โควิดวันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 3,525 ราย เสียชีวิต 31 ราย หายป่วย 6,109 ราย
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3075400
โควิดวันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 3,525 ราย เสียชีวิต 31 ราย หายป่วย 6,109 ราย
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวม 3,525 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 3,448 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 55 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 12 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 10 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,119,903 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 6,109 ราย หายป่วยสะสม 2,033,948 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 66,395 ราย เสียชีวิต 31 ราย
เตือนคนไทยอย่าประมาทโควิด "โอไมครอน" แม้ป่วยรุนแรงน้อยแต่แพร่เชื้อเร็วมาก
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/98609/
หมอธีระ เตือนคนไทยอย่าประมาทโควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" แม้ป่วยรุนแรงน้อยกว่าเดิม แต่หากแพร่เร็วขึ้น จนทำให้คนติดเชื้อมากขึ้นอย่างมาก
วันนี้ (7ธ.ค.64) รศ.นพ.
ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก
Thira Woratanarat ระบุว่า
7 ธันวาคม 2564...
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 418,375 คน ตายเพิ่ม 4,758 คน รวมแล้วติดไปรวม 266,599,105 คน เสียชีวิตรวม 5,276,361 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมัน รัสเซีย และฮังการี
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 95.03 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 94.47
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นมากถึงร้อยละ 60.41 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 64.39
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก
...สำหรับสถานการณ์ไทยเรา
เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 4,000 คน สูงเป็นอันดับ 23 ของโลก
หากรวม ATK อีก 1,157 คน ก็ขยับเป็นอันดับ 17 ของโลก
ยอดรวม ATK จะเป็นอันดับ 5 ของเอเชีย รองจากตุรกี เวียดนาม อินเดีย และจอร์แดน
...อัพเดต 3 เรื่อง
1. สถานการณ์ระบาดของโอไมครอนในแอฟริกาใต้
ชัดเจนว่าในไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โอไมครอนระบาดอย่างรวดเร็ว มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงขึ้นมาก โดยกราฟการระบาดชันกว่าเดลต้าอย่างมาก แสดงถึงสมรรถนะในการแพร่ที่สูงกว่าเดลต้า
ปัจจุบันอัตราการเพิ่มของจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของแอฟริกาใต้อยู่ราว 25%
จำนวนผู้ป่วยที่ต้องรับการดูแลรักษาในโรงพยาบาลนั้นสูงขึ้นชัดเจน ทำให้ภาระของระบบสาธารณสุขสูงขึ้นมากในพื้นที่ระบาด
ช่วงเวลาเหลื่อมระหว่างติดเชื้อกับนอนโรงพยาบาลนั้น (Lag time between infection and hospitalization) น่าจะอยู่ระหว่าง 5-7 วัน
ในขณะนี้ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้เสียชีวิตว่าจะเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด จำเป็นจะต้องติดตามต่ออีก 1-2 สัปดาห์ น่าจะสรุปได้ว่าอัตราตายน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้จริงหรือไม่ คาดการณ์ว่าถ้าเป็นไปในลักษณะนี้อัตราตายจะน้อยกว่าเดิมอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
2. ข้อมูลจากสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับโอไมครอน
หากดูอัตราของจำนวนการติดเชื้อใหม่ต่อจำนวนคนที่ป่วยจนต้องรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล จะพบว่าดูจะมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าระลอกก่อนหน้า นั่นแปลว่าโอกาสติดเชื้อแล้วป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาลดูจะลดลงกว่าเดิม
ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจต้องติดตามต่อไปอีกระยะเช่นกันว่า จำนวนติดเชื้อโอไมครอนที่กำลังเพิ่มขึ้นนั้น ลักษณะของประชากรที่ติดเชื้อในสหราชอาณาจักรนั้นเป็นเช่นไร เหมือนและต่างจากแอฟริกาใต้หรือไม่ และหากมีการแพร่กระจายมากขึ้นกว่านี้ จะยังคงอัตราเดิมให้เห็นหรือไม่
3. ข้อมูลจากอิสราเอลเกี่ยวกับผลจากการฉีดกระตุ้นเข็มสาม (mRNA vaccine)
เราทราบกันดีว่าอิสราเอลรณรงค์ฉีดวัคซีนเข็มสามของ Pfizer/Biontech ไปก่อนหลายประเทศทั่วโลก
ข้อมูลจาด Yaniv Erkich และ Ido Irani วิเคราะห์จำนวนการติดเชื้อโควิด-19 ต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามช่วงอายุและจำนวนวัคซีนที่ได้รับ (ไม่ฉีดวัคซีน, 2 เข็ม และ 3 เข็ม) ตั้งแต่ธันวาคม 2563 เป็นต้นมา
พบว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นนั้นดูจะลดโอกาสการเป็นโรคโควิด-19 ได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้หากมองในแง่ดีจะพบว่า การที่ประชากรในประเทศฉีดวัคซีนมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้จำนวนประชากรกลุ่มเสี่ยงลดลง และน่าจะบรรเทาการระบาดในภาพรวมได้ อย่างไรก็ตาม คงต้องมีการติดตามเรื่องระดับภูมิคุ้มกันที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป และวางแผนเรื่องการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันเป็นระยะ
...สำหรับไทยเรา
เน้นย้ำว่า อย่าประมาท เพราะยังไม่ถึงเวลาสรุปประเมินเรื่องอัตราตายของสายพันธุ์โอไมครอน
และแม้อัตราตายจะน้อยกว่าเดิม หรือป่วยรุนแรงน้อยกว่าเดิม แต่หากแพร่เร็วขึ้นมากจนทำให้คนติดเชื้อมากขึ้นอย่างมากทั้งคนฉีดวัคซีนครบ ไม่ครบ หรือยังไม่ได้ฉีดก็ตาม ผลกระทบในแง่จำนวนคนนอนโรงพยาบาลและจำนวนผู้เสียชีวิต แบบ absolute numbers จริงนั้นก็จะมากกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้าที่รุนแรงกว่าแต่แพร่น้อยกว่าก็ได้
...In certain circumstances, the substantial increase in transmission could cancel out the decrease in severity...
การป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด เป็นกิจวัตร เป็นสิ่งจำเป็น
ใส่หน้ากากนะครับ เว้นระยะห่างจากคนอื่นเกินหนึ่งเมตร
ด้วยรักและห่วงใย
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10223547023536180
ราชบุรีเมืองหลวงหมูพ่าย ASF ผู้เลี้ยงสูญ 2 แสนล้าน-รัฐเพิ่งตื่นวิจัยวัคซีน
https://www.prachachat.net/local-economy/news-814400
เมืองหลวงราชบุรีพ่าย ASF หมูตายเกลื่อนนับแสนตัว คนเลี้ยงรายย่อย รายกลางล่มสลายกว่า 2 แสนราย เสียหายทั้งระบบกว่า 2 แสนล้านบี้รัฐบาลบอกความจริงถึงความรุนแรงของโรค ย้ำโรคนี้ไม่ติดต่อสู่คน หมูยังกินได้ ด้านกรมปศุสัตว์เพิ่งตื่นแต่งตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาและวิจัยวัคซีน”
นาย
พิพัฒน์ เนื้อนิ่ม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรราชบุรี ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของการเลี้ยงหมู เปิดเผย
“ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ผู้เลี้ยงสุกรในจังหวัดราชบุรีทั้งรายใหญ่ รายกลางรายเล็กได้รับผลกระทบหนักมากจากโรคระบาด
ซึ่งกรมปศุสัตว์จะเรียกว่าโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร หรือ ASF หรือจะเรียกโรค A B C ก็ประกาศไปเลย ปัจจุบันจังหวัดราชบุรีมีคนที่เลี้ยงสุกรประมาณ 1,200 ราย มีแม่พันธุ์หมูประมาณ 220,000-250,000 แม่ ได้รับผลกระทบแล้วกว่า 40%
ขณะที่ภาพรวมทั้งระบบมีแม่หมูอยู่ 1.2 ล้านแม่ หมูตายไปจากระบบแล้วกว่า 40% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฟาร์มรายย่อย และรายกลางกว่า 2 แสนรายที่ได้รับผลกระทบหายไปเกือบหมดประเทศแล้ว
โดยที่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับเงินชดเชยเยียวยาจากภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐควรเร่งเข้ามาช่วยเหลือเยียวยา
“วันนี้ต้องยอมรับว่าโรคระบาดคืบคลานเข้ามาในไทยแล้ว ต้องเร่งดำเนินการแก้ปัญหา เพราะทำให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงหมูทั้งระบบเสียหายกว่า 2 แสนล้านบาทตลอดซัพพลายเชนแล้ว ความสูญเสียหนักมาก ต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น แม่พันธุ์สุกร 1.2 ล้านแม่ หายไปจากระบบ 40% เหลืออยู่ 7 แสนกว่าแม่พันธุ์
หมูขุนปกติมี 20 ล้านตัว เหลืออยู่ 12-13 ล้านตัว โรคระบาดตัวนี้ไม่มียา ไม่มีวัคซีนรักษา แต่ย้ำว่าโรคนี้ไม่ติดต่อสู่คน บริโภคหมูได้ไม่อันตราย สำคัญที่สุดต้องเข้ามาแก้ไขปัญหา จะทิ้งปัญหาไม่ได้
โรคนี้มันรุนแรงแล้ววันนี้ มันแก้ไขปัญหาไม่จบหากไม่มีวัคซีน ที่ผ่านมาหลายฟาร์มทำระบบไบโอซีเคียวริตี้แต่ก็ไม่รอด เพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจน
ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องออกมาสื่อสารชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้เลี้ยงต่อจะต้องทำอย่างไร ยิ่งลงเลี้ยงใหม่ ยิ่งขาดทุนหนักไปอีก”
หากเปรียบเทียบการทำงานของรัฐบาลประเทศจีนจะเห็นว่า รัฐบาลจีนออกมายอมรับว่ามีโรคระบาด ASF และเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา ที่ผ่านมาจีนเสียหายจากโรค ASF 50% หมู 500 กว่าล้านตัวเสียหายไป 200 กว่าล้านตัว แม่หมูจาก 40 กว่าล้านตัว เหลือ 20 กว่าล้านแม่
ความเสียหายในจีนทำให้ราคาชิ้นส่วนหมูพุ่งขึ้นไปกว่า 300 บาทต่อ กก. แต่ตอนนี้จีนกลับมาเลี้ยงใหม่ จำนวนหมูเพิ่มขึ้นมาเกือบ 30-40 ล้านแม่แล้ว เพราะรัฐบาลจีนช่วยเหลือดูแล
วันนี้ราคาชิ้นส่วนหมูเหลือ 100 กว่าบาทต่อ กก. ดังนั้นหากไทยยังไม่แก้ไขปัญหาแบบจีนโอกาสที่หมูไทยจะมีมากเป็นไปไม่ได้เลย เพราะว่าสิ่งแวดล้อมก็ไม่เอื้อ ราคาหมูจะพุ่งสูงขึ้นไป
นายพัฒนพงศ์ การุณยศิริ เจ้าของบริษัท การุณ ฟาร์ม จำกัด ผู้เลี้ยงสุกร จ.สิงห์บุรี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ทางกรมปศุสัตว์ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
หรือ ASF ขึ้นมา ซึ่งคิดว่าเป็นเรื่องยากที่ประเทศไทยจะพัฒนาวัคซีน เพราะปัจจุบันประเทศจีนที่มีความก้าวหน้าในเรื่องการพัฒนาวัคซีนรักษาโรคต่าง ๆ ยังคิดค้นไม่สำเร็จ
และหากยังไม่มีวัคซีนเกิดขึ้นในโลก เป็นเรื่องยากที่จะกลับมาเลี้ยงใหม่ยิ่งเป็นเกษตรกรรายย่อย รายกลาง เพราะต้องลงทุนระบบสูงมาก ต่อไปจะมีแต่ผู้เลี้ยงรายใหญ่เท่านั้นที่จะอยู่รอด
“ปัจจุบันการุณฟาร์มได้รับความเสียหายอย่างหนักจากโรคระบาด ASF ไม่มีวัคซีน ไม่มียารักษา ส่งผลให้แม่หมูที่เลี้ยงอยู่ 2,000 แม่ตายไปหมดแล้ว เพราะไม่มีหนทางแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรชัดเจน คนไทยอาจต้องบริโภคหมูกิโลละ 300 บาท
เนื่องจากหมูตายเกือบหมดประเทศไทยแล้ว ผมเลี้ยงหมูมา 30 กว่าปีถือว่าหนักสุด ตราบที่รัฐบาลไม่ยอมรับว่ามีโรค ASF ระบาดร้ายแรงรุนแรงมาก ทำให้เกษตรกรรายย่อยไม่มีความรู้ว่าวงจรของโรคเป็นอย่างไร ควรจะหลีกเลี่ยงอย่างไร
แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรไม่เข้าใจลงเลี้ยงใหม่ก็ตายอีก เกษตรกรไม่รู้ภัยร้ายกำลังมา เวลาโรคเข้าฟาร์มหมูจะตายยกเล้า ถึงจะพักเล้าไว้ 2-3 ปีก็ไม่สามารถกลับมาเลี้ยงใหม่ได้ มันต้องรู้วิธีการเลี้ยงที่ถูกต้อง
ต้องบอกให้เกษตรกรหยุดเลี้ยงไปก่อน อย่าสู้ตราบที่ไม่มีวัคซีน ถ้าสู้ไปก็หมดตัวเปล่า ๆ สงครามที่ไม่มีทางชนะ ระบบไบโอซีเคียวริตี้ต้องลงทุนสูงอย่างที่บริษัทใหญ่ทำเท่านั้น”
รายงานข่าวจากกรมปศุสัตว์แจ้งว่า เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 นายสรวิศธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้ลงนามในคำสั่งกรมปศุสัตว์ที่ 1018/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
โดยระบุใจความพอสรุปได้ว่า ด้วยกรมปศุสัตว์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสุขภาพสัตว์ในประเทศไทยได้ผลักดันโรคอหิวาต์ในสุกรเป็นวาระแห่งชาติ และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุหากเกิดการระบาดของโรค
เพื่อให้การป้องกันและควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และการพัฒนาวัคซีน ASF ในสุกรต้นแบบ โดยมีอธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยรองอธิบดีกรมปศุสัตว์
คณะบดีคณะสัตวแพทย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกรมปศุสัตว์
JJNY : ติดเชื้อ 3,525 เสียชีวิต31│เตือนอย่าประมาท"โอไมครอน"│ราชบุรีเมืองหลวงหมูพ่าย ASF│รัสเซียพบติดเชื้อ"โอมิครอน"2 ราย
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3075400
โควิดวันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 3,525 ราย เสียชีวิต 31 ราย หายป่วย 6,109 ราย
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวม 3,525 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 3,448 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 55 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 12 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 10 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,119,903 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 6,109 ราย หายป่วยสะสม 2,033,948 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 66,395 ราย เสียชีวิต 31 ราย
เตือนคนไทยอย่าประมาทโควิด "โอไมครอน" แม้ป่วยรุนแรงน้อยแต่แพร่เชื้อเร็วมาก
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/98609/
หมอธีระ เตือนคนไทยอย่าประมาทโควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" แม้ป่วยรุนแรงน้อยกว่าเดิม แต่หากแพร่เร็วขึ้น จนทำให้คนติดเชื้อมากขึ้นอย่างมาก
วันนี้ (7ธ.ค.64) รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า
7 ธันวาคม 2564...
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 418,375 คน ตายเพิ่ม 4,758 คน รวมแล้วติดไปรวม 266,599,105 คน เสียชีวิตรวม 5,276,361 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมัน รัสเซีย และฮังการี
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 95.03 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 94.47
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นมากถึงร้อยละ 60.41 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 64.39
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก
...สำหรับสถานการณ์ไทยเรา
เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 4,000 คน สูงเป็นอันดับ 23 ของโลก
หากรวม ATK อีก 1,157 คน ก็ขยับเป็นอันดับ 17 ของโลก
ยอดรวม ATK จะเป็นอันดับ 5 ของเอเชีย รองจากตุรกี เวียดนาม อินเดีย และจอร์แดน
...อัพเดต 3 เรื่อง
1. สถานการณ์ระบาดของโอไมครอนในแอฟริกาใต้
ชัดเจนว่าในไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โอไมครอนระบาดอย่างรวดเร็ว มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงขึ้นมาก โดยกราฟการระบาดชันกว่าเดลต้าอย่างมาก แสดงถึงสมรรถนะในการแพร่ที่สูงกว่าเดลต้า
ปัจจุบันอัตราการเพิ่มของจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของแอฟริกาใต้อยู่ราว 25%
จำนวนผู้ป่วยที่ต้องรับการดูแลรักษาในโรงพยาบาลนั้นสูงขึ้นชัดเจน ทำให้ภาระของระบบสาธารณสุขสูงขึ้นมากในพื้นที่ระบาด
ช่วงเวลาเหลื่อมระหว่างติดเชื้อกับนอนโรงพยาบาลนั้น (Lag time between infection and hospitalization) น่าจะอยู่ระหว่าง 5-7 วัน
ในขณะนี้ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้เสียชีวิตว่าจะเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด จำเป็นจะต้องติดตามต่ออีก 1-2 สัปดาห์ น่าจะสรุปได้ว่าอัตราตายน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้จริงหรือไม่ คาดการณ์ว่าถ้าเป็นไปในลักษณะนี้อัตราตายจะน้อยกว่าเดิมอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
2. ข้อมูลจากสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับโอไมครอน
หากดูอัตราของจำนวนการติดเชื้อใหม่ต่อจำนวนคนที่ป่วยจนต้องรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล จะพบว่าดูจะมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าระลอกก่อนหน้า นั่นแปลว่าโอกาสติดเชื้อแล้วป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาลดูจะลดลงกว่าเดิม
ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจต้องติดตามต่อไปอีกระยะเช่นกันว่า จำนวนติดเชื้อโอไมครอนที่กำลังเพิ่มขึ้นนั้น ลักษณะของประชากรที่ติดเชื้อในสหราชอาณาจักรนั้นเป็นเช่นไร เหมือนและต่างจากแอฟริกาใต้หรือไม่ และหากมีการแพร่กระจายมากขึ้นกว่านี้ จะยังคงอัตราเดิมให้เห็นหรือไม่
3. ข้อมูลจากอิสราเอลเกี่ยวกับผลจากการฉีดกระตุ้นเข็มสาม (mRNA vaccine)
เราทราบกันดีว่าอิสราเอลรณรงค์ฉีดวัคซีนเข็มสามของ Pfizer/Biontech ไปก่อนหลายประเทศทั่วโลก
ข้อมูลจาด Yaniv Erkich และ Ido Irani วิเคราะห์จำนวนการติดเชื้อโควิด-19 ต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามช่วงอายุและจำนวนวัคซีนที่ได้รับ (ไม่ฉีดวัคซีน, 2 เข็ม และ 3 เข็ม) ตั้งแต่ธันวาคม 2563 เป็นต้นมา
พบว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นนั้นดูจะลดโอกาสการเป็นโรคโควิด-19 ได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้หากมองในแง่ดีจะพบว่า การที่ประชากรในประเทศฉีดวัคซีนมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้จำนวนประชากรกลุ่มเสี่ยงลดลง และน่าจะบรรเทาการระบาดในภาพรวมได้ อย่างไรก็ตาม คงต้องมีการติดตามเรื่องระดับภูมิคุ้มกันที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป และวางแผนเรื่องการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันเป็นระยะ
...สำหรับไทยเรา
เน้นย้ำว่า อย่าประมาท เพราะยังไม่ถึงเวลาสรุปประเมินเรื่องอัตราตายของสายพันธุ์โอไมครอน
และแม้อัตราตายจะน้อยกว่าเดิม หรือป่วยรุนแรงน้อยกว่าเดิม แต่หากแพร่เร็วขึ้นมากจนทำให้คนติดเชื้อมากขึ้นอย่างมากทั้งคนฉีดวัคซีนครบ ไม่ครบ หรือยังไม่ได้ฉีดก็ตาม ผลกระทบในแง่จำนวนคนนอนโรงพยาบาลและจำนวนผู้เสียชีวิต แบบ absolute numbers จริงนั้นก็จะมากกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้าที่รุนแรงกว่าแต่แพร่น้อยกว่าก็ได้
...In certain circumstances, the substantial increase in transmission could cancel out the decrease in severity...
การป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด เป็นกิจวัตร เป็นสิ่งจำเป็น
ใส่หน้ากากนะครับ เว้นระยะห่างจากคนอื่นเกินหนึ่งเมตร
ด้วยรักและห่วงใย
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10223547023536180
ราชบุรีเมืองหลวงหมูพ่าย ASF ผู้เลี้ยงสูญ 2 แสนล้าน-รัฐเพิ่งตื่นวิจัยวัคซีน
https://www.prachachat.net/local-economy/news-814400
เมืองหลวงราชบุรีพ่าย ASF หมูตายเกลื่อนนับแสนตัว คนเลี้ยงรายย่อย รายกลางล่มสลายกว่า 2 แสนราย เสียหายทั้งระบบกว่า 2 แสนล้านบี้รัฐบาลบอกความจริงถึงความรุนแรงของโรค ย้ำโรคนี้ไม่ติดต่อสู่คน หมูยังกินได้ ด้านกรมปศุสัตว์เพิ่งตื่นแต่งตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาและวิจัยวัคซีน”
นายพิพัฒน์ เนื้อนิ่ม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรราชบุรี ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของการเลี้ยงหมู เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ผู้เลี้ยงสุกรในจังหวัดราชบุรีทั้งรายใหญ่ รายกลางรายเล็กได้รับผลกระทบหนักมากจากโรคระบาด
ซึ่งกรมปศุสัตว์จะเรียกว่าโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร หรือ ASF หรือจะเรียกโรค A B C ก็ประกาศไปเลย ปัจจุบันจังหวัดราชบุรีมีคนที่เลี้ยงสุกรประมาณ 1,200 ราย มีแม่พันธุ์หมูประมาณ 220,000-250,000 แม่ ได้รับผลกระทบแล้วกว่า 40%
ขณะที่ภาพรวมทั้งระบบมีแม่หมูอยู่ 1.2 ล้านแม่ หมูตายไปจากระบบแล้วกว่า 40% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฟาร์มรายย่อย และรายกลางกว่า 2 แสนรายที่ได้รับผลกระทบหายไปเกือบหมดประเทศแล้ว
โดยที่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับเงินชดเชยเยียวยาจากภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐควรเร่งเข้ามาช่วยเหลือเยียวยา
“วันนี้ต้องยอมรับว่าโรคระบาดคืบคลานเข้ามาในไทยแล้ว ต้องเร่งดำเนินการแก้ปัญหา เพราะทำให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงหมูทั้งระบบเสียหายกว่า 2 แสนล้านบาทตลอดซัพพลายเชนแล้ว ความสูญเสียหนักมาก ต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น แม่พันธุ์สุกร 1.2 ล้านแม่ หายไปจากระบบ 40% เหลืออยู่ 7 แสนกว่าแม่พันธุ์
หมูขุนปกติมี 20 ล้านตัว เหลืออยู่ 12-13 ล้านตัว โรคระบาดตัวนี้ไม่มียา ไม่มีวัคซีนรักษา แต่ย้ำว่าโรคนี้ไม่ติดต่อสู่คน บริโภคหมูได้ไม่อันตราย สำคัญที่สุดต้องเข้ามาแก้ไขปัญหา จะทิ้งปัญหาไม่ได้
โรคนี้มันรุนแรงแล้ววันนี้ มันแก้ไขปัญหาไม่จบหากไม่มีวัคซีน ที่ผ่านมาหลายฟาร์มทำระบบไบโอซีเคียวริตี้แต่ก็ไม่รอด เพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจน
ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องออกมาสื่อสารชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้เลี้ยงต่อจะต้องทำอย่างไร ยิ่งลงเลี้ยงใหม่ ยิ่งขาดทุนหนักไปอีก”
หากเปรียบเทียบการทำงานของรัฐบาลประเทศจีนจะเห็นว่า รัฐบาลจีนออกมายอมรับว่ามีโรคระบาด ASF และเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา ที่ผ่านมาจีนเสียหายจากโรค ASF 50% หมู 500 กว่าล้านตัวเสียหายไป 200 กว่าล้านตัว แม่หมูจาก 40 กว่าล้านตัว เหลือ 20 กว่าล้านแม่
ความเสียหายในจีนทำให้ราคาชิ้นส่วนหมูพุ่งขึ้นไปกว่า 300 บาทต่อ กก. แต่ตอนนี้จีนกลับมาเลี้ยงใหม่ จำนวนหมูเพิ่มขึ้นมาเกือบ 30-40 ล้านแม่แล้ว เพราะรัฐบาลจีนช่วยเหลือดูแล
วันนี้ราคาชิ้นส่วนหมูเหลือ 100 กว่าบาทต่อ กก. ดังนั้นหากไทยยังไม่แก้ไขปัญหาแบบจีนโอกาสที่หมูไทยจะมีมากเป็นไปไม่ได้เลย เพราะว่าสิ่งแวดล้อมก็ไม่เอื้อ ราคาหมูจะพุ่งสูงขึ้นไป
นายพัฒนพงศ์ การุณยศิริ เจ้าของบริษัท การุณ ฟาร์ม จำกัด ผู้เลี้ยงสุกร จ.สิงห์บุรี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ทางกรมปศุสัตว์ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
หรือ ASF ขึ้นมา ซึ่งคิดว่าเป็นเรื่องยากที่ประเทศไทยจะพัฒนาวัคซีน เพราะปัจจุบันประเทศจีนที่มีความก้าวหน้าในเรื่องการพัฒนาวัคซีนรักษาโรคต่าง ๆ ยังคิดค้นไม่สำเร็จ
และหากยังไม่มีวัคซีนเกิดขึ้นในโลก เป็นเรื่องยากที่จะกลับมาเลี้ยงใหม่ยิ่งเป็นเกษตรกรรายย่อย รายกลาง เพราะต้องลงทุนระบบสูงมาก ต่อไปจะมีแต่ผู้เลี้ยงรายใหญ่เท่านั้นที่จะอยู่รอด
“ปัจจุบันการุณฟาร์มได้รับความเสียหายอย่างหนักจากโรคระบาด ASF ไม่มีวัคซีน ไม่มียารักษา ส่งผลให้แม่หมูที่เลี้ยงอยู่ 2,000 แม่ตายไปหมดแล้ว เพราะไม่มีหนทางแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรชัดเจน คนไทยอาจต้องบริโภคหมูกิโลละ 300 บาท
เนื่องจากหมูตายเกือบหมดประเทศไทยแล้ว ผมเลี้ยงหมูมา 30 กว่าปีถือว่าหนักสุด ตราบที่รัฐบาลไม่ยอมรับว่ามีโรค ASF ระบาดร้ายแรงรุนแรงมาก ทำให้เกษตรกรรายย่อยไม่มีความรู้ว่าวงจรของโรคเป็นอย่างไร ควรจะหลีกเลี่ยงอย่างไร
แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรไม่เข้าใจลงเลี้ยงใหม่ก็ตายอีก เกษตรกรไม่รู้ภัยร้ายกำลังมา เวลาโรคเข้าฟาร์มหมูจะตายยกเล้า ถึงจะพักเล้าไว้ 2-3 ปีก็ไม่สามารถกลับมาเลี้ยงใหม่ได้ มันต้องรู้วิธีการเลี้ยงที่ถูกต้อง
ต้องบอกให้เกษตรกรหยุดเลี้ยงไปก่อน อย่าสู้ตราบที่ไม่มีวัคซีน ถ้าสู้ไปก็หมดตัวเปล่า ๆ สงครามที่ไม่มีทางชนะ ระบบไบโอซีเคียวริตี้ต้องลงทุนสูงอย่างที่บริษัทใหญ่ทำเท่านั้น”
รายงานข่าวจากกรมปศุสัตว์แจ้งว่า เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 นายสรวิศธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้ลงนามในคำสั่งกรมปศุสัตว์ที่ 1018/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
โดยระบุใจความพอสรุปได้ว่า ด้วยกรมปศุสัตว์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสุขภาพสัตว์ในประเทศไทยได้ผลักดันโรคอหิวาต์ในสุกรเป็นวาระแห่งชาติ และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุหากเกิดการระบาดของโรค
เพื่อให้การป้องกันและควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และการพัฒนาวัคซีน ASF ในสุกรต้นแบบ โดยมีอธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยรองอธิบดีกรมปศุสัตว์
คณะบดีคณะสัตวแพทย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกรมปศุสัตว์