ผู้นำธุรกิจลาวหวัง “ทางรถไฟจีน” นำความมั่งคั่งเข้าประเทศ
https://www.dailynews.co.th/news/496066/
ผู้บริหารระดับสูงของสมาคมด้านการค้าและธุรกิจลาว ตั้งความหวังว่า เส้นทางรถไฟจีน-ที่จะเริ่มใช้งานต้นเดือนหน้า จะเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญ ในการนำพาความเจริญเข้าประเทศ
สำนักข่าวซินหัวรายงานจากนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อวันที่ 20 พ.ย.ว่านาย
ดาววอน พะจันทะวง รองประธานบริหารหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัว ว่าทางรถไฟจีน-ลาวที่จะเปิดทำการในอีกไม่ช้า ถือเป็นจุดสิ้นสุดของ
“ถนนแห่งความฝัน” สายยาวไกลของประชาชนลาว
นาย
ดาววอนกล่าวว่า การสร้างทางรถไฟที่ลาว ซึ่งมีภูเขาหินและที่ราบสูงจำนวนมาก และการพลิกประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลให้กลายเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อกับต่างประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จึงต้องใช้ต้นทุนสูงและใช้เทคโนโลยีทันสมัยที่สุด
จีนเป็นตลาดส่งออกและผู้ลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของลาว ทางรถไฟนี้จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งในลาวได้มาก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการค้าและการลงทุน พร้อมดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่วนต้นทุนการนำเข้าของลาวจะลดลง เมื่อทางรถไฟเปิดบริการเต็มรูปแบบ
“ทางรถไฟจะช่วยให้เกษตรกรขนส่งสินค้าง่ายขึ้นทั้งในลาวและจีน พร้อมดึงดูดนักลงทุนและนักท่องเที่ยวชาวจีนมากขึ้น” นายดาววอนกล่าว
นาย
พันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรีลาว จะโดยสารรถไฟเที่ยวแรก ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ในวันที่ 2 ธ.ค. นี้ ซึ่งเป็นวันชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยนาย
พันคำกล่าวในพิธีรับมอบ วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) จากจีน เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ว่าจะมีการจัดพิธีการทางศาสนา ก่อนเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 ธ.ค.นี้
แต่ละปี ลาวสร้างรายได้หลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกแร่ทองแดง ทองแดง ผลิตภัณฑ์จากทองแดง ยาง ไม้ และสินค้าเกษตร อาทิ ข้าวโพดหวาน และผลไม้ ซึ่งล้วนเหมาะต่อการขนส่งทางรางที่รวดเร็วมากกว่าการขนส่งด้วยรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งมีความไม่แน่นอนเพราะต้องวิ่งข้ามที่ราบสูง
เงินตราต่างประเทศจะหลั่งไหลเข้าสู่ลาวมากขึ้น ทำให้อัตราการแลกเปลี่ยนเงินดีขึ้น ภาวะเงินเฟ้อลดลง และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจลาว ทั้งยังสร้างประโยชน์ต่อภาคการท่องเที่ยว โดยโรงแรม เกสต์เฮาส์ ร้านอาหาร และธุรกิจเช่ารถจะมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงสร้างรายได้ให้ภาคการสื่อสาร การศึกษา และสุขภาพ
“ประชาชนลาวภาคภูมิใจและตื่นเต้นกับทางรถไฟสายนี้มาก มันเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพที่จะนำความสุขและความมั่งคั่งมาสู่ทั้งสองประเทศ” นาย
ดาววอนกล่าว.
ฝุ่น PM2.5 กลับมาแล้ว! สภาพอากาศ กทม.วันนี้ ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน 2 พื้นที่
https://www.tnnthailand.com/news/social/97069/
กทม.รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เกินมาตรฐาน 2 พื้นที่ คือ สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา และ เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81
วันนี้ (20 พ.ย.64) ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร : ประจำวันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
ตรวจวัดได้ 14-60 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 2 พื้นที่ คือ
1️. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
2️. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร: ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศดีมาก
พยากรณ์อากาศ: กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ขณะเดียวกัน กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศประจำวัน พบว่า ในช่วงนี้บริเวณกรุงเทพมหานครการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันเริ่มมีสะสมเพิ่มขึ้น เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมกรุงเทพมหานครมีกำลังอ่อน
ผู้เลี้ยงหมูขอผู้บริโภคเห็นใจพ้อขายขาดทุน
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_237181/
เกษตรกรของผู้บริโภคเห็นใจ ราคาแพง พ้อขายหมูขาดทุน เพื่อคงอาชีพเดียวไว้ ฮึดสู้ต่อแม้ต้นทุนเพิ่ม-หมูเสียหายพุ่ง
นาย
ปรีชา กิจถาวร นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ กล่าวถึงสถานการณ์สุกรในขณะนี้ว่า แม้ราคาแนะนำการขายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มเกษตรกร ตามประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ล่าสุดจะอยู่ที่ 82-84 บาทต่อกิโลกรัม ก็ตาม แต่ราคานี้เป็นเพียงการประกาศ เพื่อสะท้อนต้นทุนการเลี้ยงสุกรที่แท้จริงของเกษตรกร โดยราคาขายจริงที่เกษตรกรได้รับแค่เพียง 75-80 บาทแตกต่างกันไปตามภูมิภาค แปรผันตามสถานการณ์การผลิตและการตลาดในแต่ละพื้นที่ สวนทางกับต้นทุนการเลี้ยงสุกรขุนเฉลี่ยไตรมาส 3/2564 ที่สูงถึงกิโลกรัมละ 80.03 บาท ตามการประเมินของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เท่ากับเกษตรกรยังคงขายสุกรขาดทุน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ยังคงมีปัญหาเรื่องโรค PRRS ที่ระบาดในสุกร ทำให้อัตราเสียหายสูง ต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มและส่วนใหญ่เกษตรกรมักจะลดความเสี่ยงด้วยการตัดใจขายสุกรก่อนกำหนด ส่งผลให้ประสบภาวะขาดทุนมากยิ่งขึ้น
ที่สำคัญปัจจุบันเกษตรกรมีต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ทั้งจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ราคาสูงขึ้นแทบทุกชนิด การเสริมมาตรการป้องกันโรคที่เข้มงวด ทำให้มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้มากขึ้นถึง 300-500 บาทต่อตัวตอนนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่อยากเสี่ยงต่อภาวะโรคสุกร ภาวะต้นทุนสูง การขาดทุนสะสมตลอด 3 ปีที่ผ่านมา และภาวะกำลังซื้อหดตัวจากปัญหาโควิด เกษตรกรหลายคนจำต้องเลิกอาชีพบางคนตัดสินใจเข้าเลี้ยงน้อยลง ปริมาณสุกรในอุตสาหกรรมจึงลดลงมากกว่า 30%
“ขณะนี้ความต้องการบริโภคเนื้อหมูสูงขึ้นจากปัจจัยบวก ทั้งการเปิดประเทศและการเปิดภาคเรียนของสถาบันการศึกษา แต่ผลผลิตหมูกลับเสียหายจากภาวะโรคและการลดปริมาณการเลี้ยงหมูเพื่อป้องกันความเสี่ยงของเกษตรกรทั่วประเทศ ทำให้กลไกตลาดที่แท้จริงเริ่มทำงาน แต่ราคาหมูตอนนี้ยังไม่คุ้มทุนการเลี้ยงด้วยซ้ำ ซึ่งเกษตรกรยังคงประคับประคองอาชีพดี๋ยวนี้เอาไว้เพราะทุกคนไม่อยากให้ผู้บริโภคต้องเดือดร้อนเหมือนอย่างที่หลายประเทศกำลังประสบอยู่ จากปัญหาปริมาณหมูไม่พอกับการบริโภคอย่างหนัก เช่น ฟิลิปปินส์ ที่ราคาสูงถึง 130 บาท/กิโลกรัมจีนราคา 94 บาท/กิโลกรัม ส่วนกัมพูชาราคาอยู่ที่ 85 บาท/กิโลกรัม การปล่อยกลไกตลาดได้ทำงานอย่างเสรี เป็นทางออกให้ราคาหมูกลับสู่สมดุลได้เอง ที่สำคัญผู้บริโภคมีทางเลือกมากมายในการบริโภคแต่คนเลี้ยงหมูไม่ได้มีทางเลือกอาชีพมากมายเช่นนั้น” นาย
ปรีชา กล่าว
นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ กล่าวอีกว่า ในช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงต่างเห็นความสำเร็จของฟาร์มขนาดใหญ่ ที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันโรค ทำให้อัตราเสียหายจากโรคระบาดน้อยเพราะมีระบบจัดการที่ดี ส่วนเกษตรกรรายย่อยจะต้องปรับตัวสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน ปรับปรุงระบบการจัดการฟาร์มให้ดี หากจะลงเลี้ยงแม่พันธุ์หรือลูกสุกร ต้องตรวจสอบแหล่งที่มาและต้องปลอดโรคซึ่งจะช่วยให้สามารถกลับมาเลี้ยงสุกรได้มากขึ้น และลดความเสี่ยงจากภาวะโรคได้อย่างแน่นอน
JJNY : ผู้นำธุรกิจลาวหวัง“ทางรถไฟจีน”│ฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน 2พื้นที่│ผู้เลี้ยงหมูพ้อขายขาดทุน│ก.พ.65ล็อกเป้าซักฟอก
https://www.dailynews.co.th/news/496066/
ผู้บริหารระดับสูงของสมาคมด้านการค้าและธุรกิจลาว ตั้งความหวังว่า เส้นทางรถไฟจีน-ที่จะเริ่มใช้งานต้นเดือนหน้า จะเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญ ในการนำพาความเจริญเข้าประเทศ
สำนักข่าวซินหัวรายงานจากนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อวันที่ 20 พ.ย.ว่านายดาววอน พะจันทะวง รองประธานบริหารหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัว ว่าทางรถไฟจีน-ลาวที่จะเปิดทำการในอีกไม่ช้า ถือเป็นจุดสิ้นสุดของ “ถนนแห่งความฝัน” สายยาวไกลของประชาชนลาว
นายดาววอนกล่าวว่า การสร้างทางรถไฟที่ลาว ซึ่งมีภูเขาหินและที่ราบสูงจำนวนมาก และการพลิกประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลให้กลายเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อกับต่างประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จึงต้องใช้ต้นทุนสูงและใช้เทคโนโลยีทันสมัยที่สุด
จีนเป็นตลาดส่งออกและผู้ลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของลาว ทางรถไฟนี้จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งในลาวได้มาก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการค้าและการลงทุน พร้อมดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่วนต้นทุนการนำเข้าของลาวจะลดลง เมื่อทางรถไฟเปิดบริการเต็มรูปแบบ
“ทางรถไฟจะช่วยให้เกษตรกรขนส่งสินค้าง่ายขึ้นทั้งในลาวและจีน พร้อมดึงดูดนักลงทุนและนักท่องเที่ยวชาวจีนมากขึ้น” นายดาววอนกล่าว
นายพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรีลาว จะโดยสารรถไฟเที่ยวแรก ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ในวันที่ 2 ธ.ค. นี้ ซึ่งเป็นวันชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยนายพันคำกล่าวในพิธีรับมอบ วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) จากจีน เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ว่าจะมีการจัดพิธีการทางศาสนา ก่อนเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 ธ.ค.นี้
แต่ละปี ลาวสร้างรายได้หลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกแร่ทองแดง ทองแดง ผลิตภัณฑ์จากทองแดง ยาง ไม้ และสินค้าเกษตร อาทิ ข้าวโพดหวาน และผลไม้ ซึ่งล้วนเหมาะต่อการขนส่งทางรางที่รวดเร็วมากกว่าการขนส่งด้วยรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งมีความไม่แน่นอนเพราะต้องวิ่งข้ามที่ราบสูง
เงินตราต่างประเทศจะหลั่งไหลเข้าสู่ลาวมากขึ้น ทำให้อัตราการแลกเปลี่ยนเงินดีขึ้น ภาวะเงินเฟ้อลดลง และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจลาว ทั้งยังสร้างประโยชน์ต่อภาคการท่องเที่ยว โดยโรงแรม เกสต์เฮาส์ ร้านอาหาร และธุรกิจเช่ารถจะมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงสร้างรายได้ให้ภาคการสื่อสาร การศึกษา และสุขภาพ
“ประชาชนลาวภาคภูมิใจและตื่นเต้นกับทางรถไฟสายนี้มาก มันเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพที่จะนำความสุขและความมั่งคั่งมาสู่ทั้งสองประเทศ” นายดาววอนกล่าว.
ฝุ่น PM2.5 กลับมาแล้ว! สภาพอากาศ กทม.วันนี้ ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน 2 พื้นที่
https://www.tnnthailand.com/news/social/97069/
กทม.รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เกินมาตรฐาน 2 พื้นที่ คือ สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา และ เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81
วันนี้ (20 พ.ย.64) ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร : ประจำวันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
ตรวจวัดได้ 14-60 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 2 พื้นที่ คือ
1️. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
2️. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร: ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศดีมาก
พยากรณ์อากาศ: กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ขณะเดียวกัน กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศประจำวัน พบว่า ในช่วงนี้บริเวณกรุงเทพมหานครการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันเริ่มมีสะสมเพิ่มขึ้น เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมกรุงเทพมหานครมีกำลังอ่อน
ผู้เลี้ยงหมูขอผู้บริโภคเห็นใจพ้อขายขาดทุน
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_237181/
เกษตรกรของผู้บริโภคเห็นใจ ราคาแพง พ้อขายหมูขาดทุน เพื่อคงอาชีพเดียวไว้ ฮึดสู้ต่อแม้ต้นทุนเพิ่ม-หมูเสียหายพุ่ง
นายปรีชา กิจถาวร นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ กล่าวถึงสถานการณ์สุกรในขณะนี้ว่า แม้ราคาแนะนำการขายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มเกษตรกร ตามประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ล่าสุดจะอยู่ที่ 82-84 บาทต่อกิโลกรัม ก็ตาม แต่ราคานี้เป็นเพียงการประกาศ เพื่อสะท้อนต้นทุนการเลี้ยงสุกรที่แท้จริงของเกษตรกร โดยราคาขายจริงที่เกษตรกรได้รับแค่เพียง 75-80 บาทแตกต่างกันไปตามภูมิภาค แปรผันตามสถานการณ์การผลิตและการตลาดในแต่ละพื้นที่ สวนทางกับต้นทุนการเลี้ยงสุกรขุนเฉลี่ยไตรมาส 3/2564 ที่สูงถึงกิโลกรัมละ 80.03 บาท ตามการประเมินของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เท่ากับเกษตรกรยังคงขายสุกรขาดทุน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ยังคงมีปัญหาเรื่องโรค PRRS ที่ระบาดในสุกร ทำให้อัตราเสียหายสูง ต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มและส่วนใหญ่เกษตรกรมักจะลดความเสี่ยงด้วยการตัดใจขายสุกรก่อนกำหนด ส่งผลให้ประสบภาวะขาดทุนมากยิ่งขึ้น
ที่สำคัญปัจจุบันเกษตรกรมีต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ทั้งจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ราคาสูงขึ้นแทบทุกชนิด การเสริมมาตรการป้องกันโรคที่เข้มงวด ทำให้มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้มากขึ้นถึง 300-500 บาทต่อตัวตอนนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่อยากเสี่ยงต่อภาวะโรคสุกร ภาวะต้นทุนสูง การขาดทุนสะสมตลอด 3 ปีที่ผ่านมา และภาวะกำลังซื้อหดตัวจากปัญหาโควิด เกษตรกรหลายคนจำต้องเลิกอาชีพบางคนตัดสินใจเข้าเลี้ยงน้อยลง ปริมาณสุกรในอุตสาหกรรมจึงลดลงมากกว่า 30%
“ขณะนี้ความต้องการบริโภคเนื้อหมูสูงขึ้นจากปัจจัยบวก ทั้งการเปิดประเทศและการเปิดภาคเรียนของสถาบันการศึกษา แต่ผลผลิตหมูกลับเสียหายจากภาวะโรคและการลดปริมาณการเลี้ยงหมูเพื่อป้องกันความเสี่ยงของเกษตรกรทั่วประเทศ ทำให้กลไกตลาดที่แท้จริงเริ่มทำงาน แต่ราคาหมูตอนนี้ยังไม่คุ้มทุนการเลี้ยงด้วยซ้ำ ซึ่งเกษตรกรยังคงประคับประคองอาชีพดี๋ยวนี้เอาไว้เพราะทุกคนไม่อยากให้ผู้บริโภคต้องเดือดร้อนเหมือนอย่างที่หลายประเทศกำลังประสบอยู่ จากปัญหาปริมาณหมูไม่พอกับการบริโภคอย่างหนัก เช่น ฟิลิปปินส์ ที่ราคาสูงถึง 130 บาท/กิโลกรัมจีนราคา 94 บาท/กิโลกรัม ส่วนกัมพูชาราคาอยู่ที่ 85 บาท/กิโลกรัม การปล่อยกลไกตลาดได้ทำงานอย่างเสรี เป็นทางออกให้ราคาหมูกลับสู่สมดุลได้เอง ที่สำคัญผู้บริโภคมีทางเลือกมากมายในการบริโภคแต่คนเลี้ยงหมูไม่ได้มีทางเลือกอาชีพมากมายเช่นนั้น” นายปรีชา กล่าว
นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ กล่าวอีกว่า ในช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงต่างเห็นความสำเร็จของฟาร์มขนาดใหญ่ ที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันโรค ทำให้อัตราเสียหายจากโรคระบาดน้อยเพราะมีระบบจัดการที่ดี ส่วนเกษตรกรรายย่อยจะต้องปรับตัวสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน ปรับปรุงระบบการจัดการฟาร์มให้ดี หากจะลงเลี้ยงแม่พันธุ์หรือลูกสุกร ต้องตรวจสอบแหล่งที่มาและต้องปลอดโรคซึ่งจะช่วยให้สามารถกลับมาเลี้ยงสุกรได้มากขึ้น และลดความเสี่ยงจากภาวะโรคได้อย่างแน่นอน