ปัจจุบัน เราอาจได้ยินคำว่า “โคเชอร์” กันบ่อยขึ้น เช่นเวลาดูรายการทำอาหาร จะมีการพูดถึง “เกลือโคเชอร์” หรือเวลาซื้อของกินบางอย่าง ก็จะมีตรา “Kosher Certified” แปะไว้
…เคยสงสัยกันไหมครับว่า โคเชอร์ในที่นี้ หมายถึงอะไรกัน? วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังนะครับ
"โคเชอร์" แปลว่า “เหมาะสม” มันคือมาตรฐานการผลิตและรับประทานอาหารให้สอดคล้องกับบัญญัติของศาสนาของผู้นับถือศาสนายิว อันเป็นลักษณะเดียวกับมาตรฐานฮาลาลของชาวมุสลิม แต่รายละเอียดของทั้งสองศาสนาไม่เหมือนกัน
ฝั่งยิวจะมีข้อกำหนดเยอะกว่ามาก อ้างอิงตามหลักคัชรูท (Kashrut) หรือคำสอนเรื่องกินอะไรได้ไม่ได้ ซึ่งมาจากโตราห์ (Torah) มีตัวอย่างดังต่อไปนี้...
ภาพแนบ: คนยิวกินวัวแค่ตรงที่เป็นสีเหลือง
สำหรับสัตว์สี่เท้า ให้ทานแต่สัตว์เคี้ยวเอื้องและมีกีบ ดังนั้นชาวยิวจึงไม่กินหมู เพราะหมูมีกีบอย่างเดียว แต่ไม่เคี้ยวเอื้อง (อูฐก็เช่นกัน)
ทั้งนี้ ชาวยิวเคร่งๆ บางส่วนกินสัตว์เคี้ยวเอื้องมีกีบแค่ส่วนครึ่งตัวหน้า เพราะถือว่าในอดีตกาล พระเจ้าเคยเสด็จลงมาเล่นมวยปล้ำกับยาโคบซึ่งเป็นหนึ่งในต้นตระกูลชาวยิว แล้วโจมตีเข้าที่สะโพกของยาโคบ ทำให้ยาโคบได้รับบาดเจ็บต้องเดินกะเผลกสืบมา คนยิวเลยไม่กินสัตว์ตรงสะโพกลงไปเพื่อรำลึกถึงเรื่องราวนี้ (แต่บางคนก็ไม่ทานแค่ตรงเส้นเอ็นสะโพก)
สำหรับสัตว์มีปีก โดยทั่วๆ ไปเช่น ไก่ ห่าน อะไรแบบนี้กินได้หมด ให้เว้นแต่นกนักล่าและนกที่กินสัตว์น้ำเป็นอาหาร ซึ่งไปถึงค้างคาวก็จัดอยู่ในประเภทนี้ (แม้ตามหลักวิทยาศาสตร์ ค้างคาวจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็ตาม) และไข่ที่ทานได้ก็ต้องมาจากสัตว์ที่เป็นโคเชอร์ด้วย
ภาพแนบ: คนยิวทานแซลมอนได้ เพราะถูกตามหลักโคเชอร์
สำหรับสัตว์น้ำ โตราห์ให้ทานแค่ปลาที่มีครีบและมีเกล็ด ดังนั้นคนยิวก็จะไม่ทานกุ้ง ไม่ทานหอย และไม่ทานปู แถมบางคนที่เคร่งๆ สาหร่ายก็ไม่กิน เพราะถือว่าเป็นแหล่งที่สัตว์มีกระดองมักอาศัยอยู่
ทั้งนี้ในโตราห์มีคำสั่งห้ามเด็ดขาดเกี่ยวกับการกินหนู กิ้งก่า และแมลง รวมถึงสัตว์ที่คลานเช่นพวกทาก เพราะชาวยิวเชื่อว่า จะทำให้มีผลต่อสติปัญญา (ดังนั้นหากชาวยิวมาเห็นคนเอเชียเปิบพิสดารอาจตกใจได้)
พืชผักผลไม้ทานได้ตามปกติ ไม่มีข้อห้าม แต่มีข้อระวังคือต้องสะอาด ไม่มีแมลงปะปน และควรต้องผลิตโดยคนยิว ส่วนนมก็กินได้
แต่ทั้งนี้สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปเช่นชีสยังเป็นที่ถกเถียง เพราะชาวยิวเคร่งๆ บางคนถือหลักไม่กินเนื้อพร้อมนม อย่างไรก็ตาม คนไม่คิดมากก็กินตามปกติ
ภาพแนบ: เกลือโคเชอร์
ส่วนเกลือโคเชอร์ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ นั้น แม้จะมีขนาดเม็ดที่ใหญ่กว่า และไม่ได้มีการเสริมไอโอดีนแบบเกลือทั่วๆ ไปที่เราใช้กัน จริงๆ มันไม่ได้ผลิตมาโดยมีวิธีการทางศาสนาอะไรเป็นพิเศษ แต่ที่คนเรียกกันเพราะชาวยิวในอเมริกาใช้เกลือชนิดนี้หมักเนื้อบ่อยๆ เลยเรียกตาม
ภาพแนบ: โรงเชือดไก่แบบโคเชอร์
อย่างไรก็ตาม สัตว์ที่จะเป็นโคเชอร์ได้ ก็ต้องผ่านการเชือดแบบโคเชอร์ เพราะมีการระบุไว้ในคัมภีร์โตราห์เล่มที่ 2 หรืออพยพ (Exodus) ไม่ให้กินสัตว์ที่เป็นซากเหลือ กับคัมภีร์โตราห์เล่มที่ 5 หรือเฉลยธรรมบัญญัติ (Deuteronomy) ว่าไม่ให้ชาวยิวกินสัตว์ที่ตายแบบไม่รู้สาเหตุหรือตายโดยธรรมชาติ
ดังนั้นแล้ว เนื้อที่จะเป็นโคเชอร์ได้จึงต้องผ่านเชือดอย่างเป็นระบบ โดยคนเชือดสัตว์โคเชอร์ควรต้องผ่านการอบรมและท่องจำกฎการฆ่ามาก่อน และการเชือดนี้ต้องใช้ใบมีดคมเชือดคอสัตว์ทีเดียวตาย ซึ่งเมื่อฆ่าแล้วก็ต้องรีดเลือดออกมา เพราะคำภีร์โตราห์ระบุไว้ว่า “ชีวิตอยู่ในโลหิต
ภาพแนบ: คิชคา
อย่างไรก็ตาม ชาวยิวมีเมนูอย่างหนึ่งคือ “คิชคา” (Kishka) หรือไส้กรอกเลือด (บ้างเรียกพุดดิ้งเลือด ตามแต่รูปทรง) ซึ่งเป็นเมนูยัดไส้ชื่อดัง
ยิวที่ไม่ซีเรียสชอบเมนูนี้มาก ส่วนยิวเคร่งบางกลุ่มก็ต่อต้านอาหารชนิดนี้ แต่บางกลุ่มก็นำสูตรมาโมโดยไม่ผสมเลือดลงไป จนปัจจุบันกลุ่มต่างๆ ยังถกเถียงเรื่องอาหารชนิดนี้อยู่ว่าสรุปมันโคเชอร์ไหม?
จากที่เล่าไป เราอาจสังเกตได้ว่า โคเชอร์กับฮาลาลนั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างกันพอสมควร แต่สิ่งที่แตกต่างกันที่สุด คือกรรมวิธีการปรุงอาหาร...
สำหรับชาวมุสลิม หม้อใบเดียวปรุงได้ทุกอย่าง ทั้งเนื้อ ทั้งปลา แกงต่างๆ เสร็จแล้วจะเสิร์ฟในจานแบบไหนก็แล้วแต่สะดวก
แต่ชาวยิวที่เคร่งต้องแยกหม้อแยกจานกันต่างหาก หม้อเนื้อส่วนเนื้อ จานที่ใช้เสิร์ฟเนื้อก็ต้องเป็นของมันเอง จะมาใช้หม้อเนื้อต้มปลา หรือเอาจานที่ปกติใส่นมเนยไปใช้กับอะไรอย่างอื่นไม่ได้ ถ้าใส่ผิดจะถือว่าไม่โคเชอร์ทันที ยิ่งสำหรับครอบครัวไหนที่เคร่งมากๆ บางทีก็แยกอ่างล้างจานตามแต่อาหารประเภทที่กินเข้าไปด้วย
แม้จะมีข้อกำหนดมากมายกว่าจะเป็นอาหารโคเชอร์ แต่ชาวยิวก็ได้สร้างสรรค์เมนูอร่อยหลายอย่างขึ้นมาจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
ยกตัวอย่างเช่นขนมปังเบเกิล (bagel), ขนมมาการูน (Macaroon), สตูว์เนื้อเสือร้องไห้ (Brisket) ที่เรารู้จักกันล้วนมีต้นกำเนิดมาจากชาวยิว แถมพวกเขายังรู้จักการนำเมนูอาหารสมัยใหม่มาปรับเป็นโคเชอร์ทั้งอาหารอิตาลี, อาหารญี่ปุ่น, ไอศกรีม ฯลฯ
ถ้าเพื่อนๆ สนใจอยากลิ้มลองอาหารโคเชอร์ในกรุงเทพฯ ก็พอจะมีอยู่ในร้านอาหารแถบถนนข้าวสาร ซึ่งเป็นจุดที่ชาวอิสราเอลในไทยอยู่กันมาก
:: ::: :::
สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตามเพจ
https://www.facebook.com/pongsorn.bhumiwat/
กรุ๊ปประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ
https://www.facebook.com/groups/thewildchronicles/
กรุ๊ปท่องเที่ยว เที่ยวโหดเหมือนโกรธบ้าน
https://www.facebook.com/groups/wildchroniclestravel/
Line Square:
https://line.me/ti/g2/8pIcVHp3cc6-jyQJdzIFrg
และ youtube:
https://youtube.com/user/Apotalai
*** รู้จักอาหาร Kosher ***
…เคยสงสัยกันไหมครับว่า โคเชอร์ในที่นี้ หมายถึงอะไรกัน? วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังนะครับ
"โคเชอร์" แปลว่า “เหมาะสม” มันคือมาตรฐานการผลิตและรับประทานอาหารให้สอดคล้องกับบัญญัติของศาสนาของผู้นับถือศาสนายิว อันเป็นลักษณะเดียวกับมาตรฐานฮาลาลของชาวมุสลิม แต่รายละเอียดของทั้งสองศาสนาไม่เหมือนกัน
ฝั่งยิวจะมีข้อกำหนดเยอะกว่ามาก อ้างอิงตามหลักคัชรูท (Kashrut) หรือคำสอนเรื่องกินอะไรได้ไม่ได้ ซึ่งมาจากโตราห์ (Torah) มีตัวอย่างดังต่อไปนี้...
ภาพแนบ: คนยิวกินวัวแค่ตรงที่เป็นสีเหลือง
สำหรับสัตว์สี่เท้า ให้ทานแต่สัตว์เคี้ยวเอื้องและมีกีบ ดังนั้นชาวยิวจึงไม่กินหมู เพราะหมูมีกีบอย่างเดียว แต่ไม่เคี้ยวเอื้อง (อูฐก็เช่นกัน)
ทั้งนี้ ชาวยิวเคร่งๆ บางส่วนกินสัตว์เคี้ยวเอื้องมีกีบแค่ส่วนครึ่งตัวหน้า เพราะถือว่าในอดีตกาล พระเจ้าเคยเสด็จลงมาเล่นมวยปล้ำกับยาโคบซึ่งเป็นหนึ่งในต้นตระกูลชาวยิว แล้วโจมตีเข้าที่สะโพกของยาโคบ ทำให้ยาโคบได้รับบาดเจ็บต้องเดินกะเผลกสืบมา คนยิวเลยไม่กินสัตว์ตรงสะโพกลงไปเพื่อรำลึกถึงเรื่องราวนี้ (แต่บางคนก็ไม่ทานแค่ตรงเส้นเอ็นสะโพก)
สำหรับสัตว์มีปีก โดยทั่วๆ ไปเช่น ไก่ ห่าน อะไรแบบนี้กินได้หมด ให้เว้นแต่นกนักล่าและนกที่กินสัตว์น้ำเป็นอาหาร ซึ่งไปถึงค้างคาวก็จัดอยู่ในประเภทนี้ (แม้ตามหลักวิทยาศาสตร์ ค้างคาวจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็ตาม) และไข่ที่ทานได้ก็ต้องมาจากสัตว์ที่เป็นโคเชอร์ด้วย
ภาพแนบ: คนยิวทานแซลมอนได้ เพราะถูกตามหลักโคเชอร์
สำหรับสัตว์น้ำ โตราห์ให้ทานแค่ปลาที่มีครีบและมีเกล็ด ดังนั้นคนยิวก็จะไม่ทานกุ้ง ไม่ทานหอย และไม่ทานปู แถมบางคนที่เคร่งๆ สาหร่ายก็ไม่กิน เพราะถือว่าเป็นแหล่งที่สัตว์มีกระดองมักอาศัยอยู่
ทั้งนี้ในโตราห์มีคำสั่งห้ามเด็ดขาดเกี่ยวกับการกินหนู กิ้งก่า และแมลง รวมถึงสัตว์ที่คลานเช่นพวกทาก เพราะชาวยิวเชื่อว่า จะทำให้มีผลต่อสติปัญญา (ดังนั้นหากชาวยิวมาเห็นคนเอเชียเปิบพิสดารอาจตกใจได้)
พืชผักผลไม้ทานได้ตามปกติ ไม่มีข้อห้าม แต่มีข้อระวังคือต้องสะอาด ไม่มีแมลงปะปน และควรต้องผลิตโดยคนยิว ส่วนนมก็กินได้
แต่ทั้งนี้สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปเช่นชีสยังเป็นที่ถกเถียง เพราะชาวยิวเคร่งๆ บางคนถือหลักไม่กินเนื้อพร้อมนม อย่างไรก็ตาม คนไม่คิดมากก็กินตามปกติ
ภาพแนบ: เกลือโคเชอร์
ส่วนเกลือโคเชอร์ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ นั้น แม้จะมีขนาดเม็ดที่ใหญ่กว่า และไม่ได้มีการเสริมไอโอดีนแบบเกลือทั่วๆ ไปที่เราใช้กัน จริงๆ มันไม่ได้ผลิตมาโดยมีวิธีการทางศาสนาอะไรเป็นพิเศษ แต่ที่คนเรียกกันเพราะชาวยิวในอเมริกาใช้เกลือชนิดนี้หมักเนื้อบ่อยๆ เลยเรียกตาม
ภาพแนบ: โรงเชือดไก่แบบโคเชอร์
อย่างไรก็ตาม สัตว์ที่จะเป็นโคเชอร์ได้ ก็ต้องผ่านการเชือดแบบโคเชอร์ เพราะมีการระบุไว้ในคัมภีร์โตราห์เล่มที่ 2 หรืออพยพ (Exodus) ไม่ให้กินสัตว์ที่เป็นซากเหลือ กับคัมภีร์โตราห์เล่มที่ 5 หรือเฉลยธรรมบัญญัติ (Deuteronomy) ว่าไม่ให้ชาวยิวกินสัตว์ที่ตายแบบไม่รู้สาเหตุหรือตายโดยธรรมชาติ
ดังนั้นแล้ว เนื้อที่จะเป็นโคเชอร์ได้จึงต้องผ่านเชือดอย่างเป็นระบบ โดยคนเชือดสัตว์โคเชอร์ควรต้องผ่านการอบรมและท่องจำกฎการฆ่ามาก่อน และการเชือดนี้ต้องใช้ใบมีดคมเชือดคอสัตว์ทีเดียวตาย ซึ่งเมื่อฆ่าแล้วก็ต้องรีดเลือดออกมา เพราะคำภีร์โตราห์ระบุไว้ว่า “ชีวิตอยู่ในโลหิต
ภาพแนบ: คิชคา
อย่างไรก็ตาม ชาวยิวมีเมนูอย่างหนึ่งคือ “คิชคา” (Kishka) หรือไส้กรอกเลือด (บ้างเรียกพุดดิ้งเลือด ตามแต่รูปทรง) ซึ่งเป็นเมนูยัดไส้ชื่อดัง
ยิวที่ไม่ซีเรียสชอบเมนูนี้มาก ส่วนยิวเคร่งบางกลุ่มก็ต่อต้านอาหารชนิดนี้ แต่บางกลุ่มก็นำสูตรมาโมโดยไม่ผสมเลือดลงไป จนปัจจุบันกลุ่มต่างๆ ยังถกเถียงเรื่องอาหารชนิดนี้อยู่ว่าสรุปมันโคเชอร์ไหม?
จากที่เล่าไป เราอาจสังเกตได้ว่า โคเชอร์กับฮาลาลนั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างกันพอสมควร แต่สิ่งที่แตกต่างกันที่สุด คือกรรมวิธีการปรุงอาหาร...
สำหรับชาวมุสลิม หม้อใบเดียวปรุงได้ทุกอย่าง ทั้งเนื้อ ทั้งปลา แกงต่างๆ เสร็จแล้วจะเสิร์ฟในจานแบบไหนก็แล้วแต่สะดวก
แต่ชาวยิวที่เคร่งต้องแยกหม้อแยกจานกันต่างหาก หม้อเนื้อส่วนเนื้อ จานที่ใช้เสิร์ฟเนื้อก็ต้องเป็นของมันเอง จะมาใช้หม้อเนื้อต้มปลา หรือเอาจานที่ปกติใส่นมเนยไปใช้กับอะไรอย่างอื่นไม่ได้ ถ้าใส่ผิดจะถือว่าไม่โคเชอร์ทันที ยิ่งสำหรับครอบครัวไหนที่เคร่งมากๆ บางทีก็แยกอ่างล้างจานตามแต่อาหารประเภทที่กินเข้าไปด้วย
แม้จะมีข้อกำหนดมากมายกว่าจะเป็นอาหารโคเชอร์ แต่ชาวยิวก็ได้สร้างสรรค์เมนูอร่อยหลายอย่างขึ้นมาจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
ยกตัวอย่างเช่นขนมปังเบเกิล (bagel), ขนมมาการูน (Macaroon), สตูว์เนื้อเสือร้องไห้ (Brisket) ที่เรารู้จักกันล้วนมีต้นกำเนิดมาจากชาวยิว แถมพวกเขายังรู้จักการนำเมนูอาหารสมัยใหม่มาปรับเป็นโคเชอร์ทั้งอาหารอิตาลี, อาหารญี่ปุ่น, ไอศกรีม ฯลฯ
ถ้าเพื่อนๆ สนใจอยากลิ้มลองอาหารโคเชอร์ในกรุงเทพฯ ก็พอจะมีอยู่ในร้านอาหารแถบถนนข้าวสาร ซึ่งเป็นจุดที่ชาวอิสราเอลในไทยอยู่กันมาก
:: ::: :::
สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตามเพจ https://www.facebook.com/pongsorn.bhumiwat/
กรุ๊ปประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ https://www.facebook.com/groups/thewildchronicles/
กรุ๊ปท่องเที่ยว เที่ยวโหดเหมือนโกรธบ้าน https://www.facebook.com/groups/wildchroniclestravel/
Line Square: https://line.me/ti/g2/8pIcVHp3cc6-jyQJdzIFrg
และ youtube: https://youtube.com/user/Apotalai