ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ รูเกอร์ LCR ขนาด .38 สเปเชียล ใช้กระสุนแรงสูงระดับ +P ได้ เมื่อเปรียบเทียบกระสุนมาตรฐาน กับ +P ที่น้ำหนักหัวกระสุน 158 เกรนเท่ากัน
นับตั้งแต่เริ่มทำปืนกระบอกแรกขายในปี ค.ศ. 1949 รูเกอร์ สร้างชื่อเสียงตลอดมาในด้านการออกแบบที่เอื้อต่อการผลิต ช่วยให้ต้นทุนต่ำ และยังเน้นความแข็งแรงทนทานของตัวปืน ไม่ว่าจะเป็นปืนเหล็กล้วนอย่างลูกกรดสั้นกึ่งอัตโนมัติ, ลูกโม่ซิงเกิลและดับเบิลแอ๊คชั่น หรือที่ใช้โครงอะลูมินั่ม อัลลอยด์ อย่างลูกกรดยาว 10/22 ต่างเป็นที่ยอมรับว่าคุณภาพเกินราคา ทนทานสุดยอด
ในปี 2009 รูเกอร์ แถลงข่าวเปิดตัวปืนลูกโม่ “LCR” (Lightweight, Compact Revolver) ที่ใช้วัสดุสามชนิด คือ โม่กับลำกล้องสเตนเลส, โครงส่วนบนรอบโม่เป็นอัลลอยด์, และโครงส่วนท้ายเป็นโพลิเมอร์เสริมใยแก้ว จุดประสงค์เพื่อให้ได้ปืนน้ำหนักเบา แต่แข็งแรงทนทานเหมือนปืนเหล็ก เริ่มวางขายในปี 2010 จัดเป็นปืนขายดีอีกรุ่นหนึ่งของรูเกอร์ จากขนาด .38 สเปเชียล มีเพิ่ม .357 แม็กนั่ม, .22 LR, .22 WMR, .32 เฟเดอรัลแม็กนั่ม และ 9 มม. พาราฯ รวมทั้งออกรุ่นที่เพิ่มไกซิงเกิล เปิดท้ายให้ง้างนกยิงได้ด้วย ซึ่งสำหรับบ้านเรามีสั่งเข้ามาเพียงขนาด .38, .357 และ .22 ทั้งธรรมดาและแม็กนั่ม เป็นรุ่นปิดหลัง ไกดับเบิลล้วน (DAO : Double Action Only) ยังไม่มีสั่งรุ่นง้างนกได้
ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ เป็น รูเกอร์ LCR ขนาด .38 สเปเชียล ที่โรงงานบ่งไว้ชัดเจนว่าใช้กระสุนแรงสูงระดับ +P ได้ เมื่อเปรียบเทียบกระสุนมาตรฐาน กับ +P ที่น้ำหนักหัวกระสุน 158 เกรนเท่ากัน กระสุนมาตรฐานยิงจากปืนลำกล้องสั้นสองนิ้ว ทำความเร็วได้ประมาณ 750 ฟุต/วินาที ให้พลังงาน 197 ฟุต-ปอนด์ ในขณะที่กระสุน +P ให้ความเร็ว 900 ฟุต/วินาที พลังงาน 283 ฟุต-ปอนด์ ความแรงส่วนต่างนี้ได้จากการเพิ่มดินขับ โดยตัวปืนต้องรับแรงดันสูงขึ้น จาก 17,000 เป็น 20,000 PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
ตัวปืน LCR เมื่อเทียบกับ SP101 ของรูเกอร์เอง (เดลินิวส์ 3 ก.พ. 2561) ใช้กระสุนขนาดเดียวกัน จุห้านัดเท่ากัน โม่หนาเท่ากัน น้ำหนักตัว LCR เพียง 380 กรัม ในขณะที่ SP101 เหล็กล้วนหนักกว่าเกือบเท่าตัว คือ 735 กรัม อาจมีข้อโต้แย้งว่า SP101 ออกแบบไว้รับ .357 แม็กนั่ม เพียงคว้านรังเพลิงสั้นให้เป็น .38 ตามความต้องการของตลาด เมื่อทำ LCR ขนาด .357 รูเกอร์เลือกใช้โครงสเตนเลสแทนอลูมินั่มอัลลอยด์ ได้น้ำหนักตัว 480 กรัม โดยให้เหตุผลว่า โครงอัลลอยด์ระดับอากาศยานของปืน .38 เดิม ก็รับแรงดันลูกแม็กนั่มได้อยู่แล้ว ที่เปลี่ยนเป็นเหล็กเพราะต้องการเพิ่มน้ำหนักตัว ให้ยิงลูกแม็กนั่มได้สบายมือขึ้น
สำหรับกลไกภายใน รูเกอร์ปรับแบบจากลูกโม่เหล็กล้วนหลายจุด ที่สำคัญคือองศาของชิ้นส่วนชุดลั่นไก ที่รูเกอร์เรียกว่า “constant force trigger” ตัวเลขแรงเหนี่ยวไก 12 ปอนด์ อาจจะดูว่าไม่ต่างจากของเดิม 13-15 ปอนด์มากนัก แต่ไกดับเบิลล้วนของ LCR หนักเท่ากันตลอดตั้งแต่เริ่มเหนี่ยวจนนกสับ ไม่หนักเพิ่มในช่วงท้าย ให้ความ รู้สึกดีกว่ากันมาก
โดยรวม รูเกอร์ LCR กระบอกนี้ เป็นปืนระดับพกซ่อนน้ำหนักเบาพิเศษ โม่เหล็กสเตนเลสแข็งแรง รับกระสุน .38 สเปเชียล แรงสูงได้ คล่องตัวสูงด้วยระบบไก DAO ที่ลากได้เรียบลื่น คุมง่ายยิงง่าย ใช้เป็นปืนป้องกันตัวได้ดี มีอุปกรณ์เสริมที่แนะนำคือด้ามติดเลเซอร์ ช่วยให้ยิงจากระดับเอวได้อย่างมั่นใจ.
https://www.dailynews.co.th/article/630237/
...................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 736 โม่เหล็กโครงโพลิเมอร์ รูเกอร์ LCR.38 +P
นับตั้งแต่เริ่มทำปืนกระบอกแรกขายในปี ค.ศ. 1949 รูเกอร์ สร้างชื่อเสียงตลอดมาในด้านการออกแบบที่เอื้อต่อการผลิต ช่วยให้ต้นทุนต่ำ และยังเน้นความแข็งแรงทนทานของตัวปืน ไม่ว่าจะเป็นปืนเหล็กล้วนอย่างลูกกรดสั้นกึ่งอัตโนมัติ, ลูกโม่ซิงเกิลและดับเบิลแอ๊คชั่น หรือที่ใช้โครงอะลูมินั่ม อัลลอยด์ อย่างลูกกรดยาว 10/22 ต่างเป็นที่ยอมรับว่าคุณภาพเกินราคา ทนทานสุดยอด
ในปี 2009 รูเกอร์ แถลงข่าวเปิดตัวปืนลูกโม่ “LCR” (Lightweight, Compact Revolver) ที่ใช้วัสดุสามชนิด คือ โม่กับลำกล้องสเตนเลส, โครงส่วนบนรอบโม่เป็นอัลลอยด์, และโครงส่วนท้ายเป็นโพลิเมอร์เสริมใยแก้ว จุดประสงค์เพื่อให้ได้ปืนน้ำหนักเบา แต่แข็งแรงทนทานเหมือนปืนเหล็ก เริ่มวางขายในปี 2010 จัดเป็นปืนขายดีอีกรุ่นหนึ่งของรูเกอร์ จากขนาด .38 สเปเชียล มีเพิ่ม .357 แม็กนั่ม, .22 LR, .22 WMR, .32 เฟเดอรัลแม็กนั่ม และ 9 มม. พาราฯ รวมทั้งออกรุ่นที่เพิ่มไกซิงเกิล เปิดท้ายให้ง้างนกยิงได้ด้วย ซึ่งสำหรับบ้านเรามีสั่งเข้ามาเพียงขนาด .38, .357 และ .22 ทั้งธรรมดาและแม็กนั่ม เป็นรุ่นปิดหลัง ไกดับเบิลล้วน (DAO : Double Action Only) ยังไม่มีสั่งรุ่นง้างนกได้
ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ เป็น รูเกอร์ LCR ขนาด .38 สเปเชียล ที่โรงงานบ่งไว้ชัดเจนว่าใช้กระสุนแรงสูงระดับ +P ได้ เมื่อเปรียบเทียบกระสุนมาตรฐาน กับ +P ที่น้ำหนักหัวกระสุน 158 เกรนเท่ากัน กระสุนมาตรฐานยิงจากปืนลำกล้องสั้นสองนิ้ว ทำความเร็วได้ประมาณ 750 ฟุต/วินาที ให้พลังงาน 197 ฟุต-ปอนด์ ในขณะที่กระสุน +P ให้ความเร็ว 900 ฟุต/วินาที พลังงาน 283 ฟุต-ปอนด์ ความแรงส่วนต่างนี้ได้จากการเพิ่มดินขับ โดยตัวปืนต้องรับแรงดันสูงขึ้น จาก 17,000 เป็น 20,000 PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
ตัวปืน LCR เมื่อเทียบกับ SP101 ของรูเกอร์เอง (เดลินิวส์ 3 ก.พ. 2561) ใช้กระสุนขนาดเดียวกัน จุห้านัดเท่ากัน โม่หนาเท่ากัน น้ำหนักตัว LCR เพียง 380 กรัม ในขณะที่ SP101 เหล็กล้วนหนักกว่าเกือบเท่าตัว คือ 735 กรัม อาจมีข้อโต้แย้งว่า SP101 ออกแบบไว้รับ .357 แม็กนั่ม เพียงคว้านรังเพลิงสั้นให้เป็น .38 ตามความต้องการของตลาด เมื่อทำ LCR ขนาด .357 รูเกอร์เลือกใช้โครงสเตนเลสแทนอลูมินั่มอัลลอยด์ ได้น้ำหนักตัว 480 กรัม โดยให้เหตุผลว่า โครงอัลลอยด์ระดับอากาศยานของปืน .38 เดิม ก็รับแรงดันลูกแม็กนั่มได้อยู่แล้ว ที่เปลี่ยนเป็นเหล็กเพราะต้องการเพิ่มน้ำหนักตัว ให้ยิงลูกแม็กนั่มได้สบายมือขึ้น
สำหรับกลไกภายใน รูเกอร์ปรับแบบจากลูกโม่เหล็กล้วนหลายจุด ที่สำคัญคือองศาของชิ้นส่วนชุดลั่นไก ที่รูเกอร์เรียกว่า “constant force trigger” ตัวเลขแรงเหนี่ยวไก 12 ปอนด์ อาจจะดูว่าไม่ต่างจากของเดิม 13-15 ปอนด์มากนัก แต่ไกดับเบิลล้วนของ LCR หนักเท่ากันตลอดตั้งแต่เริ่มเหนี่ยวจนนกสับ ไม่หนักเพิ่มในช่วงท้าย ให้ความ รู้สึกดีกว่ากันมาก
โดยรวม รูเกอร์ LCR กระบอกนี้ เป็นปืนระดับพกซ่อนน้ำหนักเบาพิเศษ โม่เหล็กสเตนเลสแข็งแรง รับกระสุน .38 สเปเชียล แรงสูงได้ คล่องตัวสูงด้วยระบบไก DAO ที่ลากได้เรียบลื่น คุมง่ายยิงง่าย ใช้เป็นปืนป้องกันตัวได้ดี มีอุปกรณ์เสริมที่แนะนำคือด้ามติดเลเซอร์ ช่วยให้ยิงจากระดับเอวได้อย่างมั่นใจ.
https://www.dailynews.co.th/article/630237/
...................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช