JJNY : ชี้พักหนี้เกษตรแค่ยาแก้ปวด│กมธ.วิทยาศาสตร์ฯ ได้ชื่อครบ│ข่าวร้าย ร้อนแล้งพายุทะเลเดือด│โลกร้อนขึ้นเกือบแตะขีดจำกัด

ชี้พักหนี้เกษตรแค่ยาแก้ปวด บรรเทาได้ชั่วคราว แนะพัฒนาศักยภาพ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ขจัดหนี้ระยะยาว
https://www.matichon.co.th/economy/news_4215830
 
ชี้พักหนี้เกษตรแค่ยาแก้ปวด บรรเทาได้ชั่วคราว แนะพัฒนาศักยภาพ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ขจัดหนี้ระยะยาว
 
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ได้ออกบทความเพื่อคาดการณ์มาตรการพักชำระหนี้เกษตรกร อาจส่งผลแค่ระยะสั้นจากการกระจายรายได้ของผลผลิตที่กลับสู่มือเกษตรกรไทยที่น้อย แนะเร่งพัฒนาศักยภาพการเกษตรเพื่อสร้างการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และขจัดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทยในระยะยาว

ชี้พักหนี้เกษตรแค่ประวิงเวลาหรือยาแก้ปวดบรรเทาได้ชั่วคราว

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล ระยะที่ 1 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการพักชำระหนี้เกษตรกรระยะเวลา 3 ปี นับเป็นโครงการพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรเป็นครั้งที่ 14 ซึ่งจากข้อมูลในอดีตพบ การพักชำระหนี้ 13 ครั้งที่ผ่านมาไม่สัมฤทธิ์ผลตามเป้าประสงค์ของโครงการเท่าที่ควรเป็น เนื่องจากกว่า 70% ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีภาระหนี้สินเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงหนี้เสียในภาคการเกษตรก็ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด สะท้อนให้เห็นว่าโครงการพักชำระหนี้อาจเป็นเพียงการประวิงเวลา หรือเป็นแค่ยาแก้ปวดที่ให้เกษตรกรไทยเพื่อให้คลายความกังวลเรื่องภาระทางการเงินออกไปอีกระยะหนึ่ง โดย ttb analytics ได้ทำการศึกษาพบว่า เกษตรกรไทยเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้างเกี่ยวกับการกระจายรายได้จากผลผลิตที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากไม่สามารถก้าวผ่านการเป็นผู้ผลิตเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการได้ จึงยังมีฐานะเป็นเพียงผู้ผลิตสินค้าขั้นกลางให้กับผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าขั้นสุดท้าย โดยได้ศึกษาผ่านโครงสร้างต้นทุนของการผลิตข้าวขาว ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
  
ระบุชาวนาได้กำไรแค่3.7% ที่เหลือตกในมือผู้ประกอบการ
  
ในปี 2565 ที่ผ่านมา ราคาข้าวขาว 100% เฉลี่ยอยู่ที่ 17.5 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีรายได้เข้าสู่มือชาวนาเพียง 8.8 บาทต่อกิโลกรัม อิงตามราคาข้าวเปลือกเจ้ารับซื้อ ณ ไร่นา แต่จากรายได้ส่วนนี้ชาวนาต้องรับภาระต้นทุนการผลิต (เพาะปลูก) ที่ 8.16 – 9.32 บาทต่อกิโลกรัม (ในกรณีที่เกษตรกรมีต้นทุนค่าเช่านาและเครื่องจักรกลทางการเกษตร) เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่ราว 7.25 – 8.28 บาทต่อกิโลกรัม จากผลของราคาปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ปี 2565 ชาวนาไทยมีกำไรจากการเพาะปลูกข้าวเพียงราว 0.64 บาทต่อกิโลกรัม รวมถึงในบางรายที่มีต้นทุนสูงอาจประสบภาวะขาดทุน 0.52 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ข้าวเปลือกจากชาวนาจะถูกส่งต่อไปถึงกลุ่มผู้ประกอบการในฐานะวัตถุดิบ เพื่อแปรรูปเป็นข้าวขาวเพื่อจำหน่ายให้กับภาคครัวเรือน พบว่าผู้ประกอบการมีต้นทุนจากข้าวเปลือกเมื่อผ่านการแปรรูป บรรจุ และขนส่ง รวมที่ราว 13.03 – 13.87 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งคิดเป็นกำไรขั้นต้นก่อนหักต้นทุนการขายและการบริหารที่ราว 3.62 – 4.67 บาทต่อกิโลกรัม
 
จากข้อมูลข้างต้นเห็นได้ชัดเจนว่า การกระจายรายได้จากผลผลิตข้าวขาว 1 กิโลกรัม ที่ราคาเฉลี่ย 17.5 บาท กำไรจะตกอยู่กับผู้ประกอบการที่ 20.7% – 25.5% แต่ในมุมของชาวนา ได้รับเพียง 3.7% และมีโอกาสขาดทุน
 
สำหรับกลุ่มที่มีต้นทุนการเพาะปลูกสูง ทั้งนี้ ชาวนายังต้องรับความเสี่ยงจากต้นทุนการผลิตที่ผันผวนตามราคาปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตร ภัยธรรมชาติและสภาวะภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ดังนั้น จากการวิเคราะห์ผลตอบแทนที่กระจายกลับสู่ผู้มีส่วนร่วมในการผลิตสินค้าทางการเกษตร ผ่านกรณีศึกษาในตลาดข้าวขาว พบว่า เกษตรกรเป็นกลุ่มที่ได้รับผลตอบแทนน้อยและต้องรับความเสี่ยงทั้งหมดในขั้นตอนการผลิต ส่งผลให้นโยบายพักชำระหนี้ที่ผ่านมาทุกครั้งเป็นเพียงแค่ยาแก้ปวดเพื่อประวิงเวลา หรือบรรเทาอาการในช่วงที่พักชำระหนี้ ซึ่งเกษตรกรจะเริ่มรู้สึกถึงความเจ็บปวดอีกครั้งเมื่อยาแก้ปวดหมดฤทธิ์ในยามการพักชำระหนี้สิ้นสุด
 
ชง 4 ข้อเสนอแก้ปัญหาหนี้ระยะยาว
 
อย่างไรก็ดี โครงการพักชำระหนี้ในครั้งที่ 14 นี้ มีประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องมาตรการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ที่มีการจัดเตรียมงบประมาณให้ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพวงเงินสูงสุดต่อรายไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่ง ttb analytics มองจำนวนเงินในโครงการดังกล่าวว่า หากมีการจัดสรรอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยยกระดับศักยภาพการทำธุรกิจของเกษตรกรไทย และสามารถเป็นหนทางแก้ไขปัญหาหนี้ในระยะยาว ผ่านข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
 
1.ยกระดับเกษตรกรที่มีศักยภาพและความพร้อม ให้เป็นผู้ประกอบการที่สามารถเพิ่มพื้นที่กำไรให้มากขึ้นจากสินค้าขั้นสุดท้าย จากเดิมที่ได้รับกำไรเป็นสัดส่วนจากราคาสินค้าขั้นกลางที่เป็นเพียงวัตถุดิบ
 
2.การให้ความรู้กับเกษตรกรในเรื่องช่องทางจำหน่าย ที่ปัจจุบันการขายสินค้าทางการเกษตรมีความง่ายและสะดวกกว่าในอดีต ผ่านช่องทางออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างไร้พรมแดน และสามารถจัดส่งสินค้าผ่านผู้ให้บริการขนส่ง (Third Party Logistics) ที่มีพื้นที่บริการครอบคลุมทั่วประเทศ

3.ภาครัฐช่วยจัดตั้งกองทุนเพื่อลดต้นทุนการเพาะปลูก เช่น เพื่อค่าปุ๋ย ค่ายา พันธุ์ข้าว รวมถึงจัดหาสินค้าทุนที่ให้เกษตรกรเช่าใช้ในราคาที่ต่ำลง เช่น เครื่องจักรกลทางการเกษตร หรือสินค้าทุนที่ใช้ในการแปรรูปสินค้า เช่น โรงสีชุมชน ที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรแปรรูปสินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบให้กลายเป็นสินค้าขั้นสุดท้ายที่สามารถตอบสนองความต้องการการบริโภคของภาคครัวเรือนได้โดยตรง

4.ให้ความรู้เกษตรกรเพื่อใช้เทคโนโลยีการเพาะปลูก เช่น การทำเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกให้มากขึ้นผ่านระบบที่มีความแม่นยำสูง (Precision Agriculture) จะทำให้สามารถช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ลดปริมาณการใช้ยาปราบศัตรูพืชได้
 
กล่าวโดยสรุป ปัญหาภาระหนี้สินของเกษตรกรไทย โดยหลักแล้วมาจากปัญหาเรื่องการกระจายรายได้จากผลผลิตที่กลับสู่มือของเกษตรกรไทยที่น้อยมาก ทั้งยังต้องรับความเสี่ยงด้านต้นทุนที่มีความผันผวน และปริมาณผลผลิตที่คาดการณ์ได้ยากจากสภาวะภูมิอากาศ

ดังนั้น ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง การพักชำระหนี้เกษตรกรคงเปรียบเหมือนยาแก้ปวดที่ช่วยให้เกษตรกรไทยรู้สึกสบายตัวเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น แต่ด้วยบริบทของโครงการพักหนี้ในครั้งที่ 14 นี้ นับว่ายังมีความหวังจากเม็ดเงินที่สามารถจัดสรรเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งถ้าสามารถทำได้สัมฤทธิ์ผลตามนัยของมาตรการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ก็จะเปรียบเหมือนการจ่ายยาฆ่าเชื้อให้กับปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทยให้ลดลงอย่างยั่งยืนในระยะยาว



กมธ.วิทยาศาสตร์ฯ ได้ชื่อครบ เคาะตำแหน่งเรียบร้อย ‘ฐากร ตัณฑสิทธิ์’ นั่งประธาน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4215969

“ฐากร ตัณฑสิทธิ์” นั่งประธานกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
 
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 5 ตุลาคม 2566 ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) แต่ละคณะ เพื่อเลือกตำแหน่งประธานกมธ. หลังจากที่มีการแบ่งโควต้าของพรรคการเมือง และส่งรายชื่อบุคคลที่จะนั่งใน กมธ.แต่ละคณะครบแล้ว โดยคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม มี นางอารยะหญิง จอมพลาพล ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญยัติ ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร ซึ่งการประชุมคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ที่ประชุมลงมติให้ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยสร้างไทย เป็นประธานคณะกรรมาธิการ
  
ส่วนกรรมาธิการอื่นๆ ประกอบด้วย นายวาโย อัศวรุ่งเรือง เป็นรองประธานคนที่ 1, นายชูชัย มุ่งเจริญพร เป็นรองประธานคนที่ 2, นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงศ์ เป็นรองประธานคนที่ 3, นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล เป็นรองประธานคนที่ 4, และ นางสาวชุติมา คชพันธ์ เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการ
 
สำหรับตำแหน่งโฆษกคณะกรรมาธิการ มีทั้งหมด 4 คน ได้แก่ นายณกร ชารีพันธ์ , นางสาวปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช, นายไชยชนก ชิดชอบ, นายอดิศักดิ์ แก้วมุงคุณทรัพย์ ขณะที่ตำแหน่งที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ ได้แก่ นายปรเมษฐ์ จินา และ นายเกรียงศักดิ์ กิตติธเนศวร กรรมาธิการ ได้แก่ นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ, นายศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง และ นายอรรถกร ศิริสัทยากร



ข่าวดี เอลนีโญ สิ้นสุด มิ.ย.ปีหน้า ข่าวร้าย 9 เดือนจากนี้ ร้อนแล้งพายุทะเลเดือด
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4215867

ข่าวดี เอลนีโญ สิ้นสุด มิ.ย.ปีหน้า ข่าวร้าย 9 เดือนจากนี้ ร้อนแล้งพายุทะเลเดือด
 
วันที่ 5 ตุลาคม ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ มติชนออนไลน์ ถึงสถานการณ์ล่าสุดของปรากฏการณ์เอลนีโญ ในเวลานี้ ว่า ล่าสุดจากการตรวจสอบ พบว่า แม้เอลนีโญจะมีความรุนแรง แต่ไม่น่าจะแรงถึงขั้นซุปเปอร์เอลนีโญ ที่เคยเกิดในปี 2016 อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์นี้จะลากยาวไปถึงเดือนมิถุนายน ซึ่งในส่วนของภาคพื้นดินอาจจะถือว่า เป็นเรื่องที่ดีกว่าที่คาดการเอาไว้ แต่ในส่วนของทะเล ถือว่า ไม่ดีขึ้นเลย ขนาดเมื่อ 3 ปีก่อน ที่เป็นปีลานีญา มีฝนตกชุก อุณหภูมิทะเลอยู่ที่ 32 องศาเซลเซียส และเรื่อยมาจนถึงตอนนี้ ซึ่ง เวลานี้ยังพบว่า หลายๆพื้นที่ มีปะการังฟอกขาว เช่น ปะการังที่ จ.ระนอง ในเดือน พฤษภาคม ของทุกปีจะเป็นช่วงที่อุณหภูมิน้ำทะเลสูงสุด
 
ดังนั้น แม้ว่าบนบกเอลนีโญจะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน แต่ในทะเลจะมีภาวะของ เอลนีโญ ทับซ้อนกับภาวะที่เกิดอุณหภูมิน้ำทะเลสูงสุด ซึ่งคาดว่า น่าจะขึ้นไปถึง 33 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าสูงมาก ถึงเวลานั้น คาดว่าจะเกิดภาวะปะการังฟอกขาว กระจายไปทั่ว ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นนั้น ไม่เฉพาะปะการังฟอกขาวเท่านั้น แต่จะส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งเรื่องสัตว์น้ำ ที่จะต้องหนีน้ำร้อนไปยังบริเวณทะเลที่เย็นกว่า น้ำลึกว่า ก็จะส่งผลกระทบต่อชาวประมงที่หาปลาในบริเวณเดิมอีกด้วย” ผศ.ดร.ธรณ์กล่าว
 
เมื่อถามว่า การที่ภาวะเอลนีโญ ไม่ลากยาว แต่จะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน นี้ถือเป็นเรื่องที่ดีกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ใช่หรือไม่ ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวว่า ก็ยังพูดได้ไม่เต็มปากว่าดี เพราะนับจากนี้ อีก 8-9 เดือน เรายังต้องเผชิญกับภาวะเอลนีโญอยู่ คือ แห้งแล้ง ร้อน และ มีพายุเกิดขึ้น ในหลายพื้นที่ ขณะที่น้ำทะเลก็ยังร้อนจัดอยู่ ดังนั้น จะบอกว่าดีขึ้นก็ไม่ถูกต้องนัก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่