เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งได้แต้มต่อ CPTTP –FTA
https://www.bangkokbiznews.com/news/971463
ทูตพาณิชย์ ฮานอย เผย ตั้งแต่ต้นปี 64 ถึงปัจจุบัน เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรโตต่อเนื่องจากโควิด -19 ส่งผลต้องการเพิ่ม แถมยังได้รับอานิงสงค์จาก RCEP, CPTPP, EVFTA, UKVFTA
นางสาว
พรรณกาญจน์ เจียมสุชน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สคต.) ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (MARD) ระบุว่า ในช่วง 10 เดือนแรกของปี2564 การส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้ และประมงของเวียดนามมีมูลค่า 38,750 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 13.1 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในเดือนต.ค. 2564 ซึ่งการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงมีมูลค่า 3,400 ล้านดอลลาร์ ลดลง 15.61 % เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ในช่วง 10 เดือนแรกของปี2 564 การส่งออกผลิตผลทางการเกษตรหลักมีมูลค่าประมาณ 17,400 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 12.7% ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ป่าไม้มีมูลค่าประมาณ 12,800 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 22.3 % และผลิตภัณฑ์ ประมง 6,900 ล้านดอลลาร์ ลดลง 0.8% สินค้าที่มีการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ กาแฟ ยางพารา ข้าว ผัก พริกไทย เม็ดมะม่วงหิมพานต์มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ทำ จากมันสำปะหลัง ปศุสัตว์กุ้ง เฟอร์นิเจอร์ไม้ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่และหวาย และอบเชย
โดยเอเชียยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของผลิตภัณฑ์เกษตร ป่าไม้และประมงของเวียดนาม โดยมีส่วนแบ่ง ตลาด 42.8 % รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา 30% ยุโรป 11.4 % แอฟริกา 1.9 % และโอเชียเนีย 1.5% สหรัฐอเมริกาเป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่ากว่า 10,800 ล้านดอลลาร์ รองลงมาคือจีน 7,500 ล้านดอลลาร์ และญี่ปุ่น 2,600 ล้านดอลลาร์
ขณะเดียวกัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปี2564 เวียดนามนำเข้าสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงมีมูลค่าประมาณ 35,550ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 39.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพื่อขยายตลาดส่งออก กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (MARD) จะยังคงเพิ่มกิจกรรมความร่วมมือทวิภาคีกับรัสเซีย สวิตเซอร์แลนด์คิวบา อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ควบคู่กับ ความร่วมมือพหุภาคีกับองค์กรการค้า รวมทั้งให้ข้อมูลข่าวสารแก่ ผู้ประกอบการในประเทศเกี่ยวกับกฎระเบียบของตลาดต่างประเทศและแหล่งวัตถุดิบสำหรับการผลิตในประเทศ
นางสาวพรรณกาญจน์ กล่าวว่า การที่เวียดนามสามารถรักษาการเติบโตของการส่งออกตั้งแต่ต้นปี2564 จนถึงปัจจุบันถือว่าประสบความสำเร็จ การส่งออก สินค้าเกษตรยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วนหนึ่งมาจากข้อได้เปรียบจากข้อตกลงทางการค้าที่เวียดนามลงนาม เช่น RCEP, CPTPP, EVFTA, UKVFTA เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อพัฒนาการ ส่งออกผู้ประกอบการเวียดนามจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพสินค้า รักษาความปลอดภัยของอาหารและแหล่งกำเนิด เพื่อส่งเสริมการ เติบโตของการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร คาดว่า ภาคสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงจะมีการพัฒนาตลาดส่งออก สร้าง เสถียรภาพให้กับตลาดเดิม แสวงหาและขยายตลาดที่มีศักยภาพและลดการพึ่งพาตลาดบางแห่งในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลต่อ ผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดโลก เนื่องจากต้องเผชิญกับการแข่งขันเพิ่มขึ้น
ร้านอาหารตามสั่งบ่นต้นทุนสูงขึ้นราคาไม่ได้
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_232559/
ร้านอาหารตามสั่ง บ่น คนซื้อน้อย ขณะต้นทุนสูง ปรับราคาไม่ได้ ห่วงลูกค้าประจำ
บรรยากาศการขายสินค้า จากการสอบถามภาวะการค้าขายสำหรับร้านอาหารตามสั่ง ภายในตลาดสดต่าง ๆ ย่านบางเขน พบว่า พ่อค้าแม่ค้ามีต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นทั้งในส่วนของเครื่องปรุงรส ผักสด เนื้อสัตว์ โดยร้านผัดไทย-หอยทอด ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงขายลูกค้าประจำจำหน่ายอยู่ที่ราคาจานละ 35-40 บาท ในขณะที่ต้นทุนน้ำมันปาล์มที่ใช้ประกอบอาหารปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 56 บาท มะนาว ราคาลูกละ 4 บาท ในขณะที่เครื่องปรุงรสต่างๆ ราคาปรับสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ไม่สามารถปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้นได้เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำและมีรายได้ที่ไม่มากนัก เวลานี้จึงอยากให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดูแลในเรื่องของต้นทุนให้กับผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นทางไม่ใช่มาคุมราคาที่ปลายทางอย่างเดียว
ในขณะที่ร้านอาหารตามสั่งอื่นๆราคายังคงไม่ได้ปรับสูงขึ้นจากก่อนหน้านี้เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำ ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนักเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่สูงบางส่วนก็ไม่ซื้ออาหารนอกบ้าน การปรับราคาสูงขึ้นทำไม่ได้ถึงแม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงขึ้นก็ตาม
"อนุสรณ์ ธรรมใจ" จี้รัฐทบทวนประกันรายได้ เสนอ 12 แนวทางปฏิรูปภาคการเกษตรไทย
https://www.bangkokbiznews.com/business/971758
รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ มองไม่ควรขยายเพดานหนี้ตามมาตรา 28 เพื่อนำเงินมาจ่ายชดเชยชาวนาและเกษตรกรตามโครงการประกันรายได้ เพราะจะยิ่งส่งผลกระทบต่อฐานะทางการคลัง เสนอตัดงบประมาณส่วนอื่นที่ไม่จำเป็นมาช่วยเหลือแทน พร้อมแนะแนวทางปฏิรูปภาคการเกษตร 12 ข้อ
รศ.ดร.
อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง และอดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต ให้ความเห็นว่าไม่ควรขยายเพดานหนี้ตามมาตรา 28 กฎหมายวินัยการเงินการคลังเพื่อนำมาจ่ายให้ชาวนาและเกษตรกรตามโครงการประกันรายได้
เนื่องจากมาตรา 28 กำหนดกรอบวงหนี้รวมไว้ไม่เกิน 30% ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีป้องกันให้มีการก่อหนี้สาธารณะเกินตัวในแต่ละปี อย่างในปี พ.ศ. 2565 รัฐบาลจะต้องมีหนี้ไม่เกิน 930,000 ล้านบาท จากงบประมาณปี 65 ที่มีกรอบวงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท การตั้งงบประมาณอุดหนุนราคาสินค้าเกษตรฤดูกาลผลิต ปี 65 ได้ตั้งงบไว้ที่ 1.74 แสนล้านบาท
ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อฐานะทางการคลังและวินัยทางการคลังอย่างยิ่ง และในฤดูการผลิต ปี 64/65 เราอาจต้องใช้เงินงบประมาณไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท ในการชดเชยส่วนต่างราคาประกันเป็นหลัก ไม่ได้ใช้ในการลงทุนทางด้านอื่นๆ เพื่อปรับปรุงภาคเกษตรกรรมของไทยให้ดีขึ้นด้วยการเพิ่มมูลค่าแปรรูปให้เป็นสินค้าที่มีราคามากขึ้น
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องปฏิบัติตามนโยบายที่แถลงเอาไว้และต้องมีมาตรการแทรกแซงราคาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในภาวะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ รัฐบาลต้องใช้วิธีตัดงบประมาณส่วนอื่นที่ไม่จำเป็นหรือสามารถเลื่อนการใช้จ่ายอื่นๆ ออกไปก่อน
เช่น งบประมาณจัดซื้ออาวุธ งบประมาณก่อสร้างสถานที่ราชการที่หรูหราใหญ่โตเกินความจำเป็นแห่งการใช้สอย งบประมาณเดินทางไปดูงานต่างประเทศ งบประมาณประชาสัมพันธ์ที่ไม่จำเป็นโดยเฉพาะประชาสัมพันธ์บุคคลแทนที่เป็นการประชาสัมพันธ์เนื้องาน เป็นต้น แล้วนำงบประมาณที่ปรับลดมาจ่ายค่าประกันรายได้ให้กับเกษตรกร
โดยกู้เงินให้น้อยที่สุดและไม่ควรเกินกรอบ 30% ต่อปี หากกู้เกินกรอบเพดานจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อฐานะทางการคลังเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นจากนโยบายแทรกแซงราคาของรัฐบาลก่อนหน้านี้ สิ่งนี้พอเป็นข้อสรุปได้ว่า ไม่ว่านโยบายประกันรายได้ หรือ นโยบายรับจำนำ ล้วนก่อให้เกิดปัญหาฐานะทางการคลังได้ทั้งสิ้นและไม่ใช่การแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรกรตกต่ำที่ยั่งยืน เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยที่นโยบายประกันรายได้นั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายทางการคลังแบบไม่มีเพดานหากราคาข้าวในตลาดโลกลดลงเรื่อยๆ
ส่วนนโยบายรับจำนำเกิดความเสียหายสินค้าเกษตรที่อยู่ในสต็อคที่ไม่สามารถระบายออกได้หรือสินค้าเสื่อมคุณภาพนอกจากนี้ยังมีโอกาสให้เกิดการทุจริตรั่วไหลในขั้นตอนต่างๆของการรับจำนำได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายประกันรายได้หรือนโยบายรับจำนำซึ่งเป็นมาตรการแทรกแซงราคาไม่สามารถเอาชนะกลไกตลาดโลกได้และยิ่งในสภาวะที่ประเทศไทยสูญเสียตำแหน่งผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับหนึ่งของโลกไปแล้ว ยิ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้มากขึ้นที่เราจะเอาชนะกลไกตลาดโลกได้
ดร.อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า การดำเนินการประกันรายได้อันทำให้เกิดภาระต่อธนาคารของรัฐผ่านมาตรการกึ่งการคลังนั้น แม้ในเบื้องต้นเงินที่ใช้ชดเชยจำนวนมากจะไม่ได้รวมอยู่ในหนี้สาธารณะ อย่างหนี้จากโครงการประกันรายได้เกษตรกรสะสมอยู่ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เกือบ 700,000 ล้านบาท และมีหนี้จากโครงการประกันรายได้ที่อยู่ธนาคารออมสินอีก 30,000 ล้านบาท ซึ่งในที่สุดรัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณมาชดเชย
หากรัฐบาลไม่มีเงินก็ต้องไปก่อหนี้สาธารณะเพิ่ม การดำเนินมาตรการกึ่งการคลังเช่นนี้ก็กลายเป็นภาระทางการคลังในภายหลัง และหนี้ทั้งหมดจะถูกรวมอยู่ในหนี้สาธารณะในที่สุด การประกันรายได้เกษตรกรนั้นเป็นผลบวกต่อเศรษฐกิจระยะสั้น การประกันรายได้ให้ชาวนาเป็นการบรรเทาผลกระทบจากราคาข้าวตกต่ำแต่มาตรการดังกล่าวไม่มีความยั่งยืนและมีโอกาสที่จะต้องใช้เงินงบประมาณมากเกินกว่าที่วางแผนเอาไว้อย่างค่อนข้างมากหากราคาข้าวในตลาดปรับตัวลงอย่างหนัก
การก่อหนี้สาธารณะเพื่อชดเชยรายได้โดยไม่ได้ก่อให้เกิดผลิตภาพหรือการเพิ่มมูลค่าผลผลิตหรือแปรรูปย่อมส่งผลบวกระยะสั้นเท่านั้น ส่วนระยะปานกลางและระยะยาวแล้วส่งผลกระทบทางลบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง ขีดความสามารถในการแข่งขันทางของสินค้าเกษตรของไทย
ทั้งนี้มองว่าแนวทางที่ยั่งยืน คือ มาตรการลดต้นทุนการผลิต มาตรการเพิ่มรายได้จากการเพิ่มผลผลิตต่อไร่หรือเพิ่มผลิตภาพ มาตรการส่งเสริมตลาดเสรีในการแข่งขันเพื่อลดอำนาจผูกขาดในโครงสร้างการผลิตและโครงสร้าง โดยขอเสนอแนะในทางนโยบาย 12 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. ต้องมีการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร เริ่มต้นตั้งแต่ปฏิรูประบบข้อมูลที่ดินเพื่อการเกษตร กำหนดเพดานการถือครองที่ดินอย่างเหมาะสม กำหนดเขตการใช้ที่ดินและแผนการใช้ที่ดิน จัดตั้งกองทุนที่ดินเพื่อเกษตรกร รวมทั้งการพลักดันให้มีการเก็บภาษีที่ดินเพื่อกระตุ้นให้นำที่ดินรกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการผลิต
2. ไทยต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนต่อ ไตรลักษณะของภาคเกษตรกรรมของไทย อันประกอบด้วย เกษตรดั้งเดิม เกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เกษตรอินทรีย์ทางเลือก ในขณะที่โลกเผชิญความท้าทายทางด้านความมั่นคงอาหารและพลังงาน
3. ใช้เทคโนโลยีการบริหารจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปสินค้าเกษตร (ข้าวหรือสินค้าเกษตรอื่นๆ)
4. เพิ่มรายได้เกษตรกรด้วยการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิต ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มสวัสดิการให้ชาวนาและเกษตรกร
5. ทยอยลดระดับการแทรกแซงราคาลง (แต่ต้องไม่ยกเลิกทันที) โดยนำระบบประกันภัยพืชผลและตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้ามาแทนที่ ทำให้ “ไทย” เป็นศูนย์กลางของตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรของภูมิภาค
6. พัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรและมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร
7. จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีภายใต้ WTO, FTA, AEC
8. ส่งเสริมการขยายฐานในรูป Offshore Farming เกษตรพันธะสัญญาโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV
9. การปฏิรูปภาคเกษตรกรรมและเดินหน้าสู่ยุทธศาสตร์ ครัวของโลก รัฐควรลดบทบาทแทรกแซงกลไกตลาดสินค้าเกษตรลง ลดการบิดเบือนกลไกราคา
10. จัดให้มีตลาดสินค้าเกษตรให้มากและหลากหลายและพัฒนาไทยสู่การเป็น “ครัวของโลก” และทำให้ไทยเป็นผู้ผลิตอาหารปลอดภัยของโลก
11. ทำให้ชาวนาหรือเกษตรกรทั้งหลายเข้าถึงแหล่งทุนได้ดีขึ้นปล่อยสินเชื่อถึงเกษตรกรโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง โรงสี หรือ บริษัทค้าปัจจัยการผลิตทั้งหลาย บูรณาการการบริหารจัดการกองทุนที่เกี่ยวกับการแก้ไขหนี้สินเกษตรกรให้เป็นเอกภาพและเร่งรัดแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร
JJNY : เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรพุ่ง│ร้านอาหารตามสั่งบ่นต้นทุนสูง│"อนุสรณ์ ธรรมใจ"จี้ทบทวนประกันรายได้│ท่วมเหลืออีก12จว.
https://www.bangkokbiznews.com/news/971463
ทูตพาณิชย์ ฮานอย เผย ตั้งแต่ต้นปี 64 ถึงปัจจุบัน เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรโตต่อเนื่องจากโควิด -19 ส่งผลต้องการเพิ่ม แถมยังได้รับอานิงสงค์จาก RCEP, CPTPP, EVFTA, UKVFTA
นางสาวพรรณกาญจน์ เจียมสุชน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สคต.) ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (MARD) ระบุว่า ในช่วง 10 เดือนแรกของปี2564 การส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้ และประมงของเวียดนามมีมูลค่า 38,750 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 13.1 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในเดือนต.ค. 2564 ซึ่งการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงมีมูลค่า 3,400 ล้านดอลลาร์ ลดลง 15.61 % เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ในช่วง 10 เดือนแรกของปี2 564 การส่งออกผลิตผลทางการเกษตรหลักมีมูลค่าประมาณ 17,400 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 12.7% ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ป่าไม้มีมูลค่าประมาณ 12,800 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 22.3 % และผลิตภัณฑ์ ประมง 6,900 ล้านดอลลาร์ ลดลง 0.8% สินค้าที่มีการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ กาแฟ ยางพารา ข้าว ผัก พริกไทย เม็ดมะม่วงหิมพานต์มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ทำ จากมันสำปะหลัง ปศุสัตว์กุ้ง เฟอร์นิเจอร์ไม้ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่และหวาย และอบเชย
โดยเอเชียยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของผลิตภัณฑ์เกษตร ป่าไม้และประมงของเวียดนาม โดยมีส่วนแบ่ง ตลาด 42.8 % รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา 30% ยุโรป 11.4 % แอฟริกา 1.9 % และโอเชียเนีย 1.5% สหรัฐอเมริกาเป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่ากว่า 10,800 ล้านดอลลาร์ รองลงมาคือจีน 7,500 ล้านดอลลาร์ และญี่ปุ่น 2,600 ล้านดอลลาร์
ขณะเดียวกัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปี2564 เวียดนามนำเข้าสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงมีมูลค่าประมาณ 35,550ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 39.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพื่อขยายตลาดส่งออก กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (MARD) จะยังคงเพิ่มกิจกรรมความร่วมมือทวิภาคีกับรัสเซีย สวิตเซอร์แลนด์คิวบา อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ควบคู่กับ ความร่วมมือพหุภาคีกับองค์กรการค้า รวมทั้งให้ข้อมูลข่าวสารแก่ ผู้ประกอบการในประเทศเกี่ยวกับกฎระเบียบของตลาดต่างประเทศและแหล่งวัตถุดิบสำหรับการผลิตในประเทศ
นางสาวพรรณกาญจน์ กล่าวว่า การที่เวียดนามสามารถรักษาการเติบโตของการส่งออกตั้งแต่ต้นปี2564 จนถึงปัจจุบันถือว่าประสบความสำเร็จ การส่งออก สินค้าเกษตรยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วนหนึ่งมาจากข้อได้เปรียบจากข้อตกลงทางการค้าที่เวียดนามลงนาม เช่น RCEP, CPTPP, EVFTA, UKVFTA เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อพัฒนาการ ส่งออกผู้ประกอบการเวียดนามจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพสินค้า รักษาความปลอดภัยของอาหารและแหล่งกำเนิด เพื่อส่งเสริมการ เติบโตของการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร คาดว่า ภาคสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงจะมีการพัฒนาตลาดส่งออก สร้าง เสถียรภาพให้กับตลาดเดิม แสวงหาและขยายตลาดที่มีศักยภาพและลดการพึ่งพาตลาดบางแห่งในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลต่อ ผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดโลก เนื่องจากต้องเผชิญกับการแข่งขันเพิ่มขึ้น
ร้านอาหารตามสั่งบ่นต้นทุนสูงขึ้นราคาไม่ได้
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_232559/
ร้านอาหารตามสั่ง บ่น คนซื้อน้อย ขณะต้นทุนสูง ปรับราคาไม่ได้ ห่วงลูกค้าประจำ
บรรยากาศการขายสินค้า จากการสอบถามภาวะการค้าขายสำหรับร้านอาหารตามสั่ง ภายในตลาดสดต่าง ๆ ย่านบางเขน พบว่า พ่อค้าแม่ค้ามีต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นทั้งในส่วนของเครื่องปรุงรส ผักสด เนื้อสัตว์ โดยร้านผัดไทย-หอยทอด ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงขายลูกค้าประจำจำหน่ายอยู่ที่ราคาจานละ 35-40 บาท ในขณะที่ต้นทุนน้ำมันปาล์มที่ใช้ประกอบอาหารปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 56 บาท มะนาว ราคาลูกละ 4 บาท ในขณะที่เครื่องปรุงรสต่างๆ ราคาปรับสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ไม่สามารถปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้นได้เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำและมีรายได้ที่ไม่มากนัก เวลานี้จึงอยากให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดูแลในเรื่องของต้นทุนให้กับผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นทางไม่ใช่มาคุมราคาที่ปลายทางอย่างเดียว
ในขณะที่ร้านอาหารตามสั่งอื่นๆราคายังคงไม่ได้ปรับสูงขึ้นจากก่อนหน้านี้เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำ ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนักเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่สูงบางส่วนก็ไม่ซื้ออาหารนอกบ้าน การปรับราคาสูงขึ้นทำไม่ได้ถึงแม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงขึ้นก็ตาม
"อนุสรณ์ ธรรมใจ" จี้รัฐทบทวนประกันรายได้ เสนอ 12 แนวทางปฏิรูปภาคการเกษตรไทย
https://www.bangkokbiznews.com/business/971758
รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ มองไม่ควรขยายเพดานหนี้ตามมาตรา 28 เพื่อนำเงินมาจ่ายชดเชยชาวนาและเกษตรกรตามโครงการประกันรายได้ เพราะจะยิ่งส่งผลกระทบต่อฐานะทางการคลัง เสนอตัดงบประมาณส่วนอื่นที่ไม่จำเป็นมาช่วยเหลือแทน พร้อมแนะแนวทางปฏิรูปภาคการเกษตร 12 ข้อ
รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง และอดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต ให้ความเห็นว่าไม่ควรขยายเพดานหนี้ตามมาตรา 28 กฎหมายวินัยการเงินการคลังเพื่อนำมาจ่ายให้ชาวนาและเกษตรกรตามโครงการประกันรายได้
เนื่องจากมาตรา 28 กำหนดกรอบวงหนี้รวมไว้ไม่เกิน 30% ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีป้องกันให้มีการก่อหนี้สาธารณะเกินตัวในแต่ละปี อย่างในปี พ.ศ. 2565 รัฐบาลจะต้องมีหนี้ไม่เกิน 930,000 ล้านบาท จากงบประมาณปี 65 ที่มีกรอบวงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท การตั้งงบประมาณอุดหนุนราคาสินค้าเกษตรฤดูกาลผลิต ปี 65 ได้ตั้งงบไว้ที่ 1.74 แสนล้านบาท
ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อฐานะทางการคลังและวินัยทางการคลังอย่างยิ่ง และในฤดูการผลิต ปี 64/65 เราอาจต้องใช้เงินงบประมาณไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท ในการชดเชยส่วนต่างราคาประกันเป็นหลัก ไม่ได้ใช้ในการลงทุนทางด้านอื่นๆ เพื่อปรับปรุงภาคเกษตรกรรมของไทยให้ดีขึ้นด้วยการเพิ่มมูลค่าแปรรูปให้เป็นสินค้าที่มีราคามากขึ้น
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องปฏิบัติตามนโยบายที่แถลงเอาไว้และต้องมีมาตรการแทรกแซงราคาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในภาวะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ รัฐบาลต้องใช้วิธีตัดงบประมาณส่วนอื่นที่ไม่จำเป็นหรือสามารถเลื่อนการใช้จ่ายอื่นๆ ออกไปก่อน
เช่น งบประมาณจัดซื้ออาวุธ งบประมาณก่อสร้างสถานที่ราชการที่หรูหราใหญ่โตเกินความจำเป็นแห่งการใช้สอย งบประมาณเดินทางไปดูงานต่างประเทศ งบประมาณประชาสัมพันธ์ที่ไม่จำเป็นโดยเฉพาะประชาสัมพันธ์บุคคลแทนที่เป็นการประชาสัมพันธ์เนื้องาน เป็นต้น แล้วนำงบประมาณที่ปรับลดมาจ่ายค่าประกันรายได้ให้กับเกษตรกร
โดยกู้เงินให้น้อยที่สุดและไม่ควรเกินกรอบ 30% ต่อปี หากกู้เกินกรอบเพดานจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อฐานะทางการคลังเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นจากนโยบายแทรกแซงราคาของรัฐบาลก่อนหน้านี้ สิ่งนี้พอเป็นข้อสรุปได้ว่า ไม่ว่านโยบายประกันรายได้ หรือ นโยบายรับจำนำ ล้วนก่อให้เกิดปัญหาฐานะทางการคลังได้ทั้งสิ้นและไม่ใช่การแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรกรตกต่ำที่ยั่งยืน เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยที่นโยบายประกันรายได้นั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายทางการคลังแบบไม่มีเพดานหากราคาข้าวในตลาดโลกลดลงเรื่อยๆ
ส่วนนโยบายรับจำนำเกิดความเสียหายสินค้าเกษตรที่อยู่ในสต็อคที่ไม่สามารถระบายออกได้หรือสินค้าเสื่อมคุณภาพนอกจากนี้ยังมีโอกาสให้เกิดการทุจริตรั่วไหลในขั้นตอนต่างๆของการรับจำนำได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายประกันรายได้หรือนโยบายรับจำนำซึ่งเป็นมาตรการแทรกแซงราคาไม่สามารถเอาชนะกลไกตลาดโลกได้และยิ่งในสภาวะที่ประเทศไทยสูญเสียตำแหน่งผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับหนึ่งของโลกไปแล้ว ยิ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้มากขึ้นที่เราจะเอาชนะกลไกตลาดโลกได้
ดร.อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า การดำเนินการประกันรายได้อันทำให้เกิดภาระต่อธนาคารของรัฐผ่านมาตรการกึ่งการคลังนั้น แม้ในเบื้องต้นเงินที่ใช้ชดเชยจำนวนมากจะไม่ได้รวมอยู่ในหนี้สาธารณะ อย่างหนี้จากโครงการประกันรายได้เกษตรกรสะสมอยู่ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เกือบ 700,000 ล้านบาท และมีหนี้จากโครงการประกันรายได้ที่อยู่ธนาคารออมสินอีก 30,000 ล้านบาท ซึ่งในที่สุดรัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณมาชดเชย
หากรัฐบาลไม่มีเงินก็ต้องไปก่อหนี้สาธารณะเพิ่ม การดำเนินมาตรการกึ่งการคลังเช่นนี้ก็กลายเป็นภาระทางการคลังในภายหลัง และหนี้ทั้งหมดจะถูกรวมอยู่ในหนี้สาธารณะในที่สุด การประกันรายได้เกษตรกรนั้นเป็นผลบวกต่อเศรษฐกิจระยะสั้น การประกันรายได้ให้ชาวนาเป็นการบรรเทาผลกระทบจากราคาข้าวตกต่ำแต่มาตรการดังกล่าวไม่มีความยั่งยืนและมีโอกาสที่จะต้องใช้เงินงบประมาณมากเกินกว่าที่วางแผนเอาไว้อย่างค่อนข้างมากหากราคาข้าวในตลาดปรับตัวลงอย่างหนัก
การก่อหนี้สาธารณะเพื่อชดเชยรายได้โดยไม่ได้ก่อให้เกิดผลิตภาพหรือการเพิ่มมูลค่าผลผลิตหรือแปรรูปย่อมส่งผลบวกระยะสั้นเท่านั้น ส่วนระยะปานกลางและระยะยาวแล้วส่งผลกระทบทางลบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง ขีดความสามารถในการแข่งขันทางของสินค้าเกษตรของไทย
ทั้งนี้มองว่าแนวทางที่ยั่งยืน คือ มาตรการลดต้นทุนการผลิต มาตรการเพิ่มรายได้จากการเพิ่มผลผลิตต่อไร่หรือเพิ่มผลิตภาพ มาตรการส่งเสริมตลาดเสรีในการแข่งขันเพื่อลดอำนาจผูกขาดในโครงสร้างการผลิตและโครงสร้าง โดยขอเสนอแนะในทางนโยบาย 12 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. ต้องมีการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร เริ่มต้นตั้งแต่ปฏิรูประบบข้อมูลที่ดินเพื่อการเกษตร กำหนดเพดานการถือครองที่ดินอย่างเหมาะสม กำหนดเขตการใช้ที่ดินและแผนการใช้ที่ดิน จัดตั้งกองทุนที่ดินเพื่อเกษตรกร รวมทั้งการพลักดันให้มีการเก็บภาษีที่ดินเพื่อกระตุ้นให้นำที่ดินรกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการผลิต
2. ไทยต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนต่อ ไตรลักษณะของภาคเกษตรกรรมของไทย อันประกอบด้วย เกษตรดั้งเดิม เกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เกษตรอินทรีย์ทางเลือก ในขณะที่โลกเผชิญความท้าทายทางด้านความมั่นคงอาหารและพลังงาน
3. ใช้เทคโนโลยีการบริหารจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปสินค้าเกษตร (ข้าวหรือสินค้าเกษตรอื่นๆ)
4. เพิ่มรายได้เกษตรกรด้วยการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิต ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มสวัสดิการให้ชาวนาและเกษตรกร
5. ทยอยลดระดับการแทรกแซงราคาลง (แต่ต้องไม่ยกเลิกทันที) โดยนำระบบประกันภัยพืชผลและตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้ามาแทนที่ ทำให้ “ไทย” เป็นศูนย์กลางของตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรของภูมิภาค
6. พัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรและมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร
7. จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีภายใต้ WTO, FTA, AEC
8. ส่งเสริมการขยายฐานในรูป Offshore Farming เกษตรพันธะสัญญาโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV
9. การปฏิรูปภาคเกษตรกรรมและเดินหน้าสู่ยุทธศาสตร์ ครัวของโลก รัฐควรลดบทบาทแทรกแซงกลไกตลาดสินค้าเกษตรลง ลดการบิดเบือนกลไกราคา
10. จัดให้มีตลาดสินค้าเกษตรให้มากและหลากหลายและพัฒนาไทยสู่การเป็น “ครัวของโลก” และทำให้ไทยเป็นผู้ผลิตอาหารปลอดภัยของโลก
11. ทำให้ชาวนาหรือเกษตรกรทั้งหลายเข้าถึงแหล่งทุนได้ดีขึ้นปล่อยสินเชื่อถึงเกษตรกรโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง โรงสี หรือ บริษัทค้าปัจจัยการผลิตทั้งหลาย บูรณาการการบริหารจัดการกองทุนที่เกี่ยวกับการแก้ไขหนี้สินเกษตรกรให้เป็นเอกภาพและเร่งรัดแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร