ผ้าห่มพื้นเมืองอเมริกันในศตวรรษที่ 18 ที่ทำด้วยขนสุนัข Salish Wool




ผ้าห่มหายากที่ส่วนหนึ่งมีขนสุนัข Cr.BURKE MUSEUM


ที่พิพิธภัณฑ์ Burke ในซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน มีผ้าห่มสีขาวผืนหนึ่งที่มีแถบสีน้ำตาลแดงสองแถบพาดผ่านด้านข้างที่มีที่มาคลุมเครือ แต่ที่คลุมเครือกว่าคือขนที่อ่อนนุ่มและรอยฉีกขาดชั้นนอกที่เผยให้เห็นด้ายแนวนอนที่ทออยู่ด้านล่าง เส้นด้ายเหล่านี้ทำมาจากวัสดุต่างๆ เช่น ปอ ลินิน ขนแพะ และขนของสุนัข Coast Salish wool หรือที่รู้จักในชื่อสุนัข woolly ซึ่งสูญพันธุ์ไปนานกว่าหนึ่งศตวรรษ

มีวัตถุเพียงไม่กี่ชิ้นที่รอดชีวิตจากการบุกรุกของผู้ตั้งถิ่นฐานชาว Coast Salish กลุ่มชนเผ่าที่มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่ ตั้งแต่ Puget Sound จนถึงกลางเกาะแวนคูเวอร์ในบริติชโคลัมเบีย รวมถึงแนวชายฝั่งลงไปที่โอเรกอนซึ่งอยู่มาเป็นเวลานับพันปี ดังนั้นเศษซากเช่นผ้าห่มนี้จึงมีค่ามาก นอกจากนั้น พื้นที่นี้ยังเป็นที่มาของสุนัขสายพันธุ์พิเศษที่รู้จักกันในชื่อสุนัข Salish Woolly 

ทั้งนี้ เมื่อกว่า 14,000 ปีที่แล้ว สุนัขบ้านวิวัฒนาการมาจากประชากรหมาป่าสองกลุ่มที่แยกจากกัน ตัวหนึ่งอยู่ในเอเชียและอีกตัวอยู่ในยุโรป ระหว่าง 14,000 - 6,400 ปีก่อน มนุษย์เริ่มนำสุนัขบ้านเอเชียไปทางทิศตะวันตกเพื่อผสมพันธุ์กับสุนัขบ้านยุโรป โดยสุนัข Salish Woolly มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสุนัขบ้านในเอเชียตอนต้นมากกว่าสุนัขยุโรป และมีหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งชี้ว่า Salish Wool Dog มีประวัติย้อนหลังไปอย่างน้อย 1,400 ปี จนถึงทุกวันนี้ สุนัขเหล่านี้เป็นสุนัขอเมริกาเหนือยุคก่อนประวัติศาสตร์เพียงตัวเดียวที่รู้จักว่าได้รับการเพาะพันธุ์โดยเจตนาให้มีลักษณะเฉพาะ
 
John Keast Lord นักธรรมชาติวิทยาในศตวรรษที่ 19 เชื่อว่าสุนัขเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากเรืออับปางของญี่ปุ่นที่ชายฝั่งแปซิฟิกแต่ไม่มีหลักฐานยืนยันอย่างไรก็ตาม นักวิชาการทราบดีว่าสุนัข Salish Woolly เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาก่อนการติดต่อจากยุโรป เนื่องจากพบหลักฐานซากสุนัขที่เก่าแก่ที่สุดใน Puget Sound และช่องแคบจอร์เจียที่มีอายุเมื่อ 4,000 ปีก่อน

Salish Wool Dog สูญพันธุ์ในฐานะสายพันธุ์ที่แยกจากกันในปี 1850 
อย่างไรก็ตาม ได้ทิ้งมรดกแห่งความเฉลียวฉลาด ความเจริญรุ่งเรือง และวัฒนธรรมของ Coast Salish ไว้เบื้องหลัง 
(ภาพร่างของ Salish Woolly นี้โดย Paul Kane ในปี 1848 คาดว่าจะสื่อถึงสุนัขได้แม่นยำกว่าภาพวาดในภายหลัง)
Cr.Royal Ontario Museum, object no. 946.15.225
ย้อนไปในปี 1774 เมื่อนักสำรวจชาวสเปน Juan Francisco de la Bodega y Quadra และลูกเรือของเขาติดต่อกับชาว Coast Salish ครั้งแรก พวกเขารู้สึกประหลาดใจที่พบอารยธรรมการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าทอขนสัตว์ชนิดหนึ่ง โดยชนพื้นเมืองทุกคนที่พวกเขาพบตามชายฝั่งแปซิฟิกล้วนแต่สวมเสื้อทอขนสัตว์ พวกเขาสงสัยว่าสัตว์ชนิดใดที่สามารถให้ขนมาทำเส้นด้ายได้ทั้งที่ไม่มีแกะอยู่รอบๆ สักตัว แต่เมื่อสังเกตเห็นสุนัขหลายตัวในบริเวณนั้นที่ดูเหมือนจะถูกตัดขน ในที่สุด พวกเขาก็ตระหนักว่าสุนัขที่เห็นเป็นส่วนสำคัญของการค้าขายและความเจริญรุ่งเรืองของชาว Coast Salish 

สำหรับ Salish Woolly ได้รับการอธิบายว่าเป็นสุนัขตัวเล็กสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน ใบหน้าเหมือนสุนัขจิ้งจอก หูแหลม หางโค้ง โดยเฉพาะขนหนายาวซึ่งเหมาะจะทำเป็นเส้นด้ายมาก นอกจากเส้นด้ายจะถูกปั่นอย่างง่ายดายแล้ว ขนสีอ่อนของมันยังสามารถรับสีย้อมได้ดีอีกด้วย แม้แต่ในปี 1791–1995 เมื่อกัปตัน George Vancouver ได้เดินทางห้าปีตามแนวชายฝั่งแปซิฟิกเหนือของอเมริกาเหนือ ยังพบว่าชาวเมือง Coast Salish ในภูมิภาคนี้เลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ดังกล่าวด้วยเหตุผลพิเศษ นั่นคือผลิตเสื้อผ้าและผ้าห่ม

ในการเลี้ยงสุนัขตัวเล็ก ๆ เหล่านี้ ชาว Coast Salish จะนำพวกมันไปไว้ในคอกบนเกาะห่างไกล แยกพวกมันออกจากสุนัขตัวอื่นๆ ในชุมชนเพื่อไม่ให้ผสมข้ามพันธุ์จนทำให้คุณภาพของขนมีคุณค่าลดลง สุนัขยังได้รับอาหารที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่ถูกเลี้ยงด้วยปลาแซลมอน Sockeye และปลาแซลมอน humpbacked ทั้งแบบสดและแบบแห้ง

ภาพวาดผู้หญิงชาว Coast Salish กำลังสานผ้าห่มจากขน Salish Woolly โดย Paul Kane (1810–1871)

สุนัขจะอยู่บนเกาะเพียงลำพังตลอดฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน จนในฤดูใบไม้ร่วงเมื่อขนยาวและหนา เจ้าของจะมาตัดมันโดยใช้มีดที่ทำด้วยเปลือกหอยแมลงภู่ จากนั้น นำขนไปผสมกับเส้นใยพืชหลายชนิดแล้วปั่นเป็นเส้นด้ายเพื่อเป็นผ้าห่มสำหรับพิธีกรรม ซึ่งถือเป็นของมีค่าในยุคเศรษฐกิจและวัฒนธรรม Salish ก่อนอาณานิคม ขนยังถูกค้าขายกับชุมชนใกล้เคียงเพื่อเงินไปซื้อของมีค่าอื่นๆ โดยขนสุนัขอาจผลิตเสื้อได้ถึงสามครั้งต่อปี

แต่เนื่องจากการจัดหาปลาแซลมอนที่มีจำนวนมากและมีราคาแพงสำหรับผู้คน การดูแลสุนัขขนยาวจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทาง ดังนั้น เมื่อชาวพื้นเมืองพบทางเลือกอื่นในผ้าห่มที่ทำด้วยเครื่องจักรจากโรงงานในเกาะอังกฤษและนิวอิงแลนด์ ด้วยการจัดตั้งจุดขายขนสัตว์ที่แม่น้ำ Fraser และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ Nisqually ในปี 1820 พวกเขาจึงละทิ้งสุนัข Salish Woolly อย่างรวดเร็ว และสูญพันธุ์ไปในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงอย่างนั้น ผู้หญิงชาว Coast Salish ยังคงหาเลี้ยงชีพจากสิ่งทอได้ดีจนถึงศตวรรษที่ 20 แต่ไม่ใช่จากขน Salish Woolly

สิ่งทอที่ทำจากขนสุนัขนั้น เป็นสิ่งที่หาได้ยากในคอลเลกชั่นของพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของความยากลำบากคือการระบุตัวตน และการพิจารณาว่าขนสัตว์ชนิดใดที่ใช้ในการทอผ้านั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยหากไม่มีการวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ แต่ยังมีอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์สิ่งทอของนักอนุรักษ์สิ่งทอ Susan Heald และนักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ Caroline Solazzo ที่สถาบันอนุรักษ์พิพิธภัณฑ์ Smithsonian นั่นคือการวิเคราะห์โปรตีน mass spectrometry (MS) 

รูปถ่ายของเด็กหญิงชาว First Nations สองคนกอดสุนัข Salish Woolly
ถ่ายโดย James O. Booen, Chilliwack ช่างภาพมืออาชีพคนแรกของ BC (ค.ศ. 1895-1897)
Heald อธิบายว่า “ ขนสุนัขจะมี protein fingerprint ที่แตกต่างจากขนแพะหรือขนแกะ และการวิเคราะห์โปรตีนจะวัดความแตกต่างเหล่านั้น ” เมื่อเทียบกับกล้องจุลทรรศน์ซึ่งอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยาหรือโครงสร้างของเส้นขน เธอกล่าวว่า "Proteomics (ยืนยันการมีอยู่ของโปรตีน) สามารถให้ความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสัณฐานวิทยาของเส้นใยเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและความเสียหายทางกายภาพ"

ในขณะที่สิ่งทอว่าหายากแล้ว แต่หนังสัตว์ที่ยังไม่บุบสลายของสุนัข Salish Woolly นั้นยังหายากยิ่งกว่า โดยหนังสัตว์ตัวเดียวที่ยังอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ Smithsonian เป็นของสุนัขชื่อ Mutton ซึ่งถูกซื้อมาในปี 1859 แต่เก็บมันไว้ในชั้นจนลืม จนกระทั่งถูกค้นพบใหม่ในปี 2002 โดยนักประวัติศาสตร์ Candace Wellman และนำมันมาตรวจสอบโดย Elaine Humphrey ผู้เชี่ยวชาญด้านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดที่มหาวิทยาลัย Victoria จากการจับคู่เส้นใยจากผ้าห่ม Coast Salish ข้างต้นกับเส้นใยจากหนังของ Mutton จึงสามารถยืนยันความถูกต้องของหนังสัตว์ได้ว่าเป็น Salish Woolly

แม้ว่าจะมีทั้งประวัติปากเปล่าของชนพื้นเมืองและคนตั้งถิ่นฐานที่เขียนว่าขนสุนัขถูกใช้เป็นผ้าห่ม แต่พบตัวอย่างผ้าห่มขนสุนัขน้อยมาก บางคนเชื่อว่าเพราะขนสุนัขเป็นเรื่องธรรมดาจึงมีแนวโน้มที่จะใช้ผ้าห่มในชีวิตประจำวัน ซึ่งผ้าห่มเหล่านี้จึงอาจถูกใช้บ่อยขึ้นและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น และเชื่อกันว่าสิ่งทอส่วนใหญ่ที่ทอด้วยขนสุนัขน่าจะทอก่อนปี 1862 ในดินแดนของชาว Coast Salish อย่างไรก็ตาม ในตัวอย่างผ้าห่มที่ผสมกับเส้นใยอื่นๆ (เช่น แพะภูเขา) ที่มีอยู่ นักประวัติศาสตร์พบว่ามีเพียงผ้าห่มขนสุนัขที่ยังหลงเหลืออยู่เพียงผืนเดียว โดยอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ Burke Museum ในซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน
 

Mary Adams และสุนัขของเธอ Jumbo หนึ่งในสุนัขขนยาว Salish Woolly ที่มีชีวิตตัวสุดท้าย / Cr.หอจดหมายเหตุพิพิธภัณฑ์ SUQUAMISH
หนังของสุนัขชื่อ Mutton ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติสมิธโซเนียน
Cr.Patricia Jollie, A Woolly Tale: Salish Weavers Once Raised a Now-Extinct Dog for Its Hair, American Indian Magazine
วัฒนธรรม Coast Salish และความรู้ดั้งเดิมสามารถดำรงอยู่ได้ผ่านประวัติศาสตร์ปากเปล่า
โลกของ Coast Salish เปลี่ยนไปอย่างมากหลังจากการติดต่อกับชาวยุโรปในปลายศตวรรษที่ 18 และในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 สุนัขได้หายไป
Cr.https://www.amusingplanet.com/2022/01/the-salish-wool-dog.html / KAUSHIK PATOWARY 
Cr.https://www.thecanadianencyclopedia.ca/en/article/salish-woolly-dog

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่