ปืนพกกึ่งอัตโนมัติขนาด .45 ออโตฯ ที่บ้านเราเรียกกันว่า “11 มม.” เป็นปืนประจำการทหารของสหรัฐ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1911-1985 จึงปลดประจำการเปลี่ยนเป็นขนาด 9 มม. มาตรฐานเดียวกับกองทัพนาโต้ (NATO) ซึ่งขนาดกระสุนที่เล็กลงมามีข้อดี คือ ตัวปืนบรรจุแต่ละครั้งได้มากกว่าถึงเท่าตัว จากเดิมซองกระสุนจุ 7 นัด เพิ่มเป็น 15 นัด เมื่อ +1 คือขึ้นลำเข้ารังเพลิงไว้อีกหนึ่งนัด ก็เท่ากับเพิ่มจาก 8 นัด เป็น 16 นัด โดยตัวปืนไม่ได้ใหญ่หรือหนักขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ กระสุน 9 มม. ยังยิงง่ายกว่าคือแรงรีคอยล์ต่ำกว่าด้วยน้ำหนักหัวกระสุน 115 เกรนครึ่งหนึ่งของ 11 มม. ที่หนักถึง 230 เกรน
แต่สำหรับผู้ที่ฝึกยิงจนคุมปืน 11 มม. ได้ดีแล้วยังมั่นใจว่า หน้าตัดที่ใหญ่กว่า และน้ำหนักหัวกระสุนมากกว่า จะให้อำนาจหยุดยั้งเหนือกว่าแม้ว่าตัวเลขพลังงานของ 9 มม. จะสูงกว่า คือ 420 ฟุต-ปอนด์ เทียบกับ 350 ฟุต-ปอนด์ ของ 11 มม. เนื่องจากตัวเลขพลังงานที่สูงกว่านี้ได้มาจากความเร็วที่สูงกว่าเมื่อยิงถูกเป้าหมายแล้วกระสุนมักจะทะลุไป พลังงานสูญเปล่าไม่เหมือนกระสุนหัวหนักหน้าตัดใหญ่ ที่ถ่ายทอดพลังงานเกือบทั้งหมดไว้ที่เป้า
กระสุนขนาด 10 มม. โดยขนาดหน้าตัดอยู่ตรงกลางระหว่าง 9 กับ 11 แต่จุดประสงค์ของผู้ออกแบบต้องการให้เหนือกว่าทั้งสองขนาดโดยตัวปืนไม่ใหญ่เกินไป และยังคุมได้ในระดับปืนต่อสู้ป้องกันตัว ไม่ใช่ปืนระดับปืนล่าสัตว์ใหญ่ความยาวกระสุนใกล้เคียงกับ 11 มม. แรงดันในรังเพลิงเท่า ๆ กับ 9 มม. ใช้หัวกระสุน 200 เกรน ความเร็ว 1,300 ฟุต/วินาทีให้พลังงาน 750 ฟุต-ปอนด์ ตัวเลขพลังงานแทบจะเท่ากับ 9 กับ 11 รวมกัน เริ่มผลิตขายในปี ค.ศ. 1983 มีปืนที่ออกแบบมารับกระสุนขนาดนี้ คือ เบร็นเท็น (Bren Ten) เป็นยี่ห้อใหม่อาศัยแบบ ซีแซด 75 ขยายใหญ่ขึ้นกับปืนสมิธฯ สองรุ่น คือ โมเดล 1006 แบบกึ่งออโตฯ กับ โมเดล 610 ลูกโม่โครงใหญ่
ด้วยความแรงที่เหนือกว่า 11 มม. ขึ้นไปอีกเช่นนี้ตลาดจึงค่อนข้างแคบมีผู้ผลิตปืนรองรับไม่มากรายนักจนกระทั่งเกิดเหตุ “วันดวลในไมอามี” (The Miami Shootout)ในปี ค.ศ. 1986 ที่ตำรวจสอบสวนกลาง หรือ เอฟบีไอ ของสหรัฐ 8 นาย ล้อมจับคนร้าย 2 คน แต่ฝ่ายคนร้ายมีปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติเป็นอาวุธ เหนือกว่าฝ่ายตำรวจที่ส่วนใหญ่ใช้ลูกโม่ .38/.357 ลำกล้องสั้น แม้ในที่สุดคนร้ายจะถูกวิสามัญฆาตกรรม แต่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ก็เสียชีวิต 2 นายและบาดเจ็บสาหัสไม่สาหัสอย่างทั่วถึง ทางเอฟบีไอสรุปว่า ควรเปลี่ยนอาวุธประจำตัวเจ้าหน้าที่เป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มอำนาจการยิงต่อเนื่อง และความแรงของกระสุนต้องเหนือกว่า .38 สเปเชียล ที่เจ้าหน้าที่นิยมใช้ในขณะนั้นขณะที่ทดสอบเพื่อเลือกปืน 9 และ 11 มม. นั้นหัวหน้าทีมงานทดสอบนำปืนส่วนตัว ในขนาด 10 มม. มาร่วมทดสอบด้วยโดยอัดกระสุนลดความแรงลงบ้าง คือหัวกระสุน 180 เกรน ความเร็ว 1,000 ฟุต/วินาที พลังงาน 400 ฟุต-ปอนด์เป็นที่พอใจของคณะกรรมการเป็นต้นกำเนิดกระสุนขนาดใหม่คือ .40 S&W (เดลินิวส์ 5 ต.ค.13) ที่ความยาวเท่า ๆ กับ 9 มม. ใช้ปืนโครงเดียวกันได้
ปืน 10 มม. กระบอกที่เข้าร่วมทดสอบกับ เอฟบีไอ ครั้งนั้น ก็คือ โคลท์ เดลต้า เอลีท (Delta Elite) นายแบบของสัปดาห์นี้ ที่มาของชื่อนี้คือ Delta Force หน่วยพลร่มสังกัดกองทัพบกสหรัฐ เทียบได้กับหน่วย SEAL ของกองทัพเรือส่วน Elite ก็คือ คัดพิเศษระดับสุดยอดแม้ว่ารูปทรงภายนอกจะเหมือนกับปืน 1911 ทั่วไป แต่ภายในมีความแตกต่างอยู่บ้าง เพื่อรองรับความแรงของกระสุน
โคลท์เริ่มผลิต เดลต้า เอลีท ในปี ค.ศ. 1987 ระบบการทำงานเหมือน 1911 ซีรีส์ 80 คือมีระบบล็อกเข็มแทงชนวนทำงานสัมพันธ์กับไก สิ่งที่เพิ่มขึ้นคือ สปริงลำเลื่อนสองชั้นและการเสริมความแข็งแรงของโครงบริเวณรางจับลำเลื่อนซึ่งแม้จะเสริมหนาแล้ว ก็ยังมีปัญหาโครงแตกร้าวเหนือโกร่งไก ในที่สุดโคลท์แก้ปัญหาได้โดยตัดรางเป็นสองส่วนตรงตำแหน่งปลายคันค้างลำเลื่อนโครงปืนให้ตัวได้มากขึ้นบ้างจึงไม่หัก ช่วงที่โคลท์ประสบปัญหาได้เลิกทำรุ่น เดลต้า เอลีท ไประยะหนึ่งและกลับมาผลิตใหม่ในปี 2009 มีทั้งแบบเหล็กดำและเหล็กสเตนเลส.
................................................................
ข้อมูลสรุป Colt Delta Elite
ขนาดกระสุน 10 mm. Automatic
ความจุ 8+1 นัด
มิติ ยาวxสูงxหนา: 217x138x 32
มิลลิเมตร
ลำกล้องยาว 128 มม. (5 นิ้ว)
น้ำหนัก 1,060 กรัม
แรงเหนี่ยวไก 2,150 กรัม (4.5 ปอนด์)
วัสดุ เหล็กรมดำด้านอื่น ๆ มีรุ่นเหล็กสเตนเลส,รุ่นติดศูนย์แบบยิงเป้า
ลักษณะใช้งาน จนท. พกซองนอก, เฝ้าบ้าน
ตัวเลือกอื่น Kimber Eclipse,Smith 1006, Glock 20.
https://d.dailynews.co.th/article/226271/
.................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 1268 สิบ แรงกว่า สิบเอ็ด โคลท์ เดลต้า เอลีท
ปืนพกกึ่งอัตโนมัติขนาด .45 ออโตฯ ที่บ้านเราเรียกกันว่า “11 มม.” เป็นปืนประจำการทหารของสหรัฐ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1911-1985 จึงปลดประจำการเปลี่ยนเป็นขนาด 9 มม. มาตรฐานเดียวกับกองทัพนาโต้ (NATO) ซึ่งขนาดกระสุนที่เล็กลงมามีข้อดี คือ ตัวปืนบรรจุแต่ละครั้งได้มากกว่าถึงเท่าตัว จากเดิมซองกระสุนจุ 7 นัด เพิ่มเป็น 15 นัด เมื่อ +1 คือขึ้นลำเข้ารังเพลิงไว้อีกหนึ่งนัด ก็เท่ากับเพิ่มจาก 8 นัด เป็น 16 นัด โดยตัวปืนไม่ได้ใหญ่หรือหนักขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ กระสุน 9 มม. ยังยิงง่ายกว่าคือแรงรีคอยล์ต่ำกว่าด้วยน้ำหนักหัวกระสุน 115 เกรนครึ่งหนึ่งของ 11 มม. ที่หนักถึง 230 เกรน
แต่สำหรับผู้ที่ฝึกยิงจนคุมปืน 11 มม. ได้ดีแล้วยังมั่นใจว่า หน้าตัดที่ใหญ่กว่า และน้ำหนักหัวกระสุนมากกว่า จะให้อำนาจหยุดยั้งเหนือกว่าแม้ว่าตัวเลขพลังงานของ 9 มม. จะสูงกว่า คือ 420 ฟุต-ปอนด์ เทียบกับ 350 ฟุต-ปอนด์ ของ 11 มม. เนื่องจากตัวเลขพลังงานที่สูงกว่านี้ได้มาจากความเร็วที่สูงกว่าเมื่อยิงถูกเป้าหมายแล้วกระสุนมักจะทะลุไป พลังงานสูญเปล่าไม่เหมือนกระสุนหัวหนักหน้าตัดใหญ่ ที่ถ่ายทอดพลังงานเกือบทั้งหมดไว้ที่เป้า
กระสุนขนาด 10 มม. โดยขนาดหน้าตัดอยู่ตรงกลางระหว่าง 9 กับ 11 แต่จุดประสงค์ของผู้ออกแบบต้องการให้เหนือกว่าทั้งสองขนาดโดยตัวปืนไม่ใหญ่เกินไป และยังคุมได้ในระดับปืนต่อสู้ป้องกันตัว ไม่ใช่ปืนระดับปืนล่าสัตว์ใหญ่ความยาวกระสุนใกล้เคียงกับ 11 มม. แรงดันในรังเพลิงเท่า ๆ กับ 9 มม. ใช้หัวกระสุน 200 เกรน ความเร็ว 1,300 ฟุต/วินาทีให้พลังงาน 750 ฟุต-ปอนด์ ตัวเลขพลังงานแทบจะเท่ากับ 9 กับ 11 รวมกัน เริ่มผลิตขายในปี ค.ศ. 1983 มีปืนที่ออกแบบมารับกระสุนขนาดนี้ คือ เบร็นเท็น (Bren Ten) เป็นยี่ห้อใหม่อาศัยแบบ ซีแซด 75 ขยายใหญ่ขึ้นกับปืนสมิธฯ สองรุ่น คือ โมเดล 1006 แบบกึ่งออโตฯ กับ โมเดล 610 ลูกโม่โครงใหญ่
ด้วยความแรงที่เหนือกว่า 11 มม. ขึ้นไปอีกเช่นนี้ตลาดจึงค่อนข้างแคบมีผู้ผลิตปืนรองรับไม่มากรายนักจนกระทั่งเกิดเหตุ “วันดวลในไมอามี” (The Miami Shootout)ในปี ค.ศ. 1986 ที่ตำรวจสอบสวนกลาง หรือ เอฟบีไอ ของสหรัฐ 8 นาย ล้อมจับคนร้าย 2 คน แต่ฝ่ายคนร้ายมีปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติเป็นอาวุธ เหนือกว่าฝ่ายตำรวจที่ส่วนใหญ่ใช้ลูกโม่ .38/.357 ลำกล้องสั้น แม้ในที่สุดคนร้ายจะถูกวิสามัญฆาตกรรม แต่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ก็เสียชีวิต 2 นายและบาดเจ็บสาหัสไม่สาหัสอย่างทั่วถึง ทางเอฟบีไอสรุปว่า ควรเปลี่ยนอาวุธประจำตัวเจ้าหน้าที่เป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มอำนาจการยิงต่อเนื่อง และความแรงของกระสุนต้องเหนือกว่า .38 สเปเชียล ที่เจ้าหน้าที่นิยมใช้ในขณะนั้นขณะที่ทดสอบเพื่อเลือกปืน 9 และ 11 มม. นั้นหัวหน้าทีมงานทดสอบนำปืนส่วนตัว ในขนาด 10 มม. มาร่วมทดสอบด้วยโดยอัดกระสุนลดความแรงลงบ้าง คือหัวกระสุน 180 เกรน ความเร็ว 1,000 ฟุต/วินาที พลังงาน 400 ฟุต-ปอนด์เป็นที่พอใจของคณะกรรมการเป็นต้นกำเนิดกระสุนขนาดใหม่คือ .40 S&W (เดลินิวส์ 5 ต.ค.13) ที่ความยาวเท่า ๆ กับ 9 มม. ใช้ปืนโครงเดียวกันได้
ปืน 10 มม. กระบอกที่เข้าร่วมทดสอบกับ เอฟบีไอ ครั้งนั้น ก็คือ โคลท์ เดลต้า เอลีท (Delta Elite) นายแบบของสัปดาห์นี้ ที่มาของชื่อนี้คือ Delta Force หน่วยพลร่มสังกัดกองทัพบกสหรัฐ เทียบได้กับหน่วย SEAL ของกองทัพเรือส่วน Elite ก็คือ คัดพิเศษระดับสุดยอดแม้ว่ารูปทรงภายนอกจะเหมือนกับปืน 1911 ทั่วไป แต่ภายในมีความแตกต่างอยู่บ้าง เพื่อรองรับความแรงของกระสุน
โคลท์เริ่มผลิต เดลต้า เอลีท ในปี ค.ศ. 1987 ระบบการทำงานเหมือน 1911 ซีรีส์ 80 คือมีระบบล็อกเข็มแทงชนวนทำงานสัมพันธ์กับไก สิ่งที่เพิ่มขึ้นคือ สปริงลำเลื่อนสองชั้นและการเสริมความแข็งแรงของโครงบริเวณรางจับลำเลื่อนซึ่งแม้จะเสริมหนาแล้ว ก็ยังมีปัญหาโครงแตกร้าวเหนือโกร่งไก ในที่สุดโคลท์แก้ปัญหาได้โดยตัดรางเป็นสองส่วนตรงตำแหน่งปลายคันค้างลำเลื่อนโครงปืนให้ตัวได้มากขึ้นบ้างจึงไม่หัก ช่วงที่โคลท์ประสบปัญหาได้เลิกทำรุ่น เดลต้า เอลีท ไประยะหนึ่งและกลับมาผลิตใหม่ในปี 2009 มีทั้งแบบเหล็กดำและเหล็กสเตนเลส.
................................................................
ข้อมูลสรุป Colt Delta Elite
ขนาดกระสุน 10 mm. Automatic
ความจุ 8+1 นัด
มิติ ยาวxสูงxหนา: 217x138x 32
มิลลิเมตร
ลำกล้องยาว 128 มม. (5 นิ้ว)
น้ำหนัก 1,060 กรัม
แรงเหนี่ยวไก 2,150 กรัม (4.5 ปอนด์)
วัสดุ เหล็กรมดำด้านอื่น ๆ มีรุ่นเหล็กสเตนเลส,รุ่นติดศูนย์แบบยิงเป้า
ลักษณะใช้งาน จนท. พกซองนอก, เฝ้าบ้าน
ตัวเลือกอื่น Kimber Eclipse,Smith 1006, Glock 20.
https://d.dailynews.co.th/article/226271/
.................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช