พุ่งไม่หยุด ยอดโควิด ต้นสัปดาห์ 7,926 ราย เสียชีวิต 13 ราย
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3123905
พุ่งไม่หยุด ยอดโควิด ต้นสัปดาห์ 7,926 ราย เสียชีวิต 13 ราย
เมื่อวันที่ 10 มกราคม ศูนย์ข้อมูลโควิด 19 เผย ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565 รวม 7,926 ราย จำแนกเป็น
ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 7,229 ราย
ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 90 ราย
ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 195 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 412 ราย
ผู้ป่วยสะสม 2,248,613 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
หายป่วยกลับบ้าน 3,612 ราย
หายป่วยสะสม 2,170,053 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 58,159 ราย
เสียชีวิต 13 ราย
"หมอธีระ" เผยจับตาสถานการณ์โควิด กลางเดือนม.ค.แนวโน้มพุ่งสูงขึ้น
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/101513/
วันนี้ (10ม.ค.65) รศ.นพ.
ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด ผ่านทางเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat โดยระบุว่า
10 มกราคม 2565 ทะลุ 307 ล้านไปแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,773,684 คน ตายเพิ่ม 3,237 คน รวมแล้วติดไปรวม 307,706,139 คน เสียชีวิตรวม 5,505,663 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อเมริกา อินเดีย อิตาลี และสหราชอาณาจักร
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 84.38 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 86.09
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 46.74 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 49.67
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 10 ใน 20 อันดับแรกของโลก
...อัพเดต Omicron
ตอนนี้แพร่ระบาดไปแล้ว 150 ประเทศทั่วโลก (Source: BNO)
จากการประเมินสถานการณ์ล่าสุดของ European Centre for Disease Prevention and Control พบว่า ประเทศต่างๆ ในยุโรปมี Omicron เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศนั้นมี Omicron เป็นสายพันธุ์หลักไปอย่างเต็มตัว เช่น
• เบลเยี่ยม: 97.8% (2021-w52)
• ไอร์แลนด์: 96% (5 January 2022)• เดนมาร์ก: 92.5% (2 January 2022)
• สวีเดน: 91.7% (2021-w52)
• ฝรั่งเศส: 80.3%% (2021-w52)
• เนเธอร์แลนด์: 76.3%-90.8% (2 January 2022)
• โปรตุเกส: 75% (27 December 2021)
• ไอซ์แลนด์: 70% (21 December 2021)
สำหรับไทยเรานั้น ช่วงที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การระบาดปะทุกลับมารุนแรงขึ้น จากการมีกิจกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่มากขึ้น
เน้นย้ำให้ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ดูแลตนเองและครอบครัว
ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า
เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี
พบคนอื่นน้อยลง สั้นลง และอยู่ห่างๆ ใส่หน้ากากแม้จะคุ้นเคยกันเพียงใด
กินอาหารในร้านต้องระวัง เวลากินไม่พูด เวลาจะพูดคุยให้ใส่หน้ากาก ซื้อกลับไปแยกกินจะปลอดภัยกว่า
คอยสังเกตอาการ หากไม่สบาย รีบแยกจากคนใกล้ชิด และหาทางตรวจรักษา
เรื่อง Long COVID อาจเป็นปัญหาระยะยาว หากควบคุมการระบาดไม่ได้
ช่วงเวลาที่จับตามองคือ หลังจากกลางเดือนมกราคม แนวโน้มการเพิ่มน่าจะมากขึ้นหากเป็นไปตามธรรมชาติของการระบาดที่เห็นจากต่างประเทศ หวังว่าเราจะสามารถช่วยกันป้องกันและบรรเทาการขยายวงระบาดอย่างพร้อมเพรียง
ไม่มีใครช่วยเราได้ หากเราไม่ทำ...
อ้างอิง
Weekly epidemiological update: Omicron variant of concern (VOC) – week 1 (data as of 7 January 2022) EU/EEA. ECDC. Accessed on 10 January 2022.
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10223716168484698
โอมิครอนฉุดดัชนีค้าปลีกซึมยาว จี้รัฐเร่งกระตุ้นฟื้นเศรษฐกิจ
https://www.prachachat.net/marketing/news-838019
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เผยโอมิครอนฉุดดัชนีเชื่อมั่นค้าปลีกซึมยาวช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา แนะรัฐเร่งเปิดมาตรการอัดฉีดเงินหมุนเวียนในระบบ กระตุ้นเศรษฐกิจปี 65
วันที่ 10 มกราคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมผู้ค้าปลีกไทยร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย เผยผลสำรวจความเชื่อมั่น (Retail Sentiment Index) ของผู้ประกอบการค้าปลีกประจำเดือนธันวาคม 2564 ปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย การจับจ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ปลายปีคึกคักแต่ไม่เป็นไปตามคาด โดยมียอดซื้อต่อบิลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและเกิดจากราคาสินค้าที่ปรับขึ้น
ขณะที่ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อจำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่เพิ่มมากขึ้น และมาตรการของภาครัฐที่ไม่ชัดเจนในการควบคุมการแพร่ระบาดของ โอมิครอน
นาย
ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ผลการสำรวจรอบนี้ของเรา ต้องยอมรับว่า ไม่สดใสเท่าที่ควร เนื่องจากการแพร่ของโอมิครอนเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น และเกรงว่าภาครัฐจะกลับมาประกาศมาตรการการควบคุมอย่างเข้มงวดอีกครั้ง แม้จะมีการเพิ่มขึ้นของยอดขายสาขาเดิม Same Store Sale Growth (SSSG) แต่ก็เกิดจากความถี่ในการจับจ่าย ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ และยอดซื้อต่อบิล เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากราคาสินค้าที่ปรับขึ้นเป็นหลัก ไม่ใช่เกิดจากกำลังซื้อที่แท้จริง สะท้อนว่ายังต้องการแรงกระตุ้นจากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสริมเรื่องการยกเลิกกิจกรรมข้ามปีของบางพื้นที่ ที่ส่งผลให้การจับจ่ายปลายปีต้องชะงัก โดยมีข้อสรุปของดัชนีความเชื่อมั่นในประเด็นที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีก เดือนธันวาคมอยู่ที่ 68.4 ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 6 จุด เมื่อเทียบกับดัชนีเดือนพฤศจิกายนที่ 62.1 สะท้อนถึงมู้ดของการจับจ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ปลายปีนี้ไม่คึกคักเท่าที่ควร ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีก RSI ในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับลดลง 4 จุดจากระดับ 69.7 ในเดือนพฤศจิกายน มาที่ 65.1 เดือนธันวาคม
2. ดัชนีความเชื่อมั่น RSI แยกตามภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการต่อยอดขายเดิมเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน จากมาตรการผ่อนปรนความเข้มงวดและประชาชนเริ่มท่องเที่ยวในประเทศ มากขึ้น
3. ดัชนีความเชื่อมั่น RSI แยกตามประเภทร้านค้าปลีก พบว่า เพิ่มขึ้นทุกประเภทร้านค้า ยกเว้นร้านค้าประเภทห้างสรรพสินค้า จากบรรยากาศการจับจ่ายช้อปปิ้ง ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหมาย เนื่องจากผู้บริโภครอความหวังจากโครงการ “ช้อปดีมีคืน” ที่ควรเกิดในปลายปี 2564 แต่เลื่อนเป็นต้นปี 2565 แทน
ทั้งนี้ ยังมีบทสรุปประเด็นสำคัญของ “การประเมินกำลังซื้อและแนวโน้มการแพร่ระบาดไวรัสสายพันธุ์ โอมิครอนจากมุมมองผู้ประกอบการ” ในเดือนธันวาคม ที่สำรวจระหว่างวันที่ 17-24 ธันวาคม 2564 ดังนี้
1. ยอดขายเพิ่มขึ้นตลอดปีที่ผ่านมา โดยมาจากอันดับ 1 มาตรการการกระตุ้นการจับจ่ายภาครัฐ, 2การจัดโปรโมชั่นของร้านค้า, 3การขายผ่านออนไลน์
2. ความกังวลต่อการแพร่ระบาดโอมิครอนอันดับ 1 กังวลต่อกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัว,2 ลูกค้างดการทำกิจกรรมนอกบ้าน, 3 กังวลต่อมาตรการที่อาจต้องล็อคดาวน์
3. แผนการรองรับหากมีการแพร่ระบาดของโอมิครอน พบว่า 63% ขายผ่านออนไลน์เพิ่มขึ้น,40% ลดค่าใช้จ่าย ลดการจ้างงาน,30% ดำเนินธุรกิจตามปกติ เว้นแต่ภาครัฐสั่งให้ปิด
4. ความช่วยเหลือจากภาครัฐ ได้แก่ 58% เพิ่มการลดหย่อนภาษีและลดภาระค่าใช้จ่าย,55% เพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและต่อเนื่อง,43% ช่วยจ่ายค่าจ้างแรงงาน
นอกจากนี้ยังย้ำ 4 ข้อเสนอต่อภาครัฐ เพื่อป้องกันระยะยะยาว
1.ยกระดับความพร้อมของระบบสาธารณสุข
2.มีมาตรการเชิงรุกสำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยง หากมีการระบาดในแต่ละพื้นที่ รัฐควรมีการปิดเฉพาะพื้นที่ที่เป็นคลัสเตอร์เท่านั้น
3.ช่วยภาคเอกชนและประชาชนลดค่าใช้จ่าย โดยช่วยลดค่าน้ำ ค่าไฟ ลดเงินสมทบประกันสังคม ภาษีป้าย การเงินต่างๆ เป็นต้น
4.ผลักดันโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เพื่ออัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบอย่างต่อเนื่อง อาทิ ช้อปดีมีคืน ควรทำเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ครั้งต่อปี
“จะเห็นได้ว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัวมากนัก การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่องของภาครัฐถือเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคธุรกิจไทยได้อีกครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มการจ้างงาน และสร้างเม็ดเงินเข้าสู่ระบบค้าปลีกและบริการได้อย่างต่อเนื่อง เพราะเราไม่สามารถที่จะกลับไปอยู่ในภาวะวิกฤตเหมือนในปี 2564 ที่ทุกอย่างหยุดชะงัก เพราะฉะนั้นการลดการแพร่ระบาดของโอมิครอนให้กระจายอยู่เพียงในวงจำกัด และกระทบต่อเศรษฐกิจที่กำลังขยับตัวดีขึ้นให้น้อยที่สุด จึงเป็นทางออกเดียวของเราทุกคน” นาย
ฉัตรชัย กล่าวทิ้งท้าย
JJNY : ยอดโควิด7,926 เสียชีวิต13│"หมอธีระ"เผยจับตาโควิด│โอมิครอนฉุดดัชนีค้าปลีกซึมยาว│‘พิธา’หาเสียงช่วย‘วรพล’ เลือกตั้ง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3123905
พุ่งไม่หยุด ยอดโควิด ต้นสัปดาห์ 7,926 ราย เสียชีวิต 13 ราย
เมื่อวันที่ 10 มกราคม ศูนย์ข้อมูลโควิด 19 เผย ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565 รวม 7,926 ราย จำแนกเป็น
ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 7,229 ราย
ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 90 ราย
ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 195 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 412 ราย
ผู้ป่วยสะสม 2,248,613 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
หายป่วยกลับบ้าน 3,612 ราย
หายป่วยสะสม 2,170,053 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 58,159 ราย
เสียชีวิต 13 ราย
"หมอธีระ" เผยจับตาสถานการณ์โควิด กลางเดือนม.ค.แนวโน้มพุ่งสูงขึ้น
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/101513/
วันนี้ (10ม.ค.65) รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด ผ่านทางเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat โดยระบุว่า
10 มกราคม 2565 ทะลุ 307 ล้านไปแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,773,684 คน ตายเพิ่ม 3,237 คน รวมแล้วติดไปรวม 307,706,139 คน เสียชีวิตรวม 5,505,663 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อเมริกา อินเดีย อิตาลี และสหราชอาณาจักร
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 84.38 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 86.09
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 46.74 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 49.67
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 10 ใน 20 อันดับแรกของโลก
...อัพเดต Omicron
ตอนนี้แพร่ระบาดไปแล้ว 150 ประเทศทั่วโลก (Source: BNO)
จากการประเมินสถานการณ์ล่าสุดของ European Centre for Disease Prevention and Control พบว่า ประเทศต่างๆ ในยุโรปมี Omicron เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศนั้นมี Omicron เป็นสายพันธุ์หลักไปอย่างเต็มตัว เช่น
• เบลเยี่ยม: 97.8% (2021-w52)
• ไอร์แลนด์: 96% (5 January 2022)• เดนมาร์ก: 92.5% (2 January 2022)
• สวีเดน: 91.7% (2021-w52)
• ฝรั่งเศส: 80.3%% (2021-w52)
• เนเธอร์แลนด์: 76.3%-90.8% (2 January 2022)
• โปรตุเกส: 75% (27 December 2021)
• ไอซ์แลนด์: 70% (21 December 2021)
สำหรับไทยเรานั้น ช่วงที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การระบาดปะทุกลับมารุนแรงขึ้น จากการมีกิจกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่มากขึ้น
เน้นย้ำให้ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ดูแลตนเองและครอบครัว
ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า
เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี
พบคนอื่นน้อยลง สั้นลง และอยู่ห่างๆ ใส่หน้ากากแม้จะคุ้นเคยกันเพียงใด
กินอาหารในร้านต้องระวัง เวลากินไม่พูด เวลาจะพูดคุยให้ใส่หน้ากาก ซื้อกลับไปแยกกินจะปลอดภัยกว่า
คอยสังเกตอาการ หากไม่สบาย รีบแยกจากคนใกล้ชิด และหาทางตรวจรักษา
เรื่อง Long COVID อาจเป็นปัญหาระยะยาว หากควบคุมการระบาดไม่ได้
ช่วงเวลาที่จับตามองคือ หลังจากกลางเดือนมกราคม แนวโน้มการเพิ่มน่าจะมากขึ้นหากเป็นไปตามธรรมชาติของการระบาดที่เห็นจากต่างประเทศ หวังว่าเราจะสามารถช่วยกันป้องกันและบรรเทาการขยายวงระบาดอย่างพร้อมเพรียง
ไม่มีใครช่วยเราได้ หากเราไม่ทำ...
อ้างอิง
Weekly epidemiological update: Omicron variant of concern (VOC) – week 1 (data as of 7 January 2022) EU/EEA. ECDC. Accessed on 10 January 2022.
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10223716168484698
โอมิครอนฉุดดัชนีค้าปลีกซึมยาว จี้รัฐเร่งกระตุ้นฟื้นเศรษฐกิจ
https://www.prachachat.net/marketing/news-838019
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เผยโอมิครอนฉุดดัชนีเชื่อมั่นค้าปลีกซึมยาวช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา แนะรัฐเร่งเปิดมาตรการอัดฉีดเงินหมุนเวียนในระบบ กระตุ้นเศรษฐกิจปี 65
วันที่ 10 มกราคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมผู้ค้าปลีกไทยร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย เผยผลสำรวจความเชื่อมั่น (Retail Sentiment Index) ของผู้ประกอบการค้าปลีกประจำเดือนธันวาคม 2564 ปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย การจับจ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ปลายปีคึกคักแต่ไม่เป็นไปตามคาด โดยมียอดซื้อต่อบิลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและเกิดจากราคาสินค้าที่ปรับขึ้น
ขณะที่ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อจำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่เพิ่มมากขึ้น และมาตรการของภาครัฐที่ไม่ชัดเจนในการควบคุมการแพร่ระบาดของ โอมิครอน
นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ผลการสำรวจรอบนี้ของเรา ต้องยอมรับว่า ไม่สดใสเท่าที่ควร เนื่องจากการแพร่ของโอมิครอนเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น และเกรงว่าภาครัฐจะกลับมาประกาศมาตรการการควบคุมอย่างเข้มงวดอีกครั้ง แม้จะมีการเพิ่มขึ้นของยอดขายสาขาเดิม Same Store Sale Growth (SSSG) แต่ก็เกิดจากความถี่ในการจับจ่าย ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ และยอดซื้อต่อบิล เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากราคาสินค้าที่ปรับขึ้นเป็นหลัก ไม่ใช่เกิดจากกำลังซื้อที่แท้จริง สะท้อนว่ายังต้องการแรงกระตุ้นจากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสริมเรื่องการยกเลิกกิจกรรมข้ามปีของบางพื้นที่ ที่ส่งผลให้การจับจ่ายปลายปีต้องชะงัก โดยมีข้อสรุปของดัชนีความเชื่อมั่นในประเด็นที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีก เดือนธันวาคมอยู่ที่ 68.4 ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 6 จุด เมื่อเทียบกับดัชนีเดือนพฤศจิกายนที่ 62.1 สะท้อนถึงมู้ดของการจับจ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ปลายปีนี้ไม่คึกคักเท่าที่ควร ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีก RSI ในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับลดลง 4 จุดจากระดับ 69.7 ในเดือนพฤศจิกายน มาที่ 65.1 เดือนธันวาคม
2. ดัชนีความเชื่อมั่น RSI แยกตามภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการต่อยอดขายเดิมเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน จากมาตรการผ่อนปรนความเข้มงวดและประชาชนเริ่มท่องเที่ยวในประเทศ มากขึ้น
3. ดัชนีความเชื่อมั่น RSI แยกตามประเภทร้านค้าปลีก พบว่า เพิ่มขึ้นทุกประเภทร้านค้า ยกเว้นร้านค้าประเภทห้างสรรพสินค้า จากบรรยากาศการจับจ่ายช้อปปิ้ง ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหมาย เนื่องจากผู้บริโภครอความหวังจากโครงการ “ช้อปดีมีคืน” ที่ควรเกิดในปลายปี 2564 แต่เลื่อนเป็นต้นปี 2565 แทน
ทั้งนี้ ยังมีบทสรุปประเด็นสำคัญของ “การประเมินกำลังซื้อและแนวโน้มการแพร่ระบาดไวรัสสายพันธุ์ โอมิครอนจากมุมมองผู้ประกอบการ” ในเดือนธันวาคม ที่สำรวจระหว่างวันที่ 17-24 ธันวาคม 2564 ดังนี้
1. ยอดขายเพิ่มขึ้นตลอดปีที่ผ่านมา โดยมาจากอันดับ 1 มาตรการการกระตุ้นการจับจ่ายภาครัฐ, 2การจัดโปรโมชั่นของร้านค้า, 3การขายผ่านออนไลน์
2. ความกังวลต่อการแพร่ระบาดโอมิครอนอันดับ 1 กังวลต่อกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัว,2 ลูกค้างดการทำกิจกรรมนอกบ้าน, 3 กังวลต่อมาตรการที่อาจต้องล็อคดาวน์
3. แผนการรองรับหากมีการแพร่ระบาดของโอมิครอน พบว่า 63% ขายผ่านออนไลน์เพิ่มขึ้น,40% ลดค่าใช้จ่าย ลดการจ้างงาน,30% ดำเนินธุรกิจตามปกติ เว้นแต่ภาครัฐสั่งให้ปิด
4. ความช่วยเหลือจากภาครัฐ ได้แก่ 58% เพิ่มการลดหย่อนภาษีและลดภาระค่าใช้จ่าย,55% เพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและต่อเนื่อง,43% ช่วยจ่ายค่าจ้างแรงงาน
นอกจากนี้ยังย้ำ 4 ข้อเสนอต่อภาครัฐ เพื่อป้องกันระยะยะยาว
1.ยกระดับความพร้อมของระบบสาธารณสุข
2.มีมาตรการเชิงรุกสำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยง หากมีการระบาดในแต่ละพื้นที่ รัฐควรมีการปิดเฉพาะพื้นที่ที่เป็นคลัสเตอร์เท่านั้น
3.ช่วยภาคเอกชนและประชาชนลดค่าใช้จ่าย โดยช่วยลดค่าน้ำ ค่าไฟ ลดเงินสมทบประกันสังคม ภาษีป้าย การเงินต่างๆ เป็นต้น
4.ผลักดันโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เพื่ออัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบอย่างต่อเนื่อง อาทิ ช้อปดีมีคืน ควรทำเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ครั้งต่อปี
“จะเห็นได้ว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัวมากนัก การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่องของภาครัฐถือเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคธุรกิจไทยได้อีกครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มการจ้างงาน และสร้างเม็ดเงินเข้าสู่ระบบค้าปลีกและบริการได้อย่างต่อเนื่อง เพราะเราไม่สามารถที่จะกลับไปอยู่ในภาวะวิกฤตเหมือนในปี 2564 ที่ทุกอย่างหยุดชะงัก เพราะฉะนั้นการลดการแพร่ระบาดของโอมิครอนให้กระจายอยู่เพียงในวงจำกัด และกระทบต่อเศรษฐกิจที่กำลังขยับตัวดีขึ้นให้น้อยที่สุด จึงเป็นทางออกเดียวของเราทุกคน” นายฉัตรชัย กล่าวทิ้งท้าย