ขั้นตอน การย้ายประเทศ

ย้ายประเทศ ได้ไหม?
ได้ครับ
ง่ายไหม?
ผมว่า ไม่นะ  ทำได้ แต่ไม่ง่ายครับ

ก่อนอื่นใดทั้งสิ้น ก่อนที่จะได้นั่งเครื่องบิน ย้ายไปอยู่ต่างประเทศ
(แน่นอนครับ ทุกคนย่อมเลือกประเทศที่ "ตนเองคิดว่า" ดีที่สุดสำหรับตนเอง)
ส่วนใหญ่ น่าจะเป็นประเทศที่เจริญแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษและสหราชอณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ฯลฯ
คงจะมีน้อยมาก ที่นึกอยากจะย้ายไปประเทศ รวันดา อูกันดา เยเมน เอธิโอเปีย สวาซิแลนด์ ฯลฯ

อันดับแรก
ก่อนที่จะได้เดินทางนั้น
นอกจากจะต้องมี "ตั๋วเครื่องบิน" เพื่อการเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางดินแดนแห่งฝัน
จะต้องมี
- - วี ซ่ า - - ครับ

ต่อให้คุณมีคู่ครองเป็นชาวต่างชาติ
หรือ พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง เป็นชาวต่างชาติ
หรือ ญาติพี่น้อง อาศัยอยู่ในประเทศนั้นๆ จนได้สัญชาติ
ก็ไม่ได้ช่วยอะไรคุณมากมายครับ
จนกว่า
- คุณจะได้ "วีซ่า" - ครับ
ถ้าคู่ครองเป็นชาวต่างชาติ หรือ พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง เป็นชาวต่างชาติ หรือ ญาติใกล้ชิดอยู่ต่างประเทศจนได้สัญชาตินั้นๆ
เรื่อง เอกสารเพื่อประกอบการขอวีซ่า อาจจะสะดวกขึ้นนิดหน่อย
เมื่อเทียบกับ คนที่ไม่มีใครเลยครับ
แต่ ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นเรื่อง "รับประกัน" ว่าคุณจะต้องได้วีซ่านะครับ  ไม่ใช่ครับ
องค์ประกอบ ที่เจ้าหน้าที่ต่างประเทศใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติวีซ่า มีมากมายครับ

ในกรณีที่คุณ "ไม่มีใครเลย" ตามที่ยกมาข้างบน
คุณก็ต้อง ศึกษาข้อมูลแล้วครับ ว่า
คุณจะขอวีซ่า "ประเภทไหน??"
Work & Travel  หรือ Work and Holiday หรือ วีซ่าทำงาน หรือ วีซ่านักเรียน หรือ วีซ่าถาวร???
ทุกประเภทของวีซ่านั้น มี "ข้อจำกัด" ของแต่ละชนิดแตกต่างกันไป
บ้างก็จำกัดเฉพาะผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาเท่านั้น(ต้องมีสถานภาพนักศึกษาปัจจุบันเท่านั้น)  บ้างก็จำกัดอายุไม่เกินเท่านั้นเท่านี้ ฯลฯ
ไม่ว่า คุณจะเริ่มต้นการเดินทาง ด้วยวีซ่าอะไร (โดยไม่มีตัวช่วยจากคู่ครอง ญาติพี่น้อง)
คุณก็ต้องมี - - เ งิ น - - ครับ
จะมากจะน้อย ก็ต้องมีครับ
อย่างน้อยๆก็ต้องมี 6 หลักครับ เพื่อเป็นหลักประกันตนเอง
เพื่อให้ "มีโอกาส" จะได้รับอนุมัติวีซ่าครับ  ซึ่งไม่ได้รับประกัน ว่า การที่คุณมีเงินในบัญชี 6 หลักแล้วจะต้องได้รับวีซ่านะครับ ไม่ใช่เสมอไปครับ

วีซ่าถาวร เกือบจะทุกคนมีสิทธิ์ที่จะยื่นเจตจำนงค์ขอได้นะครับ
แต่
ไม่ได้แปลว่า ทุกคนที่ยื่น จะต้องได้นะครับ
เพราะ อันดับแรกเลย คุณจะต้องมี "คุณสมบัติ" ถึงระดับที่แต่ละประเทศกำหนดให้เป็น "ผู้มีสิทธิ์ยื่นเจตจำนงค์ขอวีซ่าถาวร" ครับ
หลายๆประเทศ คุณสมบัติพื้นฐานการศึกษาระดับปริญญาตรี หลายๆประเทศจำกัดเฉพาะสายอาชีพที่ประเทศเขากำลังขาดแคลน เป็นต้น
เมื่อยื่นเจตจำนงค์แล้ว
เจ้าหน้าที่ผู้อนุมัติ เขาก็มีจากข้ออื่นๆ ส่วนอื่นๆ ประกอบกัน เพื่อการพิจารณาอนุมัติครับ
ที่แน่ๆ คือ
ทุกคนจะต้องมี "ใบประวัติอาชญากรรม" (Police Clearance Cerfiticate) จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณาอนุมัติวีซ่าถาวร ครับ
ทำไมถึงต้องใช้หรือครับ???
พื้นๆ ง่ายๆ เลยครับ
-- ไม่มีใครในโลกนี้ ต้องการรับ "ผู้มีพฤติกรรมละเมิดกฎหมาย" เข้ามาเป็นประชากรในบ้าน ครับ -- 

การที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง เปิดรับให้ชาวต่างชาติ ขอวีซ่าถาวร ได้นั้น
เพราะ
เขาต้องการ  -- เพิ่มจำนวนประชากรที่ "มีคุณภาพ" -- สู่ประเทศเขาครับ
สังเกตได้ว่า ทุกประเทศจะให้ "คะแนนพิเศษ" กับ บางอาชีพ ที่ประเทศเขากำลังต้องการ เพราะขาดแคลนในประเทศเขา ครับ
นอกจาก "อาชีพ" แล้ว  "พฤติกรรมส่วนตัว" ก็เป็นอีกข้อสำคัญ ที่ทุกประเทศนำมาพิจารณา เพื่อการอนุมัติ ครับ

ผมจึงบอกเสมอ บอกทุกครั้ง ว่า
- ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะฝัน จะไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ - 
แต่
ทุกคน ก็ต้อง "ยอมรับความจริง" ว่า
ไม่ใช่ทุกคน จะได้สมกับความฝันที่ตั้งใจไว้ ครับ
เพราะ
ปัจจัย ในการไปใช้ชีวิตที่ต่างประเทศ มีอยู่มากมาย แตกต่างกันไป

ด่านแรก ด่านสำคัญที่สุดในการไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ
คือ
- - วี ซ่ า - - ครับ
หากคุณ ไม่มีวีซ่า ก็จบครับ
(การที่เดินทางไปถึงปลายทางต่างประเทศ ถึงด่านตรวจคนเข้าเมือง แล้วไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศ เทียบเท่ากับ คุณ"ไม่ได้วีซ่า" นั่นเองครับ)

หาข้อมูลเรื่องเรียน
หาข้อมูลเรื่องทำงาน
หาข้อมูลเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน
หาข้อมูลเรื่องกฎหมาย และภาษี 
ฯลฯ
ไม่สำคัญเท่ากับ
หาหนทาง ให้ได้ วีซ่า เพื่อการเข้าประเทศครับ

เห็นกระทู้จำนวนไม่น้อย ที่ อยากไปเรียน อยากไปทำงาน อยากไปอยู่ถาวร ฯลฯ

ผมสนับสนุนครับ
สนับสนุนให้ไปเรียนที่ต่างประเทศ
สนับสนุนให้ไปทำงานที่ต่างประเทศ
สนับสนุนให้ไปใช้ชีวิตที่ต่างประเทศ
-- แบบถูกกฎหมาย --

ก่อนที่จะไปเรียน ก่อนที่จะไปทำงาน ก่อนที่จะไปอยู่ถาวร
ค้นหาตนเองก่อน ดูว่า ตนเอง "พร้อม" หรือยัง??
แน่นอนครับ
"ความอยาก" มันเกินพร้อมแล้วครับ 
แต่
"ความจริง แห่งตนเอง" ละ พร้อมหรือยัง????
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่