กระดูกทับเส้น กับ หมอนรองกระดูกทับเส้น ต่างกันไหม

ปวดหลัง ปวดร้าว ชาร้าวลงขา อาการเหมือนกันแต่สาเหตุอาจจะต่างกัน
.
วันนี้เราจะมาเล่าอาการที่พบได้บ่อยมากๆในคนปวดหลัง เพื่อให้แยกอาการได้ และรักษาได้ตรงจุด
.
  #กระดูกทับเส้น คือ การเสื่อมของกระดูกสันหลังไปกดทับเส้นประสาท
- สาเหตุหลัก : อายุ ความเสื่อม การใช้งานหนัก
- อาการปวด : ปวดตื้อๆ มักปวดเฉพาะบริเวณหลัง หรือคอ
- อาการชา : มักไม่ค่อยพบ ยกเว้นว่ามีการไปกดทับเส้นประสาทจากกระดูกที่งอก
- ลักษณะเฉพาะ : กระดูกงอก (Bone Spurs) ชัดเจนจาก x-ray หรือ MRI, ข้อต่อแข็งหรือตึงตอนเช้า
- อาการเมื่อพัก : พักแล้วอาการดีขึ้น
- อาการเมื่อเคลื่อนไหว : เจ็บเมื่อเคลื่อนไหวมากหรือเมื่ออยู่ท่าเดิมนานๆ
- การรักษา : ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลาง เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อ
.
  #หมอนรองกระดูกทับเส้น คือ หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาทับเส้นประสาท
- สาเหตุหลัก : การอยู่ท่าเดิมนานๆ, การใช้งาน, การยกของหนัก
- อาการปวด : ปวดเฉพาะจุดที่หมอนรองกระดูกปลิ้น ปวดร้าวไปตามแขนหรือขา
- อาการชา : มีอาการชา หรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อจากการกดทับเส้นประสาท
- ลักษณะเฉพาะ : หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาชัดเจนจาก MRI
- อาการเมื่อพัก : พักแล้วอาการไม่ดีขึ้น
- อาการเมื่อเคลื่อนไหว : ปวดมากในตอนเช้า เคลื่อนไหวตัวลำบาก ไอ-จามปวดเพิ่มมากขึ้น
- การรักษา : ออกกำลังกายด้วยเทคนิคเฉพาะเพื่อดันหมอนรองกลับเข้าที่, ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงเพื่อเอากล้ามเนื้อมาช่วยพยุงหลัง
.
   เพราะฉะนั้น สำคัญคือ ต้องตรวจแยกอาการให้ได้ว่ามีสาเหตุมาจากจุดไหน เพราะวิธีการรักษาของทั้ง 2 อาการนี้แตกต่างกัน การรักษาที่ไม่ตรงจุดอาจจะทำให้มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย
.
   การตรวจเพื่อแยกอาการ
- Postural analysis (ตรวจดูภาพรวมของร่างกาย)
- Movement loss (ตรวจดูการเคลื่อนไหว)
- Repetitive movement (ตรวจเพื่อแยกอาการหมอนรองทับเส้น)
- PPIVM (ตรวจดูการติดของกระดูกสันหลัง)
- Nerve tension (ตรวจดูความตึงตัวของเส้นประสาท)
- Neurological examination (การตรวจทางระบบประสาท)
.
‘We prioritize your health in every aspect.’
.
#รักษาที่ต้นเหตุ
#สุขภาพไม่มีคำว่าแพง
.
#Personalizehealing #Experiencetailored
.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่