หลายคนที่มักเกิดบาดแผลบริเวณแขน ขา หรือลำตัว มักเกิดอาการกังวลถึงเรื่องโรคบาดทะยักที่อาจเกิดขึ้นบริเวณแผลดังกล่าว
ถึงแม้ว่าปัจจุบันโรคบาดทะยักจะมีวัคซีนป้องกัน แต่ก็คงยังพบผู้ป่วยอยู่เรื่อยๆ และมีแนวโน้มว่าจะพบในผู้สูงอายุมากขึ้น
ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่า ในผู้ป่วยบางราย เพียงแค่โดนเข่งบาดมือ ก็เป็นโรคบาดทะยักได้
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ แผลแบบไหน สงสัย..บาดทะยัก
โรคบาดทะยัก (Tetanus) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium Tetani
สามารถพบได้ในดิน ฝุ่น น้ำลาย และมูลสัตว์ เป็นตัวการทำให้เกิดโรคบาดทะยักได้ง่าย
โดยการติดเชื้อจะมาจากการสัมผัสสิ่งสกปรกขณะมีแผลเปิด เช่น แผลจากของมีคม แผลถลอก เป็นต้น
ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทโดยตรง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณตามร่างกายเกิดหดเกร็ง และอาการอื่น ๆ ตามมา
มีไข้สูง เจ็บปวดบริเวณแผล รู้สึกเหงื่อแตก หายใจลำบาก ฯลฯ มักพบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุ และคนทั่วไป
สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคบาดทะยักได้
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium Tetani ซึ่งมักพบได้ในดิน ฝุ่น และมูลของสัตว์ต่าง ๆ ผ่านทางบาดแผลที่เกิดขึ้น
ผู้ป่วยไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนบาดทะยักมาก่อน หรือได้รับไม่ครบจำนวนเข็มที่กำหนดไว้
รวมไปถึงไม่ได้รับวัคซีนป้องกันทุก ๆ 10 ปี จึงติดเชื้อบาดทะยักได้ง่ายกว่าปกติ
บาดทะยักไม่ใช่โรคติดต่อ จึงไม่สามารถแพร่จากคนสู่คนได้ จะเกิดอาการขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเกิดบาดแผล และมีการติดเชื้อเท่านั้น
เมื่อร่างกายได้รับเชื้อบาดทะยักแล้ว จะมีระยะฟักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 7-14 วัน หากผู้ป่วยแสดงอาการอย่างรวดเร็วกว่าระยะฟักตัวของเชื้อ
อาจประมาณการได้ว่ามีการติดเชื้อที่รุนแรง และรักษาได้ยากกว่ากรณีทั่วไป
อาการของบาดทะยัก มักมีลักษณะ เกิดภาวะกรามติด กล้ามเนื้อขากรรไกรหดเกร็ง อ้าปากลำบาก สื่อสารลำบาก
กล้ามเนื้อคอแข็ง หดเกร็ง จนทำให้หายใจ และกลืนไม่สะดวก กล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ เกิดอาการหดเกร็งร่วมด้วย เช่น ช่องท้อง หลัง
มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก และสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกาย เป็นเวลาหลายนาที โดยเฉพาะเมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
เช่น ลม แสง เสียง มีไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว เป็นตะคริว มีอาการลมชัก
อาการบาดทะยักแบบที่ควรพบแพทย์
บาดแผลมีการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ ซึ่งอาจทำความสะอาดแผลได้ไม่ดีพอ โดยเฉพาะแผลที่มีความลึกค่อนข้างมาก
หรือแผลบริเวณใต้เท้า ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
ผู้ป่วยยังไม่ได้ฉีดวัคซีนบาดทะยักจนครบจำนวนเข็ม หรือจำไม่ได้ว่าตนเองได้รับวัคซีนแล้วหรือไม่
ผู้ป่วยได้รับการฉีดวัคซีนบาดทะยักครั้งล่าสุด เกินระยะเวลา 5 ปีมาแล้ว
ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักทุก ๆ 10 ปี
การป้องกันโรคบาดทะยัก
เมื่อมีบาดแผล ต้องทำแผลให้สะอาดทันที เมื่อเลือดหยุดไหลให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
และทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ โดยการฟอกด้วยสบู่ล้างด้วยน้ำสะอาดเช็ดด้วยยาฆ่าเชื้อ
แอลกอฮอล์ 70% หรือ ทิงเจอร์ใส่แผลสด รักษาความสะอาดของแผล
แต่หากพบว่ามีเศษสิ่งสกปรกใดๆ ฝังอยู่ในแผลให้รีบไปพบแพทย์ทันที
ในผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน เมื่อมีแผลควรพบแพทย์ เพื่อรับยาป้องกันบาดทะยัก ให้ครบ
ผู้ที่มีบาดแผลใหญ่ ลึก แผลสกปรกมาก ต้องพบแพทย์ทันที
ในรายที่ได้เคยรับวัคซีนแล้วนานเกิน 10 ปี แพทย์จะพิจาณาให้ยากระตุ้นเพื่อป้องกันบาดทะยัก
ผู้ป่วยที่หายจากโรคบาดทะยักต้องให้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักครบชุด เพราะจะไม่มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นเพียงพอ
ลักษณะของบาดแผล ที่เสี่ยงเป็นบาดทะยักได้ง่าย แผลจากการถูกสัตว์กัด หรือข่วน เช่น สุนัข แมว
แผลไฟไหม้ แผลจากของมีคม เช่น ตะปู มีด เสี้ยนไม้ แผลถลอก หรือรอยครูดจากการล้ม
แผลกระดูกหัก ที่มีการทะลุออกมาภายนอกผิวหนัง แผลติดเชื้อที่ฟัน
แผลติดเชื้อที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งแผลจะหายช้า และติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ
สำหรับการรักษาโรคบาดทะยัก แม้ในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีการรักษาโดยตรง ทำได้แค่รักษาตามอาการ และฉีดวัคซีน
เพื่อลดการกระจายตัวของเชื้อ รวมไปถึงลดความรุนแรงของโรคเท่านั้น หากผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการของโรคอย่างชัดเจนขึ้น
จะมีกระบวนการรักษาตามอาการ ดังนี้
การทำความสะอาดบาดแผล
แพทย์จะทำการรักษาโดยการทำความสะอาดบาดแผลบาดทะยักอย่างเหมาะสม โดยการนำเนื้อตาย สิ่งแปลกปลอม
และสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากบาดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่ม
การฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Tetanus Immunoglobulin และยาปฏิชีวนะ รวมไปถึงฉีดวัคซีนบาดทะยักร่วมด้วย
เพื่อใช้ในการรักษาแบคทีเรียบาดทะยัก
การจ่ายยาเพื่อควบคุม และบรรเทาอาการของโรค
แพทย์จะทำการจ่ายยาตามอาการของโรคบาดทะยักที่เกิดขึ้น เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาระงับประสาท และยาระงับการชัก
เพื่อบรรเทา และควบคุมอาการปวดเกร็ง รวมไปถึงการชักกระตุกของกล้ามเนื้อ
การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
สำหรับการรักษาภาวะแทรกซ้อนนั้น จะขึ้นอยู่กับอาการจากบาดทะยักของผู้ป่วยด้วย
เช่น หากผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ แพทย์จะทำการจ่ายยาชนิดต่าง ๆ เพิ่มเติม
และเพิ่มการใส่เครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น หรือหากผู้ป่วยไม่สามารถทานอาหารได้เอง
แพทย์อาจพิจารณาให้อาหารผ่านทางเส้นเลือดแทน
ในปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก สำหรับเด็กอายุ 11 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน
1.วัคซีนรวมบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน (Tdap)
2.วัคซีนรวมบาดทะยัก คอตีบ (Td)
โดยมีข้อกำหนดสำหรับการฉีดวัคซีนบาดทะยัก เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันโรค ดังนี้
ผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน หรือจำไม่ได้ว่าเคยฉีดวัคซีนหรือไม่ ควรฉีดวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม
และหากมีบาดแผลลึกเกิดขึ้น ควรได้รับเข็มกระตุ้นเพิ่มอีก 1 เข็ม
วัยรุ่นอายุ 11 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนแล้วเมื่อตอนเป็นทารก 5 เข็ม
ควรได้รับการฉีดวัคซีนชนิด Td กระตุ้นภูมิคุ้มกันทุก 10 ปี เมื่อได้รับบาดเจ็บจนเกิดแผล หากเป็นแผลขนาดเล็ก
และเคยฉีดบาดทะยักมาแล้วไม่เกิน 10 ปี ไม่จำเป็นที่จะต้องฉีดยาเพิ่ม แต่ถ้าหากเกิน 10 ปีแล้ว ต้องได้รับการฉีดกระตุ้น 1 เข็ม
หากเป็นแผลขนาดใหญ่ บาดแผลลึก ในกรณีที่ได้รับวัคซีนเข็มสุดท้ายนานเกิน 5 ปีมาแล้ว ต้องฉีดกระตุ้นเพิ่ม 1 เข็ม เพื่อป้องกันการติดเชื้อบาดทะยัก
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=E_pmU40eEtk
https://www.thonburihospital.com/package/pk_vaccines-for-babies/
แผลแบบไหน สงสัย..บาดทะยัก
ถึงแม้ว่าปัจจุบันโรคบาดทะยักจะมีวัคซีนป้องกัน แต่ก็คงยังพบผู้ป่วยอยู่เรื่อยๆ และมีแนวโน้มว่าจะพบในผู้สูงอายุมากขึ้น
ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่า ในผู้ป่วยบางราย เพียงแค่โดนเข่งบาดมือ ก็เป็นโรคบาดทะยักได้
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ แผลแบบไหน สงสัย..บาดทะยัก
โรคบาดทะยัก (Tetanus) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium Tetani
สามารถพบได้ในดิน ฝุ่น น้ำลาย และมูลสัตว์ เป็นตัวการทำให้เกิดโรคบาดทะยักได้ง่าย
โดยการติดเชื้อจะมาจากการสัมผัสสิ่งสกปรกขณะมีแผลเปิด เช่น แผลจากของมีคม แผลถลอก เป็นต้น
ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทโดยตรง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณตามร่างกายเกิดหดเกร็ง และอาการอื่น ๆ ตามมา
มีไข้สูง เจ็บปวดบริเวณแผล รู้สึกเหงื่อแตก หายใจลำบาก ฯลฯ มักพบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุ และคนทั่วไป
สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคบาดทะยักได้
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium Tetani ซึ่งมักพบได้ในดิน ฝุ่น และมูลของสัตว์ต่าง ๆ ผ่านทางบาดแผลที่เกิดขึ้น
ผู้ป่วยไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนบาดทะยักมาก่อน หรือได้รับไม่ครบจำนวนเข็มที่กำหนดไว้
รวมไปถึงไม่ได้รับวัคซีนป้องกันทุก ๆ 10 ปี จึงติดเชื้อบาดทะยักได้ง่ายกว่าปกติ
บาดทะยักไม่ใช่โรคติดต่อ จึงไม่สามารถแพร่จากคนสู่คนได้ จะเกิดอาการขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเกิดบาดแผล และมีการติดเชื้อเท่านั้น
เมื่อร่างกายได้รับเชื้อบาดทะยักแล้ว จะมีระยะฟักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 7-14 วัน หากผู้ป่วยแสดงอาการอย่างรวดเร็วกว่าระยะฟักตัวของเชื้อ
อาจประมาณการได้ว่ามีการติดเชื้อที่รุนแรง และรักษาได้ยากกว่ากรณีทั่วไป
อาการของบาดทะยัก มักมีลักษณะ เกิดภาวะกรามติด กล้ามเนื้อขากรรไกรหดเกร็ง อ้าปากลำบาก สื่อสารลำบาก
กล้ามเนื้อคอแข็ง หดเกร็ง จนทำให้หายใจ และกลืนไม่สะดวก กล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ เกิดอาการหดเกร็งร่วมด้วย เช่น ช่องท้อง หลัง
มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก และสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกาย เป็นเวลาหลายนาที โดยเฉพาะเมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
เช่น ลม แสง เสียง มีไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว เป็นตะคริว มีอาการลมชัก
อาการบาดทะยักแบบที่ควรพบแพทย์
บาดแผลมีการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ ซึ่งอาจทำความสะอาดแผลได้ไม่ดีพอ โดยเฉพาะแผลที่มีความลึกค่อนข้างมาก
หรือแผลบริเวณใต้เท้า ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
ผู้ป่วยยังไม่ได้ฉีดวัคซีนบาดทะยักจนครบจำนวนเข็ม หรือจำไม่ได้ว่าตนเองได้รับวัคซีนแล้วหรือไม่
ผู้ป่วยได้รับการฉีดวัคซีนบาดทะยักครั้งล่าสุด เกินระยะเวลา 5 ปีมาแล้ว
ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักทุก ๆ 10 ปี
การป้องกันโรคบาดทะยัก
เมื่อมีบาดแผล ต้องทำแผลให้สะอาดทันที เมื่อเลือดหยุดไหลให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
และทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ โดยการฟอกด้วยสบู่ล้างด้วยน้ำสะอาดเช็ดด้วยยาฆ่าเชื้อ
แอลกอฮอล์ 70% หรือ ทิงเจอร์ใส่แผลสด รักษาความสะอาดของแผล
แต่หากพบว่ามีเศษสิ่งสกปรกใดๆ ฝังอยู่ในแผลให้รีบไปพบแพทย์ทันที
ในผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน เมื่อมีแผลควรพบแพทย์ เพื่อรับยาป้องกันบาดทะยัก ให้ครบ
ผู้ที่มีบาดแผลใหญ่ ลึก แผลสกปรกมาก ต้องพบแพทย์ทันที
ในรายที่ได้เคยรับวัคซีนแล้วนานเกิน 10 ปี แพทย์จะพิจาณาให้ยากระตุ้นเพื่อป้องกันบาดทะยัก
ผู้ป่วยที่หายจากโรคบาดทะยักต้องให้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักครบชุด เพราะจะไม่มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นเพียงพอ
ลักษณะของบาดแผล ที่เสี่ยงเป็นบาดทะยักได้ง่าย แผลจากการถูกสัตว์กัด หรือข่วน เช่น สุนัข แมว
แผลไฟไหม้ แผลจากของมีคม เช่น ตะปู มีด เสี้ยนไม้ แผลถลอก หรือรอยครูดจากการล้ม
แผลกระดูกหัก ที่มีการทะลุออกมาภายนอกผิวหนัง แผลติดเชื้อที่ฟัน
แผลติดเชื้อที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งแผลจะหายช้า และติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ
สำหรับการรักษาโรคบาดทะยัก แม้ในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีการรักษาโดยตรง ทำได้แค่รักษาตามอาการ และฉีดวัคซีน
เพื่อลดการกระจายตัวของเชื้อ รวมไปถึงลดความรุนแรงของโรคเท่านั้น หากผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการของโรคอย่างชัดเจนขึ้น
จะมีกระบวนการรักษาตามอาการ ดังนี้
การทำความสะอาดบาดแผล
แพทย์จะทำการรักษาโดยการทำความสะอาดบาดแผลบาดทะยักอย่างเหมาะสม โดยการนำเนื้อตาย สิ่งแปลกปลอม
และสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากบาดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่ม
การฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Tetanus Immunoglobulin และยาปฏิชีวนะ รวมไปถึงฉีดวัคซีนบาดทะยักร่วมด้วย
เพื่อใช้ในการรักษาแบคทีเรียบาดทะยัก
การจ่ายยาเพื่อควบคุม และบรรเทาอาการของโรค
แพทย์จะทำการจ่ายยาตามอาการของโรคบาดทะยักที่เกิดขึ้น เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาระงับประสาท และยาระงับการชัก
เพื่อบรรเทา และควบคุมอาการปวดเกร็ง รวมไปถึงการชักกระตุกของกล้ามเนื้อ
การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
สำหรับการรักษาภาวะแทรกซ้อนนั้น จะขึ้นอยู่กับอาการจากบาดทะยักของผู้ป่วยด้วย
เช่น หากผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ แพทย์จะทำการจ่ายยาชนิดต่าง ๆ เพิ่มเติม
และเพิ่มการใส่เครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น หรือหากผู้ป่วยไม่สามารถทานอาหารได้เอง
แพทย์อาจพิจารณาให้อาหารผ่านทางเส้นเลือดแทน
ในปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก สำหรับเด็กอายุ 11 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน
1.วัคซีนรวมบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน (Tdap)
2.วัคซีนรวมบาดทะยัก คอตีบ (Td)
โดยมีข้อกำหนดสำหรับการฉีดวัคซีนบาดทะยัก เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันโรค ดังนี้
ผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน หรือจำไม่ได้ว่าเคยฉีดวัคซีนหรือไม่ ควรฉีดวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม
และหากมีบาดแผลลึกเกิดขึ้น ควรได้รับเข็มกระตุ้นเพิ่มอีก 1 เข็ม
วัยรุ่นอายุ 11 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนแล้วเมื่อตอนเป็นทารก 5 เข็ม
ควรได้รับการฉีดวัคซีนชนิด Td กระตุ้นภูมิคุ้มกันทุก 10 ปี เมื่อได้รับบาดเจ็บจนเกิดแผล หากเป็นแผลขนาดเล็ก
และเคยฉีดบาดทะยักมาแล้วไม่เกิน 10 ปี ไม่จำเป็นที่จะต้องฉีดยาเพิ่ม แต่ถ้าหากเกิน 10 ปีแล้ว ต้องได้รับการฉีดกระตุ้น 1 เข็ม
หากเป็นแผลขนาดใหญ่ บาดแผลลึก ในกรณีที่ได้รับวัคซีนเข็มสุดท้ายนานเกิน 5 ปีมาแล้ว ต้องฉีดกระตุ้นเพิ่ม 1 เข็ม เพื่อป้องกันการติดเชื้อบาดทะยัก
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=E_pmU40eEtk
https://www.thonburihospital.com/package/pk_vaccines-for-babies/