บริษัท รูเกอร์ (Sturm, Ruger & Co., Inc.) เริ่มกิจการในปี ค.ศ.1949 เป็นบริษัทอเมริกันเต็มตัว ผลงานชิ้นแรกที่ออกขายเป็นปืนสั้นลูกกรดแบบกึ่งอัตโนมัติ ที่ปรับแบบต่อเนื่อง ทำขายอยู่จนทุกวันนี้ (Ruger Mk.I, Mk.II และ Mk.III) ต่อมามีปืนยาวลูกกรดแบบกึ่งอัตโนมัติ รุ่น 10/22 มีเอกลักษณ์คือซองกระสุนโรตารี (rotary magazine) จุ 10 นัดโดยไม่ยื่นพ้นไม้รางปืน ขายดีตลอดมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1964 ที่เริ่มผลิต จัดเป็นปืนลูกกรดกึ่งออโตฯ ขายได้มากที่สุดตลอดกาล
นอกจากลูกกรดสองรุ่นนั้นแล้ว รูเกอร์มีปืนสั้นลูกโม่ทั้งแบบซิงเกิลและดับเบิลแอ๊คชั่น ที่ได้รับการยกย่องว่าทนทานสุดยอด เป็นที่นิยมทั้งในตลาดเอกชนและหน่วยงานตำรวจ แต่เมื่อเข้ายุคที่หน่วยงานภาครัฐเปลี่ยนมาใช้ปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติ รูเกอร์ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ แม้จะมีปืน “เก้าลูกดก” ที่ออกแบบได้ดี เช่น SR9 และ SR9c (เดลินิวส์ 23 มิ.ย. 55) แต่ก็ “ตกรถไฟ” คือออกขายหลังช่วงที่หน่วยงานของรัฐสั่งซื้อปืนรูปแบบใหม่ไปมากแล้ว
จากปืนขนาดมาตรฐานทหาร รูเกอร์หันมาออกแบบปืนตัวเล็ก เบา เพื่อความสะดวกในการพกพา คือลูกโม่ LCR ขนาด .38 สเปเชียล (เดลินิวส์ 2 มิ.ย. 55) และ กึ่งออโตฯ LCP ขนาด .380 คือ 9 มม. สั้น ทั้งสองรุ่นเน้นการใช้โพลิเมอร์เสริมใยแก้วทำโครงปืนแทนโลหะผสมอะลูมินั่มอัลลอยด์ ทำให้ได้ปืนที่เบามาก ต่อมาจึงขยายตัวปืน LCP (ย่อจาก Lightweight, Compact Pistol) เพียงเล็กน้อย ให้รับกระสุน 9 มม. พาราฯ ได้ ตั้งชื่อรุ่นว่า LC9 ที่นำเสนอในสัปดาห์นี้
ในตลาดปัจจุบัน ปืนขนาด 9 พาราฯ ตัวแบนบาง หนักไม่เกิน 500 กรัม ที่พอจะหาได้นอกจาก LC9 ตัวนี้แล้ว ก็มี SIG 938 (เดลินิวส์ 26 ม.ค. 56) ไกทำงานแบบไกซิงเกิลล้วน นกต้องง้างพร้อมจึงจะยิงได้ กับ Kahr CW9 (เดลินิวส์ 21 ก.ค. 55) ที่ใช้ระบบเข็มพุ่ง ไม่มีห้ามไก
สำหรับ LC9 จุดชนวนด้วยนกสับ ระบบไกเป็นกึ่งดับเบิล คือเมื่อนกสับแล้วเหนี่ยวซ้ำไม่ได้ มีห้ามไกบนโครงปืนด้านนอก ขัดกลอนด้วยส่วนรังเพลิงเข้ากับช่องสลัดปลอก สปริงลำเลื่อนสองชั้น มีแกนสปริงยาวตลอด สปริงนกสับเป็นแบบสปริงยืดช่วยลดขนาดด้าม ติดศูนย์แบบแต้มจุดขาวสามจุดช่วยให้จัดศูนย์ได้เร็ว ซองกระสุน 7 นัดมีจะงอยช่วยรับนิ้วก้อย และมีซองกระสุน 9 นัดต่อด้ามยาวถ้าต้องการ และอุปกรณ์เสริมที่น่าสนใจ คือเลเซอร์ช่วยยิง ติดตั้งใต้โครงปืนหน้าโกร่งไก ไม่เพิ่มความหนาของตัวปืน
ในการยิงทดสอบ พบว่าไกของ LC9 มีช่วงลากค่อนข้างยาว และเป็นแบบเรียบลื่นรวดเดียวลั่น ไม่มีจุดหยุดก่อนลั่น ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับปืนคาห์ แต่ไกของ LC9 เบากว่าเล็กน้อย ไกที่ลากยาวมีข้อดีคือลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุปืนลั่นโดยไม่ตั้งใจ และอาจทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ห้ามไกที่โครงปืนเลย ซึ่งไม่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้ห้ามไก ควรฝึกให้คุ้นเคยชำนาญ คือเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นประจำ ป้องกันการสับสนเมื่อต้องใช้งานแบบเร่งรีบ
ด้านความทนทาน สำหรับปืนตัวเล็ก เบา ที่ไม่น่าจะใช้ยิงกระสุนจำนวนมาก ดูจากวัสดุที่ใช้ คือลำกล้องกับลำเลื่อนเป็นเหล็ก โครงด้ามและรางปืนเป็นโพลิเมอร์เสริมใยแก้ว มีเหล็กเสริมโครงด้านในเพิ่มความแข็งแรงพอวางใจได้ ความคาดหวังด้านอายุใช้งานควรจะอยู่ระดับหมื่นนัด
โดยรวม รูเกอร์ LC9 เป็นปืนที่ออกแบบสำหรับพกซ่อน เน้นน้ำหนักเบา และตัวปืนแบนบาง ไกดับเบิลทุกนัดใช้งานง่าย ระบบนิรภัยมีทั้งสมอล็อกเข็ม และห้ามไกภายนอกที่โครงปืน ใช้กระสุนมาตรฐาน 9 มม. พาราฯ ที่นิยมแพร่หลาย อานุภาพไว้ใจได้ เหมาะเป็นปืนสำรองใช้กระสุนร่วมกับปืนหลักพกซองนอก มีข้อควรระวังคือ นกสับตัวเล็กน้ำหนักเบา ต้องอาศัยแรงสปริงเป็นหลักในการจุดชนวน อาจพบว่ามีกระสุนบางยี่ห้อที่จอกชนวนแข็ง สับไม่แตกเป็นบางนัด ควรทดสอบในสนามซ้อมให้มั่นใจก่อนเลือกไว้ติดปืนใช้งาน.
ข้อมูลสรุป Ruger LC9
ขนาดกระสุน 9 มม. พาราฯ (9x19 mm.) ความจุ 7+1 นัด
มิติ ยาวxสูงxหนา : 152x114x23 มิลลิเมตร
ลำกล้องยาว 79 มม. (3.1 นิ้ว)
น้ำหนัก 490 กรัม
แรงเหนี่ยวไก 3,000 กรัม (6.5 ปอนด์)
วัสดุ เหล็ก (ลำกล้อง, ลำเลื่อน), โพลิเมอร์เสริมใยแก้ว (โครงปืน)
อื่น ๆ มีเลเซอร์สำหรับติดหน้าด้ามเป็นอุปกรณ์เสริม
ลักษณะใช้งาน ต่อสู้ระยะใกล้ถึงปานกลาง, พกพาแบบไม่เปิดเผย
ตัวเลือกอื่น SIG 938 (ไกซิงเกิลล้วน), Kahr CW9 (ระบบเข็มพุ่ง)
https://d.dailynews.co.th/entertainment/2302/
.................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 1535 9 มม. ตัวเล็ก ดับเบิลล้วน รูเกอร์ LC9
นอกจากลูกกรดสองรุ่นนั้นแล้ว รูเกอร์มีปืนสั้นลูกโม่ทั้งแบบซิงเกิลและดับเบิลแอ๊คชั่น ที่ได้รับการยกย่องว่าทนทานสุดยอด เป็นที่นิยมทั้งในตลาดเอกชนและหน่วยงานตำรวจ แต่เมื่อเข้ายุคที่หน่วยงานภาครัฐเปลี่ยนมาใช้ปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติ รูเกอร์ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ แม้จะมีปืน “เก้าลูกดก” ที่ออกแบบได้ดี เช่น SR9 และ SR9c (เดลินิวส์ 23 มิ.ย. 55) แต่ก็ “ตกรถไฟ” คือออกขายหลังช่วงที่หน่วยงานของรัฐสั่งซื้อปืนรูปแบบใหม่ไปมากแล้ว
จากปืนขนาดมาตรฐานทหาร รูเกอร์หันมาออกแบบปืนตัวเล็ก เบา เพื่อความสะดวกในการพกพา คือลูกโม่ LCR ขนาด .38 สเปเชียล (เดลินิวส์ 2 มิ.ย. 55) และ กึ่งออโตฯ LCP ขนาด .380 คือ 9 มม. สั้น ทั้งสองรุ่นเน้นการใช้โพลิเมอร์เสริมใยแก้วทำโครงปืนแทนโลหะผสมอะลูมินั่มอัลลอยด์ ทำให้ได้ปืนที่เบามาก ต่อมาจึงขยายตัวปืน LCP (ย่อจาก Lightweight, Compact Pistol) เพียงเล็กน้อย ให้รับกระสุน 9 มม. พาราฯ ได้ ตั้งชื่อรุ่นว่า LC9 ที่นำเสนอในสัปดาห์นี้
ในตลาดปัจจุบัน ปืนขนาด 9 พาราฯ ตัวแบนบาง หนักไม่เกิน 500 กรัม ที่พอจะหาได้นอกจาก LC9 ตัวนี้แล้ว ก็มี SIG 938 (เดลินิวส์ 26 ม.ค. 56) ไกทำงานแบบไกซิงเกิลล้วน นกต้องง้างพร้อมจึงจะยิงได้ กับ Kahr CW9 (เดลินิวส์ 21 ก.ค. 55) ที่ใช้ระบบเข็มพุ่ง ไม่มีห้ามไก
สำหรับ LC9 จุดชนวนด้วยนกสับ ระบบไกเป็นกึ่งดับเบิล คือเมื่อนกสับแล้วเหนี่ยวซ้ำไม่ได้ มีห้ามไกบนโครงปืนด้านนอก ขัดกลอนด้วยส่วนรังเพลิงเข้ากับช่องสลัดปลอก สปริงลำเลื่อนสองชั้น มีแกนสปริงยาวตลอด สปริงนกสับเป็นแบบสปริงยืดช่วยลดขนาดด้าม ติดศูนย์แบบแต้มจุดขาวสามจุดช่วยให้จัดศูนย์ได้เร็ว ซองกระสุน 7 นัดมีจะงอยช่วยรับนิ้วก้อย และมีซองกระสุน 9 นัดต่อด้ามยาวถ้าต้องการ และอุปกรณ์เสริมที่น่าสนใจ คือเลเซอร์ช่วยยิง ติดตั้งใต้โครงปืนหน้าโกร่งไก ไม่เพิ่มความหนาของตัวปืน
ในการยิงทดสอบ พบว่าไกของ LC9 มีช่วงลากค่อนข้างยาว และเป็นแบบเรียบลื่นรวดเดียวลั่น ไม่มีจุดหยุดก่อนลั่น ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับปืนคาห์ แต่ไกของ LC9 เบากว่าเล็กน้อย ไกที่ลากยาวมีข้อดีคือลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุปืนลั่นโดยไม่ตั้งใจ และอาจทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ห้ามไกที่โครงปืนเลย ซึ่งไม่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้ห้ามไก ควรฝึกให้คุ้นเคยชำนาญ คือเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นประจำ ป้องกันการสับสนเมื่อต้องใช้งานแบบเร่งรีบ
ด้านความทนทาน สำหรับปืนตัวเล็ก เบา ที่ไม่น่าจะใช้ยิงกระสุนจำนวนมาก ดูจากวัสดุที่ใช้ คือลำกล้องกับลำเลื่อนเป็นเหล็ก โครงด้ามและรางปืนเป็นโพลิเมอร์เสริมใยแก้ว มีเหล็กเสริมโครงด้านในเพิ่มความแข็งแรงพอวางใจได้ ความคาดหวังด้านอายุใช้งานควรจะอยู่ระดับหมื่นนัด
โดยรวม รูเกอร์ LC9 เป็นปืนที่ออกแบบสำหรับพกซ่อน เน้นน้ำหนักเบา และตัวปืนแบนบาง ไกดับเบิลทุกนัดใช้งานง่าย ระบบนิรภัยมีทั้งสมอล็อกเข็ม และห้ามไกภายนอกที่โครงปืน ใช้กระสุนมาตรฐาน 9 มม. พาราฯ ที่นิยมแพร่หลาย อานุภาพไว้ใจได้ เหมาะเป็นปืนสำรองใช้กระสุนร่วมกับปืนหลักพกซองนอก มีข้อควรระวังคือ นกสับตัวเล็กน้ำหนักเบา ต้องอาศัยแรงสปริงเป็นหลักในการจุดชนวน อาจพบว่ามีกระสุนบางยี่ห้อที่จอกชนวนแข็ง สับไม่แตกเป็นบางนัด ควรทดสอบในสนามซ้อมให้มั่นใจก่อนเลือกไว้ติดปืนใช้งาน.
ข้อมูลสรุป Ruger LC9
ขนาดกระสุน 9 มม. พาราฯ (9x19 mm.) ความจุ 7+1 นัด
มิติ ยาวxสูงxหนา : 152x114x23 มิลลิเมตร
ลำกล้องยาว 79 มม. (3.1 นิ้ว)
น้ำหนัก 490 กรัม
แรงเหนี่ยวไก 3,000 กรัม (6.5 ปอนด์)
วัสดุ เหล็ก (ลำกล้อง, ลำเลื่อน), โพลิเมอร์เสริมใยแก้ว (โครงปืน)
อื่น ๆ มีเลเซอร์สำหรับติดหน้าด้ามเป็นอุปกรณ์เสริม
ลักษณะใช้งาน ต่อสู้ระยะใกล้ถึงปานกลาง, พกพาแบบไม่เปิดเผย
ตัวเลือกอื่น SIG 938 (ไกซิงเกิลล้วน), Kahr CW9 (ระบบเข็มพุ่ง)
https://d.dailynews.co.th/entertainment/2302/
.................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช