ฝูงปลาวาฬเพชฌฆาตรุมฆ่าปลาวาฬสีน้ำเงิน

1

.
ปลาวาฬเพชรฆาตตัวเมีย
กัดลิ้นของปลาวาฬสีน้ำเงิน
© John Daw/Australian Wildlife Journeys
.
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
Killer whales spotted for the first time killing blue whales
.
.

ฝูงปลาวาฬเพชฌฆาตไล่กัดปลาวาฬสีน้ำเงิน
จนตายแล้วรุมกินโต๊ะสัตว์น้ำใหญ่ที่สุดในโลก

นักวิจัยได้บันทึกภาพปลาวาฬเพชฌฆาตเหล่านี้
ปลาวาฬเพชฌฆาต (Orcinus orca)
กำลังฆ่าปลาวาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus)
ทั้งนี้ เคยมีผู้พบเห็นเหตุการณ์แบบนี้มาแล้ว 3 ครั้ง
บนชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย
ระหว่างปี 2019 และปี 2021
ปลาวาฬเพชฌฆาตหลายสิบตัว
มีส่วนในการโจมตีปลาวาฬสีน้ำเงินถึง 3 ครั้ง

ผลการศึกษาซึ่งเผยแพร่ทางออนไลน์ 21 มกราคม 2022
ในวารสาร Marine Mammal Science
การฆ่าปลาวาฬสีน้ำเงินเป็นเรื่องที่ค่อนข้างโหดร้ายอย่างแรง
โดยฝูงปลาวาฬเพชฌฆาตกระโดดงับช่องลมของปลาวาฬสีน้ำเงิน
แล้วลากมันลงใต้น้ำ (ให้ขาดอากาศหายใจ)
และมีการกัดกินลิ้นของปลาวาฬสีน้ำเงิน

นักวิจัยอาวุโส Robert Pitman
นักนิเวศวิทยาทางทะเล
สถาบันสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล
Marine Mammal Institute
Oregon State University Live สรุป/ให้สัมภาษณ์
" ปลาวาฬเพชฌฆาตเหล่านี้
พวกมันทำงานกันเป็นทีมและมีจำนวนมาก
นั่นคือ เหตุผลความสำเร็จของพวกมัน ณ ที่นั่น "

การโจมตี 3 ครั้งที่ผ่านมา
ทำให้เกิดคำถามว่า
ทำไมมนุษย์ไม่เคยเห็น
การโจมตีที่น่ากลัวเช่นนี้มาก่อน
คำตอบ เหตุการณ์แบบนี้
อาจจะมีมากกว่านี้ถึง 2 เท่า
แต่อยู่ในที่ห่างไกลมนุษย์จึงไม่เห็น

ปลาวาฬสีน้ำเงินยังคงฟื้นตัว
จากการสูญพันธุ์จากปลาวาฬในศตวรรษที่ 19 และ 20
แม้กระทั่งทุกวันนี้  ปลาวาฬสายพันธุ์ต่าง ๆ
จะใกล้จะสูญพันธุ์แล้วก็ตาม
แต่สมาพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ
International Union for Conservation of Nature
ระบุว่า ตอนนี้ ปลาวาฬสีน้ำเงินมีจำนวนเพิ่มขึ้น
รวมทั้งในน่านน้ำทางตอนใต้ของออสเตรเลีย

มีแนวโน้มว่าปลาวาฬเพชฌฆาต
จะล่าปลาวาฬสีน้ำเงิน
ก่อนที่พวกมันจะใกล้สูญพันธุ์
แต่ปลาวาฬสีน้ำเงินมีจำนวนน้อย
มีเพียงไม่กี่ตัวที่จะหาพบและล่าได้
ปลาวาฬเพชรฆาตจึงมักจะมุ่งความสนใจ
ไปที่เหยื่อรายอื่นแทนมากกว่า
ทำให้ในไม่ช้า การล่าปลาวาฬสีน้ำเงิน
น่าจะเป็นงานศิลปะที่น่าหลงใหล
ของชุมชนปลาวาฬเพชฌฆาต
ก่อนที่พวกมันอาจจะสูญเสียทักษะที่จำเป็น
ในการโค่นล้มปลาวาฬตัวใหญ่แบบนั้น
(เพราะมีน้อยมากและนาน ๆ จะเจอสักตัว
แบบจากปริมาณสู่คุณภาพ
จำนวนมาก ๆ ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จะพัฒนา/เพิ่ม
ทักษะ/ประสบการณ์ในการทำงาน)
.
2

.
ปลาวาฬเพชฌฆาตไล่ล่า/กัดปลาวาฬสีน้ำเงิน
เพื่อทำให้ปลาวาฬสีน้ำเงินว่ายน้ำให้ช้าลง
©  jade Sharp/WWWA
.
.
.


ตอนนี้ ดูเหมือนว่า
ปลาวาฬเพชฌฆาตจะสังเกตเห็นปลาวาฬสีน้ำเงิน
มีจำนวนมากขึ้น จึงได้คิดหากลยุทธ์ในการล่า
ที่จะนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งใหญ่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลิ้นของปลาวาฬสีน้ำเงิน
หรือ  เนื้อปลาสีส้มที่พวกมันต้องการ/ชื่นชอบ

การหยุดปลาวาฬสีน้ำเงิน
เหมือนการพยายามหยุดรถไฟที่กำลังแล่น
ปลาวาฬสีน้ำเงินนั้นจับยากมาก
ครีบของพวกมันสามารถพักไว้ในร่องของร่างกายได้
พวกมันมีครีบหลังขนาดเล็ก
และหางที่ขยับขึ้นลงอย่างรวดเร็ว
แถมพวกมันยังว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
 
" เมื่อตอนที่ผมอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา
ระหว่างการสำรวจปลาวาฬกับชาวญี่ปุ่น
นักล่าปลาวาฬเฒ่าบอกผมว่า
พวกเขาจะไล่ล่าปลาวาฬสีน้ำเงินด้วยความเร็ว 12 นอต
[14 ไมล์/ชั่วโมง หรือ 22 กิโลเมตร/ชั่วโมง]
กินเวลานานราว 8-10 ชั่วโมง กว่าจะตามล่าได้สำเร็จ
ปลาวาฬสีน้ำเงินมีความอึด/ทนถึกอย่างเหลือเชื่อ

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
การหยุดปลาวาฬสีน้ำเงิน
เหมือนพยายามหยุดรถไฟที่กำลังวิ่ง
สำหรับปลาวาฬชนิดอื่น/ปลาวาฬเพชรฆาต
(ที่มีขนาดเล็กกว่ามาก)

อย่างไรก็ตาม ปลาวาฬเพชฌฆาตก็พบวิธี
ที่จะโจมตีปลาวาฬสีน้ำเงินอย่างได้ผล
และประสบความสำเร็จอย่างมาก "
Robert Pitman  กล่าวเสริม

.
.

ในวันที่ 21 มีนาคม 2019
การโจมตีครั้งแรกเกิดขึ้น
เมื่อเรือนักวิจัยพบพวกมัน
ปลาวาฬเพชฌฆาตประมาณหนึ่งโหล
โจมตีปลาวาฬสีน้ำเงินยาว 72 ฟุต (22 เมตร)
ทิ้งบาดแผลที่กระดูกและรอยถูกกัด 
ทิ้งร่องรอยบนครีบของปลาวาฬสีน้ำเงิน
ปลาวาฬสีน้ำเงินยังคงพยายามหลบหนี
จากผู้โจมตี พยายามโต้กลับ/ปัดหางของตัวมัน

การโจมตียังคงดำเนินต่อไป
โดยมีฝูงปลาวาฬเพชฌฆาตรุมกัด
และพุ่งเข้าหาปลาวาฬสีน้ำเงิน

ปลาวาฬเพชรฆาตตัวเมียตัวหนึ่ง
เริ่มกัดกินลิ้นของปลาวาฬสีน้ำเงิน
และแล้วปลาวาฬสีน้ำเงินก็ตาย
หลังจากนั้นไม่นานนัก
ปลาวาฬเพชฌฆาตก็เพิ่มจำนวนขึ้น
ประมาณ 50 ตัวมาร่วมงานเลี้ยงครั้งนี้
พร้อมกับนกทะเลที่ได้พลอยเศษอาหารไปด้วย

.
.

นักท่องเที่ยว/นักวิทยาศาสตร์บนเรือชมปลาวาฬ
ได้เห็นเเหตุการณ์แบบนี้ถึง 2 ครั้ง

ในวันที่ 6 เมษายน 2019
การโจมตีครั้งที่ 2
เกิดขึ้นไม่ห่างจากที่เกิดเหตุครั้งแรก
เพียง 15 ไมล์ (25 กิโลเมตร)
คราวนี้ พบฝูงปลาวาฬเพชฌฆาตกลุ่มใหญ่ทุกวัย
รุมโจมตีลูกปลาวาฬสีน้ำเงินยาว 39 ฟุต(12 เมตร)
ซึ่งมีความยาวประมาณ 2 เท่าของปลาวาฬเพชฌฆาต

ถึงแม้ว่าลูกปลาวาฬสีน้ำเงินจะยังมีชีวิตอยู่
แต่ผิวหนังและก้อนเนื้อชิ้นใหญ่หายไป
จากด้านหลังหัวของลูกปลาวาฬสีน้ำเงิน
และตามลำตัวของลูกปลาวาฬสีน้ำเงิน
มันต้องทนทุกข์ทรมานจากการถูกกัด
และการถูกกัดกินเนื้อจากฝูงปลาวาฬเพชฌฆาต

เมื่อใดก็ตามที่ลูกปลาวาฬสีน้ำเงิน
พยายามดำดิ่งลงไปในน้ำลึกเพื่อหลบหนี
ฝูงปลาวาฬเพชรฆาตก็จะผลักดัน
ลูกปลาวาฬสีน้ำเงินให้โผล่ขึ้นไปบนผิวน้ำ
และแล้วฝูงปลาวาฬเพชฌฆาตตัวอื่น ๆ
จะว่ายวนบนหัว/รูหายใจ/รุมกัดตามใจ
ทำให้มันหายใจติดขัด หายใจไม่ออก/ไม่สะดวก
พร้อมกับดันตัวมันขึ้นดันลงตลอดเวลา
เมื่อลูกปลาวาฬสีน้ำเงินตายแล้ว
ฝูงปลาวาฬเพชรฆาตก็กัดกินร่างกาย
รวมทั้งลิ้นของลูกปลาวาฬสีน้ำเงินด้วย

ลูกปลาวาฬสีน้ำเงินตัวนี้ยังเล็กมาก
และไม่น่าจะอยู่ห่างจากแม่ของมัน
มีความเป็นไปได้ว่า
ฝูงปลาวาฬเพชรฆาตพราก
ลูกปลาวาฬสีน้ำเงินจากพ่อแม่
หรือแม่ปลาวาฬสีน้ำเงินเพิ่งจะจากไป
หรือแม่ปลาวาฬสีน้ำเงินก็ทำอะไรไม่ได้มาก
ในการช่วยเหลือลูกปลาวาฬสีน้ำเงิน
(เผลอ ๆ จะกลายเป็นอาหารอีกตัว)

.
.

ในวันที่ 16 มีนาคม 2021
การโจมตีครั้งที่ 3 เกิดขึ้นประมาณ 2 ปีต่อมา
เมื่อฝูงปลาวาฬเพชฌฆาตเข้าจู่โจมปลาวาฬสีน้ำเงิน
วัยเยาว์ขนาดยาว 46 ฟุต(14 เมตร)
ฝูงปลาวาฬเพชฌฆาตพยายามทำให้ปลาวาฬสีน้ำเงินหยุดนิ่ง
ด้วยการกัดปากและที่หัวของปลาวาฬสีน้ำเงิน
หลังจากการไล่ล่าครั้งใหญ่แล้ว
ฝูงปลาวาฬเพชรฆาตก็ดันปลาวาฬสีน้ำเงินลงไปใต้น้ำ
และแล้วมันก็ตายไปในที่สุด

.
.

" การโจมตีทั้งหมดที่เกิดขึ้นคล้ายกันมาก
ฝูงปลาวาฬเพชฌฆาตจะว่ายน้ำอยู่ข้าง ๆ
พยายามกัดที่ครีบหลัง ครีบ และหาง
ของปลาวาฬสีน้ำเงิน นั่นเป็นวิธีทำให้มันช้าลง
จากนั้นก็พยายามปิดรูปิดเปิดระบายน้ำ
เพื่อทำให้หายใจได้อย่างยากลำบาก

การโจมตีเหล่านี้ คือ
การเปิดหน้าต่างสู่อดีต
ในที่สุด คนเราก็จะได้เห็นว่า
โลกที่แท้จริงหน้าตาเป็นอย่างไร (ไม่ใช่โลกสวย)
ก่อนที่คนเราจะกำจัดสัตว์น้ำยักษ์ใหญ่
ที่แหวกว่ายหากินในท้องทะเล "
Robert Pitman  กล่าวสรุป

John Totterdell หัวหน้านักวิจัยศึกษา
นักวิจัยสัตว์จำพวกปลาวาฬ
ที่ศูนย์วิจัย Cetacean (CETREC)  ประเทศออสเตรเลีย
ซึ่งพบเห็นการโจมตีครั้งแรกในปี 2019 ให้สัมภาษณ์ว่า
" เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เป็นการเผชิญหน้าที่น่าทึ่ง
จนถึงตอนนี้ โลกวิทยาศาสตร์
ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล
และวรรณกรรมที่ตีพิมพ์ซึ่งส่วนใหญ่นั้น
ปลาวาฬเพชฌฆาตแสนจะอ่อนโยน
และไม่สามารถทำเรื่องแบบนี้ได้  "




เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3unNgJo
.


3

.
ปลาวาฬสีน้ำเงินมีชิ้นส่วนที่ขาดหายไป
และรอยเขี้ยวบนลำตัว ที่เกิดจากการกัด
ของฝูงปลาวาฬเพชฌฆาตที่รุมกันจู่โจม
© John Daw/Australian Wildlife Journeys
.
4

.
ปลาวาฬเพชฌฆาต ไม่ใช่ปลาวาฬ
แต่เป็น พวกปลาโลมา ขนาดเติบ(ใหญ่)
การโจมตีปลาวาฬสีน้ำเงิน
นอกชายฝั่งทางตอนใต้ของออสเตรเลีย
© CETREC WA; Project Orca)
.
5

.
ปลาวาฬเพชฌฆาตโจมตีปลาวาฬสีน้ำเงิน
เหตุการณ์ทางตอนใต้ของออสเตรเลีย
© CETREC WA; Project Orca
.
6

.
หางปลาวาฬสีน้ำเงินที่ได้รับบาดเจ็บ
©  John Totterdell/CETREC WA
.
7

.
8


.
.
.
เริ่องเดิม
.
ภาพถ่ายปลาวาฬกับปลาโลมาหลังผ่านงานมา 25 ปี




ภาพถ่ายปลาวาฬสเปิร์มกำลังงีบหลับ




14 ภาพถ่ายที่น่าตะลึงของปลาวาฬ




Mocha Dick ปลาวาฬผู้ให้กำเนิดนิยาย Moby Dick




การระเบิดซากปลาวาฬสเปิร์ม

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Oregon's Exploding Whale - 1970 KATU (original report)


ปลาวาฬยุคโบราณเดินได้ว่ายน้ำ





เรื่องเล่าไร้สาระ


ภาษา/ตัวอักษร คือ อำนาจชนิดหนึ่ง
ในการกดขี่บังคับคนที่ด้อยกว่าต้องยอมทำตาม
ศ. มิเชล ฟูโกต์ ราชบัณฑิตฝรั่งเศส

ตัวอักษรขอม ยังแบ่งเป็น 3 ชนชั้น มี
พราหมณ์ กษัตริย์ ชาวบ้าน
ขุนรามคำแหงพยายามสร้างตัวอักษร
ให้ใช้เฉพาะชนชั้นกษัตริย์ แต่ไม่สำเร็จ
แถมแมงโม้หลายเรื่อง ฯลฯ
ชาวไทแม่นรับบ่ได้  เพราะลายสือไทบ่ดีจริง
บ่มีผู้ใดใช้งานจริง ในยุคต่อ ๆ มา
สมัยพระนารายณ์มหาราช ติดต่อทางทูต
กับ Louis XIV พระราชสาส์นที่ยังมีอยู่ใน
หอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส
ทำไมตัวอักษรไทคล้ายแบบทุกวันนี้
จิตร ภูมิศักดิ์

ภาษาไทยที่ใช้ในชีวิตประจำวันยังมี 4 ชนชั้น
1. กษัตริย์ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า พระสังฆราช
2. ชนชั้นสูง อำมาตย์/เสนาบดี (คำเสนอ/ลงท้าย)
3. ชาวบ้าน เพื่อนผองน้องพี่ คนในวงการ
4. คนยากไร้/ต่ำต้อยกว่า (สรรพนาม/คำพูด)

วาฬ โลมา
ถ้าเดา/วิเคราะห์ตามนักปราชญ์สองท่านนี้
คือ ภาษานัยอำนาจ/แสดงความเหนือชั้นกว่า
บอกว่ามีความรู้มากกว่าชาวบ้าน กึ่งคำเหยียด
ว่าพวกไม่รู้จักสัตว์น้ำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ที่อยู่ในทะเล แต่บ่ใช่ปลา
(ฝรั่งก็ยังเรียกกันผิด ๆ หลายคำ)

ส่วน จขกท. ยังยืนยัน/นั่งยัน/นอนยัน
จะใช้คำว่า ปลาวาฬ ปลาโลมา
ในกระทู้ของตนเองทุกครั้ง ถ้ายังไม่อัลไซเมอร์
ด้วยจิตคารวะ/รำลึกถึง ครู ช่วง ณ สงขลา
ครูประจำชั้นประถมปีที่ 1 ค (ควาย) ครูคนแรก
ที่โรงเรียนบ้านนอก-แสงทองวิทยา ทุ่งหาดใหญ่
ที่สอนคำ ๆ นี้ในแบบเรียนภาษาไทย
ทำให้ จขกท. อ่านออกเขียนได้จนทุกวันนี้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่