สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 25
อยากเลี้ยงลูกแบบไทยหรือฝรั่ง
ถ้าเลี้ยงแบบไทยไทย ส่วนมากส่งเสียกันจนลูกเสียคน บางครอบครัวแต่งงานกันยังมีส่งเสีย บางคนส่งถึงทำงานได้เงินเดือน พร้อมแพคเกจแถมบ้านแถมรถให้ลูกๆ สบาย อันนี้ ขึ้นอยู่กับมมุมองและฐานะทางการเงิน
เลี้ยงแบบฝรั่ง : เน้นให้ลูกรู้จักรับผิดชอบตนเอง ทรัพย์สินของพ่อแม่ คือ ของพ่อแม่ ไม่เกี่ยวกับลูก บ้าน รถยนต์ เงินทอง ไม่แบ่งให้ลูกใช้ ถ้าลูกบรรลุนิติภาวะ หลายๆ ครอบครัวจะถีบลูกออกจากบ้านไม่ให้เป็นภาระพ่อแม่ ให้ลูก ไปหาเงินเอง ทั้ง Part Time, Full Time บางครอบครัวมีเงินอาจจะมีค่าเทอมส่งเสียให้เรียนถึงมหาลัย แต่ส่วนมาก เด็กๆ มักจะต้องดิ้นรนเอง ทั้ง หาทุน กู้ยืม กยส หรือทำงานเอง การเลี้ยงลูกแบบฝรั่งจึงทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนได้ดีกว่า เนื่องจาก เด็กๆ ไม่เป็นภาระของครอบครัว พ่อแม่ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสินมาส่งเสียลูกจนหมดตัวและเป็นภาระวันเกษียร ในขณะที่ ชนชั้นแรงงาน คือ เด็กๆ ที่อยู่ในวันที่ยังมีกำลังสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และมีเงินมาจับจ่ายด้วยเงินของตัวเอง พอเรียนจบ บางคน มีทั้งประสบการณ์และเงินทุน ก็ไปเปิดกิจการของตนเองได้
นี่คือความแตกต่างของแนวคิด ครอบครัวตะวันตก กับ ครอบครัวไทย
ถ้าเลี้ยงแบบไทยไทย ส่วนมากส่งเสียกันจนลูกเสียคน บางครอบครัวแต่งงานกันยังมีส่งเสีย บางคนส่งถึงทำงานได้เงินเดือน พร้อมแพคเกจแถมบ้านแถมรถให้ลูกๆ สบาย อันนี้ ขึ้นอยู่กับมมุมองและฐานะทางการเงิน
เลี้ยงแบบฝรั่ง : เน้นให้ลูกรู้จักรับผิดชอบตนเอง ทรัพย์สินของพ่อแม่ คือ ของพ่อแม่ ไม่เกี่ยวกับลูก บ้าน รถยนต์ เงินทอง ไม่แบ่งให้ลูกใช้ ถ้าลูกบรรลุนิติภาวะ หลายๆ ครอบครัวจะถีบลูกออกจากบ้านไม่ให้เป็นภาระพ่อแม่ ให้ลูก ไปหาเงินเอง ทั้ง Part Time, Full Time บางครอบครัวมีเงินอาจจะมีค่าเทอมส่งเสียให้เรียนถึงมหาลัย แต่ส่วนมาก เด็กๆ มักจะต้องดิ้นรนเอง ทั้ง หาทุน กู้ยืม กยส หรือทำงานเอง การเลี้ยงลูกแบบฝรั่งจึงทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนได้ดีกว่า เนื่องจาก เด็กๆ ไม่เป็นภาระของครอบครัว พ่อแม่ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสินมาส่งเสียลูกจนหมดตัวและเป็นภาระวันเกษียร ในขณะที่ ชนชั้นแรงงาน คือ เด็กๆ ที่อยู่ในวันที่ยังมีกำลังสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และมีเงินมาจับจ่ายด้วยเงินของตัวเอง พอเรียนจบ บางคน มีทั้งประสบการณ์และเงินทุน ก็ไปเปิดกิจการของตนเองได้
นี่คือความแตกต่างของแนวคิด ครอบครัวตะวันตก กับ ครอบครัวไทย
แสดงความคิดเห็น
ในฐานะพ่อแม่ เราต้องส่งเสียเลี้ยงดูลูกจนถึงตอนไหน (โดยเฉพาะเรื่องการเรียน)
เพราะเดี๋ยวนี้จะมีคำที่ว่า เด็กไม่ได้เลือกเกิดมาครับ แต่คนที่เป็นพ่อแม่ต่างหาก ที่อยากให้เด็กเกิดมา บางครอบครัวเกิดมาแล้วมีการเลี้ยงดูที่ดี ก็ดีไป แต่บางครอบครัวสักแต่ว่าทำให้เกิดมา แล้วเลี้ยงดูไม่ดี หรือพ่อแม่บางคนไม่ได้เลี้ยงดูเลยด้วยซ้ำ ลูกต้องอาศัยอยู่กับคนอื่น นั่นทำให้ปัญหาสังคมจึงเกิดตามมา เพราะเกิดจากสถาบันครอบครัวที่ไม่ดี
(ตรงนี้ผมไม่ได้พูดถึงว่าเด็กที่พ่อแม่เลี้ยงดูไม่ดีจะกลายเป็นคนไม่ดีทั้งหมดนะครับ แต่ผมหมายถึงแนวโน้มที่จะเป็นแบบนั้นเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถาบันครอบครัว เป็นสถาบันหลัก ที่เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตคนๆหนึ่งจะเกิดมา และเติบโตไปเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งในสังคม ก็เริ่มจากสถาบันครอบครัวนี่แหละครับ )
กลับมาที่คำถามครับ คนเป็นพ่อแม่ควรส่งลูกเรียนจนถึงตอนไหนครับ? ถ้าลูกอยากเรียนจนถึง ป.โท ยังต้องส่งอยู่ไหมครับ
ขอบคุณสำหรับความเห็นล่วงหน้านะครับ อยากให้มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ