JJNY : วันจ่ายตรุษจีน แม่ค้าโอดออเดอร์ลดลงเยอะ│ฮับค้าส่งแสนล.ซึมยาว│นักธุรกิจชี้กำลังซื้อฝืด│ปราศรัยโค้งสุดท้ายเลือกตั้ง

วันจ่ายตรุษจีน 2565 แม่ค้าโอดออเดอร์ เป็ด-ไก่ ลดลงไปเยอะ
https://www.bangkokbiznews.com/news/985397
 
 
ตลาดวโรรสเริ่มคึกคัก จัดออเดอร์รอรับลูกค้าชาวไทยเชื้อสายจีนที่จะเข้ามาซื้อของใน วันจ่ายตรุษจีน 2565 โอดยอดออเดอร์เป็ด ไก่ ลดลงไปเยอะ ขณะที่ลูกค้าเริ่มทยอยเดินทางเข้ามาเลือกซื้อของหลีกเลี่ยงคนเยอะในวันจ่าย

(29 มกราคม 2565) ใกล้ถึงวัน "ตรุษจีน 2565" ผู้สื่อข่าวได้ออกสำรวจการเตรียมของรองรับ "วันจ่ายตรุษจีน 2565" ที่จะมาถึงในวันพรุ่งนี้ (30 มกราคม 2565) โดยพ่อค้าแม่ค้าตลาดวโรรสได้มีการรับออเดอร์จากลูกค้าล่วงหน้าเพื่อส่งของให้กับลูกค้าในวันพรุ่งนี้
  
ขณะเดียวกันเริ่มมีชาวไทยเชื้อสายจีนเข้ามาซื้อของเตรียม "ไหว้เจ้า" ในวันจันทร์ที่ 31 มกราคม 2565
  
นางโฉมฉาย สุนกาย ร้านเป็ดพะโล้กาดหลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า "ตรุษจีน 2565" ปีนี้มีลูกค้าสั่งออเดอร์ลดลงไปประมาณร้อยละ 20 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่ดี อย่างไรก็ตามที่ร้านไม่ได้มีการเพิ่มราคาเป็ด ไก่ ยังคงราคาเท่ากับปีที่ผ่านมา โดยคิดราคาเป็ดพะโล้ตัวละ 350-400 บาท และ ไก่ต้ม ราคา 250-300 บาท ส่วนราคาหมูปรับเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เนื่องจากราคาหมูปรับตัวสูงขึ้น
  
สำหรับในปีนี้ได้เตรียมไก่ต้มไว้จำหน่ายจำนวน 400 ตัว และ เป็ด 300 ตัว จากที่ก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงเทศกาลตรุษจีน 2565 จะมีออเดอร์เข้ามาเป็นจำนวนมาก ไม่ต่ำกว่า 1,000 ตัว แต่หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ยอดสั่งออเดอร์หายไปเป็นจำนวนมาก
 
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวได้สอบถามชาวไทยเชื้อสายจีนที่เดินทางเข้ามาหาซื้อของเพื่อเตรียมไว้ในวันไหว้ตรุษจีน 2565 ส่วนใหญ่ระบุว่า ที่ออกมาจับจ่ายซื้อของในวันนี้เพราะหลีกเลี่ยงคนจำนวนมาก ที่คาดว่าจะเข้ามาซื้อของ "วันจ่ายตรุษจีน 2565" ในวันพรุ่งนี้(30 มกราคม 2565) และบางคนยังกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงไม่อยากที่จะเดินทางเข้ามาในพื้นที่ที่มีคนอยู่กันเป็นจำนวนมาก 
  
สินค้าบางชนิดจะเลือกซื้อจากในห้างที่มีการแพ็คสินค้าเป็นอย่างดี เช่น เป็ด ไก่ ผลไม้ ส่วนหมู จะซื้อหมูสดมาทำต้มเองเพื่อประหยัด จากเดิมที่เคยซื้อแบบต้มเสร็จแล้ว ส่วนการจับจ่ายซื้อของไปไหว้เจ้าไม่ได้ปรับลดปริมาณลง แต่จะเป็นการรวมครอบครัวญาติพี่น้องมาไหว้เจ้ารวมกันที่จุดเดียว
  
ส่วนร้านจำหน่ายขนมเข่ง ขนมเทียน ซึ่งเป็นขนมที่นิยมสั่งไปไหว้เจ้า ขณะนี้เริ่มมีลูกค้าทยอยเดินทางเข้ามารับสินค้าที่สั่งไว้ โดยแม่ค้าระบุว่ายอดสั่งซื้อไม่ได้ลดลง ยังคงใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ราคาขนมเข่งอยู่ที่ราคา 6-10 บาท ขนมเทียนราคาลูกละ 4 บาท ส่วนใหญ่จะเข้ามารับของในวันที่ 30 มกราคม 2565 เพื่อเตรียมไหว้ในวันที่ 31 มกราคม 2565
 

 
พิษกำลังซื้อซบ-ต้นทุนพุ่ง ฮับค้าส่งแสนล้าน ประตูน้ำ-แพลทินัม-โบ๊เบ๊ ซึมยาว
https://www.prachachat.net/marketing/news-853016
 
ย้อนกลับไปเมื่อช่วงกลางปี 2563 ที่ผ่านมา ผลกระทบจากพิษโควิด-19 เวฟแรกที่เกิดขึ้นเมื่อต้นปี ส่งผลให้ตลาดค้าส่งของไทยที่อยู่ในช่วงเฟื่องฟู โดยเฉพาะฮับค้าส่งยักษ์ย่าน “ประตูน้ำ-แพลทินัม-โบ๊เบ๊” ที่ว่ากันว่ามีมูลค่าตลาดรวมนับแสนล้านบาท ตกอยู่ในภาวะเงียบเหงาลงในเวลาอันรวดเร็ว ภาพบรรยากาศที่เงียบเหงา ร้านค้าทยอยปิดตัว การติดป้ายประกาศให้เช่า-ให้เซ้ง มีให้เห็นในทุกตลาด
 
ล่าสุดเสาร์-อาทิตย์ช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา “ประชาชาติธุรกิจ” ลงพื้นที่สำรวจบรรยากาศการค้าขายย่านค้าส่งสำคัญของประเทศ และพบว่าขณะนี้แม้ว่าภาพรวมธุรกิจอาจจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นบ้าง และเริ่มทรงตัวหลังผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วจากสถานการณ์โควิดที่คลี่คลาย แต่บรรยากาศก็ยังไม่ต่างจากอดีตที่ผ่านมา เงียบเหงาไม่มีลูกค้าเดินจับจ่าย ร้านจำนวนหนึ่งปิด ร้านบางส่วนเปิด
 
ปรับตัวขายผ่านไลน์ประคองตัว
 
เจ้าของร้านขายเสื้อผ้า-ชุดเด็ก โบ๊เบ๊ทาวเวอร์ อัพเดตสถานการณ์ให้ฟังว่า ช่วงนี้ตลาดค้าส่งทั้งโบ๊เบ๊ แพลทินัม ประตูน้ำ กรุงทอง ใบหยก อินทราเงียบมาก มีร้านค้าที่ปิดตัวไปจำนวนหนึ่ง โดยเฉลี่ยสัก 30-40% แต่ก็มีจำนวนหนึ่งที่ไม่เปิดหน้าร้านแต่เน้นขายสินค้าทางไลน์
 
ตั้งแต่เปิดปีใหม่มาลูกค้ามาเดินซื้อสินค้าน้อยมาก เสาร์-อาทิตย์ หรือวันปกติก็ไม่ต่างกัน จะมีลูกค้าเพิ่มมาบ้างก็เฉพาะช่วงวันที่มีวันหยุดยาวหลายวัน ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าเดิมที่มาแบบเจาะจงซื้อ ลูกค้าขาจรนาน ๆ มาที ร้านที่เปิดถือว่าพออยู่ได้ หลัก ๆ มาจากลูกค้าเก่าที่ซื้อไปขายต่อ แต่ยอดขายก็ลดลงมากตามสภาพเศรษฐกิจ-กำลังซื้อ
 
เจ้าของร้านค้ารายนี้ย้ำว่า ตอนนี้การซื้อขายหลัก ๆ มาจาก “ไลน์” ที่มีการตั้งกลุ่มขึ้นมา เมื่อสินค้าใหม่มาก็จะโพสต์ลงในกลุ่ม หากใครสนใจก็ไลน์สั่งซื้อมา และจัดแพ็กส่งไปให้ จะหวังกับยอดขายหน้าร้าน หรือรอให้คนเดินมาซื้อไม่ได้ เพราะวัน ๆ แทบไม่มีลูกค้าเข้ามาเลย
ส่วนลูกค้าต่างประเทศก็พอมีบ้าง แต่ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับช่วงที่บูม ๆ เมื่อ 3-4 ปีก่อน ประเมินว่าวันนี้ในแง่ของยอดขายหรือรายได้จะหายไปไม่ต่ำกว่า 70-80% สินค้ายังขายได้หลัก ๆ ยังเป็นเสื้อยืด อีกตัวหนึ่งที่ยังพอไปได้ คือ พวกยูนิฟอร์ม และที่ตกลงไปมาก คือ กลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่น เนื่องจากเป็นสินค้าที่ไม่จำเป็น
 
ปีนี้ภาพรวมตลาดยังไม่น่าจะฟื้น หากโควิด-19 คลี่คลายต้องรอดูช่วงตุลาคม 65-เมษายน 66 ที่เป็นไฮซีซั่นว่าช่วงนั้นเศรษฐกิจ-กำลังซื้อจะเป็นอย่างไร และต้องยอมรับว่าปัญหาใหญ่ในขณะนี้ คือ กำลังซื้อหายไปมาก ยิ่งตอนนี้ค่าครองชีพต่าง ๆ ปรับเพิ่มขึ้นทั้งของกินของใช้ก็จะยิ่งกระทบมาก
อีกปัญหาหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญหน้าอยู่ในตอนนี้ก็คือ ต้นทุนเพิ่ม ทั้งจากปัญหาเงินบาทอ่อนค่า ซัพพลายเออร์-โรงงานในจีนปรับราคาสินค้าขึ้นเพราะต้นทุนวัตถุดิบหลาย ๆ อย่างที่เพิ่มขึ้น และค่าขนส่งที่สูงขึ้น
 
ยอดขายร่วง-เจ้าของที่ลดค่าเช่า-ค่าเซ้งช่วย
 
ขณะที่ผู้ให้เช่า (เซ้ง) พื้นที่รายหนึ่งในย่านประตูน้ำให้ข้อมูลว่า หลังโควิด-19 ระบาดตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมา ตนมีการปรับลดค่าเช่าให้ผู้เช่าอย่างต่อเนื่อง เช่น ร้านขนาด 9 ตร.ม. ปกติ 7-7.3 หมื่นบาทต่อเดือน ลดลงเหลือไม่เกิน 2 หมื่นบาทต่อเดือน ส่วนร้านพื้นที่ 24 ตร.ม. ปกติ 1-2.5 แสนบาทต่อเดือน ลดหลือ 5 หมื่นบาทต่อเดือน และล่าสุดมีการลดค่าเช่าให้ผู้เช่ายาวไปจนถึงกลางปี 2565
 
ที่ผ่านมายอมรับว่าผู้เช่าหลายรายที่ตัดสินใจปิดร้าน ขอยกเลิกสัญญาเพราะไปต่อไม่ไหว แต่ก็มีร้านค้าจำนวนหนึ่งที่ยังสู้ต่อ ช่วงที่มีการล็อกดาวน์ลูกค้าไม่มี เราก็ลดค่าเช่าให้ หรือช่วงที่โอมิครอนระบาดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เราก็ลดค่าเช่าเพื่อช่วยประคับประคองกันในยามยาก แต่อีกด้านหนึ่งที่ผ่านมามีผู้สนใจและโทรศัพท์มาสอบถามทุกวัน แต่ก็ไม่มีใครตัดสินใจเซ็นสัญญาเช่าในช่วงนี้เพราะยังไม่แน่ใจกับสถานการณ์
 
เช่นเดียวกับเจ้าของร้านค้าส่งแฟชั่นรายหนึ่งที่คุยให้ฟังว่า ตอนนี้แม้ว่าหลาย ๆ รายจะหันไปขายผ่านออนไลน์แทน แต่ยอมรับว่ารายได้ไม่ดีเหมือนการขายหน้าร้านในช่วงที่ผ่านมา แต่ตอนนี้หน้าร้านขายได้เฉลี่ยไม่เกิน 2,000 บาท จากช่วงก่อนโควิดมียอดวันละราว ๆ 2-3 หมื่นบาท ทำให้ต้องแบกรับต้นทุนอย่างหนัก
 
ไม่ต่างจากเจ้าของร้านค้าส่งเครื่องหนัง กระเป๋า รองเท้า รายหนึ่งที่ยอมรับว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างหนัก เพราะไม่มีลูกค้าเข้ามา โดยเฉพาะลูกค้าชาวต่างประเทศที่เป็นลูกค้าหลักของร้านที่หายไป 100% และต้องปรับตัวโดยหันมาเน้นการขายในช่องทางออนไลน์แทน และช่วยฟื้นยอดขายกลับมาได้ระดับหนึ่ง และก็ต้องพยายามประคองต่อไป
 
นอกจากนี้ จากการสำรวจยังพบว่าโซนที่ได้รับผลกระทบมากจะอยู่ระหว่างตึกใบหยก 1 ใบหยก 2 รวมถึงบริเวณอินทราสแควร์ที่เน้นเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ทำให้ร้านค้าที่เปิดให้บริการทยอยเลิกกิจการไปจำนวนหนึ่งเช่นกัน
 
“กำลังซื้อ” ปัญหาใหญ่
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ต่างจากร้านค้าหลาย ๆ ร้านในศูนย์การค้าเดอะ แพลทินัม แฟชั่น มอลล์ ที่เป็นศูนย์ค้าส่งใหญ่ที่ได้รับความนิยมสูง โดยเจ้าของร้านเสื้อผ้าแฟชั่นให้ข้อมูลพบว่าตอนนี้ลูกค้าชาวต่างประเทศที่เคยเป็นลูกค้าหลัก ทั้งอินโดนีเซีย สิงคโปร์หายไป
ขณะที่กลุ่มลูกค้าคนไทยก็เดินจับจ่ายน้อยลง จึงทำให้บรรยากาศการค้าขายไม่คึกคักเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ตอนนี้ขอแค่เพียงคนเข้ามาเดินก็ดีใจแล้ว ไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้ามาก ๆ อย่างที่ผ่านมา การที่มีลูกค้าเดินเข้ามาจับจ่ายบ้างก็จะช่วยให้บรรยากาศมีความคึกคักขึ้น
 
ด้านความเคลื่อนไหวของศูนย์การค้าเดอะ แพลทินัม แฟชั่น มอลล์ ล่าสุดได้มีการลดราคาค่าเช่าเริ่มต้น 8,000 บาท/เดือน (ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่และทำเลที่ตั้ง) พร้อมทั้งจัดแคมเปญเปิดแพลตฟอร์ม Platinum Online Free Shipping ค่าจัดส่งฟรีในประเทศ (10 ม.ค.-28 ก.พ.นี้)
 
เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดสำเพ็งที่เจ้าของร้านค้ากิฟต์ช็อป กระเป๋ารายใหญ่ เปิดเผยว่า ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากการะบาดของโควิดอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมายอดขายลดลงกว่า 30-40% ตอนนี้อยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์และปรับตัว โดยเตรียมจัดวางระบบเพื่อจะหันมาให้น้ำหนักการกับขายผ่านออนไลน์มากขึ้น
 
เบื้องต้นขณะที่พบว่าลูกค้าเริ่มกลับมาใช้บริการหนาตาขึ้น แต่ก็เป็นบางวัน ส่วนหนึ่งก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยของการเปิดตลาดนัดในต่างจังหวัดด้วย หากตลาดนัดปิดยอดขายก็ตกลง แต่หากตลาดนัดต่างจังหวัดเปิดยอดขายก็ยังพอไปได้ สินค้าที่ขายดีหลัก ๆ เป็นหน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ

ที่สำคัญตอนนี้กำลังซื้อในภาพรวมยังมีปัญหา ทำให้ผู้คนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น อีกด้านหนึ่งการแข่งขันในตลาดหรือร้านค้าที่เปิดขาย-ขายผ่านออนไลน์จะมีความรุนแรงมากขึ้น



นักธุรกิจชี้กำลังซื้อฝืด วอนรัฐเปิดเวทีหารือภาคบริการ พลิกฟื้นกำลังซื้อและศก.ฐานราก
https://www.matichon.co.th/economy/news_3156692

นักธุรกิจชี้กำลังซื้อฝืด วอนรัฐเปิดเวทีหารือภาคบริการ พลิกฟื้นกำลังซื้อและเศรษฐกิจฐานราก
 
นายธนากร คุปตจิตต์ เลขาธิการสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย เปิดเผย “มติชน”ว่า ช่วงเทศกาลตรุษจีนที่จะมาถึงก็สามารถช่วยขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคได้บ้างระดับหนึ่ง อันเนื่องมาจากการที่ ศบค. ชุดใหญ่ มีมติให้มีการปรับปรุงแก้ไขพื้นที่ที่ควบคุมโควิดในแต่ละจังหวัด ซึ่งให้มีผลเมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ส่งผลให้พื้นที่ที่ถูกปรับเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) และพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวเดิม 8 จังหวัด (สีฟ้า) ได้รับการผ่อนคลายสามารถทำกิจกรรมตามที่กำหนดได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามประชาชนหรือผู้บริโภค ยังไม่ค่อยกล้าจับจ่ายใช้สอยมากนัก เนื่องจากเจอแรงผลกระทบทางลบสองทาง
 
นายธนากร กล่าวต่อว่า โดยผลกระทบแรก คือ ความกังวลเรื่องโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่มีการระบาดแบบรวดเร็ว ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แม้จะไม่รุนแรง แต่ก็ยังมีประชาชนจำนวนมากลังเลต่อลักษณะและอันตรายของโอมิครอน ซึ่งขณะนี้เริ่มเห็นได้ว่าทางสาธารณสุขได้เริ่มออกมาแถลงและประชาสัมพันธ์บ้างแล้วกรณีของอาการของผู้ติดเชื้อโอมิครอน รวมทั้งจำนวนของผู้ฉีดวัคซีนเป็นไปตามแผนของสาธารณสุขอีกด้วย อีกทั้งการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 ซึ่งมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน มีผลจากการประชุมโดยพิจารณาเรื่องหนึ่งว่า “เห็นชอบหลักการแนวทางการพิจารณาโรคโควิด 19 ให้เป็นโรคประจำถิ่นเนื่องจากขณะนี้การระบาดมีทิศทางที่ดีขึ้น อยู่ภายใต้การควบคุม ไม่ได้มีลักษณะรุนแรงและเป็นไปตามหลักวิชาการ” ซึ่งความเห็นนี้จะช่วยส่งผลให้การประชุม ศบค. ควรพิจารณาทบทวนในมาตรการต่างๆ ที่มีขึ้นเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ด้วยการผ่อนคลายมาตรการและเปิดโอกาสให้มีการทำกิจกรรมและประกอบธุรกิจได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ภาคธุรกิจเห็นด้วยที่มาตรการที่ผ่อนคลา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่