สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ขออนุญาตเสนอความเห็นนะครับ
ผมเองสมัยวัยรุ่น ก็เคยคิดแบบนี้ ลักษณะนี้เหมือนกัน
พอเริ่มแก่ตัว มีครอบครัว ถึงค่อยนึกซึ้งถึงพระคุณของบุพการี
ท่านทนเราได้อย่างไร ท่านเลี้ยงดูคนดื้อๆอย่างเรา มาให้เติบใหญ่ จนเอาตัวรอดในสังคมได้
ต้องใช้แรงกายแรงใจ สักเท่าใด
ชีวิตมนุษย์ เกิดมาภายใต้สัญชาตญาณการเอาตัวรอด
เรามักจะเอาตัวเองรอดก่อนเสมอ มองในมุมมองที่เราได้ประโยชน์ก่อนเสมอ
เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติ
แต่จะถูกตามธรรมนองคลองธรรม ถูกต้องตามขนบธรรมเนียม ตามหลักคุณธรรม หรือไม่ อันนี้แล้วแต่มุมมอง
การใช้ชีวิตในสังคม ในครอบครัว ควรเข้าใจกัน ควรเจือจานกัน
ตราบเท่าที่ ไม่ไปเบียดเบียนกันจนเกินกำลัง จนอีกฝ่ายมีความขับข้อง
เป็นการฝึกตนให้เผื่อแผ่
ถ้าเราทำบุญกับคนนอกได้
กับคนในบ้าน กับบุพการี ควรทำบุญยิ่งกว่า
สุดท้าย ที่เรามี คือ ครอบครัว
เพื่อนมีได้ แต่วันหนึ่ง เพื่อนเค้าต้องจากเราไปมีครอบครัวของเค้า
สิ่งที่เหลืออยู่กับเราเสมอ คือสายใยของครอบครัว เราดูแลเค้า เค้าดูแลเรา
เค้าเบียดเบียนเรา เราเบียดเบียนเค้า
ไม่ว่าเราจะชอบใจหรือไม่ แต่พวกเค้าก็คือ ครอบครัว คือ บุพการีของเรา พี่น้องของเรา
อยู่ด้วยกัน หนักนิดเบาหน่อย กระทบกระทั่งกันบ้าง ตามสมควร
พอหายโกรธ พอรู้สึกตัว สำนึกได้ ก็ไปงอนง้อคืนดีกัน
ให้ทุกวันที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยกัน เป็นวันดีๆของกันและกัน
หากมีเหตุให้ต้องจากตาย ตายจากกัน โดยอาจไม่ได้ร่ำลา ขออโหสิกรรมกัน
จะได้ไม่มีติด ไม่มีความรู้สึกผิด ค้างในใจ
บอกเลยว่า ความรู้สึกผิดค้างคาในใจ ไปโดยไม่ได้มีโอกาสขอโทษกัน มันไม่สนุกครับ
ขออภัยที่บ่นไปเรื่อยตามประสาคนวัยกลางคนนะครับ😅
ผมเองสมัยวัยรุ่น ก็เคยคิดแบบนี้ ลักษณะนี้เหมือนกัน
พอเริ่มแก่ตัว มีครอบครัว ถึงค่อยนึกซึ้งถึงพระคุณของบุพการี
ท่านทนเราได้อย่างไร ท่านเลี้ยงดูคนดื้อๆอย่างเรา มาให้เติบใหญ่ จนเอาตัวรอดในสังคมได้
ต้องใช้แรงกายแรงใจ สักเท่าใด
ชีวิตมนุษย์ เกิดมาภายใต้สัญชาตญาณการเอาตัวรอด
เรามักจะเอาตัวเองรอดก่อนเสมอ มองในมุมมองที่เราได้ประโยชน์ก่อนเสมอ
เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติ
แต่จะถูกตามธรรมนองคลองธรรม ถูกต้องตามขนบธรรมเนียม ตามหลักคุณธรรม หรือไม่ อันนี้แล้วแต่มุมมอง
การใช้ชีวิตในสังคม ในครอบครัว ควรเข้าใจกัน ควรเจือจานกัน
ตราบเท่าที่ ไม่ไปเบียดเบียนกันจนเกินกำลัง จนอีกฝ่ายมีความขับข้อง
เป็นการฝึกตนให้เผื่อแผ่
ถ้าเราทำบุญกับคนนอกได้
กับคนในบ้าน กับบุพการี ควรทำบุญยิ่งกว่า
สุดท้าย ที่เรามี คือ ครอบครัว
เพื่อนมีได้ แต่วันหนึ่ง เพื่อนเค้าต้องจากเราไปมีครอบครัวของเค้า
สิ่งที่เหลืออยู่กับเราเสมอ คือสายใยของครอบครัว เราดูแลเค้า เค้าดูแลเรา
เค้าเบียดเบียนเรา เราเบียดเบียนเค้า
ไม่ว่าเราจะชอบใจหรือไม่ แต่พวกเค้าก็คือ ครอบครัว คือ บุพการีของเรา พี่น้องของเรา
อยู่ด้วยกัน หนักนิดเบาหน่อย กระทบกระทั่งกันบ้าง ตามสมควร
พอหายโกรธ พอรู้สึกตัว สำนึกได้ ก็ไปงอนง้อคืนดีกัน
ให้ทุกวันที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยกัน เป็นวันดีๆของกันและกัน
หากมีเหตุให้ต้องจากตาย ตายจากกัน โดยอาจไม่ได้ร่ำลา ขออโหสิกรรมกัน
จะได้ไม่มีติด ไม่มีความรู้สึกผิด ค้างในใจ
บอกเลยว่า ความรู้สึกผิดค้างคาในใจ ไปโดยไม่ได้มีโอกาสขอโทษกัน มันไม่สนุกครับ
ขออภัยที่บ่นไปเรื่อยตามประสาคนวัยกลางคนนะครับ😅
ความคิดเห็นที่ 4
เราคือสมมติ ทุกข์คือของจริง
"สัตว์/บุคคล/อัตตาตัวตน" นั้นเหมือนกับคำว่า "กำปั้น" คือ
เมื่อรวบนิ้วมือทั้ง 5 กำเข้ามาหากัน ก็เป็นกำปั้น แต่เมื่อแยกนิ้วมือ กำปั้นนั้นก็หายไป ฉันใด
"สัตว์/บุคคล/อัตตาตัวตน" ก็ฉันนั้น คือ เมื่อยึดถือรวบรัดขันธ์ทั้ง 5 ด้วยอวิชชาและตัณหาอุปาทาน
ก็ปรากฏเป็น "สัตว์/บุคคล/อัตตาตัวตน" แต่เมื่อแยกแยะขันธ์ทั้ง 5 ออกด้วยปัญญา
ความเห็นว่า "สัตว์/บุคคล/อัตตาตัวตน" ก็หาย ว่างเปล่า เป็นสุญญตา
เป็นเพียงสักว่าขันธ์ ที่มีอยู่เพียงเพื่อรู้ เพื่ออาศัยระลึก
*******************
ขันธ์ 5 ประกอบด้วย
1. รูป มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ... ปัสสาวะ สมอง เป็นต้น
2. เวทนา คือ การเสวยอารมณ์อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง
3. สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้
4. สังขาร คือ เจตนาที่ปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลบ้าง ให้เป็นอกุศลบ้าง
5. วิญญาณ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัส การรู้แจ้งอารมณ์
*******************
สัจจะ
- การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูปนาม ขันธ์ 5 เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ว่าไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา/เป็นของของเรา/เป็นตัวตนของเรา
- การเกิดขึ้นของ :
กามตัณหา --- ความกระสันทะยานอยากใน รูป/เสียง/กลิ่น/รส/สัมผัส/อารมณ์ ที่น่าใคร่
ภวตัณหา --- ความปรารถนาอยากให้ รูป/เสียง/กลิ่น/รส/สัมผัส/อารมณ์ ที่น่าใคร่ เที่ยงแท้ ไม่แปรผัน
วิภวตัณหา --- ความปราถนาอยากให้ รูป/เสียง/กลิ่น/รส/สัมผัส/อารมณ์ ที่ไม่น่าใคร่ พินาศ ดับสูญ
อันเป็นเหตุเกิดทุกข์ทั้งชาตินี้ชาติหน้า นี้เป็นธรรมที่ควรละ
- การไม่เกิด --- มีการไม่เกิดของตัณหา 3 เป็นต้น --- อันสงบเป็นสุข นี้เป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
- การเกิดขึ้นของอริยมรรค อันเป็นทางให้ถึงความสงบ นี้เป็นธรรมที่ควรเจริญ
*******************
โทษของการไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์สัจอันเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้
ถ้าไม่ได้กำหนดรู้ขันธ์ 5 โดยชอบแล้ว ก็ย่อมเห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นตนบ้าง
เห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นของตนบ้าง เห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวตนของตนบ้าง
เช่น ไม่กำหนดรู้ วิญญาณูปทานขันธ์ มี --- จักขุวิญญาณ(การเห็น) โสตวิญญาณ(การได้ยิน) ... มโนวิญญาณ(การรู้แจ้งอารมณ์) ---
เป็นต้น ก็ย่อมสำคัญผิดในวิญญาณูปทานขันธ์นั้นว่าเป็นตน เป็นของตน เป็นตัวตนของตน ดังนี้ และ:
- เมื่อเห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นตน ด้วยทิฏฐิ ก็ย่อมสำคัญผิดว่าอันตัวเรานี้เริ่มต้นเมื่อเกิด และจะสิ้นสุดลงเมื่อตาย
- เมื่อเห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นของตนด้วยตัณหา ก็ย่อมสำคัญผิดว่าอันตัวเรานี้มีอยู่ก่อนการเกิด และจะคงอยู่ภายหลังความตาย
- เมื่อเห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวตนของตนด้วยมานะ ก็ย่อมสำคัญผิดในขันธ์ 5 ว่าชีวิตเรานี้มีค่าสำคัญยิ่งกว่าชีวิตผู้ใด
และผู้ไม่ได้กำหนดรู้ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์
*******************
มาตรํ ปิตรํ หนฺตฺวา ราชาโน เทฺว จ ขตฺติเย
รฏฺฐํ สานุจรํ หนฺตฺวา อนีโฆ ยาติ พฺราหฺมโณ.
บุคคลฆ่ามารดาบิดา ฆ่าพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ทั้งสอง
ทำลายแว่นแคว้นพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สรรพากรแล้วเป็นพราหมณ์ ย่อมเป็นผู้ไม่มีทุกข์. (พุทธะ)
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1035&Z=1079
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=31&p=4
อธิบาย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
"สัตว์/บุคคล/อัตตาตัวตน" นั้นเหมือนกับคำว่า "กำปั้น" คือ
เมื่อรวบนิ้วมือทั้ง 5 กำเข้ามาหากัน ก็เป็นกำปั้น แต่เมื่อแยกนิ้วมือ กำปั้นนั้นก็หายไป ฉันใด
"สัตว์/บุคคล/อัตตาตัวตน" ก็ฉันนั้น คือ เมื่อยึดถือรวบรัดขันธ์ทั้ง 5 ด้วยอวิชชาและตัณหาอุปาทาน
ก็ปรากฏเป็น "สัตว์/บุคคล/อัตตาตัวตน" แต่เมื่อแยกแยะขันธ์ทั้ง 5 ออกด้วยปัญญา
ความเห็นว่า "สัตว์/บุคคล/อัตตาตัวตน" ก็หาย ว่างเปล่า เป็นสุญญตา
เป็นเพียงสักว่าขันธ์ ที่มีอยู่เพียงเพื่อรู้ เพื่ออาศัยระลึก
*******************
ขันธ์ 5 ประกอบด้วย
1. รูป มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ... ปัสสาวะ สมอง เป็นต้น
2. เวทนา คือ การเสวยอารมณ์อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง
3. สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้
4. สังขาร คือ เจตนาที่ปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลบ้าง ให้เป็นอกุศลบ้าง
5. วิญญาณ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัส การรู้แจ้งอารมณ์
*******************
สัจจะ
- การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูปนาม ขันธ์ 5 เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ว่าไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา/เป็นของของเรา/เป็นตัวตนของเรา
- การเกิดขึ้นของ :
กามตัณหา --- ความกระสันทะยานอยากใน รูป/เสียง/กลิ่น/รส/สัมผัส/อารมณ์ ที่น่าใคร่
ภวตัณหา --- ความปรารถนาอยากให้ รูป/เสียง/กลิ่น/รส/สัมผัส/อารมณ์ ที่น่าใคร่ เที่ยงแท้ ไม่แปรผัน
วิภวตัณหา --- ความปราถนาอยากให้ รูป/เสียง/กลิ่น/รส/สัมผัส/อารมณ์ ที่ไม่น่าใคร่ พินาศ ดับสูญ
อันเป็นเหตุเกิดทุกข์ทั้งชาตินี้ชาติหน้า นี้เป็นธรรมที่ควรละ
- การไม่เกิด --- มีการไม่เกิดของตัณหา 3 เป็นต้น --- อันสงบเป็นสุข นี้เป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
- การเกิดขึ้นของอริยมรรค อันเป็นทางให้ถึงความสงบ นี้เป็นธรรมที่ควรเจริญ
*******************
โทษของการไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์สัจอันเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้
ถ้าไม่ได้กำหนดรู้ขันธ์ 5 โดยชอบแล้ว ก็ย่อมเห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นตนบ้าง
เห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นของตนบ้าง เห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวตนของตนบ้าง
เช่น ไม่กำหนดรู้ วิญญาณูปทานขันธ์ มี --- จักขุวิญญาณ(การเห็น) โสตวิญญาณ(การได้ยิน) ... มโนวิญญาณ(การรู้แจ้งอารมณ์) ---
เป็นต้น ก็ย่อมสำคัญผิดในวิญญาณูปทานขันธ์นั้นว่าเป็นตน เป็นของตน เป็นตัวตนของตน ดังนี้ และ:
- เมื่อเห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นตน ด้วยทิฏฐิ ก็ย่อมสำคัญผิดว่าอันตัวเรานี้เริ่มต้นเมื่อเกิด และจะสิ้นสุดลงเมื่อตาย
- เมื่อเห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นของตนด้วยตัณหา ก็ย่อมสำคัญผิดว่าอันตัวเรานี้มีอยู่ก่อนการเกิด และจะคงอยู่ภายหลังความตาย
- เมื่อเห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวตนของตนด้วยมานะ ก็ย่อมสำคัญผิดในขันธ์ 5 ว่าชีวิตเรานี้มีค่าสำคัญยิ่งกว่าชีวิตผู้ใด
และผู้ไม่ได้กำหนดรู้ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์
*******************
มาตรํ ปิตรํ หนฺตฺวา ราชาโน เทฺว จ ขตฺติเย
รฏฺฐํ สานุจรํ หนฺตฺวา อนีโฆ ยาติ พฺราหฺมโณ.
บุคคลฆ่ามารดาบิดา ฆ่าพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ทั้งสอง
ทำลายแว่นแคว้นพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สรรพากรแล้วเป็นพราหมณ์ ย่อมเป็นผู้ไม่มีทุกข์. (พุทธะ)
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1035&Z=1079
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=31&p=4
อธิบาย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความคิดเห็นที่ 15
ทุกคนมองจากมุมของตัวเองที่เป็นผู้ถูกกระทำ ไม่ได้มองว่าตัวเองทำอะไรบ้างที่เป็นสาเหตุให้อีกฝ่ายทุกข์
คุณก็มองว่าคุณทุกข์ที่สุดแล้ว เพราะพฤติกรรมพ่อแม่
พ่อแม่ก็มองว่า ถ้าคุณฆ่าตัวตายไป เขาก็ทุกข์
มันเลยวนเวียนเป็นงูกินหาง ไม่จบอยู่อย่างนี้
เราว่าจะจบทุกอย่างคือปล่อยวาง เลิกคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุ เพราะเราเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้หรอก ต้องเปลี่ยนที่ตัวเอง
ลองคิดดูว่าเราทำอะไรได้จะดีกว่า ออกมาอยู่เอง จะได้ไม่ต้องฟังเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจน่าจะดีกว่ามั้ย
ปล. เราไม่คิดว่าฆ่าตัวตายเป็นเรื่องบาปนะ แต่คิดว่ามันตัดปัญหาง่ายไปน่ะค่ะ
คุณก็มองว่าคุณทุกข์ที่สุดแล้ว เพราะพฤติกรรมพ่อแม่
พ่อแม่ก็มองว่า ถ้าคุณฆ่าตัวตายไป เขาก็ทุกข์
มันเลยวนเวียนเป็นงูกินหาง ไม่จบอยู่อย่างนี้
เราว่าจะจบทุกอย่างคือปล่อยวาง เลิกคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุ เพราะเราเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้หรอก ต้องเปลี่ยนที่ตัวเอง
ลองคิดดูว่าเราทำอะไรได้จะดีกว่า ออกมาอยู่เอง จะได้ไม่ต้องฟังเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจน่าจะดีกว่ามั้ย
ปล. เราไม่คิดว่าฆ่าตัวตายเป็นเรื่องบาปนะ แต่คิดว่ามันตัดปัญหาง่ายไปน่ะค่ะ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมต้องพูดว่า 'ฆ่าตัวตายเป็นบาป ไม่นึกถึงพ่อแม่บ้างหรอ พ่อแม่จะเสียใจแค่ไหน'
แล้วทำไมคนเป็นพ่อแม่ชอบพูดประโยคนี้ ยกตัวอย่างเราเอง แม่ชอบพูดประโยคนี้ แต่ตอนที่อยู่ด้วยกัน ก็มีแต่บ่นด่า เปรียบเทียบกับลูกคนอื่น ทวงบุญคุณ ด่าว่าอกตัญญูเพราะไม่มีเงินส่งให้บ้าง พูดจาทำร้ายให้เจ็บช้ำน้ำใจ สาปแช่งต่างๆนานา แต่มาบอกว่าตัวเองจะเสียใจที่สุด เราสิที่ต้องเสียใจที่สุด เสียใจจนไม่อยากมีชีวิตอยู่ เสียใจจนอยากจะตาย ทนคำพูดพวกนั้นไม่ได้อีกแล้ว
สมัยนี้แล้ว ปัญหาพวกนี้ แนวคิดแบบนี้มันควรจะอยู่ต่อหรือเปลี่ยนไปแบบไหนบ้างคะ