11 ม.ค. 2565-17:11 น.
เตือนเป็นอุทาหรณ์ เด็กอายุ 3 ขวบ สำลักลูกชิ้น อัดติดหลอดลม ช็อกลำตัวเขียว หมอปั๊มหัวใจยื้อชีวิต แนะวิธีช่วยเหลือเบื้องต้น
จากกรณี พยาบาลห้องฉุกเฉิน โพสต์เฟซบุ๊กเตือนเป็นอุทาหรณ์ หลังเด็กชายวัย 3 ปี 8 เดือน ญาติส่งมารักษาตัวหลังจากเกิดอาการช็อกขาดอากาศหายใจ ลำตัวเขียว เนื่องจากสำลักลูกชิ้น ติดในหลอดลม จนกระทั่งมาถึงโรงพยาบบาลพัทลุง แพทย์ได้ช่วยเหลือจนสามารถต่อลมหายใจให้น้องได้ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมา
วันที่ 11 ม.ค. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พยาบาลคนดังกล่าวชื่อ นางสาวธัญญาพร แก้วยก หรือน้องกวาง แผนกเวชกิจฉุกเฉิน ขณะที่เข้าเวร ญาติได้นำส่งเด็กชายคนดังกล่าวมาถึงญาติได้แต่ร้อง น้องลำตัวเขียว จึงได้นำขึ้นแปล และช่วยกันปั๊มหัวใจ ก่อนที่ตะโกนให้เจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินเตรียมเครื่องช่วยหายใจ โดยเจ้าหน้าที่เร่งทำงานเป็นทีม ก่อนแพทย์เข้ามาประเมินสถานการณ์ จนทราบว่าลูกชิ้นที่เด็กกินติดในหลอดลมจึงได้เอาออกมา พร้อมทั้งใช้เครื่องช่วยหายใจจนเด็กฟื้น และเข้าพักฟื้นยังห้องไอซียู เพื่อดูอาการพบว่าอาการดีขึ้นตามลำดับ
ด้าน นพ.ณัฏฐภัทร ถารพัฒนพงศ์ นายแพทย์ชำนาญการ รพ.พัทลุง กล่าวว่า ช่วงที่นำตัวเด็กเข้าห้องฉุกเฉินทุกคนเตรียมพร้อมเพื่อช่วยเหลือ โดยขออนุญาตบอกผู้ป่วยรายอื่นข้าง ๆ ว่าขอให้หมอไปช่วยเคสฉุกเฉินรายนี้ก่อน ผู้ป่วยรายอื่นรวมถึงญาติก็บอกหมอว่ารีบเลยช่วยเด็กก่อน จนกระทั่งทราบว่าเด็กกินลูกชิ้นแล้วเกิดสำลักอาหารไปติดในหลอดลม ก่อนใช้คีมดึงออกพร้อมทั้งใช้เครื่องช่วยหายใจ พอเด็กฟื้นและตลอบสนอง ทั้งผู้ป่วยรายอื่นและญาติที่อยู่ข้างนอก หมอพยาบาล เจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินต่างก็ดีใจไปตามๆกัน
ส่วน นางจำนงค์ จันทรสิงห์ หัวหน้างานอุบัติเหตุฉุกเฉิน รพ.พัทลุง กล่าวว่า เฉพาะเมื่อวานนี้ มีเด็กที่ส่งเข้ามารักษาตัวยังห้องฉุกเฉินขาดอากาศหายใน ถึง 2 ราย โดยรายแรกเกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้า แพทย์พยาบาลได้ช่วยจนเด็กปลอดภัย และช่วงบ่าย เด็กชายวัย 3 ปี สำลักอาหาร แพทย์พยาบาลและเจ้าหน้าที่ได้ช่วนกันจนสามารถต่อลมหายใจให้น้องได้สำเร็จ ถือบเป็นความโชคดีของน้องทั้ง 2
ขณะที่ นพ.จรุง บุญกาญจน์ ผอ.รพ.พัทลุง กล่าวว่า ภาวะเด็กสำลักอาหาร เกิดขึ้นบ่อย ซึ่งอยากฝากถึงผู้ปกครองช่วยดูแลลูกหลานให้ทั่วถึง ตอนทานอาหารอย่าชวนเด็กหัวเราะ ซึ่งในการช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อผู้ปกครองเจอเด็กสำลักอาหาร วิธีช่วยเหลือเมื่อทารกสำลัก เมื่อลูกสำลัก ให้จับลูกคว่ำหน้าลงโดยให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าหน้าอก และใช้ฝ่ามือข้างที่ ถนัดพยุงศีรษะของเด็กเอาไว้ โดยระวังอย่าให้มือไปปิดจมูกหรือปากของเด็ก
วางแขนข้างที่พยุงเด็กไว้บนต้นขา จากนั้นใช้มือตบลงบนสันหลังตรงกระดูกสะบัก 4 ครั้งติดๆ กัน หากอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมไม่ออกมา ให้คุณแม่จับเด็กหงายขึ้นและวางบนแขนที่ อยู่บนหน้าตัก ให้ศรีษะลูกชี้ลงไปที่พื้น ใช้นิ้ว 3 นิ้วของแม่กดบริเวณใต้ตอลิ้นปี่เบา ๆ กดประมาณ 4-5 ครั้ง ตรวจดูสิ่งแปลกปลอมในช่องปากของเด็ก หากพบให้เอาออก และทำการช่วยหายใจ จับหน้าผากลูก และเชยคางขึ้น เพื่อให้ทางเดินหายใจเปิด
การปฐมพยาบาลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เหมาะสำหรับการช่วยเหลือเด็กทารก และเด็กเล็กแต่หากเป็นเด็กโตจะใช้วิธีอื่นที่ยากกว่านี้หน่อย ซึ่งหากปฏิบัติเบื้องต้นตามที่กล่าว มาแล้วไม่พบอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมในช่องปากให้เรียกรถพยาบาลเพื่อการช่วยเหลือที่ ทันท่วงที
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6828131
อุทาหรณ์ เด็ก 3 ขวบ สำลักลูกชิ้น ติดหลอดลม ช็อกลำตัวเขียว ปั๊มหัวใจยื้อชีวิต
เตือนเป็นอุทาหรณ์ เด็กอายุ 3 ขวบ สำลักลูกชิ้น อัดติดหลอดลม ช็อกลำตัวเขียว หมอปั๊มหัวใจยื้อชีวิต แนะวิธีช่วยเหลือเบื้องต้น
จากกรณี พยาบาลห้องฉุกเฉิน โพสต์เฟซบุ๊กเตือนเป็นอุทาหรณ์ หลังเด็กชายวัย 3 ปี 8 เดือน ญาติส่งมารักษาตัวหลังจากเกิดอาการช็อกขาดอากาศหายใจ ลำตัวเขียว เนื่องจากสำลักลูกชิ้น ติดในหลอดลม จนกระทั่งมาถึงโรงพยาบบาลพัทลุง แพทย์ได้ช่วยเหลือจนสามารถต่อลมหายใจให้น้องได้ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมา
วันที่ 11 ม.ค. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พยาบาลคนดังกล่าวชื่อ นางสาวธัญญาพร แก้วยก หรือน้องกวาง แผนกเวชกิจฉุกเฉิน ขณะที่เข้าเวร ญาติได้นำส่งเด็กชายคนดังกล่าวมาถึงญาติได้แต่ร้อง น้องลำตัวเขียว จึงได้นำขึ้นแปล และช่วยกันปั๊มหัวใจ ก่อนที่ตะโกนให้เจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินเตรียมเครื่องช่วยหายใจ โดยเจ้าหน้าที่เร่งทำงานเป็นทีม ก่อนแพทย์เข้ามาประเมินสถานการณ์ จนทราบว่าลูกชิ้นที่เด็กกินติดในหลอดลมจึงได้เอาออกมา พร้อมทั้งใช้เครื่องช่วยหายใจจนเด็กฟื้น และเข้าพักฟื้นยังห้องไอซียู เพื่อดูอาการพบว่าอาการดีขึ้นตามลำดับ
ด้าน นพ.ณัฏฐภัทร ถารพัฒนพงศ์ นายแพทย์ชำนาญการ รพ.พัทลุง กล่าวว่า ช่วงที่นำตัวเด็กเข้าห้องฉุกเฉินทุกคนเตรียมพร้อมเพื่อช่วยเหลือ โดยขออนุญาตบอกผู้ป่วยรายอื่นข้าง ๆ ว่าขอให้หมอไปช่วยเคสฉุกเฉินรายนี้ก่อน ผู้ป่วยรายอื่นรวมถึงญาติก็บอกหมอว่ารีบเลยช่วยเด็กก่อน จนกระทั่งทราบว่าเด็กกินลูกชิ้นแล้วเกิดสำลักอาหารไปติดในหลอดลม ก่อนใช้คีมดึงออกพร้อมทั้งใช้เครื่องช่วยหายใจ พอเด็กฟื้นและตลอบสนอง ทั้งผู้ป่วยรายอื่นและญาติที่อยู่ข้างนอก หมอพยาบาล เจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินต่างก็ดีใจไปตามๆกัน
ส่วน นางจำนงค์ จันทรสิงห์ หัวหน้างานอุบัติเหตุฉุกเฉิน รพ.พัทลุง กล่าวว่า เฉพาะเมื่อวานนี้ มีเด็กที่ส่งเข้ามารักษาตัวยังห้องฉุกเฉินขาดอากาศหายใน ถึง 2 ราย โดยรายแรกเกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้า แพทย์พยาบาลได้ช่วยจนเด็กปลอดภัย และช่วงบ่าย เด็กชายวัย 3 ปี สำลักอาหาร แพทย์พยาบาลและเจ้าหน้าที่ได้ช่วนกันจนสามารถต่อลมหายใจให้น้องได้สำเร็จ ถือบเป็นความโชคดีของน้องทั้ง 2
ขณะที่ นพ.จรุง บุญกาญจน์ ผอ.รพ.พัทลุง กล่าวว่า ภาวะเด็กสำลักอาหาร เกิดขึ้นบ่อย ซึ่งอยากฝากถึงผู้ปกครองช่วยดูแลลูกหลานให้ทั่วถึง ตอนทานอาหารอย่าชวนเด็กหัวเราะ ซึ่งในการช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อผู้ปกครองเจอเด็กสำลักอาหาร วิธีช่วยเหลือเมื่อทารกสำลัก เมื่อลูกสำลัก ให้จับลูกคว่ำหน้าลงโดยให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าหน้าอก และใช้ฝ่ามือข้างที่ ถนัดพยุงศีรษะของเด็กเอาไว้ โดยระวังอย่าให้มือไปปิดจมูกหรือปากของเด็ก
วางแขนข้างที่พยุงเด็กไว้บนต้นขา จากนั้นใช้มือตบลงบนสันหลังตรงกระดูกสะบัก 4 ครั้งติดๆ กัน หากอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมไม่ออกมา ให้คุณแม่จับเด็กหงายขึ้นและวางบนแขนที่ อยู่บนหน้าตัก ให้ศรีษะลูกชี้ลงไปที่พื้น ใช้นิ้ว 3 นิ้วของแม่กดบริเวณใต้ตอลิ้นปี่เบา ๆ กดประมาณ 4-5 ครั้ง ตรวจดูสิ่งแปลกปลอมในช่องปากของเด็ก หากพบให้เอาออก และทำการช่วยหายใจ จับหน้าผากลูก และเชยคางขึ้น เพื่อให้ทางเดินหายใจเปิด
การปฐมพยาบาลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เหมาะสำหรับการช่วยเหลือเด็กทารก และเด็กเล็กแต่หากเป็นเด็กโตจะใช้วิธีอื่นที่ยากกว่านี้หน่อย ซึ่งหากปฏิบัติเบื้องต้นตามที่กล่าว มาแล้วไม่พบอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมในช่องปากให้เรียกรถพยาบาลเพื่อการช่วยเหลือที่ ทันท่วงที
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6828131