โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมมีแนวโน้มที่จะพบในผู้ป่วยที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ
อาจจะด้วยวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบันที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์มากขึ้น
คนทำงาน ที่ต้องจดจ่อ กับ หน้าจอ หรือ งานที่ต้องก้มหน้านานๆ
พฤติกรรมเหล่านี้ จะเร่งให้หมอนรองกระดูกต้นคอเสื่อมไวกว่าปกติ
และการเสื่อมก็จะนำพาไปสู่การกดทับที่เส้นประสาทคอได้
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้
อาการสงสัยหมอนรองกระดูกเสื่อม
ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังแตกหรือปลิ้นออกจากตำแหน่งเดิม
และไปกดทับเส้นประสาท แต่สำหรับหมอนรองกระดูกสันหลังที่เริ่มเสื่อมสภาพ ไม่ได้ไปกดทับรากประสาทนั้น
จะมีอาการปวดเฉพาะจุด โดยไล่ลงมาตั้งแต่อาการปวดบริเวณคอ เอว หลัง และสะโพก เป็นต้น
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างหนัก ขาบริเวณต้นขาจรดปลายเท้ามีอาการปวด ชา และอ่อนแรง
ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ผู้ป่วยอาจเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม แตกหัก และปริ้นออกมากดทับเส้นประสาท
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการใช้งานกระดูกสันหลังหนักจนเกินไป ใช้งานผิดท่า ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือเสื่อมตามอายุที่เพิ่มขึ้น ฯลฯ
ในภาวะปกติหมอนรองกระดูกสันหลังจะมีความยืดหยุ่นสูงและมีลักษณะนิ่มเหมือนเจลลี่
คนไข้โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ตัวหมอนรองกระดูกสันหลังจะมีความแข็งและเหนียวเพิ่มขึ้น
ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่รับแรงกระแทกและส่งผ่านน้ำหนักได้ดีเหมือนเดิม เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมแล้ว
สิ่งที่ตามมาก็คือการส่งผ่านแรงกระแทกและน้ำหนักร่างกายจะถูกผลักภาระหน้าที่ไปที่ข้อต่อกระดูกสันหลัง เรียกว่า Facet Joint
ข้อต่อกระดูกสันหลัง หรือ Facet Joint นั่นมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับกระดูกสันหลังทั้งชิ้นและใน
ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อรับน้ำหนักร่างกายในปริมาณมาก สิ่งที่ตามมาก็คือข้อต่อกระดูกสันหลังจะเกิดการอักเสบและเกิดการเสื่อมสภาพ
เมื่อหมอนรองกระดูกและข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อมสภาพมากขึ้นเรื่อยๆ หรือความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลัง
ส่งผลให้กระดูกสันหลังมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติและมากเกินไป เกิดอาการปวดหรือเกิดอาการ “กระดูกสันหลังเคลื่อน”
อาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ผู้ป่วยหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมส่วนนึงจะไม่มีอาการอะไรเลย
อาการปวดหลัง อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่นปวดกล้ามเนื้อหลัง ปวดจากหมอนรองกระดูกที่เสื่อม
ปวดจากข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ ปวดจากหลังโก่งหรือหลังคด
อาการปวดมักจะเป็นแบบเรื้อรังและอาจจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
ส่วนมากอาการปวดมักจะเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยต้องอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน
เช่นนั่งหรือยืนนาน แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบร่วมด้วย
อาจมีอาการปวดหลังเวลามีการขยับตัวและเปลี่ยนท่าทาง เช่นปวดในท่าแอ่นหลังหรือปวดเวลาลุกจากท่านั่งเป็นยืนเป็นต้น
อาการของเส้นประสาทโดนกดทับ ในผู้ป่วยที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมมากขึ้นอาจมีการกดทับของเส้นประสาทจากหมอนรองกระดูกที่เสื่อม
หรือกระดูกงอก ซึ่งอาจจะทำให้มีอาการดังต่อไปนี้คือ ปวดร้าวลงขาเหมือนโดนไฟช็อต ชาขาหรือชาเท้า
อ่อนแรงกล้ามเนื้อขา,ข้อเท้า,นิ้วเท้า และมีปัญหาในการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระ
สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม
อายุ : แน่นอนว่าความชราย่อมเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งในการเกิดหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม
ซึ่งข่าวร้ายก็คือเราไม่สามารถหยุดยั้งอายุของเราเพื่อหยุดอาการเสื่อมได้
น้ำหนักตัว : เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง
ซึ่งผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมมากกว่าผู้ที่น้ำหนักตัวปกติ
กิจวัตรประจำวันและลักษณะการทำงาน อย่างที่หมอเกริ่นไว้ในตอนต้นแล้วว่า
ในปัจจุบันเราพบการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลง
ปัจจัยสำคัญก็มาจากกิจวัตรประจำวัน ใช้เวลานั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น บางคนมากถึง 8-12 ชั่วโมงต่อวัน
ส่งผลให้หมอนรองกระดูกต้องรับทำงานหนักขึ้น ลักษณะงานที่ต้องใช้แรงงานแบกของหนักและมีการก้มๆเงยๆหลังมาก
การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การได้รับอุบัติเหตุบริเวณกระดูกสันหลัง การติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง และเนื้องอกที่กระดูกสันหลัง
โดยทั่วไปมักให้การรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมแบบชะลอ ไม่ให้มันเสื่อมไวขึ้น
โดยการปรับพฤติกรรมร่วมกับรับประทานยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์และการทำกายภาพบำบัด
ประคบด้วยร้อน ช่วยทุเลาอาการปวดได้ชั่วคราว
นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยผ่านคลื่นความร้อน หรือการฉีดยาเข้าไปเหนือเส้นประสาทที่บริเวณคอ
การรักษาโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงไปที่หมอนรองกระดูก เพื่อลดแรงดันของหมอนรองกระดูกสันหลัง และสลาย
ทำลายเส้นประสาทที่งอกเข้ามาในแกนกลางของหมอนรองกระดูกสันหลัง
ในกรณีที่ทานยา และทำตามวิธีที่กล่าวมาแล้วไม่ดีขึ้น และมีอาการเป็นมานานมากกว่า 6 สัปดาห์
การผ่าตัดโดยใช้หมอนรองกระดูกเทียมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ซึ่งปัจจุบันมีแนวทางการผ่าตัดผ่านกล้อง เป็นการผ่าตัดแผลเล็กที่มีความปลอดภัย
ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดผ่านกล้องที่มีกำลังขยายสูง ทำให้เห็นเส้นประสาทบริเวณคอได้อย่างชัดเจน
ลดความเสี่ยงพิการหลังการผ่าตัดหรือความเสียหายของเนื้อเยื้อที่ช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว
แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กสามารถแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้

วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขยับร่างกายบ้างไม่นั่งหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไป อย่างน้อย นั่ง 1 ชั่วโมง
แล้วลุกยืน 1 นาที ปรับจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา เก้าอี้ต้องมีพนักพิง
ออกกำลังกายและทำกิจกรรมเพื่อเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
โดยต้องระมัดระวังในการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับบาดเจ็บบริเวณคอ
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=sfCLf0tW9xs
https://www.thonburihospital.com/spondylolisthesis/

อาการสงสัย หมอนรองกระดูกเสื่อม
อาจจะด้วยวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบันที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์มากขึ้น
คนทำงาน ที่ต้องจดจ่อ กับ หน้าจอ หรือ งานที่ต้องก้มหน้านานๆ
พฤติกรรมเหล่านี้ จะเร่งให้หมอนรองกระดูกต้นคอเสื่อมไวกว่าปกติ
และการเสื่อมก็จะนำพาไปสู่การกดทับที่เส้นประสาทคอได้
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้
ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังแตกหรือปลิ้นออกจากตำแหน่งเดิม
และไปกดทับเส้นประสาท แต่สำหรับหมอนรองกระดูกสันหลังที่เริ่มเสื่อมสภาพ ไม่ได้ไปกดทับรากประสาทนั้น
จะมีอาการปวดเฉพาะจุด โดยไล่ลงมาตั้งแต่อาการปวดบริเวณคอ เอว หลัง และสะโพก เป็นต้น
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างหนัก ขาบริเวณต้นขาจรดปลายเท้ามีอาการปวด ชา และอ่อนแรง
ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ผู้ป่วยอาจเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม แตกหัก และปริ้นออกมากดทับเส้นประสาท
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการใช้งานกระดูกสันหลังหนักจนเกินไป ใช้งานผิดท่า ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือเสื่อมตามอายุที่เพิ่มขึ้น ฯลฯ
ในภาวะปกติหมอนรองกระดูกสันหลังจะมีความยืดหยุ่นสูงและมีลักษณะนิ่มเหมือนเจลลี่
คนไข้โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ตัวหมอนรองกระดูกสันหลังจะมีความแข็งและเหนียวเพิ่มขึ้น
ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่รับแรงกระแทกและส่งผ่านน้ำหนักได้ดีเหมือนเดิม เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมแล้ว
สิ่งที่ตามมาก็คือการส่งผ่านแรงกระแทกและน้ำหนักร่างกายจะถูกผลักภาระหน้าที่ไปที่ข้อต่อกระดูกสันหลัง เรียกว่า Facet Joint
ข้อต่อกระดูกสันหลัง หรือ Facet Joint นั่นมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับกระดูกสันหลังทั้งชิ้นและใน
ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อรับน้ำหนักร่างกายในปริมาณมาก สิ่งที่ตามมาก็คือข้อต่อกระดูกสันหลังจะเกิดการอักเสบและเกิดการเสื่อมสภาพ
เมื่อหมอนรองกระดูกและข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อมสภาพมากขึ้นเรื่อยๆ หรือความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลัง
ส่งผลให้กระดูกสันหลังมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติและมากเกินไป เกิดอาการปวดหรือเกิดอาการ “กระดูกสันหลังเคลื่อน”
อาการปวดหลัง อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่นปวดกล้ามเนื้อหลัง ปวดจากหมอนรองกระดูกที่เสื่อม
ปวดจากข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ ปวดจากหลังโก่งหรือหลังคด
อาการปวดมักจะเป็นแบบเรื้อรังและอาจจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
ส่วนมากอาการปวดมักจะเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยต้องอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน
เช่นนั่งหรือยืนนาน แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบร่วมด้วย
อาจมีอาการปวดหลังเวลามีการขยับตัวและเปลี่ยนท่าทาง เช่นปวดในท่าแอ่นหลังหรือปวดเวลาลุกจากท่านั่งเป็นยืนเป็นต้น
อาการของเส้นประสาทโดนกดทับ ในผู้ป่วยที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมมากขึ้นอาจมีการกดทับของเส้นประสาทจากหมอนรองกระดูกที่เสื่อม
หรือกระดูกงอก ซึ่งอาจจะทำให้มีอาการดังต่อไปนี้คือ ปวดร้าวลงขาเหมือนโดนไฟช็อต ชาขาหรือชาเท้า
อ่อนแรงกล้ามเนื้อขา,ข้อเท้า,นิ้วเท้า และมีปัญหาในการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระ
อายุ : แน่นอนว่าความชราย่อมเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งในการเกิดหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม
ซึ่งข่าวร้ายก็คือเราไม่สามารถหยุดยั้งอายุของเราเพื่อหยุดอาการเสื่อมได้
น้ำหนักตัว : เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง
ซึ่งผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมมากกว่าผู้ที่น้ำหนักตัวปกติ
กิจวัตรประจำวันและลักษณะการทำงาน อย่างที่หมอเกริ่นไว้ในตอนต้นแล้วว่า
ในปัจจุบันเราพบการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลง
ปัจจัยสำคัญก็มาจากกิจวัตรประจำวัน ใช้เวลานั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น บางคนมากถึง 8-12 ชั่วโมงต่อวัน
ส่งผลให้หมอนรองกระดูกต้องรับทำงานหนักขึ้น ลักษณะงานที่ต้องใช้แรงงานแบกของหนักและมีการก้มๆเงยๆหลังมาก
การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การได้รับอุบัติเหตุบริเวณกระดูกสันหลัง การติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง และเนื้องอกที่กระดูกสันหลัง
โดยทั่วไปมักให้การรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมแบบชะลอ ไม่ให้มันเสื่อมไวขึ้น
โดยการปรับพฤติกรรมร่วมกับรับประทานยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์และการทำกายภาพบำบัด
ประคบด้วยร้อน ช่วยทุเลาอาการปวดได้ชั่วคราว
นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยผ่านคลื่นความร้อน หรือการฉีดยาเข้าไปเหนือเส้นประสาทที่บริเวณคอ
การรักษาโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงไปที่หมอนรองกระดูก เพื่อลดแรงดันของหมอนรองกระดูกสันหลัง และสลาย
ทำลายเส้นประสาทที่งอกเข้ามาในแกนกลางของหมอนรองกระดูกสันหลัง
ในกรณีที่ทานยา และทำตามวิธีที่กล่าวมาแล้วไม่ดีขึ้น และมีอาการเป็นมานานมากกว่า 6 สัปดาห์
การผ่าตัดโดยใช้หมอนรองกระดูกเทียมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ซึ่งปัจจุบันมีแนวทางการผ่าตัดผ่านกล้อง เป็นการผ่าตัดแผลเล็กที่มีความปลอดภัย
ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดผ่านกล้องที่มีกำลังขยายสูง ทำให้เห็นเส้นประสาทบริเวณคอได้อย่างชัดเจน
ลดความเสี่ยงพิการหลังการผ่าตัดหรือความเสียหายของเนื้อเยื้อที่ช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว
แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กสามารถแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้
แล้วลุกยืน 1 นาที ปรับจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา เก้าอี้ต้องมีพนักพิง
ออกกำลังกายและทำกิจกรรมเพื่อเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
โดยต้องระมัดระวังในการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับบาดเจ็บบริเวณคอ
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=sfCLf0tW9xs
https://www.thonburihospital.com/spondylolisthesis/