โควิดวันนี้ 9 ม.ค.65 ไทยติดเชื้อพุ่ง 8,511 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 12 ราย
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3122539
โควิดวันนี้ 9 ม.ค.65 ไทยติดเชื้อพุ่ง 8,511 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 12 ราย
ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงาน ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2565 พบผู้ติดเชื้อ รวม 8,511 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 12 ราย โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 7,942 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 199 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 20 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 350 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,240,687 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 2,605 ราย หายป่วยสะสม 2,166,441 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 53,858 ราย
“โอมิครอน” ดับฝันท่องเที่ยว ยกเลิกห้องพักพุ่ง-ดัชนีฟื้นตัวสะดุด
https://www.prachachat.net/tourism/news-837232
จากรายงานของ TAT Intelligence Center การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงการต่างประเทศ, Thailand Pass ระบุว่า จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้าประเทศไทยสะสมในช่วง 2 เดือนแรกของการเปิด ประเทศ คือ ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน-31 ธันวาคม 2564 มีจำนวนรวม 268,973 คน (ไม่รวมคนไทยที่กลับจากต่างประเทศ)
โดยด่านที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาสูงสุด 5 อันดับแรก คิดเป็นสัดส่วนถึง 98% ประกอบด้วย 1.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 164,328 คน 2.ท่าอากาศยานภูเก็ต 94,115 คน 3.ท่าอากาศยานดอนเมือง 2,160 คน 4.ท่าอากาศยานกระบี่ 1,474 คน และ 5.ท่าอากาศยานสมุย 913 คน
ส่วนสัญชาตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาสูงสุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วยเยอรมนี 30,094 คน รองลงมาคือ รัสเซีย 22,830 คน สหราชอาณาจักร 21,978 คน สหรัฐอเมริกา 20,176 คน และฝรั่งเศส 13,529 คน
แนวโน้มตัวเลขต่างชาติลดลง
ทั้งนี้ พบว่าหลังจากที่รัฐบาลประกาศยกเลิกการลงทะเบียนเข้าประเทศรูปแบบ test & go เป็นการชั่วคราว แต่ยังคงให้นักท่องเที่ยวที่ลงทะเบียนไว้แล้วสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยจนถึงวันที่ 10 มกราคม 2565 นี้ และเหลือไว้เพียงแค่ “ภูเก็ตแซนด์บอกซ์” และรูปแบบ AQ ไปเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด “โอมิครอน” นั้น ส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเพียงแค่ในช่วง 2 วันแรก คือ วันที่ 22-23 ธันวาคม 2564 เท่านั้น
โดยช่วง 24-30 ธันวาคม 2564 จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังอยู่ในระดับ 8,000-10,000 คนต่อวัน และปรับตัวลดลงเหลือประมาณ 6,000-7,000 คนในช่วงวันที่ 31 ธันวาคม 2564-2 มกราคม 2565 แต่ก็ยังสูงกว่าในช่วงก่อนวันที่ 20 ธันวาคม 2564
แห่ยกเลิกห้องพักทั่วประเทศ
ขณะที่รายงานข่าวจากสมาคมโรงแรมไทย (THA) ระบุว่า จากการทำสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรม (hotel business operator sentiment index) ประจำเดือนธันวาคม 2564 ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 9-24 ธันวาคม 2564 จากผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 137 แห่ง ประกอบด้วย โรงแรมทั่วไป 111 แห่ง โรงแรม AQ 23 แห่ง และ hospitel 3 แห่ง พบว่าอัตราการเข้าพักเฉลี่ยของธุรกิจโรงแรมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงปลายปี
ทั้งนี้ เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐบาล การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเพิ่มเติม และการเปิดประเทศ
อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” ยังส่งผลให้นักท่องเที่ยวบางส่วนยกเลิกการจองห้องพักในเดือนธันวาคม 2564 เช่นกัน
โดยพบว่าข่าวการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน” ได้ส่งผลให้ลูกค้ายกเลิกการจองห้องพักในเดือนธันวาคมในทุกภูมิภาคทั่วประเทศรวมประมาณ 67% แบ่งเป็นยกเลิกน้อยกว่า 25% ของยอดจองทั้งหมด 55% ยกเลิกในสัดส่วน 26-50% ของยอดจองทั้งหมด ประมาณ 9% และยกเลิกมากกว่า 50% ของยอดจองทั้งหมด 3%
ขณะเดียวกัน จากข่าวการแพร่ระบาดของโอมิครอนโรงแรมราว 49% มีความกังวลเรื่องการกลับมาปิดประเทศ หรือห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศอีกครั้งมากที่สุด รองลงมาคือ จำนวนนักท่องเที่ยวไทยที่ลดลงอย่างมีนัยและกำลังซื้อที่เปราะบางมากขึ้นตามลำดับ
ธุรกิจทยอยกลับมาเปิดบริการ
จากผลการสำรวจดังกล่าวยังพบว่า แม้ว่าช่วงดังกล่าวจะมีกระแสการแพร่ระบาดของ “โอมิครอน” แต่ผู้ประกอบการโรงแรมกลับมาทยอยเปิดให้บริการเพิ่มมากขึ้น โดยในเดือนธันวาคม 2564 มีโรงแรมเปิดให้บริการปกติแล้ว 74% เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนที่มีสัดส่วน 68% และ 67% ในเดือนตุลาคม
เป็นการทยอยเปิดหลังมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด และนโยบายเปิดประเทศ
อย่างไรก็ตาม ยังมีโรงแรมที่เปิดให้บริการบางส่วนอยู่ที่ประมาณ 25% ใกล้เคียงกับในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน แต่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2564 ที่มีสัดส่วนของการเปิดกิจการบางส่วนถึง 35%
ส่วนโรงแรมที่ปิดกิจการชั่วคราวมีสัดส่วนเหลือเพียง 1% ลดลงจากเดือนพฤศจิกายนที่มีสัดส่วน 7% และ 8% ในเดือนตุลาคม 2564 โดยโรงแรมที่ยังคงปิดกิจการอยู่คาดว่าจะกลับมาเปิดกิจการอีกครั้งอย่างเร็วในไตรมาส 2 ปี 2565
เกือบครึ่งรายได้ไม่ถึง 30%
นอกจากนี้ ยังพบว่าในเดือนธันวาคม 2564 โรงแรมส่วนใหญ่ที่เปิดให้บริการยังมีรายได้อยู่ในระดับต่ำ โดยผู้ประกอบการ 49% มีรายได้ไม่ถึง 30% และมีโรงแรมเพียง 25% ที่รายได้กลับมาแล้วเกินครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับปี 2562 (ก่อนโควิด) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ย และมีลูกค้าหลักเป็นนักท่องเที่ยวทั่วไปชาวไทย
กล่าวคือ ผู้ประกอบการที่มีรายได้ต่ำกว่า 10% มีสัดส่วน 20% มีรายได้ระหว่าง 11-30% คิดเป็นสัดส่วน 29% มีรายได้ระหว่าง 31-50% คิดเป็นสัดส่วน 26% มีรายได้ระหว่าง 51-70% คิดเป็นสัดส่วน 11% และมีรายได้มากกว่า 70% คิดเป็นสัดส่วน 14%
สำหรับในส่วนของอัตราการเข้าพักนั้น พบว่าเดือนธันวาคม 2564 โรงแรมที่เปิดให้บริการมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 37% เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนที่ 30% และ 23.5% ในเดือนตุลาคม โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของโรงแรมในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสาน ตามการเข้าสู่ช่วง high season (ดูตารางประกอบ)
นอกจากนี้ ยังได้รับผลดีจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมเพิ่มเติม อาทิ การขยายช่วงเวลาสำหรับการจำหน่ายแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร และจัดงานปีใหม่ภายใต้เงื่อนไขและเวลาที่กำหนด ฯลฯ
รวมถึงมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ เช่น โครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 และทัวร์เที่ยวไทย รวมถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว
โดยโรงแรมส่วนใหญ่รับลูกค้าท่องเที่ยวทั่วไปชาวไทยเป็นหลัก หรือประมาณ 62% ตามด้วยลูกค้าท่องเที่ยวทั่วไปชาวต่างชาติ 50% และลูกค้าตามโครงการเปิดรับนักท่องเที่ยว (sandbox) 18% ตามลำดับ
ตั้งรับการระบาดระลอกใหม่
ทั้งนี้ ประเมินว่าอัตราการเข้าพักในเดือนมกราคม 2565 จะมีสัญญาณชะลอลงจากเดือนธันวาคม 2564 มาอยู่ที่ประมาณ 33% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกังวลการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ “โอมิครอน” และการยกเลิกมาตรการ test and go รายใหม่ชั่วคราว (ถึง 31 ธันวาคม 2565)
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการโรงแรมส่วนใหญ่ได้เตรียมตั้งรับผลกระทบจากการแพร่ระบาดอีกครั้ง โดยประมาณ 72% เลือกปรับตัวด้วยการลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน โดยลดชั่วโมงทำงาน ให้สลับกันมาทำงาน หรือให้ลาโดยไม่รับค่าจ้าง รองลงมาคือ การลดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่ใชแรงงาน (58%) และ 37% ยืนยันว่าจะยังคงเปิดดำเนินการปกติ ยกเว้นมีคำสั่งปิดจากภาครัฐ
ขณะเดียวกัน มีผู้ประกอบการ 17% บอกว่าอาจตัดสินใจปิดกิจการชั่วคราวอีกครั้ง
จากผลการสำรวจดังกล่าวนี้สะท้อนชัดเจนว่า สัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัวช่วงปลายปีที่ทำท่าจะดีมีอันต้องสะดุดอีกครั้งเมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน” กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทำให้ ศบค.ต้องยกระดับการควบคุมด้วยการปิดระบบ test & go และ sandbox รับนักท่องเที่ยวต่าง
คราว
นั่นหมายความว่า ผู้ประกอบการโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องยากจะฟื้นคืนหากสถานการณ์ยังไม่ชัดเจน ชาวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศได้ตามแผนที่วางไว้ ยอดจองห้องพักในช่วงต้นปี 2565 อาจจะถูกยกเลิกและคงไม่มียอดจองเข้ามาเพิ่มแน่นอน
JJNY : ติดเชื้อ8,511 เสียชีวิต12│“โอมิครอน” ดับฝันท่องเที่ยว│“สุรชาติ” มั่นใจชนะเลือกตั้ง│“กรุณพล”เผยมีการซื้อเสียง
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3122539
โควิดวันนี้ 9 ม.ค.65 ไทยติดเชื้อพุ่ง 8,511 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 12 ราย
ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงาน ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2565 พบผู้ติดเชื้อ รวม 8,511 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 12 ราย โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 7,942 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 199 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 20 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 350 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,240,687 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 2,605 ราย หายป่วยสะสม 2,166,441 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 53,858 ราย
“โอมิครอน” ดับฝันท่องเที่ยว ยกเลิกห้องพักพุ่ง-ดัชนีฟื้นตัวสะดุด
https://www.prachachat.net/tourism/news-837232
จากรายงานของ TAT Intelligence Center การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงการต่างประเทศ, Thailand Pass ระบุว่า จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้าประเทศไทยสะสมในช่วง 2 เดือนแรกของการเปิด ประเทศ คือ ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน-31 ธันวาคม 2564 มีจำนวนรวม 268,973 คน (ไม่รวมคนไทยที่กลับจากต่างประเทศ)
โดยด่านที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาสูงสุด 5 อันดับแรก คิดเป็นสัดส่วนถึง 98% ประกอบด้วย 1.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 164,328 คน 2.ท่าอากาศยานภูเก็ต 94,115 คน 3.ท่าอากาศยานดอนเมือง 2,160 คน 4.ท่าอากาศยานกระบี่ 1,474 คน และ 5.ท่าอากาศยานสมุย 913 คน
ส่วนสัญชาตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาสูงสุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วยเยอรมนี 30,094 คน รองลงมาคือ รัสเซีย 22,830 คน สหราชอาณาจักร 21,978 คน สหรัฐอเมริกา 20,176 คน และฝรั่งเศส 13,529 คน
แนวโน้มตัวเลขต่างชาติลดลง
ทั้งนี้ พบว่าหลังจากที่รัฐบาลประกาศยกเลิกการลงทะเบียนเข้าประเทศรูปแบบ test & go เป็นการชั่วคราว แต่ยังคงให้นักท่องเที่ยวที่ลงทะเบียนไว้แล้วสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยจนถึงวันที่ 10 มกราคม 2565 นี้ และเหลือไว้เพียงแค่ “ภูเก็ตแซนด์บอกซ์” และรูปแบบ AQ ไปเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด “โอมิครอน” นั้น ส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเพียงแค่ในช่วง 2 วันแรก คือ วันที่ 22-23 ธันวาคม 2564 เท่านั้น
โดยช่วง 24-30 ธันวาคม 2564 จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังอยู่ในระดับ 8,000-10,000 คนต่อวัน และปรับตัวลดลงเหลือประมาณ 6,000-7,000 คนในช่วงวันที่ 31 ธันวาคม 2564-2 มกราคม 2565 แต่ก็ยังสูงกว่าในช่วงก่อนวันที่ 20 ธันวาคม 2564
แห่ยกเลิกห้องพักทั่วประเทศ
ขณะที่รายงานข่าวจากสมาคมโรงแรมไทย (THA) ระบุว่า จากการทำสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรม (hotel business operator sentiment index) ประจำเดือนธันวาคม 2564 ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 9-24 ธันวาคม 2564 จากผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 137 แห่ง ประกอบด้วย โรงแรมทั่วไป 111 แห่ง โรงแรม AQ 23 แห่ง และ hospitel 3 แห่ง พบว่าอัตราการเข้าพักเฉลี่ยของธุรกิจโรงแรมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงปลายปี
ทั้งนี้ เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐบาล การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเพิ่มเติม และการเปิดประเทศ
อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” ยังส่งผลให้นักท่องเที่ยวบางส่วนยกเลิกการจองห้องพักในเดือนธันวาคม 2564 เช่นกัน
โดยพบว่าข่าวการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน” ได้ส่งผลให้ลูกค้ายกเลิกการจองห้องพักในเดือนธันวาคมในทุกภูมิภาคทั่วประเทศรวมประมาณ 67% แบ่งเป็นยกเลิกน้อยกว่า 25% ของยอดจองทั้งหมด 55% ยกเลิกในสัดส่วน 26-50% ของยอดจองทั้งหมด ประมาณ 9% และยกเลิกมากกว่า 50% ของยอดจองทั้งหมด 3%
ขณะเดียวกัน จากข่าวการแพร่ระบาดของโอมิครอนโรงแรมราว 49% มีความกังวลเรื่องการกลับมาปิดประเทศ หรือห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศอีกครั้งมากที่สุด รองลงมาคือ จำนวนนักท่องเที่ยวไทยที่ลดลงอย่างมีนัยและกำลังซื้อที่เปราะบางมากขึ้นตามลำดับ
ธุรกิจทยอยกลับมาเปิดบริการ
จากผลการสำรวจดังกล่าวยังพบว่า แม้ว่าช่วงดังกล่าวจะมีกระแสการแพร่ระบาดของ “โอมิครอน” แต่ผู้ประกอบการโรงแรมกลับมาทยอยเปิดให้บริการเพิ่มมากขึ้น โดยในเดือนธันวาคม 2564 มีโรงแรมเปิดให้บริการปกติแล้ว 74% เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนที่มีสัดส่วน 68% และ 67% ในเดือนตุลาคม
เป็นการทยอยเปิดหลังมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด และนโยบายเปิดประเทศ
อย่างไรก็ตาม ยังมีโรงแรมที่เปิดให้บริการบางส่วนอยู่ที่ประมาณ 25% ใกล้เคียงกับในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน แต่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2564 ที่มีสัดส่วนของการเปิดกิจการบางส่วนถึง 35%
ส่วนโรงแรมที่ปิดกิจการชั่วคราวมีสัดส่วนเหลือเพียง 1% ลดลงจากเดือนพฤศจิกายนที่มีสัดส่วน 7% และ 8% ในเดือนตุลาคม 2564 โดยโรงแรมที่ยังคงปิดกิจการอยู่คาดว่าจะกลับมาเปิดกิจการอีกครั้งอย่างเร็วในไตรมาส 2 ปี 2565
เกือบครึ่งรายได้ไม่ถึง 30%
นอกจากนี้ ยังพบว่าในเดือนธันวาคม 2564 โรงแรมส่วนใหญ่ที่เปิดให้บริการยังมีรายได้อยู่ในระดับต่ำ โดยผู้ประกอบการ 49% มีรายได้ไม่ถึง 30% และมีโรงแรมเพียง 25% ที่รายได้กลับมาแล้วเกินครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับปี 2562 (ก่อนโควิด) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ย และมีลูกค้าหลักเป็นนักท่องเที่ยวทั่วไปชาวไทย
กล่าวคือ ผู้ประกอบการที่มีรายได้ต่ำกว่า 10% มีสัดส่วน 20% มีรายได้ระหว่าง 11-30% คิดเป็นสัดส่วน 29% มีรายได้ระหว่าง 31-50% คิดเป็นสัดส่วน 26% มีรายได้ระหว่าง 51-70% คิดเป็นสัดส่วน 11% และมีรายได้มากกว่า 70% คิดเป็นสัดส่วน 14%
สำหรับในส่วนของอัตราการเข้าพักนั้น พบว่าเดือนธันวาคม 2564 โรงแรมที่เปิดให้บริการมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 37% เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนที่ 30% และ 23.5% ในเดือนตุลาคม โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของโรงแรมในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสาน ตามการเข้าสู่ช่วง high season (ดูตารางประกอบ)
นอกจากนี้ ยังได้รับผลดีจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมเพิ่มเติม อาทิ การขยายช่วงเวลาสำหรับการจำหน่ายแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร และจัดงานปีใหม่ภายใต้เงื่อนไขและเวลาที่กำหนด ฯลฯ
รวมถึงมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ เช่น โครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 และทัวร์เที่ยวไทย รวมถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว
โดยโรงแรมส่วนใหญ่รับลูกค้าท่องเที่ยวทั่วไปชาวไทยเป็นหลัก หรือประมาณ 62% ตามด้วยลูกค้าท่องเที่ยวทั่วไปชาวต่างชาติ 50% และลูกค้าตามโครงการเปิดรับนักท่องเที่ยว (sandbox) 18% ตามลำดับ
ตั้งรับการระบาดระลอกใหม่
ทั้งนี้ ประเมินว่าอัตราการเข้าพักในเดือนมกราคม 2565 จะมีสัญญาณชะลอลงจากเดือนธันวาคม 2564 มาอยู่ที่ประมาณ 33% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกังวลการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ “โอมิครอน” และการยกเลิกมาตรการ test and go รายใหม่ชั่วคราว (ถึง 31 ธันวาคม 2565)
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการโรงแรมส่วนใหญ่ได้เตรียมตั้งรับผลกระทบจากการแพร่ระบาดอีกครั้ง โดยประมาณ 72% เลือกปรับตัวด้วยการลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน โดยลดชั่วโมงทำงาน ให้สลับกันมาทำงาน หรือให้ลาโดยไม่รับค่าจ้าง รองลงมาคือ การลดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่ใชแรงงาน (58%) และ 37% ยืนยันว่าจะยังคงเปิดดำเนินการปกติ ยกเว้นมีคำสั่งปิดจากภาครัฐ
ขณะเดียวกัน มีผู้ประกอบการ 17% บอกว่าอาจตัดสินใจปิดกิจการชั่วคราวอีกครั้ง
จากผลการสำรวจดังกล่าวนี้สะท้อนชัดเจนว่า สัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัวช่วงปลายปีที่ทำท่าจะดีมีอันต้องสะดุดอีกครั้งเมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน” กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทำให้ ศบค.ต้องยกระดับการควบคุมด้วยการปิดระบบ test & go และ sandbox รับนักท่องเที่ยวต่างคราว
นั่นหมายความว่า ผู้ประกอบการโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องยากจะฟื้นคืนหากสถานการณ์ยังไม่ชัดเจน ชาวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศได้ตามแผนที่วางไว้ ยอดจองห้องพักในช่วงต้นปี 2565 อาจจะถูกยกเลิกและคงไม่มียอดจองเข้ามาเพิ่มแน่นอน