ไม้ไผ่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

" ไปดูกี่ครั้งก็ยังชื่นใจ กับสิ่งดีดีหลังม่านไม้ไผ่ "

จากโครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นที่ดำเนินการมา
ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ถึงวันนี้ครบห้าปีเต็ม
ไม้ไผ่บางส่วนก็หักหายไปตามกาลเวลา
แต่สิ่งที่ได้คืนมาคือ ผืนป่าชายเลน
และดินตะกอนที่สะสมตัวเพิ่มมากขึ้น ‪
สถานตากอากาศบางปู‬ จ.สมุทรปราการ







การใช้ไม้ไผ่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน
มีข้อดี คือ ถูกเร็วดี ใช้แรงงานท้องถิ่น
รายได้กระจายสู่คนในพื้นที่/ใกล้เคียง
ประโยชน์สูง ประหยัดสุด
โกงกินกันยาก เพราะเห็นเนื้องานกันชัด ๆ
ถมหินเป็นคิว ๆ ลงในทะเลอย่างที่ทำกัน
จะมีใครอาสาดำนำ้ลงไปดูไปวัด
5 ปีได้พื้นที่กลับมาขนาดนี้
คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจเกินคุ้ม

หนึ่งในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
และการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

การบริหารจัดการ/การปลูกทดแทนไม้ไผ่
ไม้ไผ่เป็นพืชที่โตเร็วมาก
ต้นตระกูลแบบพวกหญ้า
สามารถปลูกทดแทนได้ในรอบ 1-3 ปี
หน่อไม้ปี๊บที่ขายกันมากทุกปีผลผลิต
ถ้าจำไม่ผิดมาจากปราจีณบุรี
ราวแขวนยางพาราในโรงงานรมควันยางพารา
หรือตากให้แห้งในบ้านของภาคใต้จะใช้ไม่ไผ่เป็นหลัก
ใช้วัสดุอื่นไม่ได้เพราะแผ่นยางมีโอกาสเสียหาย


พื้นที่ปลูกปาล์มในภาคใต้ที่ติดกับชายแดนมาเลย์
จะมียาฆ่ากอไผ่ขายเพื่อมาฆ่ากอไผ่(ลักลอบนำเข้า)
เพราะเติบโตเร็วเกินไปจะเป็นการแย่งปุ๋ยกับบังแดด
กับกีดขวางทางเดินในการเข้าไปแทงทะลายปาล์มน้ำมัน


พืชประเภท ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ยางพารา
ปราชญ์ชาวบ้าน ป๊ะหรน เกษตรสี่ปัจจัย (ดิน น้ำ ลม ไฟ)
บอกว่าเป็นประเภท หัวร้อน ตีนเย็น
ใบด้านบนต้องการแสงเพื่อการสังเคราะห์แสงมาก
ด้านรากต้องการน้ำในการละลายปุ๋ย/ดูดซึมสารอาหารจากดินมาก
ลมต้องไม่แรงหรือมีพายุเพราะต้นจะโงนเงนหรือล้มได้
ถ้าต้นยางพาราจะเก็บน้ำยางไม่ได้ เพราะลมพัดน้ำยางพารา
ที่ค่อย ๆ ไหลซึมลงมาปลิวหายหรือระเหยไปหมด


หมายเหตุ


มีเรื่องเล่าจากพวกเคยผ่านการรบ
ในสงครามเวียตนาม/วารสารทหารผ่านศึก
ทหารเวียตกงจับเชลยศึกได้
ถ้าต้องการเชือดไก่ให้ลิงดู
หรือขู่ขวัญเชลยศึกที่เหลืออยู่
จะมัดเชลยนอนบนหน่อไม้ป่า
ที่กำลังแทงยอดหน่อไม้
ด้านลำตัวหรือตรงทวารหนัก
รับรองไม่เกินหนึ่งวันไม่ตายก็บาดเจ็บสาหัส
เพราะหน่อไม้เติบโตเร็วมาก
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่