พ่อคะ เล่านิทานให้หนูฟังหน่อย
ได้สิจ๊ะ พ่อจะเล่าให้หนูฟัง
เมื่อครั้งพม่ายังเป็นแผ่นดินทอง
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พม่าเป็นประเทศที่งดงาม อุดมด้วยป่าสัก ป่ามะเกลือ
เสือโคร่งคำรามก้องป่า
ช้างป่าอิ่มทัองจนอ้วนพี
ลูกจะพบไพลินสีเข้มดั่งท้องฟ้า และทับทิมสีแดงจัดกว่าแก้มของหนู
มีอัญมณีมากมายเกินกว่าที่เจ้าหญิงอย่างลูกจะปรารถนา
แต่แล้วก็มีเรื่องเศร้า
พวกทหารจากแดนแสนไกล มาปล้นชิงสิ่งมีค่าของพวกเราไปหมด
จนเรากลายเป็นประเทศยากจน
พ.ศ.2310 หลังกรุงแตกครั้งที่สอง ชาวไทย ทรัพย์สมบัติ ปืนใหญ่ถูกพม่ากวาดต้อนอย่างเร่งด่วน เพื่อไปยันทัพต้าชิงกว่าสามแสนที่บุกมาประชิดชายแดนทางเหนือ
ทหารพม่าจึงคุมเชลยไม่เข้มงวดนัก คนไทยและต่างชาติ จึงลอบหนีตอนกลางคืนเป็นอันมาก จากบันทึกคำให้การจากฝรั่งอาเมเนีย บ.ดัชต์อีสต์อินเดีย สาขาจากาตาร์ ชวา
ในละครมีฉากคนไทย รอนแรมถึงแม่น้ำอิรวดี พระเจ้าอุทุมพรที่ทรงผนวช ได้หยิบก้อนดินเมืองไทยก่อนข้ามลำน้ำ
เรื่องราวเมื่อเชลยไทยเดินทางมาถึงรัตนปุระอังวะ รัชสมัยพระเจ้ามังระ ปรากฏใน มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า แปลโดย นายต่อ จากพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้วความว่า
แต่สีหะปะเต๊ะนั้นคุมทหารไปโดยทางบก ครั้นเดือน 9 ศกนั้นก็ถึงเมืองรัตนบุระอังวะ แล้วสีหะปะเต๊ะแม่ทัพได้เอาสาตราอาวุธทั้งปวง
แลพระราชวงษ์แลพระมเหษีแลพระสนมทั้งปวงกับเครื่องภาชนใช้สอยเงินทองทั้งปวงถวายแด่พระเจ้ากรุงอังวะสิ้น
…แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระมเหษีแลพระราชบุตรีแลพระสนมที่เปนพระราชวงษ์พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ที่เปนเจ้าหญิงทั้งปวงนั้น ทรงจัดให้สร้างวังเอาเข้าไว้ในมหาพระราชวังหลวง
แต่พระราชวงษานุวงษ์แลขุนนางข้าราชการแลพลเมืองพลทหารอยุทธยาทั้งปวงนั้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังแลทำเย่าเรือนเคหาอยู่ตามภูมิลำเนานอกกำแพงพระราชวัง
แล้วทรงโปรดเกล้าฯ เลี้ยงดูให้อยู่เปนศุขทุกคน มิให้ร้อนใจสิ่งหนึ่งสิ่งใด…”
จากหลักฐานดังกล่าว สรุปว่า
ชาวอยุธยาหรือชาวโยเดียที่ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่เมืองรัตนปุระอังวะนั้น ถูกแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม แยกย้ายกันไปตั้งหลักแหล่งที่อยู่ แบ่งเป็น
1 พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหญิงของอยุธยา ได้แก่ พระอัครมเหสี พระมเหสี พระภคินี พระราชธิดา พระราชนัดดา พระราชภาคิไนย และพระสนมทั้งหมด
ให้เข้าไปอยู่ในพระราชวังของรัตนปุระอังวะ
2 พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายชายของอยุธยา ได้แก่
พระราชอนุชา พระราชโอรส พระราชนัดดา พระราชภาคิไนย ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกกำแพงพระราชวังรัตนปุระอังวะ
เชื้อสายของเจ้าชายอยุธยาที่เป็นหญิง ได้เป็นเจ้าจอมมารดาของกษัตริย์พม่า สืบเชื้อสายเป็นเจ้านายพม่าเชื้อสายโยเดีย(อยุธยา) สืบเนื่องมาจนถึงสมัยพระเจ้ามินดง
3 เชลยชาวอยุธยา ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกพระราชวังของรัตนปุระอังวะ
และบางส่วนโดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นช่าง น่าจะไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองสะกาย(เมืองจักไก)
สอดคล้องกับหลักฐานทางศิลปกรรมว่า มีร่องรอยของงานศิลปกรรมอยุธยา โดยเฉพาะงานจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างอยุธยาตอนปลาย ปรากฏอยู่ที่วัดมหาเตงดอจี สะกาย ตรงข้ามกับรัตนปุระอังวะ
พระสถูปที่วัดเยตะพัน (วัดม
ะเดื่อ) ทางใต้ของเมืองอังวะ
ตามหลักฐานในคำบอกเล่าของชาวพม่าว่า พระเจ้าอุทุมพรทรงผนวช มาประทับที่วัดนี้ เป็นเวลากว่า 16 ปี และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปจากไม้มะเดื่อประดิษฐานไว้ภายในพระสถูปนี้
ต่อมาพม่าย้ายราชธานีจากรัตนปุระอังวะ ไปยังอมรปุระสมัยพระเจ้าปดุง(โบดอพญา) และมัณฑะเลย์สมัยพระเจ้ามินดง
ชาวอยุธยาและเชื้อสายชาวอยุธยาได้ถูกอพยพไปอยู่ในราชธานีเหล่านี้
ด้วยเหตุนี้จึงปรากฏมีชุมชนชาวโยเดียทั้งที่รัตนปุระอังวะ สะกาย อมรปุระ และมัณฑะเลย์
ส่วนเชลยชาวอยุธยานั้นได้ตั้งบ้านเรือนบริเวณริมคลองชเวตชอง ในเมืองอมรปุระ–มัณฑะเลย์ ร่วมกับชุมชนเชลยชาวฉาน(ไทใหญ่) ชาวโยน(ล้านนา) และชาวลินซิน(ล้านช้าง) ที่ถูกกวาดต้อนมายังพม่าในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ทำให้ชาวโยเดีย (อยุธยา) ชาวฉาน(ไทใหญ่) ชาวโยน(ล้านนา) และชาวลินซิน(ล้านช้าง) ได้สืบเชื้อสายผสมผสานกันในบริเวณนี้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ชาวโยเดียที่ถูกกวาดต้อนมายังพม่า ไม่ได้ถูกทรมาน สอดเอ็นร้อยหวายระหว่างเดินทาง ได้กินอิ่มนอนหลับ
เมื่อถึงรัตนปุระอังวะ ทุกคนมีบ้านอยู่ มีอู่นอน มีข้าวกิน ตามชนชั้น
ทุกคนมีงานทำ มีเบี้ยหวัด บำเหน็จรางวัลเมื่อทำความชอบ เช่น ช่างพลุ พระเจ้าปดุงทรงโปรดให้ช่างโยเดียทำพลุตะไลไฟเพนียง จุดในงานมงคล
ช่วงสงครามเก้าทัพ มีชาวโยเดียอาสาร่วมรบ ด้วยเป็นข้าแผ่นดินอังวะที่ชุบเลี้ยงมา
ละครเดินเรื่องช่วง
พ.ศ.2325 สมัยพระเจ้าปดุงเพิ่งครองราชย์ กรีฑาทัพไปยะไข่(อารากัน)
พ.ศ.2327 ตียะไข่สำเร็จ พระเจ้าปดุงทรงชักพระมหามัยมุนี ล่องแพตามลำน้ำอิรวดีมาขึ้นบกที่มัณฑะเลย์
ชาวโยเดียในเรื่อง บางส่วนย้ายจากเมืองสะกาย มาอมรปุระ
ปิ่นเป็นข้าบาทบริจาริกาของเจ้าฟ้ามงกุฎกับเจ้าฟ้ากุณฑล
มีแม่เป็นนางรำ มีผัวคือ อุบากอง ขุนศึกเลื่องชื่อ ผู้ถ่ายทอด ตำรายันต์ยามยาตรา ที่ลือลั่น
เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป คงต้องติดตามชม
ละครไทยย้อนยุคเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องแรก ที่บอกเล่ามุมมองของคนพม่าต่อคนไทย อย่างไม่ใส่สีใส่ไข่ หรือมีแต่ความจงเกลียดจงชัง เพราะแท้จริงแล้วพม่าต้องการเพิ่มพลเมืองจึงปฏิบัติดูแลอย่างดี
เช่นเดียวกับที่ร.1เทครัวแขกมลายูขึ้นมาบางกอก และแบ่งที่ทำกิน หาหมอมารักษา ไม่ได้ทุบตีทำร้ายทรมาน แต่อย่างใด ปรากฏในจดหมายเหตุรายวัน
ส่วนในภาคปัจจุบัน บรรยายสภาพบ้านเมืองของพม่าหลังยุคอาณานิคมอังกฤษอย่างยิ่งใหญ่ ไม่ดูหมิ่นดูแคลน มีความเป็นอารยะ คนพม่าน้ำใสใจจริง ไม่รังเกียจคนไทย
สร้างความประทับใจให้คนไทยที่ไปเที่ยวพม่ามาแล้ว อยากกลับไปเที่ยวอีก เราหาใช่อื่นไกลแต่เป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน
บท แบ่งเป็นสองเส้นเรื่อง คือ
ภาคอดีต ยุคพระเจ้าปดุง อมรปุระ
ภาคปัจจุบัน ยุคเปลี่ยนชื่อจาก พม่า เป็นเมียนมา ย่างกุ้ง
โดยเล่าสลับไปมา ทำให้ขาดความต่อเนื่องไปบ้างในแต่ละภาค ซึ่งผู้เขียนอยากชมภาคอดีตมากกว่า เพราะอยากเห็นความรุ่งเรืองของพม่าในอดีตว่ายิ่งใหญ่เพียงไร เพราะเชื่อมั่นในข้อมูลของที่ปรึกษา มิกกี้ ฮาร์ท นักประวัติศาสตร์อิสระ ชาวพม่าใช้อ้างอิง จนผกก.นำมาเขียนบทละคร
ถ่ายภาพ ใช้กล้องred ถ่ายทำ เป็นกล้องถ่ายหนังคุณภาพดี ที่ใช้ถ่ายหนัง ถึงคนไม่คิดถึง
เนื่องจากทุนสร้างไม่สูงมาก แต่สิ่งที่ถ่ายทำสูงค่าจนประเมินมิได้ ถ้าได้arri lf จะเป็นการดีไม่น้อยแต่ค่าเช่ากล้องแพงกว่ามาก
ภาพถ่ายสถานที่ต่างๆ ไม่epicยิ่งใหญ่เท่ากับช่างภาพชาวญี่ปุ่นที่ถ่ายในหนังถึงคนไม่คิดถึง
แต่มีความใกล้ชิดเป็นกันเอง เข้ามาแทนที่ อีกทั้งเวลาถ่ายทำ บินไปมาที่จำกัด ในสถานการณ์โควิดระบาด จึงถือว่าทำได้สุดฝีมือเท่าที่โอกาสจะอำนวย
ตัดต่อ เดินเรื่องเน้นความละเมียดละมัย เช่นเดียวกับงานชั้นครูอย่าง อดุลย์ ดุลยรัตน์ ,รุจน์ รณภพ ,เชิด ทรงศรี
ดูง่ายเข้าใจง่าย ทำให้เห็นสีหน้าท่าทางของนักแสดงชัดเจน จำแนกความต่างทางวัฒนธรรมได้ง่าย
เครื่องแต่งกาย ตรงยุค เสื้อพม่าโบราณแยกเป็นชิ้นๆแล้วเย็บติด ลวดลายพยายามหาที่เก่าใกล้กันที่สุด ถ้าไปดูที่บริติชมิวเซียมน่าจะพบเพิ่มเติมแต่ไปลำบาก
เครื่องประดับแยกไทย พม่าชัดเจน สีสัน ลวดลายใช้ต่างกัน
cg เนื่องจากโบราณสถานพม่า ไม่สะดวกเดินทางไปถ่ายทำ ผกก.จึงใช้cgแทน ทำได้เนียน เช่น
ฉากพระนาง ยืนอยู่หน้ามหาวิหารเตงดอจี สะกาย ทั้งกลางวัน และกลางคืน
ฉากหม่องสะกับปิ่น ยืนอยู่หน้ามหาวิหารเตงดอจี
ฉากดูดาวบนฟ้า ที่พระเอกอธิบายกลุ่มดาวให้นางเอกฟัง น่าจะมีลากเส้น หรือดาวเปลี่ยนสี เรืองแสงให้รู้ว่าเป็นกลุ่มดาวเดียวกัน
เพราะอุบากอง ต้องดูดาวในเรื่อง
บันทึกเสียง เสียงส่วนใหญ่ชัดตรงปาก มีอู้อี้น้อยมาก เสียงพูดกับเสียงดนตรีเสมอกัน ฟังง่าย ได้อารมณ์
ดนตรีประกอบ เข้ากับเนื้อเรื่องในแต่ละภาค
เพลงเสน่หา เรียบเรียงได้ร่วมสมัย เด็กฟังได้ผู้ใหญ่ฟังดี
แต่อดไม่ได้จะคิดถึงเพลงใน ถึงคนไม่คิดถึง ที่ยังเข้ากับละครเรื่องนี้อยู่ นั่นคือ ความคิดคำนึงถึงเศษเสี้ยวแห่งความทรงจำ
นักแสดง เลือกได้เหมาะสม
จากหลักฐาน จิตรกรรมฝาฝนัง วัดกู่จี เมืองสะกาย
คนโยเดียผิวขาว กว่าคนพม่า
นาที 4.00 วัดกู่จี
และจากหน้าตากลุ่มที่ใช้ภาษาไต กระไดที่อพยพมาจากจีน มาอยู่เป็นบริเวณกว้างตั้งแต่
สิบสองจุไท(ญวนเหนือ)
สิบสองปันนา(หยุนหนานใต้)
ไทใหญ่(ฉาน)
ล้านนา ล้านช้าง
มีลักษณะทางกายภาพคือ
ตาโต หน้ารูปไข่ รูปร่างสมส่วน ไม่แคระแกรน ผิวขาว
สอดคล้องกับสำนวน
เขมรขาว ลาวใหญ่ ไทยเล็ก เจ๊กดำ คบไม่ได้
เพราะมีลักษณะผิดแผก จากที่พบเห็นบ่อยๆ
พระเอก แสดงได้ดีทั้งสีหน้า ท่าทาง แววตา แม้จะพูดอังกฤษทำให้ลดพลังการแสดงไปบ้าง เพราะไม่ใช่ภาษาพ่อภาษาแม่
โครงหน้าผิวพรรณดูเป็นลูกครึ่งไทยพม่า จากบทพระยาพิชัยดาบหักที่ว่าเล่นและบู๊ได้ดีแล้ว เรื่องนี้พัฒนาไปอีกขั้น
นางเอก เล่นเรื่องแรก จากไอดอลสาวมาเป็นนางเอกเต็มตัว มีพัฒนาการ ความตั้งใจดี
แสดงช่วงแรกกับช่วงท้ายดีขึ้นเห็นๆ ฝึกการเปล่งให้นิ่มนุ่มเนิบ พูดเหน่อแบบอยุทธยา นางรำปิ่นจะมีเสน่ห์เพิ่มขึ้นไปอีก
ส่วนนักแสดงพม่า บุคคลิกชายหญิงหญิงแท้ แบบเดียวกับนักแสดงหนังย้อนยุคเกาหลี
น้ำเสียง สำเนียงพม่าสุภาพนุ่มนวล น่าฟัง
พระรอง เดาส์ เล่นเป็นหม่องสะ กวีชาวรามัญ พ่อม่ายเมียตาย ฝันอยากแปลอิเหนาเป็นภาษาพม่า
แสดงดี ตั้งใจมาก มีสมาธิสูง ฉากรำอิเหนาที่ต่างวัฒนธรรมจึงดูลื่นไหล งดงาม ขวัญใจแม่ยกพม่าทั้งในจอนอกจอ
นางรอง นีน ตเว ยู ออง มิสยูนิเวิร์สพม่า 2018
พูดไทยชัด เหน่อน่าฟัง สวยแบบผิวพม่านัยน์ตาแขก แต่งชุดโบราณขึ้น แสดงดี ตั้งใจ
ถ้าไม่ติดปัญหาทางการเมือง คนไทยคงได้ชมการแสดงของดาราพม่าที่ดีทั้งในจอนอกนอก จนรับมาอยู่ในอัอมใจได้ไม่ยาก พี่น้องชาวพม่าจะได้ชมละครทุนสูงที่คนไทยไปถ่ายทำที่พม่า ได้เห็นความงดงาม ยิ่งใหญ่ ทรงคุณค่า ได้อวดสู่สายตาชาวโลก
นักแสดงท่านอื่น แสดงได้มีความตั้งใจจะบอกเล่าเรื่องราวที่คนไทยและพม่าส่วนใหญ่ไม่ทราบมาก่อน เพื่อให้คนรุ่นหลังเข้าใจอย่างถ่องแท้
กำกับการแสดง กะจังหวะรับส่งได้ดี เรื่องนี้มีสามภาษา ไทย พม่า อังกฤษ ได้ดูละครไทยที่นักแสดงไทยพูดอังกฤษเป็นปกติตลอดเรื่องซะที
เน้นอารมณ์นักแสดงได้ถึง
แม้ต้องพักกองทิ้งช่วงถ่ายทำหลายเดือน นักแสดงยังต่ออารมณ์ต่อฉากได้เนียนสนิท
คณะทำงานทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ
เนื่องจากละครฉายตอนละ50นาที 2ิ ตอนจึงเท่ากับ 1 ตอนของช่องอื่น
ทำให้ดูๆไปอ้าวจบซะแล้ว ยิ่งไม่มีโฆษณาคั้น ทำให้ต้องเตรียมตัวดูรวดเดียว
ขอบคุณช่องไทยpbs และผู้จัด คณะ ที่ตั้งใจถ่ายทอดเรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่เลือนหายไปให้ปรากฏ แก่สายตาคนไทยและพม่า เพื่อความเข้าใจอันดี ปราศจากอคติ ความลำเอียงเกลียดชังที่ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์มารองรับ
ท้ายนี้ผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ทีนี้ ขอบคุณครับ
จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี ละครย้อนยุคที่เล่ารอยต่อทางประวัติศาสตร์ที่หายไปของพม่าไทย
พ่อคะ เล่านิทานให้หนูฟังหน่อย
ได้สิจ๊ะ พ่อจะเล่าให้หนูฟัง
เมื่อครั้งพม่ายังเป็นแผ่นดินทอง
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พม่าเป็นประเทศที่งดงาม อุดมด้วยป่าสัก ป่ามะเกลือ
เสือโคร่งคำรามก้องป่า
ช้างป่าอิ่มทัองจนอ้วนพี
ลูกจะพบไพลินสีเข้มดั่งท้องฟ้า และทับทิมสีแดงจัดกว่าแก้มของหนู
มีอัญมณีมากมายเกินกว่าที่เจ้าหญิงอย่างลูกจะปรารถนา
แต่แล้วก็มีเรื่องเศร้า
พวกทหารจากแดนแสนไกล มาปล้นชิงสิ่งมีค่าของพวกเราไปหมด
จนเรากลายเป็นประเทศยากจน
พ.ศ.2310 หลังกรุงแตกครั้งที่สอง ชาวไทย ทรัพย์สมบัติ ปืนใหญ่ถูกพม่ากวาดต้อนอย่างเร่งด่วน เพื่อไปยันทัพต้าชิงกว่าสามแสนที่บุกมาประชิดชายแดนทางเหนือ
ทหารพม่าจึงคุมเชลยไม่เข้มงวดนัก คนไทยและต่างชาติ จึงลอบหนีตอนกลางคืนเป็นอันมาก จากบันทึกคำให้การจากฝรั่งอาเมเนีย บ.ดัชต์อีสต์อินเดีย สาขาจากาตาร์ ชวา
ในละครมีฉากคนไทย รอนแรมถึงแม่น้ำอิรวดี พระเจ้าอุทุมพรที่ทรงผนวช ได้หยิบก้อนดินเมืองไทยก่อนข้ามลำน้ำ
เรื่องราวเมื่อเชลยไทยเดินทางมาถึงรัตนปุระอังวะ รัชสมัยพระเจ้ามังระ ปรากฏใน มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า แปลโดย นายต่อ จากพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้วความว่า
แต่สีหะปะเต๊ะนั้นคุมทหารไปโดยทางบก ครั้นเดือน 9 ศกนั้นก็ถึงเมืองรัตนบุระอังวะ แล้วสีหะปะเต๊ะแม่ทัพได้เอาสาตราอาวุธทั้งปวง
แลพระราชวงษ์แลพระมเหษีแลพระสนมทั้งปวงกับเครื่องภาชนใช้สอยเงินทองทั้งปวงถวายแด่พระเจ้ากรุงอังวะสิ้น
…แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระมเหษีแลพระราชบุตรีแลพระสนมที่เปนพระราชวงษ์พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ที่เปนเจ้าหญิงทั้งปวงนั้น ทรงจัดให้สร้างวังเอาเข้าไว้ในมหาพระราชวังหลวง
แต่พระราชวงษานุวงษ์แลขุนนางข้าราชการแลพลเมืองพลทหารอยุทธยาทั้งปวงนั้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังแลทำเย่าเรือนเคหาอยู่ตามภูมิลำเนานอกกำแพงพระราชวัง
แล้วทรงโปรดเกล้าฯ เลี้ยงดูให้อยู่เปนศุขทุกคน มิให้ร้อนใจสิ่งหนึ่งสิ่งใด…”
จากหลักฐานดังกล่าว สรุปว่า
ชาวอยุธยาหรือชาวโยเดียที่ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่เมืองรัตนปุระอังวะนั้น ถูกแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม แยกย้ายกันไปตั้งหลักแหล่งที่อยู่ แบ่งเป็น
1 พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหญิงของอยุธยา ได้แก่ พระอัครมเหสี พระมเหสี พระภคินี พระราชธิดา พระราชนัดดา พระราชภาคิไนย และพระสนมทั้งหมด
ให้เข้าไปอยู่ในพระราชวังของรัตนปุระอังวะ
2 พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายชายของอยุธยา ได้แก่
พระราชอนุชา พระราชโอรส พระราชนัดดา พระราชภาคิไนย ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกกำแพงพระราชวังรัตนปุระอังวะ
เชื้อสายของเจ้าชายอยุธยาที่เป็นหญิง ได้เป็นเจ้าจอมมารดาของกษัตริย์พม่า สืบเชื้อสายเป็นเจ้านายพม่าเชื้อสายโยเดีย(อยุธยา) สืบเนื่องมาจนถึงสมัยพระเจ้ามินดง
3 เชลยชาวอยุธยา ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกพระราชวังของรัตนปุระอังวะ
และบางส่วนโดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นช่าง น่าจะไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองสะกาย(เมืองจักไก)
สอดคล้องกับหลักฐานทางศิลปกรรมว่า มีร่องรอยของงานศิลปกรรมอยุธยา โดยเฉพาะงานจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างอยุธยาตอนปลาย ปรากฏอยู่ที่วัดมหาเตงดอจี สะกาย ตรงข้ามกับรัตนปุระอังวะ
พระสถูปที่วัดเยตะพัน (วัดมะเดื่อ) ทางใต้ของเมืองอังวะ
ตามหลักฐานในคำบอกเล่าของชาวพม่าว่า พระเจ้าอุทุมพรทรงผนวช มาประทับที่วัดนี้ เป็นเวลากว่า 16 ปี และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปจากไม้มะเดื่อประดิษฐานไว้ภายในพระสถูปนี้
ต่อมาพม่าย้ายราชธานีจากรัตนปุระอังวะ ไปยังอมรปุระสมัยพระเจ้าปดุง(โบดอพญา) และมัณฑะเลย์สมัยพระเจ้ามินดง
ชาวอยุธยาและเชื้อสายชาวอยุธยาได้ถูกอพยพไปอยู่ในราชธานีเหล่านี้
ด้วยเหตุนี้จึงปรากฏมีชุมชนชาวโยเดียทั้งที่รัตนปุระอังวะ สะกาย อมรปุระ และมัณฑะเลย์
ส่วนเชลยชาวอยุธยานั้นได้ตั้งบ้านเรือนบริเวณริมคลองชเวตชอง ในเมืองอมรปุระ–มัณฑะเลย์ ร่วมกับชุมชนเชลยชาวฉาน(ไทใหญ่) ชาวโยน(ล้านนา) และชาวลินซิน(ล้านช้าง) ที่ถูกกวาดต้อนมายังพม่าในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ทำให้ชาวโยเดีย (อยุธยา) ชาวฉาน(ไทใหญ่) ชาวโยน(ล้านนา) และชาวลินซิน(ล้านช้าง) ได้สืบเชื้อสายผสมผสานกันในบริเวณนี้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ชาวโยเดียที่ถูกกวาดต้อนมายังพม่า ไม่ได้ถูกทรมาน สอดเอ็นร้อยหวายระหว่างเดินทาง ได้กินอิ่มนอนหลับ
เมื่อถึงรัตนปุระอังวะ ทุกคนมีบ้านอยู่ มีอู่นอน มีข้าวกิน ตามชนชั้น
ทุกคนมีงานทำ มีเบี้ยหวัด บำเหน็จรางวัลเมื่อทำความชอบ เช่น ช่างพลุ พระเจ้าปดุงทรงโปรดให้ช่างโยเดียทำพลุตะไลไฟเพนียง จุดในงานมงคล
ช่วงสงครามเก้าทัพ มีชาวโยเดียอาสาร่วมรบ ด้วยเป็นข้าแผ่นดินอังวะที่ชุบเลี้ยงมา
ละครเดินเรื่องช่วง
พ.ศ.2325 สมัยพระเจ้าปดุงเพิ่งครองราชย์ กรีฑาทัพไปยะไข่(อารากัน)
พ.ศ.2327 ตียะไข่สำเร็จ พระเจ้าปดุงทรงชักพระมหามัยมุนี ล่องแพตามลำน้ำอิรวดีมาขึ้นบกที่มัณฑะเลย์
ชาวโยเดียในเรื่อง บางส่วนย้ายจากเมืองสะกาย มาอมรปุระ
ปิ่นเป็นข้าบาทบริจาริกาของเจ้าฟ้ามงกุฎกับเจ้าฟ้ากุณฑล
มีแม่เป็นนางรำ มีผัวคือ อุบากอง ขุนศึกเลื่องชื่อ ผู้ถ่ายทอด ตำรายันต์ยามยาตรา ที่ลือลั่น
เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป คงต้องติดตามชม
ละครไทยย้อนยุคเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องแรก ที่บอกเล่ามุมมองของคนพม่าต่อคนไทย อย่างไม่ใส่สีใส่ไข่ หรือมีแต่ความจงเกลียดจงชัง เพราะแท้จริงแล้วพม่าต้องการเพิ่มพลเมืองจึงปฏิบัติดูแลอย่างดี
เช่นเดียวกับที่ร.1เทครัวแขกมลายูขึ้นมาบางกอก และแบ่งที่ทำกิน หาหมอมารักษา ไม่ได้ทุบตีทำร้ายทรมาน แต่อย่างใด ปรากฏในจดหมายเหตุรายวัน
ส่วนในภาคปัจจุบัน บรรยายสภาพบ้านเมืองของพม่าหลังยุคอาณานิคมอังกฤษอย่างยิ่งใหญ่ ไม่ดูหมิ่นดูแคลน มีความเป็นอารยะ คนพม่าน้ำใสใจจริง ไม่รังเกียจคนไทย
สร้างความประทับใจให้คนไทยที่ไปเที่ยวพม่ามาแล้ว อยากกลับไปเที่ยวอีก เราหาใช่อื่นไกลแต่เป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน
บท แบ่งเป็นสองเส้นเรื่อง คือ
ภาคอดีต ยุคพระเจ้าปดุง อมรปุระ
ภาคปัจจุบัน ยุคเปลี่ยนชื่อจาก พม่า เป็นเมียนมา ย่างกุ้ง
โดยเล่าสลับไปมา ทำให้ขาดความต่อเนื่องไปบ้างในแต่ละภาค ซึ่งผู้เขียนอยากชมภาคอดีตมากกว่า เพราะอยากเห็นความรุ่งเรืองของพม่าในอดีตว่ายิ่งใหญ่เพียงไร เพราะเชื่อมั่นในข้อมูลของที่ปรึกษา มิกกี้ ฮาร์ท นักประวัติศาสตร์อิสระ ชาวพม่าใช้อ้างอิง จนผกก.นำมาเขียนบทละคร
ถ่ายภาพ ใช้กล้องred ถ่ายทำ เป็นกล้องถ่ายหนังคุณภาพดี ที่ใช้ถ่ายหนัง ถึงคนไม่คิดถึง
เนื่องจากทุนสร้างไม่สูงมาก แต่สิ่งที่ถ่ายทำสูงค่าจนประเมินมิได้ ถ้าได้arri lf จะเป็นการดีไม่น้อยแต่ค่าเช่ากล้องแพงกว่ามาก
ภาพถ่ายสถานที่ต่างๆ ไม่epicยิ่งใหญ่เท่ากับช่างภาพชาวญี่ปุ่นที่ถ่ายในหนังถึงคนไม่คิดถึง
แต่มีความใกล้ชิดเป็นกันเอง เข้ามาแทนที่ อีกทั้งเวลาถ่ายทำ บินไปมาที่จำกัด ในสถานการณ์โควิดระบาด จึงถือว่าทำได้สุดฝีมือเท่าที่โอกาสจะอำนวย
ตัดต่อ เดินเรื่องเน้นความละเมียดละมัย เช่นเดียวกับงานชั้นครูอย่าง อดุลย์ ดุลยรัตน์ ,รุจน์ รณภพ ,เชิด ทรงศรี
ดูง่ายเข้าใจง่าย ทำให้เห็นสีหน้าท่าทางของนักแสดงชัดเจน จำแนกความต่างทางวัฒนธรรมได้ง่าย
เครื่องแต่งกาย ตรงยุค เสื้อพม่าโบราณแยกเป็นชิ้นๆแล้วเย็บติด ลวดลายพยายามหาที่เก่าใกล้กันที่สุด ถ้าไปดูที่บริติชมิวเซียมน่าจะพบเพิ่มเติมแต่ไปลำบาก
เครื่องประดับแยกไทย พม่าชัดเจน สีสัน ลวดลายใช้ต่างกัน
cg เนื่องจากโบราณสถานพม่า ไม่สะดวกเดินทางไปถ่ายทำ ผกก.จึงใช้cgแทน ทำได้เนียน เช่น
ฉากพระนาง ยืนอยู่หน้ามหาวิหารเตงดอจี สะกาย ทั้งกลางวัน และกลางคืน
ฉากหม่องสะกับปิ่น ยืนอยู่หน้ามหาวิหารเตงดอจี
ฉากดูดาวบนฟ้า ที่พระเอกอธิบายกลุ่มดาวให้นางเอกฟัง น่าจะมีลากเส้น หรือดาวเปลี่ยนสี เรืองแสงให้รู้ว่าเป็นกลุ่มดาวเดียวกัน
เพราะอุบากอง ต้องดูดาวในเรื่อง
บันทึกเสียง เสียงส่วนใหญ่ชัดตรงปาก มีอู้อี้น้อยมาก เสียงพูดกับเสียงดนตรีเสมอกัน ฟังง่าย ได้อารมณ์
ดนตรีประกอบ เข้ากับเนื้อเรื่องในแต่ละภาค
เพลงเสน่หา เรียบเรียงได้ร่วมสมัย เด็กฟังได้ผู้ใหญ่ฟังดี
แต่อดไม่ได้จะคิดถึงเพลงใน ถึงคนไม่คิดถึง ที่ยังเข้ากับละครเรื่องนี้อยู่ นั่นคือ ความคิดคำนึงถึงเศษเสี้ยวแห่งความทรงจำ
นักแสดง เลือกได้เหมาะสม
จากหลักฐาน จิตรกรรมฝาฝนัง วัดกู่จี เมืองสะกาย
คนโยเดียผิวขาว กว่าคนพม่า
นาที 4.00 วัดกู่จี
และจากหน้าตากลุ่มที่ใช้ภาษาไต กระไดที่อพยพมาจากจีน มาอยู่เป็นบริเวณกว้างตั้งแต่
สิบสองจุไท(ญวนเหนือ)
สิบสองปันนา(หยุนหนานใต้)
ไทใหญ่(ฉาน)
ล้านนา ล้านช้าง
มีลักษณะทางกายภาพคือ
ตาโต หน้ารูปไข่ รูปร่างสมส่วน ไม่แคระแกรน ผิวขาว
สอดคล้องกับสำนวน
เขมรขาว ลาวใหญ่ ไทยเล็ก เจ๊กดำ คบไม่ได้
เพราะมีลักษณะผิดแผก จากที่พบเห็นบ่อยๆ
พระเอก แสดงได้ดีทั้งสีหน้า ท่าทาง แววตา แม้จะพูดอังกฤษทำให้ลดพลังการแสดงไปบ้าง เพราะไม่ใช่ภาษาพ่อภาษาแม่
โครงหน้าผิวพรรณดูเป็นลูกครึ่งไทยพม่า จากบทพระยาพิชัยดาบหักที่ว่าเล่นและบู๊ได้ดีแล้ว เรื่องนี้พัฒนาไปอีกขั้น
นางเอก เล่นเรื่องแรก จากไอดอลสาวมาเป็นนางเอกเต็มตัว มีพัฒนาการ ความตั้งใจดี
แสดงช่วงแรกกับช่วงท้ายดีขึ้นเห็นๆ ฝึกการเปล่งให้นิ่มนุ่มเนิบ พูดเหน่อแบบอยุทธยา นางรำปิ่นจะมีเสน่ห์เพิ่มขึ้นไปอีก
ส่วนนักแสดงพม่า บุคคลิกชายหญิงหญิงแท้ แบบเดียวกับนักแสดงหนังย้อนยุคเกาหลี
น้ำเสียง สำเนียงพม่าสุภาพนุ่มนวล น่าฟัง
พระรอง เดาส์ เล่นเป็นหม่องสะ กวีชาวรามัญ พ่อม่ายเมียตาย ฝันอยากแปลอิเหนาเป็นภาษาพม่า
แสดงดี ตั้งใจมาก มีสมาธิสูง ฉากรำอิเหนาที่ต่างวัฒนธรรมจึงดูลื่นไหล งดงาม ขวัญใจแม่ยกพม่าทั้งในจอนอกจอ
นางรอง นีน ตเว ยู ออง มิสยูนิเวิร์สพม่า 2018
พูดไทยชัด เหน่อน่าฟัง สวยแบบผิวพม่านัยน์ตาแขก แต่งชุดโบราณขึ้น แสดงดี ตั้งใจ
ถ้าไม่ติดปัญหาทางการเมือง คนไทยคงได้ชมการแสดงของดาราพม่าที่ดีทั้งในจอนอกนอก จนรับมาอยู่ในอัอมใจได้ไม่ยาก พี่น้องชาวพม่าจะได้ชมละครทุนสูงที่คนไทยไปถ่ายทำที่พม่า ได้เห็นความงดงาม ยิ่งใหญ่ ทรงคุณค่า ได้อวดสู่สายตาชาวโลก
นักแสดงท่านอื่น แสดงได้มีความตั้งใจจะบอกเล่าเรื่องราวที่คนไทยและพม่าส่วนใหญ่ไม่ทราบมาก่อน เพื่อให้คนรุ่นหลังเข้าใจอย่างถ่องแท้
กำกับการแสดง กะจังหวะรับส่งได้ดี เรื่องนี้มีสามภาษา ไทย พม่า อังกฤษ ได้ดูละครไทยที่นักแสดงไทยพูดอังกฤษเป็นปกติตลอดเรื่องซะที
เน้นอารมณ์นักแสดงได้ถึง
แม้ต้องพักกองทิ้งช่วงถ่ายทำหลายเดือน นักแสดงยังต่ออารมณ์ต่อฉากได้เนียนสนิท
คณะทำงานทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ
เนื่องจากละครฉายตอนละ50นาที 2ิ ตอนจึงเท่ากับ 1 ตอนของช่องอื่น
ทำให้ดูๆไปอ้าวจบซะแล้ว ยิ่งไม่มีโฆษณาคั้น ทำให้ต้องเตรียมตัวดูรวดเดียว
ขอบคุณช่องไทยpbs และผู้จัด คณะ ที่ตั้งใจถ่ายทอดเรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่เลือนหายไปให้ปรากฏ แก่สายตาคนไทยและพม่า เพื่อความเข้าใจอันดี ปราศจากอคติ ความลำเอียงเกลียดชังที่ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์มารองรับ
ท้ายนี้ผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ทีนี้ ขอบคุณครับ