ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีกับนักลงทุนที่ซื้อหรือถือหุ้นไว้ด้วยนะครับ โดยในรอบนี้ตลาดหุ้นไทยได้ทำจุดสูงสุดใหม่ของปีเหนือระดับ 1700 จุดเป็นที่เรียบร้อย แต่อย่างไรก็ตามจากข้อมูลที่เราเก็บมากลับพบว่า “มีคนได้กำไรน้อยกว่าที่คิด” เนื่องจากการขึ้นครั้งนี้ เจ้ามือเขาลากโดยมีวัตถุประสงค์ในการทำราคาดัชนี (สังเกตได้จากดัชนี sSET และ MAI ที่ไม่ได้ขึ้นแรงตาม) พวกเขาจึงเลือกซื้อเฉพาะหุ้นบางตัว(บางกลุ่ม) แล้วท่านคิดว่าเขาใช้วิธีไหนในการเลือกหุ้น ลองมาทำความเข้าใจกันในบทความนี้
ตารางแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณการซื้อขายที่ทำให้ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลง 1% กับผลกระทบต่อดัชนี SET50
🌈 หลังจากไม่มี DELTA เจ้าจะใช้หุ้นตัวไหนลากดัชนี SET50 ครับ =>
https://ppantip.com/topic/41220319
ทุกท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าหุ้นที่เป็นพระเอกในรอบนี้ คือ หุ้นกลุ่มการเงินการธนาคาร แต่แค่นั้นคงยังไม่เพียงพอที่จะลากดัชนี SET50 ให้ขึ้นมาถึงจุดนี้ได้ และหากยังจำกันได้ เมื่อเดือนก่อนเรามีการออกบทความ “หุ้นที่มีแนวโน้มจะถูกเจ้าใช้ทำราคา” โดยทำการเปรียบเทียบหุ้นแต่ละตัวว่าจะต้องใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ในการทำให้ดัชนีเปลี่ยนแปลงไป 1 จุด ซึ่งได้ผลลัพธ์ตามตารางด้านบน ดังนั้น เรามาลองมาพิสูจน์กันดูนะครับ ว่าตลาดหุ้นที่ขึ้นมาในรอบนี้ จะมีหุ้นที่อยู่ใน List ทั้งหมดกี่ตัว
กราฟแสดงการเคลื่อนไหวของดัชนี SET ในช่วงวันที่ 27 ม.ค. – 11 ก.พ. 65 (กรอบที่ชมพู)
เมื่อพิจารณาจากวันที่ 27 ม.ค. ที่ตลาดเริ่มเป็นดีดตัวขึ้นวันแรก มาจนถึงวันที่ 11 ก.พ. จะพบว่าดัชนี SET ปรับตัวพุ่งขึ้นจาก 1634 จุด มาปิดระดับ 1700 จุด คิดเป็นกว่า 4% ภายในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ สอดคล้องกับดัชนี SET50 ที่ขึ้นมาประมาณ 4% เช่นเดียวกัน โดยหากมองภาพรวมแล้วคงยังไม่เห็นความผิดปกติ แต่หากพิจารณาองค์ประกอบภายในจะพบคำตอบที่น่าสนใจ ดังนี้
ตารางแสดงผลตอบแทนของหุ้นใน SET50 เทียบกับดัชนีเมื่อเรียงตามความอ่อนไหวต่อดัชนี
มีหุ้นเพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้นที่ขึ้นแรงกว่าตลาด !
จากรูปพบว่าหุ้นจำนวน 50 ตัวที่อยู่ใน SET50 มีเพียงแค่ 18 ตัวเท่านั้น ที่มีผลตอบแทนสูงกว่าดัชนี โดยตัวที่มี Performance สูงสุด คือ CRC ที่ปรับตัวขึ้น 15% รองลงมาคือ KBANK ที่ขึ้น 13% และอันดับ 3 คือ CPN ที่ปรับตัวขึ้นกว่า 11% โดยจุดที่น่าสังเกต คือ หุ้น CRC และ CPN นั้นเป็นหุ้น 2 ใน 5 อันดับแรกที่อยู่ใน List ของการใช้เงินน้อยที่ส่งผลต่อดัชนี SET50 ตามตารางของเรา และหากพิจารณาแบ่งฝั่งดูแล้วจะเห็นว่าหุ้น 25 ตัวแรกที่ใช้ทำราคาดัชนีได้ง่าย (ฝั่งซ้ายมือ) มีถึง 12 ตัวหรือกว่าครึ่งนึงที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาด โดยมีค่าเฉลี่ยผลตอบแทนที่มากกว่าตลาด 1.21% ส่วนอีก 25 ตัวหลังมีเพียงแค่ 6 ตัวเท่านั้นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาด และมีค่าเฉลี่ยผลตอบแทนต่ำกว่าตลาดถึง 2.57% ซึ่งถ้าตัดกลุ่มการเงินออกไปแล้วแทบจะไม่มีสักตัวที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาด ดังนั้นจากข้อมูลนี้จึงพอทำให้สรุปได้ว่า ในการทำราคาดัชนีแต่ละรอบ
พวกเขาได้เลือกตัวไว้แล้ว
สรุปแล้วจากสิ่งที่เราได้เก็บข้อมูลมาสามารถสรุปได้ 3 ประเด็น ดังนี้
1.ในทุกครั้งที่หุ้นเป็นขาขึ้น รายใหญ่จะใช้หุ้นประมาณ 1 ใน 3 เท่านั้น ในการผลักดันดัชนี (Outperform เหนือตลาด) ซึ่งนี้จึงทำให้เราได้เห็นว่าบางครั้งที่ตลาดหุ้นขึ้นแรงแต่กลับมีเพียงนักลงทุนไม่ถึงครึ่งที่ได้กำไรมากกว่าตลาด
2.รายใหญ่จะใช้หุ้นที่มี Story ในช่วงนั้นทำราคาสลับกลุ่มเป๋นรอบ ๆ โดยหากพิจารณาจากรอบนี้คงเป็นกลุ่มการเงินการธนาคารที่ชัดเจนกับตีมการเก็งกำไรเรื่องของดอกเบี้ยขาขึ้น
และ 3.หากถ้าเขาต้องการลากดัชนีเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ด้านอื่นเพิ่มเติม เช่น ทำกำไรในตลาด TFEX หุ้นที่มีน้ำหนักเบาแต่ส่งผลกระทบต่อดัชนีสูง จะได้รับอานิสงค์ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วยอย่างที่เรากล่าวไว้ในบทความก่อน
พวกเราหวังว่าข้อมูลที่จัดทำขึ้นนี้จะเป็นประโยชน์กับนักลงทุน โดยเราจะทำการอัพเดท ตาราง Sensitivity ของหุ้นแต่ละตัวเมื่อเทียบกับดัชนีให้ในทุกไตรมาสนะครับ เผื่อใครจะใช้เป็นข้อมูลพิจารณาเลือกหุ้นเพิ่มเติม ยังไงก็ติดตามกันมา และหากเราเจอเรื่องราวที่คิดว่าน่าสนใจจะทำการทดสอบและมาประมวลผล บอกกับทุก ๆ คนต่อไป เพื่อให้นักลงทุนซื้อขายหุ้นได้มีประสิทธิภาพที่สุด เป็นกำลังใจให้เราด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ปล. เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงตลาดขาขึ้น เราจึงทำการคิดการ Scan หุ้นเพื่อตอบโจทย์นักเก็งกำไร โดยสร้าง Template ที่คัดหุ้นจาก Elliott Wave ซึ่งเป็นศาสตร์ทางเทคนิคขั้นสูงที่หลายคนใช้ (Wave 3 และ 4 ที่เป็นตัวบ่งบอกทิศทางขาขึ้น) ลองดูกันนะครับ แล้วเราจะมาอัพเดทให้เรื่อย ๆ ขอบคุณครับ
Credit :
https://www.facebook.com/tfexforfuture
ร่วมรับรู้ข้อมูลสำคัญแบบ Real Time ทุกนาทีได้ที่
Line OpenChat : TFEX For Future
https://line.me/ti/g2/k8NPHPH1906UA4KiwRupnw
🌈 มาดูกันว่าการขึ้นของหุ้นไทย เขาใช้ตัวไหนกันบ้าง ❓
ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีกับนักลงทุนที่ซื้อหรือถือหุ้นไว้ด้วยนะครับ โดยในรอบนี้ตลาดหุ้นไทยได้ทำจุดสูงสุดใหม่ของปีเหนือระดับ 1700 จุดเป็นที่เรียบร้อย แต่อย่างไรก็ตามจากข้อมูลที่เราเก็บมากลับพบว่า “มีคนได้กำไรน้อยกว่าที่คิด” เนื่องจากการขึ้นครั้งนี้ เจ้ามือเขาลากโดยมีวัตถุประสงค์ในการทำราคาดัชนี (สังเกตได้จากดัชนี sSET และ MAI ที่ไม่ได้ขึ้นแรงตาม) พวกเขาจึงเลือกซื้อเฉพาะหุ้นบางตัว(บางกลุ่ม) แล้วท่านคิดว่าเขาใช้วิธีไหนในการเลือกหุ้น ลองมาทำความเข้าใจกันในบทความนี้
ตารางแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณการซื้อขายที่ทำให้ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลง 1% กับผลกระทบต่อดัชนี SET50
🌈 หลังจากไม่มี DELTA เจ้าจะใช้หุ้นตัวไหนลากดัชนี SET50 ครับ => https://ppantip.com/topic/41220319
ทุกท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าหุ้นที่เป็นพระเอกในรอบนี้ คือ หุ้นกลุ่มการเงินการธนาคาร แต่แค่นั้นคงยังไม่เพียงพอที่จะลากดัชนี SET50 ให้ขึ้นมาถึงจุดนี้ได้ และหากยังจำกันได้ เมื่อเดือนก่อนเรามีการออกบทความ “หุ้นที่มีแนวโน้มจะถูกเจ้าใช้ทำราคา” โดยทำการเปรียบเทียบหุ้นแต่ละตัวว่าจะต้องใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ในการทำให้ดัชนีเปลี่ยนแปลงไป 1 จุด ซึ่งได้ผลลัพธ์ตามตารางด้านบน ดังนั้น เรามาลองมาพิสูจน์กันดูนะครับ ว่าตลาดหุ้นที่ขึ้นมาในรอบนี้ จะมีหุ้นที่อยู่ใน List ทั้งหมดกี่ตัว
กราฟแสดงการเคลื่อนไหวของดัชนี SET ในช่วงวันที่ 27 ม.ค. – 11 ก.พ. 65 (กรอบที่ชมพู)
เมื่อพิจารณาจากวันที่ 27 ม.ค. ที่ตลาดเริ่มเป็นดีดตัวขึ้นวันแรก มาจนถึงวันที่ 11 ก.พ. จะพบว่าดัชนี SET ปรับตัวพุ่งขึ้นจาก 1634 จุด มาปิดระดับ 1700 จุด คิดเป็นกว่า 4% ภายในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ สอดคล้องกับดัชนี SET50 ที่ขึ้นมาประมาณ 4% เช่นเดียวกัน โดยหากมองภาพรวมแล้วคงยังไม่เห็นความผิดปกติ แต่หากพิจารณาองค์ประกอบภายในจะพบคำตอบที่น่าสนใจ ดังนี้
ตารางแสดงผลตอบแทนของหุ้นใน SET50 เทียบกับดัชนีเมื่อเรียงตามความอ่อนไหวต่อดัชนี
มีหุ้นเพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้นที่ขึ้นแรงกว่าตลาด !
จากรูปพบว่าหุ้นจำนวน 50 ตัวที่อยู่ใน SET50 มีเพียงแค่ 18 ตัวเท่านั้น ที่มีผลตอบแทนสูงกว่าดัชนี โดยตัวที่มี Performance สูงสุด คือ CRC ที่ปรับตัวขึ้น 15% รองลงมาคือ KBANK ที่ขึ้น 13% และอันดับ 3 คือ CPN ที่ปรับตัวขึ้นกว่า 11% โดยจุดที่น่าสังเกต คือ หุ้น CRC และ CPN นั้นเป็นหุ้น 2 ใน 5 อันดับแรกที่อยู่ใน List ของการใช้เงินน้อยที่ส่งผลต่อดัชนี SET50 ตามตารางของเรา และหากพิจารณาแบ่งฝั่งดูแล้วจะเห็นว่าหุ้น 25 ตัวแรกที่ใช้ทำราคาดัชนีได้ง่าย (ฝั่งซ้ายมือ) มีถึง 12 ตัวหรือกว่าครึ่งนึงที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาด โดยมีค่าเฉลี่ยผลตอบแทนที่มากกว่าตลาด 1.21% ส่วนอีก 25 ตัวหลังมีเพียงแค่ 6 ตัวเท่านั้นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาด และมีค่าเฉลี่ยผลตอบแทนต่ำกว่าตลาดถึง 2.57% ซึ่งถ้าตัดกลุ่มการเงินออกไปแล้วแทบจะไม่มีสักตัวที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาด ดังนั้นจากข้อมูลนี้จึงพอทำให้สรุปได้ว่า ในการทำราคาดัชนีแต่ละรอบ พวกเขาได้เลือกตัวไว้แล้ว
สรุปแล้วจากสิ่งที่เราได้เก็บข้อมูลมาสามารถสรุปได้ 3 ประเด็น ดังนี้
1.ในทุกครั้งที่หุ้นเป็นขาขึ้น รายใหญ่จะใช้หุ้นประมาณ 1 ใน 3 เท่านั้น ในการผลักดันดัชนี (Outperform เหนือตลาด) ซึ่งนี้จึงทำให้เราได้เห็นว่าบางครั้งที่ตลาดหุ้นขึ้นแรงแต่กลับมีเพียงนักลงทุนไม่ถึงครึ่งที่ได้กำไรมากกว่าตลาด
2.รายใหญ่จะใช้หุ้นที่มี Story ในช่วงนั้นทำราคาสลับกลุ่มเป๋นรอบ ๆ โดยหากพิจารณาจากรอบนี้คงเป็นกลุ่มการเงินการธนาคารที่ชัดเจนกับตีมการเก็งกำไรเรื่องของดอกเบี้ยขาขึ้น
และ 3.หากถ้าเขาต้องการลากดัชนีเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ด้านอื่นเพิ่มเติม เช่น ทำกำไรในตลาด TFEX หุ้นที่มีน้ำหนักเบาแต่ส่งผลกระทบต่อดัชนีสูง จะได้รับอานิสงค์ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วยอย่างที่เรากล่าวไว้ในบทความก่อน
พวกเราหวังว่าข้อมูลที่จัดทำขึ้นนี้จะเป็นประโยชน์กับนักลงทุน โดยเราจะทำการอัพเดท ตาราง Sensitivity ของหุ้นแต่ละตัวเมื่อเทียบกับดัชนีให้ในทุกไตรมาสนะครับ เผื่อใครจะใช้เป็นข้อมูลพิจารณาเลือกหุ้นเพิ่มเติม ยังไงก็ติดตามกันมา และหากเราเจอเรื่องราวที่คิดว่าน่าสนใจจะทำการทดสอบและมาประมวลผล บอกกับทุก ๆ คนต่อไป เพื่อให้นักลงทุนซื้อขายหุ้นได้มีประสิทธิภาพที่สุด เป็นกำลังใจให้เราด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ปล. เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงตลาดขาขึ้น เราจึงทำการคิดการ Scan หุ้นเพื่อตอบโจทย์นักเก็งกำไร โดยสร้าง Template ที่คัดหุ้นจาก Elliott Wave ซึ่งเป็นศาสตร์ทางเทคนิคขั้นสูงที่หลายคนใช้ (Wave 3 และ 4 ที่เป็นตัวบ่งบอกทิศทางขาขึ้น) ลองดูกันนะครับ แล้วเราจะมาอัพเดทให้เรื่อย ๆ ขอบคุณครับ
Credit : https://www.facebook.com/tfexforfuture
ร่วมรับรู้ข้อมูลสำคัญแบบ Real Time ทุกนาทีได้ที่
Line OpenChat : TFEX For Future
https://line.me/ti/g2/k8NPHPH1906UA4KiwRupnw