ปวดหลังส่วนล่าง อย่าละเลย อาจไม่ใช่แค่ปวดเมื่อยธรรมดา
อาการปวดหลังส่วนล่างที่หลาย ๆ คนเป็น อาจไม่ใช่แค่อาการปวดจากการนั่งผิดท่าเท่านั้น แต่เป็นสัญญาณบอกโรคบางอย่างได้
การนั่งทำงานนาน ๆ อยู่ในท่าเดิม ๆ อาจทำให้มีอาการปวดหลังส่วนล่างกันบ้าง ทว่าหากอาการนี้เป็นเรื้อรังและทำท่าจะทวีคูณความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ไม่ควรวางใจหรือทำเฉย ๆ ไป เพราะอาการปวดหลังส่วนล่างอาจเป็นลางของหลายโรค ดังนั้นมาเช็กกันเลยดีกว่าว่าอาการปวดหลังของเราหนักแค่ไหน หรือมีความเสี่ยงโรคอะไรอยู่หรือเปล่า
อาการปวดหลังส่วนล่าง มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Low back pain เป็นอาการปวดหลังในตำแหน่งชายโครง ก้นกบ รวมไปถึงส่วนล่างของแก้มก้น โดยจะรู้สึกปวดในส่วนของกล้ามเนื้อ หมอนรองกระดูกสันหลัง และข้อต่อกระดูกสันหลัง และหากเป็นมาก ๆ อาการปวดอาจร้าวลงขา ลามไปน่อง จนกระทบกับการใช้ชีวิตตามปกติได้ ทั้งนี้ อาการปวดหลังแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
📢 ปวดหลังเฉียบพลัน คือ อาการปวดหลังที่เป็นตั้งแต่ 2-3 วัน ไปจนถึง 2-3 สัปดาห์
📢 ปวดหลังเรื้อรัง คือ อาการปวดหลังที่นานกว่า 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือนขึ้นไป
อาการปวดหลังส่วนล่างเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ดังนี้
สาเหตุจากพฤติกรรม
📢 อ้วนเกินไป น้ำหนักเกิน ทำให้กระดูกต้องรับน้ำหนักมาก
📢 การนั่ง ยืน ผิดท่าเป็นเวลานาน ๆ
📢 นอนหรือนั่งอยู่ในท่าเดิมซ้ำ ๆ
📢 การทำงานที่ต้องอยู่ในท่าก้มตลอดเวลา หรือติดต่อกันนาน ๆ
📢 ไม่ออกกำลังกาย ไม่ค่อยได้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
📢 การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาบางชนิดที่ต้องเอี้ยวตัวเป็นเวลานาน เช่น ตีกอลฟ์ เทนนิส โบว์ลิ่ง
📢 การเคลื่อนไหวที่มีการสั่นสะเทือนตลอดเวลา เช่น นั่งในรถที่ขับไปบนทางขรุขระเป็นเวลานาน ๆ เป็นต้น
📢 การใช้งานร่างกายอย่างหักโหมเกินไป โดยเฉพาะส่วนเอวและหลัง ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ได้ง่าย
สาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
📢 อาการปวดหลังส่วนล่างผู้หญิงบางคนเกิดในช่วงก่อนประจำเดือนมา 1-2 วัน หรือขณะที่มีประจำเดือน หลังจากนั้นอาการจะหายไปเอง
📢 ตั้งครรภ์ ต้องแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากน้ำหนักของทารกในครรภ์
📢 เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้บาดเจ็บบริเวณหลังส่วนล่าง หรือเอวเป็นต้นไป
สาเหตุจากโรคที่ซ่อนอยู่
อาการปวดหลังส่วนล่างยังเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆ เช่น
📢 โรคเอ็นและกล้ามเนื้อหลังอักเสบ (Acute back strain)
📢 โรคที่เกี่ยวข้องกับหมอนรองกระดูก
📢 กระดูกสันหลังคด (Abnormal spine curvatures)
📢 โรคไต
📢 โรคนิ่วในไต
📢 ซีสต์ในรังไข่ (Ovarian Cysts)
📢 โรคมะเร็ง เป็นต้น
กลุ่มคนที่ค่อนข้างเสี่ยงจะมีอาการปวดหลังส่วนล่าง ได้แก่
📢 ผู้สูงอายุ
📢 ผู้มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน
📢 ผู้ที่มีกรรมพันธุ์ที่ทำให้มีความผิดปกติของกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ
📢 ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
📢 ผู้ป่วยโรคจิตเวช เพราะความเครียดส่งผลให้ประสาทส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผิดปกติได้
📢 ผู้ที่สูบบุหรี่ เนื่องจากสารพิษในบุหรี่จะขัดขวางการไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงหมอนรองกระดูก ทำให้เกิดความเสื่อมเร็วขึ้น
📢 เด็กนักเรียนที่แบกเป้หรือสะพายกระเป๋าหนัก ๆ เป็นเวลานาน
📢 ผู้มีอาชีพที่ต้องนั่งนาน ๆ หรือยืนท่าเดิมนาน ๆ เช่น พนักงานออฟฟิศ พนักงานเก็บเงินตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ เป็นต้น
📢 ผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอมิครอน (บางรายอาจมีอาการ)
การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง นอกจากรักษาตามอาการป่วยแล้ว ยังสามารถบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง ตามนี้
📢 นอนพัก 2-3 วัน ลดการเคลื่อนไหวร่างกายที่อาจกระทบกระเทือนหลังส่วนล่าง
📢 ให้ความรู้เกี่ยวกับการเดิน การนั่ง ท่ายกของที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างได้
📢 รักษาด้วยยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ เป็นต้น
📢 การนวด
📢 การประคบร้อน หรือประคบเย็น
📢 ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เช่น ฝึกโยคะ
📢 ทำกายภาพบำบัด
📢 การจัดกระดูก
📢 การฝังเข็ม การครอบแก้ว ตามแบบฉบับแพทย์แผนจีน
📢 รักษาด้วยการผ่าตัดจุดที่เป็นสาเหตุของปัญหา ในกรณีที่กระทบต่อเส้นประสาท หมอนรองกระดูก หรือกระดูกสันหลัง ซึ่งมีผลต่อการเคลื่อนไหวของ📢 ร่างกาย
วิธีป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่าง สามารถทำได้โดย
📢 ออกกำลังกายเป็นประจำ
📢 รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่อ้วนจนเกินไป
📢 นั่งและยืนในท่าที่ถูกต้อง โดยเฉพาะหากต้องนั่งทำงานนาน ๆ ควรจัดหาโต๊ะ เก้าอี้ที่ช่วยให้นั่งสบาย ไม่เสี่ยงนั่งผิดท่า หรือต้องก้มเป็นเวลานาน ๆ
📢 พยายามเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ
📢 หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง ควรเลือกใส่รองเท้าที่เดินสบาย เช่น รองเท้าส้นเตี้ย
📢 นอนให้ถูกท่า
📢พยายามอย่ายกหรือแบกของหนัก ๆ ถ้าต้องยกของ อย่าก้มตัวลงไป แต่ให้งอเข่า หลังตรง แล้วใช้แรงขาดันตัวขึ้นมา
📢งดสูบบุหรี่
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดหลังส่วนล่างเป็นเวลานานก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดที่แท้จริง เพราะไม่ว่าความป่วยใด ๆ ก็ตาม หากพบเจอตั้งแต่ระยะแรก ๆ ก็มีโอกาสและทางเลือกในการรักษาให้หายเป็นปกติได้มากขึ้น
Credit : ขอบคุณบทความดีๆ จาก https://health.kapook.com
⚠️🥺 [บทความ] ปวดหลังส่วนล่าง อย่าละเลย อาจไม่ใช่แค่ปวดเมื่อยธรรมดา 🥺 ⚠️
อาการปวดหลังส่วนล่างที่หลาย ๆ คนเป็น อาจไม่ใช่แค่อาการปวดจากการนั่งผิดท่าเท่านั้น แต่เป็นสัญญาณบอกโรคบางอย่างได้
การนั่งทำงานนาน ๆ อยู่ในท่าเดิม ๆ อาจทำให้มีอาการปวดหลังส่วนล่างกันบ้าง ทว่าหากอาการนี้เป็นเรื้อรังและทำท่าจะทวีคูณความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ไม่ควรวางใจหรือทำเฉย ๆ ไป เพราะอาการปวดหลังส่วนล่างอาจเป็นลางของหลายโรค ดังนั้นมาเช็กกันเลยดีกว่าว่าอาการปวดหลังของเราหนักแค่ไหน หรือมีความเสี่ยงโรคอะไรอยู่หรือเปล่า
อาการปวดหลังส่วนล่าง มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Low back pain เป็นอาการปวดหลังในตำแหน่งชายโครง ก้นกบ รวมไปถึงส่วนล่างของแก้มก้น โดยจะรู้สึกปวดในส่วนของกล้ามเนื้อ หมอนรองกระดูกสันหลัง และข้อต่อกระดูกสันหลัง และหากเป็นมาก ๆ อาการปวดอาจร้าวลงขา ลามไปน่อง จนกระทบกับการใช้ชีวิตตามปกติได้ ทั้งนี้ อาการปวดหลังแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
📢 ปวดหลังเฉียบพลัน คือ อาการปวดหลังที่เป็นตั้งแต่ 2-3 วัน ไปจนถึง 2-3 สัปดาห์
📢 ปวดหลังเรื้อรัง คือ อาการปวดหลังที่นานกว่า 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือนขึ้นไป
อาการปวดหลังส่วนล่างเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ดังนี้
สาเหตุจากพฤติกรรม
📢 อ้วนเกินไป น้ำหนักเกิน ทำให้กระดูกต้องรับน้ำหนักมาก
📢 การนั่ง ยืน ผิดท่าเป็นเวลานาน ๆ
📢 นอนหรือนั่งอยู่ในท่าเดิมซ้ำ ๆ
📢 การทำงานที่ต้องอยู่ในท่าก้มตลอดเวลา หรือติดต่อกันนาน ๆ
📢 ไม่ออกกำลังกาย ไม่ค่อยได้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
📢 การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาบางชนิดที่ต้องเอี้ยวตัวเป็นเวลานาน เช่น ตีกอลฟ์ เทนนิส โบว์ลิ่ง
📢 การเคลื่อนไหวที่มีการสั่นสะเทือนตลอดเวลา เช่น นั่งในรถที่ขับไปบนทางขรุขระเป็นเวลานาน ๆ เป็นต้น
📢 การใช้งานร่างกายอย่างหักโหมเกินไป โดยเฉพาะส่วนเอวและหลัง ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ได้ง่าย
สาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
📢 อาการปวดหลังส่วนล่างผู้หญิงบางคนเกิดในช่วงก่อนประจำเดือนมา 1-2 วัน หรือขณะที่มีประจำเดือน หลังจากนั้นอาการจะหายไปเอง
📢 ตั้งครรภ์ ต้องแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากน้ำหนักของทารกในครรภ์
📢 เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้บาดเจ็บบริเวณหลังส่วนล่าง หรือเอวเป็นต้นไป
สาเหตุจากโรคที่ซ่อนอยู่
อาการปวดหลังส่วนล่างยังเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆ เช่น
📢 โรคเอ็นและกล้ามเนื้อหลังอักเสบ (Acute back strain)
📢 โรคที่เกี่ยวข้องกับหมอนรองกระดูก
📢 กระดูกสันหลังคด (Abnormal spine curvatures)
📢 โรคไต
📢 โรคนิ่วในไต
📢 ซีสต์ในรังไข่ (Ovarian Cysts)
📢 โรคมะเร็ง เป็นต้น
กลุ่มคนที่ค่อนข้างเสี่ยงจะมีอาการปวดหลังส่วนล่าง ได้แก่
📢 ผู้สูงอายุ
📢 ผู้มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน
📢 ผู้ที่มีกรรมพันธุ์ที่ทำให้มีความผิดปกติของกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ
📢 ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
📢 ผู้ป่วยโรคจิตเวช เพราะความเครียดส่งผลให้ประสาทส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผิดปกติได้
📢 ผู้ที่สูบบุหรี่ เนื่องจากสารพิษในบุหรี่จะขัดขวางการไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงหมอนรองกระดูก ทำให้เกิดความเสื่อมเร็วขึ้น
📢 เด็กนักเรียนที่แบกเป้หรือสะพายกระเป๋าหนัก ๆ เป็นเวลานาน
📢 ผู้มีอาชีพที่ต้องนั่งนาน ๆ หรือยืนท่าเดิมนาน ๆ เช่น พนักงานออฟฟิศ พนักงานเก็บเงินตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ เป็นต้น
📢 ผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอมิครอน (บางรายอาจมีอาการ)
การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง นอกจากรักษาตามอาการป่วยแล้ว ยังสามารถบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง ตามนี้
📢 นอนพัก 2-3 วัน ลดการเคลื่อนไหวร่างกายที่อาจกระทบกระเทือนหลังส่วนล่าง
📢 ให้ความรู้เกี่ยวกับการเดิน การนั่ง ท่ายกของที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างได้
📢 รักษาด้วยยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ เป็นต้น
📢 การนวด
📢 การประคบร้อน หรือประคบเย็น
📢 ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เช่น ฝึกโยคะ
📢 ทำกายภาพบำบัด
📢 การจัดกระดูก
📢 การฝังเข็ม การครอบแก้ว ตามแบบฉบับแพทย์แผนจีน
📢 รักษาด้วยการผ่าตัดจุดที่เป็นสาเหตุของปัญหา ในกรณีที่กระทบต่อเส้นประสาท หมอนรองกระดูก หรือกระดูกสันหลัง ซึ่งมีผลต่อการเคลื่อนไหวของ📢 ร่างกาย
วิธีป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่าง สามารถทำได้โดย
📢 ออกกำลังกายเป็นประจำ
📢 รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่อ้วนจนเกินไป
📢 นั่งและยืนในท่าที่ถูกต้อง โดยเฉพาะหากต้องนั่งทำงานนาน ๆ ควรจัดหาโต๊ะ เก้าอี้ที่ช่วยให้นั่งสบาย ไม่เสี่ยงนั่งผิดท่า หรือต้องก้มเป็นเวลานาน ๆ
📢 พยายามเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ
📢 หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง ควรเลือกใส่รองเท้าที่เดินสบาย เช่น รองเท้าส้นเตี้ย
📢 นอนให้ถูกท่า
📢พยายามอย่ายกหรือแบกของหนัก ๆ ถ้าต้องยกของ อย่าก้มตัวลงไป แต่ให้งอเข่า หลังตรง แล้วใช้แรงขาดันตัวขึ้นมา
📢งดสูบบุหรี่
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดหลังส่วนล่างเป็นเวลานานก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดที่แท้จริง เพราะไม่ว่าความป่วยใด ๆ ก็ตาม หากพบเจอตั้งแต่ระยะแรก ๆ ก็มีโอกาสและทางเลือกในการรักษาให้หายเป็นปกติได้มากขึ้น
Credit : ขอบคุณบทความดีๆ จาก https://health.kapook.com