ไม้ไผ่ เปรียบเทียบกับ เหล็ก


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Bamboo Engineering





ในอดีตก่อนที่จะมีการนำเหล็กเข้ามาใช้งานกัน
ไม้ไผ่เป็นวัสดุก่อสร้างหลัก ใช้สร้างบ้านเรือนและอาคารอื่น ๆ
ในภูมิภาคที่ด้อยพัฒนา และพัฒนาแล้วทั่วโลก
คนส่วนใหญ่มองไม้ไผ่ในแง่ลบ 
ในด้านโครงสร้างที่ไม่มั่นคง  ซึ่งตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริง






ไม้ไผ่เหนือกว่าเหล็กหรือไม่

ในแง่ของความทนต่อแรงดึง Tensile Strength
ไม้ไผ่มีความทนต่อแรงดึง 21,500 – 55,700 psi
ส่วนเหล็กมีความทนต่อแรงดึง  23,000 psi
ไม้ไผ่มีข้อได้เปรียบเหนือเหล็กที่ 28,000 psi อย่างมีนัยสำคัญ






หากพิจารณาที่ความแข็งแรงของวัสดุ 
มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง 
ความต้านทานของสิ่งของต่อการแตกหัก
หรือการแยกตัวภายใต้ความเค้น
เรียกว่า ความทนต่อแรงดึง

ไม้ไผ่มีโมเลกุลหนาแน่นกว่าเหล็ก
ทำให้แข็งแรงขึ้นและมีประโยชน์หลายอย่าง
ตั้งแต่วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย
และยารักษาโรค ไม้ไผ่จึงเป็นทรัพยากรชั้นเยี่ยม

ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา 
มีไม้ไผ่ให้เลือกมากกว่า 490 สายพันธุ์ 
แต่ที่เติบโตเร็วที่สุดจะมีเพียง 2-3 สายพันธุ์
ไม้ไผ่สามารถเติบโตได้สูงถึง 3 ฟุตทุกวัน
และเติบโตได้ 3- 5 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์






เมื่อเปรียบเทียบกับพืชชนิดอื่น 
ไม้ไผ่จะปล่อยออกซิเจนออกสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่า 30%
ซึ่งมีเหตุผลที่มากพอที่จะปลูกไม้ไผ่มากขึ้น
ในยุคที่มลพิษทางอากาศเพิ่มสูงขึ้น และโอโซนลดน้อยลง
ทั้งยังช่วยป้องกันการพังทลายของดิน

ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของไม้ไผ่

1 การสร้างอาคาร ผนัง เฟอร์นิเจอร์ และโครงจักรยาน 
2 มีคุณสมบัติต้านจุลชีพและความร้อน เส้นใย
ไม้ไผ่จึงถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในเสื้อผ้าชั้นนอก
3 การดูดซับของถ่านไม้ไผ่ ทำให้ระงับกลิ่นกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4 ถูกนำมาใช้ในอาหารและยาในหลายรูปแบบ
5 ใช้ในการปรับปรุงรสชาติของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
6 สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพแวดล้อม
และแทบไม่ต้องใช้ปุ๋ยในการเจริญเติบโต
ใบร่วงของไผ่จะเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้อื่น ๆ 

วิศวกรและนักวิจัยในปัจจุบันต่างกระตือรือร้น
ที่จะเปลี่ยนไปใช้ไม้ไผ่แทนเหล็ก ในด้านการทนต่อแรงดึง
การใช้เหล็กในคอนกรีตมีผลเสียหลายประการ 
เช่น ราคาแพง  มลภาวะจากการถลุง/หลอมเหล็ก
และความเสื่อมโทรมของดิน (การขุดแร่เหล็ก)
แต่ไม้ไผ่สามารถปลูกทดแทนได้ ในราคาถูกกว่า
และมีข้อดีด้านสิ่งแวดล้อมเหนือกว่าต้นไม้ทั่วไป






แต่ความทนต่อแรงดึงของไม้ไผ่ 
ยังไม่เพียงพอที่จะทดแทนเหล็ก
แม้ว่าจะแข็งแรงและแข็งกว่าวัสดุก่อสร้างอื่นๆ
เส้นใยไม้ไผ่ธรรมชาติมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ
มีความต้านทานแรงดึงที่แข็งแกร่งมาก
เพราะแกนในไม้ไผ่กลวงจึงมีความยืดหยุ่นสูง
เมื่อเทียบกับเหล็ก มันเบากว่ามาก
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและต้นทุนต่ำ
มีความสามารถในการดูดซับแรงกระแทกสูง

ข้อด้อยของไม้ไผ่ คือ

1  ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในระยะยาว
ในด้านโครงสร้างถาวรเพราะทนทานต่ำกว่าเหล็ก
2  ข้อกังวลในเรื่องการหดตัวของไม้ไผ่
3  เสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพของสิ่งแวดล้อม
และการบุกรุกของแมลง (มอด ปลวก)
4  ไม่สามารถใช้งานได้ในสภาพอากาศหนาวเย็น
5  เมื่อเทียบกับเหล็ก มีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า
6. การยึดเกาะกับส่วนผสมคอนกรีต
เพราะถ้า โมดูลัสมีความยืดหยุ่นต่ำ
จะทำให้มีแนวโน้มปูนจะแตกร้าว/โก่งตัวมากขึ้น






แม้ว่าจะมีการวิจัยมากมายเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้
และปรับปรุงคุณสมบัติของไม้ไผ่ในปัจจุบัน
งานวิจัยเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางกล
และทางกายภาพตลอดจนประโยชน์ของไม้ไผ่
ความพยายามที่จะเปลี่ยนไปใช้งานแทนเหล็ก

สถาบันเทคโนโลยีแห่งประเทศสวิสซูริก
Swiss Federal Institute of Technology Zurich
กำลังทำงานเกี่ยวกับคอมโพสิตไม้ไผ่ ชื่อ BambooTECH
ในเรื่องความแข็งแกร่ง ความสามารถในการปรับตัว
และความทนทานในการพัฒนาวัสดุขึ้นมาใหม่ 

นักวิจัยและสถาปนิกของ MIT 
ค้นพบว่าไม้ไผ่มีความหนาแน่นและแข็งแรงกว่าไม้เนื้ออ่อน 
เช่น ต้นสปรูซ ต้นเฟอร์ และต้นสน 
และต้องการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของไม้ไผ่
เพื่อทำวัสดุก่อสร้างที่ดีขึ้น นำมาใช้ในโครงสร้าง
ที่ทนทานมากขึ้นในอนาคต




คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

BAMBOO -The industry of the future, now



บทสรุป

การใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุก่อสร้าง อาจลดความต้องการวัสดุอื่น ๆ
เช่น เหล็ก พลาสติก คาร์บอนไฟเบอร์ เป็นต้น
เป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นผลโดยตรงจากสิ่งนี้
การสร้างด้วยไม้ไผ่นั้นเข้าถึงได้ง่ายสำหรับทุกคนเพราะมีต้นทุนต่ำ
การปลูกไผ่นั้นมีประโยชน์อย่างมากเพราะไม่ก่อให้เกิดของเสีย 
จึงควรส่งเสริมการปลูกไม้ไผ่ และการใช้ไม้ไผ่เพื่อลดค่าครองชีพ
และทำให้สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นสำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคต
ด้วยการคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ ให้กับคนรุ่นต่อไปด้วย

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3GYrOhf




© ไม้ไผ่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม




© หาดโคลน



เพิ่มแนวป้องกัน ปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น
ปากทะเล เพชรบุรี


© ไผ่สารพัด ที่มีอยู่คู่ไทย


© วิธีเลือกไม้ไผ่สำหรับใช้ในงานสร้างอาคาร










เรื่องเล่าไร้สาระ


ไม้ไผ่เป็นพืชที่โตเร็วมาก/ตระกูลพวกหญ้า
สามารถปลูกทดแทนได้ในรอบ 1-3 ปี
หน่อไม้ปี้บที่ขายกันมากทุกปี ผลผลิตมาจาก
จังหวัดเลย นครนายก ปราจีนบุรี และกาญจนบุรี
ราวแขวนยางพาราในโรงงานรมควันยางพารา
หรือตากให้แห้งในบ้านของภาคใต้จะใช้ไม่ไผ่เป็นหลัก
ใช้วัสดุอื่นไม่ได้เพราะแผ่นยางมีโอกาสเสียหาย

พื้นที่ปลูกปาล์มในภาคใต้ที่ติดกับมาเลย์
จะมียาฆ่ากอไผ่ขายเพื่อมาฆ่ากอไผ่/ตอไม้
ชื่อ การ์ลอน 4 อี (มีแบบเป็นผงขายที่มาเลย์)
มีอัตราส่วนผสม ใช้ทำลำไยนอกฤดูได้ด้วย
แถวบ้านควนลัง อำเภอหาดใหญ่ มีจ่าที่รู้จักกัน
แกทำขายปีละ 2 ครั้ง มี 4 แปลงสลับกัน
พอดีผมไม่กล้าถามอัตราส่วนจากแก
เพราะเป็นความลับทางการค้าส่วนหนึ่ง

ในสวนปาล์มน้ำมัน
มักจะฆ่าไม้ไผ่เพราะเติบโตเร็วเกินไป
จะแย่งปุ๋ยกับบังแสงแดด เกะกะคนงาน
กับกีดขวางทางเดินในการแทงทะลายปาล์ม

ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ยางพารา
ปราชญ์ชาวบ้าน ป๊ะหรน เขาพระ รัตภูมิ
เกษตรสี่ปัจจัย (ดิน น้ำ ลม ไฟ) ที่ปลูกต้นไม้
สามต้นในหนึ่งหลุม ทุเรียน มังคุด ลองกอง
บอกว่า ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ยางพารา
เป็นพืชประเภท  หัวร้อน ตีนเย็น
ใบด้านบนต้องการแสงเพื่อการสังเคราะห์แสง
รากต้องการน้ำในการละลายปุ๋ย
/ดูดซึมสารอาหารจากพื้นดินมาก
ลมต้องไม่แรง/มีพายุเพราะต้นจะโงนเงน/ล้มได้
ถ้าเป็นต้นยางพาราจะเก็บน้ำยางไม่ได้มาก
เพราะลมพัดน้ำยางพาราที่ค่อย ๆ ไหลซึมลงมา
ปลิวหายหรือระเหยไปหมด
พิ้นที่อีศานบางแห่งจะได้น้ำยางน้อยกว่าภาคใต้
แต่น้ำยางจะมีลักษณะข้นกว่าเพราะระเหยน้ำ
และรายได้ดีกว่าเพราะตัดยางกรีดยางกันเอง

ภาคใต้บางคนชอบโอ่รส จ้างคนงานมากรีดยาง
แล้วแบ่งกัน 6/4 5/5 เวลาไปนั่งตามร้านกาแฟ
ชาวบ้านจะได้ยกยอเรียกว่า เถ้าแก่
แต่เถ้าแก่ตัวจริงส่วนใหญ่มักจะถ่อมตน
บอกว่ามีนิดหน่อยแต่ระดับ 100 ไร่ขึ้นไป
จึงจะจ้างคนงานกรีด/มีกงสีให้คนงานพัก

หมายเหตุ

มีเรื่องเล่าจากพวกเคยผ่านการรบ
ในสงครามเวียตนาม/วารสารทหารผ่านศึก
เวลาทหารเวียตกงจับเชลยศึกได้
ถ้าต้องการเชือดไก่ให้ลิงดู
หรือขู่ขวัญเชลยศึกที่เหลืออยู่
จะมัดเชลยนอนบนหน่อไม้ไผ่ป่า
ที่กำลังแทงยอดหน่อไม้
ให้แทงขึ้นด้านลำตัวหรือตรงทวารหนัก
รับรองไม่เกินหนึ่งวันไม่ตายก็บาดเจ็บสาหัส
เพราะหน่อไม้ไผ่เติบโตเร็วมาก




ต้นไผ่ส่วนมากออกดอกครั้งเดียว
หลังจากออกดอกแล้วก็จะตายทั้งกอในปีเดียวกัน
หรืออย่างช้าก็อาจจะอยู่ ได้ราว 1-2 ปี
การตายของต้นไผ่ชาวบ้านเรียกว่า ตายขุย
แต่พอถึงฤดูฝน ขุย(เมล็ด) จะงอกเป็นต้นเล็ก ๆ
ขึ้นมาอีกต่อไป ถ้าสภาพเหมาะสม
แต่มีไผ่บางชนิดที่หลังจากออกดอกแล้วก็ไม่ตาย
บางชนิดแต่หายากที่ออกดอกทุกปี/เกือบทุกปี
(เมล็ดไผ่บางชนิดกินได้ เคี้ยวได้ อร่อยดี)

โดยทั่ว ๆ ไปแล้วช่วงของการออกดอกของต้นไผ่
กินระยะเวลานานมากและไม่แน่นอน
สาเหตุของการออกดอก ยังเป็นเรื่องที่ลึกลับ
ที่ต้องวิจัยศึกษาค้นคว้ากันต่อไป

ระยะตั้งแต่การเริ่มงอกของเมล็ดไผ่
ไปจนกระทั่งตายขุย คือ วงจรชีวิต (Life cycle)
FOA ได้ทำสถิติวงจรชีวิตของไม้ไผพันธุ์ต่าง ๆ คือ

Arundinaria Falcata (ตระกูลไผ่จีน) 28-30 ปี
Bambusa arundinacea (ไผ่ป่า) 32 ปี
Chysquea abietifolia 32 ปี
Dendrocalcamusstrictus (ไผ่ซาง ไผ่นวล) 32 ปี
Bambusa tulda (ไผ่บง) 35-40 ปี
Melocanna bambusoides 45 ปี
Bambusa polymorpha (ไผ่หอม) 60 ปี
Phyiiostachys nigra 60 ปี

ส่วนไผ่ไทยยังไม่ปรากฏหลักฐานการค้นคว้า
จึงไม่มีข้อมูลว่า ไผ่ชนิดใดกี่ปีจึงจะออกดอก
แต่เรื่องที่น่ายินดีที่ไม้ไผ่ในไทย
มีการออกดอกแบบประปรายเป็นส่วนใหญ่
ออกดอกไม่พร้อมกัน เพราะมิฉะนั้นแล้ว
อาจจะทำให้ไผ่เหล่านั้น สูญพันธุ์เร็วยิ่งขึ้น
ถ้ามิได้มีการเอาใจใส่บำรุงรักษา
อย่างถูกหลักวิธีเช่นในต่างประเทศ

ในไทยปกติไผ่จะเริ่มออกดอกราว ๆ
เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
เมล็ดเริ่มแก่และร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน
ในเดือนกุมภาพันธ์-เมษายนของทุก ๆ ปี
 
© วงจรชีวิตไผ่



© " bamboo death " ปรากฏการณ์ลึกลับทางพฤกษศาสตร์ของการออกดอกของไผ่




ส่วนหนอนรถไฟ/หนอนรถด่วน
เกิดจากหนอนผีเสื้อกลางคืน มีให้กินปีละครั้ง
(แต่ทุกวันนี้มีของแช่แข็ง ละลายน้ำ/ทอดขายได้ทั้งปี)
มีเฉพาะในไผ่ซาง ไผ่หก ไผ่บง ไผ่ไร่รอ และไผ่สีสุก
ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 430 – 1300 เมตร
คนหาหนอนเป็น/มืออาชีพ จะดูรูเล็ก ๆ
ที่หนอนผีเสื้อไชเข้าไปในปล้องไม้ไผ่
แล้วลองเคาะดู จะรู้เลยว่ามากน้อยเพียงใด

© หนอนรถไฟ/หนอนรถด่วน


สะพานไม้ไผ่กำปงจัมปากำลังจะหายไป

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่