฉีดวัคซีน เมื่อนานไปไม่สามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อใหม่ได้ แต่ทำให้ความรุนแรงลดลง
จำนวนตัวเลขของการติดเชื้อขณะนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะรอบตัวเรา เราจะเห็นคนที่เคยเป็นแล้ว มาเป็นซ้ำอีก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับ covid-19
ภูมิคุ้มกันหมู่ที่แต่เดิม มุ่งหวังจะลดการระบาดของโรค จึงไม่เกิด เพราะติดเชื้อ ฉีดวัคซีนมานานแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีก จึงไม่สามารถที่จะหยุดโรค ไม่ให้ระบาดได้
ทุกอย่างต้องเดินหน้า มีคำถามเข้ามามาก ว่าการติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาก เราจะได้เฉลิมฉลองปีใหม่หรือไม่
ตอบได้เลยว่าเราจะไม่เดินย้อนหลัง ได้เฉลิมฉลองแน่นอน แต่ทุกอย่างจะต้องทำด้วยความตระหนัก ลดการแพร่กระจายของโรค
ที่มา FB ยง ภู่วรวรรณ
28 พฤศจิกายน 2565
https://web.facebook.com/PMOCNEWS/posts/pfbid037AicjXQcNnTvKLyKNZvtNPDNgv3F5yMGrn8e85AV9cTExD83J26ZcGK4e3iCv1eal
ชี้ปัจจัยติดโควิดขาขึ้น! เชื้อเปลี่ยน – หลบภูมิ – กิจกรรมเสี่ยง - วัคซีนนานเกิน 3 เดือน ยอดป่วยสัปดาห์นี้ (20-26 พ.ย.) 4,914 คน เสียชีวิต 74 คน
นพ.จักรรัฐ พิทยาวงค์อานนท์ ผอ.ระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ว่า ขณะนี้ไม่มากเท่าในอดีต ผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ที่ต้องนอนรักษาตัวใน รพ. (20-26 พ.ย.) 4,914 คน เฉลี่ย 702 คนต่อวัน มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 553 คน, ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 319 คน ยอดเสียชีวิตรายสัปดาห์ 74 คน เฉลี่ย 10 วันต่อวัน (พบว่ายังเป็นกลุ่ม 608 และได้รับวัคซีนไม่ครบ หรือไม่ได้รับวัคซีนเลย) อัตราการรับวัคซีน รวม 143,155,910 โดส (วัคซีนเข็ม 1 ร้อยละ 82.07 จำนวน 57 ล้านโดส, เข็ม 2 ร้อยละ 77.02 จำนวน 53 ล้านโดส และเข็ม 3 จำนวน 32 ล้านโดส)
“ปัจจัยการกลับมาติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น มาจาก กิจกรรมที่ทำ ไม่รับวัคซีนเข็มกระตุ้นนานเกิน 3 เดือน เชื้อไวรัสที่เปลี่ยนแปลงหลบภูมิ แต่ยังคงอยู่ในตระกูลโอไมครอนเหมือนเดิม คนที่ได้รับวัคซีน - ติดเชื้อเกิน 3 เดือน ควรได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อไม่ให้เกิดการป่วยหนัก และต้องลดปัจจัยเสี่ยงติดเชื้อจากกิจกรรม เช่น รับประทานอาหารร่วมกัน (คนที่ไม่ได้รับวัคซีน-สูงอายุ โดยเฉพาะหนุ่มสาว ที่อาจไปมาหลายที่เสี่ยงนำเชื้อมาแพร่) และในช่วงหยุดยาวเดือน ธ.ค. ต้องระวังตัว” ผอ.ระบาดวิทยา ระบุ
ปรับแนวทางดูแล ป้องกัน :
● เร่งรณรงค์การรับวัคซีนให้ครบ 4 เข็ม (ต้องฉีดเข้มกระตุ้น นานเกิน 3 เดือน, ติดเชื้อมาเกิน 3 เดือน, รพ.ทุกแห่ง เตรียมจัดเพิ่มพื้นที่ฉีดวัคซีน
● วัยทำงาน (อยู่ร่วม ผู้สูงอายุ 608 ต้องระวังตนเอง, ผู้สูงอายุให้งดกิจกรรมนอกบ้าน)
● ต้องปรับเพิ่มมาตรการรักษา ให้ได้รับยารวดเร็วขึ้น (หลังคิดว่า ไม่รุนแรงเหมือนก่อน ไม่ได้มาพบแพทย์)
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid029uqZWoKJc3nbLR8T85gMJoRepwtAQKUraS6LPzfrAbp3F4Zt9tDtNQSn2bUAhGW8l
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายสัปดาห์
ระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤศจิกายน 2565
ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
จำนวน 4,914 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 702 ราย/วัน
ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์)
จำนวน 74 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 10 ราย/วัน
https://web.facebook.com/thaimoph/posts/pfbid02a5mY1gVHvcRahM7HqKuwrKafaPht1jMuciaX7hRrcv9A75Z9GrivJNV9GFpD56SJl
สธ.สั่งทุก รพ. เปิดจุดฉีดวัคซีน จัดรถโมบายบริการกลุ่ม 608 หลังยอดผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้น
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์โรคโควิด มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง แพทย์จ่ายยาและรักษาแบบผู้ป่วยนอก ส่วนการใช้เตียงในโรงพยาบาลยังไม่เพิ่มขึ้นมากจนต้องมีมาตรการเพิ่มเติม สำหรับผู้เสียชีวิตยังเพิ่มไม่มากเช่นกัน เฉลี่ยไม่เกิน 10 รายต่อวัน ซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามที่คาดการณ์ว่าจะพบการระบาดในลักษณะ Small Wave และจะค่อยๆ ลดลงช่วงหลังปีใหม่ ทั้งนี้ การพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทำให้ช่วงนี้ประชาชนเข้ารับวัคซีนมากขึ้นด้วย จึงได้สั่งการให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศ กำหนดเป้าหมายการฉีดวัคซีนในช่วงนี้ และให้ทุกโรงพยาบาลในสังกัด จัดจุดบริการฉีดวัคซีนโควิด พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ วัน/เวลา การให้บริการ เพื่อให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงและมารับบริการได้สะดวก แม้จะมีการกำหนดวันเวลาให้บริการ หากประชาชน walk in มาขอรับบริการไม่ตรงวันก็ขอให้ฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ไม่ต้องกังวลเรื่องเปิดขวดวัคซีนฉีดไม่หมดแล้วต้องทิ้ง เพราะแม้ขวดหนึ่งจะฉีดเพียงคนเดียวก็ถือว่ามีประโยชน์กว่าที่จะรอหลายคนแล้วทำให้ไม่ได้ฉีด เพราะคนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น
การกระจายวัคซีนโควิดถึงระดับ รพ.สต. เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้รับบริการใกล้บ้าน ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาลชุมชน และลดการสูญเสียรายได้ของญาติจากการหยุดงานพามาฉีดวัคซีน แต่เพื่อเพิ่มการเข้าถึงวัคซีนให้มากขึ้นและสะดวกยิ่งขึ้น ได้แจ้งให้มีการจัดกิจกรรมเชิงรุก เช่น จัดรถโมบายยูนิตฉีดวัคซีนพร้อมนัดหมายให้มารับบริการในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02en8yHuA7SJJoTEUivW7xNHFZgq3KzHjHRabkpRhZSjT6Ut3AC3vsTA6Shb5bA6Ael
สถานการณ์โควิดต่างประเทศ ญี่ปุ่นเตรียมจ่ายยา “Xocova” ผลิตในประเทศเป็นครั้งแรก ใช้รักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่อาการไม่รุนแรง
สนข. NHK รายงานว่า ญี่ปุ่นวางแผนแจกจ่ายยารักษา COVID-19 ชื่อว่า Xocova ในวันที่ 28 พ.ย. 65 ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิมที่ตั้งไว้ในห้วงต้นเดือน ธ.ค. 65 ด้านนาย Katsunobu Kato รมว.สธ.ญี่ปุ่นระบุว่า รัฐบาลเตรียมยาไว้สำหรับผู้ป่วยจำนวน 1 ล้านคน และจะจัดส่งยาไปยังสถานพยาบาลของรัฐ 2,900 แห่ง ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นเห็นชอบให้ใช้ยา Xocova ในกรณีฉุกเฉิน เมื่อ 22 พ.ย.65 ซึ่งยาดังกล่าวผลิตโดยบริษัทยา Shionogi ของญี่ปุ่น และสามารถใช้รักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่อาการไม่รุนแรงได้
ที่มา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0fUf1nK4fJCH6Maomu2PVnzvjPsDHHu6KbEYHazxUHh12XhStkA18weK8c8XTkbyZl
นพ.ยง ตอบข้อสงสัย โควิด 19 เป็นแล้วเป็นซ้ำได้อีก และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น จะได้เฉลิมฉลองปีใหม่หรือไม่
ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือฉีดวัคซีน เมื่อนานไปไม่สามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อใหม่ได้ แต่ทำให้ความรุนแรงลดลง
จำนวนตัวเลขของการติดเชื้อขณะนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะรอบตัวเรา เราจะเห็นคนที่เคยเป็นแล้ว มาเป็นซ้ำอีก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับ covid-19
ภูมิคุ้มกันหมู่ที่แต่เดิม มุ่งหวังจะลดการระบาดของโรค จึงไม่เกิด เพราะติดเชื้อ ฉีดวัคซีนมานานแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีก จึงไม่สามารถที่จะหยุดโรค ไม่ให้ระบาดได้
ทุกอย่างต้องเดินหน้า มีคำถามเข้ามามาก ว่าการติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาก เราจะได้เฉลิมฉลองปีใหม่หรือไม่
ตอบได้เลยว่าเราจะไม่เดินย้อนหลัง ได้เฉลิมฉลองแน่นอน แต่ทุกอย่างจะต้องทำด้วยความตระหนัก ลดการแพร่กระจายของโรค
ที่มา FB ยง ภู่วรวรรณ
28 พฤศจิกายน 2565
https://web.facebook.com/PMOCNEWS/posts/pfbid037AicjXQcNnTvKLyKNZvtNPDNgv3F5yMGrn8e85AV9cTExD83J26ZcGK4e3iCv1eal
ชี้ปัจจัยติดโควิดขาขึ้น! เชื้อเปลี่ยน – หลบภูมิ – กิจกรรมเสี่ยง - วัคซีนนานเกิน 3 เดือน ยอดป่วยสัปดาห์นี้ (20-26 พ.ย.) 4,914 คน เสียชีวิต 74 คน
นพ.จักรรัฐ พิทยาวงค์อานนท์ ผอ.ระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ว่า ขณะนี้ไม่มากเท่าในอดีต ผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ที่ต้องนอนรักษาตัวใน รพ. (20-26 พ.ย.) 4,914 คน เฉลี่ย 702 คนต่อวัน มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 553 คน, ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 319 คน ยอดเสียชีวิตรายสัปดาห์ 74 คน เฉลี่ย 10 วันต่อวัน (พบว่ายังเป็นกลุ่ม 608 และได้รับวัคซีนไม่ครบ หรือไม่ได้รับวัคซีนเลย) อัตราการรับวัคซีน รวม 143,155,910 โดส (วัคซีนเข็ม 1 ร้อยละ 82.07 จำนวน 57 ล้านโดส, เข็ม 2 ร้อยละ 77.02 จำนวน 53 ล้านโดส และเข็ม 3 จำนวน 32 ล้านโดส)
“ปัจจัยการกลับมาติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น มาจาก กิจกรรมที่ทำ ไม่รับวัคซีนเข็มกระตุ้นนานเกิน 3 เดือน เชื้อไวรัสที่เปลี่ยนแปลงหลบภูมิ แต่ยังคงอยู่ในตระกูลโอไมครอนเหมือนเดิม คนที่ได้รับวัคซีน - ติดเชื้อเกิน 3 เดือน ควรได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อไม่ให้เกิดการป่วยหนัก และต้องลดปัจจัยเสี่ยงติดเชื้อจากกิจกรรม เช่น รับประทานอาหารร่วมกัน (คนที่ไม่ได้รับวัคซีน-สูงอายุ โดยเฉพาะหนุ่มสาว ที่อาจไปมาหลายที่เสี่ยงนำเชื้อมาแพร่) และในช่วงหยุดยาวเดือน ธ.ค. ต้องระวังตัว” ผอ.ระบาดวิทยา ระบุ
ปรับแนวทางดูแล ป้องกัน :
● เร่งรณรงค์การรับวัคซีนให้ครบ 4 เข็ม (ต้องฉีดเข้มกระตุ้น นานเกิน 3 เดือน, ติดเชื้อมาเกิน 3 เดือน, รพ.ทุกแห่ง เตรียมจัดเพิ่มพื้นที่ฉีดวัคซีน
● วัยทำงาน (อยู่ร่วม ผู้สูงอายุ 608 ต้องระวังตนเอง, ผู้สูงอายุให้งดกิจกรรมนอกบ้าน)
● ต้องปรับเพิ่มมาตรการรักษา ให้ได้รับยารวดเร็วขึ้น (หลังคิดว่า ไม่รุนแรงเหมือนก่อน ไม่ได้มาพบแพทย์)
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid029uqZWoKJc3nbLR8T85gMJoRepwtAQKUraS6LPzfrAbp3F4Zt9tDtNQSn2bUAhGW8l
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭💛มาลาริน💛🇹🇭สัปดาห์นี้ ป่วย4,914 ราย เฉลี่ยวันละ702 เสียชีวิต74คน/สธ.แนะ!ฉีดวัคซีน/หมอ ยง’มั่นใจได้ฉลองปีใหม่แน่
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรอบสัปดาห์ (20-26 พ.ย.) 4,914 คน เฉลี่ยวันละ 702 ราย เสียชีวิตรวม 74 คน เฉลี่ยวันละ 10 คน
วันนี้(28 พ.ย.) เฟซบุ๊กเพจศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมประชาสัมพันธ์ รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย รอบสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤศจิกายน 2565 มีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) จำนวน 4,914 ราย เฉลี่ยรายวัน จำนวน 702 ราย/วัน ผู้เสียชีวิตรวมจำนวน 74 ราย เฉลี่ย 10 ราย/วัน
จำนวนผู้หายป่วยสะสม 2,483,809 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) เสียชีวิตสะสม 11,482 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ยกเลิกประกาศให้โรคติดเชื้อโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย และประกาศให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังแทน เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2565
ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมตั้งแต่เริ่มระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2563 มีทั้งสิ้น 4,704,244 ราย ผู้เสียชีวิต 33,208 ราย
https://mgronline.com/qol/detail/9650000113239
โควิดขาขึ้น! สธ.รับแนวโน้มเพิ่ม แนะฉีดวัคซีนเข็มล่าสุดเกิน 4 เดือนต้องฉีดกระตุ้นก่อนเที่ยวปีใหม่
ปลัดสธ.เผยโควิด 19 ประเทศไทยแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องช่วง 2 สัปดาห์ ผู้เสียชีวิตเป็นกลุ่ม 608 ที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือไม่ได้รับเข็มกระตุ้น แนะหากฉีดกระตุ้นเข็ม 3 เกิน 4 เดือนแล้ว ให้ฉีดเข็ม 4 เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน รองรับสถานการณ์ช่วงปลายปีที่คาดจะมีการระบาดเพิ่มขึ้น และจะมีกิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ย้ำยังต้องเข้มมาตรการส่วนบุคคล กลุ่ม 608 ไม่ได้วัคซีนหากติดเชื้อให้รีบมาโรงพยาบาล มีเตียงและยาเพียงพอรองรับ
วันที่ 28 พ.ย.2565 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์โรคโควิด 19 ของประเทศไทย ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา (20-26 พฤศจิกายน 2565) แนวโน้มการระบาดเพิ่มขึ้น มีผู้ป่วยรายใหม่เข้ารักษาในโรงพยาบาล 4,914 ราย เฉลี่ยวันละ 702 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบ 553 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 319 ราย และเสียชีวิต 74 ราย เฉลี่ยวันละ 10 ราย โดยเฉพาะช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบการระบาดเพิ่มในพื้นที่ กทม. ปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยวภาคตะวันออกและภาคใต้ ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ว่าจะมีการระบาดเพิ่มขึ้นช่วงปลายปี เนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว ประชาชนมีการผ่อนคลายมาตรการและมีกิจกรรมรวมตัวกันมากขึ้น ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้เสียชีวิตที่ผ่านมา พบว่าเป็นการติดเชื้อครั้งแรก และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ ไม่ได้รับวัคซีน รับวัคซีนไม่ครบ หรือได้รับเข็มสุดท้ายนานเกินกว่า 3 เดือน
“วัคซีนโควิด 19 เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดการเสียชีวิตได้ ซึ่งหลังจากฉีดวัคซีนไประยะหนึ่งแล้ว ภูมิคุ้มกันที่มีจะลดลง จึงต้องมีการฉีดเข็มกระตุ้น ดังนั้น หากยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเลย ขอให้รีบมาฉีด และหากฉีดกระตุ้นเข็มสุดท้ายนานเกิน 4 เดือนแล้ว ขอให้มาฉีดเพิ่ม ซึ่งจากข้อมูลพบว่าการรับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 4 ช่วยลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ เพื่อเร่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ทันช่วงปลายปีที่จะมีกิจกรรมเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประสานให้เพิ่มสถานที่ฉีดวัคซีน โดยเฉพาะ กทม. ปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยว และกำชับโรงพยาบาลในสังกัดทุกจังหวัดให้เปิดจุดบริการฉีดวัคซีน รวมถึงจัดบริการเชิงรุกในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่เป็นกลุ่มเสี่ยงด้วยแล้ว" นพ.โอภาสกล่าว
นพ.โอภาสกล่าวต่อว่า แม้จะมีการฉีดวัคซีนแล้วแต่ยังต้องให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกันส่วนบุคคล โดยเฉพาะการสวมหน้ากากอนามัยในสถานที่สาธารณะ สำหรับกลุ่ม 608 ที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับนานเกิน 6 เดือน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น หรือร่วมกิจกรรมที่คนจำนวนมากโดยไม่สวมหน้ากากอนามัย ส่วนคนในครอบครัวที่ไปสถานที่เสี่ยง หรือมีกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมากในช่วง 5 วัน ควรงดการใกล้ชิดกับกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ และหากพบว่ามีการติดเชื้อ ขอให้รีบพามาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาได้ทันเวลา ซึ่งได้จัดยาและเวชภัณฑ์ไว้เพียงพอ รวมถึงเตียงระดับ 2-3 ทั่วประเทศ สำหรับรองรับผู้ป่วยอาการปานกลางถึงรุนแรง ยังมีเพียงพอรองรับสถานการณ์เช่นเดียวกัน
https://siamrath.co.th/n/403130
ไม่เดินย้อนหลัง! หมอ ยง’มั่นใจได้‘ฉลองปีใหม่’แน่ แม้โควิดเพิ่มสูงขึ้น
วันจันทร์ ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565, 11.43 น.
28 พฤศจิกายน 2565 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับสถานการณ์ “โควิด” มีเนื้อหาดังนี้...
“โควิด 19 เป็นแล้วเป็นซ้ำได้อีก และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น จะได้เฉลิมฉลองปีใหม่หรือไม่
ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือฉีดวัคซีน เมื่อนานไปไม่สามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อใหม่ได้ แต่ทำให้ความรุนแรงลดลง
จำนวนตัวเลขของการติดเชื้อขณะนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะรอบตัวเรา เราจะเห็นคนที่เคยเป็นแล้ว มาเป็นซ้ำอีก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับ covid-19
ภูมิคุ้มกันหมู่ที่แต่เดิม มุ่งหวังจะลดการระบาดของโรค จึงไม่เกิด เพราะติดเชื้อ ฉีดวัคซีนมานานแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีก จึงไม่สามารถที่จะหยุดโรค ไม่ให้ระบาดได้
ทุกอย่างต้องเดินหน้า มีคำถามเข้ามามาก ว่าการติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาก เราจะได้เฉลิมฉลองปีใหม่หรือไม่
ตอบได้เลยว่าเราจะไม่เดินย้อนหลัง ได้เฉลิมฉลองแน่นอน แต่ทุกอย่างจะต้องทำด้วยความตระหนัก ลดการแพร่กระจายของโรค”
https://www.naewna.com/local/694802
ติดตามข่าวโควิดกันต่อนะคะ.....