ผวา ‘โอมิครอน’ กระทบ กิน-เที่ยว ปีใหม่ ‘หอการค้า’ ชี้สะพัดแค่ 8.5 หมื่นล้าน ต่ำสุดรอบ 12 ปี
https://www.matichon.co.th/economy/news_3101875
ผวา ‘โอมิครอน’ กระทบบรรยากาศกิน-เที่ยวช่วงปีใหม่ ม.หอค้าชี้ผิดคาด สะพัดแค่ 8.5 หมื่นล้าน ต่ำสุดรอบ 12 ปี
นาย
ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงวันปีใหม่ และความคิดเห็นต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ช่วงวันที่ 14-13 ธันวาคม 2564 พบว่า ส่วนใหญ่ 50% ระบุว่าบรรยากาศขึ้นปีใหม่ 2565 ไม่คึกคัก อีก 33% ระบุคึกคักเท่าปีก่อน เพียง17% ระบุว่าคึกคัก ปัจจัยจากกังวลภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดีนัก วิตกต่อความรุนแรงของการระบาดของโอมิครอนทั่วโลกรวมถึงในไทย และปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง จึงทำให้กว่า 50% ระบุอยู่บ้าน ลดการออกไปทำกิจกรรมหรือทานอาหารนอกบ้าน ยกเลิกหรือลดการเดินทางระยะไกล จึงมีผลต่อการใช้จ่ายและส่วนใหญ่ระบุใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคและการท่องเที่ยวลดลง จึงส่งผลต่อเงินสะพัดใช้จ่ายขึ้นปีใหม่ 2565 ทั่วประเทศอยู่ที่ 85,796 ล้านบาท ติดลบ 6.2% แยกเป็นเงินสะพัดในกรุงเทพฯ 35,176 ล้านบาท ต่างจังหวัดรวมกัน 50,619 ล้านบาท
“ถือว่าผิดคาด เดิมนั้นคาดว่าผลจากมาตรการกระตุ้นใช้จ่ายภาครัฐและคลายล็อกมาตรการของภาครัฐ เปิดประเทศ เปิดรับนักท่องเที่ยว และจัดเคาต์ดาวน์ จะกระตุ้นใช้จ่ายและเดินทางจนเกิดเงินสะพัด 1.3 แสนล้านบาท แต่เมื่อความกังวลเรื่องโอมิครอนและหนี้ครัวเรือนยังสูง จนเหลือแค่ 8.5 หมื่นล้านบาท ทำสถิติมูลค่าต่ำสุดในรอบ 12 ปีนับจากปี 2554 และยอดใช้จ่ายและท่องเที่ยวต่อคนต่ำสุดในรอบ 15 ปี เฉพาะยกเลิกเคาต์ดาวน์กระทบต่อเศรษฐกิจ 3-5 หมื่นล้านบาท” นาย
ธนวรรธน์ กล่าว
นาย
ธนวรรธน์ กล่าวต่อว่า จากการสำรวจความเห็นต่อปัจจัยที่น่าห่วงในปี 2565 คือ เศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การเมือง ราคาน้ำมัน และการแพร่ระบาดของโควิด โดยประชาชนประเมินการแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งด้านการแพร่ระบาด เศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ ความข้ดแย้ง ปัญหาสังคมและคอรัปชั่น ระดับ 7 เต็ม 10 คะแนน โดยกว่า 50% ระบุว่าเศรษฐกิจโดยรวมปี 2565 แย่ลง และเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่า 3% โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะเป็นบวกทุกไตรมาส ผลจากรัฐออกมาตรการต่อเนื่อง เช่น คนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน เราเที่ยวด้วยกัน การกระตุ้นใช้จ่ายช่วงตรุษจีน เป็นต้น โดยประชาชนเสนอให้รัฐบาลเร่งดูแลค่าครองชีพ เช่น ปรับค่าแรงขั้นต่ำ ยกเว้นภาษี ลดค่าสาธารณูปโภค ควบคุมราคาสินค้า ลดภาษี รวมถึงเข้าถึงแหล่งกู้ดอกเบี้ยต่ำ ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 ยอมรับได้งดรับต่าง
คราว หากโอไมครอนระบาดรุนแรง เพราะหลังมีกระแสข่าวโอไมครอนระบาดมากขึ้น กว่า 40% ยกเลิกห้องพักและแผนเดินทาง และรัฐเดินหน้าลงทุน เพิ่มมาตรการกระตุ้นต่อเนื่อง
“คงต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโอมิครอน ว่าจะเพิ่มความวิตกของประชาชนมากขึ้นแต่ไหน ซึ่งจะมีผลต่อถึงไตรมาสแรกปี 2565 ซึ่งขณะนี้โอมิครอนที่ทำให้เลิกการจัดกิจกรรมและประชาชนลดเดินทางสูญแล้ว 3-5 หมื่นล้านบาท หากมีการล็อกดาวน์แบบบางพื้นที่ อาจเสียหายเพิ่มอีก 3-5 แสนล้านบาท แต่หากรัฐใช้การปิดประเทศ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เฉลี่ยเข้ามา 2-3 หมื่นต่อเดือนตอนนี้ก็จะหายไป เท่ากับสูญเสียประมาณ 1 หมื่นล้านบาท และกระทบต่อถึงยอดรวมนักท่องเที่ยวปี 2565 เดิมคาดไว้ 5-6 ล้านคน ใช้จ่าย 2-3 แสนล้านบาท ก็จะเหลือ 3 ล้านคน ใช้จ่ายเหลือ 1-1.5 แสน เท่ากับกระทบจีดีพี1% ทั้งปีหน้า คาดโต 4-4.5% ก็จะเหลือ 3% เบื้องต้นผู้ประกอบการยังไม่เห็นด้วยที่จะล็อกดาวน์ ” นาย
ธนววรธน์ กล่าว
ค่ายรถหวั่น “โอมิครอน” ไล่ทุบตลาด
https://www.thairath.co.th/business/economics/2272245
นาย
สุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานในฐานะที่โตโยต้าเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ในไทยถึงยอดขายรถยนต์รวมทุกยี่ห้อและทุกประเภทประจำเดือน พ.ย.2564 ว่ามีทั้งสิ้น 71,716 คัน ลดลง 9.4% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ประกอบด้วย ตลาดรถยนต์นั่ง 23,793 คัน ลดลง 6.5% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ 47,923 คัน ลดลง 10.8% สำหรับยอดขายรถกระบะขนาด 1 ตัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ มียอดขาย 38,550 คัน ลดลง 9.9%
บริษัท โตโยต้าฯได้ตั้งข้อสังเกตถึงยอดขายรถยนต์ประจำเดือน พ.ย.2564 ว่ายังคงชะลอตัวต่อเนื่องในทุกเซ็กเมนต์ สืบเนื่องจากภาวะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงเกิดขึ้นทั่วประเทศ ส่งผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ตลอดจนการดำเนินธุรกิจ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจการท่องเที่ยว และบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้บริโภคยังคงชะลอการตัดสินใจซื้อ และรัดกุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อรอจังหวะการใช้จ่ายที่เหมาะสม
ขณะที่ตลาดรถยนต์ในเดือน ธ.ค.มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลดีต่อการประกอบธุรกิจต่างๆ และประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงกับในสภาวะปกติ ทั้งนี้ ยังเป็นการลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว โดยสถานการณ์ตลาดรถยนต์จะขยับตัวดีขึ้น สืบเนื่องจากทุกค่ายรถยนต์ต่างแข่งขันกันนำเสนอแคมเปญส่งเสริมการขายในช่วงสิ้นปี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2021 เมื่อต้นเดือน ธ.ค.ปีนี้ ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมากถึง 1,151,540 คน และยอดจองรถยนต์ในงานมากถึง 31,583 คัน ไม่นับรวมยอดจองรถยนต์ตามโชว์รูมผู้แทนจำหน่ายทุกยี่ห้อทั่วประเทศ ภายใต้ข้อเสนอพิเศษ “
เงื่อนไขเดียวกับมอเตอร์โชว์” เป็นตัวกระตุ้นการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของลูกค้าได้อย่างสัมฤทธิผล แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” ที่เริ่มมีการแพร่ระบาดในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย เป็นปัจจัยลบต่อสถานการณ์ตลาดรถยนต์และสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ต้องจับตามองต่อไป.
โอมิครอนลามทั่วปท. 16% พบในแล็บกทม. 40% ภูมิภาค 8% เริ่มชัดไม่แรง แต่แพร่เร็วมาก
https://www.matichon.co.th/local/news_3102139
โอมิครอนลามทั่วปท.แล้ว 16% พบในแล็บกรุงเทพฯ 40% ภูมิภาค 8% เริ่มชัดไม่แรง แต่แพร่เร็วมาก
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.
ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงสถานการณ์โรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ในประเทศไทย ว่า ขณะนี้พบเชื้อโอมิครอนแล้วใน 106 ประเทศ ซึ่งอาจมีมากกว่านี้ เพราะบางประเทศอาจจะไม่ได้มีการตรวจหาสายพันธุ์ ส่วนในสหรัฐอเมริกาพบผู้ติดเชื้อเกือบครบทุกรัฐแล้ว ยืนยันว่าโอมิครอนมีสายพันธุ์ย่อยอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ BA.1 2 และ 3 ซึ่งที่ระบาดตอนนี้คือ BA.1 หรือสายพันธุ์เดิมที่มีการกลายพันธุ์ในช่วงแรก และยืนยันว่า กรมวิทยาศาสตร์ฯ ยังสามารถตรวจจับได้ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อกลายพันธุ์ไหน
“สำหรับข้อมูลการแพร่ระบาดในต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ (แล็บ) ด้วยการเอาเชื้อโอมิครอนใส่เข้าไปในทางเดินหายใจ หรือหลอดลม พบว่า มีการแพร่ขยายเร็วมากกว่าเชื้อเดลต้า ประมาณ 70 เท่า แต่พอไปลงไปถึงปอด ที่จะเป็นจุดที่อันตรายแก่ชีวิตนั้น กลับพบว่าไม่ค่อยทำลายเนื้อปอดมากเท่ากับเชื้อเดลต้า นี่อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่า ทำไมเชื้อโอมิครอนถึงแพร่เร็ว เพราะมีปริมาณเชื้อชุกชุมในทางเดินหายใจส่วนบน แต่กลับไม่ค่อยมีอันตรายอะไรมาก อย่างไรก็ตาม ยังเป็นเพียงการศึกษาหนึ่งเท่านั้น ส่วนอังกฤษซึ่งมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พบว่า หากติดเชื้อในครัวเรือน เชื้อเดลต้ามีอัตราการแพร่เชื้ออยู่ที่ ร้อยละ 10.3 ขณะที่โอมิครอนขึ้นเป็น ร้อยละ 15.8 แต่ถ้าเป็นการแพร่ระบาดในชุมชนเชื้อเดลต้า สามารถแพร่กระจายได้ ร้อยละ 3 ส่วนโอมิครอนจะติดเชื้อได้ ร้อยละ 8.7 สำหรับตัวเลขในสหรัฐ เดิมเป็นเชื้อเดลต้าทั้งหมด แต่ล่าสุดพบว่าเป็นเชื้อโอมิครอนมากกว่า ร้อยละ 70 สัดส่วนเปลี่ยนค่อนข้างเร็ว” นพ.
ศุภกิจ กล่าว
ทั้งนี้ นพ.
ศุภกิจ กล่าวว่า ความรุนแรง กรณีที่อังกฤษ หากติดเชื้อเดลต้า เข้าโรงพยาบาล (รพ.) ราวร้อยละ 50 และผู้ที่นอนมากกว่า 1 วันขึ้นไปมีประมาณร้อยละ 61 แต่หากเป็นโอมิครอนจะเข้า รพ.ร้อยละ 20-25 และนอน รพ.มากกว่า 1 วัน ประมาณ ร้อยละ 40-45 ขณะที่ แอฟริกาใต้ก็พบสถานการณ์ใกล้เคียงกัน ว่าโอมิครอนทำให้เกิดการนอน รพ. ร้อยละ 2.5 ส่วนเชื้อตัวอื่นขึ้นไปถึง ร้อยละ 12.8 นับว่าเป็นนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเรื่องอาการหนักเชื้อโอมิครอนทำให้อาการหนัก ร้อยละ 21 ส่วนเชื้ออื่นอาการหนัก ร้อยละ 40 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตัวเลขการศึกษายังไม่มากพอที่จะทำให้การพิสูจน์ทางการศึกษายังไม่มีนัยสำคัญมากพอ
“หน่วยงานควบคุมโรคของสหรัฐ (CDC) พูดชัดเจนว่า คนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ซึ่งเท่ากับเป็นการฉีดวัคซีนโดยธรรมชาติ หรือมีการติดเชื้อสายพันธุ์อื่นๆ ก่อนหน้านี้ หรือได้รับวัคซีนรุ่นที่ 1 จะป้องกันเชื้อโอมิครอนได้ไม่มาก แต่อาการรุนแรงลดลง เทียบกับคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือไม่เคยติดเชื้อมาก่อน เพราะฉะนั้น หมายความว่าวัคซีนยังสามารถช่วยป้องกันความรุนแรงของโรคได้ และมีหลายการศึกษาบอกว่าหากมีการฉีดวัคซีนบูสเตอร์โดสจะทำให้ยกระดับภูมิคุ้มกันสูงมากพอ จะช่วยลดการติดเชื้อ ลดอาการป่วยหนักรุนแรง ซึ่งเป็นนโยบายของประเทศไทยในการเร่งรัดให้คนที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม แล้วไม่ว่าจะเป็นสูตรไหนก็ตาม หากได้รับเข็มที่ 2 นาน 3 เดือนแล้ว ควรมาฉีดบูสเตอร์เพื่อยกระดับภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น” นพ.
ศุภกิจ กล่าว
นพ.
ศุภกิจ กล่าวถึงสถานการณ์ในประเทศไทย ว่า ล่าสุด ยังไม่มีเคสโอมิครอนตั้งต้น (Index case) ในประเทศ ส่วนการตรวจคนเดินทางมาจากต่างประเทศ และการสุ่มตรวจสายพันธุ์ในประเทศรอบ นี้ไม่เจอเชื้ออัลฟ่า และเบต้า แต่พบสายพันธุ์เดลต้า 732 ราย โอมิครอน สะสม 205 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 180 ราย คนไทยที่ไม่เคยมีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ 25 ราย โดยยังเป็นการติดเชื้อที่มีความสัมพันธ์กับผู้เดินทางมาจากผู้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ในจำนวนนี้มีคลัสเตอร์ใหญ่ที่สุด คือ สามีภรรยา ที่ จ.กาฬสินธุ์ ขณะนี้ตรวจพบเชื้อรวมสามีภรรยา เป็น 22 ราย ในจำนวนนี้มี 5 ราย ที่ตัวอย่างไม่สมบูรณ์อยู่ระหว่างการเก็บสิ่งส่งตรวจใหม่ ส่วนคลัสเตอร์อื่นอยู่ระหว่างการสอบสวนโรคคือ คลัสเตอร์ 3 ราย จากผู้แสวงบุญ มีแม่บ้านในโรงแรมแห่งหนึ่งจำนวน 1 รายและอีก 1 ราย คือ ภรรยาของนักบินที่ได้มีการรายงานไปก่อนหน้านี้
นพ.
ศุภกิจ กล่าวว่า ถ้าดูภาพรวมภายในประเทศเกือบพันตัวอย่าง จะพบว่าเป็นการติดเชื้อโอมิครอน ประมาณร้อยละ 16 พบจากการตรวจแล็บในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 40 ภูมิภาค ร้อยละ 8 ทั้งนี้สาเหตุที่ กรุงเทพฯ มาก เพราะมีการส่งตัวอย่างมาตรวจที่กรุงเทพฯ มาก
“เมื่อแยกคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศและกลุ่มอื่นที่อยู่ในประเทศ ซึ่งจากเดิมที่เรารายงานเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า พบโอมิครอน 1 ใน 4 ของผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ แต่ขณะนี้พบได้ ร้อยละ 53 ในกลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ และเริ่มพบคนที่อยู่ภายในประเทศจำนวนหนึ่งประมาณร้อยละ 3.8 จะเห็นว่าภาพรวมในทุกกลุ่มนี้กราฟชันขึ้น นั่นหมายความว่าในช่วงเวลาเดียวกันมีการติดเชื้อค่อนข้างเร็ว ซึ่งเป็นหลักการของโรคติดต่ออยู่แล้วว่าจะมีการแพร่กระจายได้เร็วขึ้นในระยะเวลาถัดไป” นพ.
ศุภกิจ กล่าว
JJNY : ผวา‘โอมิครอน’กระทบกิน-เที่ยวปีใหม่│ค่ายรถหวั่น“โอมิครอน”│โอมิครอนลามทั่วปท. 16%│ธนาธรแย้มก้าวไกลจับมือก้าวหน้า
https://www.matichon.co.th/economy/news_3101875
ผวา ‘โอมิครอน’ กระทบบรรยากาศกิน-เที่ยวช่วงปีใหม่ ม.หอค้าชี้ผิดคาด สะพัดแค่ 8.5 หมื่นล้าน ต่ำสุดรอบ 12 ปี
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงวันปีใหม่ และความคิดเห็นต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ช่วงวันที่ 14-13 ธันวาคม 2564 พบว่า ส่วนใหญ่ 50% ระบุว่าบรรยากาศขึ้นปีใหม่ 2565 ไม่คึกคัก อีก 33% ระบุคึกคักเท่าปีก่อน เพียง17% ระบุว่าคึกคัก ปัจจัยจากกังวลภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดีนัก วิตกต่อความรุนแรงของการระบาดของโอมิครอนทั่วโลกรวมถึงในไทย และปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง จึงทำให้กว่า 50% ระบุอยู่บ้าน ลดการออกไปทำกิจกรรมหรือทานอาหารนอกบ้าน ยกเลิกหรือลดการเดินทางระยะไกล จึงมีผลต่อการใช้จ่ายและส่วนใหญ่ระบุใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคและการท่องเที่ยวลดลง จึงส่งผลต่อเงินสะพัดใช้จ่ายขึ้นปีใหม่ 2565 ทั่วประเทศอยู่ที่ 85,796 ล้านบาท ติดลบ 6.2% แยกเป็นเงินสะพัดในกรุงเทพฯ 35,176 ล้านบาท ต่างจังหวัดรวมกัน 50,619 ล้านบาท
“ถือว่าผิดคาด เดิมนั้นคาดว่าผลจากมาตรการกระตุ้นใช้จ่ายภาครัฐและคลายล็อกมาตรการของภาครัฐ เปิดประเทศ เปิดรับนักท่องเที่ยว และจัดเคาต์ดาวน์ จะกระตุ้นใช้จ่ายและเดินทางจนเกิดเงินสะพัด 1.3 แสนล้านบาท แต่เมื่อความกังวลเรื่องโอมิครอนและหนี้ครัวเรือนยังสูง จนเหลือแค่ 8.5 หมื่นล้านบาท ทำสถิติมูลค่าต่ำสุดในรอบ 12 ปีนับจากปี 2554 และยอดใช้จ่ายและท่องเที่ยวต่อคนต่ำสุดในรอบ 15 ปี เฉพาะยกเลิกเคาต์ดาวน์กระทบต่อเศรษฐกิจ 3-5 หมื่นล้านบาท” นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวต่อว่า จากการสำรวจความเห็นต่อปัจจัยที่น่าห่วงในปี 2565 คือ เศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การเมือง ราคาน้ำมัน และการแพร่ระบาดของโควิด โดยประชาชนประเมินการแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งด้านการแพร่ระบาด เศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ ความข้ดแย้ง ปัญหาสังคมและคอรัปชั่น ระดับ 7 เต็ม 10 คะแนน โดยกว่า 50% ระบุว่าเศรษฐกิจโดยรวมปี 2565 แย่ลง และเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่า 3% โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะเป็นบวกทุกไตรมาส ผลจากรัฐออกมาตรการต่อเนื่อง เช่น คนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน เราเที่ยวด้วยกัน การกระตุ้นใช้จ่ายช่วงตรุษจีน เป็นต้น โดยประชาชนเสนอให้รัฐบาลเร่งดูแลค่าครองชีพ เช่น ปรับค่าแรงขั้นต่ำ ยกเว้นภาษี ลดค่าสาธารณูปโภค ควบคุมราคาสินค้า ลดภาษี รวมถึงเข้าถึงแหล่งกู้ดอกเบี้ยต่ำ ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 ยอมรับได้งดรับต่างคราว หากโอไมครอนระบาดรุนแรง เพราะหลังมีกระแสข่าวโอไมครอนระบาดมากขึ้น กว่า 40% ยกเลิกห้องพักและแผนเดินทาง และรัฐเดินหน้าลงทุน เพิ่มมาตรการกระตุ้นต่อเนื่อง
“คงต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโอมิครอน ว่าจะเพิ่มความวิตกของประชาชนมากขึ้นแต่ไหน ซึ่งจะมีผลต่อถึงไตรมาสแรกปี 2565 ซึ่งขณะนี้โอมิครอนที่ทำให้เลิกการจัดกิจกรรมและประชาชนลดเดินทางสูญแล้ว 3-5 หมื่นล้านบาท หากมีการล็อกดาวน์แบบบางพื้นที่ อาจเสียหายเพิ่มอีก 3-5 แสนล้านบาท แต่หากรัฐใช้การปิดประเทศ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เฉลี่ยเข้ามา 2-3 หมื่นต่อเดือนตอนนี้ก็จะหายไป เท่ากับสูญเสียประมาณ 1 หมื่นล้านบาท และกระทบต่อถึงยอดรวมนักท่องเที่ยวปี 2565 เดิมคาดไว้ 5-6 ล้านคน ใช้จ่าย 2-3 แสนล้านบาท ก็จะเหลือ 3 ล้านคน ใช้จ่ายเหลือ 1-1.5 แสน เท่ากับกระทบจีดีพี1% ทั้งปีหน้า คาดโต 4-4.5% ก็จะเหลือ 3% เบื้องต้นผู้ประกอบการยังไม่เห็นด้วยที่จะล็อกดาวน์ ” นายธนววรธน์ กล่าว
ค่ายรถหวั่น “โอมิครอน” ไล่ทุบตลาด
https://www.thairath.co.th/business/economics/2272245
นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานในฐานะที่โตโยต้าเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ในไทยถึงยอดขายรถยนต์รวมทุกยี่ห้อและทุกประเภทประจำเดือน พ.ย.2564 ว่ามีทั้งสิ้น 71,716 คัน ลดลง 9.4% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ประกอบด้วย ตลาดรถยนต์นั่ง 23,793 คัน ลดลง 6.5% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ 47,923 คัน ลดลง 10.8% สำหรับยอดขายรถกระบะขนาด 1 ตัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ มียอดขาย 38,550 คัน ลดลง 9.9%
บริษัท โตโยต้าฯได้ตั้งข้อสังเกตถึงยอดขายรถยนต์ประจำเดือน พ.ย.2564 ว่ายังคงชะลอตัวต่อเนื่องในทุกเซ็กเมนต์ สืบเนื่องจากภาวะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงเกิดขึ้นทั่วประเทศ ส่งผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ตลอดจนการดำเนินธุรกิจ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจการท่องเที่ยว และบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้บริโภคยังคงชะลอการตัดสินใจซื้อ และรัดกุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อรอจังหวะการใช้จ่ายที่เหมาะสม
ขณะที่ตลาดรถยนต์ในเดือน ธ.ค.มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลดีต่อการประกอบธุรกิจต่างๆ และประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงกับในสภาวะปกติ ทั้งนี้ ยังเป็นการลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว โดยสถานการณ์ตลาดรถยนต์จะขยับตัวดีขึ้น สืบเนื่องจากทุกค่ายรถยนต์ต่างแข่งขันกันนำเสนอแคมเปญส่งเสริมการขายในช่วงสิ้นปี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2021 เมื่อต้นเดือน ธ.ค.ปีนี้ ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมากถึง 1,151,540 คน และยอดจองรถยนต์ในงานมากถึง 31,583 คัน ไม่นับรวมยอดจองรถยนต์ตามโชว์รูมผู้แทนจำหน่ายทุกยี่ห้อทั่วประเทศ ภายใต้ข้อเสนอพิเศษ “เงื่อนไขเดียวกับมอเตอร์โชว์” เป็นตัวกระตุ้นการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของลูกค้าได้อย่างสัมฤทธิผล แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” ที่เริ่มมีการแพร่ระบาดในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย เป็นปัจจัยลบต่อสถานการณ์ตลาดรถยนต์และสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ต้องจับตามองต่อไป.
โอมิครอนลามทั่วปท. 16% พบในแล็บกทม. 40% ภูมิภาค 8% เริ่มชัดไม่แรง แต่แพร่เร็วมาก
https://www.matichon.co.th/local/news_3102139
โอมิครอนลามทั่วปท.แล้ว 16% พบในแล็บกรุงเทพฯ 40% ภูมิภาค 8% เริ่มชัดไม่แรง แต่แพร่เร็วมาก
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงสถานการณ์โรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ในประเทศไทย ว่า ขณะนี้พบเชื้อโอมิครอนแล้วใน 106 ประเทศ ซึ่งอาจมีมากกว่านี้ เพราะบางประเทศอาจจะไม่ได้มีการตรวจหาสายพันธุ์ ส่วนในสหรัฐอเมริกาพบผู้ติดเชื้อเกือบครบทุกรัฐแล้ว ยืนยันว่าโอมิครอนมีสายพันธุ์ย่อยอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ BA.1 2 และ 3 ซึ่งที่ระบาดตอนนี้คือ BA.1 หรือสายพันธุ์เดิมที่มีการกลายพันธุ์ในช่วงแรก และยืนยันว่า กรมวิทยาศาสตร์ฯ ยังสามารถตรวจจับได้ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อกลายพันธุ์ไหน
“สำหรับข้อมูลการแพร่ระบาดในต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ (แล็บ) ด้วยการเอาเชื้อโอมิครอนใส่เข้าไปในทางเดินหายใจ หรือหลอดลม พบว่า มีการแพร่ขยายเร็วมากกว่าเชื้อเดลต้า ประมาณ 70 เท่า แต่พอไปลงไปถึงปอด ที่จะเป็นจุดที่อันตรายแก่ชีวิตนั้น กลับพบว่าไม่ค่อยทำลายเนื้อปอดมากเท่ากับเชื้อเดลต้า นี่อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่า ทำไมเชื้อโอมิครอนถึงแพร่เร็ว เพราะมีปริมาณเชื้อชุกชุมในทางเดินหายใจส่วนบน แต่กลับไม่ค่อยมีอันตรายอะไรมาก อย่างไรก็ตาม ยังเป็นเพียงการศึกษาหนึ่งเท่านั้น ส่วนอังกฤษซึ่งมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พบว่า หากติดเชื้อในครัวเรือน เชื้อเดลต้ามีอัตราการแพร่เชื้ออยู่ที่ ร้อยละ 10.3 ขณะที่โอมิครอนขึ้นเป็น ร้อยละ 15.8 แต่ถ้าเป็นการแพร่ระบาดในชุมชนเชื้อเดลต้า สามารถแพร่กระจายได้ ร้อยละ 3 ส่วนโอมิครอนจะติดเชื้อได้ ร้อยละ 8.7 สำหรับตัวเลขในสหรัฐ เดิมเป็นเชื้อเดลต้าทั้งหมด แต่ล่าสุดพบว่าเป็นเชื้อโอมิครอนมากกว่า ร้อยละ 70 สัดส่วนเปลี่ยนค่อนข้างเร็ว” นพ.ศุภกิจ กล่าว
ทั้งนี้ นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ความรุนแรง กรณีที่อังกฤษ หากติดเชื้อเดลต้า เข้าโรงพยาบาล (รพ.) ราวร้อยละ 50 และผู้ที่นอนมากกว่า 1 วันขึ้นไปมีประมาณร้อยละ 61 แต่หากเป็นโอมิครอนจะเข้า รพ.ร้อยละ 20-25 และนอน รพ.มากกว่า 1 วัน ประมาณ ร้อยละ 40-45 ขณะที่ แอฟริกาใต้ก็พบสถานการณ์ใกล้เคียงกัน ว่าโอมิครอนทำให้เกิดการนอน รพ. ร้อยละ 2.5 ส่วนเชื้อตัวอื่นขึ้นไปถึง ร้อยละ 12.8 นับว่าเป็นนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเรื่องอาการหนักเชื้อโอมิครอนทำให้อาการหนัก ร้อยละ 21 ส่วนเชื้ออื่นอาการหนัก ร้อยละ 40 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตัวเลขการศึกษายังไม่มากพอที่จะทำให้การพิสูจน์ทางการศึกษายังไม่มีนัยสำคัญมากพอ
“หน่วยงานควบคุมโรคของสหรัฐ (CDC) พูดชัดเจนว่า คนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ซึ่งเท่ากับเป็นการฉีดวัคซีนโดยธรรมชาติ หรือมีการติดเชื้อสายพันธุ์อื่นๆ ก่อนหน้านี้ หรือได้รับวัคซีนรุ่นที่ 1 จะป้องกันเชื้อโอมิครอนได้ไม่มาก แต่อาการรุนแรงลดลง เทียบกับคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือไม่เคยติดเชื้อมาก่อน เพราะฉะนั้น หมายความว่าวัคซีนยังสามารถช่วยป้องกันความรุนแรงของโรคได้ และมีหลายการศึกษาบอกว่าหากมีการฉีดวัคซีนบูสเตอร์โดสจะทำให้ยกระดับภูมิคุ้มกันสูงมากพอ จะช่วยลดการติดเชื้อ ลดอาการป่วยหนักรุนแรง ซึ่งเป็นนโยบายของประเทศไทยในการเร่งรัดให้คนที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม แล้วไม่ว่าจะเป็นสูตรไหนก็ตาม หากได้รับเข็มที่ 2 นาน 3 เดือนแล้ว ควรมาฉีดบูสเตอร์เพื่อยกระดับภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น” นพ.ศุภกิจ กล่าว
นพ.ศุภกิจ กล่าวถึงสถานการณ์ในประเทศไทย ว่า ล่าสุด ยังไม่มีเคสโอมิครอนตั้งต้น (Index case) ในประเทศ ส่วนการตรวจคนเดินทางมาจากต่างประเทศ และการสุ่มตรวจสายพันธุ์ในประเทศรอบ นี้ไม่เจอเชื้ออัลฟ่า และเบต้า แต่พบสายพันธุ์เดลต้า 732 ราย โอมิครอน สะสม 205 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 180 ราย คนไทยที่ไม่เคยมีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ 25 ราย โดยยังเป็นการติดเชื้อที่มีความสัมพันธ์กับผู้เดินทางมาจากผู้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ในจำนวนนี้มีคลัสเตอร์ใหญ่ที่สุด คือ สามีภรรยา ที่ จ.กาฬสินธุ์ ขณะนี้ตรวจพบเชื้อรวมสามีภรรยา เป็น 22 ราย ในจำนวนนี้มี 5 ราย ที่ตัวอย่างไม่สมบูรณ์อยู่ระหว่างการเก็บสิ่งส่งตรวจใหม่ ส่วนคลัสเตอร์อื่นอยู่ระหว่างการสอบสวนโรคคือ คลัสเตอร์ 3 ราย จากผู้แสวงบุญ มีแม่บ้านในโรงแรมแห่งหนึ่งจำนวน 1 รายและอีก 1 ราย คือ ภรรยาของนักบินที่ได้มีการรายงานไปก่อนหน้านี้
นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ถ้าดูภาพรวมภายในประเทศเกือบพันตัวอย่าง จะพบว่าเป็นการติดเชื้อโอมิครอน ประมาณร้อยละ 16 พบจากการตรวจแล็บในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 40 ภูมิภาค ร้อยละ 8 ทั้งนี้สาเหตุที่ กรุงเทพฯ มาก เพราะมีการส่งตัวอย่างมาตรวจที่กรุงเทพฯ มาก
“เมื่อแยกคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศและกลุ่มอื่นที่อยู่ในประเทศ ซึ่งจากเดิมที่เรารายงานเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า พบโอมิครอน 1 ใน 4 ของผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ แต่ขณะนี้พบได้ ร้อยละ 53 ในกลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ และเริ่มพบคนที่อยู่ภายในประเทศจำนวนหนึ่งประมาณร้อยละ 3.8 จะเห็นว่าภาพรวมในทุกกลุ่มนี้กราฟชันขึ้น นั่นหมายความว่าในช่วงเวลาเดียวกันมีการติดเชื้อค่อนข้างเร็ว ซึ่งเป็นหลักการของโรคติดต่ออยู่แล้วว่าจะมีการแพร่กระจายได้เร็วขึ้นในระยะเวลาถัดไป” นพ.ศุภกิจ กล่าว