ทำไมคนเรารู้ว่าที่ตัวเองเชื่อมันผิด ก็ยังจะเชื่อแบบเดิมครับ พอถามหาเหตุผล ก็บ่ายเบี่ยง

ผมกินกุ้งอบวุ้นเส้นกับปลาทอด
 
แม่เดินมาบอกว่า ทำไมไม่กินกับข้าว
 
ผมบอกวุ้นเส้นคือ คาโบไฮเดรตแล้ว กินข้าวซ้ำทำไม 
 
เค้าก็บอก ปฏิเสธแนวแบ่บ ไม่อะๆๆ เค้าทำกันมาอย่างนี้ ต้องกินกับข้าว
 
ผมก็อธิบายเลย เค้าก็ดูเหมือนจะเข้าใจ
 
แต่มันเหมือนมี ขนบธรรมเนียมที่เค้าทำมาทั้งชีวิตมาบดบัง
 
คือแบบว่า ฉันทำมาแบบนี้ ฉันไม่สนตรรกะหรือเหตุผล แต่ฉันทำมาแบบนี้
 
ก่อนหน้านี้ก็หลายครั้งแล้ว ผมก็เหมือนคุยเข้าใจ 
 
มาครั้งนี้ ก็เหมือนเดิม คือผมหงุดหงิดมาก
 
มันไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจยากอะไรเลย แต่ทำไมเค้าละทิ้งความเชื่อไม่ได้
 
จริงๆเค้าแทบไม่มีความรู้เรื่องโภชนาการเลย 
 
พอผมจี้มากๆ ถามต้อนมากๆ เค้าก็ทำโมโห ทำโว้ะๆ
 
ทำไมตอบ ทำบอกว่าขี้เกียจเถียง แล้วทะเล้นตลกๆใส่ 
 
และสุดท้ายก็วนการอ้างเหตุผลไปแค่ว่า 'ไม่มีใครเค้าทำกัน หรือ นี่มันกับข้าว'
 
คือมันสะท้อนชัดเลยว่า เค้าไม่รู้ และไม่สนเรื่องประเภทอาหาร แต่คนว่ามันคืออะไร
 
บางทีผมโมโหในความโง่นี้มากๆ ใส่ไป ก็กลายเป็นทะเลาะกัน
 
บางทีก็อ้างว่า นี่เป็นความเชื่อของเค้า เค้าไม่ผิด
 
ใช่ไม่ผิดในแง่ของ decision of choice
 
แต่มันผิดทางการให้เหตุผลที่มาบอกว่า ทำไมกินแต่กับ 
 
มันจะกินแต่กับได้ไง 
 
ผมไม่เข้าใจ
 
บางทีก็เปลี่ยนเรื่อง ของรำคาญ ไร้สาระ ขี้เกียจพูด แต่เค้าเถียงไม่ได้อะ 
 
ยิ่งพอพูดว่าเค้าแพ้นะ เค้าโมโหขึ้นมาเลย บอกไม่แพ้อะ ละก็บ่นๆ 
 
เริ่มชักแม่น้ำ เริ่มบอกว่า เป็นลูกมาสอนพ่อแม่ได้ไง 
 
หรือแบบว่า ถ้าไม่มีสมองจะเลี้ยงโตมาขนาดนี้ได้ไง
 
คือแบ่บ 5555 
 
คือคนแก่เหมือนจะไม่ยอมเสียอีโก้ (แน่นอนไม่ทุกคน) หรือประมาณว่าเค้ายังไงก็จะเปลี่ยนความคิดเค้าแน่ๆ ต่อให้ผิด ก็ไม่ยอม
 
หรือทำเป็นพูดยอมรับ แต่ลึกๆหรือผ่านไปไม่กี่วัน เค้าก็กลับเข้าสู่โหมดปกติ
 
ไม่เข้าใจอะ ม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่