สอบถาม "วิตก" ในการฝึกจิตภาวนา คือ อย่างไร ?

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม

วิตก ความตรึก, ตริ,
       การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือปักจิตลงสู่อารมณ์ (ข้อ ๑ ในองค์ฌาน ๕),
       การคิด, ความดำริ;
       ไทยใช้ว่าเป็นห่วงกังวล
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C7%D4%B5%A1

. . . 

#ปุจฉา วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ตัวไหนเกิดก่อนก็ได้ใช่ไหมครับ
#วิสัชนา ต้องเกิดตามลำดับค่ะ องค์ฌาน 5 เป็นองค์ประกอบของ ฌานที่ 1
https://web.facebook.com/wapukaew/posts/3037813852958015/?_rdc=1&_rdr

. . .

ต่อไปคือเนื้อหากระทู้

"วิตก" ในการฝึกจิตภาวนา คือ อย่างไร

ขออธิบายตามความเข้าใจของกระผมก่อน
"การฝึกจิตภาวนา" นั้นคือ การฝึกจิตให้มีสติอยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน ได้นาน ๆ ในระยะเวลาหนึ่ง ยังผลให้เกิดสมาธิ เกิดความสงบ จนได้ผลเป็นสมาธิขั้นต่าง ๆ 
มีความหมายเดียวกับ "สมถภาวนา"

ปัจจุบัน กระผมได้มีการฝึกโดย
(1) บางครั้งก็ (พยายาม) อยู่กับลมหายใจ เข้า-ออก โดยไม่ท่องคำใด ๆ 
(2) บางครั้งก็ มีการกำหนดคำประกอบลมหายใจเข้า-ออก คือ หายใจเข้าท่องพุท หายใจออกท่องโท ในใจเบา ๆ 

กระผมอยากทราบว่า... วิตก ที่กระผมเข้าใจว่า (น่าจะ) คือ การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ที่ใช้กำหนดหมายในกรรมฐานนั้น ๆ ใช่หรือไม่ครับ ? (เช่น ลมหายใจ, คำบริกรรมพุทโธ)

ตัวอย่าง

(1) การระลึกรู้ตัวถึงลม, การระลึกรู้ตัวว่าขณะนี้ลมหายใจเข้า การระลึกรู้ตัวว่าขณะนี้ลมหายใจออก นี่คืออาการหรือลักษณะของ "วิตก"

(2) การระลึกรู้ตัวนึกถึงหรือได้ยินเสียงถ้อยคำที่ท่องในใจ ว่าพุท พร้อมกับระลึกรู้ตัวลมหายใจเข้า  และ การระลึกรู้ตัวนึกถึงหรือได้ยินเสียงถ้อยคำที่ท่องในใจ ว่าโท พร้อมกับระลึกรู้ตัวลมหายใจออก อย่างนี้คืออาการหรือลักษณะของ "วิตก"

. . .

กระผมอยากทราบว่า กระผมเข้าใจลักษณะของ "วิตก" ถูกหรือไม่
เพื่อความเข้าใจในการปฏิบัติจิตภาวนามากขึ้นครับ...

ขอบพระคุณทุกท่านครับผม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่