วัคซีนโควิด-19 ยังจำเป็น แต่ไม่เพียงพอ ฟื้นเศรษฐกิจไทย
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/165776
ไทยระดมฉีดวัคซีน เพื่อสกัดการแพร่ระบาด ทั้งโควิดเดลตาและโอมิครอน แต่คนก็จะวิจารณ์ว่าฉีดวัคซีนแล้วไงต่อ เศรษฐกิจก็ยังย่ำแย่
ดร.
ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แสดงความเห็นในบทความชื่อว่า
"วัคซีนโควิด-19 ยังจำเป็นสำหรับเศรษฐกิจไทย" โดยระบุว่าหากไม่มีวัคซีนโควิด-19 เศรษฐกิจไทยจะแย่ลงกว่านี้
ดังนั้น วันซีนโควิด-19 มีความจำเป็นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ แต่วัคซีนอย่างเดียวไม่เพียงพอ ยังต้องมีมาตรการอื่นและปัจจัยอื่นมาช่วยสนับสนุด้วย
ดร.
ดอนระบุว่า
"มีคนถามผมว่า ไหนปีที่แล้วผมบอกว่าวัคซีนเป็นความหวังของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ตอนนี้ประเทศไทยก็ฉีดวัคซีนไปเยอะมากแล้ว ไม่เห็นเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ดีตรงไหน"
ปีที่แล้วเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 1 ขณะที่เกือบทุกสำนักให้คาดการณ์การขยายตัวของปีนี้ไม่ถึงร้อยละ4 ต่ำกว่าคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกโดยไอเอ็มเอฟล่าสุดที่ร้อยละ 4.4 อีก เท่ากับว่าตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าเศรษฐกิจโลกมาโดยตลอด
"ผมยังยืนยันคำพูดเดิม ว่าวัคซีนเป็นปัจจัยสำคัญของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ถ้าปีที่แล้วเราไม่ได้รับวัคซีนเลย เศรษฐกิจไทยคงไม่พ้นหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่สอง และมีความเสี่ยงที่จะเห็นธุรกิจปิดตัวจำนวนมาก รวมถึงสถาบันการเงินล้มกันระเนระนาด"
ที่สำคัญ ไม่เคยบอกว่าเศรษฐกิจไทยหลังมีวัคซีนในระดับหนึ่งแล้ว จะพุ่งทะยานทันตาเห็น แม้เราจะเห็นอย่างนั้นในหลายประเทศก็ตาม ในภาษาเศรษฐศาสตร์ วัคซีนเป็นปัจจัยที่จำเป็น (necessary) แต่ไม่ใช่ปัจจัยที่เพียงพอ (sufficient) ในการที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจ
ความหมายก็คือ ต่อให้ปัจจัยสนับสนุนอื่นดีแค่ไหน ถ้าไม่มีวัคซีน เศรษฐกิจไทยก็ไปต่อไม่ได้ แต่การจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจ นอกจากวัคซีนแล้ว ต้องมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย ซึ่งปัจจัยอื่นที่สำคัญในกรณีของไทย ได้แก่ นโยบายการเงินการคลังและระบบการเงินที่สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการกลับมาอย่างมีนัยของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
นับถึงวันนี้ การฉีดวัคซีนต่อเนื่องก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงว่าวัคซีนที่ประชากรไทยส่วนใหญ่ได้รับในช่วงแรกเป็น Sinovac ซึ่งถือว่าเป็นวัคซีนที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น เพราะเราไม่มีทางเลือกอื่นมากนัก แต่ด้วยภูมิคุ้มกันจากการกระตุ้นของวัคซีนที่ขึ้นไม่สูงมากและถึงตอนนี้น่าจะแทบไม่เหลือแล้ว
เท่ากับว่าคนทีได้รับ Sinovac สองเข็ม มีความเสี่ยงไม่ต่างจากคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีนเลย (วัคซีนอื่น ภูมิก็ลงเช่นกัน แต่ด้วยภูมิตั้งต้นที่สูงกว่า จึงยังมีภูมิเหลือมากกว่าบ้าง) จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่รัฐบาลรณรงค์ให้คนไทยฉีดเข็มที่สามกันถ้วนหน้า
อย่างไรก็ดี ด้วยความที่โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนติดต่อกันได้ง่ายมาก ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนใดมาก็ตามก็ยังติดเชื้อได้ ทำให้หลายคนไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นได้จริงหรือ ถ้ายังมีจำนวนคนติดเชื้อสูงต่อเนื่อง ในประเด็นนี้ ผมคิดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญน้อยกว่าความรุนแรงหลังการติดเชื้อ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว
ล่าสุด จะเห็นได้ว่า หลายประเทศได้ผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดลงมาก ทั้งๆที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังสูงมาก บางประเทศมากกว่าช่วงปี 2563 ด้วยซ้ำ เนื่องจากเขาประเมินแล้วว่า รอบนี้จำนวนผู้ป่วยหนักจะมีไม่มาก เพราะประชากรส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนแล้ว ขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ซึ่งอาการไม่รุนแรงสามารถพักรักษาตัวที่บ้าน ระบบสาธารณสุขของเขาจึงสามารถรองรับได้
ข้อมูลจากเว็บ Our World in Data ชี้ชัดเจนว่าอัตราการตายจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษในปัจจุบันนั้นต่ำมาก แม้จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันจะสูงกว่าช่วงพีคสองปีที่แล้วกว่าสองเท่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสายพันธุ์โอมิครอนมีความรุนแรงน้อยลงกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่ที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การได้รับวัคซีนลดอาการรุนแรงจากการติดเชื้อได้มาก
หากแนวโน้มผู้ป่วยหนักในหลายประเทศอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ผมคิดว่าในที่สุดแล้วคนส่วนใหญ่ในโลก (ที่ได้รับวัคซีนแล้ว) รวมถึงภาครัฐ จะคลายความกังวลกับโควิด-19 ลง เช่น รัฐบาลอังกฤษ ที่ล่าสุดยกเลิกข้อบังคับการสวมหน้ากาก และการกำหนดให้ผู้เดินทางเข้าประเทศต้องตรวจโควิดก่อน ซึ่งจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเป็นปรกติมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เศรษฐกิจไทยรอคอย
แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกประเทศที่คิดแบบเดียวกัน จีนเป็นข้อยกเว้นที่สำคัญที่ยังคงคุมเข้ม ซึ่งหมายความว่าอาจจะเป็นเวลาอีกปีสองปีกว่านักท่องเที่ยวจีนจะได้รับไฟเขียวให้ออกมาเที่ยวนอกประเทศได้ แต่ด้วยความที่ปีที่แล้ว เราแทบไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาเลย การที่เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวดีจากฐานที่ต่ำ เราไม่ได้ต้องการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่สูงมาก
"ผมเคยคำนวณคร่าวๆ ว่า ถ้าปีนี้ เราโชคดี มีนักท่องเที่ยวเข้ามา 10 ล้านคน ซึ่งอยู่ในวิสัยที่เป็นไปได้ หากกฎเกณฑ์การเดินทางระหว่างประเทศผ่อนคลายลง และนักท่องเที่ยวมีความมั่นใจมากขึ้น แม้ในปีนี้จะไม่มีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาเลยก็ตาม เศรษฐกิจไทยน่าจะโตได้ถึงร้อยละ 5"
ดังนั้น การรักษาโมเมนตัมของการฉีดเข็มสามให้ต่อเนื่อง รวมถึงการเก็บตกผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเลย ต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในปีนี้ และอาจจะเป็นมาตรการที่มีต้นทุนน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับมาตรการอื่นๆ
ในระยะยาว ประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม คือ วัคซีนโควิด-19 ไม่ใช่ฉีดเข็มสามแล้วจบ ในกรณีที่ดีที่สุดที่โควิด-19 สุดท้ายกลายเป็นโรคประจำถิ่น เราคงยังต้องฉีดวัคซีนกันทุกปีแบบเดียวกับไข้หวัดใหญ่ การจัดหาวัคซีนในปริมาณที่เพียงพอในระยะยาว และหลากหลายประเภททางเลือก จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย
ธุรกิจโรงแรม ม.ค. 65 ยังทรุด เกือบครึ่งรายได้ต่ำ 30%
https://www.prachachat.net/tourism/news-857603
สมาคมโรงแรมไทยเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเดือนมกราฯปี’65 ชี้โรงแรมเกือบครึ่งมีรายได้ยังไม่ถึง 30% โอมิครอนยังทุบอัตราเข้าพักหดตัว-แห่ยกเลิกห้องพัก ส่วนใหญ่เหลือสภาพคล่องไม่เกิน 3 เดือน วอนรัฐช่วยออกค่าจ้างพนักงาน พักหนี้ทั้งต้นและดอก
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมโรงแรมไทย (THA) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักโรงแรม ซึ่งจัดทำร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนมกราคม 2565 จากผลสำรวจผู้ประกอบการที่พักแรมจำนวน 200 แห่ง (เป็น ASQ 18 แห่ง, Hospitel 7 แห่ง) ระหว่างวันที่ 10-26 มกราคม 2565
โดยผลสำรวจจากโรงแรมจำนวน 175 แห่ง (ไม่รวมโรงแรมที่เป็น AQ และ Hospitel) ในเดือนมกราคม 2565 พบว่า มีโรงแรมจำนวน 73% จากผู้ตอบแบบสำรวจเปิดกิจการปกติ ใกล้เคียงเดือนธันวาคม 2564 ที่ 74% ซึ่งเป็นผลจากการเปิดประเทศ และรองรับนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ แม้มีการยกเลิก Test & Go รายใหม่ชั่วคราวในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2564
ทั้งนี้ โรงแรมที่ปิดกิจการชั่วคราวมีสัดส่วนราว 3% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่ปิดมามากกว่า 6 เดือน และคาดว่าจะกลับมาเปิดกิจการอีกครั้งในครึ่งหลังของปี 2565 เป็นต้นไป
ในส่วนของรายได้ ผลสำรวจเปิดเผยว่า รายได้ของธุรกิจโรงแรมในเดือนมกราคม 2565 ยังอยู่ในระดับต่ำ ใกล้เคียงเดือนธันวาคม 2564 โดยโรงแรมราว 49% ยังมีรายได้กลับมาไม่ถึง 30% เมื่อเทียบกับก่อนการระบาด และมีโรงแรมเพียง 26% ที่รายได้กลับมาแล้วเกินครึ่งหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออก
อัตราการเข้าพัก : โอมิครอนทำยอดเข้าพักโรงแรมหดตัว
ผลสำรวจพบว่า ในเดือนมกราคม 2565 มียอดอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 32% ลดลงจากเดือน ธ.ค. 64 ที่ 37% โดยเป็นการปรับลดลงของโรงแรมในเกือบทุกภูมิภาค จากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ Omicron ในวงกว้าง และการยกเลิกมาตรการ Test & Go รายใหม่ชั่วคราว ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง ยกเว้นโรงแรมในภาคใต้ที่ยังได้รับอานิสงส์จากการรับนักท่องเที่ยว Sandbox ส่งผลให้อัตราการเข้าพักยังสูงกว่าภาคอื่น
อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราการเข้าพักในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จะชะลอลงจากเดือนมกราคมมาอยู่ที่ 24% กลับมาใกล้เคียงกับเดือนตุลาคม 2564 หรือช่วงก่อนเปิดประเทศ
นอกจากนี้ อัตราการเข้าพักของโรงแรมที่เป็น AQ ซึ่งตอบแบบสำรวจจำนวน 18 แห่ง (ภาคกลาง 15 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ง และภาคใต้ 1 แห่ง) มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนธันวาคม 2564 มาอยู่ที่ 33% ในเดือนมกราคม 2565 ขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 25%
ส่วนโรงแรมที่เป็น Hospitel ซึ่งตอบแบบสำรวจจำนวน 7 แห่ง (ภาคกลาง 3 แห่ง ภาคใต้ 3 แห่ง และภาคตะวันออก 1 แห่ง) มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2564 มาอยู่ที่ 38% ในเดือนมกราคม 2565 สอดคล้องกับจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ Omicron ในประเทศหลังช่วงเทศกาลปีใหม่ ขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 คาดว่าลดลงมาอยู่ที่ 22%
ส่วนใหญ่เหลือสภาพคล่องไม่เกิน 3 เดือน
ในเดือนมกราคม 2565 โรงแรมส่วนใหญ่มีสภาพคล่องลดลงจากเดือนธันวาคม 2564 และมีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 53% ของผู้ตอบแบบสำรวจ โดยมีสัดส่วนของกลุ่มที่มีสภาพคล่องน้อยกว่า 1 เดือนอยู่ที่ 11% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน สอดคล้องกับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยที่ลดลง ขณะที่มีโรงแรมที่สภาพคล่องเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเพียง 17% โดยส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยราว 40-55%
การจ้างงาน
ผลสำรวจเปิดเผยว่า เดือนมกราคม 2565 โรงแรมมีการจ้างงานเฉลี่ยลดลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 63.6% ของการจ้างงานเดิมก่อนเกิด COVID-19 (หากไม่รวมกลุ่มที่ปิดกิจการชั่วคราวการจ้างงานเฉลี่ยอยู่ที่ 64.7%) โดยมีการจ้างงานลดลงในเกือบทุกภาค สอดคล้องกับอัตราการเข้าพักที่ลดลง ยกเว้นโรงแรมในภาคใต้
สัดส่วนยกเลิกการจองห้องพัก
จากการสำรวจพบว่า สัดส่วนยกเลิกการจองห้องพัก จากการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ Omicron ส่งผลให้เห็นลูกค้ายกเลิกการจองห้องพักในเดือนมกราคม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนในทุกภูมิภาค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการยกเลิกการจองน้อยกว่า 25% ของยอดจองทั้งหมด ยกเว้นโรงแรมในภาคตะวันออกที่เกือบครึ่งมีลูกค้ายกเลิกการจองมากกว่า 50% ของยอดจองทั้งหมด
มาตรการช่วยเหลือที่ผู้ประกอบการต้องการจากภาครัฐ
1. โรงแรมส่วนใหญ่ต้องการสนับสนุนค่าจ้างพนักงานเดิม (Co-payment) และให้พักชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ย
2. มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว เช่น การเพิ่มจำนวนห้อง และระยะเวลาโครงการเราเที่ยวด้วยกัน สนับสนุนการจัดประชุมสำหรับองค์กร และด้านการตลาดหลังโควิด
3. รีไฟแนนซ์เงินกู้ระยะสั้นเป็นระยะยาวแบบปลอดเงินต้น
4. สนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข เช่น ค่า ATK
และ 5. สร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยจากการเปิดประเทศ ควรมีความชัดเจนของมาตรการรัฐและการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าสู่ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว ก่อนปฏิบัติจริงทั้งระบบที่รองรับการยื่นคำขอเข้าประเทศ และการจองคิวตรวจ RT-PCR
JJNY : 4in1 วัคซีนจำเป็น แต่ไม่เพียงพอฟื้นศก.│ธุรกิจโรงแรมม.ค.65ยังทรุด│อีโต้อีสานทิ้งภท.ไปพท.│ทูตรัศม์-นิธินันท์เข้าพท.
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/165776
ไทยระดมฉีดวัคซีน เพื่อสกัดการแพร่ระบาด ทั้งโควิดเดลตาและโอมิครอน แต่คนก็จะวิจารณ์ว่าฉีดวัคซีนแล้วไงต่อ เศรษฐกิจก็ยังย่ำแย่
ดร.ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แสดงความเห็นในบทความชื่อว่า "วัคซีนโควิด-19 ยังจำเป็นสำหรับเศรษฐกิจไทย" โดยระบุว่าหากไม่มีวัคซีนโควิด-19 เศรษฐกิจไทยจะแย่ลงกว่านี้
ดังนั้น วันซีนโควิด-19 มีความจำเป็นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ แต่วัคซีนอย่างเดียวไม่เพียงพอ ยังต้องมีมาตรการอื่นและปัจจัยอื่นมาช่วยสนับสนุด้วย
ดร.ดอนระบุว่า "มีคนถามผมว่า ไหนปีที่แล้วผมบอกว่าวัคซีนเป็นความหวังของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ตอนนี้ประเทศไทยก็ฉีดวัคซีนไปเยอะมากแล้ว ไม่เห็นเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ดีตรงไหน"
ปีที่แล้วเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 1 ขณะที่เกือบทุกสำนักให้คาดการณ์การขยายตัวของปีนี้ไม่ถึงร้อยละ4 ต่ำกว่าคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกโดยไอเอ็มเอฟล่าสุดที่ร้อยละ 4.4 อีก เท่ากับว่าตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าเศรษฐกิจโลกมาโดยตลอด
"ผมยังยืนยันคำพูดเดิม ว่าวัคซีนเป็นปัจจัยสำคัญของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ถ้าปีที่แล้วเราไม่ได้รับวัคซีนเลย เศรษฐกิจไทยคงไม่พ้นหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่สอง และมีความเสี่ยงที่จะเห็นธุรกิจปิดตัวจำนวนมาก รวมถึงสถาบันการเงินล้มกันระเนระนาด"
ที่สำคัญ ไม่เคยบอกว่าเศรษฐกิจไทยหลังมีวัคซีนในระดับหนึ่งแล้ว จะพุ่งทะยานทันตาเห็น แม้เราจะเห็นอย่างนั้นในหลายประเทศก็ตาม ในภาษาเศรษฐศาสตร์ วัคซีนเป็นปัจจัยที่จำเป็น (necessary) แต่ไม่ใช่ปัจจัยที่เพียงพอ (sufficient) ในการที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจ
ความหมายก็คือ ต่อให้ปัจจัยสนับสนุนอื่นดีแค่ไหน ถ้าไม่มีวัคซีน เศรษฐกิจไทยก็ไปต่อไม่ได้ แต่การจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจ นอกจากวัคซีนแล้ว ต้องมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย ซึ่งปัจจัยอื่นที่สำคัญในกรณีของไทย ได้แก่ นโยบายการเงินการคลังและระบบการเงินที่สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการกลับมาอย่างมีนัยของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
นับถึงวันนี้ การฉีดวัคซีนต่อเนื่องก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงว่าวัคซีนที่ประชากรไทยส่วนใหญ่ได้รับในช่วงแรกเป็น Sinovac ซึ่งถือว่าเป็นวัคซีนที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น เพราะเราไม่มีทางเลือกอื่นมากนัก แต่ด้วยภูมิคุ้มกันจากการกระตุ้นของวัคซีนที่ขึ้นไม่สูงมากและถึงตอนนี้น่าจะแทบไม่เหลือแล้ว
เท่ากับว่าคนทีได้รับ Sinovac สองเข็ม มีความเสี่ยงไม่ต่างจากคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีนเลย (วัคซีนอื่น ภูมิก็ลงเช่นกัน แต่ด้วยภูมิตั้งต้นที่สูงกว่า จึงยังมีภูมิเหลือมากกว่าบ้าง) จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่รัฐบาลรณรงค์ให้คนไทยฉีดเข็มที่สามกันถ้วนหน้า
อย่างไรก็ดี ด้วยความที่โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนติดต่อกันได้ง่ายมาก ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนใดมาก็ตามก็ยังติดเชื้อได้ ทำให้หลายคนไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นได้จริงหรือ ถ้ายังมีจำนวนคนติดเชื้อสูงต่อเนื่อง ในประเด็นนี้ ผมคิดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญน้อยกว่าความรุนแรงหลังการติดเชื้อ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว
ล่าสุด จะเห็นได้ว่า หลายประเทศได้ผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดลงมาก ทั้งๆที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังสูงมาก บางประเทศมากกว่าช่วงปี 2563 ด้วยซ้ำ เนื่องจากเขาประเมินแล้วว่า รอบนี้จำนวนผู้ป่วยหนักจะมีไม่มาก เพราะประชากรส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนแล้ว ขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ซึ่งอาการไม่รุนแรงสามารถพักรักษาตัวที่บ้าน ระบบสาธารณสุขของเขาจึงสามารถรองรับได้
ข้อมูลจากเว็บ Our World in Data ชี้ชัดเจนว่าอัตราการตายจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษในปัจจุบันนั้นต่ำมาก แม้จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันจะสูงกว่าช่วงพีคสองปีที่แล้วกว่าสองเท่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสายพันธุ์โอมิครอนมีความรุนแรงน้อยลงกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่ที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การได้รับวัคซีนลดอาการรุนแรงจากการติดเชื้อได้มาก
หากแนวโน้มผู้ป่วยหนักในหลายประเทศอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ผมคิดว่าในที่สุดแล้วคนส่วนใหญ่ในโลก (ที่ได้รับวัคซีนแล้ว) รวมถึงภาครัฐ จะคลายความกังวลกับโควิด-19 ลง เช่น รัฐบาลอังกฤษ ที่ล่าสุดยกเลิกข้อบังคับการสวมหน้ากาก และการกำหนดให้ผู้เดินทางเข้าประเทศต้องตรวจโควิดก่อน ซึ่งจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเป็นปรกติมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เศรษฐกิจไทยรอคอย
แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกประเทศที่คิดแบบเดียวกัน จีนเป็นข้อยกเว้นที่สำคัญที่ยังคงคุมเข้ม ซึ่งหมายความว่าอาจจะเป็นเวลาอีกปีสองปีกว่านักท่องเที่ยวจีนจะได้รับไฟเขียวให้ออกมาเที่ยวนอกประเทศได้ แต่ด้วยความที่ปีที่แล้ว เราแทบไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาเลย การที่เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวดีจากฐานที่ต่ำ เราไม่ได้ต้องการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่สูงมาก
"ผมเคยคำนวณคร่าวๆ ว่า ถ้าปีนี้ เราโชคดี มีนักท่องเที่ยวเข้ามา 10 ล้านคน ซึ่งอยู่ในวิสัยที่เป็นไปได้ หากกฎเกณฑ์การเดินทางระหว่างประเทศผ่อนคลายลง และนักท่องเที่ยวมีความมั่นใจมากขึ้น แม้ในปีนี้จะไม่มีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาเลยก็ตาม เศรษฐกิจไทยน่าจะโตได้ถึงร้อยละ 5"
ดังนั้น การรักษาโมเมนตัมของการฉีดเข็มสามให้ต่อเนื่อง รวมถึงการเก็บตกผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเลย ต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในปีนี้ และอาจจะเป็นมาตรการที่มีต้นทุนน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับมาตรการอื่นๆ
ในระยะยาว ประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม คือ วัคซีนโควิด-19 ไม่ใช่ฉีดเข็มสามแล้วจบ ในกรณีที่ดีที่สุดที่โควิด-19 สุดท้ายกลายเป็นโรคประจำถิ่น เราคงยังต้องฉีดวัคซีนกันทุกปีแบบเดียวกับไข้หวัดใหญ่ การจัดหาวัคซีนในปริมาณที่เพียงพอในระยะยาว และหลากหลายประเภททางเลือก จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย
ธุรกิจโรงแรม ม.ค. 65 ยังทรุด เกือบครึ่งรายได้ต่ำ 30%
https://www.prachachat.net/tourism/news-857603
สมาคมโรงแรมไทยเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเดือนมกราฯปี’65 ชี้โรงแรมเกือบครึ่งมีรายได้ยังไม่ถึง 30% โอมิครอนยังทุบอัตราเข้าพักหดตัว-แห่ยกเลิกห้องพัก ส่วนใหญ่เหลือสภาพคล่องไม่เกิน 3 เดือน วอนรัฐช่วยออกค่าจ้างพนักงาน พักหนี้ทั้งต้นและดอก
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมโรงแรมไทย (THA) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักโรงแรม ซึ่งจัดทำร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนมกราคม 2565 จากผลสำรวจผู้ประกอบการที่พักแรมจำนวน 200 แห่ง (เป็น ASQ 18 แห่ง, Hospitel 7 แห่ง) ระหว่างวันที่ 10-26 มกราคม 2565
โดยผลสำรวจจากโรงแรมจำนวน 175 แห่ง (ไม่รวมโรงแรมที่เป็น AQ และ Hospitel) ในเดือนมกราคม 2565 พบว่า มีโรงแรมจำนวน 73% จากผู้ตอบแบบสำรวจเปิดกิจการปกติ ใกล้เคียงเดือนธันวาคม 2564 ที่ 74% ซึ่งเป็นผลจากการเปิดประเทศ และรองรับนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ แม้มีการยกเลิก Test & Go รายใหม่ชั่วคราวในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2564
ทั้งนี้ โรงแรมที่ปิดกิจการชั่วคราวมีสัดส่วนราว 3% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่ปิดมามากกว่า 6 เดือน และคาดว่าจะกลับมาเปิดกิจการอีกครั้งในครึ่งหลังของปี 2565 เป็นต้นไป
ในส่วนของรายได้ ผลสำรวจเปิดเผยว่า รายได้ของธุรกิจโรงแรมในเดือนมกราคม 2565 ยังอยู่ในระดับต่ำ ใกล้เคียงเดือนธันวาคม 2564 โดยโรงแรมราว 49% ยังมีรายได้กลับมาไม่ถึง 30% เมื่อเทียบกับก่อนการระบาด และมีโรงแรมเพียง 26% ที่รายได้กลับมาแล้วเกินครึ่งหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออก
อัตราการเข้าพัก : โอมิครอนทำยอดเข้าพักโรงแรมหดตัว
ผลสำรวจพบว่า ในเดือนมกราคม 2565 มียอดอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 32% ลดลงจากเดือน ธ.ค. 64 ที่ 37% โดยเป็นการปรับลดลงของโรงแรมในเกือบทุกภูมิภาค จากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ Omicron ในวงกว้าง และการยกเลิกมาตรการ Test & Go รายใหม่ชั่วคราว ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง ยกเว้นโรงแรมในภาคใต้ที่ยังได้รับอานิสงส์จากการรับนักท่องเที่ยว Sandbox ส่งผลให้อัตราการเข้าพักยังสูงกว่าภาคอื่น
อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราการเข้าพักในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จะชะลอลงจากเดือนมกราคมมาอยู่ที่ 24% กลับมาใกล้เคียงกับเดือนตุลาคม 2564 หรือช่วงก่อนเปิดประเทศ
นอกจากนี้ อัตราการเข้าพักของโรงแรมที่เป็น AQ ซึ่งตอบแบบสำรวจจำนวน 18 แห่ง (ภาคกลาง 15 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ง และภาคใต้ 1 แห่ง) มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนธันวาคม 2564 มาอยู่ที่ 33% ในเดือนมกราคม 2565 ขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 25%
ส่วนโรงแรมที่เป็น Hospitel ซึ่งตอบแบบสำรวจจำนวน 7 แห่ง (ภาคกลาง 3 แห่ง ภาคใต้ 3 แห่ง และภาคตะวันออก 1 แห่ง) มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2564 มาอยู่ที่ 38% ในเดือนมกราคม 2565 สอดคล้องกับจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ Omicron ในประเทศหลังช่วงเทศกาลปีใหม่ ขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 คาดว่าลดลงมาอยู่ที่ 22%
ส่วนใหญ่เหลือสภาพคล่องไม่เกิน 3 เดือน
ในเดือนมกราคม 2565 โรงแรมส่วนใหญ่มีสภาพคล่องลดลงจากเดือนธันวาคม 2564 และมีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 53% ของผู้ตอบแบบสำรวจ โดยมีสัดส่วนของกลุ่มที่มีสภาพคล่องน้อยกว่า 1 เดือนอยู่ที่ 11% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน สอดคล้องกับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยที่ลดลง ขณะที่มีโรงแรมที่สภาพคล่องเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเพียง 17% โดยส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยราว 40-55%
การจ้างงาน
ผลสำรวจเปิดเผยว่า เดือนมกราคม 2565 โรงแรมมีการจ้างงานเฉลี่ยลดลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 63.6% ของการจ้างงานเดิมก่อนเกิด COVID-19 (หากไม่รวมกลุ่มที่ปิดกิจการชั่วคราวการจ้างงานเฉลี่ยอยู่ที่ 64.7%) โดยมีการจ้างงานลดลงในเกือบทุกภาค สอดคล้องกับอัตราการเข้าพักที่ลดลง ยกเว้นโรงแรมในภาคใต้
สัดส่วนยกเลิกการจองห้องพัก
จากการสำรวจพบว่า สัดส่วนยกเลิกการจองห้องพัก จากการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ Omicron ส่งผลให้เห็นลูกค้ายกเลิกการจองห้องพักในเดือนมกราคม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนในทุกภูมิภาค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการยกเลิกการจองน้อยกว่า 25% ของยอดจองทั้งหมด ยกเว้นโรงแรมในภาคตะวันออกที่เกือบครึ่งมีลูกค้ายกเลิกการจองมากกว่า 50% ของยอดจองทั้งหมด
มาตรการช่วยเหลือที่ผู้ประกอบการต้องการจากภาครัฐ
1. โรงแรมส่วนใหญ่ต้องการสนับสนุนค่าจ้างพนักงานเดิม (Co-payment) และให้พักชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ย
2. มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว เช่น การเพิ่มจำนวนห้อง และระยะเวลาโครงการเราเที่ยวด้วยกัน สนับสนุนการจัดประชุมสำหรับองค์กร และด้านการตลาดหลังโควิด
3. รีไฟแนนซ์เงินกู้ระยะสั้นเป็นระยะยาวแบบปลอดเงินต้น
4. สนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข เช่น ค่า ATK
และ 5. สร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยจากการเปิดประเทศ ควรมีความชัดเจนของมาตรการรัฐและการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าสู่ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว ก่อนปฏิบัติจริงทั้งระบบที่รองรับการยื่นคำขอเข้าประเทศ และการจองคิวตรวจ RT-PCR